หันเหแปดทาง หลังจากอธิบายข้อผิดพลาดและทางแห่งความไถลแล้ว ต่อไปจะอธิบาย ทางที่หันเหอีกแปดทาง
๑. เพราะไม่เข้าใจว่าแก่นแท้แห่งจิตเป็นเอกภาพระหว่างรูปลักษณ์และ ความว่าง ทรงไว้ซึ่งความพิเศษในทุกแง่มุม ความสัมพันธ์ที่ไม่มีสิ่งกีด ขวางระหว่างเหตุผล เธอไถลสู่ความสนใจเฉพาะแง่ความว่าง ข้อผิด นี้เรียกว่า
" ขอไถลแบบพื้นฐานจากแก่นแห่งความว่าง "๒. กรณีคล้ายกันคือ ภายหลังเอาจริงกับการปฏิบัติ แม้ว่าจะมีความคิด ที่ถูกเกี่ยวกับแก่นแท้ตามธรรมชาติ แต่กลับไม่เคยประสบกับความจริง เช่นนั้นด้วยตนเอง หรือประสบกับมันแต่กลับไม่เข้าใจมัน แม้ว่าเธอจะ สามารถอธิบายมันต่อผู้อื่น เรียกว่า
" ไถลออกจากแก่นแท้แบบชั่วคราว "๓. แม้ว่าขณะนี้เธอต้องการมรรค แต่เธอกลับปรารถนาผลอื่น ๆ นี่คือ
" การไถลอกนอกทางชนิดพื้นฐาน "๔. ไปคิดว่าการดำรงสติแบบธรรมดาสามัญ ๆ ไม่เพียงพอ และไปค้นหา การภาวนาด้วยการกระทำที่มากมายซับซ้อน และก็ไปค้นหามันจากที่โน่น ที่นี่ เรียกว่า
" การไถลออกนอกทางแบบชั่วคราว "๕. เมื่อบางสิ่ง เช่น อารมณ์รบกวนเกิดขึ้น กลับไม่รู้วิธีใช้มันเป็นมรรค กลับไปหาวิธีภาวนาอื่น ๆ ในสาวกยาน เรียกว่า
" การไถลออกนอกวิธี แบบพื้นฐาน "๖. ไม่รู้จักใช้สิ่งที่เกิด เช่น ความคิด เป็นทางในการปฏิบัติ กลับขัดขวาง หรือทำลายมันก่อนที่จะอยู่ในการภาวนา เรียกว่า
" การไถลออกนอกวิธี แบบชั่วคราว "๗. ไม่รู้ว่าธรรมชาติของจิตว่างอยู่แต่เดิมแล้ว และไม่มีรากเหง้า กลับไป สร้างความคิดขึ้นมา เช่น " มันไม่มีธรรมชาติแห่งตัวตน " หรือ " มันเป็น ความว่าง " หรือ " มันว่างแบบเป็นครั้งคราว " เรียกว่า
" การไถลแบบพื้น ฐานสู่ความว่างแบบเหมา ๆ " ๘. คิดว่า " ก่อนนี้ฉันวอกแวกเพราะตามความคิดอยู่ แต่บัดนี้ฉันภาวนา แบบสบาย ๆ " ติดอย่างเหนียวแน่นอยู่กับความคิดนั้น หรือคิดว่ามีสติ อยู่ขณะที่ไม่มี หรืออื่น ๆ เรียกว่า
" ไถลสู่ลักษณะทั่วไป "สรุปเมื่อไม่รู้กุญแจสำคัญคือภาวะธรรมชาติแห่งจิตและไม่ขจัดความสงสัย เรื่องนี้ ย่อมเสี่ยงต่อการไถลสู่ทางผิดที่ดูคล้าย ๆ การภาวนา หลาย ๆ อย่าง การมุ่งต่อทางผิดที่คล้ายการภาวนาโดยไม่รู้จุดสิ้นสุดเป็นความ สูญเปล่า บางคนได้สร้างสมเหตุปัจจัยสู่อบายภูมิ เช่น เกิดเป็นนาค เพราะทำสมถะภาวนา จึงไม่ต้องภาวนาในทางผิด
นอกจากนี้ บางคนยังถือภาวะทื่อ ๆ มัวซัว หรือภาวะเกียจคร้าน เฉื่อยชา ซึ่งปราศจากความคิดว่าเป็น
สมถะ เขาคิดว่า
วิปัสสนาคือการวิเคราะห์ ด้วยความคิด เขาคิดว่า
ภาวะจิตที่มีอารมณ์เดียวและ
ยึดอยู่แน่นว่าเป็น
สติ และเห็นว่า
อุเบกขา ( จิตวางเฉย ) ว่าคือภาวะแห่งธรรมชาติ
เขาคิดว่า จิตสามัญของผู้ไม่เคยเห็นโฉมหน้าเดิมแท้ของจิตเป็นจิตเดิมแท้อันปราศจาก การปรุงแต่ง เขาถือว่า
สมาธิ หรือความสงบสุขซึ่งปราศจากทุกข-เวทนารบกวนว่าเป็นความสุขที่แท้ ( เป็นมาแต่เกิด ) เขาเข้าใจผิดเกี่ยว กับการจับฉวยนิมิต
โดยไม่เคยรู้ไม่เคยมั่นใจในภาวะว่างที่ปราศจากนิมิต ว่าเป็นการรู้แจ้งตนเองที่เป็นอิสระจากนิมิตและวิตก เขาเข้าใจผิดว่า ความเขลา ( ทึ่ม ) เพราะความ
ตระหนักรู้ถูก
ขัดขวางว่าเป็นปัญญาชนิด
ไร้มโนคติ กล่าวย่อ ๆ ความผิดพลาดทุกชนิด ความผิดที่คล้ายคลึง การไถล และ ความหันเห เกิดจากเบื้องแรกคือไม่
ปฏิบัติตามบรรทัดฐานที่ถูกเช่น
สั่งสม ( เหตุที่จำเป็น ) ไม่ขจัดมลทินต่าง ๆ ดังนั้น ความเศร้าหมอง จากกรรมชั่วจึงไม่หมดไป โดยที่ไม่เคารพบูชาสรรพสิ่ง จิตใจย่อมแข็ง ทื่อน้อมไปได้ยาก ไม่ขจัดข้อสงสัยในจุดสำคัญแห่งการปฏิบัติ เธอติดกับ ทฤษฎีและคำพูด มากขึ้น ท้ายสุด ไม่ได้มีจิตใจมุ่งสู่การปฏิบัติสุด จิตใจ เธอเป็นคนภายนอกต่อธรรมะ ไม่ใช่นักปฏิบัติธรรมหรืออุบาสก อุบาสิกาแต่เป็นคนทำลายคำสอนของสายปฏิบัติ มีสิ่งนี้มากมายในยุค แห่งความมืดนี้
The Seven Wheel of Kshitigabha Sutra กล่าวว่า
" เมื่อไม่ยอมรับกรรมและวิบาก
บุคคลก็กลายเป็นคนนอกพุทธศาสนา สนับสนุนลัทธิขาดสูญ
ย่อมเกิดในอเวจีเมื่อตายไปแล้วย่อมล้างผลาญทั้งตนเองและผู้อื่น "เธอจึงควรปฏิบัติด้วยความฉลาดและไม่เป็นดังที่กล่าวมา