แสงธรรมนำใจ > วัชรยาน

ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคที่หนึ่ง มหามุทรามูลฐาน

<< < (2/2)

มดเอ๊กซ:




การแยกชั้นปฐม
ต่อไปเป็นการอธิบายการแยกระหว่างสังสาระและนิพพานจากต้นกำเนิดคือ " มูลฐาน "
 
จากมุมมองด้านปัญญาต่อมูลฐานนี้ สาระของมันคือความว่าง ธรรมชาติ ของมันคือการตืู่้นรู้ และสองสิ่งนี้แยกจากกันไม่ได้ ประกอบเป็นการระลึกรู้ เพราะเป็นเหตุแห่งความเป็นพุทธะและองค์สำคัญแห่งมรรคจึงเรียกอีกอย่าง หนึ่งว่า " มูลฐานแห่งการกระทำทั้งปวง " " ตถาคตครรภ์ " " ธรรมกายแห่ง การรู้แจ้งในตนเอง " " ญาณแห่งปัญญา " " พุทธะในใจเธอ " และอื่น ๆ การจำแนกชื่อแก่ลักษณะด้านนิพพานเหล่านี้ล้วนมีความหมายเหมือนกัน ลักษณะทางด้านปัญญาเหล่านี้ควรสำเหนียกรู้ด้วยตนเองทุก ๆ คนที่ปฏิบัติ เพื่ออริยมรรค

เนื่องจากความเขลาต่อสิ่งนี้ เธอไม่ตระหนักรู้แก่นแท้ของเธอเอง ไม่รู้ ภาวะตามธรรมชาติของเธอเอง เมื่อเป็นอย่างนี้เธอมืดมัวต่อภาวะของเธอ เรียกว่า " ความเขลาเกิดร่วม " หรือ " ความมืดแต่เบื้องบรรพกาล " เพราะ มันเป็นพื้นฐานที่วุ่นวายและความหลงผิดต่าง ๆ เกิดขึ้น จึงเรียกอีกชื่อ หนึ่งว่า " มูลฐานแห่งอนุสัย " ดังนั้น มันจึงเป็นมูลฐานแห่งความสับสน ของสรรพสัตว์ " ตันตระประตูแห่งการรู้แจ้ง " ( openness of realization tantra ) กล่าวว่า
 
" เนื่องจากการตระหนักรู้ไม่ได้เกิดขึ้นจากมูลฐานนี้
ความไม่ตื่นรู้อย่างสมบูรณ์แห่งจิต
คือมูลฐานแหางความเขลาและความสับสน "
 
สิ่งที่เกิดร่วมกับความเขลาคือ ทิฏฐิ ๗ เนื่องจากความหลง เช่นภวตัณหา

จากความเขลาเกิดร่วม เป็นบ่อเกิดแห่งอุปทานในตนเองและการระบุ ตัวตน จากตนเองนำไปสู่การมีอุปาทานใน " ผู้อื่น " เมื่อไม่รู้ว่าการแสดง ออกเช่นนี้เพื่อวัตถุประสงค์ใด ( การแสดงความเป็นบุคคล ) ตนก็ไป ยึดถือราวกับเป็นวัตถุภายนอกอย่างหนึ่ง การสับสนเพราะยังไม่รู้ธรรมชาติ ของอุปาทานในผู้รับรู้และสิ่งถูกรู้ เรียกว่า " ความเขลาแห่งมโนคติ " หรือ " มโนวิญญาณ " เป็นปฏิกิริยาการเข้าใจระหว่าง วัตถุและจิต ว่าแบ่งแยกต่างหากจากกัน และเป็นบ่อเกิดแห่งทิฏฐิ ๔o อันเกิดจากตัณหา เช่น อุปาทาน
 
จากการแสดงออกของมโนวิญญาณ อนุสัยและความสับสนหลายอย่าง เกิดขึ้นและแผ่ขยาย โดยกระบวนการปฏิจจสมุปบาท เช่น กระแสแห่ง กรรม และความไม่รู้ในอาลยะ ทำให้ กาย จิต ถูกปรุงแต่งอย่างสมบูรณ์ วิญญาณทั้งห้า สัญญาห้า เป็นปฏิจจสมุปปันธรรม
 
ปราณใหญ่ทั้ง ๕ และปราณย่อยทั้ง ๕ กลายเป็นพาหะแห่งสังขารเช่นนี้ โดยความเคยชินจะเกิดความยึดถือด้วยความสับสน การปรากฏตัวของเธอ จะเป็นเหมือนกับโลกและผู้อยู่อาศัย จากพื้นฐานนี้ทุกสิ่งทุกอย่างก็ถูกปรุง แต่งขึ้น เรียกอีกชื่อว่า จิตที่เศร้าหมอง มันเป็นกระแสที่ไหลผ่านอายตนะ ทั้ง ๕ ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นและอื่น ๆ จึงเรียกอีกชื่อว่า " วิญญาณ ๕ " สิ่งที่เกิดร่วมคือทิฏฐิ ๓๒ อันเกิดจากโทสะ เช่น วิภวตัณหา และอื่น ๆ 

ในวิถีทางนี้ " มูลฐานแห่งอนุสัย " เป็นเสมือนรากเหง้า และอนุทิฏฐิ ๘o เป็นเสมือนกิ่งก้าน ก็เติบโตอย่างช้า ๆ และความสับสนก็ต่อเนื่อง โดยวิถี ทางนี้เธอเดินทางเวียนว่ายในวัฏฏะอย่างไม่มีที่สิ้นสุด นี่เป็นหนทางแห่ง ความสับสนของสรรพสัตว์ผู้ยังไม่ตื่น
 
เพราะความสับสนนี้ แนวโน้มสู่สังสาระและนิพพานยังคงอยู่ใน " มูลฐาน " ในลักษณะของ " พีชะ " วัตถุที่หยาบทั้งปวง นาฑีทั้งบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ ปราณะ และพินธุแห่งกายภายใน ตลอดจนถึงปรากฏการณ์ทั้งปวงแห่งสังสาระ และนิพพาน โลกและสรรพสัตว์แห่งภพทั้งสาม ปรากฏออกมาภายนอกใน ลักษณะที่ผูกพันกันและกัน เหมือนกับวัตถุในความฝัน เป็นมายาปรากฏเพียง ผิวเผิน ไม่มีจริง เพราะความเคยชินที่จะยึดมั่นถือมั่นว่าเที่ยงแท้ รวบยอดและ ยึดฉวยว่าเป็นจริงแท้ เธอประสบกับความยินดียินร้ายแห่งภพทั้งสามและภูมิ ทั้งหก เธอหมุนวนไปในกระแสแห่งเหตุและผลของสังสาระ ลักษณะของ สรรพสัตว์ล้วนเป็นเช่นนี้


มดเอ๊กซ:



แก่นแท้มั่นคงยั่งยืน
แม้ว่าจะสับสนและท่องเที่ยวไปในสังสาระ ธรรมชาติแห่งตถาคตครรภ์ แก่นแท้แห่งการตื่นรู้ ไม่เคยบกพร่องหรือลดลงแม้แต่น้อยนิด taknyi tantra กล่าวว่า
 
" สรรพสัตว์ทั้งหลายคือพุทธะ
แต่ถูกปกคลุมแล้วด้วยเครื่องเศร้าหมอง "
 
เมื่อกล่าวอย่างที่สุด ธรรมชาติดั้งเดิมนี้ปรากฏอย่างแจ่มชัดในลักษณะแห่ง ตรีกาย ในที่สุดก็ยังคงปรากฏเป็นตรีกายเมื่อบรรลุอริยผลแล้ว เมื่อมลทินถูก ชำระและความรู้แจ้งสองประการสมบูรณ์แล้ว ด้วยเหตุนี้ ลักษณะทั้งคู่แห่ง ความสับสนและความเป็นอิสระ เป็นสลากแก่สภาวะที่ยังไม่เป็นอิสระจาก มลทินแห่งความหลงและอวิชชา uttara tantra ( อุตรตันตระ ) กล่าวว่า
 
" มันเป็นอย่างเมื่อก่อนนี้ และจะเป็นต่อไป
เป็นธรรมชาติที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง "
 
แม้ธรรมชาติแห่งจิตจะบริสุทธิ์อยู่เอง เหมือนอย่างแก่นแท้แต่ดั้งเดิมของมัน ความสับสนชั่วขณะ หรือความเขลาร่วมซึ่งปิดบังเธอเกิดจากเธอเอง คล้าย สนิมเคลือบทองคำ กรรมวิธีชำระความมืดมัวมีสอนอยู่มากมาย แก่นแท้นี้ ซึ่งเป็นปัญญาที่มีอยู่เอง ไม่เคยแปรเปลี่ยนในกาลทั้งสาม และปราศจาก มโนคติทั้งปวง เป็นปัญญาที่แท้และจริง มรรคทั้งหลายจึงรวมอยู่ใน " มรรคและปัญญา " นั่นเป็นการตระหนักรู้ของผู้ชนะข้าศึกคือกิเลสแล้ว
 
เธอคิดว่าเป็นไปได้หรือที่ " มูลฐาน " เพียงอย่างเดียวจะแยกเป็นได้ทั้ง สังสาระและนิพพาน มันก็เหมือนกับการบูร ซึ่งมีประโยชน์และโทษใน การรักษาโรคก็ได้ แล้วแต่เหตุจากความเย็นหรือร้อน นอกจากนี้ สารพิษ ซึ่งปกติทำให้ถึงตาย สามารถใช้เป็นยาได้ถ้าใช้โดยชาญฉลาด ทำนอง เดียวกัน เธอก็หลุดพ้นเมื่อตระหนักและสำเหนียกธรรมชาติเดียวแห่ง " มูลฐาน " และหลงอยู่เมื่อไม่ตระหนักรู้ " มูลฐาน " และเข้าใจว่าเป็น ตัวตน ดังนั้น " มูลฐาน " จึงเปลี่ยนเพราะรู้ หรือ ไม่รู้ ท่านนาคารชุน กล่าวว่า
 
" เมื่อปกคลุมด้วยตาข่ายแห่งอารมณ์วุ่นวาย
บุคคลก็เป็น ' สรรพสัตว์ '
เมื่อเป็นอิสระจากอารมณ์วุ่นวาย
บุคคลก็เป็น ' พุทธะ ' "
 
ด้วยเหตุนี้ การรับรู้ปรากฏการณ์ทั้งปวงด้วยวิธีที่ฉลาดจากคำสอนใน มหามุทรา เธอจะสามารถดำรงรักษาความมั่นคงในธรรมชาติแห่ง " มหามุทรามูลฐาน " เธอสามารถขจัดมนทินจากความคิดที่สับสนด้วย มรรคมหามุทรา และจับฉวยตรีกาย ซึ่งเป็นผลมหามุทรา ดั้งนั้น เธอเปิดประตูสู่กำไรสองต่อ บุคคลผู้ถูกกระแสกรรมบงการอยู่ควร ค้นหาครูอาจารย์ที่สามารถ และควรปฏิบัติตาม เช่น สัทธาปรูฑิตาปฏิบัติ ตามมณีภัทร หรือ นโรปะปฏิบัติตามติโลปะ เธอควรทำให้สุกงอมโดย วิธีเพิ่มพลัง ( empewerment ) ซึ่งเป็นประตูสู่วัชรยาน และควรทำความเพียรกระทั่งมีผลปรากฏโดยไม่หยุดเพื่อหาความสบาย เกียจคร้าน หรือ ว่าการปฏิบัติเป็นเรื่องเล็กน้อย นี่เป็นสิ่งมีค่าในฐานะคำแนะนำ ชั้นต้นเพื่อการหลุดพ้น
 
กล่าวโดยเฉพาะ โดยความอุทิศตนต่ออาจารย์อย่างเต็มที่ และควรเน้นที่ การปฏิบัติโดยปราศจากความเสแสร้งแกล้งทำ นอกจากนี้ เธอควรมั่นใจ ที่จะได้รับพรด้วยความกรุณาอันอบอุ่นจากท่าน นี่คือแก่นอันศักดิ์สิทธิ์ใน ประเพณีของวิทยาธรนิกายกาจู มหาสันติธาราตันตระ ( great pacifying river tantra ) กล่าวว่า
 
" ปัญญานี้ ไม่สามารถบรรยายได้
บรรลุได้โดยการปฏิบัติการสะสม
และการขจัดกิเลสเครื่องปกปิด
และการให้พรจากอาจารย์ผู้รู้แจ้ง
ควรเข้าใจว่าเป็นการหลงทางถ้าใช้วิธีอื่น "
 
ทีนี้จะกล่าวถึงการปฏิบัติเป็นหลัก ไม่ว่าสายปฏิบัติใดก็ตาม หยั่งถึงการ ภาวนาจากหลักธรรม หรือหยั่งถึงธรรมจากการภาวนา สิ่งสำคัญยิ่งยวด คือการรับการให้พรจากอาจารย์

มดเอ๊กซ:

       
         * The 16th Gyalwa Karmapa

   ธรรมที่แท้
 
โดยทั่วไป ยานที่ต่างกันและสำนักวิชามากมาย มีวิธีต่างกันมากมายในการ รองรับหลักธรรม และต่างก็มีหลักพื้นฐานของตน เพราะทุกยานล้วนแสดง ถึงการเผยแผ่ธรรมอันประกอบด้วยพระมหากรุณาของพระชินสีห์ เราจะไม่ วิพากษ์ว่าดีหรือไม่ดี บริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ เพียงแต่ยินดีเท่านั้น
 
ในหัวข้อนี้ หลักธรรมก็คือ แก่นแท้แห่งจิต ปรากฏอยู่เองตั้งแต่เริ่มต้น ใน ลักษณะที่บริสุทธิ์และยิ่งใหญ่ เป็นอิสระ ( วิมุตติ นิพพาน ) ในกาละทั้งสาม คือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต จากการปรุงแต่งแห่งการเกิด ตั้งอยู่ และดับ สลายไป และลักษณะเช่นมาและไป แก่นแท้แห่งจิตไม่มัวหมองเพราะมโนคติ แห่งอุปาทานในสังสาระและนิพพาน และมรรค มันไม่สามารถขยายและย่นย่อ อย่างเช่น มีอยู่หรือไม่มีอยู่ เป็นอยู่หรือไม่เป็นอยู่ ถาวรหรือไม่ถาวร ดีหรือชั่ว สูงหรือต่ำ มันอยู่เหนือการจับเท็จหรือพิสูจน์ ยอมรับและปฏิเสธ และการ เปลี่ยนแปลงแห่งปรากฏการณ์ทั้งปวงในสังสาระและนิพพาน
 
ธรรมชาติที่แท้ดั้งเดิมหรือสภาวะของมันเป็นอิสระในลักษณะแห่งรูปลักษณ์ และความว่างที่แบ่งแยกจากกันไม่ได้ และเป็นเอกภาพที่กระจ่างชัดแห่งความ สว่างไสวและความว่าง มันเป็นความอิสระที่เปิดโล่งและแผ่ซ่านไปทั่วอย่าง สมบูรณ์แม้ในธรรมที่เกิดเอง นี่เป็นแกนแห่งหลักธรรม เป็นอยู่ตามธรรมชาติ ของมัน ปรากฏอยู่เองแต่ดั้งเดิม และเป็นแก่นแห่งสังสาระและนิพพาน ไม่มี หลักธรรมอื่นนอกเหนือจากนี้อีก
 
การเห็นแจ้งความบกพร่องเพราะการเข้าใจแบบทวิลักษณ์ โดยการเข้าใจ ลักษณะเดิมแท้นี้เรียกว่า " การเห็นแจ้งหลักธรรม " " การเห็นแจ้งแก่นแท้ แห่งจิต " หรือ " การเข้าใจธรรมชาติของสรรพสิ่ง " ตามที่กล่าวไว้ใน Doha Kosha
 
" เมื่อรู้แจ้ง ทุกสิ่งก็เป็นดังนั้น
ไม่มีใครจะรู้มากไปกว่านั้น "
 
ตามความจริงแล้ว ทั้งหมดทั้งสิ้นแห่งรูปลักษณ์และความดำรงอยู่ สังสาระ และนิพพาน ล้วนเป็นการแสดงตัวของตรีกาย จิตของเธอก็เช่นกัน มีธรรมชาติ แห่งตรีกายและตัวมันก็ไม่อยู่ต่างหากไป จากปรมัตถธรรมธาตุ ธรรมที่เป็น สังสาระทั้งปวง ล้วนมีอยู่ในคุณลักษณะของจิต ธรรมที่เป็นมรรคล้วนแล้วมีอยู่ ในหลักธรรม ธรรมที่เป็นผลมีอยู่ในกำลัง ( อินทรีพละ ) ของจิต
 
แก่นแท้ที่ไม่เกิดของจิตคือ ธรรมกาย การแสดงออกโดยไม่ติดขัดเรียกว่า สัมโภคกาย การทำหน้าที่แปรเปลี่ยนในลักษณะใด ๆ ก็ตามคือ นิรมาณกาย ตรีกายนี้มีอยู่เองและเป็นสิ่งที่แยกจากกันเป็นส่วน ๆ ไม่ได้ การตระหนักและ การดำรงอยู่ในภาวะนี้เรียกว่าการรู้ธรรมแท้ การรู้อย่างอื่น ๆ ความเข้าใจหรือ การภาวนาที่ใช้ความคิดทึกทักเอา หรือการอ้างถึงความเป็นคู่ เช่น เป็นอิสระ หรือไม่เป็นอิสระ ธรรมดาหรือพิเศษ ดีหรือเลว และอื่น ๆ ไม่มีสอนใน มหามุทรา

แก้วจ๋าหน้าร้อน:
อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่มด

ฐิตา:




อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ คุณมด

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version