ผู้เขียน หัวข้อ: เฝ้ามองชีวิตเริงระบำ : นิเวศแนวลึกและเสมสิกขาลัย  (อ่าน 2090 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
บันทึกสัมภาษณ์ของผมเกี่ยวกับเนื้อหาด้าน นิเวศวิทยาแนวลึกสำหรับเสมสิกขาลัย ทำไว้เมื่อเสมมีการประเมินผลการทำงาน ในช่วงครบรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมา
ความเป็นมา
ทำไมเป็นนิเวศน์แนวลึก ถ้าดูขอบเขตเนื้อหา เสมอุดมทั้งหมด มีเรื่องด้านใน ด้านนอก ความสัมพันธ์ เรื่องด้านในพูดถึงความเข้าใจตัวเอง ด้านนอกมีหลายเรื่องเป็นเรื่องวิเคราะห์สังคม ระบบเศรษฐกิจโลก สิ่งที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ผมเข้าใจว่าเสมพยายามเชื่อมโลกด้านใน กับโลกด้านนอก เวลาศึกษาตัวเองว่าเราคือใคร ต้องสืบค้นว่าเราสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างไร ไม่ใช่แค่เกิดอะไรบ้างในโลกนี้ ในชุมชน ท้องถิ่น กับน้ำ ดิน ป่า วิกฤตินิเวศน์วิทยาศึกษาได้หมด แต่พอกลับมาดูข้างในตัวเองว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมระบบธรรมชาติ ระบบสังคมของระบบธรรมชาติ เรามีผลว่าทำให้ปัญหาดำรงอยู่หรือทุเลาลง ต้องมาดูตัวเอง นี่เรื่องที่หนึ่ง

เรื่องที่สอง พอดูเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องสำนึกสิ่งแวดล้อม มีคำถามหลายอย่างว่าคำว่าสำนึกทางสิ่งแวดล้อมคืออะไร เป็นแค่ความคิด ความรู้สึก หรือสัญชาตญาณ เพราะโดยตัวเสม ความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ตัวผู้เรียน หรือมนุษย์ ให้คุณค่า เราเข้าใจใน 3 ฐาน ฐานกาย ฐานใจ อารมณ์ ความรู้สึก และฐานความคิด สติปัญญา หรือญาณทัศนะ ซึ่งตรงกับแนวคิดการศึกษาแนวใหม่ เรื่องสมองทั้ง 3 ฐาน คำว่าสำนึกไม่ใช่แค่ความคิด แต่เป็นตัวปัญญา ที่เห็นตัวเองว่าคือสิ่งแวดล้อมคือโลก ความคิดนิเวศน์วิทยาตัวตนที่เรารู้สึก หรือสำนึกได้เป็นตัวตนที่คับแคบ เรียกว่าเรามีกายทางนิเวศน์ ไม่ใช่มีกายเท่านี้ กายเท่านี้คือเราคิดไปเอง ทั้งที่จริง เราปฏิสัมพันธ์ ตลอดเวลา

อีกอย่าง ก็สอดคล้องกับความคิดทางพุทธศาสนาว่าสรรพสิ่งเชื่อมโยง มีเหตุ มีปัจจัย ความเข้าใจนิเวศน์แนวลึกไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่ดูเป็นภาษาใหม่ มันมีอยู่แล้วในชุมชน ชนเผ่าพื้นเมืองด้วย เลยคิดว่ามันเป็นการกลับไปหารากเหง้าทางวัฒนธรรม สืบค้นรากเหง้าของตัวเอง ของผู้เรียน แม้กระทั่งว่า รากเหง้าทางวัฒนธรรม แม้กระทั่งทางกายตัวเราทุกคนมีความทรงจำแห่งอดีตในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ถึงแม้เราถูกกระทำให้เป็นคนเมือง รู้จักถนน แต่ไม่รู้จักป่า แต่ยังมีความทรงจำที่รื้อฟื้นค้นพบใหม่ได้

เป้าหมาย


ถ้าจะดูการเรียนรู้ของเสม เป้าหมายไม่ใช่แค่รู้ แต่เพื่อเปลี่ยนตัวเอง ปรับเปลี่ยนทัศนคติ วิถีชีวิตเพื่อเกื้อกูลโลก ไม่ให้ทำลาย จากความคิดสู่การกระทำ ในทางนิเวศน์แนวลึก หลักการคือไม่มีจริยธรรมเรื่องต้องดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างไร จริยธรรมเป็นเพียงหลักคิดที่พอจะช่วยได้ แต่ไม่ยั่งยืน ตราบใดที่มนุษย์ไม่รู้ว่าลมหายใจของตัวเองคือลมหายใจของโลก ต้องรู้สึกได้ขนาดนั้น เหมือนเราโดนหยิก ต้องปัดออกทันที ตอนนี้โลกยิ่งกว่าโดนหยิกอีก แต่การรับรู้ว่าโลกถูกกระทำหรือโลกทุกวันนี้มันเข้ามาอยู่ในความคิดและความรู้สึก เลยคิดว่านิเวศน์แนวลึกเป็นทางเข้าสู่การเรียนรู้

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้เรียนแต่ละคนมีพื้นฐานไม่เท่ากัน บางคนเป็นพระก็พอที่จะมีพื้นฐานการภาวนา แต่พวกหัดขับใหม่ที่ไม่มีพื้นฐานการภาวนาก็ดีไปอีกอย่าง เรียกว่ามีจิตของผู้ฝึกใหม่ คือไม่คาดหวัง มันลองดู แต่ถ้าจิตของผู้เชี่ยวชาญมันเรียนรู้ยาก เพราะฉะนั้นมองในแง่การประเมินไม่ได้มีมาตรฐานเดียว ดูผู้เรียนดูเหมือนจุดเครื่องบินขึ้น เครื่องบินออก แล้วไปลงอีกที่เขาได้อะไรบ้าง ซึ่งแต่ละคนบอกได้ว่าแต่ละคนได้คนละอย่าง แล้วยิ่งบอกว่าได้อะไรบ้าง ก็บอกว่าได้จากคนอื่นอีก บางคนพูดออกมา อีกคนรู้สึกว่าได้รับคำตอบเลย กระบวนการกลุ่มดีแบบนี้ ความหลากหลายก่อคุณภาพใหม่บางอย่าง
บางทีใช้กับพระ พระก็สนุก เขารับได้ ท้าทายสมมติฐานบางประการในความคิดพุทธศาสนาว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ ประเสริฐในแง่ศักยภาพ ไม่ใช่ประเสริฐว่าคุณค่าดีกว่าสิ่งอื่น มันสามารถเท่านั้นเอง เก่งกว่าไม่ใช่ดีกว่า อีกเรื่องที่เป็นอุปสรรคที่ต้องถอดถอนในความคิดทางพุทธที่ถูกตีความมาแบบนี้ เรื่องคุณค่าที่ต่างกัน

กลุ่มคริสต์ท้าทาย กลุ่มที่เชื่อว่าพระเจ้าสร้างโลก มีความเชื่อว่ามนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาก่อน พร้อมสร้างสัตว์อื่นๆให้เป็นบริวาร จะพยายามนำเอาเนื้อหาการตีความใหม่ของคริสต์ที่มีแนวนิเวศน์เข้ามาใช้
ก่อนที่เราสร้างกระบวนการเราต้องศึกษาผู้เข้าร่วม ว่าจะเอาเนื้อหาอะไร จะตีความอย่างไร โดยเฉพาะพิธีกรรมบางทีคริสต์ แค่จุดเทียนเขากลัวแล้ว รู้สึกว่าเป็นพุทธ จุดเทียนในหมู่พุทธ ความเป็น ชนกลุ่มน้อยเป็นเรื่องท้าทาย เช่นจุดเทียน ถูกให้ความหมายยังไงในพิธีกรรมนั้น เขารู้สึกยังไงกับมัน ต้องพยายามรับรู้ว่าถ้าเป็นคริสต์ไม่เป็นไรน๊ะ ให้แสดงความคิดเห็นในกระบวนการเลยว่าอะไรที่รู้สึก สะดวก ปลอดภัย
นับเป็นมิติทางศาสนา แต่ถ้าเป็นเรื่องตำแหน่งแห่งที่ของเขาเช่นเป็นข้าราชการ ธุรกิจ มิติเหล่านี้มีผลทำให้เราต้องพยายามปรับกระบวนการ ส่วน ngo ก็มีแต่เป็นแนวอยากนิ่ง เลิกวุ่นวายกับความคิดเก่าๆ มาพักผ่อน เจอเพื่อนใหม่ๆ ไม่ตายตัว ที่มีใครมีลักษณะตายตัว ทำให้จิตว่างยากมาก อยู่กับเรื่องที่คุย เช่นป่าไม้มาคุยเรื่องป่าชุมชน อันนี้ตำแหน่งแห่งที่ ป่าไม้ชัดเจน จะไม่รีบนำไปสู่การคุยเรื่องนี้จะค่อยๆพาเข้าประตู และพยายามค้นในตัวเขา เริ่มจากของเขาว่าเขารู้สึกไงกับชุมชน กับตัวเอง กับธรรมชาติ ซึ่งการประเมินการเตรียมตัว มีการเตรียมกับเสมโดยคุยว่าเป็นใครบ้าง กลุ่มอายุไหน มาจากไหน เสมเตรียมดีว่าใครมาไง ซึ่งเป็นการจัดให้เสมทั่วไปด้วย จัดให้พี่ทรงพล บัณฑิตคืนถิ่น
อีกอันเรื่องมิติชายหญิง ส่วนใหญ่ยังไม่มี แต่ถ้ามีเราต้องเข้าไปทำงานตรงนั้น เช่น การมีส่วนร่วมบางทีผู้ชายพูดเยอะ ผู้หญิงจะด้อยโอกาส แต่เท่าที่ผ่านมาค่อนข้างสมดุล เอื้อเฟื้อ 20 คน มากกว่านี้ ก็ 25-30 แต่ไม่ควรเกิน 25 จะได้ไม่ต้องตัดเค้กเยอะไปหน่อย แต่ยังมีความหลากหลายพอสมควร
จัดให้กลุ่มแวดวงเดียวกัน หรือความหลากหลายอันไหนให้เกิดการเรียนรู้ อันนี้แล้วแต่ มีหลายประตู คนที่อยู่องค์กรเดียวกัน มีความขัดแย้งมาก่อน ต้องมีการคลี่คลายบางอย่าง เตรียมพร้อมเพื่อเรียนรู้ใหม่ ให้แผลเรียบดีก่อน เป็นเรื่องยาก มีโจทย์ท้าทายอีกอันที่ทำให้อยู่ในองค์กรเดียวกัน สร้างกระบวนการเรียนรู้ กลับไปเรื่องชาวบ้านนิดนึง
ที่ชาวบ้านคิดว่าตัวเองมีคุณค่า มีชาวบ้านคนนึงซึ่งกล้าพูดแสดงออก คนมองว่าเขาเป็นปราชญ์ชาวบ้าน 3 วันหลังจากนั้นเขาบอกว่าเขาพบว่าเขาไม่ได้รู้ดีไปกว่าคนอื่น เขาก็พบว่าจริงๆเขาก็ฟังได้เหมือนกัน ไม่ต้องพูดตลอด อีกคนบอกว่าตัวผมเองก็ด๊อกเตอร์ได้เหมือนกัน คืนวันแรกๆมีความงงบางอย่าง ผมจะไม่อธิบายอะไรมาก เพราะรู้สึกว่ามันอยู่ในตัวความคิดมากกว่า เขาก็ว่ากัน 2 วันแล้วน๊ะ ยังไม่สรุปอีกเหรอ ผมก็ว่า 2 วันที่เราคุยกันมามันคืออะไร ต้องถามตัวเอง อยากได้ความรู้สำเร็จรูป นิยามไปเลยมันคืออะไร วันที่ 3 ผมแค่ช่วยสรุปนิดเดียวว่าสิ่งที่คุณรู้นั่นแหละ

หมายความว่าคนอาจเข้าใจนิเวศน์วิทยาแนวลึกต่างกันเลยก็ได้
แน่นอนครับ ไม่มีคำตอบสำเร็จรูป ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ว่าพูดเพื่ออะไร จะให้ถูกต้องตามวิชาการว่านายอนาเนสเป็นใช้คำนี้ก่อน ถ้าจะใช้อย่างนี้มันก็ไม่ยาก หาได้

เนื้อหาและกระบวนการ

เนื้อหา

ในเรื่องแตกออกไปหลายเรื่องเช่นนิเวศน์วิทยาชนเผ่าซึ่งตอนนี้ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่ในแวดวงวิชาการ เรียก spiritual ecology นิเวศวิทยา เชิงจิตวิญญาณได้รับการยอมรับมากขึ้น เพราะมีความจำเป็นมาก เพราะกระบวนการรักษาสิ่งแวดล้อม เชิงอนุรักษ์ เป็นการรักษาเพื่อประโยชน์ต่อมนุษย์ แต่ไม่ใช่เพื่อต่อธรรมชาติเอง เรายังใช้คำว่าทรัพยากรอยู่ ซึ่งเป็นคำที่มาจากกรอบคิดเดิมที่มองว่าธรรมชาติเป็นทรัพยากร เช่นเต่าบอกมนุษย์เป็นทรัพยากร เราก็เอ๋ เราเป็นมนุษย์ เรามีชีวิตของเรา นิเวศน์แนวลึกมีแนวคิดว่าทุกชีวิตมีวิวัฒนาการเพื่อไปสู่ศักยภาพที่ดีที่สุดของมันเอง แล้วถ้ามองในแง่ของพุทธคือว่าทุกสิ่ง

กลับไปดูที่ทฤษฎีกาย่า โลกนี้มันหายใจได้ ก้อนหิน ที่นี้การไม่ว่าจะเป็นพุทธก็ดีหรือว่าภูมิปัญญาของชนเผ่าก็ดีก็พูดเรื่องเดียวกัน ชนเผ่านี้เค้าจะถือว่าในอย่างขวัญปากะญอ 37 ขวัญ ขวัญทั้งหลายของมนุษย์มี 37 5 ขวัญอยู่กับเราอีก 32 อยู่ในธรรมชาติหมดเลย ฉะนั้นคนหนึ่งจะมีสุขภาพที่ดี กาย อารมณ์แล้วก็ความคิดหมดเลย สุขภาวะโลกก็ต้องดีด้วย แค่เนี้ยถ้าเข้าใจแล้วก็ต้องดูว่าเชื่อมโยงกันอย่างไร

กระบวนการกว้าง ๆ

ความคาดหวังนี่ถาม แต่ไม่ถามว่านิเวศน์วิทยาแนวลึกคืออะไร เราพยายามให้เขานิยามของเขา แต่ไม่ได้มีคำตอบตายตัว ผมหลีกเลี่ยงคำของตัวเอง ให้เขานิยาม เดินก่อน แล้วผมนิยามเดินไปกับเขา ช่วยจับคำเขาขึ้นมาใช้ ใช้คนละอย่าง พูดเรื่องเดียวกัน แต่ใช้คำคนละอย่าง ผมไม่อยากใช้คำช๊อคเขา เวลามีคำอย่างนิเวศน์วิทยาแนวลึก ผมแสดงอำนาจน๊ะ เพราะผมเป็นผู้เลือกตีความ ผมรู้สึกอย่างนั้น ผมใช้ความรู้สึก พอเริ่ม อะไรว่ะ ตุ๊บเลย งงเลย เป็นการร่วมมากกว่า ไม่ใช่อะไรก็ได้ บางทีการสร้างความเข้าใจร่วม ร่วมไม่ใช่ทุกอย่าง แต่มันเนี่ยๆ แต่มันไม่สามารถใช้คำๆเดียวอธิบาย แต่ในตัวกระบวนการสืบค้น เขาเองก็สืบค้นว่าเรื่องนี้เขาใช้คำว่าอะไร พูดออกมาอย่างไร เขาเข้าใจอย่างไร ผมก็พยายามเข้าใจวิธีคิดของเขาด้วย

หลายวิธีการ ผมเรียนรู้มาหลายสำนักคิด หลายวิธีการ ส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกันหลายอย่าง เริ่มจากประสบการณ์ตรง แบบชาวบ้าน เกิดการคิด ตั้งคำถาม เชื่อมโยง หารูปแบบ หารูปแบบ ทฤษฎี ไปสู่การปฏิบัติ แล้วประยุกต์ใช้ กลับวนไปที่ประสบการณ์ตรงทุกครั้งที่เป็นแบบนี้ เป็นหลักคิด ทฤษฎีหรือคำมาทีหลัง ภาษามาทีหลัง เริ่มจากประสบการณ์ตรง ไม่ว่าอดีต หรือปัจจุบันทั้งหมด ในฐานะกระบวนกร จะเริ่มตรงนี้ ไม่ว่าเป็นประสบการณ์ตรงในปัจจุบันและประสบการณ์ตรงที่เกิดมาจากเล่า ค่อยดูว่าเป็นคำไง รูปลักษณ์ไง ดีที่สุดการเรียนรู้ของผม คือเข้าไปเรียน ถามว่าหนังสือมีเยอะไหม เยอะน๊ะเรื่องกระบวนการเรียนรู้ ทางสันติวิธีทางอเมริกามีเยอะมาก ออสเตรเลีย เปาโลแฟร์ พูดถึงการศึกษาสำหรับผู้ที่ถูกกด ก็ต้องถอดถอนวัฒนธรรมของความเงียบ culture of silent เพราะปิดกั้นกดทับ มันต้องทำให้คนที่รู้สึกด้อย รู้สึกไม่ด้อย นี่เป็นอีกทฤษฎีนึง
ไปเข้าครอส มีครอส เคยเข้า 21 วัน ที่อาศรมจัด จอร์จ สเลกี้ ทำเรื่อง training for change การฝึกอบรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง อายุ 60 กว่าแล้ว ทำมา 40 ปีแล้ว เป็นชาวอเมริกา จัดครอสที่อเมริกา เพนซิวาเนียทุกปี ถ้าหาทุนได้ น่าไปเรียนมาก ที่นาโรปะก็มีครอสแบบนี้ไม่น้อย ผมได้อะไรจากนาโรปะเยอะมาก นาโรปะมีมิติเรื่อพิธีกรรม มีคอรสสั้นๆ เหมือนเสม จอร์จไม่มีมิติพิธีกรรม แต่มีจิตวิทยากลุ่ม การทำงานกับเรื่องอารมณ์ การทำงานกับความขัดแย้งกับกลุ่ม เขาทำเรื่องสันติวิธี นาโรปะ ถ้าต้องการปริญญาต้องมี TOFEL ปริญญาโท 2 ปี ส่วนใหญ่ก็ 2 ปีครึ่ง ผมเรียนโทเรื่องสิ่งแวดล้อม มีครอสอดอาหารทะเลทราย 3 วัน กินน้ำอย่างเดียว มีครอสแปลกๆ สนุกๆ เข้าใจตัวเอง หลากหลาย แต่ถ้าครอสสั้นไม่ต้องมีปริญญา 3 เดือน

เอกสารอ่านเพิ่มเติม

เรามีเวลาจำกัด แค่ 10 วัน การให้เขาไปอ่านเพิ่มเติม เรามีการปรับเปลี่ยนหา
ทางแก้ปัญหาให้บรรลุผลได้อย่างไร เรามีงานเขียนบางส่วนให้เขาไปอ่าน และส่วนที่ผมเขียนขึ้นมาเอง อย่างน้อยให้รับรู้ตรงๆ เช่นนิเวศน์แนวลึกคืออะไร ความเคลื่อนไหวในต่างประเทศ ระบบคิดอื่นๆที่สอดคล้องไปด้วยกัน เช่นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ทฤษฎีระบบ งานเขียนบางส่วนผมก็จัดให้เขา

วิวัฒนาการของชีวิต

ตัวกระบวนการแต่ละกลุ่มก็ไม่เหมือนกัน ดูความพร้อม พยายามนึกอยู่เพราะจัดน้อยมาก เลยไม่ค่อยได้ปรับอะไร เวลาทำกระบวนการจะเลือกตามสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งจะมีกระบวนการที่ทำให้เข้าใจเรื่องวิวัฒนาการของชีวิต อันนี้เป็นชุดความรู้อีกอันนึง มาจากวิทยาศาสตร์ใหม่ จักรวาลเกิดมากี่ปี โลกกี่ปี สิ่งมีชีวิตสิ่งแรกเกิดเมื่อไหร่ กว่าจะเป็นเรา ยุคทำลายล้าง อุตสาหกรรมนิยม นี่เป็นอีกชุด จะเห็นมิติเรื่องการเดินทางของเวลา

สภาสรรพสิ่ง

อีกอันนึงที่ใช้ ที่ออสเตรเลียก็ใช้คือสภาสรรพสิ่ง สภาสรรพสิ่งคือกิจกรรมสวบบทบาทเป็นสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่ไม่ใช่มนุษย์ แล้วมานั่งคุยกัน เหมือนเกมส์ เหมือนเด็กๆ คนได้ใส่หน้ากากสวม
แต่บางคนก็ทำภายใต้ความเป็นมนุษย์น๊ะ เพราะคนเราก็ไม่รู้นิไอ้เต่าจะคิดไง ทำไง
ใช่ หนีไม่พ้น แต่เราพยายามจินตนาการ

despair work แล้วอีกอย่างหนึ่งนิเวศน์แนวลึกเน้นเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์เองทั้งในระดับปัจเจก แล้วก็แนวนโยบาย คือสิ่งที่เป็นอยู่ในระบบโลก ที่ถลุงและขุดเอาธรรมชาติมาใช้ที่ยืนอยู่บนพื้นฐานทุนนิยม อุตสาหกรรมนิยมคือต้องเปลี่ยนไงถ้าไม่เปลี่ยนไปไม่รอด นี้คือสมมติฐานของนิเวศน์แนวลึก จะมีเครื่องมือมาจัดกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับงานที่เรียกว่า despair work

ธรรมยาตรา

ทุกวันนี้ความเจ็บป่วยอันหนึ่งของสังคมสมัยใหม่ไม่มีหวังคือไม่คิดว่าโลกจะเปลี่ยนไปในทางตรงกันข้าม คืออับจนจินตนาการ พัฒนาวิธีคิดแบบวิพากษ์วิจารณ์จนมองอะไรลบไปหมดเลย มันก็จะไปเติมวงจรของความเป็นลบมากขึ้น เพราะว่ามีพื้นฐานอีกอันหนึ่งคือความกลัว งานอันหนึ่งในการจัดการขบวนการการเรียนรู้คือเข้าไปดูความกลัว ความทุกข์ คือตรงกับหลักพุทธเลยเข้าไปดูความทุกข์เป็นหนึ่งเดียวกับความทุกข์ เข้าใจ การจัดการความรักหรือว่าการริเริ่มอะไรบ้างอย่างน่าจะมาจากตรงนี้ มากกว่าจะเป็นการสอนอะไรถูกหรือผิดต้องมาจากผู้เรียนเองมันจะมองเห็นว่าอย่างคนทางใต้เป็นพี่น้องเรา คือไม่ทำอะไรไม่ได้ แล้วก็โดยตัวกระบวนการเองก็จะจัด เช่นการจัดธรรมยาตรา ใช้วิธีประสบการณ์มือหนึ่งมากชุดจะได้เป็นความรู้แฝงเร้น ซึ่งหนังสือ วิดีโอ สื่อต่าง ๆ ไม่สามารถให้ได้ครบส่วน ต้องใช้ประสบการณ์ตรง ไม่ใช่ความรู้ตัดทอน แต่ว่าเรื่องการอ่านความเข้าใจในความคิดแบบเหตุผล มันก็แฝงในนั้น แต่จะใช้ประสบการณ์ตรงเป็นตัวตั้ง แล้วก็ใช้หลักความเท่าทันตัวเอง แล้วก็ความมีสติแบบพุทธช่วยทำให้การรับรู้ละเอียดขึ้น

มันเป็นการเดินทาง ไม่ใช่เป็นก้อนๆ ต้องปูพื้นด้วยความเข้าใจ อย่างจัดธรรมยาตรา เราใช้การรับฟังเรื่องราว ใช้หลักการการเป็นสักขีพยานเป็นการเรียนรู้ การเป็นสักขีพยานคือการเรียนรู้อย่างไม่ตัดสิน รู้เท่าทัน การตัดสินของตัวเอง ท้าทายตัวเองให้ออกมาจากความคุ้นเคยหรือสะดวกสบาย ไม่ว่าพื้นที่เดิมเป็นพื้นที่ทางความคิด หรือเป็นพื้นที่ทางกาย ออกจากพื้นที่ไข่แดงที่มันจมจ่อมอยู่ในพื้นที่ความคิดชุดเดิม การออกมา การไปสัมผัสกับประสบการณ์ตรง เหมือนพระธุดงค์ที่แสวงหาความคิดสดใหม่ตลอดเวลา เพราะไม่ต้องการอยู่กับความคุ้นชินเดิม การเรียนรู้การเป็นสักขีพยาน ไม่ว่าการรับฟังการดู นิทานปรับปรา เรื่องเล่าและรับรู้จากคนทำงานในท้องถิ่น ngo ในท้องถิ่น เสียงของเจ้าหน้าที่รัฐบาลในท้องถิ่นเพื่อให้เข้าใจเสียงหลายๆเสียง แต่โดยตัวกระบวนการคนที่เข้าไปอยู่กับชาวบ้าน ธรรมยาตราไม่ใช่เข้าไปเพื่อแก้ปัญหา เพราะชาวบ้านเป็นคนบอกเอง ชาวบ้านเป็นวิทยากรนิเวศน์แนวลึก ชาวบ้านบอกเองว่าสิ่งที่เขาต้องการที่สุดไม่ใช่คนมาแก้ปัญหาแต่มีคนมาฟัง มารับรู้ ปัญหาเขารู้อยู่แล้ว เขาแก้มา การมาช่วยแก้ปัญหาเป็นสิ่งที่เขาต้องการ แต่การต้องการเพื่อนเยอะมาก มารับรู้รายละเอียด ไม่ใช่การประชุม 2 ครั้ง แล้วมาแก้ปัญหา เสร็จ รับรู้ ต่อเนื่อง

กระบวนการเรียนรู้ภายใน

ถ้ามองในแง่สมอง การเรียนรู้จะช่วยทำให้ปรับคลื่นสมองมีความถี่สูงคลื่นเบต้าที่วิ่งหมุน 14 รอบต่อวินาที ให้ลงมาละเอียดขึ้นเป็นคลื่นอัลฟ่าลงมาเป็น 7-14 รอบต่อวินาที ซึ่งจะช่วยให้วิธีการก็เยอะแยะ เช่นฟังดนตรี เดินภาวนา นอนภาวนา แต่เมื่อสมองโอเปอเรตในคลื่นอัลฟ่าการรรับรู้จะละเอียดมันจะเริ่มใช้สิ่งที่มนุษย์มีแต่ไม่ค่อยได้ใช้คือการมองตัวเอง การช้าลงแล้วกลับมามองตัวเอง สิ่งที่เราเห็นคืออะไร เราเห็นปั้บเราบอกเป็นต้นไม้ เราให้ความหมายว่ามันเป็นต้นไม้ ดูอีกที่ซิเราจะมองข้ามพ้นความคิดของเราเองว่าต้นไม้ควรจะเป็นอย่างไรหรือเปล่า แต่มองให้เห็นว่าต้นไม้เป็นอะไรจริงๆหรือเปล่า มองให้เห็นว่าความทุกข์คืออะไร ซึมให้มันนานๆ มองนานๆ พยายามเข้าไปคลุกคลี นัวเนียกับประสบการณ์ที่อยู่ตรงหน้า จนแยกไม่ออกว่านั้นเป็นปัญหา นั่นไม่ใช่ปัญหา แต่เข้าไปถึงความซับซ้อนของปรากฏการณ์ เวลาพูดถึงความซับซ้อนหมายถึงเหตุปัจจัยเยอะแยะไปหมด วิธีคิดที่พยายามมองหาเหตุเดียวเช่นทุนนิยมเป็นตัวการ ความคิดนี้มีปัญหา เพราะเห็นเหตุเดียว หรือป่าไม้เป็นตัวการ นี่เป็นปัญหา ก็ต้องสืบค้นต่อว่าหมายความว่าไร มีเหตุปัจจัยเต้นระบำอยู่เยอะมาก เหตุปัจจัยจากตัวชุมชนที่ดูเหมือนถูกกระทำด้วย

หมายถึงปัญหามาจากหลายสาเหตุมาผสมกัน แนวคิดที่ว่าทุนนิยม บ้างว่าป่าไม้เป็นเหตุ หรือชุมชนเป็นเหตุ ไม่ได้มองว่าชุมชนโรแมนติกอย่างเดียว ถึงที่สุดต้องมองว่าตัวเองเป็นเหตุ แล้วกรณีที่ตัวเองไม่ได้เป็นเหตุ การมองว่าตัวเองเป็นเหตุไม่ได้เป็นปัญหาหรือ หมายถึงตัวเองเกี่ยวข้องกับตรงนั้นด้วย ไม่ใช่ single cause พยายามแสวงหาความคิดที่ไม่ใช่เส้นตรงเพื่ออธิบายเหตุที่เกิดขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของสันติวิธี คือค้นแนวคิดเชิงขั้วตรงข้าม เพราะมีขั้วมันต้องการทำลายล้าง ท่านนัท ฮันส์ เป็นตัวอย่าง เป็นแนวคิดนิเวศน์วิทยาแนวลึกมากๆ เป็นสันติวิธี เป็นพุทธ ไปพ้นความคิดเชิงขั้วปฏิปักษ์ เพื่อเข้าไปอยู่ในสังสารวัฏ เป็นเพื่อน เกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่ต้องดำเนินทางไปด้วยกัน ไม่ใช่ไปตัดคนใดคนหนึ่งออก นี่คือสิ่งที่คิดอยู่ในใจว่า นิเวศน์วิทยาแนวลึก เรียกชื่อนี้ไปก่อน แต่สิ่งที่อยากให้สืบค้นคือสิ่งที่พูดมาทั้งหมด

พิธีกรรม

มีอีกเรื่องนึงเรื่องการเข้าใจถึงพิธีกรรมในฐานะของกระบวนการเรียนรู้ ในฐานะการเข้าถึงความรู้ในทางราบ ผมไม่อยากใช้คำว่าลี้ลับ แต่เป็นเรื่องรหัสนัย ไปพ้นความคิด เวลาเราอยู่ในพิธีกรรม เราอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ที่ละเอียดอ่อนมาก และอยู่ที่ว่าเราทำพิธีกรรมอย่างไรด้วย ถ้าสักแต่ว่ากายเคลื่อนไหว ปากพูดขมับ แต่ไม่ได้เปิดใจรับรู้มัน เช่นพิธีผูกขวัญ ผูกขวัญเป็นการเรียนรู้มหาศาล เป็นทั้งกระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน และผู้มาใหม่ และสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าเรา ขวัญที่ยิ่งใหญ่ ขวัญของโลก


ถ้ามองในแง่การศึกษา มันขาดหายไปในสังคมสมัยใหม่เยอะมาก พิธีกรรม และไปคิดว่าพิธีกรรมเป็นเรื่องของศาสนา ศาสนาใดศาสนาหนึ่งไม่ปนเปกัน คิดว่าพิธีกรรมมีอยู่แล้ว และนำมาใช้ใหม่ หรือเป็นพิธีกรรมที่สร้างขึ้นมาใหม่ พิธีกรรมที่ผู้เรียนต้องค้นหาว่าเราต้องสร้างอะไรขึ้นมาให้ตัวเอง พิธีกรรมมีนัยะมิติความศักดิ์สิทธิ์ เรารู้สึกสิ่งที่เราทำ เราสัมผัสมีชีวิตเท่าๆกับเรา มีความงามมีศักดิ์ศรีในตัวเอง ไม่ใช่แค่พาไปดูบวชป่า แต่มันรับรู้ที่ละเอียดมาก ถึงเข้าไปรู้ว่าบวชป่าคืออะไร ถ้าเราเป็นต้นไม้เรารู้สึกอย่างไรถ้ามีคนมาบอกว่าอยู่นานๆ

การบวชป่าเป็นการยกมาเพื่อต่อสู้เชิงนโยบาย การเมือง มากกว่าการทำงานแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ทำมา อย่างนี้เรียกเป็นพิธีกรรมไหม อย่างนี้เป็นพิธีกรรม ถือเป็นการสื่อ ทั้งการสื่อสองทาง บอกคนอื่นด้วย บอกผู้มีอำนาจและบอกพวกเรากันเองด้วย สื่อบอกต้นไม้ด้วย

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
การปลีกวิเวก

อีกกระบวนการนึงที่ค่อนข้างส่งเสริมให้ผู้เรียนใคร่ครวญ พออยู่กับชุมชน 2-3 วัน บางทีมากกว่านั้น 4-5 วัน ก็มีช่วงเวลาของการอยู่วิเวก อยู่คนเดียวกับธรรมชาติ ปลีกวิเวก 1 วัน 1 คืนอย่างน้อย มีการอดอาหาร กินน้ำ ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้เข้มข้นอย่างนึงเพื่อเพิ่มกระบวนการใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง ภาษาพุทธเรียกว่าโยนิโสมนัสิการ เข้าไปสัมผัสแล้วต้องมีเวลาในการใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง ถึงความสัมพันธ์ของตัวเอง มีเรื่องเกิดขึ้นเยอะแยะไปหมด ช่วงเวลาที่อยู่คนเดียว บางทีคิดถึงชีวิตตัวเองเกิดมาทำไม บางทีมาเห็น มาเรียนรู้อย่างนี้แล้ว มันต้องปรับชีวิตอย่างไร เป็นการภาวนา บ่มเพาะ รับพลังจากธรรมชาติ ให้มันคลี่คลาย และการสืบค้นจะลงลึก และค่อยให้เห็นจังหวะและเวลา บทบาทตัวเองว่าจะวางตัวเองไว้ตรงไหนของชีวิตในสิ่งที่เกิดขึ้น และพอออกมาจะนั่งคุยแลกเปลี่ยน มันจะมีระดับของการเรียนรู้ อยู่กับชุมชน กับตัวเอง กับกลุ่ม เวลาอยู่กับกลุ่ม จะทำ dialog แต่ก่อนเขาเรียกเป็นสภา สภาแห่งการรับฟัง เรื่องสิ่งที่เรียนรู้ข้างในของแต่ละคนโดยไม่ต้องมีข้อสรุป เพราะแต่ละคนจะมีคำตอบ มีการสรุปเอง เพราะการลำเลียงความเข้าใจของตนเองออกมามันจะฝึกให้ได้พูด ได้คิดให้ชัดขึ้น บนพื้นฐานว่ามันคงลำเลียงออกมาไม่ได้หมด มีความรู้บางอย่างที่เป็นความรู้แฝงเร้นที่ไม่สามารถพูดออกมาได้

ฟังเหมือนหลักการคือกระบวนการให้เราอยู่กับตัวเองมากที่สุด ภายใต้บรรยากาศที่มีคนอื่น ที่ให้เราตกผลึกทางความคิดใช่ไหมค่ะ
ใช่ ให้ความคิดออกมาโดยไม่จำเป็นต้องไปคิดกับมัน ให้จิตไร้สำนึกซึ่งมี97% ภูมิปัญญาที่เรามี ไอ้ที่คิดๆ คิดได้ทั้งหมดคือ 3 % แต่จิตใต้สำนึกจะมาตอนเรารู้สึกผ่อนคลาย อาบน้ำ อยู่คนเดียว หรือเล่นดนตรี คลื่นอัลฟ่าช่วยทำให้จิตไร้สำนึกผุดพรายขึ้นมา โผล่ปรากฏ การอยู่คนเดียวเป็นกระบวนการหนึ่งที่ช่วยให้

จุดเด่นของกระบวนการ

กระบวนการเรียนรู้ ความรู้ต้องมาจากธรรมชาติ มาจากตัวเขาเอง ผมไม่ใช้คำว่าวิทยากร เพราะวิทยากรมีความหมายกรอบคิดอยู่ที่ว่าผู้ให้ความรู้ แต่ถ้าเรามองว่าเราเป็นผู้เอื้อกระบวนการเราน่าเป็นกระบวนกร และทุกคนเป็นวิทยากร ถ้ามีคนเรียกเราว่าวิทยากร ต้องเรียกตัวเองว่าวิทยากร ทุกคนเป็นวิทยากรด้วย คือความรู้เกิดจากทุกคนช่วยกันสร้างขึ้นมา

ที่นี้กระบวนการที่เข้าไปเอื้อให้เกิดกระบวนกร มี pattern ไหมค่ะ ว่าต้องให้เกิดอย่างนี้ กับอย่างนี้ หรือใช้กระบวนการภายใต้เงื่อนไขอย่างไรบ้าง
แต่ละกระบวนการก็แล้วแต่กลุ่ม แต่โดยทั่วไปต้องสร้างพื้นที่ในกลุ่มของการรู้จัก วางใจ ปลอดภัย มิตรไมตรี เป็นประตูเข้าของการเรียนรู้ เพราะการจะไปสู่ดินแดนของความไม่รู้มันไม่ได้อยู่ที่อื่น มันอยู่ในตัวเองแหละ ของความรู้ใหม่ๆ เพียงแต่เรามีกรอบบล๊อคมันไว้ เพราะฉะนั้นต้องมีความไว้วางใจสูงเพื่อกล้าสืบค้น กล้าท้าทายกรอบคิดของตัวเอง กล้าท้าทายสมมุติฐานเดิมๆที่ถูกฝังลึกเช่นความคิดเรื่องผู้หญิงเป็นแบบนั้น ผู้ชายเป็นอย่างนี้ ซึ่งบางอย่างเข้าไปจี้จุดมากๆ บางคนเป็นคนจีน เข้าไปดูซิว่ารากคนจีนเป็นอย่างไร ถูกฝังความอายไว้ในสมอง หรือโดยบุคลิกภาพ มีประตูเข้า เมื่อไปสู่กระบวนการเรียนรู้ ส่วนกลางมีกระบวนการที่หลากหลาย ต้องฝึกการรับฟังที่ลึกซึ้ง ซึ่งเชื่อมโยงกับการปรับคลื่นความคิดตัวเองให้ช้าลง เพื่อให้เห็นชัดถึงความคิดเดิม และความคิดใหม่

อุปสรรคในการเรียนรู้

· ระยะเวลา /ความต่อเนื่อง / ความหลากหลายของผู้เรียน

เรื่องข้อจำกัดความต่อเนื่องของผู้เรียนและความหลากหลาย ผู้เรียนที่มาเรียน เจอกันบ่อยๆมีไม่มีกี่คน หลายคนเป็นพระ ซึ่งเป็นอาชีพที่มีเวลาเยอะที่สุด ผมรู้สึกว่ามันยังไม่ให้ภาพละเอียดมาก คิดว่าเขาได้อย่างที่เราไม่คาดหวังว่าต้องได้ อย่างที่พูดไปทั้งหมดตั้งแต่ต้น อย่างเรื่องวิกฤตินิเวศน์วิทยายังไม่ได้ให้เขาลงลึกมาก จากงานศึกษาทางวิชาการก็ดี มีข้อจำกัดเรื่องเวลา บางทีวางหลักสูตร เจอกัน10 วัน เป็นกิจกรรมทั้งหมดเลย ไม่ได้มี assessment ให้ไปค้น เพราะถ้าทำเต็มที่มันจะเยอะ รู้สึกว่าต้องอยู่ด้วยกัน ต้อง 2-3 เดือน
ตอนตัวเองอยู่เชียงราย เคยมีความคิดว่าอยู่เชียงรายด้วยกัน เป็นวิทยาเขตเสม เชียงราย ทำกิจกรรม มีเวลา มีความต่อเนื่องพอควร ในเงื่อนไขที่จำกัด เสมจัดเยอะมาก เป็นข้อจำกัดว่าเยอะจนไม่รู้ว่าอะไรลงลึก ได้หลักการขั้นต้น เหมือนเขาอยากได้ทุกมิติ

บางทีกระบวนการเรียนรู้ไม่ได้หลายมิติ เป็นเรื่องจิตใจ ความรู้ข้างนอก เรียนรู้สังคม คิดถึงการเรียนรู้แบบเดิม โบราณ ต้องไปอยู่กับอาจารย์ ลูกศิษย์อาจารย์ชาต้องไปอยู่กับอาจารย์ชา จะเรียนรู้จากเชียงราย ก็ต้องไปอยู่ที่เชียงราย เชียงรายก็มีความรู้ด้านอื่น ไทเก็กก็เข้าถึงนิเวศน์แนวลึกได้ ต้องมีประตูหลายทาง แต่ไปเข้าประตูเดียวหมด แล้วผู้เรียนจะเป็นคนเลือกเอง เวลาเข้าไป แล้วเขาอยากไปไหนต่อ อันนี้เป็นคล้ายหลักโฮมสคูลด้วย โฮมสคูลจะรู้เลยว่าเขาต้องการอะไร แล้วจะเพิ่มการเรียนรู้ของเขา แต่จัดเป็นโปรแกรมแบบนี้ผมไม่แน่ใจ มันอาจจะดีตรงที่เป็นการจัดที่เราคุ้นเคย ต้องจัดเยอะๆจะได้เห็นจิกซอว์ทุกตัว บางทีจากจุดนึงอาจโยงไปได้ อันนี้น่าจะเสนอถึงเสม เป็นอีกรูปแบบนึงของกระบวนการเรียนรู้ ไปอยู่ที่เลย มีความต่อเนื่องพอควร

การประเมินผล

· วิธีการประเมิน

ใช้เกณฑ์ที่ดูว่าสิ่งที่เขาได้รับคืออะไร และมีผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างไร ซึ่งมันอาจตอบ
ได้ยากเพราะมันกลายเป็นวิธีในไร้จิตสำนึกไป แต่คิดว่าเป็นคำถามที่ควรจะถามอย่างยิ่ง
การประเมิน คำว่าเกณฑ์ ถ้าเราตั้งคำถามแบบนี้มันจะปิดคำถามอื่นๆหรือเปล่า พอบอกว่ามีเกณฑ์ เพราะรู้สึกคำว่าเกณฑ์มันมีมาตรฐาน แต่ถ้าเราใช้คำถามเปิดธรรมดา แล้วให้ผู้เรียนให้ความหมายเองว่าเขาเติบโตอย่างไร เปลี่ยนแปลงอย่างไร มากน้อยขนาดไหน ที่นาโรปะใช้กระบวนการแบบนี้ เพื่อนด้วยมองเราอย่างไร เห็นการเปลี่ยนแปลงเราไหม เราประเมินครูอย่างไร ที่นาโรปะ เราประเมินตัวเองอย่างไร คนอื่นเห็นเราอย่างไร เราประเมินครูอย่างไร ครูเห็นเราอย่างไร เราดูครูอย่างไร ตัดอำนาจทั้งหมด โอเคครูใส่เกรด แต่เราให้ตัวเองเท่าไร แล้วครู โอเคเห็นด้วย มันฝึกระบบซื่อสัตย์ บางคนบอกผมได้ 4 เพราะผมจะไปศึกษาต่อ ก็ต้องให้ตามนั้น แต่ครูว่า เอน่าจะได้มากกว่านั้น การประเมินเพื่อได้grading ขึ้นมา ระบบที่เป็นอยู่ไม่เปิดโอกาสให้คนเรียนได้ตีความเอง เขาอาจได้อย่างที่เราไม่รู้ก็ได้ แต่อย่างน้อย เขาน่าได้มีโอกาสได้แสดงระดับการเรียนรู้


· ตัวชี้วัด

พูดถึงนิเวศน์วิทยาแนวลึกแบบชาวบ้านๆ ซึ่งเป็นกระบวนการยาวนานเพราะเป็นวัฒนธรรมที่สั่งสมกันมา ทั้งจากระบบคิด วัฒนธรรมความเชื่อที่ผลิตซ้ำกันมาร้อยๆปี ถึงแม้มีการตีความใหม่ แต่จะอยู่บนเงื่อนไขการปรากฏจริงเช่นการผลิตของเขา การทำมาหากิน สัมพันธ์กับป่ายังไง จะมีคล้ายสถาบันทางสังคมมากำกับอย่างเช่นมีผู้พิธีกรรม มีพิธีกรรมที่เป็นวาระประจำปีเช่นเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จมีพิธีทำบุญข้าวใหม่ ดังนั้นจึงเป็นกระบวนการร้อยรัดเป็นระบบยาวนานพอควร ดังนั้นการให้ความหมาย การตีความจากพิธีกรรมเป็นการตีความจากระบบชุมชนร่วมกัน แต่กระบวนการแบบนั้นถ้าเราจัดขึ้นมา มันค่อนข้างยาก เพราะในความเป็นจริงแม้เรามีกระบวนฝึกอบรม พยายามจัดเงื่อนไข เช่นไปตีความธรรมชาติ เดินดู แล้วมา dialog กัน โอเค แต่ละคนให้ความหมายในเชิงปัจเจก ออกมาจากกระบวนการเหล่านี้ ถ้าเราคิดว่ากว่าชาวบ้านจะสร้างระบบคิด ความรู้เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งมหาศาลและต่อเนื่องยาวนาน แต่ชีวิตคนสัมพันธ์กับเรื่องอื่น วุ่นวายซะมาก ปีนึงเราอาจมาอบรมสักไม่รู้กี่เดือน เสมกำหนดมาเท่าไหร่ แล้วไปฝ่าฟันกับเรื่องอื่น แล้วอาจไปสู่หลักสูตรอื่นๆที่อาจไม่ได้เป็นกระบวนการต่อเนื่องเท่าไหร่ แล้วสิ่งที่เราสร้างสรรค์กระบวนการจะได้ผลมากเท่าไหร่ เพราะถ้าเราเปรียบเทียบกับกระบวนการท้องถิ่น แม้ขณะมีสถาบันที่เข้มแข็งยังมีการเปลี่ยนแปลงมหาศาล กระเหรียงที่พูดเรื่องขวัญยังเอามากำกับเรื่องป่าไม่ค่อยได้ เพราะถูกบีบ ข้างในเขาก็เปลี่ยนระดับหนึ่ง ตรงนี้จะช่วย input ได้มากน้อยแค่ไหน เขาอบรมกับเรา แล้วเขาต้องฝ่าฟันข้างนอกแล้วต้องกลับมา ชาวบ้านอยู่กันอย่างนี้ ยังต้องสู้กันหนักเลย


เป็นความคิดที่ดี มีความเห็นอย่างน้อย 2 ประเด็นคือประเด็นการรับรู้ความรู้ที่สั่งสมและแฝงอยู่ในชีวิต การรับรู้พิธีกรรมคงไม่ใช่ที่เราจัดขึ้นเอง แต่เป็นการเข้าไปร่วม เข้าไปรับรู้ แค่ช่วยให้ได้สัมผัส ความคาดหวังผม เหมือนเป็นประตูเปิด ไม่คาดหวังว่าผู้เรียนจะรู้สึกนึกคิดเท่าชาวบ้านคนนึงรู้สึกนึกคิด เพราะนึกคิดไม่เหมือนกัน แต่รู้สึกร่วม เป็นไปได้ รู้สึกผูกพัน มีความสำคัญ มันมีความแตกต่างแน่นอน มีการสั่งสมกรอบคิด ระบบ filter ทางความคิดมาเยอะ ถ้าพยายามเปิดระบบการรับรู้ทางความคิด

2 ถ้าถามเรื่องความยั่งยืนในการดูแลจิตสำนึกตัวเองในการเกื้อกูลกับตัวเอง กับโลก คงเป็นโจทย์ของฝ่ายชาวบ้านด้วย เป็นโจทย์เยอะมาก แต่อย่างน้อยมันช่วยให้เกิดการตั้งคำถามและไม่พยายามหาข้อสรุปที่เร็วเรื่องอะไรเป็นปัญหา อะไรเป็นเหตุหลักเหตุเดียว อย่างน้อยทำให้ผู้เรียนมีเครื่องมือเอาไปมองความซับซ้อนของบริบท อันที่ 2 ในแง่การภาวนา ในฐานะเป็นเครื่องมือช่วยให้ดำรงอยู่กับวิกฤติกับความคิด ซึ่งอันนี้ขึ้นอยู่กับผู้เรียนเอง โดยทางอุดมคติของเสมอุดม คือการสร้างชุมชน แต่ชุมชนนั้น ต้องถามว่ามันเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด ผู้เรียนบางคนมีชุมชนของเขาอยู่แล้ว น่าจะมีระบบสนับสนุนในการอยู่อย่างที่เขาอยากอยู่อย่างที่เขาคิดว่าดี อย่างเกื้อกูล แต่ก็มีผู้เรียนแบบ บางคนเป็นชาวบ้าน ความคิดเกี่ยวกับนิเวศน์แนวลึก บางอย่างไม่ใช่แนวคิดใหม่ เป็นเรื่องที่มีอยู่แล้ว แต่มีความคิดใหม่บางประการเช่นชาวบ้านต้องการรู้เหมือนกันว่าตำแหน่งแห่งที่ของตัวเองบนโลกนี้คืออะไร เพราะข้อความที่สังคมตี ส่งให้กับเขาอยู่ตลอดเวลา เช่นเขาไปติดต่อราชการ เขาคือคนล้าหลัง ไม่พัฒนา แต่จริงๆแล้วมันมีข้อความอีกอย่างที่เขาไม่ค่อยได้ยินคือเขาเป็นครูของโลก ผมว่ากระบวนการนี้มันสนับสนุน เกื้อกูลกันและกัน
โดยสรุปแล้วเหมือนเงื่อนไขขั้นต่ำเป็นการเปิดประตูให้กับผู้เข้าร่วมกระบวนการ แต่ขึ้นอยู่กับความหลากหลายของผู้เข้าร่วมกระบวนการ แต่เขายังไม่ได้คาดหวังสมบูรณ์แบบถึงการปรับเปลี่ยนวิธีคิด ความรู้ พิธีกรรมต่างๆจากกระบวนการทั้งหมด เพราะเป็นเงื่อนไขที่เขาไปสัมพันธ์กับชุมชนข้างนอก เราเป็นแค่เงื่อนไขจุดหนึ่ง แต่ถ้าดูความสำเร็จของกระบวนการนี้ เราคงต้องดูว่ามันสามารถเปิดประตูได้ แต่ไม่ถึงขั้นการประเมินเรื่องการปรับเปลี่ยนวิกฤติ ระบบพฤติกรรม แล้วไปทำให้ชุมชนเข้มแข็งเชิงนิเวศน์แนวลึก ยังคาดหวังแบบนั้นไม่ได้
ภายในกระบวนการพี่เห็นการเปิดประตูในช่วงระยะเวลานี้บ้างไหม เปิดเยอะเปิดน้อย เปิดลักษณะไหน เป็นอย่างไรบ้าง ตอนเปิดเป็นอย่างไรบ้าง
มีหลายแบบ บางคนรู้สึกเข้าใจโลกมากขึ้น เข้าใจที่มาของตนเองมากขึ้นในแง่เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง การเดินทางยาวนาน วิวัฒนาการจากแบคทีเรีย เห็นมิติยาวนาน มีหลายพวก พวกที่ถูกฝึกให้คิดทางวิทยาศาสตร์ เราก็เอาวิทยาศาสตร์ไปตี เอาวิทยาศาสตร์ใหม่ไปกินวิทยาศาสตร์เก่าที่มองว่าโลกไม่มีชีวิต สิ่งต่างๆเป็นแค่องค์ประกอบทางเคมี ชีววิทยาศาสตร์ มันรู้สึกว่าโลกมีชีวิตจริงๆ โลกไม่ใช่แค่ห้องใหญ่ๆที่มาอยู่กัน แต่ห้องมันมีชีวิต จริงๆคนที่มาเข้าเสมอุดมต่อเนื่องจริงๆมีไม่เยอะ มีพระ 2-3 รูป

· ผลที่เกิดขึ้น

เคยจัดให้กลุ่มชาวบ้านแท้ๆไหมค่ะ
ที่กาญจนบุรีไง ชาวบ้านมาเยอะเลย 7-8 คน ตอนนั้นมา ไม่มีผู้หญิงเลย แต่มีทางในเมือง
จัดผสม แต่ชาวบ้านมาเยอะหน่อย ตอนนั้นแปลก ไม่พยายามใช้คำพวกนี้เลย นิเวศน์แนวลึก ตอนนั้นใช้แนวตื้นก่อน เปิดพื้นที่กว้างๆ ให้เขาแสดงออก มีช่างต้อ แกบอกไปประชุม สัมมนาได้แต่นั่งฟัง รู้สึกว่าเขาคงพูดไม่ได้ แต่เขาชอบฟัง มานี่ก็อยากจะฟัง แต่เขารู้สึกมานี่ปลอดภัยที่จะพูด เขาก็พูดออกมา
บอกรู้สึกมีความสุข สนุก วงอื่นจะคนเยอะ การจัดนั่งฟังบรรยาย ฟังนักวิชาการ หรือพวกเดียวกันที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ตัวเองเป็นแค่ชาวบ้าน

กระบวนการที่ทำให้เขารู้สึกปลอดภัยเป็นไง

เป็น dialog นำเสนอกฎเกณฑ์ร่วมกัน เช่นพูดเปิ่นๆก็ได้ใครจะพูดอะไรก็ได้ ไม่ต้องมีความสำเร็จรูปทางความคิด ฟังกันเยอะๆ ใช้เวลาเตรียมเครื่องปรุงปรับความรู้สึกรู้จักกันที่นิด ระดับการฟังจะมีมากขึ้น ฟังเรื่องที่ยากๆ ฟังตรงข้ามความคิดมากขึ้น การฟังจะทำให้คนที่เห็นคุณค่าความเงียบตัวเอง ไม่ได้วิ่งตามหลังคนที่พูด คนที่เงียบเริ่มเห็นคุณค่าของความเงียบตัวเอง จะเริ่มพูด คนที่เงียบ รู้สึกด้อย แหย่ รู้สึกเงียบได้ ผมจะเชิญชวนว่าบางครั้งเวลานั่งคุย เงียบบ้างก็ได้ ไม่ต้องฆาตกรรมความเงียบ ความเงียบไม่ได้หมายถึงจะการหยุด จะตาย การให้ความเงียบ ตราบใดที่รู้สึกอึดอัดแสดงว่าเราให้ความหมายความเงียบแบบเดิมว่ามันไม่มีอะไร จริงๆความเงียบเป็นการโยนความรับผิดชอบกลับไปที่ทุกคนว่าใครจะพูดต่อไป แล้วไม่มีการเชิญชวนว่าใครจะเป็นคนต่อไป ผมก็ไม่เชิญชวนใคร

· อุปสรรคในการประเมิน

ในฐานะทีมประเมินยากที่สุดเพราะไม่ได้อยู่ในกระบวนการเรียนรู้ มาตามเก็บทีหลัง มันเลื่อนหายไปตามความทรงจำ ใส่ไว้ในข้อจำกัดการทำงานแบบนี้ด้วยว่าการมาตามเก็บทีหลัง บางทีการถอดรหัสพิธีกรรมจากการบอกเล่าย้อนหลังมันลำบาก ได้ไม่หมด ในกังฟูต้องมีเรียกว่าการอ่านแรง การประเมินแรงของอีกคนมันต้องนัวเนีย เป็นส่วนหนึ่งในนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตความรู้

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...