ผู้เขียน หัวข้อ: ๔. ปริญเญยยสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้  (อ่าน 10490 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

ภวังคจิต
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภวังคจิต ภวังคะ หรือ ภะ-วัง-คะ ภว+องฺคะ แปลตามพยัญชนะว่า "องค์ของภพ" มักใช้รวมกับจิต เป็นภวังคจิต ในทางพระพุทธศาสนา ถือว่า จิตมีลักษณะเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการสืบต่อสันตติของจิต ย่อมอาศัยการถ่ายทอดข้อมูลจากภวังคจิตจิตดวงเดิม ไปสู่จิตดวงใหม่ ด้วยกระบวนการของการทำงานของภวังคจิต เพราะเหตุว่าภวังคจิตเป็นเหตุให้สร้างจิตดวงใหม่ตลอดเวลาก่อนจิตดวงเก่าจะดับไป จึงชื่อว่าเป็นเหตุแห่ง "ภพ" หรือเป็นเหตุสร้าง"ภพ"
จิต ในทางศาสนาพุทธแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ 1.วิถีจิต จิตสำนึก 2.ภวังคจิต จิตใต้สำนึก
ภวังคจิต คือจิตใต้สำนึกในทางศาสนาพุทธหมายถึงเป็นกระบวนการทำงานแบบอัตตโนมัติของจิต จิตใต้สำนึกในความหมายของภวังคจิตนี้จึงอาจแตกต่างจากทางจิตวิทยา

ภวังคจิต มี 3 อย่าง คือ
ภวังคบาท คือภวังคจิตที่ทรงอารมณ์เก่า อันเป็นอารมณ์ที่ได้มาจากภพหรือจิตดวงก่อน และกำลังกระทบอารมณ์ใหม่
ภวังคจลนะ คือ เป็นภวังคจิตที่ไหวตัว เพราะเหตุที่มีอารมณ์ใหม่ มากระทบ จึงน้อมไปในอารมณ์ใหม่(สร้างและถ่ายทอดข้อมูลสู่จิตดวงใหม่)
ภวังคปัจเฉทะ คือเป็นภวังคจิตที่ตัดกระแสภวังค คือ ปล่อยอารมณ์เก่า วางอารมณ์เก่า เพื่อรับอยู่กับอารมณ์ใหม่หรือจิตดวงใหม่

ภวังคจิต เป็น วิบากจิต คือ จิตใต้สำนึกส่วนลึกที่สุดของจิตเป็นที่สั่งสมอารมณ์จนกลายเป็นอุปนิสัย
ภวังคจิต จะเกิดคั่นระหว่างวิถีจิตในแต่ละวาระ ทำหน้าที่สืบต่อและดำรงภพชาติ
ภวังคจิต จะเกิดขึ้นเมื่อวิถีจิตดับ และเมื่อเกิดวิถีจิตภวังคจิตจะดับลง เมื่อวิถีจิตดับลงภวังคจิตจะเกิดขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่มีภวังคจิต พอขาดวิถีจิต จิตจะไม่มีการสืบต่อสันตติก็เท่ากับสิ้นชีวิต
ภวังคจิต ในขณะที่เปลี่ยนภพจุติใหม่สู่ชาติใหม่ จะใช้ชื่อว่า ปฏิสนธิจิตแทน ซึ่งเป็นขณะจิตแรกของแต่ละชาติ ภวังคจิตจึงสืบต่อภพในระดับเปลี่ยนชาติด้วย

ภวังคจิต คือมโนทวารเป็นอายตนะที่ ๖ อันเป็นวิบาก เป็นอัพยากฤต ซึ่งเป็นจิตตามสภาพปกติ เมื่อยังไม่ขึ้นสู่วิถีจิตรับรู้อารมณ์ จะเป็นเพียงมโน ยังไม่เป็นมโนวิญญาณ เมื่อรับอารมณ์คือเจตสิก จะกลายเป็นมโนวิญญาณ
มีพุทธพจน์ว่า “จิตนี้ประภัสสร (ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา" จิตที่ประภัสสรในที่นี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่าหมายถึงภวังคจิต

-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0% ... 4%E0%B8%95

-------------------.....................
--------------------....................
ถ้าบอกว่า วิบากจิตกับภวังคจิตเป็นตัวเดียวกัน
แบบนี้ผมก็ต้องบอกว่า พระอรหันต์ไม่มีภวังคจิต เพราะพระอรหันต์ไม่มีวิบากจิต

แต่ถ้าบอกว่า ภวังคจิตมีทั้งวิบากจิตและกิริยาจิต อย่างนี่ผมก็จะบอกว่าพระอรหันต์
มีภวังคจิตครับ

จิตแรกที่เกิดจากทวารทั้งหกเป็นอย่างไร วิถีจิตและภวังคจิตย่อมเป็นอย่างนั้น
ปุถุชนมีจิตที่มีวิบาก วิถีจิตและภวังคจิตย่อมต้องเป็นวิบากไปด้วย


ส่วนพระอรหันต์ จิตที่เกิดจากทวารทั้งหก ท่านรู้ด้วยมโนวิญญาณธาตุ(เคยอ้างอิงพระสูตร)
มโนวิญญาณธาตุของอรหันต์ ปราศจากกุศลและอกุศล
มโนวิญญาณธาตุของพระอรหันต์จึงเป็นกิริยาจิต
วิถึจิตและภวังคจิตย่อมต้องเป็น กิริยาจิต ไม่ใช่วิบาก

----------------..............
-----------------.............

เรื่องของ ปรมัตถ์ธรรม มันเป็นสภาวะที่เกิดดับภายในใจของเรา
ทุกอย่างในใจเรามันเป็นสภาวะทั้งนั้น ความสำคัญมันไม่ได้อยู่ที่เราจะเรียกมันว่าอะไร

การจะอธิบายสภาวะหรือปรมัตถ์ธรรม มันต้องพูดตามเหตุปัจจัย
เอาเหตุเป็นที่ตั้ง ไม่ใช่เอาบัญญัติเป็นที่ตั้ง

บัญญัติอย่างหนึ่งเอามาใช้กับบุคคลที่ต่างสถานะกัน
ความหมายมันก็เปลี่ยนไป อย่างเช่นคำว่า "สัตว์โลก" มันเป็นได้ทั้งมนุษย์และเดียรัจฉาน
เดียรัจฉานก็มีทวารรับรู้เหมือนคน แต่ทำไมสถานะทางธรรมมันแตกต่างกัน

ถ้าจะกล่าวอีกนัยก็คือ คนหนึ่งกำลังพูดถึง....วิชชา
แต่อีกคนกำลังพูดถึง...อวิชา มันเลยเป็นเส้นขนาน

สภาวะที่รักษาภพชาติให้คงอยู่เรียกว่า...วิบากจิต
แต่สภาวะที่เกิดตามเหตุปัจจัย ไม่ได้เป็นสภาวะที่รักษาภพชาติเรียกว่า......กิริยาจิต

แนะนำ.. ไปดู วัฎฎะของปฏิจสมุบาท ลองเอามาเทียบเคียงดูครับ
ถ้าพระอรหันต์ยังมี จิตที่คอยรักษาภพชาติ หรือวิบากจิตอยู่ ท่านจะตัดวัฏสงสารได้หรือไม่

-----------.............................
------------------..................

หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงสอนให้รู้ว่า
เหตุทำให้เกิดผล  ผลมาจากเหตุ
***
สิ่งที่เป็นปรมัตถ์ธรรม ท่านให้ดูที่เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดสภาวะ
ผลที่ได้จะเป็นไปตามเหตุนั้น
******
คือ..... แยกแยะเหตุปัจจัย
หรือจะกล่าวตรงๆก็คือ ..ดูความแตกต่างระหว่างบุคคล
ปุถุชนหรือเสขะเป็นอย่างหนื่ง พระอรหันต์หรือ อเสขะ ก็เป็นอย่างหนึ่ง
เหตุปัจจัยไม่เหมือนกัน จะให้เกิดผลเหมือนกันได้อย่างไร

เหตุปัจจัยมาจากการกระทำที่มีเจตนาผลย่อมต้องเป็น....วิบาก
ถ้าเหตุปัจจัยมาจากการกระทำที่ไม่มีเจตนาผลย่อมต้องเป็น ....กิริยา
***
ผลคืออะไร เหตุคืออะไร .......มันต้องรู้เหตุก่อน การรู้ผลมันถึงจะถูกต้อง
***
พระพุทธเจ้าเองก็ไม่ได้ชี้ชัดว่า ภวังคจิต คือ จิตเดิมแท้
เห็นมาอ้างกันหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพานไปตั้งนานแล้ว

ถ้าเรามาพิจารณากันให้ดี ภวังคจิตเป็นจิตที่เกิดตั้งแต่ ปฏิสนธิจิต จนถึงจุติ
แบบนี้มันจะเป็นจิตเดิมแท้ได้อย่างไร จิตเดิมว่ากันด้วยเหตุผล
มันต้องเป็นจิตที่ก่อนการเกิดปฏิสนธิ หรือวิญญาณจิต ไม่ใช่ภวังคจิต
---------------.............................
---------------.............................

ในภพชาติปัจจุบัน ถ้าพูดในเรื่องกฎแห่งกรรม
ทุกคนเกิดมาเหมือนกัน นั้นคือมีรูปหรือร่างกายเป็นวิบาก(ไม่ใช่จิต)
จิตเป็นผลมาจากกิเลสที่ผ่านทางรูปหรือทวารทั้งหกเข้ามา มันจึงเป็นวิบากจิต
กิเลสทำให้จิตไปยึดรูป ทำให้เกิดวิบากจิตขึ้น

ส่วนพระอรหันต์ แม้ในชาตินี้ท่านจะยังมีรูป แต่จิตท่านปราศจากกิเลส
จิตจึงไม่ยึดรูป สิ่งที่ผ่านมาทางทวารทั้งหก เป็นเพียงเหตุปัจจัย
เป็นเช่นนี้รูปในปัจจุบันจึงไม่ใช่วิบากอีกต่อไป จิตที่เกิดก็เป็นเพียงกิริยาจิต
เพราะไม่มีเจตนาในรูปปัจจุบัน


รูปจะวิบากได้เพราะจิต จิตจะวิบากได้เพราะกิเลสตัณหา
กิเลสตัณหาจะทำให้เกิดวิบากได้ ต้องอาศัยรูปหรือทวารทั้งหก
ถ้ากิเลสตัณหาหมดไป ทั้งรูปและจิตก็ไม่มีวิบาก

กฎแห่งกรรมที่เกิดกับพระอรหันต์ มันเกิดและมีผลที่รูป ไม่ไม่เกี่ยวกับจิต
วิบากจิต มันเกิดจากจิตไปยึดรูปไว้ เหตุมันมาจากกิเลส จิตของพระอรหันต์
ปราศจากกิเลสแล้ว กรรมเก่าในอดีตเป็นเพียงสิ่งที่มากระทบกับรูป พระอรหันต์รู้แล้ว
ไม่ยึดไม่มีเจตนากับสิ่งที่มากระทบ แบบนี้จิตก็ไม่เป็นวิบาก


- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44130&start=60

govit2552 เขียน:
ความโกรธ คือความกลัว คือ โทสะ
ตามนี้เลยครับ
***********************************

คำสามคำนี่ไม่เหมือนกัน แต่บางครั้งมันเป็นเหตุปัจจัยของกันและกัน
ความโกรธและโทสะ เป็นอาการของจิตที่ถูกกิเลสเข้าบ่งการ
ทั้งความโกรธและโทสะ มาจากตัณหาตัวเดียวกัน แต่ต่างกันที่สังโยชน์

แล้ว"ความกลัว"คืออะไร มันก็คือ ตัวสังโยชน์ ที่เรียกว่า...อุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน)
พูดให้เข้าใจ ...ความกลัวก็คือความฟุ้งซ่านนั้นเอง คิดโน้นนี่ทั้งๆที่ยังไม่เกิด


ความกลัวเป็นสังโยชน์ทำให้เกิด โทสะ
ปฏิฆะเป็นสังโยชน์ที่ทำให้เกิด ความโกรธ


ความกลัวเป็นตัวบ่งการให้จิตไปยึดตัณหาที่เรียกว่า.....วิภวตัณหา
ทำให้จิตเกิดอาการ ปฏิเสธภพนั้น เรียกอาการของจิตนี่ว่า โทสะ

ปฏิฆะจะบ่งการจิตให้ไปยึดตัณหา ...วิภวตัณหาเช่นกัน
ทำให้จิดเกิดอาการ ปฏิเสธภพ เป็นโทสะเหมือนกัน
แต่มันต่างกันกับโทสะที่เกิดจากความกลัว ตรงที่ความรุนแรง
โทสะที่เกิดจากปฏิฆะจะมีความรุนแรงกว่า โทสะที่เกิดจากความกลัว
เหตุนี่จึงเรียกโทสะที่มีความรุนแรงว่า.....ความโกรธ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 02, 2018, 10:23:20 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


สัพเพสังขารา อนิจจา ทุกขัง อนัตตา
สัพเพ ธัมมาอนัตตา


หลักธรรมที่สำคัญของพุทธเจ้า มีอริยสัจจ์สี่ และยังมีหลักธรรมอื่นๆอีก
แต่ในที่นี้จะขอกล่าว หลักธรรมสองอย่างครับ นั้นก็คือ....
สัพเพสังขารา อนิจา ทุกข์ อนัตตา และ สัพเพธัมมา อนัตตา
พระสูตรที่พอหามาอ้างอิง เพื่อให้รู้ว่า พระพุทธองค์ทรงใช้หลักธรรม
ในการสอนหรือแก้กิเลสให้บุคคล...... อุปปาทสูตร

[๕๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติ
ขึ้นก็ตาม ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา
ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้น
ก็ตาม ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้ง
อยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ครั้นแล้ว
จึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า สังขาร
ทั้งปวงเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม
ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่าง
นั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ครั้นแล้วจึง
บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า ธรรม
ทั้งปวงเป็นอนัตตา
-http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

คนที่ศึกษาพระธรรมจริง ย่อมต้องรู้ว่า สรรพสิ่งใดขึ้นอยู่กับหลักธรรมใด
การจะไล่หาความเป็นมาเป็นไป ต้องรู้ในธรรมทั้งปวงและสังขารทั้งปวง


***************
....."วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง"ซึ่งแปลความได้ว่า ....
"เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลกย์"...
**********
สติสูตร........
[๘๐๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้
เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ? ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็น
จิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ.
[๘๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ? ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เวทนาอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ทราบชัดแล้วย่อมบังเกิดขึ้น ที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่
ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ วิตกอันภิกษุทราบชัดแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ที่ทราบชัด
แล้วปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ปัญญาอันภิกษุทราบชัดแล้วย่อมบังเกิดขึ้น
ที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้อย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้
มีสัมปชัญญะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ อยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเรา
สำหรับเธอทั้งหลาย.

-http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=4778&Z=4793
44543.ตอบปัญหาธรรม...โดยพุทธวจน
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44543&start=30


ให้พิจารณาถึงความเป็นไปตามธรรมดาของมัน
โดยใช้ขันธบรรพ สัจจบรรพช่วยเพื่อให้เห็นแนวทางในการพิจารณาได้ง่ายขึ้น

อนึ่ง... ถ้าเราพิจารณาด้วยกรรมฐานกองเดียวแล้วไม่รู้เรื่อง ก็ต้องใช้กรรมฐานหลายกองช่วย

********
ขันธ์ห้าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เราต้องเห็นขันธ์ห้าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเสียก่อน
เพราะมันเป็นเหตุแห่งความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
********
44556.สาระสำคัญของสติปัฏฐาน 4
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44556

สติถ้าว่าด้วยปรมัตถ์มันคือ เจตสิกหรืออาการของจิต
ว่าด้วยปัจจัยแล้ว มันเป็นนามธรรม อันมีเหตุปัจจัยมาจากรูปธรรม
ที่เรียกว่า ใจ(มโนทวาร) ไปกระทบกับอายตนะภายนอก(ความคิดหรือการกำหนดรู้กุศลในอดีต)
แล้วก็เกิดเป็นกระบวนการขันธ์มาจบที่สติ
---------..................
สมถกรรมฐาน
เขาเอาไว้ดับนิวรณ์ห้า

***
สติมีสองอย่าง อย่างหนึ่งเกิดจากการกำหนดรู้
เพื่อไม่ให้เกิดอาการปรุงแต่ง ทางกายและวาจา
แบบนี้เรียกว่า............สติรู้ทันอารมณ์

สติอีกอย่าง เป็นสติของพระอริยบุคคล เป็นการกำหนดรู้เช่นกัน
แต่เป็นการกำหนดรู้ปัญญา ปัญญาที่ว่าก็คือ ไตรลักษณ์
ลักษณะของการกำหนดรู้ ต้องเป็นการกำหนดรู้เพี่อพิจารณาธรรม
หมายความว่า ตัองหมั่นใช้สติระลึกรู้ปัญญาสัมมาทิฐิ(ไตรลักษณ์) นำหน้า
เพื่อทำการพิจารณาธรรมที่เกิดขึ้นที่กายใจตนเอง
แบบนี้เรียกการทำวิปัสนากรรมฐาน ใช้สำหรับดับกิเลส สังโยชน์


การเห็นไตรลักษณ์ก็คือ การมองเห็นสภาวะธรรมตามความเป็นจริง
เพื่อให้ผู้ที่เห็นไตรลักษณ์แล้ว สามารถเอาไปปฏิบัติเพื่อธรรมที่สูงขึ้นไปอีก

***
รูปนามที่เป็นปัจจุบัน ทำไมต้องไประลึกรู้ด้วยครับ
อารมณ์ปัจจุบันเกิดขึ้นก็แค่รู้ตาม แต่สติมันเป็นการไประลึกรู้อดีตที่เรา
เคยได้กำหนดรู้สิ่งหนื่งสิ่งใดไว้ และอดีตก็คือ ปัญญาไตรลักษณ์ที่เราเห็นมา
***
ในทางปรมัตถ์ สัญญาคือความจำได้หมายรู้ในเวทนา ไม่ใช่การความจำที่มาจากสมอง
สัญญาเป็นเหตุให้เกิดสติ พูดให้ตรงลงไปก็คือ เวทนากับสัญญาทำให้เกิดจิตสังขาร
จิตสังขารก็คือสังขารขันธ์(เจตสิก) สติก็เป็นหนึ่งในเจตสิก
-----------------.................
สติ เป็นอาการของจิต ที่ ระลึก ทำความระลึก กำหนด ทำความกำหนดได้
สติ จำแนกเป็น สองประการ คือ สัมมาสติ และมิจฉาสติ
สัมมาสติ นั้น ยังอาจถูกจำแนกออกไปอีกได้เป็น สัมมาสติในธรรมอันเป็นโลกียะ และ สัมมาสติในธรรมอันเป็นโลกุตตระ
ซึ่ง
พระพุทธองค์แสดงธรรม เกียวกับสติปัฏฐานก็ตาม หรืออนุปัสสนาใดก็ตาม
จะเห็นปรากฏในพระสูตร ว่า
"สัมมาสติ เป็นไฉน" พระองค์ จะไม่ขึ้นด้วย "สติ เป็นไฉน"
ด้วยเหตุที่ว่า สัมมาสติ เป็นสัมมาสติที่พระองค์ค้นพบ และมุ่งแสดงให้เกิดความเข้าใจ

ด้วยเหตุที่ว่า ทรงตรัสว่า สัมมาสติ ;สัมมาสติ เป็นสังขตธรรม
มีองค์ธรรมสำคัญสามประการปรุงแต่งประกอบขึ้นมาร่วมกับองค์ธรรมอื่นๆ จึงเป็นสัมมาสติได้.
องค์ธรรมสำคัญสามประการ หรือเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมเกิดพร้อมเสมอ ใน สัมมาสติ คือ

1. อาตปะ
2. สัมปชัญญะ
3. สติ
เพราะมรรควิธีที่พระองค์แสดงนั้นพระองค์แสดงแก่สัตว์ ผู้ยังสามารถเสวยเวทนาอยู่ และเป็นผู้รู้สึกตัว
ดังนั้นจึงขาด เจตสิกธรรม สติ และสัมปชัญญะไม่ได้ องค์ธรรมสำคัญที่ทำให้เป็นสัมมาสติคือ อาตปะ
ความเพ่งเพียรเผา

(สติสัมปชัญญะ อาตปะ ในสิ่งไร คือ ความยินพอใจความไม่พอใจ ต่อสิ่งที่เกี่ยวกับโลกในโลก)

เมื่อองค์ธรรมสามอย่างนี้ทำงานร่วมกัน ตั้งขี้นที่ กาย เวทนา จิต หรือธรรม สตินั้นจึงเป็นสัมมาสติ

เมื่อพระองค์แสดงธรรม แก่อชิตะมานพ ในอชิตปัญญานั้น
พระองค์ทรงตรัสว่า สติเป็นเครื่องกั้นกระแสนั้น ก็ด้วยเหตุที่ว่า อชิตมานพนั้นเป็นบัณฑิตผู้มีปัญญา
สติที่แสดงนั้นหมายเอา สัมมาสติ เป็นองค์ธรรมหลัก

การฝึกสติ จึงเป็นการฝึกตั้งสัมมาสติ เพื่อให้สัมมาสติตั้งขึ้นในฐานต่างๆ อันเป็นที่ตั้งของสติ
การฝึก คือการทำตามวิธีการแนวทางที่พระองค์ทรงแสดงว่า "สติปัฏฐาน 4" ดั่งปรากฏในมหาสติปัฏฐานสูตรเป็นต้น
เจริญธรรม
.....................................................
ธรรมทั้งปวง มีมนสิการเป็นแดนเกิด

44527.คุณของ "สติ"
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44527

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 11, 2013, 01:50:38 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: "สติ" อันเป็นยอดแห่งธรรมทั้งหลาย
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2013, 04:26:17 pm »


สติ อันเป็นยอดแห่งธรรมทั้งหลาย
 
"สติ"
เกิดขึ้นได้ด้วยเหตุ 16 ประการ โดย.พระนาคเสน
1.สติเกิดจากตัวผู้รู้ เช่น การระลึกชาติ
2.สติเกิดจากมีการกระตุ้นเตือน เช่น ผู้หลงลืมมีผู้อื่นเตือนก็ระลึกได้
3.สติเกิดจากอาศัยนิมิตที่สำคัญ เช่น ประสบเหตุอันยิ่งใหญ่ในชีวิต
4.สติเกิดจากประทับใจในสุข

5.สติเกิดจากประทับใจในทุกข์
6.สติเกิดจากการใด้เห็นสิ่งคล้ายกัน เช่นเห็นประกายแก้วแพรวพราวก็ระลึกถึงองค์พระ
7.สติเกิดจากการใด้เห็นสิ่งแตกต่างกัน เช่น เห็นสีแดงตัดกับสีดำ
8.สติเกิดจากคำตักเตือน การรู้ สำผัส เห็นได้ยิน ซ้ำ ๆ

9.สติเกิดจากเครื่องเตือน หรือ เห็นซ้ำ ๆก็จำได้
10.สติเกิดจากการสังเกตุของตนเอง
11.สติเกิดจากการท่อง คำนวน การนับ
12.สติเกิดจากวินัยหรือหลักวิชา เช่น รู้ศีล 5 เห็นคนตบยุงก็เกิดสติจำได้

13.สติเกิดจากการพัฒนาจิตตามหลักภาวนา เช่นกรรมฐาน 40 กอง
14.สติเกิดจากการอ้างตำรา เช่น เปิดตำราก็จำได้ว่าเคยได้อ่าน
15.สติเกิดโยงใยเหตุการณ์ ก็เป็นเหตุให้เกิดสติ
16.สติเกิดจากความทรงจำ เช่น เห็นบุคลก็จำได้

สติ 4 ขั้น
1.จูฬสติ สติเบื่องต้นตามธรรมชาติ มีในคนและสัตว์
2.อนุสติ (สติเกิดบ่อยๆจึงมีชื่อว่าอนุสติ)สติขั้นการเจริญสติ เช่น อนุสติ 10 อสุภะ 10 กสิน 10 อรูปฌาณ 4
3.มัชฌิมสติ สติขั้นกลางคือการพัฒนาสติ
4.มหาสติ สติระดับมรรค-ผล ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป

สติ2ระดับ
1.สติระดับสัญชาติญาณ สามารถควบคุมการกระทำทางกายให้เป็นไปตามอำนาจของตน ซึ่งทุกคนมีตามธรรมชาติมากน้อยต่างกัน
2.สติระดับการฝึกฝนเรียนรู้ เป็นสติของผู้ฝึกสมถะ วิปัสนา แบ่งเป็น สติโลกียะ และสติโลกุตระ

สติจำแนกตามกาล
1.ในอดีต สติ หมายถึง การจำ การระลึกได้
2.ในปัจจุบัน สติ หมายถึง การรู้ตลอดสายในกายและจิตตามจริงเป็นปัจจุบัน
3.ในอนาคต สติ หมายถึง เจตนา ตั้งใจ ประสงค์จะกระทำ

สติ ย่อมมีปัญญาประกอบ3ประการ
1.ปัญญาในการเรียนรู้ จากการฟังคิด อ่าน เขียน
2.ปัญญาการไตร่ตรอง หาเหตุผล แก้ปัญหา
3.ปัญญา แห่งสัจจะธรรมของ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา

สติตามคำพระบรมครู
พุทธองค์ทรงตรัสว่า
"สติเป็นสิ่งที่ยืนหยัดตั้งมั่น เพื่อขจัดทุกข์ทั้งมวลที่เวียนว่ายตายเกิดกันอยู่ให้หลุดพ้นออกไป"
พระไตรปิฏก
สติตั่งมั่นในไม่ฟั้นเฟือนในฌาณ1 มีสติสัมปชัญญะในฌาณ2 มีสติตั้งอยู่เป็นสุขในฌาณ3 มีสติบริสุทธิในฌาณ 4
ม.มู 12/47/29
พระธรรมปิฎก
สติ คือ ความระลึกได้ นึกได้ ความไม่เผลอการควบคุมใจไว้กับกิจหรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้องจำการที่ทำคำที่พูดไว้เนิ่นนานได้
สติสัมปชัญญะ รู้ตัวรู้การกระทำในขณะนั้น ๆ ส่งผลให้พฤติกรรมเป็นไปด้วยปัญญา และเหตุผลที่บริสุทธฺ

หลวงปู่มั่น "สติ สำคัญสำหรับทำความเพียรและสติคือความเพียร"
หลวงตามหาบัว "ขาดสติการใดการนั้นเรียกขาดความเพียร"
หลวงพ่อชา สุภัทโธ "การปฏิบัติตนเป็นปรกติตามธรรมชาติมีสติระลึกรู้อยุ่เสมอปัญญาเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติจากการมีสติทุกอิริยาบท"
หลวงพ่อจรัล วัดอัมพวัน "สติมีการทำงานอยู่ 3 ระยะ 1.สติตัวต้นระลึกก่อน 2.สติตัวกลางรู้ตัวกำหนดสติสัมปชัญญะ 3.สติตัวปลายคือปัญญา"

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย "ทำจิตให้มีสิ่งรู้สิ่งระลึก จิตนึกถึงสิ่งใดให้มีสติกำกับเข้าไปเมื่อจิตมีสิ่งรู้สิ่งระลึกเขาจะมีพลังงานเพิ่มขึ้น"
หลวงพ่อเปลี่ยน ปัญญาธีโป "เราฝึกสมาธิไม่ได้ก็คือ สติเรามันอ่อนมันไม่รวดเร็วมันระลึกไม่เร็วรู้ไม่เร็วไม่เท่าทันจิต"
หลวงปู่เทสก์ เทสรังษี "สติคุมจิตให้อยู่ในอำนาจของบริกรรม พุทโธ..สิ่งไม่ถูกกำหนดหายไปสิ้น ตั้งสติให้แน่วแน่ในอารมณ์เดียวจนจิตรวมเป็นหนึ่ง"
หลวงพ่อลี วัดอโศการาม "รอบคอบด้วยสติ มั่นคงด้วยสมาธิเกิดปัญญารู้แจ้งถูกผิด"

หลวงปู่ขาว อนาลโย "สติทำอะไรไม่ผิดพลาดกุศลธรรมทั้งหลาย คุณความดีทั้งหลาย เกิดขึ้นได้เพราะบุคคลมีสติอย่างเดียว"
หลวงปู่หลุย "เอาสติรักษาจิตให้มั่นจะเกิดอัศจรรย์ในจิต สิ่งที่ไม่รู้ก็รู้ขึ้นมา"
หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ "สติ มาจากรากศัพย์บาลี แปลว่า แล่น ๆขนส่งความรู้ความจำ"
หลวงพ่อพระราชพรหมญาณ "ขอเพียงให้ กำหนดรู้ลมเข้า กับรู้ลมออก คือ เอาสติเข้าไปคุมไว้ คำว่าสติเป็นภาษาบาลี ถ้าฟังแล้วรู้สึกอึดอัด เราก็จะใช้ว่ารู้ ๆ แค่นี้ จะสบายกว่า ตัวรู้นี่ก็คือตัวสติพระพุทธเจ้าทรงให้ฝึกเฉพาะสติก่อนเท่านั้น ยังไม่เข้าถึงสัมปชัญญะ ซึ่งก็อยู่ในกายานุปัสสนามหาสติปัฏฐานเหมือนกัน แต่ให้ทำตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนก็แล้วกัน
สายาดอ อูบัณฑิต "สติ หมายถึง พลังแห่งการเฝ้าสังเกต"

-http://board.palungjit.com/f10/%E0%B8%A ... 27503.html
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44418&start=15

**********************************************

ปริญญา แปลว่า การกำหนดรู้
๑. ญาตปริญญา ....กำหนดรู้ด้วยการรู้
๒. ตีรณปริญญา ....กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา
๓. ปหานปริญญา....กำหนดรู้ด้วยการละเสีย.

ที่มาของคัมภีร์ : ขุ. มหา. ๒๙/๖๐.
>>> อุบาสก ผู้หนึ่ง /28 กันยายน56
****************************

พุทธพจน์ห้ามเอาไปแปล รู้จักหรือเปล่าพุทธพจน์น่ะ

พุทธพจน์มันหมายถึงปรมัตถบัญญัติ ไอ้ที่ยกมาท่านเรียกว่า....พุทธวจนะ
ในบทพุทธวจนะ มีทั้งสมมติบัญญัติและปรมัตถบัญญัติ

สมมติบัญญัติซึ่งมันเป็นบาลีสามารถเอาไปแปลเป็นไทยได้ แต่ปรมัตถ์บัญญัติห้ามเอาไปแปลเป็นไทย
ปรมัตถ์บัญญัติเราต้องรู้แจ้งด้วยตัวเอง นั้นก็คือรู้ตามสภาวธรรม...
--------------------
 เราต้องพิจารณาพุทธพจน์นั้นให้เกิดเป็นสภาวธรรม
นั้นหมายความว่า ปฏิบัติให้เห็นความเป็นจริงต่อพุทธพจน์นั้น

อย่างเช่น...ขนฺตี คำนี่ ถ้าเราไปแปล... ขันติ คือความอดกลั้น
จากความหมายที่เป็นปรมัตถ์ มันจะกลายเป็นสมมติบัญญัติทันที มันใช้ไม่ได้

หลักการแท้ๆนั้น เราต้องทำให้ปรมัตถ์บัญญัติ เป็นปรมัตถ์
หรือทำบัญญัติให้เป็นสภาวธรรม

อาจถามว่า แล้วเราจะบอกผู้อื่นได้อย่างไร นั้นก็พูดไปตามจริงว่า
เราเห็นและเข้าใจสภาวธรรมตัวนั้นอย่างไร ไม่ใช่ไปเอามาจากพจนานุกรม

ในพจนานุกรม บอกว่าขันติคือความอดทนอดกลั่น ในสภาพของจิตมันมีซ่ะที่ไหนกัน
สภาพของจิต มีแต่กระบวนการขันธ์ห้า มีแต่จิต เจตสิก รูป

ขันติที่เป็นปรมัตถ์หรือสภาวะ ก็คือการที่จิตไประลึกรู้สภาพธรรม เพื่อมาดับอกุศล
พูดง่ายๆมันก็คือสตินั้นเอง

--------------------------------------------
ไม่ให้แปล หมายความว่า.......อย่าเอาปรมัตถ์บัญญัติไปแปล ไม่ใช่ไม่ให้แปลสมมติบัญญัติที่เป็นบาลี
พูดง่ายๆคือ ห้ามเอาปรมัตถ์บัญญัติที่เป็นบาลีไปให้ความหมายเอาเองตามภาษาไทย

-----....ถ้า เห็นบทพระไตรปิฏกที่เป็นบาลี --- ต้องไปเทียบกับ
พระไตรปิฎกที่เป็นภาษาไทย ในพระไตรปิฎกที่เป็นภาษาไทยท่านไม่ได้แปลปรมัตถ์บัญญัติ
แต่ที่เราเห็นเนื้อหาไทยยาวๆ นั้นเป็นเพราะท่านอธิบายในส่วนที่เป็นสมมติบัญญัติ

----ดูให้ดีจะเห็นว่า ในพระไตรปิฎกจะคงความเป็นปรมัตถ์บัญญัติเอาไว้
อาจจะเพี้ยนรูป แต่ยังคงเสียงเดิมเอาไว้ เช่นขนฺตี เขียนเป็น ขันติ
[47276.สาระของโอวาทปาฏิโมกข์]
******************************************

ความสำคัญของการภาวนาหรือการปฏิบัติตามแนวทางของพระพุทธเจ้า
นั้นคือการดำเนินชีวิตแบบมีสติในเบื้องต้น และการมีอินทรีย์๕ในเบื้องปลาย

ดังนั้นการปฏิบัติที่แท้ ไม่ใช่การนั่งจมแช่อยู่กับความว่าง
ตรงข้ามการปฏิบัติที่ถูกต้องคือการ ทำให้จิตมีความคล่องแคล้วฉับไว
ควรค่าแก่การงาน ซึ่งการทำให้จิตมีลักษณะนี้ได้ ก็ต้องอาศัยอินทรีย์๕
นั้นก็คือ.......................ศรัทธา....วิริยะ....สติ..ปัญญา....สมาธิ

จขกทรู้หรือไม่ว่า....สมถะมีลักษณะอย่างไร
และสมาธิแท้ๆที่พระพุทธองค์ทรงสอนเป็นอย่างไร
จขกทรู้หรือเปล่าว่ากำลังเข้าใจผิด โดยคิดว่า สมาธิของฤษีเป็นสมาธิที่พระพุทธองค์ทรงสอน
-------------......................

การทำวิปัสสนาจะไม่สามารถทำในขณะที่อยู่ในฌานได้
จะต้องถอนออกมาจากฌานเสียก่อน ทำแบบนี้จึงจะเป็นแบบที่พระพุทธองค์ทรงสอน
ที่พูดมาเอามาจากประสบการณ์ และถามว่าทำไมถึงรู้
ก็จะบอกให้ ประสบการณ์การเห็นไตรลักษณ์ของผม มาจากการเจริญสติ
การให้จิตมีความคล่องแคล้วฉับไว ทันต่อสิ่งที่มากระทบ
------------................
วิปัสสนาก็คือการคิด
การพิจารณาธรรมจะต้องอาศัยมโทวาร เราต้องใช้มโมทวารเป็นผู้พิจารณาธรรม
แต่มันไม่ใช่มีแต่มโนทวาร ในการใช้มโนทวารพิจารณาธรรม ยังต้องอาศัยการนึกด้วย
เราต้องนึกระลึกถึงปัญญาหรือสภาวธรรมที่เราไปจดจำมา เอามาพิจารณาธรรมร่วมด้วย
----------...................
คนที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ คนนั้นจะต้องรู้ผิดและรู้ถูกไปในคราวเดียวกัน
และจะรู้ผิดรู้ถูกได้ เขาจะต้องเคยผ่านการกระทำนั้นมาแล้ว
----------.................
การได้มาซึ่งญาน เราจะต้องปฏิบัติด้วยวิธีการทำ สมถะและวิปัสนาควบคู่กันไป
การทำฌานไม่ใช่หนทางแห่งญาน ผู้ที่ทำฌานจะได้มาซึ่งญานนั้น จะต้องเปลี่ยนฌานให้
มาเป็นวิปัสสนาเสียก่อน จึงจะสามารถเห็นญานได้
-------------....................
ผู้มีประสบการณ์ เขาสามารถกล่าวในสิ่งที่เขาพบเจอมา โดยไม่ต้องไปอิงแอบกับตำราเล่มใด
การอ้างตำรายิ่งเป็นตำราที่ไม่ใช่พุทธพจน์ นั้นหาใช่ประสบการณ์ไม่ มันก็แค่การอ่านตำรา
---------------.......................
เป็นเพราะยังขาดความเข้าใจเรื่องลักษณะของจิต
จิตปรุงแต่งก็เข้าใจไปว่าเกิดสิ่งผิดปกติขึ้นที่จิต ซึ่งในความเป็นจริง
มันเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย

เรื่องทุกเรื่องที่เกิดขึ้นที่จิต มันเป็นเพราะจิตไปรับรู้ความคิด
นั้นคือเอาความจำในอดีตมาคิด แล้วก็ปรุงแต่งซ้ำลงไป

คนที่เข้าใจเรื่องสภาวะ เข้าใจคุณสมบัติของจิตดีแล้ว
จะไม่มีอาการต่างๆเหล่านี้ อาจจะมีบ้างก็คือ รู้สึกมีการกระทบขึ้นที่ทวารใดทวารหนึ่ง
เพียงแค่นั้น และสิ่งที่.. เข้าใจว่า เป็นเวทนานั้น แท้จริง จิตไปอยู่ตรงส่วนที่มีการกระทบ
ทางกาย แต่ไม่ได้รู้ว่าเกิดการกระทบ แต่ไปรู้อาการของจิตที่เกิดการกระทบนั้น

เรื่องที่ .. ยกมาไม่ได้เกี่ยวกับทุกข์ มันเป็นเรื่องของผู้ยังไม่รู้ทุกข์
นั้นหมายความว่า ......ยังหลงเข้าใจว่า เวทนาคือทุกข์
-----------------------.......................
ศาสนาพุทธเน้นเรื่องศรัทธา ศรัทธากับความเชื่อแตกต่างกัน
ศรัทธาประกอบด้วยปัญญา มีเหตุมีผล ส่วนความเชื่อนั้นไม่ประกอบด้วยปัญญา
------------------..................................
ปริเฉทนั้นน่ะ มันเป็นปริยัติโดยตรงเลย ความหมายก็คือ
การแบ่งเนื้อหาที่เป็นปริยัติไว้เป็นตอนๆ
-----------------.....................
.. บันไดขั้นที่หนึ่ง .....
หมั่นเจริญสติเพื่อให้เกิดปัญญา การจะปฏิบัติในเรื่องอริยมรรคมีองค์๘
มันไม่สามารถทำได้ถ้ายังขาดปัญญา
ปัญญาที่ว่าคือ การได้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของอารมณ์เสียก่อน
... การนั่งทำฌานอย่างเดียวไม่สามารถเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้
-----------------................
หลงเข้าใจไปว่า แยกรูปแยกนาม เป็นปาฏิหาร
ในความเป็นจริงมันไม่ใช่ มันก็แค่การที่จิตมีความเป็นสัมปะชัญญะ
คล่องแคล้วต่อการตามรู้ต่อสิ่งที่มากระทบ โดยเฉพาะที่มโนทวาร

รูปคือทวารทุกทวาร นามคือจิตผู้รู้ก็คือวิญญานนั้นเอง

สรุปให้ฟังง่ายๆ ก็คือ การที่จิตทันต่อสิ่งที่มากระบบ นั้นก็คือการแยกรูปแยกนามแล้ว
รวมถึงจิตผู้รู้และสิ่งที่ถุูกรู้(รูปหรือทวาร)

-----------------------..........................................
ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันเป็นเพียงสภาวะเดียว
แต่ในสภาวะเดียวนั้น มีความหมายได้สามอย่าง
... ... ... ... ..........
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันเป็นสภาวะเดียว
-----------------.............
สติเป็นสภาวะที่......ระลึกรู้
การระลึกรู้ไม่ได้หมายถึงรู้ปัจจุบันอารมณ์
หน้าที่ของการรู้ปัจจุบันอารมณ์คือ......จิต(วิญญาน)

สติเป็นอาการของจิต ที่ไปรู้สัญญา(อดีด) สติไม่ใช่รู้ปัจจุบันอารมณ์
ตัวที่รู้ปัจจุบันอารมณ์คือ......จิตหรือวิญญาน ... ...

สภาวะธรรมภายในกายใจเรา ไม่ว่าจะเกิดสภาวะใดขึ้น
ก็ต้องนับว่า สภาวะนั้นคือ ปัจจุบันอารมณ์
ต่อให้เกิดความหลงหรือโมหะ ก็ต้องนับโมหะเป็นปัจจุบันอารมณ์

---------------------------------....................
สัมมาสังกัปปะเป็นหลักของการปฏิบัติในการดับอวิชา ไม่ใช่การทำฌาน
การทำฌานเพียงอย่างเดียวไม่สามารถดับอวิชาได้

ความเป็นสัมมาสังกัปปะ นั้นก็คือ การใช้ปัญญาลงไปพิจารณาธรรมเพียงให้เห็นถึง
ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ถ้าไล่ลำดับของไตรสิกขา ในส่วนของอธิปัญญา จะต้องเกิดปัญญา(ไตรลักษณ์)เสียก่อน
เราจึงจะเอาปํญญาตัวนี้มาพิจารณาธรรมให้เกิดเป็นสัมมาสังกัปปะได้
-----------------------..............................
ผู้ที่มีปัญญาเห็นสภาวะธรรมแล้วเท่านั้น จึงจะรู้ว่าในความหมายของรูปนาม
มันไม้ได้แยกออกจากกัน เพียงแต่มันเป็นเรื่องของสังขาร เป็นเรื่องของจิต
จิตมีลักษณะเกิดขึ้นและดับไปในทันทีทันใด อาการของจิตหรือเจตสิกก็เช่นกัน
จะต้องเกิดพร้อมกับจิตและดับพร้อมกับจิต

จิตเป็นลักษณะสองอย่าง นั้นก็คือเป็นตัวรู้และเป็นอาการของจิต
จิตตัวรู้กับจิตที่เป็นอาการของจิต จะเกิดพร้อมกันไม่ได้
เพราะจิตเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป....ทีละดวง

จิตจะรู้อาการของจิตได้ จะต้องให้จิตที่เป็นอาการของจิตดับไปเสียก่อน จึงจะเกิดจิตตัวรู้
จิตตัวรู้ก็คือ รู้อาการของจิตตัวที่ดับไป

ดังนั้นความหมายของการแยกรูปแยกนาม มันไม่ใช่การที่รูปและนามแยกออกจากกัน
--------------------...............................
ในสาระสำคัญที่เป็นวิชชาแท้ๆ
สภาวธรรมตัวนั้นก็คือ........สังขตธรรม
สังขตธรรมก็คือไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์เป็นลักษณะของสังขาร
ไตรลักษณ์ไม่ใช่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
แต่ไตรลักษณ์เป็นเหตุให้เกิด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ในความเป็นไตรลักษณ์ก็คือลักษณะของสังขาร นั้นก็คือ....การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป
สภาวะแท้ๆของไตรลักษณ์จึงมีสาม....เกิด ตั้งอยู่ ดับไป

แต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สภาวะอนิจจังไม่มี สภาวะทุกขังไม่มี และสภาวะอนัตตาไม่มี
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นกฎแห่งธรรมชาติ เป็นธรรมฐิติ ธรรมนิยาม(กรุณาไปดูพระไตรปิฎกเพิ่มเติม)
เมื่ออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นกฎแห่งธรรมชาติ แต่จิตไปรู้กฎแห่งธรรมชาตินี้เข้า
สภาวะที่เกิดขึ้นมันจึงเป็น........สภาวะที่เรียกว่า ปัญญา

ปัญญาเป็นอาการของจิต ที่เกิดขึ้นโดยเป็นสภาวะเดี่ยว ไม่มีสอง สาม สี่

สรุป เหตุให้เกิดคือไตรลักษณ์มีสามคือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ผลก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปัญญามีเพียง...หนึ่ง
-------------------------.......................................
{คำว่าไตรลักษณ์ เป็นบัญญัติที่สร้างขึ้นใหม่โดยครูบาอาจารย์รุ่นหลัง
มันเป็นการถอดบัญญัติมาเป็นบัญญัติ หลายคนที่ยังขาดปัญญามักจะเข้าใจว่า....
ไตรลักษณ์คือ....อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ในความเป็นจริงแล้ว
ไตรลักษณ์คือ ลักษณะของสังขารที่มี การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ในความเป็นลักษณะของสังขารนี้ มันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ด้วยเหตุปัจจัยดังนี้ ถ้าเราจะกล่าวว่า ไตรลักษณ์..หมายถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาก็ย่อมได้
แต่ถ้าเป็นหลักในการพิจารณาธรรม เพื่อดับเหตุแห่งทุกข์
เราต้องเข้าใจว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสภาวะปัญญา
ส่วนการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป..ไตรลักษณ์เป็นวิชชา เป็นเหตุให้เกิดปัญญา

นั้นคือเราต้องเอา วิชชา(เหตุแห่งปัญญา) และปัญญา(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
ไปพิจารณาธรรมเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ เป็นดังนี้เมื่อเราได้ยินว่า.."ไตรลักษณ์"
ก็ให้เข้าใจว่า นั้นคือ วิชชาและปัญญา เป็นปัจจัยร่วมกันอยู่
[หน้า 6 จากทั้งหมด 33]

46821.ครึ่งชั่วโมง ทำใจให้สงบจากนิวรณ์ 5 ไม่ได้รู้มากมายก็ไร้ค่า}
***

นิพพานมีอย่างเดียว
นิพพานธาตุ จึงจะต่างกัน เพราะมันต่างกันด้วยธาตุ ไม่ใช่นิพพาน
..
ธาตุในที่นี้หมายถึง
กายใจของ สอุปาทิเสสบุคคลและกายใจของอนุปาทิเสสบุคคล

สอุปาทิเสสบุคคลคือผู้เจริญปัญญาด้วย .....สุตตมยปัญญา(อินทรีย์ห้า)
อนุปาทิเสสบุคคลคือผู้เจริญปัญญาด้วย......ภาวนามยปัญญา(ฌาน)
52969. ฆราวาสบรรลุอรหันต์จำเป็นต้องบวช???
********

ความหมายของประตูนิพพานมีสามทาง
ท่านหมายถึงการปฏิบัติให้ถึงนิพพานมีสามทาง นั้นก็คือ
๑......สุตตมยปัญญา
๒......จินตมยปัญญา
๓......ภาวนามยปัญญา
---------........................
สังเกตุ คือ........สัมปชัญญะ
ปัญญาไม่ใช่สัมมาสังกัปปะโดยตรง แต่ปัญญาเป็นเหตุให้เกิด ....สัมมาสังกัปปะ

ความหมายของสังเกตุ โดยรวมแล้วคือการพิจารณาธรรมที่เกิดขึ้นภายในใจ โดยอาศัยหลักของ
ปัญญาและสติสัมปชัญญะ หลักการก็คือ พิจารณาหาเหตุแห่งธรรมที่เกิดขึ้น เช่นทุกข์

ส่วนวิปัสสนา เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการพิจารณา แต่ยังไม่ถึงระดับของการพิจารณาธรรม
เพราะวิปัสสนาเป็นการทำให้จิตเป็นสมาธิ ดูอารมณ์ที่เกิด
ความหมายก็คือดูเฉยๆ ยังไม่ถึงขั้นการพิจารณา

การสังเกตุ ตามที่ .. ยกมา โดยเหตุปัจจัยของการปฏิบัติแล้ว เป็นการให้จิตทันต่อ
สิ่งที่มากระทบทวารทุกทวาร แล้วพิจารณาเหตุปัจจัยแห่งการกระทบนั้น

ดังนั้นถ้าเราเริ่มต้นด้วยการสังเกตุ .........วิปัสสนาจะไม่เกิด
เพราะวิปัสสนาคือการดูอารมณ์เฉยๆ หมายความว่า.....ไม่ให้คิดและไม่ให้บังคับจิต(ไม่เพ่ง)

ส่วนสังเกตุ ถ้าเป็นความหมายในทางธรรม คือการพิจารณา
จะต้องอาศัย ปัญญาลงมาเป็นส่วนประกอบในความคิด สรุปก็คือความคิด
-----------------..............................................................
มันเป็นการอธิบายมรรควิธีส่วนย่อยของ......ภาวนามยปัญญา
ความหมายแท้ของการทำภาวมยปัญญาก็คือการเอาปัญญาไตรลักษณ์ ไปเพ่งหรือทำฌาน

การเพ่ง ท่านไม่ได้เพ่งสิ่งที่เรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง หรืออนัตตา
ท่านท่านเพ่งที่ตัวสังขาร นั้นก็คือเพ่งการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
และในการเพ่งนั้นจะต้องมีปัญญามาประกอบด้วย ปัญญาเป็นสภาวะเดียว
แต่มีความหมายหรือผลเป็นสาม นั้นก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ผู้ปฏิบัติจะเลือกเอาอย่างใดมาเป็นผลของของเพ่งก็ได้
ถ้าเลือกการเพ่งสังขารให้เกิดผลเป็น....อนิจนิจจัง เราก็เรียกการเพ่งนั้นว่า....อนิมิตนิพพาน
ถ้าเลือกเพ่งสังขารโดยให้ผลเป็น.........ทุกขัง เราเรียกการเพ่งนั้นว่า.....อัปปณิหิตนิพพาน
ถ้าเลือกเพ่งสังขารโดยให้ผลเป็น.........อนัตตา เราเรียกการเพ่งนั้นว่า.....สุญญตนิพพาน
---------------------------------............................................

การปฏิบัติแนวโยคีหรือพวกยึดติดอภินิหารย์
ซึ่งในความเป็นจริง พระพุทธทรงชี้ให้เห็นว่า....มันเป็นมิจฉา

ส่วนเรื่องการปฏิบัติสู่นิพพาน ถ้าใครเป็นสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า......
ย่อมต้องมีททางสายเดียวอยู่แล้ว นั้นคือ อริยมรรคมีองค์๘.....
เราเรียกหนทางนี้ว่า สุตตมยปัญญา เป็นเพราะต้องอาศัยพระธรรมคำสอนของพระโคดม

แต่หนทางสู่นิพพานไม่ใช่มีสายเดียว มันมี๓สายดังที่กล่าวมาแล้ว
อย่าลืมว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้มีแต่พระโคดม ยังมีปัจเจกพุทธเจ้าอีกมากมาย
เราเรียกปัจเจกพุทธเจ้าว่า เป็นผู้ตรัสรู้เหมือนกัน หนทางแห่งการตรัสรู้ของท่าน
ไม่ใช่หนทางแบบของสาวกพระโคดม

ปัจเจกพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ของท่านเอง จึงเรียกหนทางการตรัสรู้ของปัจเจกพุทธเจ้าว่า.....
จินตมยปัญญา การตรัสรู้ของพระโคดมเป็นจินตมยปัญญาเช่นกัน

ยังมีอีกหนทางนั้นก็คือพวกที่ทำฌาน การทำฌานไม่ใช่การปฏิบัติในอริยมรรคมีองค์๘
การทำฌานเป็นการเข้าสมาบัติ
ในตอนแรกพวกโยคีเข้าใจว่า การเข้าสมาบัติคือ สภาวะนิพพาน
แต่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะให้เหล่าโยคี ให้ปฏิบัติต่อไปจนถึง....นิโรธสมาบัติ
เราเรียกขั้นตอนการปฏิบัติของพวกโยคีหรือพวกทำฌานว่า.....ภาวนามยปัญญา
-------------------------------.........................................
[๘๐๔] พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์
ติกนิเทศ
(ว่าด้วย.. จินตามยปัญญา สุตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา เป็นไฉน)
-http://www.84000.org/tipitaka/read/?35/804/438
*********************************************
การทำฌานหรือเรียกว่า การเจริญภาวนา เป็นการมุ่งตรงสู่นิพพานด้วยการละ ราคะ โทสะ โมหะ
การทำอริยมรรคมีองค์๘หรือเรียกว่า การเจริญปัญญา เป็นการมุ่งตรงสู่นิพพานด้วยการละ..อวิชา
----------------------------.........................................
พระอภิธัมมัตถสังคหะ ท่านอธิบายการเข้าถึงนิพพาน ด้วยการเจริญภาวนา
ซึ่งมันเป็นเพียงหนทางหนึ่งในการไปสู่นิพพาน
... ... ... ........

เนื่องจากพระอภิธรรมมัตถสังคหะไม่ใช่พระไตรปิฎกแท้ๆ เป็นเพียงคัมภีร์
จึงไม่มีเนื้อหาอยู่ในพระไตรปิฎก ดังนั้นการอ้างอิงจึงต้องอาศัย เอามาจากเว็บที่เขาเผยแพร่
เป็นการเฉพาะ ดังนั้นผมจึงต้องเอามาจากเว็บพระอภิธัมออนไลน์.........

ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
นิพพาน โดยอาการที่เข้าถึง
นิพพาน กล่าวโดยอาการที่เข้าถึง หรือกล่าวโดยสภาพที่บรรลุ หรือโดยอาการ ที่เป็นไปแล้ว มี ๓ คือ

ก. อนิมิตนิพพาน หมายถึงนิพพานนั้นไม่มีนิมิตไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีรูปร่าง
การสงัดจากนิมิตอารมณ์ ที่ยังให้เกิดกิเลส หรือ ชรามรณธรรม เป็นต้น นั้น
เรียกว่า อนิมิตตนิพพาน

ผู้เจริญวิปัสสนาภาวนา จนเห็นสามัญลักษณะ หรือ ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง เห็นความไม่เที่ยง อันปราศจากนิมิตเครื่องหมายเช่นนี้แล้ว และเพ่งอนิจจังต่อไปจน บรรลุมัคคผล มีนิพพานเป็นอารมณ์ นิพพานที่เป็นอารมณ์แก่ผู้ที่เห็นอนิจจังนั้นมี ชื่อว่า อนิมิตตนิพพาน ผู้มีอนิมิตตนิพพานเป็นอารมณ์ บุญญาธิการแต่ปางก่อนแรง ด้วย สีล

ข. อัปปณิหิตนิพพาน หมายถึง นิพพานนั้น ไม่มีอารมณ์เป็นที่น่าปรารถนา
การสงัดจากความดิ้นรนอันเป็นเหตุให้เกิดสรรพทุกข์นั้น เรียกว่า อัปปณิหิต นิพพาน

ผู้เจริญวิปัสสนาภาวนา จนเห็นไตรลักษณ์ คือ ทุกข์ เห็นความทนอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปรไป อันหาเป็น ปณิธิ ที่ตั้งไม่ได้เช่นนี้แล้ว และเพ่งทุกข์ต่อไปจน บรรลุมัคคผล มีนิพพานเป็นอารมณ์ นิพพานที่เป็นอารมณ์แก่ผู้ที่เห็นทุกข์นั้นมี ชื่อว่า อัปปณิหิตนิพพาน ผู้มีอัปปณิหิตนิพพานเป็นอารมณ์ บุญญาธิการแต่ปางก่อน แรงด้วย สมาธิ

ค. สุญญตนิพพาน หมายถึง นิพพานนั้นสูญสิ้นจากกิเลสและอุปาทาน และ ขันธ์ ๕ ไม่มีอะไรเหลืออยู่
ผู้เจริญวิปัสสนาภาวนา จนเห็นไตรลักษณ์ คือ อนัตตา เห็นความไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ อันเป็นความว่างเปล่า เช่นนี้แล้ว และเพ่งอนัตตาต่อไปจนบรรลุ มัคคผล มีนิพพานเป็นอารมณ์ นิพพานที่เป็นอารมณ์แก่ผู้เห็นอนัตตานั้น มีชื่อว่า สุญญตนิพพาน ผู้ที่มีสุญญตนิพพานเป็นอารมณ์นี้ บุญญาธิการแต่ปางก่อนแรงด้วย ปัญญา

ผู้ที่เห็นสามัญญลักษณ์ หรือไตรลักษณ์ คือ อนิจจังกับอนัตตาแล้วก้าวขึ้นสู่ มัคคผลนั้น มีจำนวนมากกว่าผู้ที่เห็น ทุกขัง

จบปริจเฉทที่ ๖ ชื่อว่า รูปสังคหวิภาค
-http://abhidhamonline.org/aphi/p6/087.htm
[หน้า 1-5 จากทั้งหมด 33]
46821.ครึ่งชั่วโมง ทำใจให้สงบจากนิวรณ์ 5 ไม่ได้รู้มากมายก็ไร้ค่า
******************************************

พราหมณ์แนวศาสนาอื่นกับแนวพุทธ ต่างกันอย่างไร
..
ถ้าเป็นแนวศาสนาอื่นหรือฮินดู ท่านให้ความหมายของพราหมณ์
ในความหมายของชนชั้นหรือชาติกำหนิด..............นี้ก็เป็นเรื่องของเขา(พุทธไม่เกี่ยว)
แต่ถ้าเป็นพุทธ พระพุทธองค์ให้ความหมายของพราหมณ์ไว้ดังนี้.......

วาเสฏฐสูตร.......(๗๐๗)
-http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
47463.กรรมและวิบาก เป็นตัวจักรขับให้ชีวิตสัตว์โลกดำเนินไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 21, 2016, 04:29:52 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: อิริยาบถปิดบังทุกขลักษณะ
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2014, 05:54:47 pm »
อิริยาบถปิดบังทุกขลักษณะ
อิริยาบถ คือ รูปแบบกิริยาการกระทำต่าง ๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การแล การเหลียว เป็นต้น.การเปลี่ยนอิริยาบถนั้นบางครั้งก็อาจทำเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด แต่โดยมากแล้ว เราเปลี่ยนเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยที่ยังไม่ต้องเกิดความทุกข์ความเจ็บปวดขึ้นมาก่อนก็ได้ เช่น นั่งสมาธิ เดินจงกรม เป็นต้น อิริยาบถเป็นการเปลี่ยนแปลงของรูปคล้ายกับวิญญัตติรูป ดังนั้น ท่านจึงระบุไว้ในตอนท้ายของอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตรและฎีกาว่า "ไม่พึงพิจารณาตั้งแต่เพิ่งเริ่มต้นกำหนด " ส่วนเหตุผลท่านก็ให้ไว้เหมือนกับอสัมมสนรูป นั่นคือ เพราะเป็นเพียงความเปลี่ยนแปลงของรูป ไม่ใช่สภาวะธรรมโดยตรงจึงไม่ควรกำหนดนั่นเอง.

อิริยาบถที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดทั้งวันนี้ จะทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่า ขันธ์ 5ไม่ได้บีบคั้นบังคับตัวเองให้ต้องเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด ทั้งที่ความจริงแล้ว แม้ขณะที่เราเปลี่ยนอิริยาบถอยู่โดยไม่ได้เป็นเพราะความเจ็บปวด เช่น เดินจงกรม นั่งสมาธิ เป็นต้น ตอนนั้นขันธ์ 5 ก็ล้วนบีบคั้นบังคับตนเองให้ต้องเปลี่ยนแปลงแตกดับเสื่อมสลายไปเป็นปกติทั้งสิ้น. ในคัมภีร์ท่านจึงกล่าวไว้ว่า "อิริยาบถปิดบังทุกลักษณะ" เพราะทุกขลักษณะเป็นเครื่องกำหนดความบีบคั้นให้เปลี่ยนไปของขันธ์ 5 ที่ล้วนบีบคั้นบังคับตัวเองอยู่เป็นนิจ ซึ่งตรงกันข้ามกับอิริยาบถที่เมื่อเปลี่ยนแล้ว ก็ทำให้สุขต่อกันไปจนไม่รู้ตัวเลยว่า ขันธ์ 5 กำลังบีบคั้นขันธ์เองวินาทีละนับครั้งไม่ได้. การที่ยังพิจารณาทุกขลักษณะว่า "ขันธ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"เป็นต้น (โดยมุ่งถึงความเบียดเบียนบีบคั้น) ไม่บ่อย ไม่ต่อเนื่อง หรือเพิ่งเริ่มกำหนด จึงยังไม่เกิดความชำนาญ ทุกขลักษณะที่กำหนดอยู่ก็จะไม่ชัดเจน ไม่เข้าใจกระจ่างเท่าไหร่อิริยาบถจึงยังมีอำนาจรบกวนไม่ให้กำหนดทุกขลักษณะได้ชัดเจนแจ่มแจ้ง.

สำหรับวิธีการจัดการกับอิริยาบถไม่ให้มีผลกับการกำหนดทุกขลักษณะนั้นไม่มีวิธีการโดยตรง เพราะถ้าไม่เปลี่ยนอิริยาบถ หรือ อิริยาบถไม่สม่ำเสมอก็อาจป่วยได้ ซึ่งจะกลายเป็นการซ้ำร้ายลงไปอีก ทั้งยังจะทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ ทำให้อยู่ร่วมกับสังคมไม่ได้ไม่ว่าจะสังคมโยม หรือสังคมพระภิกษุก็อยู่ไม่ได้เหมือนๆกัน. แต่ท่านก็ยังคงให้พิจารณาทุกขลักษณะแบบเดิมเป็นต้นว่า "ขันธ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"ดังนี้ โดยมุ่งถึงความเบียดเบียนบีบคั้น ต่อไป โดยทำให้มาก ให้ต่อเนื่อง ให้บ่อยครั้งเข้า ทุกขลักษณะก็จะปรากฏชัดขึ้น และอิริยาบถแม้จะยังมีอยู่ตามเดิม แต่ก็จะไม่มีอำนาจปกปิดทุกขลักษณะ หรือ ทำให้ทุกขลักษณะไม่ชัดเจนอีกต่อไป.

อนึ่ง อิริยาบถไม่ได้ปิดบังปิดบังทุกขัง เพราะทุกขัง คือ ขันธ์ 5 ซึ่งขันธ์ 5 ที่เป็นโลกิยะโดยมากแล้วใคร ๆ แม้ที่ไม่ได้ศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็สามารถจะเห็นได้ ดังที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตรว่า "กามํ อุตฺตานเสยฺยกาปิ ทารกา ถญฺญปิวนาทิกาเล สุขํ เวทยมานา สุขํ เวทนํ เวทยามาติ ปชานนฺติ น ปเนตํ เอวรูปํ ชานนํ สนฺธาย วุตฺตํ - ความจริงแล้ว แม้แต่พวกทารกแบเบาะมีความสุขอยู่ในเวลาขณะที่ดื่มนม ก็ย่อมรู้ชัดอยู่ว่า เรามีสุขเวทนา (คือ รู้ตัวว่ากำลังมีความสุข) อยู่ ดังนี้ แต่การรู้อย่างนี้ท่านไม่ได้ประสงค์เอา (ในการเจริญสติปัฏฐาน) "ดังนี้[14]. ดังนั้นไม่ว่าเราจะขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถหรือจะไม่กระดุกกระดิกเปลี่ยนอิริยาบถใดๆเลยก็ตาม แต่หากไม่มนสิการถึงทุกขลักษณะว่า "ขันธ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"เป็นต้น (โดยมุ่งถึงความเบียดเบียนบีบคั้น) เราก็จะไม่สามารถเห็นทุกขลักษณะได้เลย. ฉะนั้นในวิสุทธิมรรคฎีกาท่านจึงกล่าวไว้ว่า "อิริยาบถเหมือนปิดบังทุกข์"เท่านั้น ไม่กล่าวว่า "อิริยาบถปิดบังทุกข์" เพราะอิริยาบถทำให้สุขเวทนาเกิดต่อเนื่องจึงไม่ได้รับทุกขเวทนาเท่านั้น แต่อิริยาบถไม่ได้ปิดบังทุกข์คือขันธ์ 5 แต่อย่างใด ส่วนสิ่งที่ปิดบังทุกข์ คือ ขันธ์ 5นั้นก็คือ อวิชชานั่นเอง.

http://th.wikipedia.org/wiki/ไตรลักษณ์

************************************************

สมมติก็คือวัตถุธรรมภายนอกที่เราไปรับรู้เข้า
เมื่อรับรู้แล้วมันจึงเปลี่ยนเป็นปรมัตถ์(อารมณ์)
แต่เรายังเข้าใจว่ามันเป็นวัตถุธรรมหรือสมมตินั้นอยู่
นี่คือการมองเห็นธรรมที่ผิดจากความเป็นจริง
ส่วนบัญญัติ
ไม่เกี่ยวกับสภาพธรรมมันเป็นเพียงชื่อหรือพยัญชนะ มีไว้เพื่อสื่อสารกัน
..
..
 "สัพพโลเกอนภิรตสัญญา"ให้ฟัง คำๆนี้มีความหมายว่า.....
ความยินดียินร้ายเรื่องต่างๆในโลกคือสัญญา ซึ่งสัญญาที่ว่า เป็นสัญญาขันธ์
--------.......
นั้นก็คือ......ต้องรู้ว่า อะไรเป็นสมมติบัญญัติ และอะไรเป็นปรมัตถบัญญัติ

"สัพพโลเกอนภิรตสัญญา" ที่กล่าวไว้ในพระสูตร ล้วนเป็นสมมติบัญญัติ
แล้วอะไรคือปรมัตถบัญญัติของ "สัพพโลเกอนภิรตสัญญา"ก็ต้องไปดูที่พระอภิธรรมครับ
นั้นก็คือ สัญญาขันธ์(ในขันธ์ห้า)
--...
๑. สัจฉิกัตถะ สภาวะที่จริงแท้.
๒. ปรมัตถะ อรรถอันยิ่ง อันอุดม อันไม่ต้องยึดถือด้วยอาการมีการฟังตามกัน
มาเป็นต้น ทั้งนี้ หมายถึงสภาวธรรมที่จำแนกเป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒
ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ รวม ๕๗ อย่าง.
๓. นิคคหะ การข่ม การปราบปราม.
--...
เนื้อหาพระอภิธรรมปิฎกถูกถอดความมาจากพุทธพจน์โดยตรง
แต่อภิธัมที่เป็นตำรา เกิดจากการแต่งขึ้นตามทิฐิของผู้ประพันธ์ อาทิเช่น
อภิธัมมัตถสังคหะของ พระอนุรุธฯเป็นต้น
--...
วกเข้ามาที่ประเด็นว่าอะไรเป็น สมมติและอะไรเป็นปรมัตถ์
ในพระอภิธรรมกถาวัตถุ ท่านกล่าวชี้ชัดให้เห็นเลยว่า
อะไรเป็นปรมัตถ์ธรรม ก็คือ....
ขันธ์ ๕
อายตนะ ๑๒
ธาตุ ๑๘
อินทรีย์ ๒๒
นอกเหนือจากที่กล่าวนี้ เป็น สมมุติและบัญญัติ
--...
ปรมัตถ์ธรรม คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
รู้ได้เฉพาะตน เป็นปรมัตถ์
บอกต่อผู้อื่น เป็นบัญญัติและสมมุติ
---...
51863.โลกแห่งการสมมุติบัญญัติ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=51863

23054.วิธีตามรักษาสัจจะ และวิธีรู้ตามสัจจะ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=23054&p=116704#p116704


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 07, 2017, 05:09:46 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ 時々होशདང一རພຊຍ๛

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1011
  • พลังกัลยาณมิตร 1119
  • แสงทองส่องฟ้าคือชีวิต
    • ดูรายละเอียด
Re: ๔. ปริญเญยยสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2014, 06:59:50 pm »



สาธุ สาธุ สาธุ ครับ พี่ แป๋ม


:45: :45: :45:


:17: :17: :17:


[spoiler]http://www.youtube.com/watch?v=MZrVDYVcEgE[/spoiler]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 08, 2014, 11:25:36 pm โดย กัลยา »
ชิเน กทริยํ ทาเนน