ศิษย์ : หากจะพิจารณาดูกาลแรกเริ่ม ท่านบอกว่าอวิชชาแห่งการแบ่งแยก นั้นอุบัติมาตั้งแต่แรกเริ่มแล้ว ทว่าการหยั่งเห็นและสัมผัสถึงอทวิลักษณ์ แห่งบูรณภาพนั้นจะได้บังเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นเช่นเดียวกัน ตรุงปะ : ถูกแล้ว นั่นเองเป็นเหตุที่เอื้อให้ความหลงผิดอุบัติขึ้นได้ ความหลง ผิดนั้นจะต้องอุบัติขึ้นมาจากที่ใดที่หนึ่ง ดังนั้นเราจึงไม่อาจประณามกาล แรกเริ่มได้ว่าผิดมาตั้งแต่ต้นดุจดัง " บาปกำเนิดของมนุษย์ "
ศิษย์ : ในช่วงถาม - ตอบของการบรรยายธรรมครั้งก่อนดูเหมือนท่านได้พูด ถึงความว่างอันไพศาลแห่งปัญญา และได้กล่าวถึงอทวิลักษณ์ว่าเป็นญาณ ข้าพเจ้าไม่สู้จะเข้าใจข้อแตกต่างเหล่านี้ ตรุงปะ : ปัญญาเป็นคล้าย ๆ กับสิ่งที่เราได้รับรู้ในการเสวนาครั้งนี้และครั้ง ก่อน ๆ เราได้พูดคุยกันถึงญาณและบูรณภาวะอันหมดจด ทว่าในการทำดัง นั้นเท่ากับเป็นการเข้าไปสัมพันธ์กับมันจากมุมมองของคนนอก เราเข้าสัม พันธ์กับมันในฐานะที่เป็นตัวประสบการณ์ ดังนั้นเองนั่นเท่ากับเป็นปัญญา หรือข้อมูลความรู้ มันจะเป็นปัญญาอยู่ตราบกะทั่งเราได้หลอมกลืนเข้ากับ สภาวะนั้นอย่างหมดจด " ความเป็น " มิใช่การเรียนรู้ที่จะเป็น การเรียนรู้กับ " ความเป็น " นั้นแตกต่างกัน
ศิษย์ : ที่ท่านกล่าวถึงวัชระมานั้น ส่องแสดงว่ามันดำรงอยู่ในระดับปัญญา ในระดับจิตกับวัตถุใช่หรือไม่ ตรุงปะ : ประสบการณ์ทาง
ปัญญาแห่งวัชระนั้น
ดำรงอยู่ในระดับของญาณ คือการมองเห็นทุกสิ่งอย่างหมดจด นั่นย่อมขึ้นอยู่เหนือพ้นปัญญาซึ่งยังไม่ นับว่าเป็นสิ่งแก่กล้าลุ่มลึก
ศิษย์ : ในระดับของอทวิลักษณ์นั้น อาจมีสิ่งที่เรียกว่าพุทธวงศ์กับปัญญา และโลกแห่งการแบ่งแยกหรือไม่ ตรุงปะ : นั่นคือสิ่งที่เราต้องการจะพูดถึงในการเสวนาครั้งนี้ ความจริง แบบอทวิลักษณ์นั้นอยู่ในมิติแห่งญาณ ดังนั้นจึงก่อเกิด
ปฏิสัมภิทาญาณ ( ปัญญาอันแยกแยะแตกฉาน ) ขึ้นอยู่ตลอดเวลา ในสภาวะเยี่ยงนั้นโลก จะยิ่งเต็มไปด้วยชีวิต เต็มไปด้วยชีวิตชีวาและสีสันยิ่งกว่าที่เราเคยรับรู้
ศิษย์ : ความข้อนี้ดูจะขัดแย้งกันอยู่ เพราะอาการอันแยกแยะแตกฉาน นั้นย่อมค้นพบการแบ่งแยก ตรุงปะ : มิได้มีปัญหาเรื่องการค้นพบการแบ่งแยก ในที่นี้เรากำลังพูดถึง โลกแห่งสัมพัทธ์ในแง่ของมิติทางจิตใจ เรากำลังพูดถึงความรู้สึกนึกคิด และมุมมองอย่างสัมพัทธ์ ยิ่งกว่าที่จะเป็นการแลเห็นแบบแบ่งแยกสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นสอง นี่มิได้ถือเป็นมุมมองแบบทวิลักษณ์ทว่าเป็นปัญญาอันแยก แยะแตกฉาน ข้าพเจ้าหมายถึงว่าผู้เป็นอริยบุคคลนั้นย่อมสามารถเดินอยู่ บนถนนเพื่อไปขึ้นรถประจำทางได้ นี่คือข้อเท็จจริง และท่านกระทำสิ่ง นี้ได้ดียิ่งกว่าเรา ด้วยเหตุที่
ท่านดำรงสติกำหนดรู้อยู่เสมอ ศิษย์ : ในแง่ของการเริ่มต้นตั้งแต่แรกเริ่ม การปฏิบัติสมาธิภาวนาจะมี บทบาทอย่างไร ตรุงปะ : การปฏิบัติสมาธิภาวนาตั้งแต่แรกเริ่มก็คือการยอมรับว่าตนเป็น เป็นคนโง่ คุณจะเริ่มรับรู้ได้อย่างต่อเนื่องว่าคุณกำลังหลอกตัวเองโดย การเสแสร้งแกล้งปฏิบัติสมาธิ แทนที่จะเชื่อว่าตนนั้นสูงส่งดีงาม ถ้าหาก คุณสามารถเริ่มจากการยอมรับความจริง ยอมรับถึงความหลอกลวงฉ้อฉล ของตน เมื่อนั้นคุณจะเริ่มแลเห็นถึงบางสิ่งที่เป็นยิ่งกว่าการเป็นโง่ มีบาง สิ่งอยู่ในนั้น คุณเริ่มเรียนรู้ที่จะให้ คุณไม่จำเป็นจะต้องปกป้องตนเองอยู่ ตลอดเวลา
จนกระทั่งตัวการปฏิบัตินั้นได้ก่อให้เกิดวินัยอย่างใหญ่หลวง ขึ้นในชีวิตประจำวัน มันมิได้เป็นเพียงแค่การนั่งปฏิบัติเท่านั้น ทว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างในชีวิตจะกลับกลายเป็นส่วนหนึ่งของการภาวนาสิ้น นี่จะก่อให้ เกิดพื้นที่อันกว้างขวางเพื่อเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และแน่นอนว่าเมื่อมาถึง จุดหนึ่งคุณจะเริ่มรู้สึกว่าปราศจากแรงซึ่งพยายามใด ๆ หรือ
แม้กระทั่งการ รู้สึกตัวว่ากำลังปฏิบัติสมาธิอยู่ ขอบเขตแห่งการภาวนาของคุณจะค่อย ๆ ลบเลือนไป กลับกลายเป็นอภาวนาหรือมหาภาวนาอย่างสมบูรณ์ศิษย์ : ความอยากแต่เริ่มแรกก็คือวัตถุนิยมทางศาสนาด้วยใช่หรือไม่ ตรุงปะ : ถูกแล้ว แต่อย่างน้อยที่สุดมันก็เป็นสิ่งจริงมิใช่สิ่งอันเสแสร้ง นั่น ทำให้สิ่งต่าง ๆ ง่ายขึ้น จะเห็นได้ว่าหะแรกเราก็อยากที่จะบรรลุถึงภูมิธรรม บางประการ นั่นมิใช่ปัญหา แต่กลับช่วยอุดหนุนให้คุณก้าวล่วงสู่การปฏิบัติ ในกรณีของวัตถุนิยมทางศาสนาเลห์ลวงของมันก็คือการที่คุณไม่ได้เข้าเผชิญ หน้ากับความวิปลาสของตน ทุก ๆ ครั้งที่คุณลงมือปฏิบัติคุณก็คาดหวังที่จะ บรรลุถึงสิทธิอำนาจ
คุณพยายามที่จะเรืองฤทธิ์แทนที่จะภาวนาเพื่อถอด หน้ากากตนเอง ทว่าหากปราศซึ่งความอยากเช่นนั้นแล้ว ก็หามีที่หยั่งเท้า ยืนหยัดเพื่อก้าวล่วงไปไม่ ปราศจากซึ่งภาษาและสัญลักษณ์ให้ใช้สอย การ แลเห็นถึงสภพการณ์เยี่ยงนั้น ย่อมเป็นไปดังที่ข้าพเจ้าหมายแสดงนั่นก็คือ
การถือว่าตนเองเป็นคนโง่ ศิษย์ : รินโปเช ท่านพอจะช่วยอธิบายซ้ำอีกได้ไหมว่าการรองรับเกื้อ หนุนที่กล่าวถึงนั้นหมายความเช่นไร ตรุงปะ : มันหมายถึงการไม่ต้านทานขัดขืน คือการรองรับเกื้อหนุน ความเต็มเปี่ยมมั่งคั่งหรือความแผ่ขยายครอบคลุมรวมถึงแรงดึงดูด ต่าง ๆ โดยมิได้สร้างขอบเขตอันตายตัวขึ้น มันมิใช่ความพยายามใด ๆ ทว่า
เพียงให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการรองรับเกื้อหนุนโดยปราศจากปัจจัย เงื่อนไขต่าง ๆ ศิษย์ : การหยิบเอาอภิธรรมชั้นสูงเยี่ยงนี้ขึ้นมาพูดจะช่วยให้เราเข้า ไกล้นิรวาณและออกห่างจากวัฏสงสารได้อย่างไร ตรุงปะ : ถ้าหากคุณเข้าหามันจากแง่มุมนั้น นั่นก็จะไม่ช่วยอะไรเลย
ศิษย์ : แน่นอนว่าคงจะช่วยอะไรไม่ได้ ทว่านั่นคือแง่มุมที่เราใช้ มิใช่หรือ ตรุงปะ : เราจำเป็นต้องพูดโดยอาศัยภาษาทางโลก ซึ่งได้กลายเป็น อภิธรรมไปอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ศิษย์ : แม้จะยอมรับว่าการใช้ภาษาฝ่ายโลกเป็นสิ่งจำเป็น แต่ข้าพเจ้าก็ ยังรู้สึกว่าธรรมบรรยายนี้ออกจะน่างุนงงไม่น้อย ตรุงปะ : นี่คือประเด็นหลัก เราพึงตระหนักว่ามีความลักลั่นบางอย่าง อยู่ ใช่ว่าทุกสิ่งจะหมดจดแจ่มชัดเป็นดำ-ขาวเสมอไป ความรู้สึกงุนงง สับสนคือจุดเริ่มต้น เมื่อใดที่คุณรู้สึกงุนงงสับสน คุณจะไม่เชื่อถือใน อาการอันงุงงงสับสนของคุณว่านั่นคือคำตอบ ด้วยเหตุที่คุณงุนงงสับ สน คุณย่อมรู้สึกได้ว่าคำตอบน่าจะเป็นสิ่งอื่นซึ่งกระจ่างชัดยิ่งกว่า นี่ ย่อมก่อให้เกิดการสืบเสาะค้นหาต่อไป ซึ่งย่อมมีคำตอบอยู่ในตัวมัน เอง เราจะเริ่มจัดการกับตัวเราเยี่ยงนั้น
กล่าวอีกนัยหนึ่ง
หลักธรรมคำสอนมิได้หมายที่จะมอบสิ่งอันหนักแน่น แจ่มชัดให้ เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องออกแรงใด ๆ โดยมีพระธรรมคำสอน ป้อนให้อยู่ตลอดเวลา เหตุที่คุณได้รับมอบหลักธรรมนี้ก็เพื่อที่คุณจะได้ ออกแรงพยายามต่อไป เพื่อที่คุณจะได้สับสนยิ่งขึ้น และคุณจำจะต้อง ผ่านพ้นความสับสนเหล่านี้ พระธรรมคำสอนคือแรงใจที่จะเกื้อหนุนให้ คุณได้ค้นพบที่หยั่งเท้ายืนหยัดที่ชิดใกล้ตัวคุณที่สุด อันได้แก่ความงุนงง สับสนนั่นเอง
ศิษย์ : ท่านอาจบอกได้ไหมว่าพลังอทวิลักษณ์อันเป็นอสังขตธรรมนี้ ย่อมมีพลังอันเต็มไปด้วยเงื่อนไข ( สังขตธรรม ) เป็นขุมพลังอยู่ด้วย ตรุงปะ : ข้าพเจ้าไม่อาจกล่าวดังนั้น
พลังอันปราศจากเงื่อนไข ( อสัง- ขตธรรม ) นี้ ย่อมเปี่ยมศักดิ์อยู่ในตนเอง ด้วยเหตุที่มันมิได้ขึ้นอยู่กับ เหตุปัจจัยใด ๆ มันดำรงอยู่ดังที่มันเป็น หล่อเลี้ยงตนเอง เป็นอยู่ด้วย ตนเอง พลังอันถูกกำหนดด้วยเงื่อนไข ( สังขตธรรม ) บางครั้งบางครา พลังอันปราศจากเงื่อนไขก็อาจสำแดงออกผ่านพลังอันกอปรด้วยเงื่อน ไข ทว่ามันมิได้ดำรงอยู่หรือหล่อเลี้ยงด้วยพลังอย่างหลัง ด้วยเหตุนี้เอง แง่มุมของพลังอันปราศจากเงื่อนไข มันไม่จำเป็นต้องมีอยู่เลย ด้วยเหตุ นี้เองมันจึงเน่าเสีย ไม่มีช่องทางออกสำหรับมัน ดังนั้นจึงค่อย ๆ เน่า เปื่อยผุพังและตายลง ทางเดียวที่มันจะดำรงอยู่ได้ก็โดยการดูดซับพลัง จากตัวเอง ทว่ามันก็เน่าเสียเป็นอย่างยิ่ง
ศิษย์ : ท่านเคยบอกว่าชาวจีนได้คิดวิธีการเพ่งนิมิตแบบต่าง ๆ ขึ้นมาใช้ สำหรับเหล่าเทพธรรมบาล ทั้งยังชี้ให้เห็นอีกว่าสายธรรมนั้นย่อมทันสมัย อยู่ตลอดเวลา นี่ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกสงสัยว่าพวกเราชาวพุทธอเมริกันอาจ คิดวิธีการเพ่งนิมิตของเราเองขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ ศิษย์ : ดังเช่น การเพ่งองค์มหากาลในชุดกางเกงยีนส์ ตรุงปะ : มีทางเป็นไปได้น้อยมาก ในจีนนั้น ขั้นตอนดังกล่าวเป็นไปโดยไม่รู้ตัว มันคลี่คลายไปเองในทำนอง นั้น แต่ในตะวันตก พวกเรามีความจงใจเกินไปในเรื่องวัฒนธรรม เราได้ เข้าไปกระทำย่ำยีจนยับเยิน ศิลปะต่าง ๆ ได้ถูกเรากระทำชำเราจนกระทั่ง ตกอยู่ภายใต้กำหนดกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ศิลปะบริสุทธิ์ได้ถูกทำให้กลายเป็น แค่ป๊อบอาร์ตหรืองานคอลลาจอันดาษดื่น ดังเช่นการนำภาพเขียนทิเบตไป ผสมผสานกับภาพนักบินอวกาศกำลังเดินข้ามไปนภาพหรืออะไรทำนอง นั้น สภาพการณ์ทางศิลปะได้ตกต่ำเสื่อมถอยไปเป็นอันมาก
ประเด็นจึงอยู่ตรงที่ว่า ถ้าหากเราสามารถทำให้ขั้นตอนเหล่านี้คลี่คลาย ไปโดยไม่รู้ตัว ก็อาจมีบางสิ่งอุบัติขึ้นได้ แต่ด้วยเหตุที่เรามีโลกที่เต็มไป ด้วยความจงใจ นั่นก็คงเป็นไปได้ยากยิ่ง อันที่จริงแล้ว ปัญหาเดียวกันนี้ ก็ได้บังเกิดขึ้นในธิเบตด้วย เพราะชาวจีนรับนั้นรับเอาสิ่งต่าง ๆ ไปอย่าง อิสระ ทว่าชาวธิเบตเองกลับกังวลสนใจวัฒนธรรมของตนเอง เขาถือว่า มันต่ำต้อยกว่าวัฒนธรรมของพวกอารยันในอินเดีย ชาวอินเดียมักจะกล่าว ขานถึงทิเบตว่าเป็น
เปรตบุรี เป็นบ้านเมืองของผีเปรต เขาถือว่าทิเบตเป็น ดินแดนป่าเถื่อนไร้วัฒนธรรม ดังนั้นเองชาวทิเบตจึงกังวลสนใจอยู่กับเรื่อง นี้มาก ดังนั้น แทนที่เขาจะสร้างภาพเทพทิเบตขึ้นมา เขา
กลับหันไปรับเอา วัฒนธรรมอารยันตั้งแต่เริ่มแรก ดังนั้นเองในทิเบตจึงไม่ปรากฏเทพทิเบต ภายใต้รูปลักษณ์ขององค์มหาไวโรจนะหรืออะไรทำนองนั้น นี่คือความ คล้ายคลึงอันน่าสนใจยิ่ง
ศิษย์ : เมื่อมีการถวายเครื่องบูชาในรูปของมณฑล นั่นเป็นไปเพื่อสิ่งใด และอย่างไร ดังเช่นที่นาโรปะนำเอามณฑลไปมอบถวายแด่ติโลปะ ตรุงปะ : นั่นมิใช่มณฑลในความหมายทางจิตใจหรือทางธรรม นั่นเป็น เพียงภาพลักษณ์ของโลกซึ่งกอปรด้วย
ทวีปและมหาสมุทรรวมถึงสรรพ สิ่ง การกระทำบูชาด้วยมณฑลนั้นย่อมหมายถึง การยอมสละสิ้นซึ่งที่ พำนักจนถึงขั้นไร้ที่พักพิง นั่นคือ " ผู้ลี้ภัย " ในความหมายอันสูงสุดศิษย์ : จะมีสิ่งที่เรียกว่าการสำแดงออกของพลังบริสุทธิ์หรือไม่ ตรุงปะ : นั่นหมายถึงจะต้องหลุดพ้นออกมาจากวังวนของโลกแห่งการ เปรียบเทียบ เมื่อนั้นมันจึงจะเผยออกมาด้วยเหตุที่มันมิได้ขึ้นอยู่กับโลก สมมติอีกต่อไป
ศิษย์ : จากแง่มุมของอทวิลักษณ์ ความกรุณาจะผุดขึ้นมาได้อย่างไร ตรุงปะ : เพียงแค่การไม่ยึดติดอยู่กับการเปรียบเทียบอ้างอิงก็ย่อมก่อ ให้เกิดพื้นที่ว่างขึ้นมากมาย ความกรุณาคือพื้นที่ว่างซึ่งเกื้อหนุนรองรับ สรรพสิ่ง มันแตกต่างอย่างยิ่งกับสภาพการณ์อันปฏิเสธขัดแย้งของเรา ด้วยเหตุที่เราไม่พร้อมที่จะยอมรับสิ่งใด ๆ เลย ดังนั้น
ความกรุณาจึง ช่วยให้เกิดพื้นที่ว่างขึ้น ยอมให้มีสิ่งต่าง ๆ อุบัติขึ้น ศิษย์ : เราจะสร้างความเปิดกว้างเช่นนั้นขึ้นมาได้อย่างไร ตรุงปะ : ถ้าหากคุณสร้างมันนขึ้นมา นั่นก็หาใช่ความกรุณาอีกต่อไปไม่ ในการที่เราจะเริ่มจุดประกายความกรุณาขึ้นมานั้น คุณจำต้องพร้อมที่จะ โดดเดี่ยวเดียวดาย คุณดำรงอยู่ใสถานการณ์อันโดดเดี่ยวสิ้นเชิง ซึ่งใน ขณะเดียวกันก็คือพื้นที่ว่างอันเปิดกว้างในขณะเดียวกัน การจะก่อเกิด ความกรุณาขึ้นมาได้มิใช่เรื่องของการเข้าไปมีส่วนร่วมกับสิ่งต่างๆ หาก แต่เป็นการปล่อยให้ทุกสิ่งเผยออกมา ดังนั้นความหมายของความโดด เดี่ยวเดียวดายก็คือจุดเริ่มต้นอันแท้จริงของความกรุณา
ศิษย์ : ในช่วงต้น ๆ ของการเสวนา ท่านได้พูดถึงเรื่อวงของขอบเขต เป็นอันมาก ทว่าบัดนี้ท่ากลับพูดว่ามณฑลเป็นสิ่งที่ปราศจากขอบเขต ท่านพอจะชี้แจงให้กระจ่างกว่านี้ได้ไหม ตรุงปะ : สังสารมณฑลถูกแบ่งแยกออกจากกันด้วยขอบเขต ด้วยเหตุ ที่มันมีอารมณ์และสภาวะจิตเป็นตัวกำหนด มันดำรงอยู่ด้วยเหตุที่คุณ โอบอุ้มให้มันคงอยู่ ส่วน
บูรณภาพมณฑลหรือมณฑลอันสมบูรณ์นั้น หาได้ขึ้นอยู่กับขอบเขตใด ๆ ไม่ ดังนั้นเองมันจึงสำแดงออกมาผ่าน แง่มุมและด้วยอาการอันแตกต่างหลากหลาย ทว่าจากบูรณภาพหนึ่ง เดียว สภาวะอันเกื้อหนุนรองรับของพื้นที่ว่างและสภาวะอันดิ่งลึกหรือ แผ่ขยายครอบคลุมของพื้นที่ว่างล้วนเป็นเพียงแง่มุมอันแตกต่างซึ่งสำ แดงออกมาจากสิ่งเดียวกัน คุณอาจพูดถึงแง่มุมแห่งการส่องสว่างของ ดวงอาทิตย์ และก็อาจพูดถึงแง่มุมแห่งการมอบความเจริญเติบโตให้แก่ สรรพสิ่งของมัน หรืออาจพูดถึงดวงอาทิตย์ในแง่ที่เป็นเครื่องบอกจังหวะ เวลาของชีวิต เหล่านั้นล้วนเป็นการพูดถึงแง่มุมอันแตกต่างหลากหลาย ของสิ่งเดียวกัน หามีขอบเขตอันแบ่งแยกใด ๆ อยู่ไม่ เพียงเป็นการสำแดง ออกอันแตกต่างหลากหลาย
ศิษย์ : เราจะถือได้ไหมว่าขอบเขตเหล่านั้นเป็นหลักการอันแท้จริงของ สัจจภาวะ ตรุงปะ : ขอบเขตบังเกิดขึ้นดุจดังอาการที่คุณถ่ายรูป คุณใช้กล้องถ่าย รูปโดยตั้งความเร็วกล้องที่ ๑/๑๒๕ วินาที แล้วคุณก็กดชัตเตอร์ ภาพ นั้นก็ถูกบันทึกไว้บนกระดาษ
ศิษย์ : อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ท่านได้พูดถึงมาแล้ว คือการ ตระหนักรู้ถึงป่าช้าผ่านความรู้สึกไม่มั่นคง กับการแลเห็นถึงบูรณภาพ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นกุญแจไขไปสู่พุทธมณฑล ตรุงปะ : บูรณภาพเป็นส่วนหนึ่งของความรู้สึกไม่มั่นคง เมื่อใดที่จิตใจ แห่งสังสารวัฏได้หยั่งเห็นถึงบูรณภาพ มันจะแลเห็นเป็นความไม่มั่นคง ปลอดภัย มันจะรู้สึกถูกคุกคาม รู้สึกว่าเป็นสถานที่แห่งความแตกดับ บูรณภาพนั้นเป็นสิ่งที่บีบคั้นคุกคามเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุที่มันไม่มีสิ่ง ใดให้จับยึด มันเป็นพื้นที่ว่างอันกว้างใหญ่ไพศาล ทว่าจากมุมมองของ ตัวมันเอง บูรณภาพหาได้มีจุดอ้างอิงใด ๆ อยู่ไม่ ดังนั้นปัญหาเรื่องความ ไม่มั่นคงหรือการคุกคามจึงมิได้ผุดขึ้นมาเลย
เราคงจะต้องยุติลงเพียงนี้ คงจะเป็นการดีหากเราได้นำสิ่งที่เราได้พูด กันนี้ไปพิจารณา ขบคิดใคร่ครวญและชักนำมาสู่ประสบการณ์ทางการ ปฏิบัติ สิ่งที่เราได้พูดคุยกันมาก็คือ
ความหมายของพื้นที่ว่างหรือความ เว้นว่าง อันเป็นสิ่งที่เราต้องผ่านพบอยู่เสมอในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะ อยู่ในเมืองหรือในไร่นา ในชีวิตครอบครัวหรือในการงาน เราต้องพบ เผชิญกับความเว้นว่างอยู่เสมอ ดังนั้นเอง
เราจึงต้องสัมพันธ์กับมณฑล อยู่ตลอดเวลา อย่างน้อยที่สุดก็ต้องเผชิญกับแง่มุมอันน่าหงุดหงิดรำคาญ ใจของมัน เพราะมันไม่ใช่สิ่งที่เราอาจขจัดไปได้ด้วยการคิดว่า " ฉันทุกข์ มามากพอแล้ว บัดนี้ฉันจะเลิกคิดแล้วลืมมันไปซะ " เพราะไม่ว่าเราจะ พยายามลืมมันลงเพียงใด มันก็จะยืนหยัดสืบไปเพียงนั้น ดังนั้น นี่จึงไม่ ใช่เรื่องของการรู้มากแล้วจะช่วยได้
มันมีธาตุของการผูกมัดตนเองอยู่ ด้วยเหตุที่มีบูรณภาพของชีวิตคุณร่วมอยู่ด้วย เราจึงจำเป็นต้องเข้าสัม พันธ์กับทุกสถานการณ์ของชีวิตเพื่อค้นหาความหมายอย่างลุ่มลึก - บทที่ ๗ อสังขตภาวมณฑล -
- จาก ความปั่นป่วนสับสน อันมีแบบแผน หลักการแห่งมณฑล -
- โดย เชอเกียม ตรุงปะ -