บารมี คุรุ กัลยาณมิตร การเดินทาง อธิษฐาน
lสรุป สอนที่ บ ซันฟู๊ด 7 และ 8 สค 52
ผมได้นำเสนอเพื่อนพนักงาน เกี่ยวกับ แนวคิด เรื่อง บารมี อธิษฐาน การเดินทาง สังฆะ กัลยาณมิตร คุรุ ความเชื่อมโยง พิธีกรรม และ ต้องขอออกตัวก่อนนะว่า ผมอ่านทางด้านพุทธศาสตร์มาน้อย อย่ายึดเอาเป็นเอกสารอ้างอิง
ผมจึงบันทึกเรื่องนำเสนอเหล่านั้น แบบเท่าที่จำได้ คร่าวๆ มานำเสนอพวกเรา ดังนี้
บารมี
คำว่า บารมี ผมมักจะนึก Bar หรือ ขั้น ราว บันได เป็นอะไรที่คล้ายๆกับ แท่ง ที่เราต้องเอามาซ้อนๆๆๆกัน นั่นคือ การทำ ซ้ำๆๆๆๆๆ จนกว่าจะผ่านเรื่องนั้นๆได้
คนเรา จะต้องผ่านอุปสรรค เช่น เจอความพลัดพราก เจอคนนิสัยแบบต่างๆ เจอความทุกข์ในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น แต่ละอุปสรรค ถ้าเราก้าวพ้นไม่ได้ ไม่เข้าใจ ไม่ยอมรับ เป็นทุกข์ เราก็จะต้องเจอกับอุปสรรคเดิมๆนั้นอีก จนกว่าเราจะรู้จักที่จะ สังเกต ฟัง เข้าใจ ยอมรับ อยู่ร่วมได้ และ สุดท้ายปล่อยวางได้
หลายคนอาจจะมองว่า “กรรม เป็นอะไรที่ต้องชดใช้” แต่ผมอยากให้มองเห็น กรรม เป็นแบบฝึกหัด เป็นโจทย์ ที่เราจะเอามาใช้ ศึกษา หัดทำความเข้าใจ ไม่ใช่เข้าสมอง คือ เข้าที่จิต เข้าที่ใจ
เมื่อเราเจอกรรมใดๆก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะดีหรือจะร้าย กรรมนั่นแหละ เป็นครูของเรา สอนให้เราเห็นตัวเรา เห็นการเปลี่ยนแปลงของกาย เวทนา จิต และ ธรรม สุดท้าย เมื่อเข้าใจ เราก็จะเลิกกำ (กำมือ) นั่นคือ เราแบ (แบมือ) หรือ ปล่อยวางนั่นเอง เราจะวางที่ใจ ปล่อยวาง คือ เข้าใจ ยอมรับ ไม่ผลักไส ไม่ยินดี มีความเป็นกลาง จะเกิดพรหมวิหาร 4 แบบอัตโนมัติ เป็นเมตตากรุณาที่ไม่มีเงื่อนไข ไม่หวังผล เป็นมุทิตา และ อุเบกขาที่ไม่ต้องฝืน เมื่อเรารู้จักที่เอา กรรม มาเป็นแบบฝึกหัด เราจะได้ “บารมี” สะสมบารมีเข้าไว้ เช่น อดทนอดกลั้น ขยันหมั่นเพียร กตัญญู ฯลฯ
เมื่อเราเจอ เรื่องดีๆ ร้ายๆ บ้าๆบอๆ เราต้องไม่ลืม ย้อนมาดูจิตใจ และความคิดของเรา ณ ขณะนั้น (คำว่าดู หมายถึง สังเกต รู้เท่าทัน) แบบทันที ขอให้หัดสังเกตๆๆๆๆๆๆ ศึกษา การทำงานของจิตและความคิด สองตัวนี้เขามีอิทธิพลต่อกันอย่างไร ใครเข้ามาก่อกวนใคร ตามดูผลของการที่จิตผสมกับความคิด จิตชักนำความคิดอย่างไร ความคิดชักนำจิตได้อย่างไร
ทุกครั้งที่เรารู้เท่าทันจิต รู้เท่าทันความคิด กำลังสติของเราจะมากขึ้นเรื่อย เราจะจะพัฒนาตัวเรา เข้าไปดู เข้าไปศึกษา และก้าวข้ามอุปสรรคอื่นๆ ที่แก้ยากกว่าต่อไป
การเดินทาง
พวกเรา เป็นนักเดินทาง เดินทางผ่านเรื่องราวต่างๆมากมาย เดินทางเพื่อการเรียนรู้ สะสมบารมี เดินทางเพื่อไปสู่งเป้าหมาย
เราเดินทาง ก็คือ การที่เราเวียนว่ายตายเกิด ผ่านวัฏสงสาร เกิดแก่เจ็บตาย เป็นคนบ้าง เทพบ้าง สัตว์บ้าง เรียนรู้ถึงผลของจิตใจ และผลของการกระทำต่างๆของเรา เรียนรู้ที่จะเข้าใจไตรลักษณ์อย่างแท้จริง เข้าใจอริยสัจ 4 อย่างแท้จริงในเชิงปฏิบัติ ไม่ใช่ แค่อ่าน หรือ จำได้
ในการเดินทางเพื่อการหลุดพ้นนี้ เราจะมีเพื่อนเดินทางมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนในภพใดก็ตาม เป็นผู้ร่วมเดินทางที่จะ ลี้ภัย (refugee) ออกจากวัฏสงสาร ดังนั้น จงเรียนรู้ร่วมกันที่อยู่ร่วมกัน ไม่เบียดเบียนกัน
กัลยาณมิตร
การที่เรามีเพื่อนที่มิตรแท้ เป็นผู้ชี้แนะ เข้าใจ (Empathy) แบบจิตว่าง คือ เข้าใจแต่ไม่อิน ถือว่า เราโชคดี ได้ทรัพย์ที่ประเสริฐ
บ่อยครั้ง ที่เรามองคนที่ตามใจเรา ตามกิเลสของเรา คือ มิตรแท้ และ รังเกียจ ตำหนิ ผลักไส คนที่ชี้แนะนำเรา จี้ใจดำเรา เตือนเรา เตือนสติเรา ฯลฯ นั่นแหละ เราผลักไสกัลยาณมิตรสะแล้ว
ลองอธิษฐาน ขอให้ได้เจอกัลยาณมิตรนะครับ อธิษฐานเรื่องดีๆแบบนี้ ไม่ใช่ความอยากนะครับ แต่เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางออกจากวัฏสงสาร
อธิษฐาน
การที่เราจะเดินขึ้นภูเขา เช่น ภูกระดึง เราต้องกำหนด ตั้งเป้าว่าเราจะไปให้ถึงยอดให้ได้ และ เมื่อเริ่มเดินทาง เราก็เดินๆๆๆๆๆๆ
การกำหนดเป้าหมาย ไม่ใช่ความอยาก โดยเฉพาะการอธิษฐานเพื่อการหลุดพ้น ออกจาวัฏสงสาร เป็นการตั้งเป้า ตั้งใจ เป็นอธิษฐาน อุปมา เรือจะเดินทาง กัปตันย่อมรู้ว่าจะเดินทางไปท่าเรือท่าไหน ไปจอดที่ไหน
ตั้งเป้าหมายแต่ อย่าไปทุกข์เพราะเป้าหมายนั้น เช่น ตอนที่เราปั่นจักรยาน ขึ้นยอดเขา ทางลาดเอีง สูงชัน เหนื่อยมากๆ ครูฝึกสอนจักรยาน มักจะบอกนักปั่นจักรยานรุ่นน้องว่า อยู่กับปัจจุบัน ปั่นๆๆๆๆ อย่าให้ความคิดมาทำร้ายจิตใจ เช่น เมื่อไรจะถึง โอ้โหอีกนานเลย ฯลฯ ความคิดเหล่านี้ จะเข้าไปกระแทกจิต ชักนำให้จิตเกิดอาการ เช่น ท้อแท้ และ เมื่อจิตท้อแท้ ร่างกายจะแย่ตามจิตไปด้วย
เราอาจจะอธิษฐาน ขอให้เราถึงเป้าหมาย คือ พ้นทุกข์ อธิษฐาน ขอให้มีกลัลยาณมิตร มีคุรุ (ครูที่รู้จริง) มีบารมี เป็นการตั้งเป้า กำหนดทิศทาง เตรียมงานเพื่อการเดินทาง ไม่ใช่ความอยาก
บางท่านบอกว่า อยากไปนิพพาน เป็นความอยาก ผมก็มักจะบอกพวกเขาว่า อุปมา เดินทางเราก็ต้องตั้งเป้า หรือถ้าเขาไม่เข้าใจคำตอบ คือเขาจะให้ความอยากนิพพานเป็นความอยากให้ได้ ผมก็จะ อุปมาให้เข้าใจใหม่ว่า ถ้าเช่นนั้น อุปมา การเดินทางข้ามทะเลทราย เราจะต้องเอา อาหาร น้ำ เข็มทิศ และแผนที่ไปด้วย เราจะต้องมีคนบอกทาง ชี้ทาง และ ถ้าจะให้ความอยากนิพพานเป็นความอยาก ผมก็บอกว่า ความอยากมันมีมากมาย เราลองมาจัดลำดับความสำคัญ หนักเบาดู ความอยากนิพพาน น่าจะเบาที่สุด อุปมา เดินทางข้ามทะเลทราย เมื่อไปถึงขอบทะเลทราย หรือ เมื่อไปถึงหน้าประตูนิพพานแล้ว เราก็ทิ้ง เราไม่ต้องใช้ความอยากพวกนี้ แต่ ถ้ามาทิ้ง ตั้งแต่ เดินกลางทะเลทราย เราไม่มีทางไปถึงแน่ๆ
คุรุ (guru)
สมัยโบราณ คนที่รู้จริงในศาสตร์ใดๆ เขาจะยกย่องให้เป็นครู เป็นผู้รู้ เป็น คุรุ เป็นคนที่ไม่ใช่แค่อ่านมา ไม่ใช่ได้ปริญญาด้านนั้นมา มาทำงานในสถานศึกษา ทำหน้าที่ถ่ายทอดข้อมูลมือสอง แล้วเรียกตนเองว่าครู
คุรุ ไม่ว่าจะเป็นในศาสตร์ใดๆก็ตาม คุรุจะสามารถเชื่อมโยง ลงลึกไปถึง “สัจธรรม” ความจริงของวัฏสงสาร
การเคารพบูชา คุรุ เป็นการเชื่อมโยงกับคุรุ จะช่วยให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ (Knowledge transfer) อย่างเป็นธรรมชาติ
ศาสตร์ต่างๆ เช่น สมุนไพร มวยจีน แพทย์สายตะวันออก ศิลป์ ฯลฯ มี คุรุ ที่เป็นจิตวิญญาณ ดูแลอยู่ เคยสังเกตไหมครับว่า ยาสมุนไพร สูตรต่างๆ ได้รับการค้นพบ ที่ไม่ใช่ การทดลอง คนไทยไม่มีระบบการทดลองแบบตะวันตก แต่ การค้นพบมักผ่านคุรุ ผ่านจิตวิญญาณต่างๆ
Workshop
ล้อมวงแบบ Dialogue วางไมโครโฟนไว้ตรงกลาง รอๆๆๆ จนกว่า จะมี ผู้กล้าออกมาเล่า การเดินทาง เป้าหมาย และ บารมีที่ต้องสะสมให้คนในวงฟัง ถ้าไม่มีใครกล้า ก็รอๆๆๆๆๆๆ จนหมดเวลา
เมื่อ มีผู้กล้าออกมาเล่า ทุกคนในวง จะโค้งคำนับ แบบ นักรบ Shambala ศีรษะจรดพื้น เพื่อ แสดงความเคารพต่อ “ความรู้” ซึ่งที่คนๆนั้น ได้รู้ ด้วยตัวของเขาเอง ได้ทำ ได้พบเอง
http://gotoknow.org/blog/ariyachon/284498