ศรัทธาครั้งหนึ่งยังมีคนเลี้ยงสัตว์ชรากับครอบครัว ซึ่งทุก ๆ ฤดูร้อนจะพาฝูงแกะ และยัคไปยังยอดเขาลูกหนึ่ง เพื่อหาหญ้ากินในทุ่งหญ้า มักจะมีผู้คนเป็น อันมากผ่านมาแวะทางกระโจมของชายชราผู้นี้ คนเลี้ยงสัตว์ก็จะถามว่า จะถามว่าจะพากันไปไหน ซึ่งก็มักจะได้รับคำตอบว่า
" เรากำลังจะไปหา ท่านโดดรุป เชน รินโปเช เพื่อขอรับถ่ายทอดมนต์ศักดิ์สิทธิ์สามพยางค์ " อยู่มาปีหนึ่ง ชายชราผู้นี้จึงมาคิดว่าตนก็น่าจะไปพบลามะท่านนี้บ้าง จึง ถามครอบครัวที่ผ่านมาว่าจะขอร่วมทางไปด้วยได้ไหม ครอบครัวนี้ก็ตอบ ตกลง เขาก็ละแกะและฝูงยัคไว้เบื้องหลัง และติดตามคนเหล่านั้นไป
ครั้นเมื่อมาถึงบ้านลามะเขาไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี ทั้งก็ไม่มีสิ่งใดจะถามไถ่ ลามะ ดังนั้นจึงตรงไปที่ครัว ได้กินอาหารและรออยู่ที่นั่นในขณะที่ครอบ ครัวที่ร่วมทางมาได้ขอรับคำสอน และได้รับคำสอนสั้น ๆ จากท่าน หลัง จากนั้นก็เดินทางกลับ
ส่วนชายชราก็รั้งรออยู่ที่นั่นเป็นเวลาหนึ่งปี สองปี จวบจนย่างเข้าปีที่สาม คอยช่วยเหลือการงานต่าง ๆ ในครัวไฟ และได้รับอาหารตอบแทน จน แทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้คนที่ทำงานอยู่ใรงครัวนั้น ทว่าตลอดเวลา ที่ผ่านมา เขากลับไปเคยได้พบลามะเลย
อยู่มาวันหนึ่ง มีแขกมาหาลามะ คนครัวจึงใช้ให้เขายกชาไปให้ เป็นครั้ง แรกที่เขาได้ย่างกรายเข้าไปในห้องอาจารย์ ครั้นเมื่อท่านแลเห็นชายชรา ผู้นี้เข้า ก็อุทานขึ้นว่า
" อัตซี อันซี นา คา รู รักชัย เตรง วา ดรา ชิก ยิน " ซึ่งมีความหมายว่า
" โอโห จมูกของท่านช่างคล้ายกับลูกประคำรูดรักชา ยิ่งนัก " อันที่จริงแล้วจมูกของชายชราผู้นี้ก็ทั้งใหญ่ทั้งปุปะ
ผู้เฒ่าจึงคิดในใจว่า
" เออ ในที่สุด ข้าก็ได้รับมนต์ศักดิ์สิทธิ์จากท่านลามะ แล้ว " จึงกลับคืนมายังหมู่บ้านของตน เฝ้าบริกรรมมนต์บทนี้ทุกค่ำเช้า
" อัตซี อันซี นา คา รู รักชัย เตรง วา ดรา ชิก ยิน " นั่งนับลูกประคำอยู่ ดังนี้ ผู้คนในหมู่บ้านต่างก็ศรัทธาในตัวเฒ่าผู้นี้ เพราะอย่างน้อยก็ได้อยู่ กับลามะมานานถึงสามปี ต่างพากันคิดว่าเขาคงจะฝึกจนเกิดคุณวิเศษเป็น แน่
ทุกครั้งที่มีคนเจ็บหรือปวดบวมตามร่างกายก็จะพามาหา ผู้เฒ่าก็จะ เป่าให้ตรงที่เจ็บและก็จะหายเป็นปลิดทิ้ง ชายชราผู้นี้จึงมีชื่อเสียงลือ เลื่องไปทั่วดินแดนแถบนั้น
อยู่มาวันหนึ่งโดดรุป เชน รินโปเช เกิดมีฝีพุพองขึ้นในลำคอ ฝีนั้นมีขนาด ใหญ่จนท่านแทบจะสำลักตาย มีแพทย์หลายคนพยายามช่วยรักษาแต่ก็หา บังเกิดผลไม่ มึคนจากละแวกบ้านผู้เฒ่ามาเยือน จึงบอกลามะว่า
" มีศิษย์ คนหนึ่งของท่านอยู่ใกล้ ๆ แถวนี้เอง คงจะช่วยรักษาท่านให้หายได้เป็นแน่ " " เป็นใครกัน " ลามะถาม
" เป็นผู้เฒ่าซึ่งเคยอยู่กับท่านมานานสามปี " " ข้าจำไม่ได้ แต่ช่วยบอกให้มารักษาให้ด้วย " จึงให้ส่งคนไปตามชายชรามาโดยด่วน " ท่านต้องรีบมาเดี๋ยวนี้ ท่านลามะ ต้องการให้ท่าช่วย " คนผู้นั้นบอก
ผู้เฒ่าจึงว่า
" ท่านลามะเป็นผู้ถ่ายทอดมนต์ศักดิ์สิทธิ์สามพยางค์ให้ ข้าจะ พยายามจนสุดความสามารถ " มีการเตรียมการต้อนรับ โดยวางเบาะอย่างดีไว้ให้ผู้เฒ่านั่งอันเป็นการแสดง ความเคารพอย่างสูง ทันทีที่ชายชราเข้ามาในห้องลามะก็เห็นจมูกและจดจำ ได้ จึงคิดอยู่ว่า
" คนผู้นีจะช่วยรักษาข้าให้หายได้อย่างไรกัน "ผู้เฒ่าค่อย ๆ สำรวมจิตจนแน่วแน่บริกรรมมนต์
" อัตซี อันซี ... " ลามะก็ เปล่งเสียงหัวร่อออกมาดังลั่น ฝีในลำคอก็แตกออก และอาการก็ทุเลาเป็น ปรกติจากมุมมองของวัชรยาน ความศรัทธาอันยั่งยืนแท้จริงมีองค์สามด้วยกัน แรกสุดคือสิ่งที่เรียกว่า
" ความตื่นตะลึงในธรรม " คือ
อาการที่เรารู้สึกได้ ยามที่ได้สดับธรรม มีบางสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกเอิบอาบซาบซ่านขนลุกไปทั้ง ร่าง หรือในยามที่เราได้พบคุรุบางท่าน ได้ไปสู่ศาสนสถานบางแห่ง ได้ เห็นพระพุทธปฏิมาหรือได้รับฟังเรื่องราวจากพุทธประวัติ เราย่อมเข้าถึง สภาวจิตซึ่งแตกต่างไปจาก สุข-ทุกข์ สามัญในโลก ยังมีบัณฑิตยิ่งใหญ่แห่งไศวะนิกายผู้ครองความเป็นปราชญ์และได้บังเกิด นิมิตเห็นพระศิวะกระทำสักการะพระพุทธองค์ นิมิตนี้ทำให้ท่านประทับ ใจมาก ต่อมาภายหลังท่านได้หันมานับถือพระพุทธศาสนาและได้รจนา บทสวดที่มีชื่อเสียงที่สุดที่ทิเบตรับสืบทอดมาจากอินเดีย เป็น
บทสวดสรร เสริญคุณพระนิพพานซึ่งสถิตอยู่ในองค์ศากยมุนีพุทธ บัณฑิตท่านนี้ไม่เคย มีศรัทธาในพุทธศาสนามาก่อนเลยตราบกระทั่งบังเกิดนิมิตนี้ ศรัทธาเยี่ยง นี้เป็นสิ่งที่ลึกซึ้งเกินกว่าการคิดด้วยหัว
ศรัทธาดังกล่าวมิใช่สิ่งที่เราอาจเกลี้ยกล่อมให้บังเกิดขึ้นกับตนเองหรือผู้ ใดทว่าจักบังเกิดขึ้นหรือไม่ล้วนขึ้นอยู่กับกรรมของเรามิใช่สติปัญญาความ ฉลาด ด้วยเหตุนี้เองเราจึงไม่อาจชักชวนใคร ๆ ให้หันมาเชื่อในพุทธธรรม คำสอน
เว้นแต่จะมีกรรมผูกพันอยู่อีกแง่มุมหนึ่งของการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ก็คือการได้เคยมีกุศลกรรมแห่งศรัทธาปสาทะในธรรมมาแต่ก่อนถึงแม้องค์แรกแห่งศรัทธายังอาจหวั่นไหวได้ แต่อย่างน้อยมันก็เป็นแรงบัน ดาลใจให้เราพิจารณาดูทุกข์ เหตุแห่งทุกข์และหนทางหยุดพ้น พิจารณาดู โลกุตรสุข เหตุปัจจัยและมรรคาสู่ความหลุดพ้น ยิ่งเราได้สดับธรรมและ น้อมนำไปปฏิบัติ ยิ่งขับขานตอบรับกับประสบการณ์ของเราเพียงใด เราก็ จะยิ่งแลเห็นค่าแห่งสัจธรรมและยิ่งมีฉันทะที่จะพิจารณาอย่างลุมลึก ที่จะ แสวงหาครูบาอาจารย์และก้าวล้วงไปบนหนทางธรรม นี่คือองค์ที่สองแห่ง ศรัทธา คือ
ศรัทธาที่จะใฝ่หาและดุ่มเดินไปสู่จุดหมายอันสูงสุดเมื่อดวงจิตค่อย ๆ เปิดกว้าง พระธรรมคำสอนก็จะยิ่งเปี่ยมความหมายและ เราจะเริ่มเห็นค่าของการปฏิบัติสมาธิภาวนา เราจำต้องมีความเชื่อมั่นมาก พอที่จะปฏิบัติอย่างต่อเนื่องไม่ลดละ และเมื่อมันเริ่มก่อให้เกิดความเปลี่ยน แปลงขึ้นภายใน ความเชื่อมั่นนั้นก็ยิ่งลุ่มลึก ดวงจิตจะเริ่มผ่อนคลายและ เราจะเริ่มรู้สึกได้ถึงศรัทธาปสาทะอันมั่นคงไม่คลอนแคลน เป็นความจริง อันหมดจด ด้วยอาศัยศรัทธาเยี่ยงนี้ ความมุ่งมั่นดื่มด่ำของเราจักยิ่งแก่กล้า และยิ่งก้าวรุดไปในการปฏิบัติ เราย่อมค้นพบความเพียรอันแรงกล้า การ ปฏิบัติย่อมเผยสัจจะให้ประจักษ์ สัจจะช่วยปลดปล่อยอกุศลมูลในดวงจิต ช่วยชักนำเราไปสู่ปัญญาอันยิ่ง ๆ ขึ้น แต่ละขั้นตอนล้วนเชื่อมโยงอยู่ด้วย กัน ท้ายที่สุดเราย่อมบรรลุถึงความศรัทธาเชื่อมั่นอันไม่คลอนแคลน ไม่ว่า จะมีสิ่งใดบังเกิดขึ้นแก่เรา ไม่ว่าจะตั้งจิตอธิษฐานเยี่ยงไร ความศรัทธาอัน มั่นคงนี้จะช่วยเกื้อหนุนการปฏิบัติตราบกระทั่งเราบรรลุถึงอิสรภาพอย่าง สมบูรณ์ นั่นคือการตรัสรู้ นี่คือองค์ที่สามแห่งศรัทธา คือ
ความเชื่อมั่นว่า เราได้เข้าใจอย่างหมดจดแจ่มแจ้งในธรรม ศรัทธาเยี่ยงนี้ย่อมไม่มีหวนคืน กลับ
องค์แรกแห่งศรัทธา คือ
ความตื่นตะลึงในธรรม เป็นสิ่งที่อยู่มากับตัวเรา คุณอาจรู้สึกหรือไม่ก็ไม่รู้สึกเลย ส่วนอีกสององค์คือ
ฉันทะและความเชื่อ มั่น ย่อมเกิดขึ้นจากการปฏิบัติและอาจเพิ่มพูนขึ้นอย่างตั้งใจ ดังนั้นเองใน
สายธรรมวัชรยาน เราจึงไม่ควรหวังสนับสนุนให้เกิดศรัทธาอย่างบอดมืด ความศรัทธาอันแท้จริงย่อมอุบัติขึ้นจากการได้สดับธรรม น้อมนำสู่การ ปฏิบัติและซึมซาบรับรู้จนกระทั่งเราเข้าถึงสัจธรรมอันแท้จริงที่เรามีศรัทธาอยู่ในบัดนี้คือ
สังสารวัฏ คือทุกสิ่งอันเรารับรู้ผ่านอายตนะ ทว่าความเชื่อมั่นในสิ่งเหล่านี้คงจะไม่สามารถช่วยอะไรเราได้ในระยะ ยาว เพราะทุกสิ่งล้วนเป็นอนิจจัง เช่นว่า
เรายึดมั่นอยู่ในร่างกาย ทว่ามัน ย่อมตกตายไปสักวันหนึ่ง เรายึดอยู่กับปัจจัยแวดล้อมภายนอก ทว่าสิ่ง เหล่านี้ล้วนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เราเชื่อมั่นในมิตร แต่มิตรภาพก็อาจกลับ กลายเป็นขื่นขมหรือสิ้นสุดลง ทว่าเมื่อใดที่เราอาจเผยธรรมชาติอันไม่แปร เปลี่ยนของเราให้ประจักษ์ นั่นคือสิ่งที่เราอาจพึ่งพิงได้อย่างมั่นใจ
สมมติว่าคุณมีเพื่อนใหม่ซึ่งคิดว่าคุณเป็นวิเศษที่สุดในโลก เพื่อนเช่นนั้น อาจคงอยู่ได้เพียงหนึ่งสัปดาห์ หรืออาจเป็นได้ว่าเขามุ่งหวังบางสิ่งจาก คุณ หาใช่เพื่อนที่แท้จริงไม่ เพียงแค่เป็นนักแสดงที่เก่งกาจเท่านั้น ทว่า อีกนัยหนึ่งคุณอาจมีเพื่อนซึ่งเข้ากันไม่ได้ง่าย ๆ ในตอนแรก เขาจะไม่ทำ ท่าสนิทสนมหรือยิ้มกว้างเวลาเจอกัน ทว่าเมื่อได้ใช้เวลาคบหากัน คุณจะ ค่อย ๆ พบว่าเขาจริงใจและเชื่อถือได้เป็นผู้ที่อาจไว้วางใจได้อย่างแท้จริง
ความศรัทธาเชื่อมั่นในวัฏสงสารเป็นเหมือนกับการให้ความไว้ใจกับมิตร อันฉาบฉวย ดูอบอุ่นฟู่ฟ่าทว่าขาดความยั่งยืน แต่การมอบความศรัทธา เชื่อมั่นไว้ใสัจธรรมอันสูงสุด ก็คือการไว้วางใจในสิ่งซึ่งระยะแรกก็ดูไม่ เด่นชัด ซึ่งดูคล้ายรางเลือนล่องลอยไม่อาจเข้าถึง ทว่าในบั้นปลายสิ่งนี้ กลับจริงแท้ เป็นสรณะแห่งศรัทธามั่น
มรรคาธรรมนั้นมิใช่หนทางอันสะ ดวกดาย เพราะมันจะบีบเราให้ต้องเผชิญหน้ากับมายาการทุกสิ่งซึ่งเรา เคยคิดว่าแท้หรือจริง ทว่าหากเราก้าวล่วงไปอย่างไม่ย่อท้อ เส้นทางสาย นี้ย่อมพิสูจน์ตัวมันเองว่าเป็นดุจดังมิตรแท้ซึ่งอาจพึ่งพิงได้* จาก ประตูสู่การภาวนา *
-ธรรมเทศนาของ ท่านชักดุด ตุลกู หนึ่งในธรรมาจารย์ รุ่นสุดท้าย -
- แห่งวัชรนิกายของทิเบต -
_____________________________________________________________