พวกเราใช้ ปัญญา ฐานเดียว กันมามากแล้ว คือ คิดๆๆๆๆ โดย คิดในโหมดปกป้อง คลื่นสมองเบต้า เสียเป็นส่วนมาก คิดตอนจิตไม่ว่าง นี่ พระอาจารย์พุทธทาส เรียกว่า "เฉโก" เป็น ความคิดที่เจือ "อัตตา" ตัวฉัน ของฉันอยู่เยอะมาก
ระบบการศึกษาจึงเป็นแบบเฉโก ตั้งแต่ เด็กๆ จน จบปริญญาเอก เพลิน จนมาเป็น ศาสตราจารย์ ก็ยัง ไม่ ปิ๊ง สักที ว่าที่เรียนมา เกินครึ่งของชีวิต เป็น "เฉโก" เสียเยอะ ใช้ปัญญา ไม่ถึง 1 ใน 3 เลย ยังไม่รู้่จัก ฐานกาย ฐานใจเลย ฐานคิดก็ดันเป็นเฉโกเสียนี่
ปีใหม่นี้ ขออวยพร ให้พวกเรา มีปัญญา เพิ่ม เป็น ๓ เท่า ด้วย การ ใช้ ปัญญาจากฐานกาย ฐานใจ และ ฐานคิดแบบโหมดปกติ
ฐานกาย คำว่า "ฐานกาย" คือ มีความรู้สึก (sensing) ได้ดี ถึง การ เปลี่ยนแปลง เกร็ง ผ่อนคลาย ร้อน หนาว คัน หนัก เบา เจ็บ ฯลฯ ของร่างกาย คือ มีสติที่กายและเวทนาทางกาย ได้ดี และต่อเนื่อง
จะเรียกว่า มีปัญญาฐานกายดี ก็ได้ แต่ ก็ไม่ใช่ จะจำ กระบวนท่า จับกริปไม้แบด ไม้กอล์ฟ ได้ดีเสมอไป นั่นเป็น แค่ ความสามารถในการจดจำของกล้ามเนื้อ (Muscle memory) เท่านั้นเอง ฐานกายดี คือ สติ ไปจนถึงมี มหาสติ ที่ ฐานกาย และ เวทนาทางกาย ที่ รู้ๆๆๆๆ รู้เท่าทัน รู้ตลอดเวลา
คนพิการ ก็มีฐานกายดีได้ เช่น รู้ๆๆๆ ที่กายตลอดเวลา อย่าง อาจารย์กำพล ที่เขียนหนังสือ : "จิตสดใสแม้นกายพิการ"
นักกีฬามากมาย เป็น พวกกล้ามเนื้อดี แข็งแรง ความจำของกล้ามเนื้อดี ฉับไว อ่อนตัว ทนทาน ฯลฯ ก็ ไม่ถือว่า ว่า มี "ฐานกาย"ดี ในแง่ ของ สติ แต่ บางคน อาจจะเป็น "กายสดใส แต่ สติพิการ" ก็ได้
นักกีฬาหลายคน ที่ยัง บ้ากาม มั่วกิ๊ก สุรา นารี พนัน ฯลฯ ก็เพราะ ยัง ไม่มี "ความเห็น" (Belief / Opinion) ที่เป็นไปในทางเดียวกับธรรมชาติ ยังฝืนธรรมชาติอยู่ ยังติดกับดักของวัตถุนิยม เสพนิยม สุขนิยม ค่านิยม ฯลฯ ที่โดนบ่มเพาะมา โดนหล่อเลี้ยงมา แบบนั้น
ลองฝึกฐานกายแบบง่ายๆ
(๑) ยืน บนขาข้างเดียว ยกเข่าของขาอีกสูง โยคะ เรียกว่า ท่าต้นไม้ ไท้เก็ก เรียกว่า ท่าไก่ทองขาเดียว :- ยกให้นานๆๆๆ จะเรียนรู้ว่า สติของเรา จะอยู่ที่กาย เท้าที่สัมผัสพื้นจะเกร็ง เพื่อการทรงตัว ต้นขาเกร็ง ฯลฯ ความคิดจร จะเข้ามาแหย่ เช่น เลิกเถอะ เมื่อยแล้ว ฯลฯ ยืนท่าต้นไม้ นี่แหละ ฝึกดูจิต ดูความคิด ดีนักแล
(๒) เมื่อฝึกท่าต้นไม้ จนขาแข็งแรงแล้ว ลอง เดินจงกรมแบบช้า ยกช้าๆ ช่วงที่ยกขา ขึ้นทีละข้าง นี่แหละ จะรู้เลยว่า "ท่าต้นไม้" ที่ฝึกมา จะช่วย การทรงตัวได้ดีมาก อย่ารีบเดิน พรวดๆ ยิ่งช้ายิ่งดี เพราะ เราต้อง การ "หยุดคิด" เพื่อจะได้ เกิด "ตัวรู้" รู้ร่างกายของเรา หยุดคิดเพื่อจะได้เห็นตัวรู้สึก (Sensing)
(๓) เดินจงกรม เยอะๆ แล้วค่อยไปนั่งสมาธิ หลวงปู่ขาว หลวงปู่จันทา สอนให้ เดินจงกรม ๑ ชั่วโมง ยืนนิ่ง ๑๕ นาที แล้วว ค่อยไป นั่งสมาธิ อีก ๑ ชั่วโมง ... ลองดูซิ
(๔) ยามว่างๆ นั่งรถ นั่งเล่น นอนรอหลับ ฯลฯ ก็หัด หยุดคิด เราโดนระบบการศึกษายุตเฉโก สอนให้คิดๆๆๆๆ คิดจนเป็น ด็อกเตอร์ เป็นศาสตราจารย์ จนละเลยฐานกายไปเสียหมด
"ผู้รู้ไม่ึิคิด ผู้คิดไม่รู้" "ความคิด vs ความรู้สึกตัว" ทั้งสองตัวนี้ เขาจะ ทำหน้าที่ได้ ทีละตัวนะ หาก คิด ใช้ ฐานคิด ก็จะลืม ฐานกาย (ความรู้สึกตัว) ในทางกลับกัน หาก เรา รู้ตัว ทั่วพร้อม เรา ก็จะต้อง หยุดคิด
พวกเรา ที่ฝึกสติมาน้อย จะหลงไป คิดๆๆๆ อยู่นั่นแหละ
ลอง ฝึก "หยุดคิด" แล้ว ย้ายไป ฐานกาย ให้ดู ให้สร้างความรู้สึก (Sensing) ที่ กาย ทำบ่อยๆ จะ เก่งขึ้น จนไป รู้สึก (Feeling) ได้ ที่ ฐานใจ
เมื่อฐานใจ สบายๆ ร่างกายจะผ่อนคลายเราก็รู้ เกร็ง เครียดเราก็รู้ เมื่อรู้ ก็ "หยุดคิด"
หาก ยังเอาแต่คิด ก็จะไม่รู้ ( ใช้ฐานกายไม่ได้ เพราะ มัวแต่ใช้ฐานคิด) เพราะ คนที่เขารู้ๆๆๆๆ (มีสติ) รู้ที่ กาย (ลมหายใจเข้าออก พุงยุบ พุงพอง รู้การเคลื่อนไหวของกาย รู้ทุกอิริยาบท ฯลฯ) จะไม่คิด
ให้โหมดปกติ (เป็น โหมด stanby mode) ของเรา เป็น โหมดรู้กาย พอ โดนกระทบ ก็ทำ กายสบายๆ ใจจะสบายๆ ช่วงที่ กายสบาย ใจสงบ จะได้ "ปัญญา" จากฐานคิด เป็นปัญญาที่ดี มีประโยชน์ หาก คิดไม่ดี เราจะรู้ได้ เพราะ กายจะไม่ผ่อนคลาย ใจไม่สงบ หากคิดไม่ดี ก็หยุดคิด กลับ ไปรู้ๆๆๆ ที่ ฐานกาย ต่อไป
ปัญญาฐานกาย เป็น tacit knowledge และ เมื่อเก่งแล้ว ได้มหาสติแล้ว จะเป็น The Deepest Knowledge
ในเมื่อเป็น ปัญญาฐานกาย ดังนั้น เขียนอธิบายได้ยาก บอกเล่าก็ยาก ใช้ภาษาฐานคิดไปเล่าเรื่องภาษากาย ภาษาใจ ทำไม่ได้แน่ๆ ดังนั้น คนไม่ฝึกจะไม่มีวันรู้ได้เลย
http://gotoknow.org/blog/ariyachon/324277