ภาคสอง มรรคมหามุทรา สมถะและวิปัสสนา" ภาวนาแห่งมรรคมหามุทรา อธิบายสมถะและวิปัสสนา ข้อผิดพลาด และคุณภาพ ภาวนา หลังภาวนา ความเข้าใจผิด วิธีเดินไปตามมรรค และอื่น ๆ "
คำว่า
ภาวนา ที่ใช้กันในสายปฏิบัติต่าง ๆ ล้วนมีความหมายแตกต่างกัน ได้มากมาย แต่ในที่นี้หมายถึง
การลุถึงจิตในสภาวะธรรมชาติของมัน ตามที่ได้อธิบายมาแล้ว เธอไม่ภาวนาในการสร้างสิ่งใดขึ้นมาในใจ เช่น วัตถุที่มีสีและรูปทรงโดยเฉพาะ หรือไม่ใช่การภาวนาโดยการใคร่ครวญ ด้วยเจตนาขณะที่กดการคิดการรับรู้ อย่างเช่น การสร้างความว่าง ( หลอก ๆ )
ภาวนาหมายถึง
การดำรงอยู่ในภาวะตามธรรมชาติของจิตโดยไม่ปรุงแต่ง สิ่งใดขึ้นมา กล่าวอย่างเจาะจง จิตมีความสามารถและความฉลาดอยู่มากมาย บุคคล พวกมีอินทรีย์แก่กล้า ไหวพริบดี ซึ่งเคยปฏิบัติมาก่อน ย่อมสามารถระลึก ถึงแก่นแท้ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านการปฏิบัติชนิดมีขั้นตอนด้วยสมถะ และวิปัสสนา แต่คนพวกอื่น คนธรรมดาต้องแนะนำไปตามลำดับ ดังนั้น เธอควรเริ่มต้นด้วยสมถะที่มีนิมิต เช่น ท่อนไม้ ก้อนหิน รูปเคารพ หรือเสียง หรือปฏิบัติปราณ พินทุ ฯลฯ แล้วจึงเข้าสู่สมถะที่ไม่มีนิมิต
สมถะ สมถะที่แท้มีการสอนโดยวิธีการเหล่านี้๑. ไม่ปล่อยให้จิตส่งออกไปกับวัตถุใด ๆ ทั้งภายในและภายนอกแต่พักอยู่ ในความสดชื่น ไม่วอกแวกตามธรรมชาติ
๒. ไม่ควบคุมทวารทั้งสามอย่างเคร่งครัดเกินไป แต่พักอย่างเป็นอิสระใน สภาวะแห่งการไม่กระทำตามธรรมชาติ
๓. ไม่ปล่อยให้สาระแห่งความคิดและความตื่นรู้ ( สติ ) แยกจากกันและ เป็นสิ่งที่ต่างกันราวกับเป็นขาถอนพิษ แต่จงพักอยู่ในความใสกระจ่าง แห่งการรู้ และการตื่นในตนเอง
ชื่ออื่น ๆ เช่น
" ไม่วอกแวก " " ไม่ภาวนา " " ไม่ปรุงแต่ง " ก็ใช้กันกับ สามข้อข้างบนนี้
วิโมกข์มุข ๓ ( อนิมิตตวิโมกข์ อัปปนิหิตวิโมกข์ สุญญตวิโมกข์ ) ที่สอน ในสาวกยาน ก็พบได้ในสมถะทั้งสามแบบนี้ เมื่อจิตละจากการตามการ กระทำหรือเหตุการณ์ก็เรียก
" อนิมิตตวิโมกข์ " เมื่อจิตปัจจุบันเป็นอิสระ จากความวุ่นวาย ( เพราะจิตสร้างขึ้น ) หรือการรับและปฏิเสธ " สิ่งนี้กำลัง เกิดขึ้น ฉันต้องทำสิ่งนี้ " เป็น
สุญญตวิโมกข์ เมื่อจิตเป็นอิสระจากความ คาดหวัง เช่นสิ่งนั้นสิ่งนี้จะเกิดในอนาคต เช่นเดียวกับเป็นอิสระจาก ตัณหา เช่นหวังว่าจิตจะเข้าสู่ภาวนา หรือกลัวว่าจะไม่ เรียก
" อัปนิหิต วิโมกข์ " สิ่งเหล่านี้มีอยู่ เพียงแต่เธอพักจิตอยู่ในภาวะตามธรรมชาติ โดย
ปราศจากการทำลาย หรือสร้างสรรค์สิ่งใดขึ้นมา ( ไม่ปรุงแต่ง )
เมื่อจิตอยู่ในภาวะนี้และความคิดเกิดขึ้นโดยกะทันหัน เพียงแต่รู้แก่นแท้ ของตนเองอย่างกระจ่างชัด ก็พียงพอแล้ว ไม่ต้องพยายามด้วยเจตนา ใด ๆ ที่จะยับยั้ง หรือเพ่งอยู่ในภาวนา หรือควบคุมมันด้วยกรรมวิธีอื่น ๆ ไม่ว่าการกระทำใดก็ตามไม่ใช่หัวใจแห่ง
การดำรงธรรมชาติแห่งจิตไว้ใน
ภาวะไร้การปรุงแต่งแม้ว่าสายปฏิบัติอื่น ๆ มีวิธีปฏิบัติมากมายเกี่ยวกับสิ่งนี้
แก่นของเรื่องนี้ อยู่ที่การระลึกและแก่นแท้ของปรากฏการณ์ ถ้าเธอแสวงหาวิธีปฏิบัติ อย่างอื่น ก็ไม่ใช่มหามุทราดังที่
ท่านสรหะผู้ยิ่งใหญ่กล่าวว่า
" การภาวนาของสรรพสัตว์ล้วนสูญเปล่า
เพราะไม่มีสิ่งใดที่จะใช้สำหรับภาวนา
บุคคลไม่ควรปล่อยใจให้วอกแวก ( ออกนอก ธรรมชาติแห่งจิต - ผู้แปล )
แม้ชั่วขณะ สิ่งนี้ ฉันประกาศว่าคือ มหามุทรา " ดังนั้น ด้วยการพักอยู่ในธรรมชาติแห่งจิต ตามที่มันเป็นประสบการณ์ ทั้งสามแห่งสมถะก็จะปรากฏขึ้นเองอย่างช้า ๆ มันเป็นอย่างไรเล่า ขั้น แรกจะรู้สึกกระวนกระวายมากกว่าเดิม กระทั่งมีความคิดมากกว่าเดิม บางครั้ง ช่วงระหว่างการคิดแต่ละครั้ง จิตจะหยุดนิ่งอยู่ชั่วขณะ อย่าคิด ว่าการคิดเป็นความบกพร่อง แม้ว่าจนกระทั่งปัจจุบันจิต มันคิดตลอด เวลา แต่เธอไม่เคยตระหนัก จุดนี้คือการรู้ความแตกต่างระหว่างคิดและ หยุดนิ่ง เป็นประสบการณ์แรกแห่งสมถะ อุปมาได้กับน้ำตกจากหน้าผา หลังจากดำรงรักษาการภาวนาไว้อย่างนั้น จะควบคุมความคิดส่วนใหญ่ ได้ เธอจะสุภาพและผ่อนคลาย เริ่มสัมผัสความสุขได้ทั้งร่างกายและ จิตใจ และเธอจะไม่ชอบเอาธุระกับกิจกรรมอื่น ๆ แต่จะยินดีในการภาวนา จะเป็นอิสระจากความคิดเป็นส่วนใหญ่ มีข้อยกเว้นน้อยมาก
นี่เป็นขั้น ที่สอง อุปมาได้กับกระแสน้ำไหลรินเนิบนาบ ต่อมา ภายหลังจากการปฏิบัติด้วยความพยายามอย่างไม่ขาดตอน ร่างกาย เธอจะได้รับแต่ความสุข ปราศจากทุกขเวทนาใด ๆ จิตใจใสกระจ่างปราศ จากความคิด ไม่สนใจวันและคืนที่ผ่านไป เธอสามารถอยู่นิ่ง ๆ ไม่เคลื่อน ไหวได้นานเท่านานเท่าที่ยังทำภาวนาอยู่ ทั้งไม่มีอันตรายใด ๆ อารมณ์รบกวน ต่าง ๆ สงบลง และไม่มีความหมกมุ่นเกี่ยวกับบางสิ่งเช่นอาหารและเครื่อง นุ่งห่ม ได้พบญาณทัสสนะอันวิเศษ และเห็นสิ่งต่าง ๆ มากมาย การแสดง ออกต่าง ๆ เหล่านี้คือ
ขั้นสุดท้ายของสมถะ ซึ่งอุปมาได้กับมหาสมุทรแห่ง ความสงบ นักปฏิบัติบางท่านไม่ได้ติดต่อกับอาจารย์ผู้มีความสามารถ และบางคน ที่ขยันมากแต่ศึกษามาน้อย มักหลงไปกับสิ่งเหล่านี้ เช่นเดียวกัน สามัญ ชนก็มักเห็นเป็นผู้วิเศษ นำไปสู่หายนะทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น จึงควรระวัง
ความพยายามในสมถะยังไม่จัดเป็นส่วนหลักแห่งมหามุทรา แต่มันเป็น พื้นฐานที่สำคัญ
กยัลวา ลอเร กล่าวว่า
" สมถะทึ่ม ๆ ปราศจากความกระจ่างชัด
เธออาจภาวนาเช่นนี้นานเท่านาน
หากปราศจากความความเห็นแจ้ง
หากครอบครองความว่องไวและความตื่นรู้ที่คมชัด
การภาวนาก็ ( สำเร็จในเวลา ) สั้นมาก "