ผู้เขียน หัวข้อ: คำสอนของท่านเว่ยหล่าง 2  (อ่าน 6929 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำสอนของท่านเว่ยหล่าง 2
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 09:04:08 pm »


นั่งเฝ้าก้อนเนื้อ

พุทธศาสนิกชนผู้เลื่อมใสศรัทธาในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ดูเหมือนมีความเชื่ออย่างเด็ดขาดมั่นคงว่า วิธีบำเพ็ญให้พ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงจนบรรลุมรรคผลนิพพานต้องอาศัยเครื่องมือสำคัญคือ "นั่งสมาธิ" และยังเชื่อกันต่อไปว่าเป็นการปฏิบัติบูชาตามที่พระพุทธองค์สรรเสริญ   กิจกรรมสมาธิ จึงบานสะพรั่งเต็มเมืองไทย วัดไหน อาจารย์ไหนไม่รู้เรื่องสมาธิ วัดนั้นอาจารย์นั้นล้าหลังหาความเจริญรุ่งเรืองมิได้ "สมาธิ" จึงกลายเป็น "พุทธพาณิชย์" อีกแบบหนึ่งซึ่งสร้างความร่ำรวยให้แก่วัดและอาจารย์เหล่านั้น ที่กำหนดรูปแบบสมาธิขึ้นมา แล้วยืนยันว่าเป็นวิธีที่พระพุทธองค์ทรงปฏิบัติและสั่งสอนสืบต่อกันมา และในที่สุดอาการ "งมงายสมาธิ" หรือ "สมาธิแบบงมงาย" จึงส่งผลให้ผู้ปฏิบัตินั้นยังเร่าร้อน ลุ่มหลง โทสจริต โมหาคติ ยังแรงกล้า ผู้ที่ปฏิบัติสมาธิแบบงมงายจึงเต็มไปด้วยอาการยึดมั่นถือมั่นและก่อกรณีรุนแรงร้าวฉานขึ้นกับตัวเองและผู้อื่น ส่วนผู้ที่ปฏิบัติสมาธิแบบรู้แจ้ง จิตใจเบิกบาน ปล่อยวางอารมณ์ทั้งปวงได้ ชีวิตดำเนินไปด้วยปัญญา  ความสงบสันติในตัวเองและผู้อื่นจึงปรากฏขึ้น

สมาธิ จึงมีอยู่สองวิธี คือ "มิจฉาสมาธิ" เป็นสมาธิที่หลงงมงายไม่สามารถพาให้จิตญาณของตนพ้นเวียนว่ายตายเกิด แม้มีอิทธิฤทธิ์มากมายแค่ไหนก็ไม่อาจพ้นนรก "สัมมาสมาธิ" เป็นสมาธิที่พาให้จิตญาณพ้นไปจากความหลงงมงาย และดำรงตนมั่นอยู่ในสัจธรรมอันเป็นผลมาจากปัญญาที่มีกำลังกล้าแข็งตัดความทุกข์ได้

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้กล่าวเอาไว้ในพระสูตร "ว่าด้วยสมาธิและปัญญา" ว่า "ในระบบคำสอนของอาตมา สมาธิปัญญา นับเป็นหลักสำคัญ  แต่ท่านทั้งหลายอย่าได้เข้าใจผิดไปว่าธรรมะสองข้อนี้แยกจากกันเป็นอิสระ เพราะเหตุว่ามันเป็นของรวมอยู่ด้วยกัน แยกจากกันไม่ได้ และมิใช่ของสองอย่าง ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีความเป็นตัวของตัวเอง"

ความหมายแห่งคำสอนนี้ถ้าเอา "น้ำ" มาเปรียบเทียบจะเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น   น้ำ มีคุณสมบัติเด่นคือ ความเย็น และ เหลว เราไม่อาจแยก "เหลว" ออกจาก "น้ำ" ได้ ฉันใด สมาธิ และปัญญาก็แยกจากกันมิได้ฉันนั้น   พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวเอาไว้อย่างชัดเจนว่า "สมาธิ นั่นแหละคือ ตัวจริง ของปัญญา ในเมื่อปัญญาเป็นแต่เพียงอาการไหวตัวของสมาธิ   ในขณะที่เราได้ปัญญา สมาธิก็มีพร้อมอยู่ในนั้นแล้ว หรือกล่าวกลับกันว่า เมื่อมีสมาธิ เมื่อนั้นก็มีปัญญาดังนี้ก็ได้ ถ้าท่านทั้งหลายเข้าใจหลักดังนี้ก็แปลว่าท่านเข้าใจความสัมพันธ์อันมีส่วนเสมอกันระหว่างสมาธิกับปัญญา ผู้ศึกษาไม่ควรไปคิดว่า มันมีอะไรแตกต่างกันระหว่างคำว่า "สมาธิทำให้เกิดปัญญา" กับคำว่า "ปัญญาทำให้เกิดสมาธิ" การถือว่าความเห็นแยกกันได้นั้นย่อมสำแดงว่ามันมีอะไรแตกต่างเด่นๆ รู้ถึงสองฝักสองฝ่ายในธรรมะนี้"


พุทธศาสนิกชนที่ศึกษาสมาธิของพระพุทธศาสนาต่างมีความเชื่อว่า สมาธิ และ ปัญญา เป็นเรื่องที่แยกจากกัน  และเป็นคนละส่วนกัน  แต่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน เพราะเราเชื่อกันตามที่อรรถาจารย์ได้ตีความและแยกแยะออกมาว่า การปฏิบัติธรรมต้องมี "ศีล สมาธิ ปัญญา" เพราะความเชื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้เกิดอาการงมงายกันคนละแบบ

บางสำนักบางอาจารย์ก็ เคร่งศีลกลายเป็น "บ้าศีล"

บางสำนักบางอาจารย์ก็ เคร่งสมาธิจนกลายเป็น "สมาธิบ้า"

บางสำนัก บางอาจารย์ก็หลงไหลปัญญา จนกลายเป็น "ยโสโอหังมมังการ"


"อาการบ้าศีล" มิได้มีแต่ในปัจจุบันสมัยเท่านั้น แม้แต่อดีตกาลคนบ้าศีลก็ปรากฏอยู่ทั่วไป คนเหล่านี้ไร้ปัญญาพิจารณาให้เห็นเป็นสัจธรรม เมื่อสมาทานศีล "ปาณาติปาตา" เว้นจากการฆ่าสัตว์น้ำก็ดื่มไม่ได้เพราะในน้ำมีชีวิตสัตว์ อากาศมีเชื้อโรคหายใจเข้าไปก็ฆ่าเชื้อโรค ล้วนเป็นบาปทั้งสิ้น คนบ้าศีล จึงอยู่ในโลกนี้ และตายไปด้วยความทุกข์ทรมาน


อาการ "สมาธิบ้า" นับว่าอันตรายที่สุด เพราะนั่งกันจนเพลิดเพลิน  หลอกหลอนตัวเองว่าได้พบ สวรรค์วิมาน ระลึกชาติได้ พบพระพุทธองค์ขนาดได้นั่งฟังพระพุทธองค์เทศนาให้ฟังจนบรรลุมรรคผลนิพพาน   เมื่อสำเร็จเป็นอรหันต์จึงอยู่ในโลกนี้ไม่ได้ต้องตายภายใน 7 วัน   คนบ้าสมาธิจึงพากันฆ่า ลูก ฆ่าเมีย และตัวเองตายตกนรกไป


ส่วนคน "บ้าปัญญา" ก็ไม่อาจแยกแยะให้เห็นสัจธรรม  เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างว่างเปล่า ตามที่อาจารย์บอกเล่า  แลยึดแต่คำสอนของอาจารย์เป็นสรณะ คำสอนอื่นๆ ไร้สาระ คนบ้าปัญญาไม่สามารถแยกแยะได้ระหว่าง "ความรู้" กับ "ปัญญา" เพราะฉะนั้นจึงมีอาการน้ำล้นแก้ว ไม่ยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่นเลย

ความจริงแล้ว "สมาธิ" และ "ปัญญา" ถ้าเข้าใจความสมดุลถูกต้องย่อมยังประโยชน์มหาศาลแก่มนุษย์   แต่เพราะความเข้าใจผิด   ชีวิตของผู้ปฏิบัติสมาธิจึงมีความมืดอยู่ในความสว่าง เพราะเราพากันนั่งเฝ้าก้อนเนื้อกันมานานแล้วนานแสนนานโดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์โภคผลใดๆ แก่ตัวเองและผู้อื่นเลย


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 02, 2010, 06:12:27 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำสอนของท่านเว่ยหล่าง 2
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 09:08:04 pm »



หลงสุขจึงไม่เห็นทุกข์

ทางแห่งความหลงมีหลายแยก  แต่ละทางแยกยังมีทางแยกออกไปอีกหลายสาย   จนคนหลงทางมองไม่เห็นถึงความหลงนั้น  และเดินไปด้วยคิดว่าเป็นหนทางแห่งความถูกต้องเพราะตรงกับจริตของตนเอง ทางเช่นนี้จึงสมควรเรียกว่า "ทางแห่งอวิชชา" เพราะเป็นความไม่รู้ที่แท้จริง กล่าวคือไม่รู้ว่าตนเองยังหลงอยู่

สมาธิที่ทำให้ผู้ลุ่มหลงทั้งหลายต้องจ่ายเงินตราให้แก่ผู้แสวงหาลาภสรรเสริญมากมายจนกลายเป็น "สมาธิพาณิชย์" ที่ทำกำไรมหาศาลยิ่งกว่ากิจการค้าใดๆ ในโลกนี้
 
มีหลวงพ่อองค์หนึ่งซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่เข้าฌานสมาบัติถอดจิตไปเฝ้าพระพุทธเจ้าได้แล้ว ยังพาผู้อื่นขึ้นไปเฝ้าพระพุทธองค์ได้อีกด้วย  จึงกลายเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือ  มีผู้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ มากมาย เงินทองจึงเดินสะพัด
 
"โยมเงินทองมิได้ช่วยให้ไปถึงนิพพาน ใส่ไว้ทำไมให้จิตใจลุ่มหลงมัวเมา ผู้ที่ถอดได้คือ ผู้ที่ตัดได้ จึงได้ชื่อเป็นผู้ละวางความลุ่มหลงลงไปได้ เอ้า...ถอดสายสร้อย แหวน ใส่ลงไปในบาตรของอาตมาแล้วจะปลุกเสกให้กลายเป็นอริยะทรัพย์ฝากไว้ในพระพุทธศาสนา"

ญาติโยมฟังจนเพลินและไพเราะหนักหนา  ต่างพากันถอดทรัพย์สินใส่ลงไปในบาตรทั้งหมด โดยหวังว่าเมื่อปลดระวางทรัพย์ทั้งหลายลงไปแล้วจิตใจจักได้เบาสบายและสามารถเกาะจีวรหลวงพ่อขึ้นไปเฝ้าพระพุทธองค์ได้   ญาติโยมถอดแก้วแหวนเงินทอง   แต่หลวงพ่อกลับไปติดที่โบสถ์สวยงามดังวิมานบนชั้นฟ้า ทั้งหลวงพ่อและโยมจึงกลายเป็นผู้ติดความสุขไปโดยไม่รู้ตัว

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า "สำหรับบุคคลที่ลิ้นของเขาพูดได้ไพเราะ แต่ใจของเขาไม่สะอาด  สมาธิและปัญญาไม่มีประโยชน์อะไรแก่เขา เพราะสมาธิและปัญญาของเขาไม่มีทางสมดุลหรือสัมพันธ์กันได้เลย ส่วนอีกทางหนึ่งซึ่งตรงกันข้ามคือถ้าดีทั้งใจและดีทั้งถ้อยคำที่พูด  ทั้งกริยาอาการภายนอกกับความรู้สึกในใจประสานกลมกลืนกันแล้วนั่นแหละ คือกรณีสมาธิและปัญญาได้สัมพันธ์กันอย่างสมดุล"

ความหมายแห่งพระวจนะนี้ได้ชี้ให้เห็นความเป็นจริงที่ชัดเจนว่า สมาธิและปัญญา แม้เป็นของอย่างเดียวกัน แต่การสำแดงออกมาถ้าปราศจากสมาธิควบคุม ก็อวดอ้างว่าตนเองสำเร็จบรรลุธรรมพ้นไปจาก โลภ โกรธ หลง แล้ว เขาเหล่านี้จึงกลายเป็น โมฆะบุรุษ คือ ผู้มาเปล่าและกลับไปเปล่านั่นเอง ส่วนผู้ที่สามารถทำให้ภายนอกและภายในจิตใจของตนเองมีความสมดุลย์กัน เพราะ สติ เป็นกำลังสำคัญ สมาธิจึงสำแดงปัญญาออกมาต่อสัจธรรมแห่งธรรมญาณซึ่งมีความอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่แล้วตามธรรมชาติ แม้ผู้นั้นบรรลุถึง ธรรมญาณเดิม ของตนแล้วจึงมิใช่ผู้ที่จะมาอวดอ้างยกตนเหนือผู้อื่นว่า พ้นไปแล้วจากโลกียกรรมทั้งปวง

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงให้อรรถาธิบายว่า "การโต้แย้งจึงไม่เกิดขึ้นแก่นักศึกษาผู้ที่มีความสว่างไสวแล้ว แต่ถ้ายังโต้แย้งถกเถียงกันว่า ปัญญาเกิดก่อน หรือสมาธิเกิดก่อนนั่นแหละจะทำให้ผู้นั้นตกอยู่ในภาวะเช่นเดียวกับคนที่ถูกอวิชชาครอบงำ  เพราะการเถียงกันย่อมหมายถึงความดิ้นรนจะเป็นฝ่ายชนะ ย่อมเสริมกำลังให้แก่ความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตน   และย่อมผูกพันเราไว้กับความยึดถือ ด้วยความสำคัญว่าตัวตนว่าสัตว์ ว่าชีวะ ว่าบุคคล"   เพราะเหตุนี้เองใครที่อวดอ้างว่าตัวเองสำเร็จธรรม และเห็นผู้อื่นไม่สำเร็จธรรม คนผู้นั้นจึงเป็นผู้โง่เขลาที่แท้จริง และแบ่งแยกดูถูกคนทั้งปวง

"อรหันต์" ตั้งตัว และลูกศิษย์ตั้ง จึงกลายเป็น "อรหันต์จับฉ่าย" ไปด้วยประการเช่นนี้ เพราะทั้งศิษย์และอาจารย์ต่างยังตกอยู่ในวังวนของ "อวิชชา" ความไม่รู้ของผู้สนใจศึกษาธรรมะและหลงติดในสมาธิจึงไม่รู้ถึงความเป็นจริงระหว่างสมาธิกับปัญญาว่ามีลักษณะเป็นเช่นใด




พระสังฆปริณายกฮุ่ยเหนิงได้เปรียบเทียบเอาไว้อย่างน่าสนใจและชัดเจนว่า "สมาธิและปัญญานั้น ควรเปรียบเทียบกับอะไรดีเล่า   ธรรมะ สองชื่อนี้ควรเปรียบกับตะเกียงและแสงของมันเอง มีตะเกียง ก็มีแสงไม่มีตะเกียง มันก็มืด ตะเกียงนั่นแหละคือตัวการแท้ของแสงสว่างและแสงสว่างเป็นแต่สิ่งซึ่งแสดงออกของตะเกียง  โดยชื่อฟังดูเป็นสองอย่าง  แต่โดยเนื้อแท้แล้วมันเป็นของอย่างเดียว และเป็นทั้งของอย่างเดียวกันด้วย   กรณีเช่นนี้แหละเปรียบได้กับ สมาธิปัญญา" ผู้ที่ปฏิบัติสมาธิจึงตกอยู่ในภาวะสองอย่าง คือ หลงติดกับตัวตะเกียงหรือแสงสว่างของตะเกียง ถ้าเฝ้าดูเพลิดเพลินไม่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งจึงเป็นผู้ติด

ธรรมดาเมื่อตะเกียงจุดแสงสว่างย่อมนำไปใช้ประโยชน์เพื่อส่องทาง  แต่บัดนี้บรรดาผู้ปฏิบัติสมาธิขั้นหลงลมอาจารย์  หรือหลงสมาธิต่างมีความสุขเพลิดเพลินไปกับแสงสว่างบ้าง ความนิ่งบ้าง จนลืมความทุกข์ที่แท้จริงของชีวิตอันเป็นวิบากกรรมที่ตนเองสร้างเอาไว้   คนหลงเหล่านี้เชื่อว่าการพ้นหนี้เวรกรรมของตน ใช้สมาธิเป็นหนทางหนีรอดได้   ถ้าความสุขทำได้ง่ายเช่นนี้ กฎแห่งกรรมก็มิใช่สัจธรรมอีกต่อไป ทำร้ายชีวิตอื่นอย่างทารุณก็สามารถนั่งสมาธิหนีหนี้ได้สบายมากจริงไหม

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำสอนของท่านเว่ยหล่าง 2
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 09:10:29 pm »



สมาธิที่ถูกวิธี

วิธีทำสมาธิย่อมมีทั้งวิธีที่ถูกและผิด แต่เพราะมิได้นำมาพิจารณาแยกแยะให้ชัดเจน จึงไม่รู้ว่าวิธีใดถูกและผิด ขอแต่เพียงเป็นสมาธิก็เหมาเอาว่าเป็นของพระพุทธองค์และยินดีรับมาปฏิบัติ จึงเป็นเรื่องที่น่าเศร้า  เพราะหลงปฏิบัติผิดไปนานแสนนานก็ไม่รู้ตัว  กลายเป็นการยึดมั่นและถือมั่นเป็นอัตตาตัวตนเหมือนกับสำนวนที่ว่า "สมาธิข้าใครอย่าแตะ"

ถ้ามีใครมาบอกว่าการนั่งสมาธิของตนเองผิด ความไม่พอใจก็เกิดขึ้น  และพาลหาว่าคนเหล่านั้นกระทำการเหมือนคนนอกศาสนาไปโน่น   สมัยที่ฝึกหัดนั่งสมาธิอัตตาก็แค่ตัวคนเดียว เล็กนิดเดียวแต่เผอิญนั่งไปนานๆเข้าเกิดนิมิตเห็นเป็นพระพุทธรูป ขยายให้ใหญ่เต็มท้องฟ้าหรือเล็กนิดเดียวเท่าเมล็ดงาก็ทำได้ เมื่อรูปนิมิตขยายใหญ่เท่าไร อัตตาของคนเห็นก็ใหญ่ขึ้นเท่านั้น ความหลงก็เกิดขึ้นจนประมาณขอบเขตของความหลงนั้นมิได้ ยิ่งมีคนมาบำเพ็ญปฏิบัติด้วยมากเท่าไร อัตตาของตนเองก็ขยายออกไปมากเท่านั้น คนหลงเป็นล้านกับคนหลงหนึ่งคนต่างก็มีค่าเป็นความหลงเช่นเดียวกัน

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวเอาไว้ว่า "การบำเพ็ญ สมาธิที่ถูกวิธี นั้นได้แก่การให้เป็นระเบียบตายตัว เพื่อให้เราเป็นคนตรงแน่วในทุกโอกาสไม่ว่าจะเดิน ยืน นั่ง นอน วิมลกีรตินิเทศสูตร มีข้อความว่า "ความเป็นผู้ตรงแน่วนั่นแหละคือ เมืองอริยะ แดนบริสุทธิ์" "เพราะฉะนั้นอย่าปล่อยให้ใจคดเคี้ยวไปมา และอย่าประพฤติความตรงแน่วเพียงลมฝีปาก" "เราต้องบำเพ็ญให้ตรงแน่วจริงๆ และไม่ผูกพันตัวเองไว้กับสิ่งใดๆ คนที่งมงายอยู่ภายใต้อวิชชา ย่อมเชื่ออย่างดื้อดึงไปตามธรรมลักษณะฉะนั้นเขาจึงรั้นที่จะแปลเอาตามชอบใจของตัวเอง"




พระวจนะของท่านฮุ่ยเหนิงได้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า สมาธิที่ถูกวิธีนั้นมิใช่เป็นการนั่งแต่เป็นการคุมจิตให้มีพฤติกรรมออกมาอย่างตรงต่อสัจธรรมในทุกอิริยาบถ   คนที่นั่งนิ่งๆ ไม่ไหวติงมิอาจกล่าวได้ว่าจิตใจตรงแน่วต่อสัจธรรม  เฉกเช่นเดียวกับคนที่ปากบอกว่าตรงต่อสัจธรรมก็ไม่อาจประเมินว่าเป็นคนตรงแน่วจริงแท้ ความตรงแน่วจึงไม่อาจตัดสินกันได้ด้วยวาจาหรือการกระทำด้วยอาการของร่างกายเท่านั้น แต่ความตรงแน่วย่อมต้องเป็นผู้ที่รู้ถึงความเคลื่อนไหวของจิตที่ผลิตออกมาจากธรรมญาณ   สติ จึงเป็นตัวคุมที่ดีที่สุด แต่การนั่งหลับตาจนมองเห็นพุทธรูปหรือดอกบัวตลอดจนเห็นวิมานชั้นสวรรค์ย่อมเป็นอาการของคนหลง ซึ่งไม่ต่างไปจากคนในโลกนี้ที่เดินเที่ยวตามศูนย์การค้าและเพลิดเพลินกับสินค้าที่ตัวเองเกิดจิตปรารถนามองทุกครั้งที่เป็นศูนย์การค้านั้น

ปุถุชนจึงชอบที่ประกาศความตรงแน่วของตนเองทุกเวลาเพื่อยืนยันให้ผู้มีปัญญารู้ว่า ตนเองนั้นมิได้มีความตรงแน่วแต่ประการใดเลย ส่วนผู้ที่บำเพ็ญปฏิบัติที่แท้จริงและมีปัญญา จักเกิดความเข้าใจได้ว่า ความตรงแน่วตามหลักสัจธรรมนั้นไม่สามารถประกาศออกมาได้ด้วยวาจา แต่เกิดขึ้นจากจิตที่รู้จักธรรมญาณของตนเองเท่านั้น บุคคลเหล่านี้จึงเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตนด้วยจิตใจและสำนึกถึงความผิดของตนเองบ่อยครั้งจนกลายเป็นหลักปฏิบัติของตนเองไป

แต่คนที่ปฏิบัติตามความตรงแน่วด้วยรูปลักษณ์ หรือด้วยวาจา ย่อมพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างตามสภาพแห่งความหลอกลวงที่ตนเองหลงเข้าไปติดยึดว่าถูกต้อง คนที่หลงตกอยู่ในอวิชชาคือความไม่รู้อันแท้จริงนั้นย่อมแปลความหมายแห่งการปฏิบัติธรรมของตนไปตามที่ได้พบเห็น และยึดถือว่าถูกถ้วน บางท่านแปลการทำสมาธิต้องนั่งนิ่ง ภาวนาถ้อยคำเพื่อให้จิตนั้นสงบนิ่ง ครั้นจิตสงบนิ่งแต่ได้สร้างภาพมายามากมาย ครั้นพบภาพที่สวยงามพึงใจ จิตจึงติดยึดไม่ปล่อยวาง จึงตีความว่าวิธีการบำเพ็ญของตนเองนั้นถูกต้องที่สุดแล้ว มีความสงบ มีความสบาย อย่างชนิดที่ไม่เคยได้พบมาก่อนเลยเพราะฉะนั้นจึงยึดมั่นถือมั่นและเห็นเป็น "ธรรมลักษณะ" ที่ถูกต้องตรงตามที่พระพุทธองค์สั่งสอน ความหลงเช่นนี้ยากที่จะมีใครไปถอนให้ได้

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวต่อไปว่า "ในการแปลคำว่า "สมาธิที่ถูกวิธี" จึงพากันแปลว่านั่งอย่างเงียบติดต่อกันไป โดยไม่ยอมให้ความคิดอันใด อันหนึ่งเกิดขึ้นในจิต  การแปลความหมายเช่นนี้เป็นการจัดตัวเราเองลงไปอยู่ในชั้นเดียวกับวัตถุที่ไร้ชีวิตวิญญาณทั้งหลาย  และกลายเป็นสิ่งสะดุดเกะกะกีดขวางหนทางตรง ซึ่งเราสมควรทำให้เปิดโล่งอยู่เสมอ ถ้าทำใจของเราให้พ้นไปจากการข้องแวะในสิ่งทั้งหลายทุกสิ่งได้แล้ว ทางนั้นก็จะเตียนโล่ง  ถ้าทำอย่างนั้นก็ได้ชื่อว่า ขังตัวเราเอง ถ้าหากแปลคำว่านั่งอย่างเงียบติดต่อกันไปเป็นคำแปลที่ถูกต้องแล้ว  ทำไมในคราวหนึ่งท่านสารีบุตรจึงถูกท่านวิมลกีรติขนาบเอาเนื่องจากนั่งเงียบๆ ในป่านั่นเอง"

การนั่งเงียบๆ จึงไม่ผิดอะไรกับก้อนหิน ท่อนไม้ที่ตายแล้ว  เพราะวัตถุเหล่านี้ก็นั่งเงียบๆ เหมือนกัน และถ้าจิตที่มีสติคอยควบคุมให้อยู่ในอาการของการตื่นตัวและรู้เท่าทันกิเลสทั้งปวงที่ผ่านเข้ามาทุกวินาที และกำหราบกิเลสเหล่านั้นลงไปได้ สมาธิเช่นนี้ต่างหากจึงเป็นหนทางแห่งการพ้นทุกข์โดยแท้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำสอนของท่านเว่ยหล่าง 2
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 09:14:33 pm »


หลอกตัวเอง

การนั่งสมาธิอาจนำไปสู่การหลอกตัวเองได้ง่ายๆ แต่ถอนออกจากอุปาทานคือการยึดมั่นถือมั่นต่อสิ่งที่จิตตนเองสร้างเอาไว้นั้นเป็นเรื่องยากที่สุด ฤาษีจึงหลงติดอยู่ในญาณสมาบัติจนสำเร็จขึ้นไปเป็นรูปพรหมหรืออรูปพรหม นับเป็นแสนกัลป์ ครั้นเสื่อมจากญาณก็ต้องจุติตกลงมาเกิดกายในภูมิวิถีหก ชาติกำเนิดสี่อีกเช่นกัน

สมัยที่พระพุทธองค์ทรงฝึกฝนเข้าฌาณกับพระอาจารย์สององค์คือ อุทกดาบส และอาฬารดาบส จึงทรงรู้ได้ด้วยปัญญาของพระองค์ว่ามิใช่หนทางแห่งการหลุดพ้นเวียนว่ายตายเกิดอย่างแท้จริง พระพุทธองค์จึงทรงละวิธีนั้นเสีย  โดยปฏิเสธคำเชิญชวนของอาจารย์ทั้งสองให้รับหน้าที่เป็นอาจารย์สอนสมาธิฌาณสมาบัติ

เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จึงทรงบัญญัติและปฏิบัติสัมมาสมาธิ ซึ่งย่อมมีภาวะแตกต่างไปจากมิจฉาสมาธิอย่างแน่นอน หากเป็นอย่างเดียวกันไหนเลยจักต้องลำบากค้นหาหนทางสายกลางและบัญญัติออกมาเป็นมรรคมีองค์ 8 เล่า   หลักฐานปรากฏชัดเจนว่าภายหลังที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ"ธรรมญาณ"  แล้วพระองค์มิได้นั่งสมาธิเฉกเช่นฤาษีอีกต่อไป

คือพระพุทธศาสนาที่เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงทุกวันนี้ เพราะการนั่งเข้าญาณสมาบัติ ย่อมไม่อาจมีคำสอนใดๆ ถ่ายทอดมาสู่ชนรุ่นหลังได้เลย แต่ตลอดระยะเวลา 47 พรรษา พระพุทธองค์เสด็จโปรดเวไนยสัตว์ มีเวลาพักผ่อนวันละไม่เกินสามชั่วโมง

ใน "วิมลกีรตินิเทศสูตร" ได้กล่าวเอาไว้ตอนที่พระสารีบุตรนั่งเงียบๆ ท่านวิมลกีรติกล่าวว่า

"เมื่อกล่าวถึงการนั่งเงียบๆ แล้วมันควรจะหมายถึงว่าเขาไม่เกิดในโลกทั้งสามอีกต่อไป

มันควรจะหมายถึงว่าขณะที่อยู่ในนิโรธสมาบัตินั้น เขาก็สามารถทำการเคลื่อนไหวต่างๆ ทางกายได้เช่น การเดิน การยืน การนั่ง การนอน ฯลฯ

มันควรจะหมายถึงว่า โดยไม่ต้องหันเหออกจากทางแห่งบัญญัติ เขาสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ทางวิสัยโลกได้ 

มันควรหมายถึงว่า เขาคอยอยู่ข้างในก็หามิได้ ข้างนอกก็หามิได้   

มันควรจะหมายถึงว่าเขาบำเพ็ญโพธิปักขิยธรรมสามสิบเจ็ดประการอยู่ โดยปราศจากความหวั่นไหวด้วยอำนาจของมิจฉาทิฏฐิ

มันควรจะหมายถึงว่าโดยไม่ต้องมีการทำลายล้างกิเลสอีกต่อไป เขาก็สามารถเข้าถึงนิพพาน

ผู้ที่นั่งได้เช่นนี้แหละจะได้รับความรับรองจากพระพุทธเจ้า"

ถ้อยความในพระสูตรนี้ ยืนยันได้ว่า การนั่งเงียบๆ โดยไม่ไหวติงแม้ในจิตของตนเองนั้นเป็นการนั่งเงียบแบบก้อนหิน แต่การนั่งสมาธิอย่างที่นิยมปฏิบัติกันอยู่ สภาวะแห่งจิตยังมีโอกาสเกิดในสามภพอีกกล่าวคือ ยังมีความรู้สึกติดอยู่ในกามภพ รูปภพ และอรูปภพ อารมณ์ของกามภพคือ รัก-เกลียด โกรธ-หลง อารมณ์ของรูปภพคือ ติดอยู่ในรูปลักษณ์ทั้ง รูปธรรมและนามธรรม อารมณ์ของอรูปภพคือ ติดอยู่ในรูปของความว่างโดยไม่รู้ตัว
 

สมาธิอย่างที่รู้ตัวทั่วพร้อม ตั้งมั่นรับรู้ผัสสะทั้งปวง สามารถตัดอารมณ์ที่มากระทบได้ทันทีที่บังเกิดขึ้นนั่นแหละ เป็น สัมมาสมาธิ   ส่วนการนั่งหลับตาทำสมาธิอย่างที่นิยมกัน มักมีภาพนิมิตให้หลงใหลจนกลายเป็นยาเสพติดชนิดหนึ่ง และน่าเสียหายนักผู้ที่ติดไม่รู้ตัวว่าได้ติดร่างแหแห่งความงมงายไปเสียแล้ว

มีผู้ปฏิบัติธรรมท่านหนึ่งพื้นฐานทางโลกจบปริญญาเอก อาชีพเป็นอาจารย์ บรรยายวิชาการในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ท่านชอบนั่งสมาธิจนกระทั่งฝึกถอดจิตได้  เห็นกาายเนื้อของตนเองนั่งหลับตาเหมือนท่อนเนื้อ ภรรยาสุดที่รักของท่านเสียชีวิตด้วยโรคร้าย ท่านมีความรักและผูกพันกับภรรยามากแต่ท่านก็สามารถแก้ไขปัญหาความคิดถึงด้วยการถอดจิตไปคุยกับภรรยาบ่อยๆ นับเป็นเดือนเป็นปี

ปัญหาที่สงสัยกันคือ ท่านอาจารย์ผู้นี้พบกับวิญญาณของภรรยาจริงๆ หรือไม่ คำตอบนี้น่าจะเป็นการแก้ข้อสงสัยได้ดีที่สุดคือ ทุกชีวิตที่พ้นไปจากกายสังขารนี้แล้วย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่ง ถ้าเป็นกุศลปัจจัยก็ไปสู่สุขคติ   ถ้าเหตุเป็นอกุศลก็ไปสู่ทุคติ   ถ้าวิญญาณภรรยาผู้นี้ยังคงมาคุยกับสามีอยู่เสมอๆ เธอก็ไม่ตกอยู่ในกฎแห่งการเวียนว่าย   

และอีกเรื่องหนึ่งน่าเป็นคำตอบที่ดีสำหรับการนั่งสมาธิถอดจิตนั้นมีผลเป็นอย่างไร ชายหนุ่มคนหนึ่งมีความรักต่อภรรยาของตนอย่างสุดซึ้ง แต่ภรรยากำลังป่วยหนักใกล้ตาย จึงขอคำมั่นสัญญาจากสามีว่า ชาตินี้จะเป็นเธอคนเดียวตลอดชีวิต แม้ชีวิตเธอจะหาไม่แล้วก็จักไม่แต่งงานใหม่ ถ้าผิดสัญญาเธอจะมาอาละวาด เมื่อชายหนุ่มสูญสิ้นภรรยาไปแล้ว เขาก็รักษาคำมั่นสัญญาไม่ข้องแวะกับสตรีใดเลย จวบจนเวลาล่วงเลยไปหนึ่งปี ชายผู้นี้จึงพบกับหญิงสาวสวยรายใหม่ จิตใจของชายผู้นี้หวั่นไหว และเห็นว่าภรรยาตายไปนานแล้วจึงจัดการมั่นหมาย

ครั้นตกกลางคืน ผีภรรยาจึงมาปรากฏแล้วต่อว่าต่อขานอย่างรุนแรงจนสามีหมดปัญญาไม่ว่าจะแก้ตัวอย่างไร ผีภรรยาก็ไล่ต้อนจนมุมได้ทุกทีไปทั้งๆ ที่สมัยเป็นคนไม่มีสติปัญญาเอาเสียเลย ชายหนุ่มจนหนทางได้แต่ตรอมตรมใจผ่ายผอม เพราะผีภรรยามารบกวนอยู่ทุกคืน จนกระทั่งญาติพี่น้องต้องพาไปหาหลวงพ่อซึ่งบำเพ็ญปฏิบัติอยู่บนภูเขา หลังจากหลวงพ่อซักไซร้ไล่เลียงกันแล้วจึงมอบถั่วเหลืองให้หนึ่งทะนานแล้วสั่งว่า "คืนนี้เมื่อผีมาก็ให้ถามว่าเจ้าเป็นผีรู้ทุกอย่างใช่ไหม  แล้วจงกำถั่วเหลืองให้ผีเมียเจ้าทาย แล้วเจ้าก็จะรู้อะไรเป็นอะไร"

ครั้นตกกลางคืนผีภรรยาก็มาตามเคย สามีก็ยกย่องถึงความฉลาดของผีและถามว่า

"เธอรู้ทุกอย่างใช่ไหม"     

"อ๋อ แน่นอน ตอนกลางวันพี่ขึ้นไปหาหลวงพ่อ น้องก็รู้"

"ถ้ายังงั้นเธอลองทายซิว่า ในกำมือของพี่มีถั่วเหลืองกี่เม็ด"

ผีงงงันตอบไม่ถูก  และทันใดนั้นก็หายวับไปกับตาซึ่งเป็นช่วงจังหวะเดียวกันที่ดวงตาของชายหนุ่มทอแสงเจิดจรัส เพราะเข้าใจชัดเจนว่าแท้ที่จริง ผี ที่มาหาทุกคืนก็คือสิ่งที่จิตสร้างเอาไว้หลอกตัวเอง

บางสำนักขยันถอดจิตไปเฝ้าพระพุทธเจ้ายังแดนนิพพานและโด่งดังถึงขนาดยกขบวนญาติโยมขึ้นไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกันทีเดียว ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าจริงหรือไม่ ไม่เป็นปัญหา แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ไปเฝ้าใครกันแน่ พระพุทธะ หรือ พระยามาร

ครั้งที่พระพุทธศาสนาล่วงมาแล้ว 200 ปี พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช กษัตริย์แห่งชมพูทวีปมีพระราชศรัทธาสร้างพระสถูปเจดีย์แปดหมื่นสี่พันองค์ แต่กริ่งเกรงว่าพระยามารวสวัตตี จักมารังควาน  จึงทรงปรึกษากับพระเถระทั้งปวงว่าควรป้องกันอย่างไรดี พระเถระมีความเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรไปนิมนต์พระกีสนาอุปคุตเถระซึ่งตามพุทธพยากรณ์ได้กล่าวเอาไว้ว่า "ภายหน้าจักมีพระภิกษุรูปหนึ่งนามว่าอุปคุตเถระ จักปราบพระยามารให้ละพยศ พ่ายแพ้แล้วจะกล่าวปฏิญาณปรารถนาพุทธภูมิ"

ครั้งพระยามารวสวัตตีลงมากลั่นแกล้งในกองบุญครั้งนี้จึงต่อสู้กับพระอุปคุตด้วยสามารถจนพ่ายแพ้ ถูกพระอุปคุตใช้ประคตวิเศษผูกพระยามารไว้กับภูเขาลูกหนึ่งจนสิ้นเวลา 7 ปี 7 เดือน 7 วัน พระยามารร่ำรำพันด้วยความคับแค้นใจจนประกาศก้องว่า "หากบุญกุศลที่สั่งสมไว้ในเบื้องหน้าจักมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกนี้ ขอถึงซึ่งการเป็นพระพุทธเจ้า อันจักได้เป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทั้งปวง"

พระอุปคุตเถระได้ยินดังนี้จึงแก้มัดและขอให้พระยามารนิรมิตกายเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อชมบุญ "ถ้าข้าพเจ้านิรมิตแล้วพระคุณเจ้าอย่าได้ไหว้เพราะจักเป็นบาปแก่ข้าพเจ้า"

ครั้นพระยามารแปลงกายเป็นพระพุทธเจ้า พระอุปคุตเถระยังก้มลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ถวายสักการะบูชา เพราะฉะนั้นการถอดจิตไปเฝ้าพระพุทธเจ้าอาจหลงไปเฝ้าพระยามาร การเห็นรูปลักษณ์ทั้งปวงจึงมิใช่หนทางแห่งการพ้นทุกข์แต่กลายเป็นทุกข์หนัก เพราะจิตหลอกลวงตัวเองโดยไม่รู้ตัว จึงเปรียบเป็นการทำลายชะตาชีวิตอย่างน่าเสียดายนัก

เมื่อจิตมีความยินดีปรารถนาเสียแล้วย่อมถอนออกจากความโง่เง่าได้ยากนัก ใครก็ตามบำเพ็ญธรรมแล้วตกอยู่ในภาวะแห่งการหลอกลวงตัวเองจึงเป็นเรื่องน่าเศร้าใจนัก เพราะเขายึดถืออาการหลอกลวงนั้นด้วยความมั่นคงตราบชั่วชีวิตทีเดียว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 02, 2010, 06:00:08 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำสอนของท่านเว่ยหล่าง 2
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 09:18:30 pm »


หลงข้ามภพข้ามชาติ

ความไม่รู้จัก "ธรรมญาณ" ของตนเองก่อให้เกิดความหลงอย่างร้ายแรง  กลายเป็นอวิชชาสร้างภพสร้างชาติวนเวียน เกิด-ตาย ไม่สิ้นสุด   ตัวเร่งที่ก่อให้เกิดความหลงนั้นคือ ตัณหาความทะยานอยากไม่ว่าจะเป็นความสุข ความดี ความดัง ความรวย ล้วนเป็นตัวที่ทำให้ "จิต" ของคนหลงวนเวียนติดยึดอยู่กับสิ่งเหล่านี้  และเป็นปัจจัยทำให้มี "อาการเกิด" ไม่สิ้นสุด   ผู้ฝึกนั่งสมาธิพอนิ่งสงบเกิดความสุขล้วนติดยึดกับความสุขนั้น  และเพราะเกิดความอยากเห็นสวรรค์ นิพพาน นรก จิตจึงเนรมิตให้ตนเองได้พานพบ แต่เพราะขาดปัญญาญาณพิจารณาโดยสัจธรรมจึงหลงคิดว่าเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้แน่นอน

ตัวอุปาทานความติดยึดจึงสำแดงเดช ยึดเอาสวรรค์นิพพานเป็นที่หมาย พอเกิดทุกข์นั่งหลับตาไปนิพพาน หนีความทุกข์ได้ทุกครั้งไป ความหลงเช่นนี้ไม่มีใครสามารถแกะออกมาได้เลย ถ้ามิได้ใช้ปัญญาของตนพิจารณาให้เห็นเป็นสัจธรรม

เหตุใดคนเหล่านี้จึงมิได้ใช้ปัญญา เพราะอุปาทานบดบังปัญญาเสียสิ้น ปัญญาจึงไม่อาจแยกแยะให้เห็นชัดในเหตุปัจจัยทั้งปวงที่จิตได้ก่อขึ้นด้วยความหลงผิด เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ผู้ที่ติดยึดในมิจฉาสมาธิล้วนเป็นผู้ที่ได้สั่งสมเอาไว้แล้วในชาติปางก่อน กลายเป็นจริตที่ติดจิตญาณมาจนแกะไม่ออก ชาติที่แล้วก็นั่งหลับตาภาวนาเป็นฤาษี ชาตินี้เกิดมาก็ยังคงนั่งหลับตาภาวนาเป็นผู้ถือศีล ปฏิบัติอย่างนี้ชาติแล้วชาติเล่า  หาได้ไปถึงไหนไม่   เพราะไม่อาจค้นพบจุดกำเนิดที่เป็นต้นเหตุแห่งการเกิดได้เลย   เพราะฉะนั้นจึง เกิด-ตาย ไปเรื่อยๆ

แต่พระพุทธองค์ทรงค้นพบสิ่งที่ไม่เกิด เพราะฉะนั้นจึงไม่มีการตาย การค้นพบเช่นนี้มีได้แต่เฉพาะการใช้ปัญญาญาณเท่านั้น

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวเอาไว้ว่า "อาจารย์สอนกัมมัฏฐานบางคน สอนศิษย์ของตนเองให้เฝ้าระวังจิตของตนให้นิ่งเงียบ ถึงกับว่าหมดความเคลื่อนไหวเป็นไปของจิตเอาเสียทีเดียว เมื่อเป็นดังนั้น พวกศิษย์ก็พากันเลิกถอนการระดมกำลังจิตเสียสิ้นเชิง คนหลงผิดเหล่านี้พากันฟั่นเฟือน เนื่องจากมีความเชื่อถือในคำแนะนำนั้นเกินไป" ความหมายแห่งพระวจนะนี้น่าจะชัดเจนว่าการกำหนดให้จิตของตนนิ่งเงียบปราศจากความเคลื่อนไหวนับเป็นหนทางแห่งความหลงผิดโดยแท้เพราะตัวการของจิตคือ "ธรรมญาณ" มิได้มีหน้าที่ใช้ปัญญาซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติให้เกิดประโยชน์เลย เพราะไม่อาจหยั่งรู้ได้ถึงความเคลื่อนไหวของ "จิต" ว่าดีหรือชั่ว กำลังของจิตญาณคือ การใช้ความคิดซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ  และเราเรียกกันว่าปัญญา  โดยตัวของมันเองแล้วมีพลานุภาพที่สามารถตัดขาดจากกิเลสทั้งปวงได้   แต่เพราะมันถูกบังคับให้อยู่นิ่งๆ มันจึงไร้อานุภาพโดยสิ้นเชิงเหมือนถูกกักขังเอาไว้   

สภาวะดั้งเดิมของ "ธรรมญาณ" มีความเงียบสงบอยู่แล้วแต่การขยับตัวของธรรมญาณ จึงกลายเป็น "จิต" ที่เกิดความคิดอ่าน  ในขณะเดียวกันคุณลักษณะของธรรมญาณ คือมีปัญญาแยกแยะ แต่สภาวะแห่งจิตนั้นกระสับกระส่ายวิ่งวนมิอยู่นิ่ง   การบังคับให้ต้องอยู่นิ่งๆ จึงเป็นการหลงคิดว่าเป็นความว่าง   แท้ที่จริงมิใช่ความว่างตามธรรมชาติแห่ง "ธรรมญาณ"   เมื่อ "จิต" อยู่นิ่งไม่เป็น ความคิดฟุ้งซ่านจึงเกิดขึ้นและสามารถสร้างสรรค์ไปทั้งในทางดีและร้ายได้เสมอกัน




เพราะฉะนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสเกี่ยวกับเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิด
การเวียนว่ายไม่สิ้นสุดว่า
ความไม่รู้เป็นเหตุให้เกิดความคิดปรุงแต่ง


ความคิดปรุงแต่งจึงเป็นเหตุให้เกิดวิญญาณความรับรู้
วิญญาณความรับรู้จึงเป็นเหตุให้เกิดนามรูป   

นามรูปจึงเป็นต้นเหคุให้เกิด อายตนะหก หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ
อายตนะหกจึงเป็นเหตุให้เกิดสัมผัส

เมื่อสัมผัสแล้วจึงเป็นเหตุให้เกิด อารมณ์
อารมณ์จึงเป็นเหตุให้เกิดความอยากและตัณหา

ตัณหาจึงเป็นเหตุให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นเป็นอุปาทาน
อุปาทานจึงเป็นเหตุให้เกิดภพ

ภพจึงเป็นเหตุให้มีความเกิดคือชาติ
เมื่อมีการเกิด จึงเป็นเหตุให้ แก่

แก่แล้วจึงถึงซึ่งความตาย
เมื่อความตายมาถึงจึงเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์โศก เสียใจ

และเพราะเสียใจคับแค้นใจจึงกลายเป็น "ความไม่รู้"
และเริ่มต้นเวียนวนไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด กลายเป็นทะเลทุกข์ที่ท่องกันไปชาติแล้วชาติเล่า

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง ท่านจึงกล่าวเตือนไว้ว่า "ความหลงผิดเช่นนี้มิได้เกิดขึ้นนานๆ ครั้ง
แต่มีอยู่ทั่วไปและมีมานานแล้ว
และจึงถือเป็นความผิดอย่างใหญ่หลวงที่สอนให้ผู้อื่นระวังจิตของตนให้นิ่งเงียบ"


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 02, 2010, 06:01:21 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำสอนของท่านเว่ยหล่าง 2
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 09:44:02 pm »



ไม่ช้า-ไม่เร็ว


การหมุนเวียนเปลี่ยนระบบสุริยจักรวาลก่อให้เกิดการเวลา  อิทธิพลนี้ได้กำเนิดกลางวัน กลางคืน วัน เดือน ปี ชั่วโมง นาที และวินาที    เมื่อ "ธรรมญาณ" ลงมาสู่โลกนี้ย่อมตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกาลเวลาโดยที่ตัวเองหารู้ไม่ว่า แท้ที่จริงแล้ว "ธรรมญาณ" มิได้ขึ้นอยู่กับกาลเวลา กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ กาลเวลาเปลี่ยนแปลง "ธรรมญาณ" มิได้   เพราะแต่เดิมมา "ธรรมญาณ" มีความสมบูรณ์พร้อมอยู่แล้วโดยไม่จำเป็นต้องปรุงแต่งอะไรเลย    "ธรรมญาณ" ทุกดวงในโลกนี้มีปัญญาเท่าเทียมกัน แต่ไฉนคนในโลกจึงมีโง่และฉลาด บางคน "ปัญญาทึบ" บางคนปราดเปรื่อง   ปัญญานี้ พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง ได้ให้อรรถาธิบายว่า "ในพระพุทธศาสนาที่เป็นไปตามคัมภีร์ ความแตกต่างระหว่างนิกาย "ฉับพลัน" กับนิกาย "เชื่องช้า" มิได้มีอยู่อย่างชัดแจ้ง  ความแตกต่างเท่าที่เห็นกันอยู่ก็มีแต่เพียงว่า ตามธรรมชาติที่เกิดมาคนบางพวกรู้อะไรได้เร็ว ในเมื่อคนอีกบางพวกทึบต่อการที่จะเข้าใจสิ่งต่างๆ

พวกที่สว่างไสวก็สามารถเห็นแจ้งสัจธรรมได้ทันที  ในเมื่อพวกที่อยู่ภายใต้อวิชชาจะต้องค่อยๆ ฝึกตัวเองต่อไป แต่ความแตกต่างเช่นกล่าวนี้จะไม่ปรากฏเลย ถ้าหากเรามารู้จักธรรมญาณของตัวเอง และรู้แจ้งต่อสภาพแท้ของตัวเราเอง เพราะฉะนั้นคำว่า "เชื่องช้า" กับคำว่า "ฉับพลัน" สองคำนี้จึงเป็นเพียงภาพเลือนๆ มากกว่าที่จะเป็นจริง"

วจนะของท่านฮุ่ยเหนิงจึงยืนยันได้ชัดเจนว่า ทุกคนในโลกนี้มีสภาวะแห่งธรรมญาณเท่าเทียมกัน  แต่ที่เกิดอาการแตกต่างกันเพราะ "อวิชชา" คือความไม่รู้จัก "ธรรมญาณ" และสภาวะแห่งความเป็นจริงของ "ธรรมญาณ" แห่งตน ส่วนการรับรู้ที่ฉับพลันและเชื่องช้าเป็นเพราะอาการยึดมั่นถือมั่นแห่งจิตที่เวียนว่ายไปในสามภพสามภูมิ อารมณ์ดี-ชั่ว ได้นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานจนยากที่จะสลัดออกไปได้ ดังนั้นต่างจึงลืมเลือนสภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" อันเป็นธรรมชาติดั้งเดิมที่บริสุทธิ์ของตนเองเสียสิ้น  ความแตกต่างของมนุษย์จึงปรากฏขึ้นในโลกนี้ บาป เวร กรรม ที่ก่อขึ้นมาตามอารมณ์ชาติแล้วชาติเล่าจึงเป็นอวิชชาบดบังปัญญาเสียสิ้น ความรู้แจ้งในสัจธรรมจึงปรากฏช้า

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงชี้หนทางแห่งการพ้นไปจากการติดยึดว่า

"ในการที่จะถือเอา ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก เป็นผลที่เราจำนงหวัง
ถือเอา ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยของอารมณ์ว่าเป็นมูลรากอันสำคัญ

และถือเอา ความไม่ขัดติด ว่าเป็นหลักหรือต้นตออันเป็นประธานสำคัญ"
ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยของอารมณ์นั้น
หมายถึงความไม่ถูกอารมณ์ดึงดูดเอาไว้ ในเมื่อได้สัมผัสกันเข้ากับอารมณ์

ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตกนั้นหมายถึงความไม่ถูกลากเอาไป
โดยความคิดอันแตกแยกอย่างใดอย่างหนึ่ง ในขณะที่กำลังบำเพ็ญภาวนาทางจิต


ความไม่ข้องติด นั้นหมายถึงลักษณะเฉพาะแห่ง ธรรมญาณของเรานั่นเอง
ทุกสิ่งไม่ว่าดีหรือเลว สวยงามหรือน่าเกลียด
ควรจัดเป็น ของว่าง อย่างเดียวกัน และไม่มีการนึกถึงการแก้เผ็ด

ในการฝึกความนึกคิดของตนเอง จงปล่อยให้อดีตเป็นอดีตถ้าเราเผลอให้ความคิดของเรา
ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต มาจับติดต่อกันเป็นห่วงโซ่แล้ว ก็หมายว่าเราจับตัวเองใส่กรงขัง


             

ในฝ่ายตรงกันข้าม ถ้าเราไม่ยอมให้ใจของเราข้องติดอยู่ในสิ่งใดๆ เราจะลุถึงความหลุดพ้น
เพื่อผลอันนี้เราจึงถือเอา "ความไม่ข้องติด" ว่าเป็นหลักหรือต้นตออันเป็นประธานสำคัญ"

พระวจนะของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงชี้ให้เห็นว่า การข้องติดนั้นเป็นเพราะการเปรียบเทียบ ดี-เลว สวยงาม-น่าเกลียด อาการข้องติดของจิตจึงเกิดขึ้น ถ้าปราศจากการเปรียบเทียบมองดูให้เห็นเป็นอย่างเดียวกัน อาการปล่อยวางจักปรากฏขึ้นภายในจิต

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวต่อไปว่า "การดำรงใจไว้ให้เป็นอิสระจากอำนาจของกิเลส
ในทุกๆ ลักษณะของสิ่งที่แวดล้อมรอบตัวเรานี้เรียกว่า "ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก"

ใจของเราลอยอยู่สูงเหนือสิ่งใดๆ และในทุกกรณีเราไม่ยอมให้สิ่งเหล่านั้นมามีอิทธิพลครอบงำ
ในการที่ใจของเราจะทำหน้าที่ของมัน แต่มันเป็นความผิดอย่างใหญ่หลวงในการบีบบังคับใจ

ไม่ให้คิดอะไรเสียหมด เพราะแม้เราจะทำได้สำเร็จในการบังคับเช่นนั้น และเราดับจิตลงไปขณะนั้น

เราก็ยังคงต้องเกิดใหม่ในภพ ใดภพหนึ่งอยู่ดี"


บรรดาท่านที่ชอบนั่งหลับตาทำสมาธิแบบฤาษีชีไพรทั้งปวงควรนำวจนะข้อนี้ไปพิจารณาให้ดี เพราะท่านฮุ่ยเหนิงกล่าวเอาไว้แจ่มชัดว่า "บรรดาท่านผู้เดินทางทั้งหลาย  มันเป็นความชั่วอย่างพอตัวทีเดียวสำหรับคนที่ทำอย่างผิดพลาดเนื่องมาจากไม่เข้าใจความหมายของธรรรมบัญญัติข้อนั้น แล้วมันจะเป็นความชั่วมากขึ้นไปเพียงใดอีก ที่ไปเร้าใจให้ผู้อื่นพากันทำตามเป็นบริวารของตน

            เมื่อหลงเสียแล้ว เขาก็มองไม่เห็นอะไรและยิ่งไปกว่านั้นเขายังแถมเป็นผู้กล่าวตู่พระพุทธวจนะอยู่ตลอดกาลเป็นนิจด้วย"



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำสอนของท่านเว่ยหล่าง 2
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 09:48:07 pm »



หนึ่งเป็นสองต้องมีทุกข์


พระพุทธองค์ทรงใช้เวลาหกปีค้นจนพบหนทางแห่งการดับทุกข์คือ "สายกลาง" ซึ่งมีทางปฏิบัติอยู่แปดประการเรียกว่า "อริยะมรรค" ใครประคองจิตให้อยู่ในจิตให้อยู่ในหนทางนี้ได้จักพ้นทุกข์อย่างแท้จริงโดยเริ่มต้นดังนี้

1. ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสัจธรรม

2. ความคิดที่ต้องการพ้นไปจากโลกีย์กรรม

3. การสำรวมวาจา

4. การกระทำที่ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

5. มีอาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

6. มีความเพียรที่ถูกต้อง

7. มีสติถูกต้อง

 8. มีสมาธิถูกต้อง

"ทางสายกลาง" สามารถปฏิบัติได้ในมนุษย์เพียงแต่รักษาสภาวะจิตของตนเองให้เป็น "หนึ่ง" ความทุกข์ย่อมไม่เกิด แต่ปุถุชนเกิดความทุกข์ เพราะชอบเปรียบเทียบ จาก "หนึ่ง" จึงไปเป็น "สอง" เพราะฉะนั้นจึงมี "ดี" หรือ "ชั่ว" และจึงเกิด "ชอบ" หรือ "ชัง" พ้นไปจากทางสายกลาง ความวิตกทุกข์ร้อนจึงเกิดขึ้นไม่ว่าอยู่ในภาวะ "ต้องการ" หรือ "ไม่ต้องการ"

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้อธิบายกรณีนี้ว่า "ทำไมเราจึงถือเอา "ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก" มาเป็นผลที่จำนงหวังของเรา  เพราะเหตุที่มีคนเขลาบางประเภทได้โอ้อวดได้เห็นแจ้ง ธรรมญาณ แต่กำลังถูกอารมณ์ที่แวดล้อมลากเอาตัวไปวิตกต่างๆ เกิดขึ้นในใจของเรา ถูกแวดล้อมด้วยมิจฉาทิฏฐิอันเป็นกระแสแห่งความหลงและกิเลสทุกๆ ชนิด   ทั้งนี้เพราะใน "ธรรมญาณ" นั้นไม่มีอะไรสำหรับให้ใครลุถึงเสียเลย ฉะนั้นการที่มาเอ่ยอ้างว่ามีการลุถึง  และกล่าวพล่อยๆ ถึงความดีหรือความชั่วเหล่านั้นล้วนแต่เป็นมิจฉาทิฏฐิและกิเลส    เพื่อผลอันนี้เอง เราจึงได้ถือเอา "ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก" ว่าเป็นผลที่จำนงหวังของเรา"

พระวจนะตอนนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า "ธรรมญาณ" ซึ่งเป็นตัวสำแดงความว่างไม่มีอะไรให้บรรลุถึง เพราะฉะนั้นตราบใดที่ภายในจิตใจยังวิตกหรือยินดีต่ออารมณ์ทั้งฝ่ายดีหรือชั่ว ย่อมเป็นหนทางแห่งความหลงโดยแท้  เพราะสำคัญผิดคิดว่าตนเองสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เที่ยวคุยอวดหรือแสดงเป็นนัยให้คนอื่นรู้ว่าตนเองสำเร็จบรรลุธรรมแล้ว

ความรู้สึกที่ผุดขึ้นในจิตเพียงนิดเดียวก็พอที่จะฉุดให้คนหลงเหล่านั้นลืมตัว และพ้นไปจาก "ทางสายกลาง" ของจิต

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงชี้หนทางพ้นไปจากวิตกจริตทั้งปวงว่า "การที่จะพ้นอำนาจของวิตก อะไรเล่าเป็นสิ่งที่เราควรสลัดเสียให้สิ้นเชิง และอะไรเล่าที่เราควรปักใจของเราลงไป  เราควรสลัด "ของที่เป็นคู่ๆ อย่างตรงกันข้าม" เสียให้สิ้นเชิงพร้อมทั้งอกุศลเจตสิกทุกๆ อย่าง"

ความหมายที่พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวคือ สิ่งที่เป็นคู่กัน เช่น ดี-ชั่ว สวรรค์-นรก สำเร็จ-ไม่สำเร็จ โง่-ฉลาด เพราะตราบใดที่ยังมีคู่ย่อมมีการเปรียบเทียบก่อให้เกิดอารมณ์จนบดบังธรรมญาณตราบนั้นย่อมพ้นไปจากความเป็น "หนึ่ง"   พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวต่อไปว่า "เราควรปักใจของเราลงไปที่ภาวะแท้จริงของ ตถตา เพราะเหตุว่า ตถตา นั่นแหละเป็นตัวการแท้ของวิตก และวิตกเป็นผลแห่งการไหวตัวของ ตถตา" "ตถตา" มีความหมายว่า มันคงมีสภาพเป็นอย่างนั้นเอง   เป็นอย่างอื่นไม่ได้   เพราะฉะนั้นมันจึงก่อเกิดสรรพสิ่งเพราะเป็นความว่างอันแท้จริง



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำสอนของท่านเว่ยหล่าง 2
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 10:01:57 pm »

ถ้าเปรียบไปแล้วก็เหมือนเกียร์ของรถยนต์   การที่สามารถขับเคลื่อนไปได้ เพราะมีเกียร์ว่าง หากปราศจากเกียร์ว่างเสียแล้ว รถยนต์ย่อมใช้ประโยชน์มิได้เลย พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงอธิบายว่า "ตัวแท้ของตถตา ซึ่งเบ่งบานขึ้นถึงระดับเด่นชัดนั้นต่างหากที่ทำให้วิตกนั้นเกิดขึ้น หาใช่อวัยวะรู้สึกอารมณ์นั้นๆ ไม่   ตถตา ย่อมทรงไว้ซึ่งคุณลักษณ์ของตัวมันเอง ฉะนั้นมันจึงสามารถให้กำเนิดแก่วิตก ปราศจากตถตา เสียแล้ว อวัยวะสำหรับรู้สึกอารมณ์และอารมณ์นั้นๆ ย่อมสลายลงทันที

เพราะเหตุที่คุณลักษณะของตถตาต่างหากที่ทำให้เกิดแก่วิตก ฉะนั้นอวัยวะสำหรับรู้สึกอารมณ์ต่างๆ ของเราไม่จำเป็นต้องด่างพร้อยหรือเศร้าหมองไปด้วยในทุกๆ เหตุการณ์   แม้มันจะเป็นหน้าที่ใน การดู การฟัง การสัมผัส การรู้ ก็ตาม และตัวภาวะแท้ของเราก็อาจยัง "แสดงตัวเองให้ปรากฏได้" ทุกเวลา" เมื่อ ตถตา ขยับตัวด้วยสื่อสัมผัสใดๆ มากระทบโดยอาศัยช่องทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก่อให้เกิด รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และ ธรรมารมณ์ ตัวการแท้จึงอยู่ที่ ตถตา มิได้อยู่ที่อวัยวะใดๆ


หากปราศจาก ตถตา ก็เสมือนหนึ่งเวลาเรานอนหลับสนิท ควรมีแสดงอาการอย่างไรก็ไม่มีปฏิกริยาโต้ตอบ หรือคนจีนที่ไม่รู้จักภาษาไทยแต่กลับถูกด่าด้วยภาษาไทยย่อมฟังไม่รู้เรื่อง  จึงไม่เกิดการโต้ตอบและมีอารมณ์โมโห ตัวอย่างเด็กทารกที่ยังไม่รู้ความ ใครจะด่าว่าอย่างไร อาการโต้ตอบก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมญาณ ยังมิได้เรียนรู้เป็นสัญญาขันธ์ว่า นั่นคือ คำหยาบคาย เพราะฉะนั้นจึงไม่มีอารมณ์โกรธ

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงสรุปเอาไว้โดยชี้ให้เห็นถึงความเป็นหนึ่งว่า "พระสูตรจึงกล่าวว่า ผู้ที่คล่องแคล่วในการแยกแยะธรรมลักษณะนานาประการเพื่อความเข้าใจอันถูกต้องได้ จักเป็นผู้ที่ตั้งอยู่อย่างไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนใน ธรรมอันเอก"

เพราะฉะนั้นการรักษาความเป็นหนึ่งของสภาวะจิตย่อมไม่มีการเปรียบเทียบจึงไม่เกิดทุกข์ แต่เมื่อใดมีสอง เมื่อนั้นความทุกข์ย่อมเข้าครอบงำทันที




ที่มา : http://www.sanyasi.org/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=6&Category=sanyasiorg&No=288051
สุขใจดอทคอม
Pics by : Google

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุค่ะ

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: คำสอนของท่านเว่ยหล่าง 2
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 10:28:36 pm »
 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม ขอบคุณครับ
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~