แสงธรรมนำใจ > วัชรยาน
ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคที่หนึ่ง มหามุทรามูลฐาน
มดเอ๊กซ:
ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคที่หนึ่ง มหามุทรามูลฐาน
คำนำ
(ของผู้แปลสู่พากย์ไทย)
พุทธศาสนาวัชรยานไม่ควรเป็นยาหม้อใหญ่สำหรับคนไทยแต่ควรเป็นยา อีกขนานหนึ่งสำหรับรักษาโรคกิเลสของคน สำหรับผู้มีอุปนิสัยที่เหมาะ สมในการรับยาขนานนี้แล้ว ยาขนานนี้อาจให้ผลในการรักษาโรคชะงัด นัก ดังนั้นเราจึงควรเพ่งพินิจพุทธศาสนาแบบวัชรยานด้วยใจที่เที่ยงธรรม เพื่อให้ธรรมะของพระพุทธเจ้าบรรลุผลต่อสรรพสัตว์หมู่มากที่สุด
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้แบ่งได้เป็นสามส่วนคือ หลักธรรม มรรค และผล หลักธรรมมีใจความสำคัญคือ จิตเดิมแท้ ซึ่งไม่ต่างจากพุทธ ศาสนาแบบเซนนัก ซึ่งนับว่ามีเนื้อหาที่สุขุมลึกซึ้งเป็นที่เสพอย่างยิ่ง ของผู้ใคร่ในธรรมรส มรรคเป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นลำดับขั้นตอน พร้อม ทั้งรายละเอียดแสดงผลที่ปรากฏในแต่ละขั้นตอน ซึ่งนับว่าเป็นข้อเด่น ของหนังสือเล่มนี้ จะช่วยให้นักปฏิบัติได้เรียงลำดับตรวจสอบตนเอง ได้ วิธีปฏิบัติเป็นวิธีชั้นสูงคือการดำรงจิตไว้ในธรรมชาติแห่ง ความไม่ปรุงแต่ง ส่วนผลแสดงในรูปของตรีกายซึ่งไม่มีกล่าวไว้ในหลักธรรมของ เถรวาท แต่อย่างใด
ในบทที่ว่าด้วยทางที่ผิดนั้น ยังได้อธิบายทางที่ผิดต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน เกือบทุกทาง จะมีผลให้เราเพิ่มความระมัดระวัง คอยตรวจสอบการปฏิบัติ ไม่ให้ผิดพลาดตามที่กล่าวไว้ นับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จำเป็นต้องรู้ เพื่อป้องกันตนเองจากการภาวนาผิดวิธี นับว่าเป็นข้อเด่นอีกประการหนึ่ง ของหนังสือนี้ การรู้ความผิดพลาดที่สามารถเกิดขึ้นได้ทำให้เรามีความรอบรู้ในสมถะและวิปัสสนามากขึ้น และทำให้เรามีความเชี่ยวชาญในการ ทำภาวนามากขึ้นเพราะมีความรู้ " รอบ " คอบมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม มีเนื้อหาหลายเรื่องที่ฟังดูแล้วเหมือนไม่น่าจะถูกต้อง สำหรับ กรณีนี้ผู้แปลขอให้อย่าเพิ่งปฏิเสธหนังสือเล่มนี้ สิ่งที่เราควรทำคือใคร่ควรญ เสียใหม่ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง การศึกษาธรรมะจากหนังสือเล่มนี้ไม่จำเป็นต้อง เชื่อตามในทันที และไม่จำเป็นต้องปฏิเสธในทันที แต่ควรให้เวลาสำหรับการ นำไปปฏิบัติ ทดสอบจนกว่าจะหยั่งรู้ด้วยตนเอง อันควรเป็นท่าทีของชาวพุทธ ตามหลักกาลามสูตร
อาจจะมีหลายเรื่องในหนังสือเล่มนี้ที่เราไม่เห็นด้วย แต่จะไม่ทำให้หนังสือ ลดคุณค่าลงไปแต่อย่างใด หากยังมีข้อดีอีกมากมายสำหรับเราที่จะหาได้จาก หนังสือเล่มนี้
เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เป็นของวัชรยาน ซึ่งเน้นการปฏิบัติแบบโพธิสัตว์ เราจึงได้เรียนรู้วิธีปฏิบัติแบบนี้ด้วย นับว่าเป็นประโยชน์สำหรับยุคปัจจุบัน ซึ่งมีพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ในที่ต่าง ๆ เพศต่าง ๆ ทั้งฆราวาสและบรรพชิต
เนื่องจากศัพท์บางคำมีความหมายที่ถอดเป็นภาษาไทยได้ยาก จึงได้จัดภาค ประมวลศัพท์ ไว้ท้ายเล่มด้วย เพื่อให้ผู้สนใจเทียบเคียงหาความหมายที่แท้จริง
หนังสือเล่มนี้สำเร็จลงได้ด้วยความช่วยเหลือจากหลายท่าน
ได้แก่พระไพสาร ฉันทธัมโม ช่วยพิมพ์ต้นฉบับ
พระเมตตา วชิรนันโท อำนวยความสะดวก ทางด้านพจนานุกรม
และคำแนะนำที่มีค่าหลายประการ เป็นต้น จึงขอแสดง ความอนุโมทนามาในที่นี้
พระศักดิชัย กิตติชโย
สำนักสงฆ์ธารน้ำร้อน
ต.เขาถ่าน อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี
( ๕ มีนาคม ๒๕๔๗ ตรงกับ มาฆบูชา เพ็ญเดือน ๔ ปีวอก )
มดเอ๊กซ:
คำแนะนำมหามุทรา
คำว่ามหามุทราเป็นคำที่เข้าใจยาก ณ ที่นี้ ผู้แปลจึงขอคัดลอกคำอธิบาย มหามุทราจาก " สีหนาทบันลือ " มาเป็นส่วนแนะนำให้ผู้อ่านได้เข้าใจ มหามุทราให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
" มาถึงตรงนี้คงจะเป็นการดีหากได้กล่าวถึงมหามุทรา ซึ่งเกี่ยวโยงอยู่กับ เรื่องการเข้าสัมพันธ์กับธรรมชาติพื้นฐาน ในการปฏิบัติโยคะตามแนวทาง วัชรยาน มหา แปลว่า ' ใหญ่ ' และ มุทรา แปลว่า ' สัญลักษณ์ ' ดังนั้น มหามุทรา จึงหมายถึง ' สัญลักษณ์อันยิ่งใหญ่ ' นี่คือ แก่นหลักของการปฏิบัติในตันตระโยคะ ( ขั้นต่ำ ) ทั้งหมด ทั้งกิริยาโยคยาน อุปโยคยาน และโยคยาน ล้วนมีการปฏิบัติเพื่อเข้าสัมพันธ์กับต้นกำเนิดพื้นฐาน หรือ ฉี ในภาษาธิเบต ซึ่งหมายถึง ' ภูมิหลัง ' ดังนั้น โยคะเหล่านี้จึงเป็นโยคะ ต้นกำเนิดพื้นฐาน หรือโยคะแห่งภูมิหลัง หรือโยคะแห่งธรรมชาติพื้นฐาน มีข้อแตกต่างอยู่ระหว่างโยคะขั้นสูงซึ่งเรายังมิได้กล่าวถึง กับโยคะขั้นต่ำ ซึ่งมุ่งที่จะกระทำการร่วมกับรากฐาน โยคยานทั้งสาม แห่งตันตระขั้นต่ำ ยังสัมพันธ์อยู่กับการปฏิบัติทางฝ่ายมหายาน ซึ่งมุ่งเน้นที่จะกระทำการ ร่วมกับศักยภาพพื้นฐานเช่นกัน ดังนั้น จึงเต็มไปด้วยการกล่าวอ้างอิงถึง การก้าวสัมพันธ์กับต้นกำเนิด เข้าสัมพันธ์กับศักยภาพพื้นฐาน
" หลักการนี้เชื่อมโยงอยู่กับชีวทัศน์ของมหายาน ซึ่งให้ความสำคัญอย่างยิ่ง กับศักยภาพแห่งตถาคตครรภ์ อันเป็นธรรมชาติพื้นฐาน ดังนั้นเองทุกสถานการณ์ในชีวิตของคุณจึงเป็นสิ่งที่ใช้การได้ ทั้งยังกล่าวกันอีกว่า มหามุทรา หรือสัญลักษณ์อันยิ่งใหญ่นี้ มุ่งที่กระทำการกับต้นกำเนิดพื้นฐานหรือศักยภาพพื้นฐานนั้นเอง ดังนั้นเอง โยคะทั้งสามแห่งตันตระขั้นต่ำ จึงยังเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงอยู่กับบางสิ่งที่คุณอาจกระทำการร่วมด้วยได้ คุณมีศักยภาพอยู่ในตัวแล้ว คุณมี เมล็ดพันธุ์ อยู่แล้ว
" มหามุทราคือหนทางที่จะชักนำเอาสิ่งเหล่านี้มารวมเข้าด้วยกัน อันได้แก่ ความเว้นว่างอันไพศาล สุญญตา และการสำแดงออกภายในสุญญตา หลักการแห่งสุญญตาคือหลักการที่ว่าด้วยนิรวาณและการสำแดงออกของความ สับสน ซึ่งอุบัติขึ้นรอบ ๆ นิรวาณนั้น ซึ่งก็คือสังสาระ ดังนั้น มหามุทรา จึงเกี่ยวพันกับเรื่องที่ว่าจะนำสังสารและนิรวาณให้มาบรรจบรวมกันได้ อย่างไร ข่าวสารทั้งมวลจาก สังสารวัฏฏ์ ไม่ว่าจะเป็นราคจริต โทสะ และ อารมณ์ความรู้สึกทั้งมวล ซึ่งอาจบังเกิดขึ้นในชีวิตจริง สิ่งเหล่านี้มิได้ถูก ปฏิเสธหรือขับไล่ไสส่ง ทว่ากลับถือว่าเป็นส่วนที่ใช้การได้ของ ธรรมชาติพื้นฐาน ซึ่งเราอาจเข้าสัมพันธ์ด้วยได้ นี่ล้วนเป็นสถานการณ์ซึ่งใช้การได้ และไม่เพียงแค่ใช้การได้เท่านั้น ทว่ายังบรรจุล้นปรี่ด้วยข่าวสารอันจะช่วยกันผลักดันเราเข้าสู่สถานการณ์ซึ่งช่วยให้เราจัดการกับตนเองได้ เรากำลังถูกผลักเข้าไปสู่สถานการณ์พื้นฐานดังกล่าว
" ดังนั้น มหามุทราก็คือการเรียนรู้ที่จะกระทำการร่วมกับข่าวสารแห่งจักร วาล ซึ่งก็คือข่าวสารพื้นฐานในสถานการณ์ชีวิตอันเป็นหลักธรรมคำสอน ด้วยเช่นกัน เราไม่จำเป็นต้องไปศึกษาพระธรรมคำสอนที่มีอยู่ในศาสนา เท่านั้น หากเรายังสามารถอ่านสัญลักษณ์ที่มีอยู่ในสถานการณ์ชีวิตได้อีก ด้วย เราอยู่อย่างไร ที่ไหน สถานการณ์อันมีชีวิตเหล่านี้ล้วนเต็มไปด้วย ข่าวสาร ซึ่งเราอาจอ่าน ถอดรหัส และกระทำการร่วมกับมัน
" ถ้าหากคุณขับรถเร็วเกินไป ก็จะได้ใบสั่ง แต่ถ้าหากขับช้าเกินไป ก็จะถูก รถข้างหลังบีบแตรไล่ ไฟแดงหมายถึงอันตรายไฟเขียวหมายถึงไปได้ ไฟ เหลืองหมายถึงเตรียมตัวออกรถหรือเตรียมหยุด
" แรกสุด เราจะต้องพัฒนาสัญญาความหมายรู้อันกระจ่างชัดขึ้นมาเสียก่อน อันก่อเกิดขึ้นจากการถอนทำลายทวิภาวะอันเป็นเครื่องกางกั้นลงโดยอาศัย หลักธรรมสุญญตา นี่คือญาณทัศนะแห่งโพธิสัตว์ หลังจากได้ถอนทำลาย อุปสรรคหรือม่านหมอกอันบดบังลงแล้ว เราก็เริ่มรับรู้โลกแห่งปรากฏการณ์ได้ อย่างกระจ่างชัดดังที่มันเป็น นั้นคือประสบการณ์แห่งมหามุทรา มิใช่มหายาน นั้น จะเพียงแต่ถอนทำลายทวิภาวะอันเป็นเครื่องขวางกั้นลงเท่านั้น ทว่ามัน ยังมอบความมั่งคั่งให้แก่จิตใจของเรา เราจะกลับรู้สึกชื่นชมเห็นค่าในโลก อีกครั้งหนึ่งโดยปราศจากอคติหรืออุปสรรคขัดขวางใด ๆ
" หากจะว่าไปแล้ว ประสบการณ์แห่งสุญญตานั้นเป็นประสบการณ์ด้านลบ โดยสิ้นเชิง นั้นคือการตัดทิ้งถอนทำลายลง มันยังเต็มไปด้วยอาการอันต่อสู้ ดิ้นรน และหากมองจากบางแง่มุมแล้ว คุณก็อาจกล่าวได้ว่าสุญญตานั้นจำเป็น ต้องอาศัยจุดอ้างอิง จุดอ้างอิงแห่งอุปสรรค ที่ขวางกั้นอยู่ระหว่างตัวเรากับ ผู้อื่น ก่อให้เกิดจุดอ้างอิงแห่งไร้อุปสรรค ทว่าหลักการแห่งมหามุทรากลับ ไม่ต้องการอาศัยแม้แต่อุปสรรคที่ดำรงอยู่หรือแม้สิ่งใด ๆ เลย เพื่อมาเป็นแรงต้าน มันเป็นเพียงการสำแดงออกอันบริสุทธิ์และตรงไปตรงมาของโลกแห่ง การแลเห็นและกลิ่นและกายสัมผัส ในฐานะที่เป็นประสบการณ์อันดำรงอยู่ ด้วยตนเองของมณฑล จะไม่มีการสะกดยับยั้งหรือเหนี่ยวรั้งใด ๆ สิ่งต่าง ๆ จะถูกแลเห็นและรับรู้อย่างเที่ยงตรงคมชัดและงดงาม โดยไม่ต้องหวั่นเกรงว่า จะกลับตกเข้าไปอยู่ภายใต้มัน "
มดเอ๊กซ:
ภาคนำ สรุปมหามุทรา
มหามุทรามี 3 กระสวน มหามุทราสุตตะ มหามุทรามนตรา มหามุทราแก่นแท้
๐มหามุทราสุตตะ เป็นการเข้าถึงความเป็นพุทธะโดยปัญจมรรคและทศภูมิ
๐มหามุทรามนตราเป็นประสบการณ์แห่งความยินดี ( นันทิ ) ๔ ระดับโดยการ เพิ่มพลังชนิดที่ ๓ ซึ่งนำไปสู่ความว่าง ๔ ระดับ นัททิ ๔ ระดับได้แก่ ๑ ) นันทิ ๒ ) อภินันทิ ๓ ) นิรนันทิ ๔ ) บุพนันทิ ( ยินดีโดยธรรมชาติ ) นำไปสู่วิธีแห่ง การรู้แจ้งทัศนะแห่งมหามุทรา คำพูดตามที่นิยมก็คือ " เข้าถึงปัญญาที่แท้ โดยวิธีของปัญญาที่เป็นสัญลักษณ์ " ปัญญาที่เป็นสัญลักษณ์ หมายถึง ความว่าง ๔ ระดับ ซึ่งมาจากนันทิทั้ง ๔ ขณะที่ปัญญาทีแท้ คือ มหามุทราแห่งสภาวะ ธรรมชาติและปราศจากการปรุงเสริมเติมแต่งในลักษณะนี้ เรียกว่า มหามุทรา มนตรา
๐มหามุทราแก่นแท้ ถูกบรรยายในความหมายของแก่นแท้ ธรรมชาติและการ แสดงออก แก่นแท้คือความไม่เกิดขึ้น ธรรมชาติ คือ ความไม่ขัดข้อง และ การแสดงออก คือ สิ่งที่ปรากฏออกในหลาย ๆ ลักษณะ มหามุทราแก่นแท้ สามารถระบุลงไปโดยวิธีที่ฉลาดคือ " มหามุทราแก่นแท้คือ จิตธรรมดา ๆ ล้วน ๆ ซึ่งพักอยู่ในภาวะตามธรรมชาติที่ไร้การปรุงแต่ง "
แม้ว่าคำสอนเรื่อง ๐มหามุทราและซอกเซนแห่งภาวะธรรมชาติจะต่างกันโดย คำศัพท์ หากความหมายไม่ต่างกันเลย ด้วยคำสอนนั้น จิตขณะมรณวิถี ผสมกับธรรมกาย ขณะที่ร่างกายกำลังแตกสลาย และเป็นไปได้ที่จะบรรลุถึง การตรัสรู้ที่แท้และสมบูรณ์ด้วยร่างกายนี้
มหามุทราในภาวะนี้คือการรู้แจ้งอย่างไร้มลทินของครูอาจารย์ของอินเดีย ( โดยปราศจากข้อยกเว้น ) ได้แก่ ครูผู้ควรบูชาหกท่าน ผู้สูงสุดสองท่าน และมหาสิทธาอีกแปดสิบท่าน เพียงแค่ได้ยินคำว่า มหามุทรา ก็นำไปสู่การสิ้นสุดแห่งสังสาระ
อาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ ตรังโป เทอร์ตัน เชรับ โอเซอร์ บรรยายไว้ว่า
มหามุทราและซอกเซน
ต่างกันเพียงคำศัพท์แต่มิใช่ความหมาย
ในแง่มุมของมหามุทรา " มูลฐาน " " มรรค " และ " ผล " มหามุทรามูลฐาน คือ แก่นแท้ที่ไม่เกิด ธรรมชาติที่ไม่ถูกกีดขวาง และการแสดงออกในลักษณะต่าง ๆ ระบบซอกเซนอธิบายในสามแง่มุม คือ แก่นแท้ ธรรมชาติ และความกรุณา
๐มรรคมหามุทรา คือ จิตธรรมดา เปล่าๆ ล้วนๆไม่มีสิ่งใดห่อหุ้ม ถูกปล่อยอยู่ในภาวะธรรมชาติที่ปราศจากการปรุงแต่ง
๐ผลมหามุทรา คือ การได้รับธรรมกาย แห่งการไม่ภาวนา โยคะสี่แห่ง มหามุทราคือ เอกัคคตา เรียบง่าย หนึ่งรส และไม่ภาวนา ผลจะเกิดเมื่อ บรรลุถึงธรรมกายแห่งการไม่ภาวนา
๐เอกัคคตา โยคะแรกของมหามุทรา มีสามระดับ ปฐม มัชฌิมะ และอุดม หรือ ชั้นต้น กลาง สูง ตามลำดับ เอกัคคตาส่วนใหญ่ประกอบด้วยสมถะ และความก้าวหน้าตามลำดับ ผ่านสมถะมีนิมิต ไม่มีนิมิต และสมถะชนิด ที่พระสุคตทรงยินดี ระหว่างกระบวนการนี้ ความยึดมั่นถือมั่นจะค่อย ๆ ลดลง ขั้นต่อไปคือ..
๐เรียบง่าย มีความหมายว่า ไม่ยึดติด ระหว่างระดับ ขั้นต้น กลาง และสูง ความยึดติดจะค่อยห่างหายไป ขณะที่ เอกัคคตาเป็นสมถะเสียส่วนใหญ่ เรียบง่ายมักเป็นวิปัสสนา
๐หนึ่งรส คือ ภาวะที่สมถะและวิปัสสนาผสมกันเป็นเนื้อเดียวปรากฏการณ์ และจิตเกิดร่วมกันเป็นหนึ่งรส บุคคลไม่จำเป็นต้องจำกัดขอบเขตปรากฏการณ์ อยู่ที่หนึ่งและวิญญาณอยู่อีกที่หนึ่ง แต่ความยึดติดด้วยทวิภาวะแห่งปรากฏการณ์ และจิตใจหลอมรวมกัน เป็นหนึ่งรสในมิติที่ไม่เป็นคู่
เมื่อเข้าเงียบอยู่ที่เขากัมโป คุรุกัมโปปะ ได้กล่าวกับสาวกว่า " การรวมกัน ระหว่างจิตและปรากฏการณ์คล้ายอย่างนี้ " แล้วท่านก็วาดมือผ่านเสากลางห้อง ส่วนบนและล่างของเสาก็แยกจากกัน ผู้ดูแลกลัวมากคิดว่าหลังคาจะ หล่นลงมา จึงนำหินชนวนมาแทรกกลาง การกระทำของกัมโปปะแสดงว่า ท่านถึง หนึ่งรสระดับสูง ซึ่งโลกและสรรพสิ่ง ปรากฏการณ์ทวิลักษณ์ ทั้งหลาย รวมกันเป็นหนึ่งรสในโลกแห่งความไม่เป็นคู่ มโนคติที่เป็นคู่ทั้งหลาย เช่นดีและชั่ว บริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ สุขสบายและเจ็บปวด ดำรงอยู่และไม่ดำรงอยู่ วัตถุแห่งการยอมรับและปฏิเสธ รับและละเลย ความหวังและความกลัว ทุกสิ่งผสมรวมกับเป็นหนึ่งรส ที่ประทับแห่งธรรมกาย
ที่จุดนี้อาจจะยังมีความชื่นชมในลักษณะแห่งหนึ่งรส ขั้นเหนือขึ้นไปคือ..
๐" ไม่ภาวนา " แม้มโนคติเพียงเล็กน้อยของผู้ดู สิ่งถูกดู นักภาวนาและ อารมณ์แห่งการภาวนา ล้วนละลายหายไปจากการก่อร่างของจิต ดังนั้น ธรรมกายแห่ง " ไม่ภาวนา " ก็บรรลุถึงซอกเซนเลย เรียกภาวะนี้ว่า " การดับไปของปรากฏการณ์ขั้นเหนือมโนคติ " ไม่มีการภาวนาและไม่มี การสรรสร้างสิ่งใด นั่นคือธรรมกาย
เมื่อถึงเอกัคคตา ไร้การยึดติด
ระหว่างเรียบง่าย ไม่สุดโต่ง
ไม่ผูกพันกับหนึ่งรส
ไม่ภาวนาอยู่เหนือจิตแบบมโนคติ
ดังนั้นฉันจึงได้ให้โครงร่างที่ชัดเจนเกี่ยวกับมหามุทราแล้ว
ตุลกู เออร์เจน รินโปเช
นากี กัมโป เนปาล ๑๙๘๘
มดเอ๊กซ:
อารัมภบท
มหามุทรา บริสุทธิ์สิ้นเชิงตั้งแต่แรกเริ่ม
ธรรมชาติที่หมดจดจากสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย
ปัญญาสูงสุดและสว่างไสวแห่งธรรมกาย
ฉันขอแสดงความเคารพด้วยการ เห็นแจ้ง ตามที่เป็นจริง
แม้ไม่มีสิ่งใดดำรงอยู่ในแก่นของมัน
แต่การแสดงออกของมันแสนมหัศจรรย์
ฉันจะอธิบายเพื่อเธอจะเห็นธรรมชาติของตนเอง
ลักษณะของธรรมชาติที่แบ่งแยกไม่ได้
แก่นแท้แห่งคำสอนซึ่งมีมากมายประมาณไม่ได้ของพระพุทธองค์คือ สติปัญญาแห่งตถาคตาซึ่งมีอยู่ในตามธรรมชาติแล้วในสรรพสิ่งทั้งหลาย คำสอนและ ( มรรค ) ยานนานาแบบที่แท้คือคำสอนเพื่อให้เห็นธรรมชาติ นี้ มีประตูสู่ธรรมะสำหรับสรรพสัตว์อยู่มากมายเท่าอุปนิสัยของสรรพสัตว์ เอง นี่เกิดจากพลญาณจากพระมหากรุณาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ในหมู่คำสอนทั้งหลายคือคำสอนที่สูงส่งและลัดสั้นที่สุด และท้ายสุดแห่ง จุดยอดในสายวัชรยานมนตราลับ มีชื่อเลื่องลือไปเช่นพระอาทิตย์และพระจันทร์ คือมหามุทราซึ่งเป็นวิธีที่เลิศสุดและตรงสุด ง่ายสุด ในการเปิดเผยโฉมหน้า ตามธรรมชาติแห่งจิตของเธอ ที่ซึ่งกายทั้งสามปรากฏอยู่แล้ว เป็นการเดินทาง บนถนนหลวงโดยสิทธาและวัชรธรทั้งหลาย ฉันจะอธิบายความหมายใน ประเด็นสำคัญ ๆ ในสามภาค
๑ . มหามุทรามูลฐาน ธรรมชาติที่แท้ของสรรพสิ่ง ความหมายของหลักธรรม อธิบายย่อ ๆ ในแง่มุมของความสับสนและความหลุดพ้น
๒ . มรรคมหามุทรา กระแสที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ลักษณาการแห่งทางผ่าน มรรคและภูมิทั้งสิบ อธิบายจากแง่มุมของสมถะและวิปัสสนา
๓ . ผลแห่งมหามุทรา ลักษณาการที่สวัสดิภาพของสรรพสัตว์ บรรลุถึงโดยการ เห็นแจ้งตรีกายแห่งพุทธะซึ่งบริสุทธิ์ไร้ราคี และสูงสุด อธิบายในลักษณะสรุป
มดเอ๊กซ:
ภาคที่หนึ่ง มหามุทรามูลฐาน
หลักธรรม
มหามุทรามูลฐาน ธรรมชาติที่แท้ของสรรพสิ่ง ความหมายของหลักธรรม อธิบายย่อ ๆ ในแง่มุมของความสับสนและความหลุดพ้น
แก่นแท้ ( natural essence ) ไม่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นสังสาระหรือนิพพาน ไม่ถูกจำกัดด้วยความหมายใด ๆ เป็นอิสระจากขอบเขตแห่งการขยายหรือ ย่อย่น ไม่อาจทำให้เกิดมลทินหรือมัวหมองด้วยถ้อยคำ เช่นน่ายินดีหรือ ไม่น่ายินดี เป็นอยู่หรือสาบสูญ มีหรือไม่มี สัสสตะหรืออุจเฉทะ ตัวตน หรืออย่างอื่น และอื่น ๆ เพราะว่าไม่สามารถระบุด้วยด้วยถ้อยคำใด ๆ แก่นแท้จึงเป็นมูลฐานของปรากฏการณ์ในรูปแบบใด ๆ ก็ได้ ไม่ว่าจะแสดง ออกมาในรูปใด แก่นแท้ล้วนไม่มีความมีตัวตนจริง ๆ มันเป็นความว่าง เป็นอิสระจากข้อจำกัดของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และสลาย เป็นอสังขต- ธรรมธาตุ แต่เบื้องต้นแล้วที่มันเป็นธรรมชาติที่กายทั้งสามแห่งพุทธะ ปรากฏออก และมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า " มหามุทรามูลฐานแห่งแก่นแท้ของ สรรพสิ่ง " คุยหครรภตันตระ ( Guhyagabhatantra ) สอนว่า
" แก่นแท้แห่งจิตไม่มีมูลฐานหรือรากเหง้า
มันเป็นมูลฐานของปรากฏการณ์ทั้งปวง "
แก่นแท้นี้ไม่ใช่อะไรบางอย่างที่ปรากฏเฉพาะในกระแสจิตแห่งปัจเจกคน หนึ่งหรือพระพุทธะองค์หนึ่งเท่านั้น แต่มันเป็นมูลฐานของทุกสิ่งที่ปรากฏ และแสดงตนอยู่ ทั้งสังสาระและนิพพาน
เมื่อเธอรู้ถึงธรรมชาติของมัน สำเหนียกสภาวะที่แท้ของมัน เธอคือพระพุทธเจ้า เมื่อเธอไม่รู้ ไม่สำเหนียกมัน และยังสับสน เธอคือสรรพสัตว์ ดังนั้น มันจึงเป็น มูลฐานแก่การท่องเที่ยวไปในสังสาระ และจึงเรียกว่ามูลฐานแห่งสังสาระและ นิพพาน ท่านพรหมมินทร์ สรหะผู้ยิ่งใหญ่กล่าวว่า
" จิตหนึ่งเดียวนี้เป็นพืชพันธุ์ของทุกสิ่ง
จากสิ่งนี้ มีทั้งสังสาระและนิพพาน "
จากแก่นแท้นี้มีการปรากฏรูปแบต่าง ๆ กันมากมาย ขึ้นกับว่ามันถูกรู้หรือไม่ ถึงจะเป็นอย่างไรก็ตาม มันก็ยังเป็นมูลฐานแห่งกายทั้งสามที่แบ่งแยกไม่ได้ ไม่มีข้อบกพร่องทั้งดีทั้งชั่ว ไม่มีอะไรมาเปลี่ยนแปลงแก่นนี้ได้ สาวกยาน เรียกว่า อสังขตธรรม มันเป็นธรรมชาติมูลฐานขั้นดั้งเดิม
ธรรมชาตินี้แสดงตนเป็นกลาง ๆ และไม่แบ่งแยก ไม่ว่าจะรู้จักมันหรือไม่ เรียกกันว่า " มูลฐาน " " อาลยะ " เพราะมันเป็นมูลฐานแก่ทั้งสังสาระและ นิพพาน อาลยะนี้ ไม่ใช่ความไม่มีอะไรเลยและไม่ใช่ความว่างแบบไม่มีเลย เป็นความตื่นรู้ ความสว่างไสว ( ปภัสสระ ) ที่มีอยู่ด้วยตนเองไม่รู้จักสิ้นสุด ความตื่นรู้นี้ซึ่งเรียกว่า " วิญญาณมูลฐาน " เปรียบได้กับกระจกและความ ชัดของมัน
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
Go to full version