สรุปเพื่อสรุปให้รวบรัด
เอกัคคตาหมายถึง สามารถดำรงการภาวนาได้นาน เท่าที่ต้องการ
เรียบง่ายหมายถึงรู้ว่าธรรมชาติที่แท้คือจิตธรรมดา และ รู้ว่ามันปราศจากฐานที่ตั้งหรือที่อิงอาศัย
หนึ่งรสหมายถึง หลุดพ้นจาก ความยึดมั่นถือมั่นด้วยทวินิยมในสังสาระ และนิพพานด้วยความตื่นรู้
ไม่ภาวนาหมายถึง ความเศร้าหมองทั้งหลาย เพราะอกุศลกรรมและ ความเคยชิน ถูกชำระให้บริสุทธิ์ สาระสำคัญของ
โยคะสี่เป็นอย่างนี้
กล่าวอย่างเฉพาะเจาะจง ความแตกต่างระหว่างภาวนาและไม่ภาวนา ของเอกัคคตาคือ
เป็นภพหรือไม่ ความแตกต่างระหว่างภาวนาและ หลังภาวนาของเรียบง่าย คือ
มีสติหรือไม่ ระดับเหนือหนึ่งรส ภาวนา และหลังภาวนา ผสมกัน
จึงแยกความแตกต่างไม่ได้และยังมีอีกคือ
ธรรมชาติของความคิดที่เกิดขึ้นอย่างไร้คิดคือ เอกัคคตา เกิดขึ้นอย่างความว่างคือ เรียบง่าย เกิดขึ้นเป็นความเท่าหรือเสมอกัน คือ
หนึ่งรส ความสับสนสว่างไสวเป็นสติปัญญา
ไม่ภาวนาอยู่เหนือกว่า คำพูด เช่น สับสน หรือไม่สับสน
และยังมีคำสอนอีกว่า การประสบผลสูงสุดเมื่อบรรล
ุเอกัคคตาคือ การ เข้าใจความแบ่งแยกไม่ได้ระหว่างความหยุดนิ่งและการเกิดความคิด สำหรับ "
เรียบง่าย " การประสบผลสูงสุด คือ การเข้าใจความแบ่งแยก ไม่ได้ระหว่างความสับสนและความหลุดพ้น สำหรับ
หนึ่งรส คือ การ เข้าใจความแบ่งแยกไม่ได้ระหว่างปรากฏการณ์และจิต สำหรับ
ไม่ภาวนา คือ การเข้าใจความแบ่งแยกไม่ได้ระหว่าง " ภาวนา " และหลังภาวนา
นอกจากนี้ ยังมีคำสอนว่าเอกัคคตาคือระหว่างที่จิตมีความยึดมั่นถือมั่น ในตัวตน ภาวะความเรียบง่ายคือภาวนาและหลังภาวนา ภาวะหนึ่งรส คือเอกภาพ ไม่ภาวนาคือจิตรู้แจ้ง ท้ายสุด เมื่อถึง
เอกัคคตา ความคิดสงบระงับลง เมื่อถึง
ความเรียบง่าย รากเหง้าของความคิดถูกตัดขาด เมื่อถึง
หนึ่งรส ปัญญาที่มีอยู่เองส่อง สว่างจากภายใน และ
ไม่ภาวนาคือ การบรรลุถึงความตั้งมั่น กล่าวย่อ ๆ การแยกแยะและจำแนกชนิดต่าง ๆ มีมากมายแสดงได้ไม่มีสิ้นสุด แต่
หลักสำคัญมีดังนี้คือ
การตระหนักรู้ภาวะดั้งเดิมแห่งจิต ภาวะที่แท้ตาม ธรรมชาติ การรู้วิธีดำรงจิตตามธรรมชาติตามสามัญธรรมดาไม่ถูกทำลาย โดยความปรุงแต่งเป็นสิ่งสำคัญเพียงประการเดียว ฑากินี นิกุมา ผู้ทรง ไว้ซึ่งปัญญากล่าวว่า
ถ้าคนไม่เข้าใจว่า อะไรที่เกิด คือการภาวนา เธอจะบรรลุสิ่งใดโดยใช้ศาสตร์ที่ดีสุด
สัญญา ( วิปลาส ) ไม่สามารถละทิ้งได้
แต่เป็นอิสระทันทีเมื่อรู้ว่านั่นเป็นมายา