ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
-http://www.dhammathai.org/buddha/buddha.php-
ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข
การสังคายนาครั้งที่ ๓
เมื่อพุทธศักราช ๒๓๔
ณ อโศการมา เมืองปาฏลีบุตร
การสังคายนาครั้งที่ ๓ ปรารภเดียรถีย์มากมายปลอมบวชในพระศาสนาเพราะมีลากสักการะเกิดขึ้นมาก พระอรหันต์ ๑,๐๐๐ รูปมีพระโมทคัลลีบุตรติสสเถระ เป็นประธาน ประชุมทำที่อโศการาม เมืองปาฏลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน ประชุมทำที่อโศกหรือศรีธรรมาโศกราช เป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๙ เดือนจึงเสร็จ
ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชได้มีเดียรถีย์ปลอมเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เพราะเห็นว่าพระพุทธศาสนา มีลาภสักการะมากจนพระสงฆ์เกิดรังเกียจกันเพราะไม่รู้ว่าใครเป็นใคร ในที่สุดไม่ทำอุโปสถสังฆกรรมร่วมกันถึง ๗ ปี ต่อมาความทราบถึงพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้รังสั่งให้อำมาตย์คนหนึ่งไปอาราธนาให้พระร่วมสังฆกรรมกัน เมื่อพระเหล่านั้นไม่ยินยอม อำมาตร์ถือว่าขัดพระบรมราชโองการจึงตัดคอพระมรณภาพไปหลายองค์ พระติสสเถระซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าอโศกเห็นเช่นนั้นจึงไปนั่งขวางไว้ อำมาตย์ไม่กล้าฆ่าพระราชอนุชา จึงกลับไปกราบทูลให้พระเจ้าอโศกมหาราชทรงทราบทุกประการ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงตกประทัยมากกลัวว่าบาปกรรมจะมาถึงพระองค์ด้วย แม้ว่าอำมาตย์จะทำไปโดยพลการก็ตาม จึงไปเรียนถามพระเถระทั้งหลายปรากฏว่าท่านเหล่านั้นตอบไม่ตรงกัน ในที่สุดได้รับคำแนะนำจากพระเถระให้ไปอาราธนาพระโมคคัลลี บุตรติสสเถระ ให้มาวินิจฉัยให้ และจะได้ช่วยชำระเรื่องเสื่อมเสียที่เกิดขึ้น
พระโมคคัลลีบุตรดิสสเถระนี้ ท่านเล่าว่าเป็นผู้ที่พระอรหันต์ในคราวทุติยสังคายนา ขอให้จุติจากพรหมโลกมาชำระพระศาสนาในคราวนี้โดยตรง โดยมอบหมายให้พระเถระ ๒ รูปคือ พระสิคควเถระและพระจันทวิชชีเถระ รับหน้าที่ในการนำติสสมหาพรหม ซึ่งจะมาปฏิสนธิในครรถ์ของนางโมคคัลลีพราหมณ์ ให้ออกบวช อบรมให้การศึกษาจนแตกฉานในพระธรรมวินัยโดยถือเป็นทัณฑกรรมสำหรับท่านทั้ง ๒ ฐานขาดการประชุม ในคราวที่พระสงฆ์ทำทุติยสังคายนา พระเถระทั้งสองได้ทำหน้าที่ของท่านตามมติสงฆ์ทำทุติยสังคายนา พระเถระทั้งสองได้ทำหน้าที่ของท่านตามมติสงฆ์ โดยพระสิคควะเถระนำติสสกุมารออกบวชเป็นสามเณร ให้ศึกษาข้อธรรมเบื้องต้น พระจันทวัชชีเถระให้อุปสมบทเป็นภิกษุ ให้ศึกษาธรรมเบื้องสูงขึ้นไป เดียรถีย์ปลอมเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่เป็นเรื่องใหญ่มาก ไม่อาจจัดการได้ด้วยลำพังอำนาจสงฆ์ ต้องอาศัยพระราชอำนาจจึงทำได้ พระเถระเมื่อเห็นเหตุการณ์เช่นนั้นจึงคิดว่า
"บัดนี้อธิกรณ์เกิดขึ้นแล้ว ไม่นานนักอธิกรณ์นี้จักหยาบช้ากล้าแข็งขึ้น ถ้าเราอยู่ในท่ามกลางเดียรถีย์ เหล่านี้จักไม่อาจระงับอธิกรณ์ได้ " จึงมอบหมายการบริหารสงฆ์ให้พระมหินทเถระ ซึ่งเป็นลัทธิวิหารริกของท่าน และเป็นราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ท่านเองได้หลีกไปพักอยู่ที่อโธคังบรรพต ตอนเหนือของแม่น้ำคงคา
พระเจ้าอโศกมหาราชส่งอำมาตย์ พระธรรมกถึก ๔-๘ ท่านพร้อมด้วยบริวารไปเรียนให้พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระมาตามพระบรมราชโองการ ๒ คราว แต่พระเถระไม่ยอมรับอาราธนา เพราะท่านเหล่านั้นพูดไม่ถูกเรื่อง จึงต้องเพิ่มจำนวนพระธรรมกถึก อำมาตย์ ๑๖ คน พร้อมด้วยบริวารให้ไปอาราธนาว่า
"ข้าแต่พระคุณเจ้า ศาสนากำลังเสื่อมโทรม ขอพระคุณเจ้าเป็นสหายของพวกข้าพเจ้า เพื่อเชิดชูพระพุทธศาสนาเถิด"
เมื่อพระเถระได้สดับพระราชสาสน์นั้นคิดว่า
"เรามาบวชด้วยตั้งใจว่า จักเชิดชูพระศาสนามาตังแต่ต้นแล้วเวลาของเรามาถึงแล้ว"
พระเถระได้มาด้วยแพล่องมาตามลำน้ำคงคา พระเจ้าอโศกมหาราชเสด็จลงต้อนรับด้วยความเลื่อมใส แต่ยังข้องใจในคุณสมบัติของพระเถระ หลังจากได้ทดสอบแล้วจึงเกิดความมั่นพระทัยในคุณสมบัติของพระเถระ หลังจากได้ทดสอบแล้วจึงเกิดความมั่นพระทัยในคุณสมบัติของพระเถระ จึงได้เรียนถามข้อที่ทรงข้องพระทัย เรื่องอำมาตย์ฆ่าพระเถระมรณภาพไปหลายรูป พระเถระได้ถวายวิสัชนาให้หายข้องพระทัยความว่า เมื่อพระองค์ไม่มีพระประสงค์จะให้อำมาตย์ฆ่าภิกษุ บาปจึงไม่มีแก่พระองค์ และให้พระราชามั่นพระทัยด้วยพระพุทธภาษิตว่า
"ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย วาจา ใจ "
นอกจากนั้น พระเถระยังได้ยกภาษิตของดาบสในติตติรชาดกความว่า
"ถ้าท่านไม่มีความคิดไซร้ บาปก็ไม่มี แท้จริงกรรมย่อมถูกต้องบุคคลผู้คิดอยู่เท่านั้น หากถูกต้องบุคคลผู้ไม่คิดไม่"
หลังจากพระเจ้าอโศกมหาราชทรงสบายพระทัย เพราะได้ฟังคำวินิจฉัยพระเถระแล้ว พระเถระได้ถวายพระพรให้ทราบเรื่องสถานการณ์ของพระพุทธศาสนาในกรุงปาฏิลีบุตร พร้อมกับให้พระราชาเรียนสัจธรรมทางพระพุทธศาสนา จนสามารถแยกได้ว่าอะไรเป็นคำสอนของพระพุทธศาสนา อะไรไม่ใช่ พระเจ้าอโศกมหาราชได้เรียกภิกษุทั้งหลายมาสอบถามด้วยพระองค์เองว่า
"ก็วาที สมมาสมพุทโธ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีปกติตรัสว่าอย่างไร"
ท่านรูปใดตอบว่า วิภชชวาที มีปรกติตรัสจำแนก ถือว่าเป็นพระที่แม่จริง ท่านที่ตอบเป็นอย่างอื่น ถือว่าเป็นเดียรถีย์ปลอมบวช รับสั่งให้แจกผ้าขาวแก่คนเหล่านั้น ให้สึกออกไปจำนวนมาก
เมื่อได้มีการชำระสังฆมณฑลให้บริสุทธิ์แล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชจึงได้อาราธนาให้พระสงฆ์ทำอุโบสถสังฆกรรมกันตามปรกต ิโดยพระองค์ทำการอารักขาพระสงฆ์ทั้งปวงก็พร้อมเพรียงกันทำอุโบสถตั้งแต่นั้นมา พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระได้เลือกพระจำนวน ๑,๐๐๐ รูปเฉพาะท่านที่ทรงพระปริยัติ (เล่าเรียนพระธรรมวินัย) แตกฉานในปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานมี ๔ คือ ๑. แตกฉานในอรรถ ๒. แตกฉานในธรรม ๓.แตกฉานในนิรุกติคือ ภาษา ๔. แตกฉานในปฏิภาณ) และชำนาญในวิชชา ๓ ประชุมกันทำสังคายนาครั้งที่ ๓ ขึ้นที่อโศการามเมืองปาฏลีบุตร ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช ประเด็นสำคัญในตติสังคายนาคือ
๑. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน มีสังคีติกาจารย์เข้าร่วม ๑,๐๐๐ รูป ทำที่อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นองค์อุปถัมภ์ เริ่มทำปีพุทธศักราช ๒๓๔
๒. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้ยกเอาวาทะของนิกายต่าง ๆ ที่เผยแพร่กันในสมัยนั้นขึ้นวิพากย์เกือบ ๓๐๐ ข้อ ถือว่าเป็นความเห็นผิดจากพระพุทธศาสนา เป็นเหตุให้เกิดคัมภีร์ "กถาวัตถุ ในพระอภิธรรมปิฎก" ขึ้นทำให้คัมภีร์ในอภิธรรมปิฏกสมบูรณ์ในคราวนี้เอง
๓.รูปแบบการสังคายนาอย่างอื่นทำตามแบบที่พระสังคีติกาจารย์ในคราวปฐมสังคายนาท่านกระทำโดยใช้เวลานานถึง ๙ เดือน จึงสำเร็จ
๔.พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระพิจารณาเห็นว่า กาลต่อไปพระพุทธศาสนาจะไปตั้งมั่นนอกชมพูทวีป จึงได้จัดส่งพระเถระพร้อมด้วยบริวารไปเผยแผ่พระศาสนา ในส่วนต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย ๙ สาย (มีความโดยละเอียดในหัวข้อ "กาลต่อไปพระพุทธศาสนาจะไปตั้งมั่นนอกชมพูทวีป")
ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
-http://www.dhammathai.org/buddha/buddha.php-
ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข
"กาลต่อไปพระพุทธศาสนาจะไปตั้งมั่นนอกชมพูทวีป"
ในคราวสังคายนาพระพุทธศาสนา ครั้งที่ ๓ ดังได้กล่าวถึงมาแล้วข้างต้น พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระผู้เป็นประธานทรงเล็งเห็นการณ์ไกลอย่างยิ่ง โดยพิจารณาว่า กาลต่อไปพระพุทธศาสนาจะไปตั้งมั่นนอกชมพูทวีป จึงจัดส่งพระเถระพร้อมด้วยบริวารให้ไปเผยแฟ่พุทธศาสนา ในส่วนต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย ๙ สาย คือ
๑. พระมหินทเถระ พร้อมด้วยพระอิฏฏิยเถระ พระอุตติยเถระพระสัมพลเถระ พระภัททสาลเถระ และสุมนสามเณรไปเผยแผ่พระศาสนาที่เกาะลังกา ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ
๒.พระมัชฌันติกเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่แคว้นคันธาระและกาศมีระ ทรมานพวกนาคให้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา
๓. พระมหาเทวะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นมหิสสกมณฑล ได้แก่ แถบตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำโคธาวารี อันเป้นแคว้นไมซอร์ในปัจจุบัน
๔. พระรักขิตเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ วนวาสีประเทศ ได้แก่ แว่นแคว้นกนราเหนือ ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดียก่อให้เกิดวัดขึ้นถึง ๕๐๐ วัด ในดินแดนส่วนนี้
๕.พระโยนกธรรมรักขิต ซึ่งเป็นเถระอรหันต์ชนชาติกรีก ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ อปันตกชนบท เชื่อกันว่า ได้แก่ ดินแดนชายทะเลอันเป็นเมืองบอมเบย์ในปัจจุบัน
๖. พระมหารักขิตเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ โยนกประเทศคือดินแดนที่อยู่ในการยึดครองของผรั่งชาติ กรีก ในทวีปเอเชียตอนกลาง เหนืออิหร่าน ขึ้นไปจนถึงเตอรกีสถาน
๗. พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ อีก ๔ รูปคือ พระกัสสปโคตะ พระมูลกเทวะ พระทุนทภิสสร และพระเทวะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ดินแดนแถบภูเขาหิมาลัย
๘. พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนที่เรียกว่า สุวรรณถูมิ เชื่อกันว่าได้แก่ดินแดนที่เป็นจังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน
๙. พระมหาธรรมรักขิต ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่แว้นมหาราษฎร์ คือดินแดนแถบตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากเมืองบอมเบย์ในปัจจุบัน
การไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาของธรรมทูตทุกสาย เป็นการไปอย่างคณะสงฆ์ ซึ่งสามารถให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธาได้ มีหลักฐานซึ่งค้นพบที่จังหวัดนครปฐมระบุว่า พระโสณเถระกับพระอุตตรเถระมาประดิษฐานพระพุทธศาสนาในดินแดนส่วนนี้
พระพุทธศาสนาได้เจริญถึงขั้นสูงสุด โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ในโลกที่นับถือพระพุทธศาสนา และเผยแผ่พระพุทธศานาออกนอกชมพูทวีปสู่ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียแต่แล้วในกาลต่อมา พระพุทธศาสนาในดินแดนอินเดียค่อย ๆ เสื่อมแล้วได้มาสูญไปเกือบสิ้นเชิง เป็นเวลานานกว่า ๗๐๐ ปีที่พระพุทธศาสนาสูญไปจากประเทศนี้ จวบจนกระทั่งเมื่อประมาณ ๖๐ ปีที่ผ่านมามีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดียมากขึ้น มีชาวพุทธเพิ่มมากขึ้นมีการประมาณกันว่า ในปัจจุบันมีผู้นับถือพระพุทธศาสนา ในประเทศอินเดีย ๓๐-๔๐ ล้านคน จากจำนวนประชากรอินเดียประมาณเกือบพันล้านคน
ภัียอันตรายที่เป็นเหตุแห่งความเสื่อมของพระพุทธศาสนา ในอินเดียนั้น มีอยู่ ๒ ประเภทใหญ่ คือ ๑. ภัยภายใน ๒. ภัยภายนอก
ภัยภายใน เกิดจากพุทธบริษัท ๔ (ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา) โดยตรง พอจะจำแนกเป็น ๓ ประการคือ
๑. การเสื่อมทางศีลธรรมและการเสื่อมจากการบรรลุมรรคผลของชาวพุทธ
๒. ความแตกแยกทางนิกายและความขัดแย้งทางนิกาย
๓. ลัทธิมหายานและลัทธิตันตรยานเกิดขึ้น ทำให้เกิดพระสัทธรรมปฏิรูปต่าง ๆ ขึ้นในพระพุทธศาสนา
ภัยภายนอก การที่พระพุทธศาสนาต้องเสื่อมไปจากอินเดียนั้นหาได้เกิดจากภัยภายในอย่างเดัยวไม่ ภัยภายนอกก็จัดว่าเป็นอันตรายมากเช่นกันที่ทำให้พระพุทธศาสนาต้องเสื่อมไปจากดินแดนพุทธภูมิภัยภายนอกนั้นพอจะจำแนกได้ ๖ ประการคือ
๑. การปองร้ายของพวกพราหมณ์
๒.การฟื้นตัวใหม่ของพวกพราหมณ์
๓.การถูกศาสนาพราหมณ์กลืน
๔.การขาดราชูปถัมภ์
๕. การทำลายล้างของกษัตริย์ภายนอกพระพุทธศาสนา
๖. การทำลายล้างของพวกมุสลิม