บทที่หนึ่ง บทนำ
เนื้อหาของบทที่หนึ่งนี้ได้มาจากประมวลพระธรรมเทศนาของ
คยาล-วา -ตุปเต็น-คยา-โซ ทะไลลามะองค์ที่ ๑๓ ของธิเบต อันทรงแสดงไว้ใน วันเพ็ญปีใหม่ของชาวธิเบตในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. ๑๙๒๑ องค์ทะไลลามะ ได้ทรงเลือกมรณสติแบบนิกายกาดัมมาเป็นประเด็นเทศนาของพระองค์ ซึ่งนับว่ามีคุณค่าที่สมควรใช้เป็นบทแรกของหนนังสือเรื่องนี้ได้ เพราะ ทำให้เราเข้าใจมรณสติซึ่งเป็นพื้นฐานของพุทธศาสนาธิเบตทุกนิกาย ตลอดจนวิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติแบบพุทธ อันมีอยู่ทั่วไปตาม ประเพณีธิเบต เราจึงมองเห็นการปฏิบัติแบบพุทธทั้งในการปฏิบัติทาง จิตอย่างโดดเดี่ยวและการปฏิบัติเป็นส่วนหนึ่งของจารีตประเพณีของ ธิเบต ทะไลลามะองค์ที่ ๑๓ เป็นทะไลลามะองค์แรกที่ชาวตะวันตกรู้ จักกันอย่างดี รัชสมัยของพะองค์ดำเนินไปด้วยไม่ราบรื่นนัก เนื่องจาก ธิเบตเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่มหาอำนาจทั้สามคืออังกฤษ รัสเซียและจีน คิดช่วงชิงอยู่ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙o๔ อังกฤษตัดสินใจบุกธิเบตจากด้าน อินเดีย และสามารถขยายอำนาจไปได้ตลอดภาคกลางของเอเชีย ทำให้ ธิเบตต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีน ซึ่งอยู่ในอำนาจของอังกฤษ ที่น่าแปลกก็คือ
นายพันโทยังฮัสแบนด์ผู้นำกองทัพของอังกฤษ ได้เกิด บรรลุฌานลี้ลับขึ้นขณะที่อยู่ในธิเบต ประสบการณ์ครั้งนี้ทำให้ชีวิตของ เขาเปลี่ยนแปลงไป หลังจากที่เดินทางกลับประเทศอังกฤษได้ไม่นาน เขาก็ลาออกจากราชการทหารและอุทิศเวลาที่เหลืออยู่ตลอดชีวิตเพื่อ เขียนเรื่องจิตวิญญาณทะไลลามะองค์ที่ ๑๓ ประสูติเมื่อ ค.ศ. ๑๘๗๖ ในครอบครัวชาวนา อาจ เป็นเพราะทรงมีชาติกำเนิดอันต่ำต้อย จึงทรงสามารถเป็น
" องค์ทะไลลามะ ของประชาชน " อยู่ได้ตลอดกาล ธรรมเทศนาหลายบทของพระองค์ เป็น ธรมะที่ทรงแสดงต่อสาธารณชน สาวกของพระองค์มาจากชนทุกประเภท ธรรมเทศนาที่นำมาใช้เป็นพื้นฐานสำหรับบทนี้ เป็นธรรมะที่ทรงแสดงต่อ สาวกของพระองค์จำนวนมากกว่า ๒o , ooo คน เนื่องจากธรรมเทศนามุ่ง แสดงต่อนักวิชาการหรือโยคีผู้รอบรู้ และชาวบ้านทั่วไปในขณะเดียวกัน จึงมีลักษณะผสมผสานระหว่างความลุ่มลึกกับความเรียบง่าย จนเกิดความ งดงามที่เราเข้าใจได้ ดังปรากฏอยู่ในงานหลายชิ้นของพระองค์ นอกจาก นั้นยังทำให้ผู้อ่านเข้าถึงประเพณีธิเบตว่าด้วย
มรณสติ ตลอดจนเข้าใจความ เชื่อมโยงที่ประเพณีดังกล่าวมีต่อระบบการฝึกฝนตามแนวพุทธได้โดยง่าย
ความตายกับการฝึกฝนของพระโพธิสัตว์ ท่าน
โจโว อติษะ ผู้เป็นจุฑามณีแห่งปราชญ์ชาวพุทธในอินเดียและเป็นต้น ตำรับมุขปาฐบท (เรื่องราวที่เล่ากันมาจากปากสู่ปาก) ทั้งมวลของ
นิกายกาดัม ได้เคยกล่าวไว้ว่า
ชีวิตนี้สั้นนัก และมีเรื่องควรรู้อยู่มากหลาย แต่เมื่อใดจะถึงเวลาตาย เราย่อมไม่อาจรู้อยู่นั่นเองจึงควรทำตัวเยี่ยงหงส์ ที่คงแยกนมจากน้ำได้ สิ่งมีชีวิตเช่นเรากำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก เพราะถูกครอบงำด้วย
โลภะ โทสะ และโมหะ ยิ่งเราพยายามไขว่คว้าหาโลกียสุขในวัฏจักรแห่ง การเวียนว่ายตายเกิดมากเพียงใดเราก็ยิ่งผิดหวังขมขื่น และทุกข์ทรมาณมาก ขึ้นเพียงนั้น เราต้องดเวียนว่ายตายเกิดครั้งแล้วครั้งเล่า ภายใต้อวิชชาและกฏ ปฏิจจสมุปบาท แม้ว่าเราจะทุกข์ทรมาณอย่างไรก็ตาม เราก็ยังทำกรรมดีอยู่ บ้าง จึงได้เกิดมาเป็นมนุษย์ทำให้มีโอกาส
พากเพียรพัฒนาจิตวิญญาณ จนใน ที่สุดก็สามารถรู้แจ้งและบรรลุอนันตสุขได้ แต่ร่างมนุษย์อัประเสริฐของเรา นั้นไม่มีความจีรังยั่งยืน แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็ไม่อาจพยากรณ์ได้ว่า มนุษย์ แต่ละคนจะมีอายุยืนยาวอยู่ได้มากน้อยเพียงใด อีกไม่นานชีวิตของเราจะต้อง ดับสูญ เราจึงควรทำตัวเช่นหงส์ซึ่งหากจำต้องดื่มมผสมน้ำ ก็จะสามารถแยก ดื่มแต่นม โดยบ้วนน้ำทิ้งออกมาได้ ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อเราเรียนรู้วิธีปฏิบัติ ทางจิต การฝึกฝนแต่ละวันจะทำให้เราสามารถ
แยกเอาแต่น้ำนมแห่งคุณความ และความสุขสันต์ไว้ และบ้วนวิถีความชั่วอันนำเราไปสู่ความกลัดกลุ้มทรมาณ ทิ้งไป ในขณะนี้ เรามีสภาวะทั้งภายนอกและภายในที่สามารถบรรลุความรู้แจ้งและ ความสุขนิรันดร์ได้ เราไม่ควรปล่อยโอกาสนี้ผ่านเลยไปโดยคิดว่า " ฉันจะ ฝึกตนพรุ่งนี้หรือวันต่อไป " ไม่ควรหลงผิดแม้เพียงชั่วขณะไปกับความเกียจ คร้าน ซึ่งจะทำให้เราเคลิบเคลิ้มหมกหมุ่นกับการแสวงหาสิ่งที่ให้ประโยชน์ ชั่วคราวต่อชีวิตปัจจุบัน จนมองข้ามการบำเพ็ญเพียรทางจิต
เราควรตั้งสมาธิ จิตแน่วแน่เพื่อเข้าถึงแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์อันล้ำค่านี้ โดยการพยายาม บรรลุวิถีแห่งความรู้แจ้ง และภพภูมิอันสูงยิ่งขึ้น เมื่อวาระสุดท้ายมาถึง เรา ย่อมเผชิญความตายได้อย่างสงบมั่นคงแทนที่จะเสียอกเสียใจ ทุรนทุราย และ เราจะสามารถหาทางไปสู่การเกิดใหม่ที่มุ่งไว้ได้ เราควรถือว่าการบำเพ็ญ เพียรทางจิตให้ลุล่วงนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่สุด และต้องพากเพียรพยายาม ปฏิบัติธรรมให้จริงจังและบริสุทธิ์ให้มากที่สุด เพื่อบรรลุผลดังกล่าว
กล่าวกันว่า พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายได้ถูกเบียดเบียนจาก
มายา และอุปกิเลสวมถึง ๘๔, ooo ประเภท จึงทรงแสดงธรรม ๘๔, ooo หมวด เพื่อต่อต้านมายาและอุปกิเลสเหล่านั้น พระธรรมทั้ง ๘๔, ooo หมวด ประ มวลได้เป็นพระไตรปิฎก อันประกอบด้วย
พระวินัย พระสูตร และพระอภิ ธรรมตามลำดับ โดยเนื้อหาแล้ว
พระไตรปิฏกอาจสรุปลงได้เป็นไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา นอกจากนั้น หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าก็อาจ จัดแบ่งออกได้เป็นฝ่ายหินยานและฝ่ายมหายาน คำสอนของฝ่ายมหายาน มีเนื้อหารวมถึงคำสอนของปารมิตายานและวัชรยานอีกด้วย คำสอนของ
ปารมิตายานและวัชรยานถือว่าโพธิจิตที่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น เป็นประ ตูไปสู่ความรู้แจ้งและเป็นมรรควิถีอันประเสริฐสุดในการช่วยโลก สำหรับ ชาวพุทธมหายานทุกคน โพธิจิตคือกุญแจสำคัญในการปฎิบัติเมื่อมีผู้ถามท่าน
โจโว อตีษะ ถึงคุรุของท่านคือ
เซอร์ลิงปะ ( คุรุชาวอินโด นิเซียผู้มีนามว่า ธรรมกีรติ ) ท่านก็จะประนมมือบูชา น้ำตาไหลพราก และ ตอบว่า " จิตสำนึกแบบมหายานใดใดก็ตามที่ฉันได้บรรลุมาแล้ว ล้วนแต่เป็น เพราะเมตตากรุณาของท่านคุรุผู้ยิ่งใหญ่ท่านนั้น แม้ฉันจะพบท่านถึงวันละ ๑o ครั้ง ทุกครั้งท่านก็จะถามว่า
' จิตสำนึกแห่งความรู้แจ้งหรือโพธิจิตนั้น หล่อหลอมเข้าไปนความคิดของเจ้าหรือยัง ' สิ่งที่ท่านเน้นความสำคัญเป็น เบื้องแรกและมากที่สุดเสมอก็คือเรื่อง
การพัฒนาโพธิจิต "
ดังนั้น แม้พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนเรื่องการปฏิบัติ ๘๔, ooo ประการก็ ตาม ในฐานะที่เาเป็นชาวพุทธมหายาน เราจึงควรใฝ่ใจเรื่อง
การพัฒนา โพธิจิต จิตสำนึกของพระโพธิสัตว์ในการรู้แจ้ง การวางอุเบกขา ความ เมตตากรุณา และความเข้าใจถึงใเขาใจเรา ซึ่งทำให้เป็นสัพพัญญูโดยสม บูรณ์ เพื่อประโยชน์ของสิ่งมีชีวิตทั้งปวง คัมภีร์ เคล็ดวิชาการฝึกจิต ๗ ประการ ซึ่งรวบรวมคำสอนปากเปล่าของท่านคุรุเซอร์ลิงปะที่มีต่อท่าน อตีษะ ได้กล่าวถึงธรรมชาติของโพธิจิตไว้ว่า
โพธิจิตเป็นประดุจวัชระ ( คทาเพชร ) ดวงอาทิตย์และต้นสมุนไพร ในการฝึกจิต
โพธิจิตย่อมเป็นเสมือนเพชร เพชรสามารถทำลายความยาก จน และตอบสนองความจำเป็นทุกอย่างได้ฉันใด
โพธิจิตก็สามารถทำลาย ความยากจนทางจิตวิญญาณและตอบสนองความต้องการทางจิตได้ฉันนั้น
สะเก็ดเพชรชิ้นน้อยนิดย่อมมีค่าเหนือกว่าพลอยเม็ดใหญ่มากนัก โพธิจิตเปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ที่กำลังขับไล่ความมืด ยามอาทิตย์อุทัย รัตติกาลจะอยู่อย่างไร ดวงอาทิตย์โผล่พ้นเหนือโลกและสาดแสงไปทั่ว ปฐพีฉันใด
จิตแห่งโพธิสัตว์ในกายเราก็เป็นอาทิตย์อุทัยภายในฉันนั้น
โพธิจิตยังอาจเปรียบได้กับต้นสมุนไพรที่สามารถต้านทานพิษของโรคภัย ไข้เจ็บได้ถึง ๔o๔ ชนิด องค์ประกอบของมันเช่น ใบและผลสามารถรักษา โรคบางชนิดได้ด้วย ถ้าเราพัฒนา
โพธิจิตภายในตัวของเราแล้ว เราย่อมหาย ขาดจากโรคทางใจทุกชนิด และสามารถบรรลุความรู้แจ้งได้ในที่สุด แม้ แต่การพัฒนาจิตของพระโพธิสัตว์เพียงไม่กี่แขนง ก็อาจทำให้เราหายป่วย จากโรคทางใจได้เช่นกัน
การสร้างสรรค์พื้นฐานของโพธิจิตอันเอื้ออาทรต่อผู้อื่น หมายถึงการได้ รับฉายาเป็นพระโพธิสัตว์ เราอาจฝึกฝนคุณธรรมอื่น ๆ มานานหนักหนา เช่น ปฏิบัติสมาธิและทำจิตว่าง อันเป็นผลจากการฝึกฝนให้เกิดปัญญา ชั้นสูง การปฏิบัติเหล่านี้อาจทำให้บรรลุความเป็นพระอรหัตสาวกหรือ ความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แต่ผู้ที่ได้ฝึกฝน
จิตสำนึกของพระโพธิสัตว์ ย่อมก้าวพ้นความชำนาญในขั้นต่ำกว่าเหล่านี้โดยอาศัยธรรมชาติอันแท้ จริงของตน
โพธิจิตมีอำนาจแฝงที่สามารถรักษาความกลัดกลุ้มหลงผิด ของจิต เช่น ความยึดมั่นในตัวตนและในปรากฏการต่าง ๆ ให้หายได้ เนื่องจาก
โพธิจิตสามารถรักษาจิตให้รอดพ้นจากรากเหง้าของความทุกข์ ในวัฏสงสาร
โพธิจิตจึงเป็นโอสถอันวิเศษที่สามารถถอนพิษความเดือด ร้อนตามปกติในสังคมมนุษย์และสามารถแก้ไขปัญหาทางจิตที่ลึกล้ำยิ่ง กว่านั้นได้
การฝึกฝนจิตตามจารีตนิยม ได้แก่
การมีความอดทนและความเมตตา กรุณาเป็นต้น และ
การฝึกฝนโพธิจิตในขั้นปรมัตถ์ ได้แก่ การพยายาม ให้เกิดปัญญาล่วงรู้ความว่าง ( ศูนยตา ) ซึ่งเป็นการมองเห็นธรรมชาติ อันแท้จริงและลึกซึ้งที่สุดของจิต กาย และโลกภายนอก เมื่อเราบรรลุ โพธิจิตขั้นปรมัตถ์แล้ว เราย่อมหลุดพ้นจากโลกแห่งความทุกข์และ ความสับสบวุ่นวายนี้ได้อย่างสิ้นเชิง เราจะกลายเป็นพระอริยะผู้อยู่เหนือ โลก และเป็นอิสระจากกรงเล็บแห่งสังสาระ และเมื่อเราฝึกฝนโพธิจิต ตามจารีตนิยมได้สำเร็จ เราก็จะกลายเป็น
สัพพัญญู มีอำนาจของพระ พุทธเจ้าอย่างสมบูรณ์ในกาย วาจา ใจ วิธีการบรรลุโพธิจิตจึงมีคุณค่า อย่างที่สุด และเราควรพากเพียรทุกวิถีทางให้บรรลุ
โพธิจิตทั้งในแง่ จารีตนิยมและในแง่ปรมัตถ์คัมภีร์ เคล็ดวิชาการฝึกจิต ๗ ประการ กล่าวถึงการฝึกฝนให้บรรลุ โพธิจิตทั้งในแง่จารีตนิยมและในแง่ปรมัตถ์ ดังต่อไปนี้
ในเบื้องต้น เราต้องแสวงหาครูผู้ฝึกที่มีคุณสมบัติพร้อม และสืบทอด ความรู้มาจากคุรุดั้งเดิม เราควรเลือกครูผู้ฝึกอย่างพิถีพิถัน เมื่อเริ่มฝึก ก็ควรพยายามสร้างทัศนคติที่ถือว่า
ครูหรือคุรุท่านนั้นเป็นองค์รวมของ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ จะต้องถือว่าคุรุ ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง คือองค์พุทธะผู้ปรากฏเป็นคนธรรมดาเพื่อฝึกฝนมนุษย์ให้บรรลุตาม ให้ เอาใจใส่ต่อสิ่งที่ท่านสั่งสอนโดยเคร่งครัด พยายามปรนนิบัติท่าน ๓ วิธี คือ
อุทิศตนเพื่อท่าน เอาใจใส่ท่าน และปฏิบัติตามคำสอนของท่าน อย่างจริงใจ การสร้างความสัมพันธ์ด้วยการทำงานร่วมกับครูผู้ฝึก เป็น พื้นฐานของการฝึกฝนอื่น ๆ ทั้งหมด ความสัมพันธ์จากการทำงานด้วย กันนี้เป็นหัวใจของวิธีบรรลุความรู้แจ้ง ถ้าเราต้องการจะเป็นโพธิสัตว์ ผู้ยิ่งใหญ่ ในเบื้องแรกเราต้องเรียนรู้วิธีต่าง ๆ ในการบรรลุขั้นตอนของ พระโพธิสัตว์ จากนั้นเราต้องปฏิบัติตามคำชี้แนะที่มีประสิทธิภาพ ถ้า เรามีทัศนคติไม่สอดคล้องกับการฝึกย่อมเกิดผลคืบหน้าได้ยาก
ในขั้น สุดท้าย ผู้ฝึกจะต้องถือว่าครูผู้สอนคือองค์ปรากฏของพระพุทธเจ้าทุก พระองค์ด้วย ประการต่อไป ได้แก่การทำสมาธิแน่วแน่อยู่ที่ธรรมชาติอันมีค่ายิ่งของ ชีวิตมนุษย์ เราต้องเรียนรู้ที่จะชื่นชมลักษณะพิเศษของการดำรงชีวิต และโอกาสในการฝึกฝนจิตที่เราได้จากการดำรงชีวิตนี้ คัมภีร์เรื่อง ประ มวลสิ่งมีค่า กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
โดยอาศัยการฝึกจิต เราย่อมสลัดทิ้งพันธนาการทั้งแปด อันเป็นธรรมชาติของสัตว์ทั้งหลาย และเราย่อมบรรลุความหลุดพ้นทั้งแปดกับพรทั้งสิบ ความหลุดพ้น ๘ ประการที่มนุษย์ต้องการ เป็นสิ่งตรงกันข้ามกับพันธนา การทั้งแปด พันธนาการ ๔ ประการ เปรียบได้กับสภาวะทั้งสี่ของอมนุษย์ อันได้แก่
ความทุกข์ของสัตว์นรก ความอยากกระหายของเปรต ความโง่ เขลาเบาปัญญาของสัตว์เดรัจฉาน และความไม่อิ่มในกามกับความเฉื่อยชา ของทวยเทพในสังสารวัฏที่บริบูรณ์ไปด้วยโลกียสุข ส่วนพันธนาการอีก ๔ ประเภทคือ
สภาวะของมนุษย์อันไม่ปรารถนา อันได้แก่
การเกิดเป็นคนป่า เถื่อนในดินแดนที่ปราศจากความรู้เรื่องจิต ความพิกลพิการไม่สมประกอบ ต่าง ๆ เช่น เป็นคนปัญญาอ่อนหรือวิกลจริต การเกิดในยุคที่ปราศจากคำ สอนเรื่องจิต และการดำรงชีวิตอยู่ภายใต้อิทธิพลของความคิดที่เป็นปฏิปักษ์ กับธรรมชาติของจิตวิญญาณ ถ้าเราเป็นอิสระจากพันธนาการเหล่านี้ได้ ก็ นับว่ามีโชคดีอยู่มาก
ส่วนพร ๑o ประการอาจแบ่งออกได้เป็น ๒ หมวด คือ หมวดส่วนบุคคล และหมวดสิ่งแวดล้อม สำหรับหมวดแรก
ท่านนาคารชุนได้บรรยายไว้เป็น ร้อยกรองว่า
กำเนิดเป็นมนุษย์ สุดประเสริฐในแดนอารยะ มีอวัยวะครบถ้วน ล้วนปลอดพ้นอกุศลกรรมใฝ่ธรรมฝึกจิตคือสัมฤทธิ์พรทั้งห้าประการ