พฤติกรรม คนในเว็ป ตามหลักสุนทรียสนทนา (...)
บทความจาก
WWW
http://gotoknow.orgPage Visits: 211 พฤติกรรม คนในเว็ป ตามหลักสุนทรียสนทนา เคารพความแตกต่างประสบการณ์ เป็น web master ของผม
ผมดูแล เว็ป เล็ก ๆ ชื่อ
http://managerroom.com เป็นเว็ปแบบ บอร์ดทั่วๆไป เช่นเดียวกับพวก pantip.com ที่ผมเข้าไปแจมอยู่เสมอๆ
คนที่โพสต์เข้ามามีหลายจำพวก ได้แก่
(ก) อ่านแล้ว จิตเกิด ยินดี ร่วมวง กระโดดใส่ รีบไปคว้า
(ข) อ่านแล้ว จิตเกิด แต่ เป็นแบบอกุศล คือ เข้า ขย้ำ กัดแหลก
(ค) อ่านแล้ว ไม่อยาก เสนออะไร ใบ้ๆ เงียบ เอาตัวรอดดีกว่า เกิด ความอาย กลัว ไม่กล้าแสดงออก
คนไทยใช้เว็ป จะแสดง กำพืดออกมามากมาย เช่น สำนวนโหดๆ การเพ่งโทษ การยกตนข่มท่าน การคาดหวังให้คนมาชื่นชม การเยินยอ การแบ่งพรรคพวก ฯลฯ นี่ สะท้อน ลักษณะของการศึกษา ที่ เป็นแบบ Format หรือ แบบ Industrial เป็นการศึกษาที่ไม่เข้าถึง แก่นของ ไตรสิกขา นั่นคือ ไม่เป็น Natural
อย่างไรก็ตาม ผมได้ ข้อคิด ของผมเองดังนี้
โดยถ้าเราพิจารณา ตาม หลักการของ Dialogue ที่มี ๔ ระดับ ของ การสนทนา
. เราจะพบว่า
(ก) ระยะแรก : คนที่ เงียบ เอาแต่ อ่านๆๆๆ หรือ โพสต์ๆๆๆ ไม่สนใจใคร วันๆเอาห่วงว่า จะมีใครมาอ่านไหม เอาตัวกู ของกู เป็นสำคัญ หรือ วันๆ จิตใจจดจ่อ วันนี้ จะโพสตื จะเขียนอะไรดี เห็น เว็ป เป็น ยาที่ขาดไม่ได้ ฯลฯ ตัวใคร ตัวมัน ต่างคนต่างโพสต์ เอาผลงานโพสต์ไปเป็นดัชนีวัดผลงาน
(ข) ระยะสอง : คนพวกนี้ จะ เชียร์ จะโต้แย้ง แต่ ก็จะใช้ ระดับของจิตที่เกิดแรง ระดับ เบต้า รัก ชอบ ชัดเจน แบ่งกลุ่ม ผลที่ตามมา คือ บ้างได้เพื่อน บ้างได้ศัตรูในเว็ปนี่เอง บ้างได้อกุศล บ้างได้กุศล หลายคน งอน ไม่กลับมาที่เว็ปอีกเลย หลายคนประกาศ กร้าว ฉันไม่คบกับแก แกอย่ามาโพสต์ อีกนะ คนใน สองระดับนี้ ยังไม่พัฒนาตามแนว สุนทรียสนทนา (Dialogue) เลยครับ
(ค) ระยะสาม : เป็นระยะ ที่เหนือ การสนทนาทั่วไป เข้าสู่ สุนทรียสนทนา คือ เริ่ม รับฟังทางลึก (deep listening) เริ่มเคารพตัวตนของคนอื่น เคารพในความคิดของคน มองคนในแง่ปัจเจกชน เริ่มย้อนดูตนเอง เริ่ม เฉลียวใจ เช่น เอ๊ะ หรือ ที่เขาบอกเล่า จะมีมูล เริ่มมีคำถามในใจ เริ่มกลับไปทำงานแต่ คำถามก็ตามไปให้ย่อย ให้ขบ เริ่มมองคนที่คิดต่างว่าเป็นคนที่มีพระคุณ เริ่มอยาก ลองทำ เริ่มอยากแปลง ข้อมูล เป็นปฏิบัติ
การจะเข้ามาสู่ ระรยะสามนี้ คงต้องผ่าน การฝึก เพราะ เป็น ทักษะ สำคัญของ LO & Km
การรู้เท่าทัน เสียงภายใน (Inner voice) / เสียงแห่งการพิพากษา (Voice of judgement) / ความคิดที่เป็นสังขาร การปรุ่งแต่ง วิตก (คิดฟุ้งซ่าน ไปใน อนาคต) วิจารณ์ (เพ่.งโทษ เทียบกับกติกาของตน หาข้อผิดคนอื่น) นี่แหละ คือ การมีสติ รู้เท่าทัน จิต และ ความคิด
การสนทนาในระดับ สุนทรียสนทนา จัดเป็นการปฏิบัติธรรม ในแนว มหาสติปัฏฐานสี่ เพราะ เราต้อง ดูจิต ขณะสนทนา ดูตัวเราเองบ่อย ๆ (โอปนยิโก) ใช้ โยนิโสมนสิการให้มากๆ
คนเป็น Web master เอง ก็ต้อง มีทักษะในระดับสามนี้เป็น อย่างน้อย จึงจะ รักษาบรรยากาศการเรียนรู้ ในเว็ปได้
(ง) ระยะสี่ : สนทนากันแบบ Flow ไหลลื่น ขัดแย้งแต่ไม่ขัดใจ นี่แหละ เป็น เกลียวความรู้ แม้คนที่ดูจะไร้สาระ ก็อาจจะกลายเป็นคนที่ สะกิดต่อมความรู้ออกมาได้ บรรยากาศแบบ Team learning ดีมาก Mental model น้อยมาก คิดต่างกันแต่ก็รักกัน เป้าหมายเดียวกัน Share vision ร่วมกัน คิดเพื่อการ รักษ์โลก รักเพื่อนมนุษย์ (System thinking) ฯลฯ
สุดท้ายนี้ เราลองมาพิจารณาตัวเราเอง ( Hansei ตัวของเราเอง ) สำรวจตัวเราเองว่า ทักษะในการสนทนาของเรา อยู่ใน ระดับไหน และ จงให้ อภัย คนที่เขา ยังอยู่ในระดับ 1 และ 2
คำหลัก: สุนทรียสนทนา
โดย คนไร้กรอบ บล็อก (สมุด) คนไร้กรอบ
http://www.netforhealth.net/rdhc/index.php?option=com_fireboard&Itemid=49&func=view&catid=52&id=5449