แสงธรรมนำใจ > ดอกบัวโพธิสัตว์
รวมภาพพุทธประวัติเรียงลำดับเหตุการณ์ ทั้งหมด 81 ภาพ วัดพระบาทน้ำพุ ( ทำบุญได้ )
มดเอ๊กซ:
ภาพที่ 1 พระนางสิริมหามายาทรงบริจาคมหาทาน
อภินิหารแห่งพระนางสิริมหามายา
ในภาพ เแนวพระอัจฉริยธรรมที่ทรงปฏิบัติในวันอุโบสถศีล ทรงศีลบริจาคทานแก่มหาชนเทวทหะนคร
อันมีไพร่ฟ้าข้าราษฏร สมณีชีพราหมณ์โดยบัญญาธิการในทรัพย์นั้นมีปาฏิหาริย์
เป็นบุญกิริยาที่ทรงประพฤติปฏิบัติอยู่เป็นเสมอ
ภาพที่ 2 พระนางสิริมหามายารับสร้อยพระศอของหมั้นจากพระสุทโธทนะ
พระสิริมหามายาทรงรับของหมั้น (จากพราหมณ์ทิชาจารย์)
ในภาพ พระสิริมหามายาทรงเจริญวัย ๑๖ พรรษา เสด็จประพาสอยู่ในสวนหลวง
หมู่พราหมณ์ได้ค้นพบว่าทรงเป็นรัตนกัลยา จึงได้หมั้นหมายให้เป็นคู่อภิเษกสมรส
กับพระสุทโธทนะด้วยสร้อยประดับพระศอ
ภาพที่ 3 พระราชพิธีอภิเษกสมรสเจ้าชายสุทโธทนะกับเจ้าหญิงสิริมหามายา
พระราชพิธีอภิเษกสมรส
ในภาพ แสดงพิธีอภิเษกสมรสเจ้าชายสุทธโทนะกับเจ้าหญิงสิริมหามายาในมหามณฑป
ท่่ามกลางหมู่พระประยูรญาติทั้ง ๒ ผ่ายมีท้าวมหาพรหมชั้นสุทธาวาส
เป็นประธานในพิธีอิภิเษกสมรส และพระอินทร์พร้อมหมู่บริวารเข้าร่วมพิธี โดยแสดงไว้
ที่ฉากระยะหลังของภาพ
ภาพที่ 4 ปวงเทพยดาอัญเชิญพระโพธิสัตว์จุติเพื่อโปรดสัตว์โลก
หมู่ทวยเทพอัญเชิญจุติ
ในภาพ พระโพธิสัตว์สันตดุสิตประทับ ณ ทิพยอาสน์ในอากัปกิริยาตรวจดู
มหาวิโลกนะ ๕ ประการ
เพื่อตรวจดูความเหมาสะสมตามคำทูลเชิญปวงเทพที่เสด็จมาชุมนุม ณ ที่นั้น
ภาพที่ 5 พระสิริมหามายาราชเทวีทรงพระสุบินนิมิตเห็นพระยาช้างเผือก
พระสิริมหามายาราชเทวีทรงพระสุบินนิมิต
ในภาพ แสดงพระสุบินนิมิตแห่งความฝันของพระนางเจ้าสิริมหามายาราชเทวี
ผู้ที่่พระโพธิสัตว์ทรงเลือกให้เป็นพุทธมารดา พระโพธิสัตว์ทรงแสดงให้่พระมารดา
นิมิตเห็นพระยาช้างเผือกชูงวงจับดอกบัวขาวกระทำทักษิณาวัตร ๓ รอบ
ก่อนเสด็จเข้าพระครรภ์ทางด้านขวา
รวบรวมและเรียบเรียงโดย มหาแซม เว็บมาสเตอร์ www.mahamodo.com
ขอบพระคุณแหล่งที่มาของข้อมูล วัดพระบาทน้ำพุ ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมือง
จังหวัดลพบุรี 15000 www.phrabatnampu.org
หากท่านใดต้องการทำบุญ ศึกษาดูงานหรือเยี่ยมผู้ป่วยเป็นหมู่คณะ
กรุณาแจ้งวัน - เวลา และจำนวนคณะที่ศึกษาดูงานล่วงหน้า
สามารถติดต่อได้ที่ โทร/แฟกซ์ : 036 -451-020, 08-9742-0729 ต่อ 101,102,
08-9742-0730, 08-9742- 0731
หรือสามารถติดต่อทางอีเมล์เฉพาะเรื่องได้ดังต่อไปนี้
Credit by : http://www.mahamodo.com/modo/dhama_bud/bud_history/history.asp
เรียนขออนุญาตนำมาเผยแพร่..
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
มดเอ๊กซ:
ภาพที่ 6 พระโพธิสัตว์ประทับอยู่ในพระครรภ์ครบบริบูรณ์ 10 เดือน
พระโพธิสสัตว์ขณะอยู่ในพระครรภ์
ในภาพ แสดงถึงพระบุญญาธิการพระสิริมหามายาพุทธมารดา ระหว่างทรงครรภ์ ทรงมองเห็นพระโอรส พระโอรสนั้นประทับอยู่ในพระครรภ์ดุจห้องพระเจดีย์ และมีเหล่าท้าวจตุมหาราชาทั้ง ๔ ถวายการอารักขาความปลอดภัยแก่พระโพธิสัตว์และพระมารดาตลอดเวลา ทั้งกลางวัน กลางคืน ระหว่างที่ทรงบริหารครรภ์อยู่ครบบริบูรณ์ ๑๐ เดือน
ภาพที่ 7 พระกุมารโพธิสัตว์ประสูติแล้วเสด็จพระราชดำเนิน ๗ ก้าว มีดอกบัวทิพย์รองรับพระบาท
พระประสูติการพระโพธิสัตว์
ในภาพ พระนางเจ้าสิริมหามายายื่นพระหัตถ์โน้มกิ่งสาละประสูติพระโพธิสัตว์ซึ่งเสด็จออกมาทางด้านขวาแห่งพระชนนี พระกุมารนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปได้ ๗ ก้าว ก็มีดอกบัวทิพย์รองรับพระบาททรงเปล่งพระวาจา อันอาจหารเป็นเบื้องต้นว่า ในโลกนี้เราเป็นยอด เป็นผู้เจริญที่สุด เป็นผู้ประเสริฐที่สุดการเกิดของเรานี้เป็นครั้งสุดท้ายภพใหม่ต่อไปไม่มี
ภาพที่ 8 สหชาติทั้ง 7 ที่บังเกิดขึ้นพร้อมกับการประสูติของพระโพธิสัตว์
สัตตสหชาติพระโพธิสัตว์
ในภาพ แสดงถึงบุคคลที่เป็นบริวารแวดล้อมอยู่ในฐานะต่าง ๆ มีอุปการคุณต่อพระโพธิสัตว์รวมถึงม้ามงคลไม้มหาโพธิ และพระราชทรัพย์ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมพระโพธิสัตว์ผู้ซึ่งจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย
ภาพที่ 9 อสิตดาบสทำนายพระลักษณะมหาบุรุษ พระโพธิสัตว์ แสดงปาฏิหาริย์ปรากฏเหนือมวยผมของดาบส
อสิตดาบสทำนายมหาปุริสลักษณะ
ในภาพ พระโพธิสัตว์ทรงแสดงปาฏิหาริย์ให้อสิตดาบสทราบว่าพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ โดยเสด็จไปประทับอยู่ยอดมวยผมของพระดาบส พระดาบสตกใจ พนมมือยอมรับฐานะ ส่วนพระราชบิดาได้ไหว้พระโอรสเป็นครั้งที่ ๑ ขณะนั้นพระราชมารดาสิริมหามายาประทับอยู่ด้านซ้ายของพระราชา และมหาปชาบดี ประท้บอยู่ด้านขวา
ภาพที่ 10 พราหมณ์ทั้ง 8 ทำนายพระลักษณะว่า
ถ้าทรงครองราชย์จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ผู้ยิ่งใหญ่ ถ้าทรงผนวช
จะเป็นพระพุทธเจ้ามหาศาสดาของโลก
พราหมณ์ทั้ง ๘ ทำนายมหาปุริสลักษณะ
ในภาพ พราหมณ์ทั้ง ๘ ทำนายมหาปุริสลักษณะ พราหมณ์คนที่อยู่ใกล้พระราชกุมารที่สุดชื่อโกณฑัญญะพราหมณ์ เป็นผู้ทำนายว่าจะเสด็จออกผนวช และจะทรงบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาที่ยิ่งใหญ่ระหว่างนี้พระราชมารดาสิริมหามายายังดำรงพระชนม์อยู่
มดเอ๊กซ:
ภาพที่ 11 พระราชกุมารสิทธัตถะทรงเจริญฌานได้บรรลุ
ถึงขั้นปฐมฌาน เมื่อพระชนม์ 7 พรรษา
ปฐมญาณในวัย ๗ พรรษา
ในภาพ พระราชกุมารสิทธัตถะทรงเจริญฌาณได้บรรลุถึงขั้นปฐมณาน เกิดฤทธิ์ทางใจ อันเกิดจากการหลุดพ้นแห่งจิตที่เป็นณาน ทรงแผ่กสิณไปกำหนดให้เกิดเงาของร่มหว้าดุจเงาตอนเที่ยงพระเจ้าสุทโธทนะทรงเห็นเป็นมหัศจรรย์ ได้ถวายบังคมพระโอรสเป็นครั้งที่ ๒
ภาพที่ 12 พระราชกุมารสิทธัตถะช่วยชีวิตหงส์ที่บาดเจ็บจากศร
ของเจ้าชายเทวทัตต์
น้ำพระทัยเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อวัย ๑๒ พรรษา
ในภาพ แสดงถึงการวินิจฉัยข้อพิพาทเรื่องหงส์ระหว่างเจ้าชายสัทธัตถะที่ประทับอยู่บนพระราชอาสน์ ทรงสวมภูษิตอาภรณ์สีน้ำเงินในอาการที่สงบสำรวม มีหงส์ซึ่งได้รับบาดเจ็บและเจ้าชายเทวทัตต์ที่ทรงถือศรเป็นอาวุุธประหารสัตว์นั้น ส่วนพรหมณ์ปุโรหิตนั่งอาสนะพิพากษาตัดสินว่าหงส์เป็นสิทธิ์ของเจ้าชายผู้ให้ชีวิตรอด
ภาพที่ 13 เจ้าชายสิทธัตถะทรงเสวยสุขในปราสาท ๓ ฤดู คือ
ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว ปราสาทเหล่านั้น
มีชื่อว่า รมยปราสาท สุรมยปราสาท และ สุภปราสาท ตามลำดับ
เจ้าชายสัทธัตถะทรงเสวยสุขในปราสาท ๓ ฤดู
ในภาพ เสดงถึงพระโพธิสัตว์เสวยสุขสมบัติในปราสาทหนึ่งในฤดูร้อน ทรงได้รับการบำเรอด้วยหมู่สตรีงามที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน เช่น ฟ้อนรำ ขับกล่อมด้วยการขับร้องและเล่นดุริยดนตรีอันประณีตพระโพธิสัตว์ประทับเอนพระวรกายอยู่บนพระแท่นขณะเสวยกามสุขทางรูป รส กลิ่น เสียง และผัสสะ ที่พระราชบิดาประสงค์จักให้เป็นเจ้าชายทรงยึดติดอยู่แต่ในสิ่งที่งดงาม ยินดี และน่าลุ่มหลง อันเป็นเหตุที่จะให้ครองฆราวาส เป็นพระบรมมหาจักรพรรดิราช
ภาพที่ 14 เจ้าชายสิทธัตถะทรงประลองการยิงธนูที่มีน้ำหนักมาก
มีชื่อว่า สหัสสถามธนู ซึ่งใช้คน 1000 คนจึงยกขึ้นได้
พระโพธิสัตว์ทรงประลองศิลปศาสตร์การยิงธนู
ในภาพ พระโพธิสัตว์ทรงยืนแสดงการยิงธนูพุ่งจากแหล่งไปยังขนหางจามรีในเวลาพลบค่ำ เป็นอัจฉริยภาพความสามรถพิเศษที่มิได้มีในบุคคลทั้วไป ในการสำแดงศิลปศาสตร์การยิงธนูอย่างพิเศษประเสริฐยิ่งนี้ กระทำในทามกลางหมู่พราหมณ์คหบดี ทำให้เกิดความปลาบปลื้มยินดีว่า พระองค์ทรงเป็นมหาบุรุษผู้จะทรงเป็นพระมหาจักรพรรดิราชได้
ภาพที่ 15 เจ้าชายสิทธัตถะทรงเลือกพระนางพิมพาเป็นพระชายา
ด้วยการพระราชทานสร้อยพระศอ
พระโพธิสัตว์ทรงเลือกคู่
ในภาพ พระโพธิสัตว์เสด็จประทับบนบัลลังก์ มีหมู่สตรีที่ไเดินผ่านพระพักตร์ และพระนางพิพาที่ได้รับซองพระราชทานรางวัลเป็นสร้อยพระศอเป็นคนสุดท้าย ซึ่งต่อมาได้รับการอภิเษกเป็นพระอัครมเหสี
มดเอ๊กซ:
ภาพที่ 16 เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จประพาสอุทยาน
ทอดพระเนตรนิมิต 4 ประการ คือ
คนแก่ คนเจ็บป่วย คนตาย และบรรพชิต
พระโพธิสัตว์เสด็จประพาสอุทยาน พบนิมิตร ๔
ในภาพ แสดงการได้พบเห็นนิมิต ๔ ในการประพาสอุทยานหลวง โดยเทพยดานิรมิตขึ้นเพื่อให้พระโพธิสัตว์ทรงเกิดปัญญาเห็นอย่างลึกซึ้ง รูปบรรพชิตเป็นรูปสุดท้ายที่ทรงยึดถือเอาว่าเป็นรูปนิมิตที่น้อมอารมณ์ไปสู่ความสงบสุข เป็นหนทางหนึ่งของการค้นหาความจริงในทุกข์ที่มนุษย์ได้เผชิญอยู่
ภาพที่ 17 เจ้าชายสิทธัตถะทรงสดับคำนิมิต "นิพพาน"
จากพระนางกีสาโคตมี
พระโพธิสัตว์ได้คำนิมิต "นิพพาน"
ในภาพ พระโพธิสัตว์เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชนิเวศน์พร้อมหมู่อำมาตย์ ส่วนขัตติยนารีที่ประทับอยู่่ช่องพระบัญชรคือ พระนางกีสาโคตมี ผู้กล่าวคำอุทานชมพระสิริโฉมของพระโพธิสัตว์
ภาพที่ 18 เจ้าชายสิทธัตถะทรงเบื่อหน่ายกามคุณ ๕
ทรงเห็นพระสนมมีอาการน่ารังเกียจ
พระโพธิสัตว์ทรงเบื่อหน่ายกามคุณ ๕
ในภาพ พระโพธิสัตว์ประทับอยู่บนบัลลังก์ เมื่อตื่นแล้่วทรงเห็นสนมมีอาการน่ารังเกียจ ความสลดสังเวชก็เกิดขึ้นทำให้การปลุกเร้าเกิดพุทธภาวะมากขึ้น และทรงคิดหาหนทางพ้นทุกข์ ภาพนางสมน ๕ คนมีความหมายว่าเป็นกามคุณ ๕ อันเป็นกามฉันทะ ส่วนม้ากัณฐกะที่ยืนนั้นตื่นตัวอยู่ เป็นนิมิตว่าจะทรงได้คิดในการเสด็จลอบออกจากพระราชวังไปผนวช
ภาพที่ 19 พระโพธิสัตว์ทรงตัดสินพระทัยจะออกผนวช
ขณะที่มีพระชนม์ 29 พรรษา วันเดียวกับที่พระโอรสราหุลประสูติ
พระโพธิสัตว์ทรงตัดสินพระทัยจะออกบวช
ในภาพ พระโพธิสัตว์เสด็จยืนอยู่หน้าธรณีพระทวารประตูห้องพระบรรทมยโธราพิมพา ทรงทัศนาพระโอรสอย่างเพ่งพินิศ แล้วได้ตัดสินพระทัยเสด็จออกผนวช โดยเวลานั้นเป็นเวลาเที่ยงคืนของวันเพ็ญ เดือน ๘ ขณะที่มีพระชนมายุ ๒๙ พรรษา
ภาพที่ 20 พระโพธิสัตว์เสด็จออกผนวชโดยประทับบนหลังม้ากัณฐกะ
พร้อมกับนายฉันนะ และมีเหล่าเทพตามเสด็จ
เสด็จมหาภิเนษกรมณ์
ในภาพ เป็นขบวนออกบวชของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ พระองค์เสด็จประทับหลังพญาม้ากัณฐกะเหาะไปทางอากาศ เป็นอภินิหาร มีความหมายว่าทรงข้ามโอฆสงสาร หรือการข้ามสังสารวัฎ ประมุขเทพอันมีพระอินทร์ถวายการถือฉัตรกั้น และท้าวมหาพรหมชื่อฆฎิการพรหมทรงถือเครื่องอัฐบริขารเหาะเสด็จไปเบื้องหน้า ที่มุมบนของภาพมีพระยามาร ชื่อวัสสวดีมารคอยติดตามขัดขวางด้วย
มดเอ๊กซ:
ภาพที่ 21 พระโพธิสัตว์ตัดพระเมาลีอธิษฐานเพศเป็นนักบวช
พระอินทร์และพระพรหมเสด็จมารับมวยพระเกศา
เพื่อนำไปประดิษฐาน ณ เทวโลก
ตัดพระเมาลีอธิษฐานเพศเป็นนักบวช
ในภาพ พระโพธิสัตว์ทรงกระโดดขึ้นประทับบนเนินทรายอธิษฐาน เพศเป็นนักบวชโดยตัดพระเาลี และวตรัสสั่งให้นายฉันนะนำเครื่องทรงบางส่วนพร้อมม้ากัณฐกะกลับไปยังพระนคร พระอินทร์และพราหมณ์เสด็จมารับมวยพระเกศาและผ้าทรงไปประดิษฐานยังเทวโลก
ภาพที่ 22 พระโพธิสัตว์ทรงบิณฑบาตรและฉันในบาตรเป็นครั้งแรก
ทรงบิณบาตครั้งแรก
ในภาพ แสดงถึงการฉันข้าวในบาตรครั้งแรกของพระโพธิสัตว์ ในอาหารปนเปคลุกเคล้ากันเป็นอาหารชาวบ้าน ซึ่งทรงเตือนสติตนเองว่าการที่ภิกษุบิณฑบาตรได้อาหารก็เพื่อให้มีชีวิตอยู่ การค้นพบคือการตรัสรู้ยิ่งในความจริงนั้นสำคัญยิ่งกว่าจึงควรรักษาชีวิตไว้และยินดีในการที่จะฉันอาหารนั้น
ภาพที่ 23 พระโพธิสัตว์ทรงศึกษาในสำนักอาฬารดาบส และอุททกดาบส
รามบุตร อาจารย์ผู้สอนสมาบัติ ณ กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
ศึกษาธรรมลัทธิในสำนักอาฬารกาลามดาบส และอุททกรามบุตรดาบส
ในภาพ พระโพธิสัตว์ทรงเลือกเขาศึกษาในสำนักครูที่มีชื่อเสียงในราชคฤห์ เพื่อศึกษาธรรมลัทธิสำหรับเป็นอุบายธรรม ทรงเข้าศึกษาในสำนักอาฬารกาลามดาบสเป็นสำนักแรก ซึ่ง เน้นการปฏิบัติทางบำเพ็ญจิตโดยเจริญสมาธิเกิดณานสมาบัติ ๗ แล้วทรงศึกษาต่อในสำนักอุททกรามบุตรสำเร็จสมาบัติ ๘ ทรงศึกษาปฏิบัติได้เทียนบเท่าครู แต่ทรงเห็นว่าน่าจะมีหนทางในวิธีปฏิบัติให้บรรลุได้ยิ่งกว่า จึงเสด็จไปบำเพ็ญตบะด้วยตนเองตามลำพัง
ภาพที่ 24 พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาด้วยวิธีการต่างๆ
ตลอด 6 ปี โดยมีหมู่ปัญจวัคคีย์คอยเฝ้าปรนนิบัติ
บำเพ็ญอย่างอุกฤษฎ์
ในภาพ พระโพธิสัตว์ทรงกระทำความเพียรอุกฤษฎ์จนพระวรกายเหี่ยวแห้ง มีหนังติดกระดูก ลักษณะมหาปุริสลักษณะหายไป หมู่ปัญจวัคคีย์ที่คอยเฝ้าปรนนิบัติอยู่เชื่อว่าพระองค์จะทรงบรรลุ ในที่สุดทรงค้นพบว่าวิธีปฏิบัตินี้เป็นทางสุดโต่ง ทำให้ตนเองลำบากไม่ใช่หนทางพ้นทุกขน์ทรงพบว่าควรปฏิบัติเป็นทางสายกลาง คือไม่ตกไปทางใดทางหนึ่ง
ภาพที่ 25 พระโพธิสัตว์ทรงสดับพิณ 3 สายที่เทวดาดีดถวาย
แล้วทรงวินิจฉัยว่า สายที่ 1 ตึงเกินไปดีดไม่นานก็ขาด
สายที่ 2 หย่อนเกินไปดีดไม่มีเสียง สายที่ 3 ขึงได้พอดีดีดได้ไพเราะ
ทรงระลึกถึงความพอดีอันเป็นทางสายกลางว่าอาจนำไปสู่การปฏิบัติ
เพื่อความหลุดพ้นได้
นิมิตทางสายกลาง
ในภาพ พระโพธิสัตว์ทรงใสยาสน์ เป็นนิมิตว่าหากจะทรงปฏิบัติเคร่งอย่างอุกฤตก็จะทรงสิ้นชีวิตไปอย่างสูญเปล่่า ทรงได้ปัญญาจากนิมิตทางสายกลางโดยพระอินทร์ราชเจ้าทรงดีดพิณเป็นนัยว่า ความไม่หย่อน ไม่ตึงในการปฏิบัติ โดยอบรมกายอินทรีย์็และการบำเพ็ญจิตนั้นต้องสมดุลและเมื่ออินทรีย์แก่กล้าแล้วเจริญวิปัสสนาจึงจะนำไปสู่การตรัสรู้
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
Go to full version