ผู้เขียน หัวข้อ: โรคฉี่หนู โรคร้ายที่มากับน้ำท่วม  (อ่าน 2452 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด

โรคฉี่หนู โรคร้ายที่มากับน้ำท่วม

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

           ในภาวะที่ฝนตกหนักจนทำให้เกิดน้ำท่วมขังในหลาย ๆ พื้นที่ของประเทศไทยนั้น "น้ำท่วม" ที่เต็มไปด้วยเชื้อโรค และสิ่งปฏิกูลมากมาย นอกจากจะนำมาซึ่งโรคตาแดง น้ำกัดเท้า ฮ่องกงฟุต อหิวาตกโรค อุจจาระร่วง ฯลฯ แล้ว อีกหนึ่งโรคที่ร้ายแรงไม่แพ้กันก็คือ "โรคฉี่หนู" นั่นเอง ซึ่งหากใครอยู่มีความจำเป็นต้องเดินลุยเท้า หรืออยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ต้องมาทำความรู้จัก "โรคฉี่หนู" เพื่อป้องกันอย่างเคร่งครัด เพราะโรคนี้มักระบาดในช่วงน้ำท่วม และยังเป็นโรคที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ด้วย

           โรค ฉี่หนู หรือ ไข้ฉี่หนู หรือโรคเล็ปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เป็นโรคระบาดในคน พบได้บ่อยในช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูฝน

การติดต่อของโรคฉี่หนู

           ปกติ แล้ว โรคฉี่หนู จะติดต่อกันโดยการสัมผัส เช่น ปัสสาวะ เลือด เนื้อเยื่อของสัตว์ที่มีการติดเชื้อโดยตรง หรือสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรค และจะติดต่อจากคนสู่คนได้น้อยมาก โดยเชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดย

           การกินอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป

           การหายใจเอาไอละอองของปัสสาวะ หรือ ของเหลวที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป

           ผ่านเข้าทางเยื่อเมือก เยื่อบุต่าง ๆ เช่น ตา และปาก

           ชอนไชเข้าทางผิวหนังตามรอยแผล และรอยขีดข่วน

           ชอนไชเข้าทางผิวหนังปกติที่เปียกชุ่มจากการแช่น้ำนาน ๆ เช่น ในสภาวะน้ำท่วม

           ทั้ง นี้ ระยะฟักตัวของโรคฉี่หนูใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ แต่อาจนานได้ถึง 3 สัปดาห์ ซึ่งอาการส่วนใหญ่จะหายไปภายใน 1 สัปดาห์แรก และหลังจากนั้นอีก 1-3 วัน จะเข้าสู่ระยะที่สอง คือ ระยะมีเชื้อในปัสสาวะ


กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคฉี่หนู

           ผู้ที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง

           ผู้ที่อยู่ในบ้านที่มีหนูมาก

           เกษตรกร ชาวนา ชาวสวน

           คนทำงานในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ปศุสัตว์ ประมง

           สัตวแพทย์ แพทย์ เจ้าหน้าที่ในห้องทดลอง

           คนงานในเหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์

           ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ตามป่าเขา

           กลุ่มผู้เล่นกิจกรรมทางน้ำ เช่น การว่ายน้ำ การเล่นเรือแคนู วินด์เซิร์ฟ สกีน้ำ ไตรกีฬา ฯลฯ


อาการของ โรคฉี่หนู

อาการของผู้ติดเชื้อ โรคฉี่หนู มี 2 แบบ คือ

           1.แบบติดเชื้อไม่รุนแรง หรือ โรคเล็ปโตสไปโรซิสแบบไม่เหลือง (anicteric leptospirosis) คือกลุ่มที่ไม่มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ

           ระยะเชื้อเข้ากระแสเลือด (leptospiremic phase) จะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ รู้สึกหนาวสั่น ปวดศีรษะ บริเวณหน้าผาก หรือปวดหลังเบ้าตา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยโรคฉี่หนูนี้จะต่างจากโรคอื่นตรงที่จะปวดบริเวณน่อง โคนขา หลัง และหน้าท้องด้วย นอกจากนี้อาจมีอาการเจ็บคอ ไอ เจ็บหน้าอก ผื่น สับสน ไอเป็นเลือด มีไข้

           อาการแสดงที่อาจตรวจพบ ได้แก่ มีเยื่อบุตาแดง ต่อมน้ำเหลืองโต คอแดง กดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อ ตับม้ามโต อาจพบอาการดีซ่านได้เล็กน้อย มีจ้ำเลือดตามผิวหนัง บางรายมีผื่นตามตัว ซึ่งอาการในระยะนี้จะหายไปได้เองภายใน 1 สัปดาห์ และจะไม่มีอาการอยู่ช่วงหนึ่งนาน 1-3 วัน ก่อนจะเข้าสู่ระยะที่สองคือ "ระยะมีเชื้อในปัสสาวะ"

           ระยะมีเชื้อในปัสสาวะ (leptospiruric phase) หรือ ระยะร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีอาการจำเพาะ และความรุนแรงน้อยกว่าระยะแรก ผู้ป่วยราวร้อยละ 15 จะมีอาการแสดงออกถึงภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบแบบไร้เชื้อ แต่ส่วนใหญ่จะพบในเด็ก และเป็นเพียงไม่กี่วัน หรือนานเป็นสัปดาห์ จากนั้นจะเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ม่านตาอักเสบ จอตาอักเสบ ซึ่งมักเป็นหลังอาการเริ่มแรกของโรคนานหลายเดือน และคงอยู่ได้นานเป็นปี

          2.แบบติดเชื้อรุนแรง (severe leptospirosis) หรือแบบที่มีอาการเหลือง

           โรคเล็ปโตสไปโรซิสรุนแรง หรือกลุ่มอาการเวล (Weil's Syndrome) พบในกลุ่มที่ได้รับเชื้อในซีโรวาร์ อิกเทอโรฮีมอราเจียอี/โคเปนเฮเกไน ซึ่งอาการเริ่มแรกจะไม่ต่างจากโรคฉี่หนูที่ไม่รุนแรง แต่ไม่มีลักษณะอาการที่แบ่งออกเป็นสองระยะชัดเจน โดยอาการรุนแรง หรืออาการเหลืองจะแสดงออกมาใน 4-9 วัน หลังจากเริ่มมีอาการ โดยกลุ่มคนไข้ที่ติดเชื้อรุนแรง มีอัตราการเสียชีวิตอยู่ประมาณร้อยละ 5-15%

           ทั้งนี้ เชื้อต่าง ๆ จะเข้าไปอยู่ในบริเวณที่ร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกัน เช่น ลูกตา จะทำให้มีอาการตาอักเสบแดง น้ำตาไหล สู้แสงไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ คือ

           มีอาการเพ้อ ไม่รู้สึกตัว หากเชื้อเข้าไปอยู่ในสมอง

           หากเชื้ออยู่ในท่อไต จะทำให้ไตวายเฉียบพลันได้

           เกิดผื่น เช่น ลมพิษ ผื่นแดง

           กล้ามเนื้อที่น่องกดเจ็บอย่างรุนแรง

           มีอาการดีซ่าน คือ ผิวหนังจะมีสีเหลืองมาก ตับโต ประมาณ 20% ของผู้ติดเชื้อมีอาการม้ามโตร่วมด้วย

           มีอาการทางปอด คือ ไอ มีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย จนถึงระบบหายใจล้มเหลว

           มีความผิดปกติของระบบการแข็งตัวของเลือด ซึ่งอาการมีตั้งแต่แบบเล็กน้อย เช่น มีเลือดกำเดา จ้ำเลือดตามผิวหนัง ไปจนถึงอาการรุนแรง เช่น เลือดออกในทางเดินอาหาร เลือดออกในช่องเยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น

           อาการอื่น ๆ เช่น กล้ามเนื้อลายสลายตัว เม็ดเลือดแดงแตก เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับอ่อนอักเสบรุนแรง ภาวะการทำงานของอวัยวะล้มเหลวหลายระบบ เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคฉี่หนู

           ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ขึ้นสูง ปวดกล้ามเนื้อ และเป็นกลุ่มเสี่ยง คือ อยู่ในบริเวณน้ำท่วมขัง เล่นน้ำ หรือย่ำน้ำในช่วงนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อให้ตรวจและวินิจฉัยอย่างถูกต้อง เนื่องจากผู้ป่วยโรคฉี่หนูส่วนใหญ่ที่เสียชีวิต มักจะไม่ได้รับการรักษาโรคฉี่หนูอย่างทันท่วงที เนื่องจากคิดว่าเป็นไข้หวัดธรรมดา

การรักษา โรคฉี่หนู

           โรคฉี่หนู สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งควรให้ยารักษาโดยเร็วที่สุด ไม่ควรเกิน 4 วันหลังจากมีอาการ และควรให้ยาติดต่อกันอย่างน้อย 7 วัน

การป้องกัน โรคฉี่หนู

การป้องกัน โรคฉี่หนู สามารถทำได้โดย

           1. กำจัดหนูในบริเวณสถานที่อยู่อาศัย

           2.หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคฉี่หนู รวมทั้งการสัมผัสปัสสาวะโค กระบือ หนู สุกร

           3.หลีกเลี่ยงการทำงานในน้ำ หรือต้องลุยน้ำ ลุยโคลนเป็นเวลานาน ๆ

           4.หลีกเลียงการว่ายน้ำที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่

           5.ไม่ใช้น้ำ จากแหล่งที่ต้องสงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อโรค

           6.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่วางทิ้งไว้ค้างคืน โดยไม่มีภาชนะปกปิด

           7.เกษตรกร หรือคนทำงานปศุสัตว์ที่ต้องย่ำในน้ำ ควรสวมชุดป้องกัน เช่น รองเท้าบูท ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อผ้า ให้เรียบร้อย

           8. ทำความสะอาดร่างกายโดยเร็ว หากเดินลงไปในแหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ

http://health.kapook.com/view18115.html




.



. สาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย เลปโตสไปรา (Leptospira sp.) ซึ่งเป็นเชื้อที่อยู่ในปัสสาวะของสัตว์พาหะ โดยส่วนใหญ่คือ หนู แต่ก็ยังรวมถึงสุกร โค กระบือ แพะ แกะ หรือสัตว์เลี้ยงใกล้ตัวอย่างแมว และสุนัขด้วย
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ สายลมที่หวังดี

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 840
  • พลังกัลยาณมิตร 319
    • ดูรายละเอียด
Re: โรคฉี่หนู โรคร้ายที่มากับน้ำท่วม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2010, 09:31:28 pm »
น้ำท่วม...โรคระบาดต่างๆก็กำลังจะตามมา  :26:
 :47:รักษาสุขภาพกันด้วยนะค่ะ

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: โรคฉี่หนู โรคร้ายที่มากับน้ำท่วม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2010, 01:14:24 am »
 :45: ขอบคุณครับพี่หนุ่ม^^
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~