ก่อกำเนิดโพธิจิต การที่จะมุ่งไปบนหนทางธรรมได้ เราจำเป็นต้องมีจุดมุ่งหมายดุจดัง
ลูกศร ที่พุ่งเข้าหาเป้า โดยผ่าน
โพธิจิตนี้เอง คือประตูลำดับถัดไปที่จะเปิดไปสู่ การปฏิบัติในสายมหายานและวัชรยาน เรายังคงเล็งไปที่เป้าแห่ง
การตรัสรู้ เพื่อยังประโยชน์แก่ผู้อื่นในทุก ๆ ขณะแห่งการปฏิบัติ นี่คือจุดมุ่งหมายอัน ประเสริฐสุดเท่าที่มีอยู่
โพธิจิตคือ
รากฐานของทุกสิ่งที่เราทำ ดุจดังรากของพืชสมุนไพรซึ่งทุกสัด ส่วนไม่ว่าจะเป็นกิ่ง ใบ หรือดอก ล้วนมีสรรพคุณทางยาสิ้นความบริสุทธิ์ เพียบเพร้อมในการปฏิบัติของเราขึ้นอยู่กับ
การใช้ทุกอุบายวิธีอย่างเต็มเปี่ยม ด้วยโพธิจิต นี่เองทุกสิ่งย่อมดำเนินไปด้วยดี ทว่าหากปราศจากโพธิจิตเป็น รากฐานแล้ว ก็หามีสิ่งใดอาจสำเร็จผลไม่
ด้วยเหตุนี้เองตั้งแต่แรกที่เราได้สดับธรรม เราจึงถูกกำชับ
ให้ถือเอาการช่วย ปลดปล่อยสรรพสัตว์ออกจากห้วงทุกข์เป็นจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติ เรา กระทำตนให้เป็นผู้สมควรแก่การปฏิบัติธรรม โดยการหันเหออกจากความ เห็นแก่ตนไปสู่
ความเอื้อเฟื้อแผ่กว้างโพธิจิตนั้นมีองค์สามด้วยกัน คือการแผ่ความกรุณาออกสู่มวลหมู่สัตว์ผู้ได้ รับทุกข์ ตั้งปณิธานที่จะบรรลุธรรมเพื่อที่จะบรรลุถึงภูมิธรรมอันสามารถที่ จะช่วยเหลือสัตว์โลก ซึ่งเรียกว่า
ฉันทะโพธิจิต กับความพากเพียรในหน ทางธรรมเพื่อจะได้บรรลุถึงพระนิพพาน ซึ่งเรียกว่า
วิริยะโพธิจิต คำภาษาทิเบตซึ่งใช้เรียก
โพธิจิตคือ
จังชุบเซม จัง หมายถึง
การไถ่ถอนความ มืดมัว ชุบ คือ
การเผยถึงคุณลักษณ์อันบริบูรณ์ภายใน และ
เซม คือ
จิต โดย การปฏิบัติโพธิจิต เราได้ขจัดความมืดมัวและเสริมกุศลนิสัย ซึ่งจะเผยถึงจิต แห่งพุทธะความมืดมัวแห่งดวงจิตอาจเปรียบได้กับตะกอนดินที่เคลือบแก้วผลึกซึ่งจม อยู่ในพื้นปฐพี ถ้าเราหยิบดวงแก้วนั้นขึ้นมา มันก็ดูเหมือนลูกดินธรรมดา ทว่าธาตุลักษณ์ดั้งเดิมของมันก็หาได้ลดทอนลงไม่ มันเพียงแต่มืดมัวเคลือบ คลุมไปเท่านั้น ถ้าหากเราชำระล้างตะกอนดินออก แก้วผลึกก็จะกลับใส กระจ่าง ธาตุลักษณ์ของมันก็ย่อมเผยปรากฏ ในทำนองเดียวกัน โดยการ ชำระล้างความมืดมัวในดวงจิต เราก็ได้เผย
ธรรมชาติเดิมแท้อันกระจ่างใส ให้ปรากฏเรามักจะมองหาแก่นแท้นี้จากภายนอก แม้ว่ามันจะดำรงอยู่ภายใน เหมือน กับการเที่ยวตามหาอาชาที่หายไป แกะรอยตามไปในป่า ที่สุดก็พบว่าม้านั้น อยู่ในคอกมาโดยตลอด
ความกรุณาอันเป็น
องค์แรกของโพธิจิตนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่ภายในตัวเรา แล้วและถึงแม้ว่าเราจะเป็นผู้มีน้ำใจดีงาม ทว่าคุณสมบัติดังว่าก็ยังมีขอบ เขตจำกัดอยู่ อาศัยการปฏิบัติ เราก็อาจ
แผ่ความกรุณาอันไพศาลออกมา จังชุบเซม เป็นทั้ง
อุบายวิธีและ
มรรคผลของการปฏิบัติธรรมโดยอาศัย แรงโน้มเหนี่ยวจากโพธิจิต พลังแห่งปณิธานมุ่งหวังที่จะปลอดปล่อย สัตว์โลกให้พ้นทุกข์ แก่นแท้ของดวงจิตอันเจิดจรัสดุจดวงอาทิตย์ย่อม เผยออกอย่างหมดจด และ
การุณยกิจเพื่อผู้อื่นย่อมอุบัติขึ้นอย่างเป็นธรรม ชาติ ดุจดังแสงสุริยาฉายที่อาบไล้อยู่บนผิวน้ำและบนนาวาทุกลำเราเริ่มปฏิบัติ
จัง อันได้แก่
การไถ่ถอนความมืดมัวออกจากดวงจิต ด้วย การลดทอนการให้ค่าแก่ตัวเองลง และ
หันไปใส่ใจต่อผู้อื่น นิสัยที่จดจ่อ สนใจอยู่แต่ตัวเองนั้นได้สั่งสมมาแล้วในอดีตชาติสุดประมาณนับ อันส่ง ผลให้เราติดกับอยู่ในวัฏสงสาร พระพุทธองค์ได้ทรงขจัดเสียสิ้นซึ่งความ เห็นแก่ตัวและความคิดอย่างสามัญ
ได้สั่งสมกรุณาบารมีอันบรรลุถึงพระ นิพพานการจะบรรลุถึง
โพธิจิตปณิธานได้ จำต้องอาศัยคุณธรรมสี่ประการซึ่งเรียก ว่า
พรหมวิหารสี่ แรกสุดคือ
อุเบกขา อันได้แก
่การถือว่าสัตว์ทั้งหลาย เสมอกัน ถ้าหากเรามีชีวิตอยู่อย่างปาศจากอคติโดยไม่แบ่งแยกในดวงจิต ระหว่างมิตรและศัตรู เมื่อนั้นเราก็ได้เข้าถึงแก่นแท้แห่งภาวะการดำรง อยู่ และเท่ากับได
้ปลูกฝังเมล็ดพันธุ์แห่งอิสรภาพ และความสุขทั้งของ ตนเองและผู้อื่น ความรัก ความกรุณาของเราในบัดนี้แผ่ไปถึงคนบางคนในบางสภาพการณ์ เท่านั้น คือคนในครอบครัว มิตรสหายและคนที่เรารัก แต่มิได้เลยไปถึงผู้ ที่เราถือว่าเป็นศัตรู เราอาจมิได้มุ่งร้ายหมายขวัญต่อคนพาลหรือคนไม่น่ารัก แต่ก็คงยิดีอยู่ลึก ๆ หากมีเรื่องร้าย ๆ อุบัติขึ้นกับเขา ความกรุณาที่เรามีต่อ เด็กที่เจ็บไข้ได้ป่วยอาจเกิดขึ้นจากความรักความผูกพัน ทว่าโดยการฝึกฝน
อุเบกขา เราย่อมบ่มเพาะ
การุณยกิจอันสูงส่งต่อสัตว์ทั้งมวลโดยไม่แบ่งแยก จากส่วนลึกของดวงใจ จนกว่าดวงใจของเราจะบริสุทธิ์เยี่ยงนี้ หาไม่การ ปฏิบัติของเราก็ยังคงเป็นแค่สิ่งผิวเผิน เรายังหาได้เข้าใจถึงจุดประสงค์แห่ง หลักธรรมอย่างแท้จริงไม่
เราอาจบ่มเพาะ
อุเบกขาขึ้นได้ แรกสุดก็โดยการตระหนักว่าสัตว์ทั้งมวล ล้วนต้องการจะมีสุข ไม่มีผู้ใดปรารถาทุกข์ ประการต่อมาคือ เราต้องคิด พิจารณาให้เห็นว่า
สัตว์ทั้งมวลในชาติภพอันสุดประมาณนั้น ย่อมมีครั้งใด ครั้งหนึ่งที่เคยเป็นมารดาผู้ให้กำเนิดเรามาก่อน องค์ศากมุนีพุทธรวมทั้ง เหล่าพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์องค์อื่น ๆ ผู้สามารถชำระล้างมลทิน ออกจากธรรมชาติอันแจ่มกระจ่างแห่งดวงจิตจนบรรลุถึง
สัพพัญญุตาญาณ ได้สอนไว้ว่า
ไม่มีแม้แต่ดวงชีวิตเดียวที่มิได้เคยเป็นบิดามารดาของเรามา ก่อน นี้ก็เช่นกัน เป็นสิ่งที่เราอาจตระหนักรู้ได้ หากสามารถชำระล้างจิต จนผ่องแผ้ว ทุก ๆ ชีวิตแม้จะเป็นอริกับเราเพียงใดก็ตามในบัดนี้ ล้วน เคยรักเมตตาเรามาก่อนดุจดังบิดามารดาในชาตินี้ ผู้ที่บัดนี้ดูเหมือนจะ คอยเบียดเบียนกลั่นแกล้งในละครแห่งชีวิตของเรา
ล้วนแต่เคยรักและ ช่วยเหลือเกื้อกูลมาก่อนการจะปลูกฝังความรู้สึกซาบซึ้งใน
ความเมตตานี้ได้ เราจำต้องระลึกถึง พระคุณอันใหญ่หลวงของบิดามารดา ประการแรกสำคัญที่สุดคือท่านได้ มอบกายมนุษย์ให้แก่เรา ตอนที่เราสิ้นชีวิตลงในชาติที่แล้วดวงจิตของเรา ดิ่งเข้าสู่
แดนบาร์โด อันเป็นภพเนื่องต่อระหว่างความตายกับการเกิดใหม่ ซึ่งน่าหวาดหวั่นและปั่นป่วนสับสนยิ่ง เราจะถูกพัดพาไปดุจขนนกในสาย ลม โดยปราศจากสิ่งยึดเหนี่ยว ได้ยินเสียงและแลเห็นภาพอันน่าหวาด หวั่น จนที่สุดเราก็ได้พบที่พำนักพักพิงอันอบอุ่นปลอดภัยในครรภ์มารดา ในช่วงกาลปฏิสนธิ นับแต่นั้นมาที่
แม่ของเราต้องอุ้มท้องอยู่เป็นเวลานาน เก้าถึงสิบเดือน ต้องลำบากยากเข็ญหรือแม้กระทั่งป่วยไข้เพื่อที่จะให้กำ เนิดเรามาเป็นมนุษย์ยามที่เรานอนอยู่ในเปลและไม่อาจช่วยตัวเองได้นั้น
มารดาของเราถนอม กล่อมเลี้ยงเพื่อที่เราจะได้เติบแข็งแรง หากท่านมิได้เลี้ยงดูเรามา หรือขอ ให้ผู้อื่นช่วยดูแลแทน เราก็คงไม่อาจรอดชีวิตเป็นแม่นมั่นท่านช่วยเหลือค้ำจุนชีวิตน้อย ๆ ของเรามาโดยตลอด ประคองเรามิให้ล้ม ห้ามมิให้กินสิ่งที่จะทำให้ป่วยไข้ กันมิให้เข้าใกล้ไฟ น้ำหรือยวดยาน หา อาหารและเสื้อผ้าให้ ช่วยอาบน้ำ และปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ลอง คิดดูว่าเราต้องจ่ายเงินมากเพียงใดเพื่อที่จะจ้างคนให้มาคอยดูแลทำความ สะอาดและหุงหาอาหารให้มาคอยดูแลทำความสะอาดและหุงหาอาหารให้ ในทุกวันนี้ หากมีใครรินชามาให้ดื่มหรือช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ โดยมิ หวังสิ่งตอบแทน เราย่อมรู้สึกว่าคนผู้นั้นมน้ำใจอย่างยิ่ง ทว่าความมีน้ำใจ เยี่ยงนั้นย่อมซีดจางไปเมื่อเปรียบกับ
ความเมตตาเอื้อเฟื้อของผู้เป็นมารดา ความสามารถที่จะพูด ที่จะวางตัวในสังคม ที่จะคบหาสัมพันธ์กับผู้คน ล้วนเป็นของขวัญจากบิดามารดา แทนที่จะทะนงในความชาญฉลาดของ ตน เราพึงระลึกไว้ว่าครั้งหนึ่งเราไม่รู้แม้แต่จะเปล่งถ้อยคำ ไม่รู้แม้แต่จะ เชิดล้าง ใส่เสื้อผ้า กินอาหาร หรือแม้แต่จะอาบน้ำ
พ่อแม่สอนเราให้พูด ทีละคำ สอนให้เดิน กิน แต่งตัว ท่านเป็นครูคนแรกของเรา ในชาตินี้และ
ในชาติภพที่ผ่านมาสุดประมาณนับ สัตว์ทั้งหลายได้แสดงความ เมตตาเอื้อเฟื้อในทางโลกเยี่ยงนี้ต่อเรา สรรพสัตว์จึงเป็นแก่นหลักแห่งความ รุดหน้าทางธรรมของเรา ด้วยการถือเอา
การช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์เป็นจุด มุ่งหมายแห่งการปฏิบัติ เป็นรากฐานแห่งปณิธานอันบริสุทธิ์ ซึ่งหากปราศจาก ปณิธานเยี่ยงนี้แล้วเราย่อมไม่อาจเข้าถึงการตรัสรู้ได้ เมื่อพิจารณาใคร่ควรญ ดูสิ่งเหล่านี้ เราย่อมก่อเกิดความสำนึกตื้นตันและตระหนักอย่างลึกซึ้งว่าเรา เป็นหนี้ใหญ่หลวง
ดังนั้นใน
การบ่มเพาะอุเบกขา เราพึงระลึกว่าสัตว์ทั้งมวลล้วนเคยเป็นมารดา ของเรามาก่อนในชาติภพหนึ่ง ดังนั้นเราจึงรู้สึกซาบซึ้งในความกรุณาของ ท่านและปรารถนาที่จะตอบแทน ด้วยอาการเยี่ยงนี้เองเราจึง
ก่อเกิดปณิธาน อันสูงส่งที่จะเกื้อกูลสรรพสัตว์ มิใช่ด้วยอาการอันผิวเผิน ทว่าอย่างสูงส่ง ลุ่มลึก นั่นคือการบรรลุพระนิพพานเพื่อที่จะช่วยผู้อื่นให้สามารถกระทำเช่น เดียวกัน
มีศิษย์ชาวตะวันตกผู้หนึ่งถามลามะว่า " ผมมีปัญหาเรื่องการกำหนดจิตว่า สัตว์ทั้งมวลล้วนเคยเป็นมารดาของเรามาก่อน แม่ของผมไม่ค่อยจะดีสัก เท่าไร ความสัมพันธ์ของเราไม่ค่อยจะดีนัก ดังนั้นทุกครั้งที่นั่งลงภาวนา กำหนดอารมณ์ในโพธิจิต ก็จะหวนคิดถึงแม่และรู้สึกโกรธ ผมจะขอหยุด คิดถึงแม่ในตอนนี้ก่อนจะได้ไหม "
ลามะก็ตอบคนผู้นี้ว่าหลักการที่มีอยู่ก็คือการบ่มเพาะความกรุณาต่อทุกชีวิต รวมถึงมารดาของตนด้วย ดังนั้นจะเรียงลำดับใครก่อนใครหลังก็มิใช่ปัญหา ท่านกล่าวอีกว่าในทิเบตและอินเดียนั้นจะถือว่าแม่เป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยเมตตา เป็นบุคคลอันวิเศษสุดเท่าที่มีอยู่ ดังนั้น เมื่อผู้เริ่มปฏิบัติต้องการอุบายเข้าสู่ การภาวนา คุรุก็มักจะใช้ความรู้สึกรักผูกพันต่อมารดาเป็นพื้นฐานเพื่อบ่ม เพาะความอบอุ่นการุณย์ต่อผู้อื่น
ท่านยังกล่าวต่อไปอีกว่า
" ถ้าหากเธอเห็นว่าวิธีการที่เหมาะสมกว่าสำหรับ ตัวเธอ คือการบ่มเพาะความกรุณาต่อผู้อื่นก่อน แล้วค่อยแผ่มาถึงแม่ของ ตน นั่นก็ใช้การได้ ประเด็นก็คือการมีความเมตตาการุณย์ต่อทุกผู้คน รวม ทั้งมารดาของเธอด้วย " ในที่สุดเราก็ประจักษ์แจ้งถึง
ความเท่าเทียมกันของสรรพสัตว์ในธรรมชาติ เดิมแท้ของแต่ละดวงชีวิต ตั้งแต่แมลงที่เล็กที่สุดเรื่อยไปจนถึงพระอริย บุคคล ว่าธรรมชาตินนั้นบริสุทธิ์มาตั้งแต่แรก เมื่อเข้าใจ
ความเท่าเทียมกัน ที่ว่าสัตว์ทั้งมวลล้วนปรารถนาความสุข ล้วน มีทุกข์ ล้วนเคยเมตตาเอื้อเฟื้อต่อเราในฐานะบิดามารดาและล้วนมี ธรรมชาติ แห่งพุทธะ ดังนี้แล้ว
เราย่อมก่อเกิดความกรุณาต่อทุกดวงชีวิต เมื่อตระหนัก ได้ถึงโศกนาฏกรรมของเขาเหล่านั้น ว่าถึงแม้เขาจะปรารถนาความสุข แต่ ด้วยเหตุแห่งอวิชชา จึงสร้างเหตุปัจจัยที่หนุนส่งให้ความทุกข์นั้นสืบไป
ความกรุณา คือ
ความปรารถนาที่จะให้ทุกข์ของผู้อื่นสิ้นสุดลง นี้คือพรหม วิหารประการที่สอง
ความกรุณาเป็นโอสถถอนพิษร้ายของความสำคัญตน ผิดและความเห็นแก่ตัว ในเบื้องแรกมันจะช่วยให้เราไถ่ถอนความยึดติดใน ตนเองและหมกมุ่นอยู่แต่ปัญหาของตน ทั้งยังมีคุณในเบื้องปลาย ด้วยเหตุ ที่
ความเกื้อการุณย์ในหัวใจแม้เพียงชั่วขณะหนึ่งก็อาจช่วยชำระล้างผลกรรม ได้ทบทวีเราจะก่อเกิด
ความกรุณาได้อย่างไร เริ่มด้วย
การคิดพิจารณาความทุกข์ยาก ของผู้อื่น ครั้นแล้วก็ลองเปรียบให้เห็นความทุกข์ของเรา โดยเริ่มจากความ ทุกข์ในมนุษยภูมิ เพราะคงเป็นการยากที่จะเริ่มด้วยการพิจารณาความทุกข์ ของสัตว์ในภพภูมิอื่น