ผู้เขียน หัวข้อ: ชีวิตและญาณทัสนะของตรุงปะ : คุรุบ้าผู้ปรีชาญาณ  (อ่าน 3254 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



จาก ชัมบาลา ถึง ชีวิตและญาณทัสนะของตรุงปะ



Shambhala : The Sacred path of the Warrior




Shambhala

“ชัมบาลา” คืออาณาจักรในตำนานของธิเบต เป็นสังคมในอุดมคติซึ่งเป็นต้นตอแห่งศิลปศาสตร์และอารยธรรมของเอเชียปัจจุบัน เป็นดินแดนแห่งสันติสุขและความรุ่งเรือง ชาวธิเบตเชื่อว่าอาณาจักรชัมบาลานั้นยังดำรงอยู่อย่างซ่อนเร้นในหุบเขาลี้ลับในเทือกเขาหิมาลัย ขณะที่บางตำนานกล่าวว่าอาณาจักรชัมบาลาได้สาบสูญไปหลายร้อยปีแล้ว เมื่อไม่นานมานี้ มีนักวิชาการชาวตะวันตกได้สันนิษฐานว่า อาณาจักรชัมบาลาอาจจะเป็นอาณาจักรโบราณแห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งมีบันทึกอยู่ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ ขณะหลายคนเชื่อว่าเรื่องราวเกี่ยวกับชัมบาลาเป็นเพียงเรื่องเล่าขานที่ไม่จริง


จะอย่างไรก็ตาม เราก็อาจเห็นได้ชัดถึงร่อยรอยของความปรารถนาของมนุษย์ อันฝังรากแน่นอยู่ในสิ่งสูงและชีวิตอันดีงาม ซึ่งแสดงออกผ่านตำนานนี้ ที่จริงแล้ว ในบรรดาคุรุธิเบตหลายท่านมีประเพณีซึ่งถือว่าอาณาจักรชัมบาลามิใช่สถานที่ซึ่งดำรงอยู่ภายนอก หากเป็นรากฐานของสภาวะการหยั่งรู้และการประจักษ์แจ้ง อันเป็นศักยภาพที่ดำรงอยู่ภายในตัวมนุษย์ทุกคน จากทัสนะนี้เอง จึงไม่สำคัญว่าอาณาจักรชำบาลาเป็นเรื่องจริงหรือเท็จ หากควรท่เราจะเห็นคุณค่าและดำเนินตามอุดมคติของสัมคมอริยะซึ่งแสดงนัยอยู่




path

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้นำเสนอข้อเขียนว่าด้วย “คำสอนของชัมบาลา” ซึ่งใช้ภาพของอาณาจักรชัมบาลาเพื่อแสดงถึงอุดมคติของการตรัสรู้ซึ่งปราศจากลัทธินิกาย นั่นก็คือ เสนอให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของการยกระดับจิตวิญญาณของตนและของผู้อื่น โดยไม่ต้องอาศัยแนวทางหรือญาณทัสนะของศาสนาใด เพราะแม้ว่าสายความคิดของชัมบาลาจะยืนพื้นอยู่บนหลักคิดและความนุ่มนวลของวัฒนธรรมแบบพุทธ แต่ในขณะเดียวกันมันก็มีรากฐานที่เป็นอิสระของตนเอง ซึ่งมุ่งตรงสู่การขัดเกลาให้เป็นมนุษย์ที่แท้




Warrior

ความเป็นนักรบในที่นี้มิได้หมายถึงการไปรบรากับผู้อื่น คำว่านักรบนี้มาจากภาษาธิเบตว่า ปาโว ซึ่งหมายความว่า ผู้กล้า ความเป็นนักรบตามนัยนี้จึงนับเป็นวัฒนธรรมแห่งความกล้าหาญของมนุษย์




The Sacred

กุญแจที่ไขไปสู่ความเป็นนักรบและหลักการเบื้องต้นของญาณทัสนะชัมบาลาก็คือ การไม่กล้วความจริงในตนเองไม่ว่าเราจะเป็นใครก็ตาม ถึงที่สุดแล้ว คำจำกัดความจองความกล้าก็คือ “ไม่กลัวตัวเอง” ญาณทัสนะชัมบาลาสอนดังนั้น เบื้องหน้าปัญญาอันยิ่งใหญ่ของโลกซึ่งเรากำลังเผชิญหน้าอยู่ เราก็อาจหาญและเมตตาได้ในขณะเดียวกัน




ข้อความดังกล่าวข้าพเจ้าคัดลอกมาจาก ชัมบาลา หนทางอันศักดิ์สิทธิ์ของนักรบ งานเขียนของเชอเกียม ตรุงปะ แปลโดยพจนา จันทรสันติ (สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง) แม้จะเห็นหลายครั้งก็ไม่คิดว่าจะอ่านได้ เพราะคำว่านักรบนั้นดูจะบู๊เกินไป แต่พอได้พิจารณาเนื้อหาโดยรวมแล้วก็ได้เห็นถึงมิติภายในที่ไม่ใช่ความก้าวร้าวอย่างที่เคยเข้าใจ (ไปเอง) เชอเกียม ตรุงปะ ริมโปเช จึงกลายเป็นอีกหนึ่งชื่อที่ข้าพเจ้าจดจำได้ในนิยามของธรรมาจารย์ธิเบต แต่พอได้เห็นหนังสือเล่มใหม่ของสำนักพิมพ์สวนเงินมีมาที่เขียนโดยฟาบริซ มิดัลแล้ว ข้าพเจ้าก็เกิดอาการสงสัยจนมึนเหมือนถูกทุบหัวไปชั่วขณะ ธรรมาจารย์ของข้าพเจ้าถูกนิยามว่า คุรุบ้า” แม้จะเติมคำว่า “ผู้ปรีชาญาณ” เข้าไปก็ตามที ข้าพเจ้ายืนมองหนังสือเล่มหนาปกสีสดกับรูปธรรมาจารย์ธิเบตในชุดสามัญชนอย่างชั่งใจ เอาวะ สำนักพิมพ์นี้เขาไม่พิมพ์หนังสือไร้สาระ ชีวประวัติขนาดเขื่องเล่มนี้ น่าจะทำให้เรารู้จักเชอเกียม ตรุงปะดีขึ้นแหละน่า ข้าพเจ้าคิดแล้วตัดสินใจติดตามเรื่องราวของ “คุรุบ้าผู้ปรีชาญาณ” ด้วยเชื่อมั่นว่า การได้รู้จักใครสักคนมากขึ้น ย่อมหมายความว่าเราสามารถเข้าใจสิ่งที่ผู้นั้นทำ พูด และคิด ได้มากขึ้นนั่นเอง


ว่าแล้วก็ขอเชิญติดตามเรื่องเล่าของคุรุบ้าที่ข้าพเจ้าจะนำเสนออย่างย่อ ณ บัดนี้




การค้นพบตรุงปะรุ่นที่ ๑๑ และความเชื่อเรื่องตุลกู



เชอเกียม ตรุงปะเกิดในเดือนกุมภาพันธ์ปี ๑๙๔๐ ที่หมู่บ้านเล็กๆ บนที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของธิเบต ถัดขึ้นไปเป็นยอดเขาปาเกอ พุนซุม ซึ่งมักจะเรียกว่า “เสาหลักแห่งท้องฟ้า” ซึ่งเป็นยอดเขาพุ่งสูงเสียดฟ้าขึ้นไปกว่า ๑๘,๐๐๐ ฟุต แลดูคล้ายกับลูกศรมหึมาที่มีหิมะขาวโพลนเป็นประกายระยิบระยับปกคลุมอยู่บนยอดท่ามกลางแสงอาทิตย์ นี่คือดินแดนคัมแห่งธิเบตตะวันออก ซึ่งแม้จะถือเป็นดินแดนแห่งหิมะ (อันเป็นชื่อที่ชาวธิเบตใช้เรียกประเทศของตัวเอง) แต่ก็เป็นอาณาเขตที่เป็นอิสระจากอำนาจปกครองส่วนกลางของกรุงลาซา


บิดามารดาของเชอเกียม ตรุงปะเป็นพวกเร่ร่อนเช่นเดียวกับคนอื่นๆ ในดินแดนแถบนั้น ชาวคัมปาจะอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ อาศัยอยู่ในกระโจมซึ่งสามารถย้ายที่ไปเรื่อยๆ เพื่อเลี้ยงจามรีและดูแลฝูงแกะ มีชาวธิเบตเป็นอันมากใช้ชีวิตเร่ร่อนตามฝูงสัตว์ไปเยี่ยงนี้ โดยมีม้าเป็นพาหนะบ้าง หรือถ้ายากจนหน่อยก็เดินเท้าเอา


“ผมเกิดในคอกวัวที่ธิเบตตะวันออก” ตรุงปะเล่าถึงความหลัง “ท้องที่แถบนั้นไม่มีใครเคยเห็นต้นไม้สักต้น ชาวบ้านในดินแดนแถบนั้นมีชีวิตอยู่กับทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีต้นไม้ชนิดใด แม้แต่ไม้พุ่มหรือไม้ชนิดใดๆ พวกเขามีชีวิตอยู่ด้วยเนื้อสัตว์กับนมตลอดทั้งปี ผมเป็นบุตรของผืนแผ่นดินโดยแท้ และเป็นลูกชายของชาวนา”


เนื่องจากความรุนแรงของภูมิอากาศที่ขึ้นชื่อของดินแดนแถบนี้ คนกับธรรมชาติจึงมีความผูกพันกันอย่างลึกซึ้ง เพราะพวกเขาเชื่อว่ามนุษย์มีสายสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับสภาพแวดล้อม ชาวธิเบตจึงไม่พยายามที่จะแตะต้องรบกวนโลกรอบๆ ตัวพวกเขา ความผูกพันของพวกเขาต่อสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่เขาเคารพบูชา และสายสัมพันธ์ที่มีต่อกันจึงแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับพวกเราที่อยู่ในโลกตะวันตก




เมื่อเชอเกียม ตรุงปะอายุได้สิบสามเดือน ท่านถูกระบุตัวว่าเป็นตุลกู ร่างที่มาเกิดใหม่ของลามะองค์สำคัญ ก่อนที่จะอธิบายเรื่องความเชื่ออันลี้ลับนี้ เราต้องเข้าใจความคิดของชาวพุทธโดยเฉพาะเรื่องนี้ซึ่งมีแต่ในธิเบต การสถาปนาตุลกูถือกำเนิดมาจากหลักคำสอนพุทธศาสนาในเรื่องกรรมและการกลับชาติมาเกิดใหม่ เรื่องเหล่านี้เมื่อนำมาพูดในโลกตะวันตกมักจะถูกเข้าใจกันอย่างผิดๆ จึงเป็นเรื่องที่ต้องชี้แจงกันอย่างละเอียดอ่อนลึกซึ้ง


พุทธศาสนาถือว่า สรรพชีวิตเวียนว่ายตายเกิดนับครั้งไม่ถ้วน แต่กระนั้นก็ไม่มีชีวิตใดที่เป็นเจ้าของตัวตนที่แท้จริง ตรงกันข้ามกับความเข้าใจเรื่องการเกิดใหม่ของชาวตะวันตก แม้ว่าจะว่ามีกระแสจิตสำนึกสืบเนื่องไปในแต่ละชาติภพ แต่นี่หาใช่ “ดวงวิญญาณ” หรือตัวตนที่เป็นเอกเทศไม่ ฉะนั้นกฎแห่งกรรมหาได้มอบความเป็นนิรันดร์ให้ ซึ่งเราอาจขัดเกลาตนเองจนบรรลุถึงความสมบูรณ์ ทว่าตรงกันข้าม กฎแห่งกรรมคือเรื่องของการทำความเข้าใจว่าการเกิดและการตายหมุนเวียนเป็นวัฏจักร

การพูดเรื่องกลับชาติมาเกิดใหม่ในแนวคิดของพุทธศาสนาเป็นเรื่องที่พูดให้เข้าใจชัดเจนได้ยาก จึงเป็นการง่ายกว่าถ้าใช้คำว่า การเกิดใหม่ พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ความจริงที่ว่า ไม่ว่ามนุษย์หรือสรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงต่างก็ตกอยู่ในห้วงทุกข์ทั้งสิ้น ความปรารถนาที่จะธำรงอัตภาพนี้ไว้คือแรงกรรมที่หนุนเนื่องให้เราต้องเวียนวนอยู่ในห้วงทุกข์ไม่สิ้นสุด หากสามารถละทิ้ง “ตัวฉัน” และตระหนักได้ว่าการเวียนว่ายตายเกิดนั้นเป็นเพียงมายา ไม่แท้เที่ยงเราก็จะหลุดพ้นสู่อิสรภาพ


ในกรณีของตุลกู เหตุปัจจัยที่ทำให้ท่านมาเกิดใหม่อย่างที่เป็นนั้นแตกต่างจากปุถุชนทั่วไป และไม่ได้เป็นไปตามกฎแห่งกรรมเท่านั้น ดวงจิตของท่านเหล่านี้หลุดพ้นจากกงล้อแห่งความทุกข์แล้ว ท่านได้บรรลุถึงการตรัสรู้แล้ว เพียงแต่ว่าท่านตั้งปณิธานของพระโพธิสัตว์ ปรารถนาจะกลับมาเกิดในโลกอีกเพื่อประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย ในพุทธศาสนาบางนิกายปรารถนาความดับสิ้นซึ่งกิเลสและทุกข์ทั้งปวงเป็นที่สุดของจุดหมายปลายทาง (หลุดพ้นจากสังสารวัฏ) แต่ในวัชรนิกาย กลับตั้งความปรารถนาเกินกว่าความหลุดพ้นของตัวเอง และต้องการอุทิศตนเพื่อความหลุดพ้นของสัตว์ทั้งหลายด้วย ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ผ่านการฝึกฝนอบรมจากสำนักศึกษาของตุลกู ต้องเป็นผู้ที่มีอธิษฐานจิตในการบรรลุธรรมขั้นสูงสุด ดังปรากฎในมหาปณิธาน ๔ คือ





สรรพสัตว์ทั้งหลายอันประมาณมิได้ ข้าขอโปรดให้ถึงซึ่งความหลุดพ้น

กิเลสทั้งหลายที่ไม่สงบระงับ ข้าขอกำจัดให้หมดสิ้น

ธรรมทั้งหลายอันไม่มีประมาณ ข้าขอศึกษาให้เจนจบ

พุทธมรรคอันประเสริฐ ข้าขอบรรลุให้จงได้




การตั้งอธิษฐานจิตไว้เช่นนี้แสดงถึงเจตนาของผู้ปฏิบัติว่าไม่ได้ปรารถนาจะบรรลุธรรมเพื่อตัวเอง ความตั้งใจเบื้องต้นของท่านเหล่านี้ คือการปวารณาตนเพื่อเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย และช่วยเหลือสัตว์เหล่านั้นให้หลุดพ้นจากอวิชชาอันเป็นเหตุแห่งทุกข์


เมื่อมีคุรุสำคัญท่านใดสิ้นชีวิตลง ผู้นำนิกายมีหน้าที่ทำการสืบเสาะหาร่างที่มาเกิดใหม่ของท่าน โดยอาจจะเห็นนิมิตในความฝัน หรือนิมิตบางอย่างที่เป็นเครื่องบ่งชี้ทิศทางที่อยู่ของเด็กที่มาเกิดใหม่ ตัวอย่างเช่น ในกรณีของเชอเกียม ตรุงปะ กรรมาปะ องค์ที่ ๑๖ ได้ชี้แล้วว่าตุลกู ตรุงปะ องค์ที่ ๑๐ ได้ไปเกิดใหม่แล้วในหมู่บ้านแห่งหนึ่งห่างจากอารามเซอร์มังชั่วเดินเท้าห้าวัน อยู่ในบ้านซึ่งประตูหันไปทางทิศใต้ ที่บ้านมีสุนัขตัวใหญ่สีน้ำตาลแดง บิดาของเด็กชื่อเยเชคาร์เย มารดาชื่อชุงโซ แต่เนื่องจากมารดาของท่านแต่งงานใหม่ จึงมีการสับสนบ้างตอนชี้ตัวเด็ก เพราะชื่อของชายที่เธออยู่กินด้วยไม่ใช่ชื่อเดียวกับบิดาแท้ๆ ของเชอเกียม ตรุงปะ ตามคำพยากรณ์


เมื่อเชอเกียม ตรุงปะ ถูกค้นพบนั้น ท่านต้องผ่านการทดสอบตามประเพณี โดยมีการนำสิ่งของชนิดเดียวกันหลายชิ้นมาวางไว้ตรงหน้า แต่มีเพียงชิ้นเดียวเท่านั้นที่เป็นสมบัติของท่านเมื่อชาติที่แล้ว เด็กเลือกของได้ถูกต้องโดยไม่มีการลังเล การบ่งชี้ของกรรมาปะจึงเป็นอันถูกต้อง ตรุงปะเล่าว่า ท่านสามารถระลึกถึงเหตุการณ์ในชีวิตเมื่อชาติที่แล้ว ซึ่งก็คือ ตรุงปะที่ ๑๐ ได้อย่างชัดเจนจนถึงอายุสิบสามขวบ


อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเด็กที่ถูกชี้ตัวว่าเป็นตุลกูกลับชาติมาเกิดจะมีศักยภาพอันยิ่งใหญ่ในตัวเองอยู่แล้ว แต่พวกเขาก็ยังไม่ได้บรรลุถึงศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ พวกเขาต้องศึกษา อบรม ฝึกฝนในอย่างเข้มงวด กวดขัน ยิ่งกว่าพระสงฆ์ทั่วๆ ไป ตอนที่ท่านอายุได้ ๑๘ เดือน ตรุงปะถูกนำตัวจากหมู่บ้าน มาพำนักอยู่ในวัด พออายุได้ห้าขวบ ท่านก็เริ่มการศึกษาอบรมอย่างเป็นเรื่องเป็นราว




ออกจากธิเบต


วันที่ ๑ มกราคม ๑๙๕๐ จีนประกาศที่จะ “ปลดแอกธิเบตจากจักรวรรดินิยมต่างชาติ และรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับประเทศแม่” จากนั้นกองทัพมหึมาก็เคลื่อนพลเข้ามาในดินแดนหิมะ ในปี ๑๙๕๕ จีนนำระบบนารวมมาใช้ และส่งกองทัพเข้ายึดอาวุธและทรัพย์สิน กำจัดการครอบครองทรัพย์สินทุกรูปแบบ พวกทหารจับพระสงฆ์และสามเณรีมาทรมานและฆ่าทิ้งกลางที่สาธารณะ


เชอเกียม ตรุงปะเพิ่งจะอายุสิบเก้าปีในเวลานั้น ท่านต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ซึ่งช่วงนั้นไม่มีอะไรชัดเจนแน่นอน เหมือนอย่างที่เราได้รับรู้กันในปัจจุบันหลังจากเหตุการณ์ผ่านพ้นไปแล้ว ท่านถูกตัดขาดและได้รับข้อมูลที่บิดเบือนไป ตามแต่เจตนาของทางฝ่ายจีน ด้วยวัยที่ยังเยาว์ ท่านต้องมาตัดสินใจเสี่ยงกับผลที่จะตามมาในอนาคตอีกยาวไกล ท่านถูกบังคับให้เลือกระหว่างอยู่หรือหนีออกนอกประเทศของตน? ทีแรก ตรุงปะหนีไปที่ลาซาก่อน แต่เมื่อท่านทราบว่าองค์ทะไลลามะเสด็จออกนอกประเทศไปแล้ว ท่านจึงตัดสินใจหนีไปอินเดียเช่นกัน โดยเป็นผู้นำผู้ลี้ภัยกลุ่มหนึ่ง เริ่มจากผู้ติดตามเก้าคน ไม่นานก็เพิ่มจำนวนเป็นสามร้อย ในการนำคนเหล่านี้ ท่านต้องใช้การเสี่ยงทาย เพื่อพยากรณ์เหตุการณ์ข้างหน้าอยู่บ่อยๆ


การเดินทางกินเวลายาวนานและเต็มไปด้วยอันตราย กว่าจะฝ่าฟันความยากลำบากแสนสาหัสมาได้ก็ใช้เวลาเกือบสิบเดือน เนื่องจากต้องคอยหลบทหารจีนซึ่งสะกดรอยตามมาตลอด กลุ่มอพยพต้องเดินทั้งวัน ตั้งแต่ย่ำรุ่งยันย่ำค่ำ บางครั้งก็ต้องเดินทางกันตอนกลางคืน เชอเกียม ตรุงปะถือว่าการเดินทางครั้งนี้คือการจาริกแสวงบุญ กลับคืนสู่แผ่นดินประสูติของพระพุทธเจ้า และได้ใช้เวลาเป็นอันมากกับการปฏิบัติธรรม แม้ว่าจะอยู่ในช่วงตกระกำลำบากก็ตาม ท่านอธิบายกับเหล่าผู้ติดตามว่า: “นี่คือถือเป็นโชคของเราที่การเดินทางของเรายากลำบากและต้องต่อสู้กับอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่กว่าการจาริกแสวงบุญในอดีต เพราะจากสิ่งเหล่านี้เราจะได้เรียนรู้และรับประโยชน์จากการเดินทางยิ่งขึ้น” ท่านสามารถแปรเปลี่ยนความวุ่นวายระส่ำระสายที่ต้องเผชิญให้กลายเป็นประสบการณ์ทางธรรมไป เมื่อคณะอพยพมาถึงชายแดนอินเดียที่แคว้นอัสสัมนั้น จำนวนคนในกลุ่มเหลืออยู่เพียงสิบเก้าคน ระหว่างการเดินทางอันยาวนานจากธิเบต หลายคนล้มป่วย หลายคนชราภาพเกินกว่าจะเดินทางอย่างตรากตรำเช่นนั้น จึงหมดแรงเสียชีวิตไป และหลายคนถูกจับกุม


เชอเกียม ตรุงปะหนีออกจากธิเบตได้สำเร็จ จากนี้ไป ท่านต้องถูกตัดขาดจากขนบธรรมเนียมประเพณีและวิถีชีวิตเดิมๆ ท่านต้องละทิ้งบ้านเกิดไว้ข้างหลังเพื่อรักษาบางสิ่งบางอย่างไว้ ด้วยจิตที่ระลึกอยู่เสมอว่าท่านไม่อาจกลับคืนไปอีก


เด็กหนุ่มผู้เดินทางมาถึงประเทศอินเดียในปี ๑๙๖๐ ผู้นี้เป็นบุคคลพิเศษ ไม่ใช่เพียงเพราะมีสถานภาพเป็นถึงตุลกู หรือการถูกอบรมเลี้ยงดูมาอย่างเหนือสามัญ แต่เป็นเพราะการตัดสินใจอันมุ่งมั่น เขาพร้อมที่จะสละสิ่งใดๆ เพื่อที่จะชูธงชัยแห่งพระธรรมคำสอนที่เคยได้รับ ซึ่งทำให้ชีวิตของเขาเปลี่ยนแปลงมาแล้ว พุทธศาสนาไม่ใช่สิ่งที่อยู่นอกกาย ตัวเขาและพระธรรมคือหนึ่งเดียวกัน


http://www.oknation.net/blog/nuchareeya/2009/03/20/entry-1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 14, 2011, 03:38:22 pm โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



วันนี้พึ่งได้หนังสือเล่มนี้มา ชีวิตและญาณทัสนะของตรุงปะ: คุรุบ้าผู้ปรีชาญาณ (Chogyam Trungpa : His Life and Vision) ฟาบริซ มิดัล เขียน / พินทุสร ติวุตานนท์ แปล / พจนา จันทรสันติ บรรณาธิการ ขอติหน่อยละกัน ไม่ชอบหน้าปกเลย เห็นหน้าปกแล้วนึกถีงพวกครูมวยจีนประเภท มวยจีนเพื่อชีวิตฯของอาจารย์สุวินัยขึ้นมาตะหงิด ๆ ส่วนคำโปรยยังไม่ปรากฏคาดว่าเพิ่งจะออกมาจากโรงพิมพ์แบบสด ๆ ร้อน ๆ


เฝ้าติดตามแนวคิดวัชรยานมาหลายปี หลัง ๆ ยุ่ง ๆ มัวแต่ไปทำอะไรอย่างอื่นเลยรามือลงไป เคยสังเกตและตั้งข้อสงสัยว่าระหว่าง หินยาน มหายาน กับวัชรยาน ที่ออกไปเผยแพร่อยู่ในตะวันตกตั้งแต่ช่วงทศวรรษเจ็ดศูนย์ยุคบุปผาชนฝังรากลากยาวมาจนปัจจุบันในยุคที่ผู้คนดูโงนเงนง่อนแง่นวก ๆ วนๆอยู่ในดีกรีที่ไม่ด้อยไปกว่ากัน ดูเหมือน วัชรยาน กับ มหายาน จะปรับตัวหรือสอดคล้องกับตะวันตกหรือเข้าถึงชาวตะวันตกได้มากกว่า เนื่องจากการปรับตัวไม่ยึดติดกับรูปแบบที่เคร่งครัดมากนัก อีกประการก็อาจจะด้วยลักษณะแบบ exotic ที่คลุมเครือ ๆ แบบวัชรญานก็อาจจะดึงดูดใจได้มากกว่า ส่วนมหายานก็มีลักษณะเด่นเหมือน ๆกันคือมีความเรียบง่ายต่อการปฏิบัติมากกว่าจึงทำให้งานของซูซูกิ จนมาถึง นัท ฮันห์ แพร่หลายอยู่พอสมควรในโลกตะวันตก หรืออาจจะเพราะทั้งสองยานเชื่อความสามารถในการเป็นพุทธะที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคนก็ได้ ส่วนฝ่ายหินยานดูยึดติดกับรูปแบบมากกว่าดูเหมือนเคร่งครัดมากกว่า ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยได้น้อยกว่า นิพพานก็ดูห่างไกลเลื่อนลอยยากเย็นยิ่งกว่า ก็เลยแพร่หลายได้น้อยกว่า




เกิดมาเยี่ยงสงฆ์
ตายลงเยี่ยงราชัน
เราจักตามสิงสถิตในตัวท่าน
ร่วมกันกับดราละ
ขอจงมีแต่ความสุขสวัสดี


งานของ เชอเกียม ตรุงปะ เราอ่านผ่านตามาแล้วหลายเล่ม ตั้งแต่ ซัมบาลา (หนทางอันศักดิ์สิทธิ์ของนักรบ) คัมภีร์มรณศาสตร์แห่งธิเบต มหาสีหนาทบันลือ การเดินทางอย่างปราศจากจุดมุ่งหมาย ความปั่นป่วนสับสนอันมีแบบแผน อ่านจนบางทีไปปนกับงานของ โชเกียล รินโปเช คือเหนือหัวงมหรรณพ ประตูสู่สภาวะใหม่ เพ่งพินิจเรื่องชีวิตและความตาย ส่วนใหญ่งานพวกนี้ก็จะจัดพิมพ์โดยสวนเงินมีมา ก่อนหน้านั้นก็คือ ศึกษิตสยาม เริ่มอ่านตั้งแต่คิดว่า รินโปเช หรือริมโปเช เป็นชื่อคนแต่ง จนตอนหลังรู้ว่า ริมโปเช เป็นคำยกย่องอาจารย์ เพราะฉะนั้นพระชาวธิเบตหลายคนก็ถูกยกย่องเป็นริมโปเช

เล่มนี้เป็นหนังสือคล้าย ๆอัตชีวประวัติของ เชอเกียม ตรุงปะ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยนาโรปะที่โคโรลาโด อ่านไปสามสี่บท เริ่มตั้งแต่ตรุงปะในธิเบต อพยพมาอังกฤษ ต่อมาก็มาอเมริกา แล้วมาที่แถบ Rocky Mountain ได้ยังไง การสอนหรือวิถีของตรุงปะ ทำไมใคร ๆ ถึงขนานนามตรุงปะว่า คุรุบ้า แล้วทำไมคุรุบ้าอย่างตรุงปะถึงได้เป็นที่สนอกสนใจมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย อะไรคือวิถีแห่งตรุงปะ วิถีแห่งวัชรยาน ใครสนใจก็ลองไปหาอ่านดูละกัน ข้างล่างตัดตอนมาจากบทต้น ๆ ไว้อ่านจบแล้วจะมาเล่าให้ฟังต่อ

“ผู้ที่ยืนอยู่ตรงนี้มีชื่อเรียกว่ามิสเตอร์มุกโป เป็นคนธรรมดาสามัญ เขาลี้ภัยออกมาจากธิเบตเพราะการรุกรานของจีนคอมมิวนิสต์ เขากำลังมองหาโอกาสที่จะเชื่อมสัมพันธ์กับโลกภายนอกธิเบต และพยายามที่จะทำให้ผู้คนเข้าใจถึงความรู้สึกของเขาในการปฏิบัติธรรม และสิ่งที่เขาศึกษาอยู่ หรือสิ่งที่เขาได้เรียนรู้ฝึกฝนมา ซึ่งนั่นก็คือสิ่งที่เรากำลังกระทำอยู่ในเวลานี้”

ช่วงเวลาสิบเจ็ดปีที่ท่านอบรมสั่งสอนอยู่ในสหรัฐ หากไม่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงแนวทางการสอน ตรุงปะไม่เคยลังเลที่จะเสี่ยงหรือคว่ำบาตรจารีตอันคร่ำครึถ้านั่นจะช่วยให้ผู้คนได้เข้าใจตัวเอง ด้วยการทำดังนั้น ท่านจึงช่วยให้พวกเขาสัมผัสได้ถึงโลกของท่านอย่างตรงไปตรงมาและหมดจด ท่านไม่เคยวางท่าทีเป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยมารยาทอันดีงาม ท่านชอบทำให้คนตื่นตะลึง พิศวง งงงวย คาดไม่ถึง หรือแม้แต่งุ่นง่านรำคาญใจ เพราะนั่นเป็นธรรมชาติของหลักคำสอนที่ท่านเชื่อมั่น

เวลาที่ท่านเทศนา แทนที่จะให้ความหวังใด ๆ ท่านกลับเตือนผู้ฟังอยู่เสมอว่า “คิดให้รอบคอบก่อนนะ ถ้าคุณเริ่มปฏิบัติฝึกฝนแล้วละก็ จะไม่มีทางให้ถอยกลับเด็ดขาด” ท่านให้ความหมายของมรรคาธรรมว่าไม่เหมือนกับการเดินเล่นเพื่อความเพลิดเพลินใจ แต่เป็นกระบวนการฉีกหน้ากากตัวตนอันนำมาซึ่งความเจ็บปวด “พุทธมรรคเป็นเส้นทางที่แสนเข็ญ ลำบากแสนเข็ญ จนดูเหมือนไร้เมตตา เราอาจพูดได้เพียงว่าเราไม่ได้มาหาความเพลิดเพลินใจใด ๆ หนทางสายนี้มิได้มีไว้เพื่อให้พบความสุข มันหาใช่การเดินทางอันน่าเพลิดเพลินไม่”


ท่านกล่าวย้อนถึงการสอนธรรมะในเบื้องแรก ว่าได้ก่อให้เกิดความสงสัยและการตั้งคำถามกับทุกสิ่ง ซึ่งยืนพื้นอยู่บนการปฏิเสธที่จะยอมรับสิ่งใดโดยมิได้พิจารณาไตร่ตรองอย่างละเอียดเสียก่อน ท่านอธิบายว่า ความสงสัยและตั้งคำถามเป็นวิธีกระชากหน้ากากทางความคิดและทฤษฏีทั้งมวล ทุกสิ่งที่ถูกกำหนดมาจากภายนอก อย่างเช่นนิสัยใจคอที่เราบ่มเพาะขึ้นมา “สำนักคิด” ของตัวเองที่กักขังเราอยู่ในนั้น ศิษย์ของท่านจึงมักจะคอยตั้งคำถามกับทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้รับฟังและไม่เชื่อในสิ่งใด พวกเขาร่วมกันวิพากษ์วิจารณ์สายปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่มากมายในอเมริกา เพื่อเปิดโปงความเป็นวัตถุนิยม และมายาลวงหลอกทั้งหลาย

อย่างไรก็ตาม หากมีความกังขาในทุกสิ่งก็จะกลับส่งผลร้ายต่อตนเอง ดังนั้น ขั้นต่อไปจึงเป็นการก้าวสู่ขั้นตอนที่สองของการปลูกฝังพุทธศาสนาขึ้นในโลกตะวันตก ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ซื่อตรงต่อกันในหมู่ผู้คน การช่วยเหลือซึ่งกันและกันต้องอาศัย “เราต้องบ่มเพาะลัทธิโรแมนติกขึ้นมา” เรื่องนี้สำคัญพอ ๆ กับขั้นตอนแรกที่เราใช้แนวคิดของลัทธิซินิก (ความสงสัยและการตั้งคำถาม) ซึ่งเราได้พูดมาจนถึงตอนนี้”

เชอเกียม ตรุงปะ บรรลุผลในการทำลายกระแสวัตถุนิยมทางศาสนา และทะลุทะลวงเข้าถึงหัวใจของกลอุบายแห่งการประชดประชันซึ่งอัตตาหลอกกับตนเองเพื่อพยายามจะสร้าง “โลกอันบริสุทธิ์สวยงาม เรืองรองและเปี่ยมด้วยความรัก” ความคมลึกของวิธีสอนธรรมของท่านเป็นการเปิดโลกทัศน์แบบใหม่ เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงอันยาวนาน ปีแล้วปีเล่าที่ตรุงปะได้เกิดความกังขาในสิ่งที่คล้ายดังเป็นแก่นคำสอนที่มีมาก่อนหน้านี้ ในขณะเดียวกันก็ต้องหาวิถีทางใหม่อยู่เสมอเพื่อให้ศิษย์เข้าถึงหัวใจของสัจธรรม




http://maewjaidam.wordpress.com/2009/03/27/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 14, 2011, 03:44:28 pm โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


ว่า ไยท่านเชอเกียม ตรุงปะ จึงถูกขนานนามว่าเป็น ' คุรุบ้า' หรือ 'คุรุบ้าผู้ปรีชาญาณ'



ปรีชาญาณบ้า

ในประวัติศาสตร์ธิเบต มีอยู่หลายยุคที่มีคุรุแห่งปรีชาญาณบ้า (ภาษาธิเบต เรียก เยเชโซลวา) ดังที่ปรากฎในพฤติกรรมอันแปลกประหลาดของ “โยคีบ้า” หนึ่งในจำนวนนั้นคือ นักพรตผู้มีชื่อเสียง ดรุกปะ กุนเลก หรือโยคีบ้าแห่งภูฏาน” ผู้เปลี่ยนชาวภูฏานให้หันมานับถือพุทธศาสนา และเป็นที่เลื่องลือในเรื่องที่ท่านชอบผู้หญิงกับเบียร์ ในอินเดียเรื่องทำนองนี้เห็นได้จากบรรดาตันตราจารย์องค์สำคัญๆ ที่เรียกกันว่ามหาสิทธา ลักษณะพฤติกรรมที่คล้ายกันนี้มีในหมู่นักพรตชาวจีนและญี่ปุ่นเช่นกัน


ความคิดเรื่องปรีชาญาณบ้าที่มีมาแต่โบราณนี้ แสดงถึงปัญญาญาณที่อยู่เหนือสมมุติใดๆ ถึงขนาดที่ว่าปุถุชนโดยทั่วไปอาจมองว่ามันเป็นพฤติกรรมของคนบ้า ทว่าปัญญาญาณเช่นนั้นไร้ขอบเขต ปราศจากเงื่อนไข และเผยแสดงตัวมันเองตามสภาวะ โดยไม่สนใจกับประเพณีหรือมารยาทของสังคม มันตรงไปตรงมาและเกิดขึ้นโดยฉับพลัน ใกล้ชิดความเป็นจริงอย่างที่สุด มันคือความจริงที่อยู่ในการกระทำ: “มันตัดทุกสิ่งทุกอย่างทิ้ง ไม่มีแม้แต่ความพยายามที่จะแปลงความเห็นผิดให้เป็นความจริง เพราะนั่นเท่ากับเป็นความฉ้อฉล มันไร้ความปรานี เพราะถ้าคุณต้องการความจริงที่สมบูรณ์ ถ้าคุณต้องการความถึงพร้อม ดีงาม ดังนั้นความเห็นใดที่มาจากการแปลความหมายจากทิฐิของตัวเอง ด้วยภาษาของคุณเอง มันก็ไร้ค่าที่จะให้ความสนใจ”

ปรีชาญาณบ้าซึ่งตรุงปะสำแดงออกเผยให้เห็นถึงความกรุณาอันเต็มเปี่ยม เป็นพุทธะอยู่ทุกขณะ ปราศจาก “ความสุภาพ” และมิได้ขึ้นอยู่กับตรรกะใดๆ


ดังเหตุการณ์นี้


ครั้งที่ท่านแสดงปาฐกถาธรรมต่อผู้ฟังเกือบเก้าร้อยคนที่สถาบันนาโรปะ ในปี๑๙๗๖ เกรกอรี่ คอร์โซ กวียุคบุปผาชน ลุกขึ้นมาตะโกนด่าท่าน ทีแรกตรุงปะพยายามที่จะสื่อสารกับเขา โดยถามว่าเขาต้องการจะบอกอะไร แต่คอร์โซซึ่งกำลังเมาอย่างเห็นได้ชัด เอาแต่ตะโกนดังขึ้นๆ ทุกที: “สิ่งที่คุณกำลังพูดมันไร้สาระ” เขาไม่ได้ฟังคำตอบจากตรุงปะ ไม่มีความตั้งใจจะสื่อสารสิ่งใดกับท่าน และดูท่าเหมือนกับต้องการที่จะอยู่ตรงนั้นเพียงเพื่อที่จะเป็นจุดสนใจและระบายโทสะของตัวเองออกมาเท่านั้น

ตรุงปะจึงยืนขึ้น ซาร่าห์ โคลแมนเล่าว่าท่าทีของท่านในเวลานั้นเป็นสภาวะที่เธอไม่เคยเห็นมาก่อนไม่ว่าในตัวท่านหรือกับใครๆ ท่านเอาคทาวัชระ ซึ่งเป็นคทาโลหะที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และท่านมักจะถือไว้เสมอเวลาบรรยายธรรม ชี้หน้านายคอร์โซ แล้วท่านก็เปล่งรังสีอำมหิต เค้นเสียงออกมาว่า: “ออกไปจากที่นี่ซะ” ท่านพูดประโยคนี้ซ้ำหลายครั้ง ด้วยน้ำเสียงที่ดุดันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ศิษย์บางคนของตรุงปะเข้าไปลากตัวนายเกรกอรี่ ซึ่งตอนนี้ไม่กล้าแม้แต่จะเปิดปากออกไป ตรุงปะนิ่งเงียบ บรรยากาศดูแข็งทื่อและทึบทะมึน ไม่มีใครกล้าขยับตัวสักคน แต่แล้วทันทีที่ประตูปิด ตรุงปะระเบิดเสียงหัวเราะดังลั่น บรรยากาศอึมครึมเปลี่ยนไปโดยฉับพลัน ไม่มีสิ่งใดคงที่ ท่านทำในสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เพื่อสื่อสารกับนายเกรกอรี่ คอร์โซ ด้วยการสะท้อนภาพความโกรธเกรี้ยวกลับไปยังตัวเขาเอง แต่ทันทีที่คอร์โซออกไปแล้ว ความโกรธเกรี้ยวนี้ก็ไม่มีเหตุอันใดต้องคงอยู่ต่อไป ท่านพูดเรื่องที่ค้างไว้ต่อ โดยไม่แสดงท่าทีลังเลแม้แต่น้อย เมื่อมีการบรรยายจัดขึ้นอีกครั้งในสัปดาห์นั้น ท่านต้อนรับคอร์โซกลับมา แล้วเทศน์เรื่องการจัดการกับความโกรธได้อย่างน่ามหัศจรรย์



http://www.oknation.net/blog/suan-spirit/2009/05/11/entry-1

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 14, 2011, 03:47:30 pm โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :13: อนุโมทนาครับพี่มด
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~