พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 172
นี้ คาถามีชื่อว่า ปุจฉุตคาถา เพราะเป็นคาถาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าถูก
เทพบุตรทูลถามแล้วจึงตรัสตอบ. ก็คาถานี้ บอกคนที่ไม่ควรคบ ในคนที่
ควรคบและไม่ควรคบ แล้วจึงบอกคนที่ควรคบ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ฉลาด
รู้จักทาง รู้จักทั้งที่มิใช่ทาง ถูกถามถึงทาง จึงบอกทางที่ควรละเว้นเสียก่อน
แล้ว ภายหลังจึงบอกทางที่ควรยึดถือไว้ว่า ในที่ตรงโน้นมีทางสองแพร่ง.
ในทางสองแพร่งนั้น พวกท่านจงละเว้นทางซ้ายเสียแล้ว ยึดถือเอาทางขวา
ฉะนั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นเสมือนบุรุษผู้ฉลาดในทางอย่างที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนติสสะ คำว่าบุรุษผู้ฉลาดในทางนี้เป็นชื่อ
ของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. จริงอยู่ตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ฉลาดรู้โลกนี้ ฉลาดรู้
โลกอื่น ฉลาดรู้ถิ่นมัจจุ ฉลาดรู้ทั้งมิใช่ถิ่นมัจจุ ฉลาด
รู้บ่วงมาร ฉลาดรู้ทั้งมิใช่บ่วงมาร.
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสบอกถึงบุคคลที่ไม่ควรคบ
ก่อน จึงตรัสว่า การไม่คบพาล การคบบัณฑิต ความจริงคนพาลทั้งหลาย
ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้เหมือนทางที่ควรละเว้น แต่นั้น ก็ควรคบ ควร
เข้าใกล้แต่บัณฑิตเหมือนทางที่ควรยึดถือไว้. ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ก็เพราะเหตุไร
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสมงคล จึงตรัสการไม่คบพาลและการคบบัณฑิตก่อน
ขอชี้แจงดังนี้ เพราะเหตุที่พวกเทวดาและมนุษย์ยึดความเห็นว่ามงคลในสิ่งที่
เห็นแล้วเป็นต้นนี้ ด้วยการคบพาล ทั้งการคบพาลนั้น ก็ไม่เป็นมงคล ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงติเตียนการสมคบกับคนที่มิใช่กัลยาณมิตร ซึ่งหัก
รานประโยชน์ทั้งโลกนี้และโลกหน้าและทรงสรรเสริญการสมาคมกับกัลยาณมิตร
ซึ่งให้สำเร็จประโยชน์ในโลกทั้งสอง จึงตรัสการไม่คบพาลและการคบบัณฑิต
ก่อน แก่เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 173
สัตว์ทั้งหลายทุกประเภท ผู้ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถมีปาณาติบาต
เป็นต้น ชื่อว่า พาล ในจำนวนพาลและบัณฑิตนั้น. พาลเหล่านั้น จะรู้
ได้ก็ด้วยอาการทั้งสาม เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้. พระสูตรว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พาลลักษณะของพาล ๓ เหล่านี้. อนึ่ง ครูทั้ง ๖ มี
ปูรณกัสสปเป็นต้น และสัตว์อื่น ๆ เห็นปานนั้นเหล่านั้น คือ เทวทัต โกกาลิกะ
กฏโมทกะ ติสสขัณฑาเทวีบุตร สมุทททัตตะ นางจิญจมาณวิกา
เป็นต้น และพี่ชายของทีฆวิทะ ครั้งอดีตพึงทราบว่า พาล.
พาลเหล่านั้น ย่อมยังตนเองและเหล่าคนที่ทำตามคำของตนให้พินาศ
ด้วยทิฏฐิคตะความเห็นที่คนถือไว้ไม่ดี ดังเรือนที่ถูกไฟไหม้ เหมือนพี่ชาย
ของทีฆวิทะ ล้มลงนอนหงาย ด้วยอัตภาพประมาณ ๖๐ โยชน์ หมกไหม้อยู่
ในมหานรก อยู่ถึง พุทธันดร และเหมือนตระกูล ๕๐๐ ตระกูล ที่ชอบ
ใจทิฏฐิความเห็นของพี่ชายของทีฆวิทะนั้น เข้าอยู่ร่วมเป็นสหายของพี่ชายของ
ทีฆวิทะนั่นแหละ หมกไหม้อยู่ในมหานรกฉะนั้น. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาค
เจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฟลามจากเรือนไม้อ้อหรือ
เรือนหน้า ย่อมไหม้แม้เรือนยอด ซึ่งฉาบไว้ทั้งข้าง
นอกข้างใน กันลมได้ ลงกลอนสนิท ปิดหน้าต่างไว้
เปรียบฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยทุกชนิด ย่อม
เกิดเปรียบฉันนั้นเหมือนกัน ภัยเหล่านั้น ทั้งหมดเกิด
จากพาล ไม่เกิดจากบัณฑิต. อุปัทวะทุกอย่างย่อม
เกิด ฯลฯ อุปสรรคทุกอย่างย่อมเกิด ฯลฯ ไม่เกิดจาก
บัณฑิต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดังนั้นแลพาลเป็นภัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 174
บัณฑิตไม่เป็นภัย พาลอุบาทว์ บัณฑิตไม่อุบาทว์
พาลเป็นอุปสรรค บัณฑิตไม่เป็นอุปสรรค ดังนี้.
อนึ่ง พาลเสมือนปลาเน่า ผู้คบพาลนั้น ก็เสมือนห่อด้วยใบไม้ที่ห่อ
ปลาเน่า ย่อมประสบภาวะที่วิญญูชนทอดทิ้ง และรังเกียจ. สมจริงดังที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน โย นโร อุปนยฺติ
กุสาปิ ปูตี วายนฺติ เอวํ พาลูปเสวนา.
นรชนผู้ใดผูกปลาเน่าด้วยปลายหญ้าคา แม้หญ้า
คาของของนรชนผู้นั้น ก็มีกลิ่นเน่าฟุ้งไปด้วย การคบ
พาลก็เป็นอย่างนั้น.
อนึ่งเล่า เมื่อท้าวสักกะจอมทวยเทพประทานพร แก่กิตติบัณฑิต ก็
กล่าวอย่างนี้ว่า
พาลํ น ปสฺเส น สุเณ น จ พาเลน สํวเส
พาเลนลฺลาปสลฺลาปํ น กเร น จ โรจเย.
ไม่ควรพบพาล ไม่ควรพึง ไม่ควรอยู่ร่วมกับพาล
ไม่พึงทำการเจรจาปราศรัยกับพาล และไม่ควรชอบใจ.
ท้าวสักกะ ตรัสถามว่า
กินฺนุ เต อกรํ พาโล วท กสฺสป การณํ
เกน กสฺสป พาลสฺส ทสฺสนํ นาภิกงฺขสิ.
ท่านกัสสปะ ทำไมหนอ พาลจึงไม่เชื่อท่าน
โปรดบอกเหตุมาสิ เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่อยากเห็น
พาลนะท่านกัสสปะ.
http://www.samyaek.com/pratripidok/index.php?topic=448.0