ผู้เขียน หัวข้อ: ปรามาจารย์คูไค ต้นนิกาย ชินงอน วัชรยานแห่งญี่ปุ่น  (อ่าน 7129 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



คณะของคูไคถึงเมืองหลวงฉางอานในวันที่ 23 ธันวาคม ปีเดียวกันนับ เป็นการเดินทางที่รีบเร่งมากเลยทีเดียว เมืองหลวงฉางอานแห่งราชวงค์ ถัง ( ค.ศ. 618 - 907 ) ในขณะนั้นถือว่าอยู่ในช่วงสุดยอดของอารยธรรม จีนในฐานะที่เป็นประเทศที่เจริญที่สุดในโลกในยุคนั้น เมืองฉางอานก็เลย กลายเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมจีนและทวีปเอเชียกลางและตะวันออก ไปโดยปริยาย มีผู้คนจากนานาชาติพำนักอยู่ที่เมืองนี้ กล่าวกันว่าในยุคนั้น มีวัดสำหรับภิกษุในศาสนาพุทธอยู่ถึง 64 แห่ง ในเมืองฉางอาน และ สำหรับชีอีก 27 แห่ง นอกจากนี้ยังมีวัดนิกายเต๋าอีก 10 แห่ง สำหรับบุรุษ และ 6 แห่งสำหรับสตรี รวมทั้งยังมีวัดต่างชาติอีก 3 วัดด้วยคือ โบสถ์ ของศาสนาคริสต์ อารามของลัทธิโซโรแอสเตอร์ กับสุเหร่าของมุสลิม พูดง่าย ๆ คือ เมืองฉางอานในยุคที่คูไคไปศึกษานั้น เป็นศูนย์รวมของ ศาสนานิกายต่าง ๆ เอาไว้เกือบทั้งหมดนั่นเอง โดยที่ศาสนาพุทธนิกาย วัชยาน ( มิกเคียว ) ที่เพิ่งนำเข้าจากอินเดียมาไม่นานกำลังเป็นที่นิยมใน หมู่ชนชั้นปกครองจีนขณะนั้น

ที่นครฉางอาน คูไคพำนักอยู่ที่วัดไซหมิงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 804 ภายหลังจากที่คณะฑูตจากญี่ปุ่นได้อำลาและเดินทางออกจากนครฉางอาน เพื่อกลับญี่ปุ่นแล้ว ในขณะที่อยู่ฉางอาน คูไคคงได้ทราบกิตติศัพท์ของ อาจารย์ฮุ่ยกั๋ว ( ภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า เคกะ ) แล้วว่าเป็นปรามาจารย์สายตรง ผู้สืบทอดวิชาสายวัชยานจากอินเดีย โดยเป็นศิษย์ของอาจารย์ปู้คงผู้โด่งดัง อาจารย์ปู้คง เป็นพระอินเดียมีชื่อจริงว่าอโมกขวัชรซึ่งได้ติดตามอาจารย์ วัชรโพธิมาเผยแพร่ธรรมะสายวัชยานที่เมืองจีนตั้งแต่ยังเล็ก ถ้ามองจากจีน อาจารย์วัชรโพธิคือ ปรามาจารย์สายวัชรยานของจีนรุ่นที่ 1 อาจารย์ปู้คง เป็นรุ่นที่ 2 และอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเป็นรุ่นที่ 3 แต่เป็นคนจีนรุ่นแรกที่ได้เป็น ปรามาจารย์สายวัชรยานในจีน มิหนำซ้ำอาจารย์ทุกท่านยังเป็นอาจารย์ ของจักรพรรดิ์แห่งราชวงศ์ถังทั้งหมดด้วย

ถ้ากล่าวตามเหตุผลแล้ว คูไคน่าจะเร่งรีบไปพบอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเพื่อขอร่ำเรียน วิชาจากท่านโดยเร็ว แต่ในความเป็นจริง กว่าที่คูไคจะเดินทางไปพบอาจารย์ ฮุ่ยกั๋วก็เป็นเวลา 4 เดือน ภายหลังจากที่พำนักอยู่ที่วัดไซหมิงแล้ว เพราะเหตุ ใดหรือ ? คูไคคงคิดว่าถ้าหากตัวเขาไปหาอาจารย์ฮุ่ยกั๋วโดยที่ยังไม่ค่อยมีใคร รู้จักความสามารถในตัวเขาดีก่อนแล้ว การเริ่มเรียนวิชาวัชรยานของคูไคกับ อาจารย์ฮุ่ยกั๋วที่วัดชิงหลงคงจะต้องไต่อันดับจากขั้นประถมเป็นแน่ และคงต้อง ใช้เวลาหลายปีกว่าจะได้เรียนรู้ถึงแก่นแท้ของวัชรยาน นอกจากนี้คูไคยังได้ ทราบข่าวมาว่า ท่านอาจารย์ฮุ่ยกั่วขณะนี้มีอายุ 60 ปีแล้ว และกำลังอาพาธด้วย บางทีท่านอาจไม่สามารถมีชีวิตยืนยาวพอที่จะถ่ายทอดเคล็ดวิชาให้แก่เขาใน อีกหลายปีให้หลังก็เป็นได้ มิหนำซ้ำ คูไคผู้มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะ สถาปนานิกายวัชรยานขึ้นในประเทศญี่ปุ่นก็มีความตั้งใจตั้งแต่แรกแล้วว่าจะ ไม่คิดศึกษาวิชาอยู่ที่เมืองจีนถึง 20 ปี กว่าคูไคจะได้กลับญี่ปุ่นก็มีอายุ 52 ปี แล้ว ซึ่งแก่เกินไปที่จะมารณรงค์เคลื่อนไหวเผยแพร่หลักวิชาของตน เพราะ ฉะนั้น คูไคจึงตั้งปณิธานในใจว่า เขาจะต้องศึกษาวิชาวัชรยานให้สำเร็จภายใน ระยะเวลาอัสั้นที่สุด และรีบเดินทางกลับญี่ปุ่นในช่วงที่เขายังมีอายุ 30 ปีกว่า ๆ อันเป็นช่วงที่เขายังมีกำลังวังชาและพลังความคิดเต็มเปี่ยมอยู่

เมื่อพิจารณาจากแรงจูงใจของตัวเอง และปัจจัยอื่น ๆ โดยเฉพาะวัยและ สุขภาพของอาจารย์ฮุ่ยกั๋วแล้ว คูไคจึงเลือกใช้ " วิธีการอื่น " ในการเข้าหา อาจารย์ฮุ่ยกั๋ว คือ ปล่อยให้กิติศัพท์และคำโจษจันเกี่ยวกับตัวเขาในหมู่ ชาวฉางอานไปก่อน เริ่มจากบรรดาพระในวัดไซหมิงที่คูไคพำนักอยู่และ คบหาสมาคมด้วย ในบรรดาพระเหล่านั้นมีหลายรูปที่รู้จักกับอาจารย์ฮุ่ยกั๋ว เป็นการส่วนตัว พระเหล่านั้นเมื่อไปพูดคุยกับคูไค ต่างก็ทึ่งในความรอบรู้ ความฉลาดของคูไคด้วยกันทั้งสิ้น เพราะอันที่จริง วิชาวัชรยานที่คูไคศึกษา และฝึกฝนด้วยตนเองในขณะที่เขายังอยู่ที่ญี่ปุ่นนั้น ก็ได้ก้าวหน้าไปจนถึง ระดับขั้นที่สูงมากแล้วด้วยความเป็นอัจฉริยะของเขา เพียงแต่เขายังไม่ทราบ " เคล็ดลับ " บางอย่างที่จำเป็นต้องได้รับการถ่ายทอดจาก " ครูที่แท้ " โดย ตรงเท่านั้น

นอกจากนี้ คำร่าลือเกี่ยวกับความสามารถในการเขียนหนังสือจีนของคูไค ที่เป็นที่ประจักษ์เป็นครั้งแรกที่มณฑลฮกเกี้ยนก็มาถึงที่นครฉางอานแล้วแพร่ หลายโดยเร็วในหมู่ปัญญาชนกับชนชั้นสูงที่นั่น ในระหว่างนั้นคูไคยังไป รำเรียนภาษาสันสกฤตจากพระอินเดียรูปหนึ่งเพิ่มเติมอีก ( อาจกล่าวได้ว่า คูไคเป็นคนญี่ปุ่นคนแรกที่ไดร่ำเรียนและเชี่ยวชาญภาษานี้ ) และเชี่ยวชาญ ภาษาสันสกฤตนี้อย่างรวดเร็ว จนเป็นที่ฮือฮาในวงการสงฆ์ของที่นั่น

ช่าวคราวเกี่ยวกับคูไค และจุดประสงค์ในการเดินทางมานครฉางอานของ คูไคย่อมเข้าหูอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเป็นระยะ ๆ อย่างแน่นอน อาจารย์ฮุ่ยกั๋วผู้ชรา และอาพาธผู้นี้มีลูกศิษย์ถึง 1,000 คน แต่ท่านก็ยังไม่ได้รับมอบหมายใคร ให้สืบทอดตำแหน่งปรามาจารย์วัชรยานรุ่นที่ 4 สืบต่อจากท่าน เพราะใน บรรดาศิษย์ทั้ง 1,000 คนนี้ ท่านยังไม่เห็นว่ามีศิษย์คนไหนที่มีความสามารถ และศักยภาพมากพอที่จะบำรุงพัฒนาวิชาวัชรยานของท่านให้รุ่งเรืองสืบไปได้เลย พอถึงจุดนี้แหละ การณ์กลับเป็นว่า คราวนี้ท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋วกลับ เป็นฝ่ายเฝ้ารอคอยการมาของคูไคอย่างกระวนกระวายด้วยใจจดจ่อเสียเอง จากนั้นคูไคจึงเดินทางไปพบท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋วที่วัดชิงหลง ( วัดมังกรเขียว ) ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 805 หรือ 6 เดือนภายหลังจากที่เขาเดินทาง

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



ในชีวิตอันยาวนานของคนเรานี้ คิดว่าแต่ละคนคงจะได้พานพบกับประสบ การณ์ที่น่าอัศจรรย์ใจมาบ้างเป็นแน่ แต่ประสบการณ์ที่น่าอัศจรรย์ใจอันใหน เล่าจะเทียบเท่ากับการได้พานพบรู้จักกับ ' คนบางคน ' เช่นที่ว่านี้หาใช่ใคร อื่นไม่ แต่คือ ' ครู ' ของตนนั่นเอง

จังหวะเวลาที่คูไคได้พบกับอาจารย์ฮุ่ยกั๋วนั้น เป็นจังหวะที่พอดิบพอดีอย่าง น่าอัศจรรย์ใจจริง ๆ แบบไม่เร็วเกินไปและช้าเกินไปนั่นเอง เพราะเพียงอีก 7 เดือนหลังจากนั้น อาจารย์ฮุ่ยกั๋วก็ดับขันธ์แล้ว พึงทราบว่าวิชาวัชรยาน ในขณะนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 สายคือ สายมณฑลตถาคตครรภ กับสายมณฑล วัชรธาตุ ทั้ง 2 สายนี้ต่างแยกกันพัฒนาในอินเดีย จึงไม่มีผู้ใดในอินเดียขณะ นั้นสืบสายวิชา 2 แขนงนี้อยู่ในตัวคนคนเดียว อาจารย์ปู้คงผู้เป็นอาจารย์ ของฮุ่ยกั๋วนั้นก็เป็นอาจารย์ทางสายมณฑลวัชธาตุเท่านั้น แต่ตัวอาจารย์ฮุ่ยกั๋ว โชคดีที่ได้วิชาจากจากสายมณฑลตถาคตครรภมาจากอาจารย์อินเดียอีกท่าน หนึ่งด้วย เพราะฉะนั้น อาจารย์ฮุ่ยกั๋วจึงเป็นบุคคลเพียงท่านเดียวของโลก ในขณะนั้นที่รับสืบทอดวิชาวิชาวัชรยานขนานแท้ของทั้ง 2 สาย

แต่อาจารย์ฮุ่ยกั๋วก็กำลังเผชิญกับวิกฤตของการขาดผู้สืบทอดเนื่องจากท่าน กำลังอาพาธ และรู้ตัวดีว่าจะมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ไม่นานแล้วทั้ง ๆ ที่อาจารย์ ฮุ่ยกั๋วมีศิษย์ถึง 1,000 คน แต่ก็ไม่มีศิษย์คนใดโดดเด่นพอที่จะสืบทอด ตำแหน่ง ' อาจารย์ ' หรือ ตำแหน่งเจ้าสำนักวัชรยานของท่านต่อจากท่านได้ ที่กล่าวเช่นนี้มิได้หมายความว่า แผ่นดินตงง้วนอันกว้างใหญ่ไพศาลไม่มีคนดี - คนเก่งอยู่เลยก็หาไม่ เพียงแต่ว่าคนดี-คนเก่งเหล่านั้น ส่วนใหญ่ถ้าไม่ไป ศึกษาลัทธิขงจื้อก็ศึกษาลัทธิเต๋า หรือศาสนาพุทธสายอื่นที่ไม่ใช่สายวัชรยาน และจะว่าไปแล้วเนื้อหาวิชาสายวัชรยานที่ซับซ้อนและเต็มไปด้วยตรรกะ แบบอินเดีย ( อภิธรรม ) ก็หาได้ถูกฉโลกกับชาวจีนที่ชอบอะไรที่ง่าย ๆ เป็นรูปธรรมไม่ ซึ่งนี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ศาสนาพุทธสายวัชรยาน เสื่อมความนิยมจนกระทั่งสาบสูญไปจากประเทศจีนภายหลังการมรณะภาพ ของอาจารย์ฮุ่ยกั๋วไปไม่นานนัก

ควมจริง อาจารย์ฮุ่ยกั๋วก็มีศิษย์เอกอยู่เหมือนกันราว ๆ 7 คน แต่ในบรรดา ศิษย์เอกทั้ง 7 คนนี้นอกจากศิษย์คนที่ชื่ออี้หมิงแล้ว ก็ไม่มีใครเลยที่สืบทอด วิชาทั้งสองสายจากอาจารย์ฮุ่ยกั๋วได้ แต่ตัวอี้หมิงผู้นี้ก็เพิ่งอาพาธและดับขันธ์ ไปก่อนที่คูไคจะมาถึงนครฉางอานได้ไม่นานนักจึงเห็นได้ว่า หากคูไคมาเร็ว กว่านี้สัก 1 - 2 ปี เจ้าสำนักวัชรยานต่อจากอาจารย์ฮุ่ยกั๋วก็น่าจะตกอยู่กับอี้หมิง และถ้าคูไคมาช้ากว่านี้ไปเพียง 1 ปี คูไคก็จะไม่ได้พบทั้งอาจารย์ฮุ่ยกั๋วและ อี้หมิง นอกจากนี้หากคูไคมิได้เป็นเจ้าสำนักวัชรยานสืบต่อจากอาจารย์ฮุ่ยกั๋ว วิชาวัชรยานนี้ก็คงสาบสูญการสืบทอดไปจากจีนอีกไม่กี่ปีหลังจากนั้น แต่นี่ เพราะคูไคกลายมาเป็นเจ้าสำนักวัชรยานสืบต่อจากอาจารย์ฮุ่ยกั๋ว ทั้ง ๆ ที่เขา เป็นคนต่างชาติ เป็นคนนอก และเพิ่งมาพบกับอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเป็นครั้งแรก อาจารย์ฮุ่ยกั๋วก็ยกตำแหน่งเจ้าสำนักให้แก่เขาในทันทีโดย ' ข้ามหัว ' ลูกศิษย์ 1,000 คนของท่านอย่างไม่ลังเล วิชาวัชรยานนี้จึงไม่สาบสูญและได้รับการ สืบทอดที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 1,000 กว่าปีมาจนทุกวันนี้ สิ่งนี้ถ้าไม่เรียก ว่าเป็นความน่าอัศจรรย์ หรือ ปาฏิหาริย์แล้วจะให้เรียกว่าอะไรเล่า ?

ถ้าไม่มีปัจจัยจากฝ่ายอาจารย์ฮุ่ยกั๋วที่ ' ใจกว้างยิ่งกว่ามหาสมุทร ' เพราะไม่ ยึดติดกับความเป็นคนนอกหรือคนต่างชาติ แต่ดูที่ความสามารถ ศักยภาพ และอัจฉริยภาพของผู้ที่จะมาสืบทอดวิชาของตนเป็นหลัก และถ้าไม่มีปัจจัย จากฝ่ายศิษย์คือคูไคที่ได้ศึกษาวิชาวัชรยานด้วยตัวเอง แม้ไม่มีอาจารย์ตั้งแต่ อยู่ญี่ปุ่นอย่างจริงจังแล้ว ก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่คูไคจะสามารถสืบทอด วิชาวัชรยานต่อจากอาจารย์ฮุ่ยกั๋วได้อย่างรวดเร็วและราบรื่นในช่วงเวลาอัน สั้นเพียงไม่กี่เดือนเช่นนี้ได้

บรรยากาศของการพบกันในครั้งแรก ระหว่างท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋วกับคูไค นั้นน่าประทับใจมาก ดังที่ในเวลาต่อมาคูไคได้เขียนบันทึกความทรงจำ เกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้ว่า '

ผมเดินทางเข้ามาหาท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋วพร้อมกับพระอีก 5 หรือ 6 รูป จากวัดไซหมิง ในทันทีที่ท่านอาจารย์เห็นหน้าผม ท่านก็ยิ้มให้อย่างปรีดา ปราโมทย์ พร้อมกับพูดกับผมว่า ... " พ่อหนุ่ม เรารู้ดีว่าเธอต้องมาแน่ ตัวเราได้รอการมาของเธอมาเนิ่นนานแล้ว ตัวเราดีใจจริง ๆ ที่ได้เห็นเธอ ในวันนี้จนได้ รู้มั้ยพ่อหนุ่มว่าชีวิตของเราใกล้จะถึงเวลาสิ้นสุดลงแล้ว และก่อนที่เธอจะมาที่นี่ ตัวเราไม่มีใครที่จะมาสืบทอดคำสอนและหลัก วิชาของเราไปได้เลย เพราะฉะนั้น เราขอให้เธออย่าได้รอช้า รีบไป เตรียมธูปกับดอกไม้เพื่อเข้าพิธีอภิเษกเป็นเจ้าสำนักสืบต่อจากเราเถอะ นะพ่อหนุ่ม " ... จากนั้นผมจึงกลับไปวัดไซหมิงเพื่อเตรียมสิ่งของที่ จำเป็นสำหรับการเข้าพิธีอภิเษกที่มีขึ้นในเดือนมิถุนายนนั้นเอง '

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


ควรรู้ว่า ประเพณีการสืบทอดหลักวิชาสายวัชรยานนั้นจะให้ความสำคัญ ที่สุดกับการถ่ายทอดวิชาจากอาจารย์ไปสู่ศิษย์ก้นกุฎิ ดุจ ' การเทน้ำจากจอก หนึ่งไปอีกจอกหนึ่ง โดยไม่หกหรือรั่วไหลเลยแม้แต่หยดเดียว ' เพราะฉะนั้น อาจารย์ผู้ถ่ายทอดวิชาจะต้องดูคุณสมบัติของศิษย์แต่ละคน แล้วถ่ายทอด หลักวิชาให้แต่ละคนตามความสามารถของคนผู้นั้น ในขณะที่อาจารย์ฮุ่ยกั๋ว กำลังวิตกกังวลว่า หลักวิชาของตตนกำลังจะสาบสูญเนื่องจากขาดผู้สืบทอด ที่มีคุณสมบัติคู่ควรอยู่นั้น ท่านคงจะได้ยินกิติศัพท์เกี่ยวกับคูไคว่า เป็นพระ หนุ่มรูปหนึ่งที่อุตส่าห์ดั้นด้นจากแดนไกลมาจากหมู่เกาะบูรพาทิศมาที่นคร ฉางอานนี่ พระหนุ่มรูปนี้นอกจากจะมีความสามารถทางด้านภาษา เขียน แต่งกาพย์กลอนได้อย่างไพเราะแล้ว ยังรู้ภาษาสันสกฤต และปราดเปรื่อง ทางหลักวิชาศาสนาสายต่าง ๆ อีกด้วย ไม่เป็นที่ต้องสงสัยเลยว่า อาจารย์ ฮุ่ยกั๋วคงต้องอยากเจอตัวจริงของคูไคด้วยตนเองดูสักครั้ง

ตอนที่อาจารย์ฮุ่ยกั๋วพบคูไคนั้น ถึงแม้ท่านจะอาพาธอยู่ก็จริงแต่บุคคล ระดับ ' เจ้าสำนัก ' อย่างท่านน่ะหรือ จะดูไม่ออกถึง ' ความไม่ธรรดา ' และความเป็น ' ยอดคน ' ที่มีอยู่ในตัวของคูไคซึ่งแทบไม่แตกต่างไปจาก บุคลิกภาพของท่านอาจารย์ปู้คง ผู้เป็นอาจารย์ของท่านเลย บุคลิกภาพ ของคูไคที่ท่านสัมผัสได้จากใบหน้าและอากัปกิริยานั้นเป็นบุคลิกภาพ ของบุคคลที่สามารถเข้าถึงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับจักรวาลได้ อันเป็นบุคลิกภาพที่ไม่อาจลอกเลียนแบบกันได้ เพราะฉะนั้นแม้เพียง แรกพบ ท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋วก็ไม่ลังเลใจเลยที่จะรับปากกับคูไคว่า

' พ่อหนุ่ม เราจะถ่ายทอดหลักวิชาของวัชรยานทั้งหมดที่เรามีอยู่ ให้แก่ตัวเธอ '

คูไคเข้าพิธีอภิเษกเพื่อรับการสืบทอดวิชาสายมณฑลตถาคตครรภใน วันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 805 จากนั้นจึงเข้าพิธีอภิเษกเพื่อรับการสืบ ทอดวิชาสายมณฑลวัชรธาตุ ในช่วงต้นเดือนกรกฏาคม และเข้าพิธี อภิเษกรับตำแหน่งอาจารย์หรือเจ้าสำนักวัชรยานในวันที่ 16 สิงหาคม ของปีเดียวกัน เป็นที่เหลือเชื่อว่าคูไคใช้เวลาเพียง 2 เดือนเศษ ๆ เท่านั้นในการสืบทอดหลักวิชาวัชรยานทั้งหมดจากอาจารย์ฮุ่ยกั๋ว เพราะถ้าเป็นคนธรรมดาแล้วไม่แน่ว่าต่อให้คร่ำเคร่งศึกษาถึง 20 - 30 ปี ก็ไม่แน่ว่าจะรียนรู้ได้หมดได้ ในช่วง 2 เดือนเศษนี้ คูไคต้อง เดินทางด้วยเท้าทุกวันจากวัดไซหมิงที่เขาพำนักไปยังวัดชิงหลง ของอาจารย์ฮุ่ยกั๋ว ซึ่งอยู่ห่างจากวัดไซหมิงที่ไปราว ๆ 10 ลี้ เพื่อเรียน รู้ ' เคล็ดวิชา ' จากอาจารย์ฮุ่ยกั๋วที่ถ่ายทอดอกจากปากโดยตรง สิ่งที่อาจารย์ฮุ่ยกั๋วถ่ายทอดด้วยวาจาให้แก่คูไคนั้น เขาจะเขียนบันทึก ไว้หมด ภายหลังจากที่กลับสู่ที่พักแล้ว อันที่จริง ก่อนที่จะมาพบกับ อาจารย์ฮุ่ยกั๋วนี้ ตัวคูไคก็ได้คร่ำเคร่งฝึกฝนและวิชาวัชรยานดัวยตัวเอง ในป่าเขาเป็นเวลาถึง 7 ปีเต็มอยู่แล้ว สิ่งที่เขายังติดอยุ่หรือยังไม่เข้าใจ กระจ่างนั้นจึงเป็น ' เคล็ด ' ในการทำมุทรา ทำสมาธิแบบวัชรยาน และมนตราซึ่งเป็นวิธีกรจำเพาะของวัชรยานเป็นส่วนใหญ่ เพราะ ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า คูไคยามที่เขาได้พบกับอาจารย์ฮุ่ยกั๋วนั้น เปรียบเหมือนพระจันทร์ที่กำลังจะเต็มดวงอยู่แล้ว การได้พบอาจารย์ ฮุ่ยกั๋วและรับการถ่ายทอดทอดเคล็ดวิชาจากท่านจึงเป็นการทำให้ พระจันทร์ดวงนี้เต็มดวงเป็นวงกลมอย่างสมบูรณ์นั่นเอง

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด




ก่อนจะเข้าพิธีอภิเษกในแต่ละครั้ง คูไคจะถูกผูกตาและให้โยนดอกไม้ หรือพวงมาลัยไปยังมณฑลตถาคตครรภและมณฑลวัชรธาตุ ซึ่งในการ โยนพวงมาลัยทั้ง 2 ครั้งนี้ คูไคสามารถโยนให้พวงมาลัยนั้นไปตกลง ยังตำแหน่งศูนย์กลางมณฑลหรือตำแหน่งของมหาไวโรจนะได้ทั้ง 2 ครั้งซึ่งยังความทึ่งห้แก่ตัวอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเป็นอย่างมาก เพราะแม้แต่ตัวอาจารย์ ฮุ่ยกั๋วเอง ตอนที่เข้าพิธีอภิเษกก็ยังโยนพวงมาลัยลงตำแหน่งพระโพธิสัตว์ องค์หนึ่งเท่านั้นยังหาใช่ตำแหน่งตถาคตมหาไวโรจนะเหมือนอย่างคูไคไม่ อนึ่ง ถ้าพวงมาลัยไปตกลงตำแหน่งใด พระโพธิสัตว์ที่อยู่ ณ ตำแหน่งนั้น ก็จะกลายเป็นสิ่งบูชาและบริกรรมของผู้โยนพวงมาลัยนั้นไปจนตลอดชีวิต ตอนที่ท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเห็นคูไคโยนพวงมาลัยตกลงตำแหน่งมหาไวโรจนะ ท่านก็อดนึกถึงอาจารย์ของท่านคืออาจารย์ปู้คงไม่ได้ เพราะท่านอาจารย์ ปู้คงตอนเข้าพิธีอภิเษกก็สามารถโยนพวงมาลัยตกลง ณ ตำแหน่งมหาไวโรจนะได้เช่นเดียวกับคูไค จนท่านได้รับคำชมจากอาจารย์วัชรโพธิ ซึ่งเป็นอาจารย์ของปู้คงว่า

" ปู้คง ต่อไปเธอคงทำนุบำรุงศาสนาของพวกเราให้รุ่งเรืองอย่างแน่นอน " และก็จริงตามนั้น เพราะศาสนาพุทธสายวัชรยานประสบความสำเร็จรุ่งเรือง ที่สุดในจีนในช่วงที่อาจารย์ปู้คงเป็นเจ้าสำนัก และเป็น ' อาจารย์ ' ของ จักรพรรดิจีน ถึง 3 พระองค์ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าอาจารย์ฮุ่ยกั๋วก็ต้อง คาดหวังเป็นอย่างสูงว่า คูไคก็จะทำนุบำรุงศาสนาพุทธสายวัชรยานของ ท่านให้รุ่งเรืองสืบไปในดินแดนบูรพาทิศอย่างแน่นอนเช่นกัน และตัวคูไค ผู้กลายมาเป็นเจ้าสำนักวัชรยานคนล่าสุดด้วยวัยหนุ่มเพียง 32 ปีก็ไม่ได้ ทำให้อาจารย์ของเขาผิดหวังเลย

ในช่วง 2 เดือนเศษที่คูไคเข้าพิธีอภิเษกถึง 3 ครั้งนี้ นอกจากเขาจะต้อง เรียนรู้เคล็ดลับแห่งหลักวิชาวัชยานทั้งสายมณฑลตถาคตครรภและสาย มณฑลวัชรธาตุแล้ว อาจารย์ฮุ่ยกั๋วยังสั่งให้เขาศึกษาคัมภีร์หลัก ๆ ของ สายวัชรยานไม่ตำกว่า 200 เล่ม และให้อ่านข้อถกเถียงในเชิงอภิธรรม เกี่ยวกับพระสูตรต่าง ๆ อีกด้วย เรียกได้ว่าแทบไม่ต้องกินไม่ต้องนอน เลยทีเดียว ถ้าหากคูไคไม่ได้ฝึกฝนร่างกายอย่างหนักด้วยการฝึกเดินธุดงค์ บำเพ็ญตบะตามป่าเขาในช่วง 7 ปีก่อนที่เขาจะเดินทางที่นครฉางอานนี่ บางทีเขาอาจจะไม่สามารถทนทานต่อการฝึกฝนและศึกษาที่เร่งรัดขนาด นี้ได้เป็นแน่แต่เขาก็ทำสำเร็จ จนได้ในสิ่งที่คนธรรมดาไม่อาจทำได้แม้ จะมีเวลาศึกษา ( กว่าค่อนชีวิต ) ... หรือว่านี่คือเจตนารมณ์ของประวัติ ศาสตร์ หรือว่านี่เป็นประสงค์ของฟ้าดิน ?

ส่วนท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋ว ภายหลังจากที่ท่านได้ถ่ายทอดเคล็ดวิชาวัชรยาน ทั้งหมดของตนให้แก่คูไค ท่านก็วางใจและมรณภาพไปอย่างสงบในอีก 4 เดือนหลังจากนั้น ก่อนที่จะดับขันธ์ ท่านได้เรียคูไคเข้ามาพบและสั่ง เสียเป็นครั้งสุดท้ายว่า



" ศิษย์รัก วาระสุดท้ายที่อาจารย์จะอยู่บนโลกนี้ไกล้จะถึงแล้วอาจารย์ขอ ให้เธอเอามันดาลา ( มณฑล ) ทั้งสองกับคัมภีร์พระสูตรของวัชรยาน และ อุปกรณ์ท่านอาจารย์ได้รับมาจากท่านอาจารย์ปู้คงกลับไปประเทศของเธอ และเผยแพร่คำสอนของวัชรยานออกไป... ตอนแรกที่เธอมาหาอาจารย์นั้น อาจารย์ยังวิตกเลยว่าอาจารย์จะไม่มีเวลาพอที่จะสอนเธอได้ทั้งหมด แต่ ตอนนี้อาจารย์ก็ได้สอนเธอหมดทุกอย่างแล้ว และงานคัดลอกคัมภีร์พระสูตร จำนวนนับร้อยเล่มก็ไกล้จะสำเร็จสมบูรณ์แล้ว พร้อมกับการทำเครื่องมือ ประกอบพิธีกรรมทางสายวัชรยานและภาพมันดาลาทั้งสอง ดังนั้นอาจารย์ จึงขอให้เธอเร่งรีบกลับไปประเทศของเธอ เผยแพร่คำสอนนี้ให้กับจักรพรรดิ ญี่ปุ่นและเหล่าประชาชน เพื่อช่วยคนเหล่านี้ให้พ้นทุกข์และพบความสุขที่แท้ จริงให้ได้ ไม่มีอะไรที่เธอจะต้องห่วงใยที่นี่อีกต่อไปแล้ว หน้าที่ของเธอคือ การถ่ายทอดคำสอนเหล่านี้ไปยังดินแดนแห่งบูรพาทิศ และอาจารย์ขอให้เธอ ทำหน้าที่นี้ให้ดีที่สุดนะศิษย์รัก "

ด้วยเหตุนี้คูไคจึงพำนักอยู่ที่ฉางอานเพียงปีเศษ ๆ ก็เดินทางกลับประเทศ ญี่ปุ่น มิได้อยู่ถึง 20 ปีตามข้อบังคับที่มีต่อ ' รุกักคุโช ' แต่ประการใด เกี่ยวกับเรื่องนี้มีข้อที่น่าคิดอยู่หลายประการด้วยกัน



- บางส่วน จาก คัมภีร์มังกรวัชระ -

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :13: อนุโมทนาครับ
ขอบคุณครับพี่มด
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~