สรรพากร ให้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี บริจาคน้ำท่วม
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
กรมสรรพากร เผย ครม.เห็นชอบมาตรการชั่วคราวให้ผู้บริจาคช่วยน้ำท่วมหักภาษีได้ ไม่ว่าจะบริจาคผ่านหน่วยงานรัฐ-เอกชน
เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2553 นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบการออกมาตรการชั่วคราวของกรมสรรพากร เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม และผู้บริจาคเงินรวมถึงสิ่งของบรรเทาทุกข์ ให้สามารถหักลดหย่อนภาษีได้เต็มตามสิทธิที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคผ่านหน่วยงานรัฐ หรือภาคเอกชน ซึ่งรายละเอียดหลักเกณฑ์การขอหักลดหย่อน มีดังนี้
1. กรณีเงินบริจาค
- ผู้บริจาคที่เป็นบุคคลธรรมดา ได้จ่ายเงินหรือโอนเงินเข้าบัญชีช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งจัดโดยบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (เป็นตัวแทนรับเงินบริจาคให้แก่ผู้ประสบภัย) ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 อสมท หรือกองทุนภาคเอกชน เป็นต้น สามารถนำเงินบริจาคนั้นหักลดหย่อนได้ตามจริง (รวมกับเงินบริจาคอื่น ๆ ด้วย) แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว
- ผู้บริจาคที่เป็นบริษัท/ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาค นำมาหักรายจ่ายได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิในปีที่บริจาค นอกจากนี้กรณีทรัพย์สินหรือสินค้าที่นำไปบริจาคก็ได้รับยกเว้นภาษี
- มูลค่าเพิ่มโดยไม่ถือเป็นการขาย ผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยที่ลงทะเบียนไว้กับศูนย์ หรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือของทางราชการ เมื่อได้รับเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาค จะได้รับยกเว้นเงินได้พึงประเมินเท่าจำนวนความเสียหาย โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีในปีที่เกิดรอบภาษีนั้น ๆ
- บุคคลธรรมดาที่ประสบอุทกภัย เมื่อได้รับการช่วยเหลือหรือชดเชยที่มีมูลค่าไม่เกินความเสียหาย ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากเงิน/ทรัพย์สินที่ได้รับจริงเพื่อการนี้ รวมถึงกรณีที่ผู้ประสบอุทกภัยได้รับเงินชดเชยจากภาครัฐก็ได้รับการ
- ยกเว้นภาษีเงินได้ด้วย ผู้รับบริจาคหรือผู้รับเงินชดเชยจากภาครัฐที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ประสบอุทกภัย ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาคนั้นเช่น เดียวกัน
2. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ที่ได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากการประกันภัย เพื่อชดเชยความเสียหาย ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เฉพาะส่วนที่เกินมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลือ จากการหัก ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาแล้ว
3. การขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
สำหรับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ที่ต้องยื่นแบบในเดือนกันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม 2553 ได้รับการขยายเวลาโดยให้นำไปยื่นภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2553 ทั้งนี้ สำหรับผู้ประกอบการที่ประสบภัย ในพื้นที่ที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศ
ข่าวน้ำท่วม บริจาคผู้ประสบภัยน้ำท่วม คลิกเลยค่ะ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก มติชนออนไลน์ และ กรุงเทพธุรกิจ
.
http://hilight.kapook.com/view/53280.