สนทนากับศิษย์ @ ศิษย์ : หากว่าธรรมชาติอันสูงสุดของประสบการณ์คือความว่าง ถ้า ดังนั้น กรรมคือสิ่งใดเล่า มันจะเป็นแค่ความคิดซึ่งก็เป็นมายาเฉกเช่น ความคิดอื่น ๆ หรือไม่ @ รินโปเช : สิ่งที่เกี่ยวพันอยู่ในที่นี้ก็คือข้อแตกต่างระหว่างปรมัตถสัจจ์ และโลกิยสัจจ์ ถ้าหากคุณมิได้นอนหลับ ความฝันก็หาใช่ความจริงไม่ ดีหรือเลว ชอบหรือชัง สุขหรือเศร้า ล้วนมีแก่นสารใดไม่ กรรมก็มิได้ มีอยู่ ด้วยเหตุที่หาได้มีความหลับฝันอยู่ไม่
ทว่าเมื่อใดที่คุณหลับฝัน ก็ย่อมมีดีชั่ว มีชอบมีชัง มีเศร้ามีสุข ทั้งหมด เหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดกรรม ถ้าหากดวงจิตตกอยู่ในความหลง ในประ สบการณ์ฝันของความจริงแบบสัมพัทธ์ เมื่อนั้นกรรมก็เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง และอาจบันดาลให้ฝันนั้นดีขึ้นหรือเลวลง ทว่าเมื่อใดที่คุณตื่นขึ้นต่อ ปรมัตถสัจจ์ กรรมก็หาใช่สิ่งจริงไม่ คุณความดีก็มิใช่สิ่งจริง ไม่มีแก่น สารอยู่ในสภาวะใด ๆ ทั้งสิ้นดุจดั่งความฝันหาใช่ความจริงไม่ ในยามที่ คุณตื่นขึ้น
ยามตื่นขึ้น คุณมีศักยภาพที่จะฝัน แต่นั่นหาใช่ความฝันไม่ นี่เป็นเช่น เดียวกับปรมัตถสัจจ์ โลกิยสัจจ์นั้นคือประสบการณ์อันด่างพร้อยของ ปรมัตถสัจจ์ และภายในประสบการณ์เยี่ยงนี้เองที่กรรมเป็นสิ่งที่ทรงพลัง ยิ่ง หมดจด เที่ยงตรง ไร้ความปราณี กรรมคือสิ่งที่จะมากำหนดชาติ ภพ ว่าจะถือกำเนิดในสุคติภูมิหรือทุคติภูมิ ว่าจะสุขหรือเศร้า สูงส่ง หรือต่ำต้อย
@ ศิษย์ : นี่เป็นเช่นเดียวกับแนวคิดเองบุญกุศลหรือไม่@ รินโปเช : บุญกุศลมีอาการดุจเดียวกับวงวัฏแห่งกรรม เว้นแต่ว่ามัน เป็นการกระทำที่มุ่งหวังจะสร้างเหตุปัจจัยแห่งสุขขึ้นในห้วงฝันของชีวิต มิใช่เพียงเพื่อตัวเองเท่านั้น แต่เพื่อผู้อื่นอีก
@ ศิษย์ : เมื่อคิดถึงเรื่องบุญและบาป กฏเกณฑ์นี้จึงดูเหมือนจะกล่าวว่า สิ่งที่ฉันทำไปย่อมจะสนองคืน นี่จึงดูเหมือนเป็นแรงขับเคลื่อนแห่งอัตตา อันเป็นไปอย่างขัดแย้งกับปณิธานแห่งโพธิจิต จะเป็นการดีกว่าหรือไม่สำ หรับผู้ปฏิบัติธรรม ที่จะมีจิตใจเกื้อการุณย์โดยไม่หวังผลบุญ กล่าวอีกนัย หนึ่งคือไม่กังวลสนใจกับเรื่องผลได้หรือ " รางวัล " อันเป็นทิพย์@ รินโปเช : ถูกต้อง เมิ่อคุณกล่าวว่าการมีใจกรุณาเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมกว่า ความมุ่งหวังจะสร้างกุศลผลบุญเพื่อที่จะไม่ต้องทนทุกข์ ที่จริงการสร้าง บุญกุศลก็ดีอยู่ แต่ยังอยู่ในระดับของโลกิยะ หลักธรรมคำสอนนั้นมีอยู่ หลายระดับและสภาวจิตของผู้คนจะเป็นตัวตัดสินระดับสภาวธรรมที่เหมาะ สมสอดคล้อง สำหรับบางคนอาจปลูกฝังเมล็ดพันธุ์อันหยาบกว่าในเบื้อง แรก เพื่อเตรียมให้เขาพร้อมที่จะรับสิ่งอันละเอียดอ่อนในภายหลัง
ดังนั้นเมื่อพิจารณาถึงจุดมุ่งหมายอันเห็นแก่ตนกับความตั้งใจที่จะแผ่ ความกรุณาเท่านั้น จึงถือได้ว่าความมุ่งมั่นอย่างหลังเป็นทางเลือกอัน สูงส่ง
@ ศิษย์ : หากมองในแง่ของการปฏิบัติ บุญกุศลจะประมวลรวมกันอยู่ ในความกรุณาต่อทุกชีวิตใช่หรือไม่ นี่คือแก่นแท้แห่งโพธิจิตปณิธานละ หรือ@ รินโปเช : ความกรุณาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโพธิจิต ข้อแตกต่างระ หว่างโพธิจิตและอโพธิจิตขึ้นอยู่กับว่าเรามีความมุ่งหวังที่จะเข้าถึงการ ตรัสรู้เพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นหรือไม่ มาตรแม้นคุณเสแสร้งทำประ หนึ่งว่าคุณกำลังพยายามช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น แม้มันจะดูดีภายนอก แต่หากดวงใจของคุณมิได้มุ่งหวังการตรัสรู้เพื่อยังประโยชน์แก่ผู้อื่น นั่น ก็หาใช่โพธิจิตไม่ ความกรุณาเป็นเพียงแรงเร้า และด้วยแรงกระตุ้นนั้น เองคุณจึงกระทำทุกสิ่งเท่าที่จำเป็น คุณตั้งจิตปณิธานที่จะเข้าถึงการตรัส รู้ก็ด้วยเหตุที่ตระหนักได้ว่าตนยังไม่มีพลังมากพอที่จะช่วยเหลือเกื้อกูล ผู้อื่น
การตระหนักถึงความทุกข์ของเหล่าสัตว์ซึ่งเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ การแผ่ความกรุณาและกุศลจิตออกสู่สรรพสัตว์ การตั้งปณิธานที่จะ เข้าถึงการตรัสรู้เพื่อช่วยสัตว์ให้พ้ทุกข์ และการกระทำทุกสิ่งเท่าที่สา มารถเพื่อยังประโยชน์อันสูงสุดและชั่วคราวแก่เหล่าสัตว์ เหล่านี้คือ
โพธิจิตซึ่งเนื่องอยู่ในโลกิยภพ ล้วนเป็นกิจในห้วงฝัน ซึ่งจะนำไปสู่ การตื่นขึ้นจากกิจห้วงฝันนี้ ส่วน
โลกุตระโพธิจิตนั้นหมายถึงการตระ หนักรู้ใปรมัตถสัจจ์ซึ่งอยู่เหนือความสุดโต่งสองขั้ว และธำรงสภาวะ แห่งการตระหนักรู้นั้นไว้จวบจนเผยประจักษ์อย่างหมดจดแจ่มแจ้ง นั่นคือเมื่อเรา
ตื่นจากห้วงฝัน@ ศิษย์ : ถ้าหากธรรมชาติอันสูงสุดแห่งสัจจะคือพุทธะซึ่งสัตว์ทั้งมวล ล้วนมีอยู่แล้งไซร้ เหตุใดทุกผู้คนจึงมิได้ตระหนักถึงสภาวะนี้ เหตุใดจึง ตกไปสู่ความมืดมัวและอวิชชาและค่อย ๆ เคลื่อนไปสู่จิตรู้อันสูงส่ง@ รินโปเช : นี่มิใช่เป็นเรื่องของการเคยมีอยู่และหลงลืมไป ทองนั้นมีผสม อยู่ในสินแร่ ถึงแม้มิได้ปรากฏออกมาเพราะมันผสมปนเปอยู่ในสินแร่นั้น การสกัดทองออกมาจำต้องอาศัยการหลอม สิ่งอันไม่บริสุทธิ์ ฉันใดฉันนั้น นี่คือสิ่งที่ผู้ปฏิบัติธรรมต้องลงมือกระทำ เราต้องขจัดสิ่งปลอมปนออกจน เผยถึงแก่นแท้อันดำรงอยู่ ณ ที่นั้น นี่มิใช่เรื่องของการเคยได้ตระหนักรู้และ กลับหลงลืมไป มันดำรงอยู่ ณ ที่นั้นเสมอมา ทว่าไม่เคยถูกเผยออก
ข้อแตกต่างระหว่าง
พุทธะและ
สังสารวัฏจึงอยู่ที่การตระหนักรู้หรือไม่ใน ธรมชาติแท้ของตน แก่นแท้นั้นได้ถูกรู้หรือไม่ นั่นคือข้อแตกต่างเพียงอย่าง เดียว ซึ่งหาใช่เรื่องของการวิวัฒน์ไม่ สังสารมิใช่กระบวนการวิวัฒน์ความ หลงก็มิได้อยู่ในกระบวนการวิวัฒน์ การตระหนักรู้จะบังเกิดขึ้นก็โดยอาศัย การประจักษ์แจ้งถึงสิ่งที่มีอยู่แล้วแต่ต้น
@ ศิษย์ : ถ้าดังนั้นความคิดที่ว่าวิญญาณของมนุษย์ย่อมวิวัฒน์รุดหน้าไป ในแต่ละชาติภพก็เป็นแค่มายาคติเท่านั้น@ รินโปเช : ถูกแล้ว วิญญาณหาได้วิวัฒน์รุดหน้าไปในแต่ละชาติภพไม่ เราตกอยู่ในท่ามกลางกระแสแห่งสังสารวัฏ ทว่าในฐานะมนุษย์เรามีโอ กาสสูงสุดที่จะบรรลุถึงพุทธภาวะ
@ ศิษย์ : ด้วยเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น@ รินโปเช : ด้วยเหตุที่ว่าในมนุษยภูมินั้น หาได้มีความสุข ความรื่นรม อันลวงหลอกดุจดังในเทวภูมิ ทั้งมิได้ทุกข์แสนสาหัสดุจดังในภพภูมิ เบื้องต่ำ เหตุปัจจัยแวดล้อมของเรามิได้ดีเกินไปหรือเลวร้ายเกินไป และ นั่นเป็นปัจจัยช่วยเกื้อหนุนน้อมนำไปสู่อิสรภาพ ทว่าสังสารวัฏหาใช่ กระบวนการวิวัฒน์ไม่ ทั้งการบรรลุถึงโมกษธรรมก็ไม่ใช่เช่นกัน เมิ่อ ใดที่เราสามารถมองเห็นสังสารวัฏจนทะลุปรุโปร่ง การประจักษ์แจ้งก็ หาได้อยู่ห่างไกลไม่ บนพื้นฐานเยี่ยงนี้เองที่เราย่อมดุ่มเดินไปบนโพธิ สัตวมรรค
ข้าพเจ้าคิดว่าโดยนัยหนึ่งคุณอาจถือว่าโพธิสัตวมรรคเป็นกระบวนการวิ วัฒน์อย่างหนึ่ง ด้วยเหตุที่มันหมายรวมถึงการรุดหน้าไปสู่พุทธภาวะใน ระดับหนึ่ง แต่มันเป็นเหมือนกับการรุดหน้าไปภายในสู่กาประจักษ์แจ้ง ในธรรมชาติที่แท้ของเรา เป็นการก้าวลึกเข้าไปสู่โมหะ แต่สิ่งที่กระบวน การวิวัฒน์ลืมไปก็คือกระบวนการถดถอย สัตว์ทุกผู้ล้วนรุดหน้าไปและ อาจถดถอย มันเป็นกระบวนการหมุนวนหาใช่วิวัฒน์ไม่ ทฤษฏีวิวัฒนา การเป็นทฤษฎีที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความหวัง แต่ในสังสารวัฏมิได้มีความ หวังมากนัก
@ ศิษย์ : ถ้าดังนั้นหากพิจารณาจากอันติมสัจจ์แล้ว การรับรู้เรื่องเวลา ของเราในฐานะที่เป็นเส้นสายอันต่อเนื่องก็ถือได้ว่าเป็นมายาภาพ@ รินโปเช : นี้ก็เช่นกัน เป็นเฉกเช่นความฝัน ถ้าหากดวงจิตดำรงอยู่ใน ห้วงฝัน เวลาย่อมมีอยู่ แต่หากดวงจิตตื่นขึ้นต่ออันติสัจจ์ กาลเวลาก็หา มีอยู่ไม่ ทว่าจากห้วงฝันสู่ห้วงฝัน ประสบการณ์แห่งสังสารภพย่อมหมุน เวียนสืบเนื่องไปเป็นวงวัฏ
@ ศิษย์ : ผู้ปฏิบัติธรรมจะรู้ได้อย่างไรว่านิมิตภาวนาแบบใหนมิได้เป็น แค่ความคิดฟุ้งซ่านปรุงแต่ง หากแต่เป็นการผ่านพ้น ดุจดังว่าการปฏิบัตินี้อาศัยการมองออกไปนอกหน้าต่างบานใหญ่และเขียน ภาพที่คุณเห็นลงบนผืนผ้าใบ คุณจำลองภาพนั้นขึ้น ครั้นเมื่อเขียนเสร็จก็ ลบมันทิ้ง อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างการมองออกไปนอกหน้าต่างและ เขียนภาพลงบนผืนผ้าใบ กับการเปิดหน้าต่างและเดินออกไปข้างนอก หรือ อีกนัยหนึ่ง เมื่อใดที่การปฏิบัติจะกลับกลายเป็นการประจักษ์แจ้ง @ รินโปเช : สมมติว่าเราแลเห็นเชือกบนพื้นและคิดว่าเป็นงู ปฏิกิริยาของ เราจะเป็นไปตามความเชื่อที่ว่าเชือกนั้นคืองู แม้ว่ามันมิได้เป็นจริง แต่การ รับรู้ที่ว่ามันเป็นดังนั้นอาจส่งผลต่อคนรอบข้าง ทันใดนั้นทุกคนก็คิดเหมือน กันหมดเชือกนั้นก็จะดูประดุจงูจริง ๆ ซึ่งแทบจะเลื้อยได้ ความตระหนก และปฏิกิริยาที่มีความหลงผิดทั้งมวลจะผุดขึ้นมาอย่างเต็มเปี่ยม แต่ถ้าหาก มีใครผ่านมาและพูดขึ้นว่า " นี่หาใช่งูไม่ " ทุกผู้คนก็จะถอนใจโล่งอก ความ เข้าใจผิดได้ถูกเผยออกมา เขาก็จะแลเห็นเชือกตามที่เป็นจริง ดุจดังที่มัน เป็นอยู่เสมอมา สำหรับผู้ที่ความเคยชินแรงกล้าย่อมจะแลเห็นเชือกเป็นงู อีกในครั้งต่อไป แม้ว่าจะได้รับรู้ความจริงแล้วก็ตาม
ด้วยเหตุแห่งนิสัยที่จะหวนไปสู่ความเคยชินเก่า ๆ นี้เอง เราจึงต้องใช้ อุบายแห่งการเพ่งนิมิต เราใช้การเพ่งภาพนิมิตอันบริสุทธิ์ดังเช่นองค์ เทพและสวรรค์สุขาวดี เพื่อชำระล้างการรับรู้อันหมองมัวของเรา เรา เรียนรู้ที่จะมองดูงูให้ต่างไปจากเดิม จนกระทั่งอาจแลเห็นได้ว่าแท้จริง มันคือเชือก
มีเพียงผู้โชคดีบางคนซึ่งมีการรับรู้อันละเอียดอ่อนแหลมคมเท่านั้น ที่ไม่ จำเป็นต้องปฏิบัตินิมิตภาวนา คนเหล่านี้จะเป็นอิสระในทันทีที่ได้รับการ ชี้แนะถึงธรรมชาติแห่งจิต ความหลงของเขาเป็นเหมือนกับเมฆหมอกซึ่ง ถูกสายลมหอบพัดพาไป เมื่อใดที่มันจางหายไปมันก็สาบสูญไป ไม่หวน คืนมาอีก การปฏิบัติของเขาจึงอาศัยเพียงการธำรงความตระหนักรู้ในธรรม ชาติที่แท้ไว้เท่านั้น
มีหนทางอยู่สองสายในการบรรลุถึงการประจักษ์แจ้ง
หนึ่งคือการใช้นิมิต ภาวนา ด้วยเหตุที่นิสัยของเราฝังลึก ถึงแม้ว่าจะชี้นำให้รับรู้ถึงธรรมชาติ อันสูงสุด ทว่าการรับรู้นั้นกลับไม่คงทนอยู่ได้ การเพ่งนิมิตคือกระบวนการ สละละสิ่งที่เราได้เรียนรู้มา เป็นการคลายปมแห่งอวิชชา แต่ถ้าหากเราไม่ ต้องการกะบวนการนี้ เราก็อาจเลือกหนทาง
อีกสายหนึ่งโดยมุ่งตรงไปสู่ อติยาน หรือมหาบริบูรณ์ โดยเพียงแต่พำนักอยู่ในการกำหนดรู้อันปราศ จากการแบ่งแยก ในขณะที่ความหลงทั้งมวลถูกขับไล่ไป ปรากฏการณ์อัน บริสุทธิ์จะเผยออกในฐานะที่เป็นอาการอันสำแดงออกของธรรมชาติอันสูง สุดของเรา
ผู้ปฏิบัติตามแนวทางอติยานไม่จำเป็นต้องเขียนรูปลงบนผ้าใบ ทว่าอาจก้าวเดินออกไปข้างนอกหน้าต่างโดยตรง@ ศิษย์ : ถ้าดังนั้นความว่างจะสำแดงออกผ่านรูปปรากฏขององค์เทพ@ รินโปเช : รูปทั้งมวลก็คือเทพ โดยแก่นแท้แล้วรูปทั้งมวลก็คือความ ว่างที่ผุดขึ้นมาดุจดังรูปปรากฏ เทพหาใช่ผู้ประทับนั่งอยู่บนปทุมมาสน์ ไม่
เทพคือความว่างที่ผุดขึ้นมาดุจรูป นี่หมายความว่าทุกสิ่งภายในโลก ของเรา รวมทั้งศัตรูด้วยก็คือองค์เทพ เมื่อมีใครปองร้ายเรา เป็นการยาก ที่เราจะจดจำความข้อนี้ได้ ดังนั้นเราจึงหวนกลับไปสู่ความเคยชินเดิม ๆ ด้วยเหตุนี้เราจึงใช้นิมิตภาวนา มันเป็นอุบายที่จะตื่นขึ้นสู่สัจจะอันสูงสุด นี้ ย่อมปรากฏขึ้นในรูปของอุบายวิธีทางโลกนี้เอง
การเข้าใจอย่างเต็มเปี่ยมในสิ่งที่เราเคยกล่าวถึงมาแล้ว นั่นคือข้อแตกต่าง ระหว่างโลกิยสัจจ์กับปรมัตถสัจจ์รวมถึงกฏแห่งภายในโลกิยสัจจ์ นี่จะช่วย ให้เราเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการเพ่งนิมิต
@ ศิษย์ : และผลที่ติดตามมาก็คือการเคลื่อนไปสู่การประจักษ์แจ้งละหรือ@ รินโปเช : การประจักษ์แจ้งหาใช่สิ่งยิ่งใหญ่ไม่ ทว่าเป็นเหมือนกับการ หยั่งลงสู่บางสิ่ง เป็นการสัมผัสหรือลิ้มรสแก่นแท้ของมัน การพูดถึงน้ำ ตาลกับการได้ลิ้มรสหวานที่ลิ้นนั้นแแตกต่างกัน การประจักษ์แจ้งคือการ ที่ได้ลิ้มรสหรือสัมผัสรับรู้ สมาธิภาวนาคือมรรคาแห่งความต่อเนื่องสืบ สาน เพื่อเปิดโอกาสให้ความแปรเปลี่ยนอุบัติขึ้น
เหล่านี้คือสี่ขั้นตอนในกระบวนการ แรกสุดเมื่อคุณเริ่มสงสัยในตัวความ จริง เริ่มถามว่าไหนจริงใหนเท็จ คุณจะเริ่มแลเห็นว่าผู้คนเป็นอันมากเพียง แค่ยอมรับความจริงเชิงปรากฏการณ์ว่าเป็นจริงดังนั้น เมื่อคุณตระหนักได้ ดังนี้ คุณจะรู้สึกเมตตาสงสารเขา และจากความกรุณานี้เองคุณจึงสวดมนต์ ต่อลามะ ลามะคือที่มีแห่งการประจักษ์แจ้งเป็นที่มาแห่งการปฏิบัติธรรม ของคุณ การประจักษ์แจ้งหามีขอบเขตไม่ ดังนั้นจึงหาได้มีการแบ่งแยกระ หว่างลามะกับองค์เทพไม่ เมื่อคุณเติบใหญ่รุดหน้าไปในการปฏิบัติธรรม ความเข้าใจต่อลามะก็จะเติบใหญ่ลุ่มลึกขึ้นด้วย ลามะก็คือองค์เทพ คือ สัจจะ
คุณภาวนาต่อลามะเพื่อขอความแจ่มกระจ่าง พลังในการปฏิบัติ แรง บันดาลใจ และแรงผลักดัน รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณต้องการภายใต้ ร่มฉัตรแห่งพระพรของลามะ ครั้นแล้วคุณก็หันมาปฏิบัติเทพสาธนา ถ้าหากมันหนักเกินไปและไม่อาจใช้การได้ หรือถ้าหากมันทำให้คุณ รู้สึกขุ่นข้องหมองใจ ก็จงหยุดและผ่อนคลาย ปล่อยให้จิตเป็นไปดังที่ มันเป็น ครั้นเมื่อความคิดผุดพลั่งขึ้นมา ก็จงใช้การเพ่งนิมิตอีกครั้ง ถ้า หากคุณรู้สึกว่ามันยากเกินไปที่จะหยั่งเห็นถึงรายละเอียดทั้งหมด ก็จง เพ่งตรงแง่มุมใดของการเพ่งนิมิต หรือการเพ่งให้เห็นกายของคุณว่าเป็น
กายทิพย์อันละเอียดอ่อนเรืองรอง หรือลองนึกจินตนาดูว่าเทพที่อยู่ต่อ หน้านั้น แท้ที่จริงแล้วคือองค์คุณแห่งความกรุณาและปัญญา อันเป็นปร มัตถสัจจ์อย่าได้บีบคั้นตนเองจนเกินไป เวลาที่ไม่สามารถสร้างภาพนิมิตขึ้นมา ได้ จงเตือนใจตนเองว่าคุณมีสัยความเคยชินที่จะมองความจริงอย่างที่ มันเป็น จงน้อมรับอุปสรรคเหล่านั้น และพยายามต่อไป ทุก ๆ ครั้งที่ ต้องพบหลุมบ่อ จงอย่าให้มันมาเป็นอุปสรรคขัดขวาง แต่จงอ้อมผ่าน หรือกระโดดข้ามไป ผู้ปฏิบัติที่ดีย่อมไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งปวง ให้นึก อยู่ในใจว่า " แน่นอนว่าฉันบกพร่อง ขาดความอดทน และเกียจคร้าน "
ครั้นแล้วจงก้าวต่อไป ไม่ว่าจะก้าวสั้น ๆ หรือสาวเท้ายาว นั่นก็หาเป็น ไรไม่ ตราบใดที่คุณยังคงมุ่งไปเบื้องหน้า* จาก ประตูสู่การภาวนา *
-ธรรมเทศนาของ ท่านชักดุด ตุลกู หนึ่งในธรรมาจารย์ รุ่นสุดท้าย -
- แห่งวัชรนิกายของทิเบต -