ผู้เขียน หัวข้อ: เต๋าแห่งฟิสิกส์ : บทที่ 3 พ้นภาษา  (อ่าน 1730 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
เต๋าแห่งฟิสิกส์ : บทที่ 3 พ้นภาษา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2010, 05:23:35 pm »



บทที่ 3 พ้นภาษา
ข้อขัดแย้งซึ่งสร้างความงงงวยให้กับวิธีคิดอย่างสามัญเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงว่า เราจำต้องใช้ภาษาเป็นสื่อในการแสดงประสบการณ์ภายในของเรา ซึ่งเนื้อหาเป็นสิ่งที่อยู่นอกขอบเขตของภาษา ดี.ที.สีซึกิ ภาษาที่จะใช้ในสถานการณ์เช่นนี้เป็นปัญหาที่สำคัญมาก เราปรารถนาที่จะพูดเกี่ยวกับอะตอมในทางใดทางหนึ่ง...แต่เราไม่อาจพูดถึงอะตอมในภาษาธรรมดาได้ เวอร์เนอร์  ไฮเซนเบิร์ก ความคิดที่ว่าแบบจำลองและทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเป็นเพียงการประมาณ และภาษาที่ใช้อธิบายมันก็ไม่อาจจะชัดเจนได้เสมอนั้น ได้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในหมู่นักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ต้นศตวรรษนี้เป็นต้นมา เมื่อมีพัฒนาการใหม่ ๆ ซึ่งไม่คาดฝันเกิดขึ้น การศึกษาเกี่ยวกับโลกของอะตอมได้ทำให้นักฟิสิกส์เข้าใจในความจริงที่ว่า ภาษาสามัญของเราไม่เพียงแต่จะไม่ชัดเจน แต่ยังไม่เพียงพอที่จะใช้อธิบายความจริงในเรื่องของอะตอมและอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม ทฤษฏีควอนตัมและทฤษฏีสัมพันธภาพซึ่งเป็นพื้นฐานของวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่ ได้ให้ความกระจ่างแจ้งที่ว่า ความจริงในเรื่องดังกล่าวไปพันขอบเขตของตรรกศาสตร์สมัยเก่าและเราไม่อาจอธิบายมันด้วยภาษาสามัญ ดังที่ไฮเซนเบิร์กได้เขียนไว้ว่า ปัญหาที่ยากที่สุด...เกี่ยวกับการใช้ภาษา ปรากฏขึ้นในทฤษฏีควอนตัม แรกที่สุด เรา  ไม่มีแนวทางอย่างง่าย ๆ ที่จะเชื่อมโยงสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์กับแนวคิดในภาษา  สามัญ และเพียงประการเดียวที่เราได้ตระหนักตั้งแต่จุดเริ่มต้นก็คือความจริงที่ว่า แนว  คิดสามัญของเราไม่อาจใช้ได้กับโครงสร้างของอะตอม (1) เมื่อพิจารณาจากทัศนะทางปรัชญา จุดนี้เป็นพัฒนาการที่น่าสนใจมากที่สุดในวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่ และเป็นรากฐานอันหนึ่งในความสัมพันธ์กับปรัชญาตะวันออก ในสำนักปรัชญาตะวันตกต่าง ๆ ตรรกศาสตร์และเหตุผลถูกใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างแนวคิดทางปรัชญา และแม้กระทั่งในปรัชญาศาสนา ตามที่เบอร์ทรันด์ รัสเซล กล่าวไว้ ในทางตรงกันข้าม ในศาสนาตะวันออก เป็นที่เข้าใจกันดีว่า สัจจะเป็นสิ่งพ้นวิสัยของภาษาสามัญ และนักปราชญ์ชาวตะวันออกก็ไม่เกรงกลัวที่จะใช้ภาษาที่ไปพ้นตรรกะและแนวคิดสามัญ ข้าพเจ้าคิดว่านี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ว่าเหตุใด สัจจะในทัศนะของตะวันออกจึงมีภูมิหลังที่คล้ายคลึงกันฟิสิกส์สมัยใหม่มากกว่าทางปรัชญาตะวันตก

3.1   โฟโตอิเล็กทริก
ปัญหาของการใช้ภาษาที่ศาสนิกของตะวันออกเผชิญอยู่ ในข้อความสองตอนที่อ้างถึงในตอนต้นบทนี้ ดี.ที.สีซึกิ กล่าวถึงพุทธศาสนา (2) และเวอร์เนอร์ ไฮเซนเบิร์ก กล่าวถึงวิชาฟิสิกส์ที่ว่าด้วยอะตอม (3) และข้อความทั้งสองแทบจะเหมือนกันเลยทีเดียว ทั้งศาสนิกและนักฟิสิกส์ต่างต้องการถ่ายทอดความรู้ของตนออกมาก เมื่อแสดงออกในคำพูดประโยคที่เขากล่าวจึงดูผิดธรรมดา ผิดตรรกะ ลักษณะที่ผกผันผิดธรรมดานี้เป็นลักษณะเฉพาะของศาสนาและความคิดในแนวนี้ทั้งหมด ตั้งแต่เฮราคลิตัสจนถึงดอน ฮวน และเมื่อเริ่มต้นศตวรรษนี้ ก็ได้กลายเป็นลักษณะเฉพาะของวิชาฟิสิกส์ด้วย ในวิชาฟิสิกส์ที่ว่าด้วยอะตอม สถานการณ์หลาย ๆ อันซึ่งผิดไปจากความเข้าใจทั่วไปนั้นเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของแสง หรือกล่าวโดยกว้างคือรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีลักษณะที่ตรงกันข้ามอยู่ในตัวเอง ในด้านหนึ่งเป็นที่แน่ชัดว่ารังสีแม่เหล็กไฟฟ้านี้ประกอบด้วยคลื่น เนื่องจากมันแสดงคุณสมบัติการแทรกสอดของคลื่น (interference of wave) ได้เมื่อมีแหล่งกำเนิดแสงสองแหล่งความเข้มของแสงในที่ใดที่หนึ่งไม่จำเป็นต้องเท่ากับผลรวมของความเข้มของแสงต้นกำเนิด แต่อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้ ปรากฏการณ์นี้อาจอธิบายได้อย่างง่ายดายว่าเป็นการแทรกสอดของคลื่นซึ่งมาจากแหล่งกำเนิดสองแหล่ง ในที่ซึ่งยอดคลื่นของแสงจากสองแหล่งมาทับกันสนิท บริเวณนั้นจะมีความสว่างมากกว่าผลรวมของความเข้มของแสง บริเวณใดที่ยอดคลื่นของแสงอันหนึ่งทับกับท้องคลื่นของแสงอีกอันหนึ่ง ความเข้มของแสงบริเวณนั้นจะน้อยกว่าผลรวมของความเข้มของแสงทั้งสอง ปริมาณที่แน่นอนของความเข้มซึ่งเกิดจากการแทรกสอดของคลื่นทั้งสองสามารถคำนวณหาได้อย่างง่ายดาย ปรากฏการณ์การแทรกสอดของคลื่นนี้เราสามารถสังเกตได้จากการศึกษาเกี่ยวกับการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งแสดงว่ารังสีแม่เหล็กไฟฟ้ามีลักษณะเป็นคลื่น ในอีกด้านหนึ่งรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าก็ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า โฟโตอิเล็กทริก เอฟเฟก (Photoelectric Effect) นั่นคือ เมื่อแสงเหนือม่วง (Ultraviolet Light) ถูกฉายลงบนพื้นผิวของโลหะบางชนิด มันทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกมาจากผิวของโลหะได้ ดังนั้นแสงชนิดนี้จึงต้องประกอบด้วยอนุภาคที่เคลื่อนที่ปรากฏการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้เกิดขึ้นในการศึกษาการกระจายตัวของรังสีเอกซ์การทดลองนี้เราสามารถจะอธิบายได้อย่างถูกต้อง ก็ต่อเมื่อเราอธิบายว่าเป็นการชนกันระหว่างอนุภาคของแสงกับอิเล็กตรอน และในเมื่อรังสีเหล่านี้แสดงคุณลักษณะการแทรกสอดของคลื่นด้วย ปัญหาซึ่งสร้างความฉงนให้แก่นักฟิสิกส์เป็นอันมากในระยะเริ่มแรกของทฤษฏีอะตอมนั่นคือ รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าจะเป็นทั้งอนุภาค (นั่นคือมีมวลอยู่ในปริมาตรที่เล็กมาก) และเป็นทั้งคลื่น ซึ่งแผ่กระจายไปทั่วอาณาบริเวณอันกว้างขวางในอวกาศในขณะเดียวกันได้อย่างไร ไม่ว่าภาษาหรือจินตนาการก็ไม่อาจอธิบายความจริงในลักษณะนี้ได้อย่างถูกต้องชัดเจน ศาสนาตะวันออกได้พัฒนาวิธีการต่าง ๆ หลายวิธีในการอธิบายลักษณะที่ผิดธรรมดาของสัจจะ ในขณะที่ฮินดูใช้วิธีอธิบายในรูปของเทพปกรณัม พุทธศาสนาและลัทธิเต๋านิยมเน้นประเด็นความผกผันผิดธรรมดาของสัจจะนั้นมากกว่าคัมภีร์เต๋าเตอจิงของเหลาจื้อเขียนด้วยภาษาที่ชวนให้ฉงนและดูเหมือนไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย เต็มไปด้วยข้อความที่ขัดแย้งกันอย่างน่าทึ่ง และภาษาที่ใช้ซึ่งมีลักษณะเป็นบทกวี อันกระทบความรู้สึกอย่างมีพลังนั้น มุ่งหมายที่จะจับจิตใจของผู้อ่านและขว้างภาษานั้นออกจากร่องของความคิดเชิงเหตุผลซึ่งมันคุ้นเคย

3.2 โกอัน 
พุทธศาสนาในจีนและญี่ปุ่น ได้นำวิธีการของเต๋าในการถ่ายทอดประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรมนั้นมาใช้ โดยเปิดเผยลักษณะผกผันผิดธรรมดาของมันอย่างง่าย ๆ เมื่ออาจารย์เซน ไดโตะ (Daito) ได้พบกับจักรพรรดิโกไดโกะ (Godaigo) ซึ่งเป็นผู้ที่กำลังศึกษาเซน อาจารย์เซนกล่าวว่า เมื่อหลายพันกัปที่ล่วงไปแล้ว เราแยกจากกัน แต่เราไม่เคยถูกแยกจากกันแม้เพียงขณะ เดียว ขณะนี้เราเห็นหน้ากันทุกวัน แต่เราไม่เคยพบกัน (4) เซนมีความชำนาญเป็นพิเศษในการใช้คำที่ดูไร้สาระให้เกิดคุณค่าขึ้นมา   โดยระบบ โกอัน พวกเขาได้พัฒนาวิธีการซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวในการถ่ายทอดคำสอนโดยไม่ใช้คำพูด โกอันต่าง ๆ ได้ถูกสร้างขึ้นเป็นปริศนาซึ่งดูไร้สาระ เพื่อนำให้นักศึกษาเซนได้ตระหนักถึงลักษณะอันจำกัดของตรรกะและเหตุผลอย่างฉับพลันความที่ปริศนาเหล่านี้ไม่เป็นเหตุเป็นผล ผกผันผิดธรรมดา ทำให้ไม่อาจจะหาคำตอบได้ด้วยการคิดนึก มันถูกสร้างขึ้นเพื่อหยุดกระบวนความคิด และนั่นคือเตรียมให้นักศึกษาเซนพร้อมสำหรับการประจักษ์แจ้งประสบการณ์แห่งสัจจะ ซึ่งไร้คำพูด ยาสุตานิ อาจารย์เซนรุ่นปัจจุบัน ได้แนะนำโกอันซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีมากที่สุดอันหนึ่งแก่นักศึกษาชาวตะวันตกด้วยถ้อยคำเหล่านี้ โกอันที่ดีที่สุดอันหนึ่งคือ โกอันมู (Mu) เนื่องจากความเรียบง่ายที่สุด และนี่คือ ที่มาของมัน พระภิกษุรูปหนึ่ง ไปหาท่านเย่อซู่อาจารย์เซนผู้มีชื่อในประเทศจีน เมื่อหลายร้อยปีล่วงมาแล้ว และได้ถามท่านว่า “สุนัขมีธรรมชาติแห่งความเป็น พุทธะหรือไม่” ท่านเย่อซู่ตอบว่า “มู” ตามตัวอักษรมันแปลว่า “ไม่” แต่ความ สำคัญของคำตอบของท่านเย่อซู่มิใช่อยู่ที่ความหมายของคำ มู เป็นการแสดงออกของธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะซึ่งทรงชีวิตและเคลื่อนไหว สิ่งที่คุณต้องกระทำคือการค้นหาแก่นแท้ของ มู มิใช่โดยผ่านการวิเคราะห์ในความคิดนึก หากโดยการค้นลึกเข้าไปภายในตน จากนั้นคุณต้องแสดงต่อผลอย่างชัดเจนว่าคุณเข้าใจ  มู ดังหนึ่งมันเป็นสัจจะที่มีชีวิต โดยไม่ใช้ความคิด ทฤษฎี หรือการอธิบาย   จงจำไว้ว่า คุณไม่อาจจะเข้าใจ มู ได้โดยผ่านความรู้สามัญ คุณต้องจับฉวยมันโดยตรงด้วยชีวิตจิตใจทั้งหมดของคุณ (5) สำหรับผู้เริ่มต้น อาจารย์เซนมักจะมอบโกอัน มู ให้ หรือโกอันข้อหนึ่งข้อใดในสองประการนี้ “อะไรคือหน้าตาดั้งเดิมของท่าน ก่อนที่พ่อแม่จะให้กำเนิดท่านมา” “ท่านทำเสียงจากการปรบมือสองข้างได้ แล้วเสียงของการปรบมือข้างเดียวเล่าเป็นอย่างไร” โกอันเหล่านี้ทุกอันมีคำตอบที่แปลกเฉพาะตัวมากน้อยต่างกัน ซึ่งอาจารย์เซนที่สามารถจะทราบได้ทันที ในทันทีที่ได้คำตอบ โกอันก็สิ้นสุดสภาพผกผันผิดธรรมดาและกลายเป็นประโยคที่มีความหมายสมบูรณ์ ซึ่งเกิดขึ้นจากสภาวะจิตแห่งการรู้แจ้งที่โกอันนั้นนำให้ถึง ในนิกายรินไซเซน (Rinzai Zen) ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องเฉลยโกอันทีละข้อติดต่อกันหลายข้อ ซึ่งแต่ละข้อจะมุ่งเฉพาะต่อหลักธรรมต่างกัน การให้ขบโกอันนี้เป็นวิธีการถ่ายทอดคำสอนเพียงประการเดียวของนิกายนี้ ซึ่งไม่มีการเทศนาใด ๆ แต่จะปล่อยให้ผู้ปฏิบัติธรรมได้ประจักษ์ความจริงแท้จากโกอัน

3.3 กฎพื้นฐานของธรรมชาติ
ที่จุดนี้ทำให้เราได้เห็นความคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับสถานการณ์ซึ่งผิดไปจากความเข้าใจทั่วไป ที่ได้เผชิญหน้ากับนักฟิสิกส์ในตอนเริ่มต้นศึกษาฟิสิกส์ของอะตอมเช่นเดียวกับเซน ความจริงถูกซ่อนอยู่ในลักษณะที่ผกผันผิดธรรมดาซึ่งไม่อาจจะเฉลยออกมาได้ด้วยเหตุผลเชิงตรรกะ แต่จะต้องเข้าใจโดยความตระหนักรู้อย่างใหม่ ความตระหนักรู้ในความจริงของอะตอม แน่นอนทีเดียวว่า ผู้เป็นอาจารย์ในที่นี้คือตัวธรรมชาติ ซึ่งเช่นเดียวกับอาจารย์เซนที่จะไม่อธิบายอะไรแม้สักประโยคหนึ่ง ธรรมชาติเพียงแต่ตั้งปริศนาให้ขบคิดเท่านั้น การไขความหมายของโกอันแต่ละข้อเรียกร้องความพยายามในการทำสมาธิอย่างทุ่มเทของผู้ปฏิบัติธรรม ในตำราเกี่ยวกับเซน เราได้อ่านพบว่า โกอันจับความนึกคิดจิตใจทั้งหมดของผู้ปฏิบัติธรรม และก่อให้เกิดการติดตันในความคิดนึก เป็นสภาวะของความตึงเครียดที่ต่อเนื่องยาวนาน เนื่องจากความรู้สึกที่ว่าโลกทั้งโลกกลายเป็นตัวปัญหาและคำถามอันมหึมา ผู้ก่อตั้งทฤษฎีควอนตัมก็ประสบกับสถานการณ์เช่นเดียวกันนี้ ไฮเซนเบิร์กได้อธิบายสภาพการณ์นั้นอย่างแจ่มชัดว่า ข้าพเจ้าจำการถกเถียงของข้าพเจ้ากับบอหร์ได้ว่าใช้เวลาหลายชั่วโมง จนเวลา  ล่วงเลยไปถึงยามดึก โดยสุดท้ายก็ไม่เกิดผลอันใด และเมื่อจบการสนทนา  ข้าพเจ้าได้ออกไปเดินเล่นโดยลำพังในสวนสาธารณะใกล้ ๆ และเฝ้าย้ำถามตนเอง  ซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า ธรรมชาติจะดูไร้สาระได้มากถึงขนาดเท่าที่ปรากฏต่อเราใน  การทดลองเกี่ยวกับอะตอม กระนั้นหรือ (6) เมื่อใดที่ธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ถูกวิเคราะห์ด้วยความคิดนึก นั่นจะดูเหมือนหาสาระไม่ได้และดูผกผันผิดธรรมดา นักปฏิบัติธรรมได้ตระหนักในเรื่องนี้เป็นอย่างดี แต่มันเพิ่งกลายเป็นปัญหาในทางวิทยาศาสตร์ในระยะเวลาไม่นานมานี้นับเป็นเวลาหลายศตวรรษที่นักวิทยาศาสตร์เฝ้าค้นหา “กฎพื้นฐานของธรรมชาติ” ซึ่งกำหนดปรากฏการณ์รูปแบบต่าง ๆ ที่เราพบ ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นสภาพแวดล้อมระดับที่เห็นได้ด้วยตา และดังนั้นจึงรวมอยู่ในขอบเขตประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของนักวิทยาศาสตร์ ในเมื่อภาษาที่ใช้ซึ่งรวมเอาภาพพจน์และความคิดนึกที่ชาญฉลาดของนักวทิยาศาสตร์ คือสิ่งที่ย่อสรุปเอาจากประสบการณ์ของเขา มันจึงมีประสิทธิภาพเพียงพอในการอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติดังกล่าว

3.4  สู่โลกของอะตอม
ปัญหาเกี่ยวกับธรรมชาติที่เป็นสาระสำคัญของสรรพสิ่งได้รับการเฉลย ในวิชาฟิสิกส์ดั้งเดิมโดยแบบจำลองของจักรวาลในเชิงกลจักรของนิวตัน ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกับที่เดโมคริตัสได้เสนอไว้ในกรีกยุคโบราณ กล่าวคือได้ลดทอนปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้เหลือเฉพาะคุณสมบัติการเคลื่อนที่ และปฏิกิริยาระหว่างอะตอมซึ่งเป็นมวลที่หนาแน่นและทำลายไม่ได้คุณสมบัติของอะตอมเหล่านี้เป็นสิ่งย่อสรุปจากความรับรู้ในเรื่องลูกบิลเลียด ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ระดับที่เห็นได้ด้วยตา และดังนั้นจึงเป็นการสรุปจากประสบการณ์ของประสาทสัมผัส ไม่เคยมีใครตั้งคำถามเลยว่า ความรู้ในเรื่องนี้จะนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในโลกของอะตอมหรือไม่ โดยข้อเท็จจริงก็คือว่า มันไม่อาจจะศึกษาสำรวจได้อย่างจริงจังด้วยการทดลอง อย่างไรก็ตาม ในศตวรรษที่ 20 นักฟิสิกส์สามารถที่จะจัดการกับปัญหาเรื่องธรรมชาติแท้จริงของสสารวัตถุได้โดยการทดลอง โดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ นักวิทยาศาสตร์สามารถที่จะเจาะลึกลงไปในธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ผ่านเปลือกหุ้มทีละชั้น ๆ สู่ “องค์ประกอบพื้นฐาน” ของสสารวัตถุ ดังนั้นจึงพิสูจน์ได้ว่ามีอะตอม แต่ต่อมาก็พบองค์ประกอบของมันได้แก่ นิวเคลียสและอิเล็กตรอน และในที่สุดก็พบองค์ประกอบของนิวเคลียส คือโปรตอนและนิวตรอนรวมทั้งอาจจะมีอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมชนิดอื่น ๆ อีกด้วย เครื่องมือที่มีความละเอียดอ่อนและซับซ้อนในการทดลองทางฟิสิกส์สมัยใหม่ได้เจาะลึกลงไปสู่โลกที่ไม่อาจมองเห็นได้แม้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ สู่อาณาจักรของธรรมชาติซึ่งไกลพ้นจากสภาพแวดล้อมและทำให้เรารับรู้มันได้ อย่างไรก็ดี เรารับรู้มันโดยผ่านลูกโซ่ของจุดจบของกระบวนการเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น เสียงกระดิกของเครื่องไกเกอร์เคาน์เตอร์ (Geiger counter)* หรือจุดดำบนแผ่นฟิล์มรับแสง สิ่งที่เราเห็นหรือได้ยินมิใช่ตัวปรากฏการณ์เอง แต่เป็นสิ่งที่สืบเนื่องจากมันโลกของอะตอมและอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมยังอยู่นอกเหนือประสาทสัมผัสของเรา ดังนั้นเราจึงสามารถ “สังเกต” คุณสมบัติของอะตอมและส่วนประกอบของมันได้โดยอัอม โดยอาศัยเครื่องมือที่ทันสมัย ดังนั้นเราจึง “มีประสบการณ์” เกี่ยวอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมได้บางส่วน อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์ที่ว่านี้ มิใช่ประสบการณ์สามัญเมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมของเราในประจำวัน ความรู้เกี่ยวกับวัตถุในระดับนี้มิใช่มาจากประสบการณ์โดยตรงของประสาทสัมผัส จึงไม่เพียงพอแก่การอธิบายปรากฏการณ์ที่สังเกตได้ เมื่อเราเจาะลึกลงไปในธรรมชาติมากขึ้นเท่าใด เราจำเป็นต้องละทิ้งภาพพจน์และความคิดซึ่งรวมเป็นความหมายของภาษาสามัญมากเท่านั้น ในการเดินทางสู่โลกแห่งอนุภาคซึ่งมีขนาดเล็กอย่างไม่อาจประมาณได้นี้ก้าวสำคัญที่สุดจากทัศนะของปรัชญา ก็คือก้าวแรก ก้าวที่นำไปสู่โลกของอะตอมเมื่อเจาะลึกลงไปในอะตอมและสำรวจโครงสร้างของมัน วิทยาศาสตร์ก็ได้ก้าวพ้นขอบเขตจำกัดของจินตนาการอันเนื่องมาจากประสาทสัมผัส จากจุดนี้เป็นต้นไป เราก็ไม่อาจวางใจได้อย่างสมบูรณ์ในตรรกะและสามัญสำนึกอีกต่อไป วิชาฟิสิกส์ที่ว่าด้วยอะตอมได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์จำต้องเผชิญกับลักษณะซึ่งผกผันผิดธรรมดาของประสบการณ์นี้เช่นเดียวกับนักปฏิบัติธรรม ดังนั้นจากจุดนี้เอง แบบจำลองและภาพพจน์ของวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่ได้ปรากฏความคล้ายคลึงกับคำสอนของปรัชญาตะวันออก
 
               
คัดลอกจาก ::
http://www.rit.ac.th/homepage-sc/charud/scibook/tao%20of%20physics
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: เต๋าแห่งฟิสิกส์ : บทที่ 3 พ้นภาษา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 11:15:09 pm »
 :45: ขอบคุณครับพี่มด
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~