ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธศาสนาในโลกปัจจุบัน - ประเทศภูฏาน  (อ่าน 2617 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด




พระพุทธศาสนาในโลกปัจจุบัน



ประเทศภูฐาน



พิพัฒน์ บุญยง แปลและเรียบเรียง



วัชรยานมรดกทางศาสนาของภูฐาน


พระพุทธศาสนานิกายวัชรยานได้ซึมซับและหล่อหลอม ตัวเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับวัฒนรรมและวิถีชีวิตของชาวภูฐานอย่างลึกซึ้งและแนบแน่นจนแยกไม่ออก จริง ๆ แล้วอาริยะธรรมอย่างที่เรารู้จักในภูฐาน เริ่มต้นในศตวรรษที่ ๗ พร้อมกับการสถาปนาวัดที่ศักดิ์สิทธิ์ ๒ วัด คือวัดคะยิกชู ลาคัง (Kyichu Lhakhang) และวัดจัมเป ลาคัง (Jampe Lhakhang) ในปาโร (Paro) และบัมถัง (Bamkthang) เป็นที่กล่าวกันว่า ประเทศภูฐานได้เริ่มรู้จักและยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา ก่อนการสร้างวัดที่เก่าแก่ที่สุด ๒ วัดในศตวรรษที่ ๗ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นเสียอีก


ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องยกความดีความชอบให้แก่พระมหากษัตริย์ คือพระเจ้าซองส์เท็น แคมโป (Songsten Campo) แห่งทิเบต โบราณสถาน เอกสารเก่าแก่ รวมถึงการเล่าเหตุการณ์ในอดีตปากต่อปาก สามารถยืนยันและเชื่อมโยงปะติดปะต่อเรื่องราวเหล่านี้ ย้อนหลังไปในอดีตถึง ๒-๓ร้อยปี ถึงอย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนาก็ได้หยั่งรากลงอย่างมั่นคงในภูฐาน ตั้งแต่ศตวรรษที่ ๘ เป็นต้นมา เมื่อท่านปัทมสัมภวะ (Padmasambhava) ผู้บูชาลัทธิเทพเจ้าแห่งนิกายวัชรยาน ชาวอินเดียผู้ยิ่งใหญ่ ได้มาเยือนประเทศภูฐานหลายครั้ง และได้ทิ้งมรดกวัฒนธรรมประเพณีอันมีค่าอ้นหาที่เปรียบมิได้ ไว้ให้แก่ประเทศภูฐาน ท่านปัทมะสัมภวะ หรือที่ชาวประชาเรียกท่านว่า ท่านคุรุ ริมโปเช ( Guru Rimpoche) ได้นำลัทธิวัชระยาน หรือพระพุทธศาสนานิกายวัชรยานมาสู่ทิเบตและภูฐาน และได้รับการเคารพนับถือสูงยิ่งโดยชาวภูฐาน ว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ พร้อมทั้งสถานที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ อย่างเช่นที่ที่พระองค์ได้เคยประทับบำเพ็ญสมาธิ ที่ที่ควรได้รับการเคารพบูชา ที่ที่ควรไปเยี่ยมเยียน โดยนักแสวงบุญจากทั่วประเทศ



ความเจริญเติบโตที่สำคัญ ๆ ของพระพุทธศาสนาในขั้นต่อไป เริ่มด้วยการสถาปนาหรือก่อตั้งนิกายดรุกปา กักยุปะ (Drukpa Kagyupa) ขึ้นในพระพุทธศาสนา ­นิกายที่ตั้งขึ้นมาใหม่นี้ ได้กลายเป็นนิกายย่อยของนิกายกักยุปะ (Kagyupa) หนึ่งในนิกายใหญ่ ๔ นิกาย ของพระพุทธศาสนาแบบทิเบต ที่ก่อตั้งขึ้นโดยท่าน ชังปา จาเร เยสเซ ดอรเจ (Tsangpa Jarey Yeshey Dorje) (1161-1211) ในทิเบตภาคกลาง ในช่วงระยะเวลา ๕0 ปีแรกของศตวรรษที่ ๑๓ ท่านฟาโจ ดูกอม ซิงโป ( Phajo Dugom Shingpo) สาวกผู้ศรัทธาในนิกายนี้ ได้เดินทางมายังภูฐาน และได้สถาปนาลัทธิ ดรุกปา กักยุปะ (Drukpa Kagyupa) ดังนั้นพอล่วงมาถึงศตวรรษที่ ๑๗ ลัทธิดรุกปาก็ได้รับการสถาปนาเป็นศาสนาประจำชาติภูฐานอย่างสมบูรณ์ โดยท่านซับดรุง นะวัง นัมกเยล (Shubdrung Nawang Mumgyel) ซึ่งได้ทำการรวมชาติให้เป็นปึกแผ่นไปพร้อมกันด้วย ตราบถึงปัจจุบัน ลัทธิดรุกปา กักยุปะ ก็ยังคงเป็นศาสนาประจำชาติต่อเนื่องกันมา จนเป็นประเทศที่พระพุทธศาสนามีอิทธิพลเหนือประชาชนชาวภูฐาน ถึงกระนั้นก็ตาม นิกายนะยิงมาปะ(Nyingmapa sect) ก็ยังสามารถเรียกศรัทธาจากประชาชนได้มากเหมือนกัน และก็มีการปฏิบัติตามอยู่ทั่วไป ชื่อพื้นเมืองของประเทศ ที่ชาวบ้านเรียกขานประเทศของตนเองว่า “ดรุก ยูล” (Druk Yul) จึงมีความหมายว่า “ประเทศของดรุกปา” ซึ่งแปลงมาจาก “นิกายดรุกปา” ของพระพุทธศาสนานั่นเอง


ในขณะที่กระแสความประทับใจของประชาชนส่วนมาก ที่มีต่อคำสอนที่เป็นจริงตามหลักสากลนิยมของพระพุทธศาสนา ที่เขานับถือกันมาตามประเพณี เป็นไปอย่างกว้างขวางอยู่นั้น ก็เกิดมีคามรู้สึกว่า ถ้าไม่เป็นปรปักษ์ ก็คงจะต้องมีความคลุมเครือไม่ชัดเจน ต่อคำสอนของพระพุทธศาสนานิกายวัชรยานเป็นอย่างมาก ในสายตาของคนอกศาสนาบางพวกเห็นว่าพระพุทธศาสนานิกายวัชระยาน กำลังอยู่ในภาวะที่เสื่อมโทรม พร้อม ๆ กันนั้นนักปราชญ์ในยุดแรกบางคน ก็ตัดสินว่า พิธีกรรมของนิกายวัชระยานไม่ค่อยจะมีคนเข้าใจหรือรู้เรื่องเท่าไรนัก นอกจากผู้ก่อตั้งเท่านั้นที่รู้เรื่องราวดี ว่าเป็นการบูชาปีศาจและแม่มดลึกลับ การสำเหนียกผิด ๆ เป็นสิ่งทีเกิดขึ้นได้ง่าย แม้บางครั้งจะมีการโอ้ดวดทับถมกันเพื่อให้เกิดความรุนแรง จนถึงกับมีเหตุการณ์เลือดตกยางออก และการจินตนาการหรือใช้สัญลักษณ์ทางเพศเป็นเครื่องมือก็ตาม ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ห่างไกลจากเหตุแห่งความสุข และสร่างซาจากความหลงผิด ในคำสอนของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท หรือแม้ของคำสอนในอีกรูปแบบหนึ่ง ของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความสำเหนียกผิด อันเกิดจากสมมติฐานที่ผิด และเรื่องนี้ก็ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ปฏิบัติตามหลักวัชระยาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอดีต สามารถที่จะเผยความรู้และทักษะของเขาได้อย่างเสรี แต่ก็ไม่สามารถจะทำอย่างนั้นได้เลย


ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องตรงกันข้ามกับสิ่งที่ประกฎออกมาภายนอกให้เห็นกันอย่างจะแจ้ง ลัทธิคำสอนของพุทธศาสนานิกายวัชระยาน และนิกายดรุกปา กักยุปะ ก็ได้ลงรากปักฐานอย่างมั่นคงในหลักคำสอนพื้นฐานของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอริสัจสี่และมรรคมีองค์แปด การถึงไตรสรณะคม ความสำคัญของปัญญา และความมีเมตตาธรรมเป็นต้น

ถึงอย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนานิกายวัชระยาน ก็ยังแตกต่างจากคำสอนของพระพุทธศาสนาที่เคยปฏิบัติกันมาในอดีต จนกลายเป็นจารีตประเพณีในหลักสำคัญบางประการ ประการที่ ๑ ก็คือพระพุทธศาสนาแบบเดิมเน้นว่า ทางไปพระนิพพานเป็นกระบวนการอย่างหนึ่ง ในการทำใจให้บริสุทธิ์จากกิเลสและสิ่งอันเป็นปฏิปักษ์ ขัดขวางทางบรรลุธรรมทั้งหลาย ปฏิบัติขัดเกลาจิตให้สะอาดปราศจากมลทิน เพิ่มพูนทานศีลสมาธิปัญญาให้บริบูรณ์ เพื่อบรรลุถึงสภาวะแห่งจิตทีเพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ ที่จะบรรลุพระนิพพานในอนาคต







สิ่งที่แตกต่างกันอย่างชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ ก็คือหลักของนิกายวัชระยานที่ว่า เราทั้งหลายต่างก็เป็นบุคคลที่มีสติปัญญาและความสมบูรณ์พร้อมอยู่แล้วโดยธรรมชาติ และเราก็เพียงแต่รับรู้เรื่องนี้และกำหนดบทบาทของเราว่าเป็นเสมือนเทวดา เพราะฉะนั้น ขั้นสุดท้ายหรือจุดหมายปลายทางที่แท้จริง ก็คือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงหรือการถ่ายเทอัตตาปกติ ของบุคคลในการประพฤติปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนานิกายวัชระยานนี้ ย่อมได้รับความสำเร็จเป็นเบื้องแรก โดยผ่านกระบวนการของสมาธิและกระบวนการเพ่งพิจารณาให้ได้วิสัยทัศน์ โดยใช้เครื่องมือการทำสมาธิมากมายอย่างไม่น่าเชื่อ อย่างเช่น การร่ายมนต์ (Mantras), การแสดงท่า (Mudaras) , การกำหนดพื้นที่ (Mandalas), การเต้นรำใส่หน้ากาก และการเป็นเจ้าภาพประกอบพิธีกรรมที่ลึกลับซับซ้อน และโดยการใช้สัญลักษณ์การปฏิบัติธรรม และหัวใจสำคัญของการปฏิบัติธรรม ก็ควรเป็นไป เพื่อก่อให้เกิดและหรือการสร้างอัตตาสมบูรณ์ อันอยู่ในภพที่สมบูรณ์


ปรัชญาของวัชระยานประกาศไว้ชัดเจนว่า ความจริงแล้ว ไม่มีใครหรือผู้ใดที่ต้องการจะทำให้ตัวเองถูกปราบพยศให้หมดกิเลสหรือถูดทำให้หดหายกลายเป็นอนัตตา แต่พลังของความปรารถนาของเราสามารถที่จะถูกจัดให้เข้าสู่ช่องทางที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่ออบรมบ่มเพาะเจาะมุ่งไปสู่สัมฤทธิผล ตามที่บุคคลได้ตั้งความปรารถนาไว้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่คุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือว่า เหตุจูงใจของบุคคลผู้นั้น จะต้องเป็นเหตุจูงใจที่บริสุทธิ์ เมื่อได้รับอิสรภาพที่จะใช้ แม้แต่ความอยากที่เราปรารถนาที่จะข้ามพ้นอย่างนี้แล้ว ยังมีหลุมพรางที่เป็นอันตรายอยู่มากมาย ในขณะที่ข้อปฏิบัติดังกล่าวถูกนำมาใช้ เพื่อพิจารณาความถูกต้องในความหมกมุ่นของตนอง เพราะฉะนั้น เรื่องที่เป็นกระบวนการทางจิต ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ก็คือบทบาทของพระอาจารย์ หรือที่เรารู้จักในนามของ “ลามะ” (Lama) ผู้ริเริ่มนำสาวก เข้าสู่ข้อปฏิบัติอันลี้ลับ และเข้าสู่ความหมายที่ซ่อนอยู่ภายในของรูปปั้นของแนวคิด และของพิธีกรรมทั้งหลายทั้งปวง ในพระพุทธศาสนานิกายวัชระยานนั้น บทบาทที่สำคัญที่สุดที่ลามะจะต้องปฏิบัติ สามารถจะเห็นได้จากข้อเท็จจริงที่ว่า นอกเหนือไปจากการถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกแล้ว ลามะเองจะต้องแสวงหาที่พึ่งในพระลามะผู้ที่เราถือว่า เป็นตัวแทนอุดมการณ์ชาวพุทธทั้งมวลด้วย


เมื่อได้รับมอบความสำคัญในการมีทัศนะญาณในพระพุทธศาสนานิกายวัชระยาน ก็ย่อมไม่เป็นเรื่องประหลาดใจ ที่ความจริงพื้นฐานหลายอย่างของพระพุทธศาสนา ได้ถูกนำมาแสดงโดยแฝงไว้ในสัญลักษณ์ต่าง ๆ แต่ในเฉพาะกรณีที่มีความหมายแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง และในโอกาสทีมีความน่าประทับใจ การใช้สัญลักษณ์ที่สลับซับซ้อนเช่นนั้น มีมากมายเหลือเกินจนทำให้เกิดการสับสน ทำให้ผู้ที่ไม่ตระหนักในเรื่องความหมายที่ลึกซึ้งหลงทางได้ ตัวอย่างเช่น การรวมกันของคุณภาพของปัญญาทีสมบูรณ์ กับวิธีการที่มีความชำนาญ ซึ่งจะก่อให้เกิดความสุขจากการตรัสรู้ ก็เขียนด้วยสัญลักษณ์ที่เป็นแบบกราฟิกในพระพุทธศาสนานิกายวัชระยาน เป็นรูปเทพบุตรและเทพธิดากอดรัดกันด้วยความรักอย่างดูดดื่ม


การใช้สัญลักษณ์ในพระพุทธศาสนานิกายวัชระยาน อย่างมากมายและกว้างขวางนี้ พบว่าเป็นการแสดงออกอย่างธรรมชาติ ทั้งในด้านศิลปะและวัฒนธรรม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น อิทธิพลของวัชระยานสามารถมองเห็นได้เกือบจะในทุกแง่มุมของงานฝีมือ หรือความชำนาญงานประจำชาติ ๑๓ ประการ หรือ Zori chusumc และก็มีดาษดื่นในงานจิตกรรมฝาผนัง ในงานแกะสลัก งานโลหะ และงานปั้นดินเหนียวตลอดจนงานจิตกรรมแกะสลักหิน สิ่งจูงใจทางด้านศาสนาตามประเพณี และความนิยมใช้เสื้อผ้าที่มีสีสัน ก็เหมือนกัน เห็นได้ทั่วไปในเครื่องนุ่งห่มของชาวภูฐาน งานประเพณีของประชาชนภูฐาน และประเพณีเต้นรำสวมหน้ากาก รวมถึงละครเชิดชูศีลธรรม นับว่าเป็นการแสดงออกถึงอุดมคติและคุณค่าของพระพุทธศาสนาฝ่ายวัชระยานทั้งสิ้น





อิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายวัชระยานนับตั้งแต่กึ่งศตวรรษที่ ๘ เป็นต้นมา ได้สร้างรูปลักษณ์ทางประวัติศาสตร์และโชคชะตามาสู่จุดหมายปลายทางของประเทศชาติ อย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ และได้มีผลกระทบที่ตราตรึงติดแน่น อยู่ในใจที่ก่อให้เกิดปัญญาความสว่างไสวในวิถีชีวิต ของชาวภูฐานอย่างไม่อาจลบเลือนได้ ส่งผลกระทบต่อ เกือบจะทุกสิ่งทุกอ่างตั้งแต่ศิลปะ วัฒนธรรม การฝีมือที่ชำนิชำนาญต่อระบบการทำงาน ตลอดจนการปกครอง การละเล่นเต้นรำระบำพื้นเมือง กระทั่งแบบฉบับของสถาปัตยกรรม ความสำคัญและความถูกต้องตรงกับความต้องการของพระพุทธศาสนา ไม่ลดน้อยถอยลงไปแม้ในปัจจุบัน คุณค่าและจารีตประเพณีของพระพุทธศาสนา ยังคงแพร่หลายสู่ทุกแง่มุมของวัฒนธรรมและจริยธรรมของชาวภูฐาน








ที่มา : http://mahamakuta.inet.co.th/T-BOOK/april-49.html
รูปประกอบจากทางอินเตอร์เน็ท

http://www.buddhayan.com/board.php?subject_id=438&ss=
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
:13: อนุโมทนาครับพี่มด
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~