เจตนาคือตัวกรรมหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จังหวัดเชียงใหม่
คนเราบางคนเกิดมาแล้วชอบทำแต่ความชั่ว ทั้งก็เพราะเดิม เจตนากรรมบุญ เจตนามีบาป สองอย่างนี้ก็แหละตัวเจตนา เจตนาเป็นตัวกรรม กรรมชั่ว กรรมบุญ เจตนารักษาศีล คือการสำรวมระวัง รักษากาย รักษาวาจา รักษาใจ อาศัยความอดทน อดทนด้วยใจ ตีติกขา ความอดทนคือความ อดกลั้นต่อบาปอกุศล มันสำคัญอยู่ที่กาย วาจา ใจ อกุศลเจตนากรรมบาป
อดีตอนาคตไม่ข้องเกี่ยวตัดออกหมด อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา เอาในปัจจุบัน รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน วางใจปัจจุบันตั้งเจตนาให้ จริงกาย จริงวาจา จริงใจ กาย วาจา ใจ เขาเป็นปกติอยู่แล้ว ใจก็ไม่ไปที่ไหน คงตั้งอยู่เป็นปกติ ต้องเอาปัญญา ตัดอกุศลเจตนาออกจากใจ ตัดอย่าให้มันหมักอยู่ในใจ ประเดี๋ยวจะเดือดร้อน ตั้งเจตนาให้แน่วแน่ว่า เราจะทำจิตใจของเราให้เบิกบาน ให้บรรลุมรรคผลนิพพาน
สัจจะ ความจริงกาย จริงวาจา จริงใจ
ขันติปารมี อดกลั้น ด้วยกาย ด้วยวาจา ขันติปรมัตถปารมี อดกลั้นด้วยใจ ตีติกขา ความอดกลั้นเป็นบารมีธรรมอย่างเอก
ตัดอดีตอนาคต มุ่งเฉพาะปัจจุบันธรรม อดีต อนาคตมันมาแต่ดึกดำบรรพ์
ทั้งส่วนดีส่วนร้ายเนื่องมาจากตัณหาทั้งสาม คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ความพอใจหรือไม่พอใจ ก็ตัณหานี้
ละออกจากจิตจากใจเสีย ก็สบาย รูป เสียง กลิ่น รส กามารมณ์ ทั้ง 5 ปล่อยให้เขาผ่านไปผ่านมา มันสำคัญก็ไม่ว่า ดีเขาก็ไม่ว่า มันสำคัญอยู่ที่เจตนา ตัวกรรมบุญ เจตนาตัวกรรมบาปเข้าไปครองจิตใจแล้วทำให้คิดไปปรุงแต่งไป เป็นรักเป็นชัง เป็นโกรธเป็นเกลียด ให้ละวางตัวนี้อย่าเอามาหมักไว้ในใจ ละอยู่ที่ใจ วางอยู่ที่ใจไม่ใช่ที่อื่น เอาใจนี้ละ เอาใจนี้วาง จึงใช้ได้ ไม่ใช่ไปจำ
เอาคำพูดในคัมภีร์มาพูดมาใช้ไม่ได้ มันต้องน้อมเข้ามาหากายหาใจของเรานี้ กำหนดการละ กำหนดการวางลงใจ กาย วาจา ใจ ของเรานี้รวมลงในไตรทวารนี้ ไม่ใช่ที่อื่น
อดีต อนาคตที่ใจ นำมาก็ละเสีย หู ตา ก็อยู่เป็นปกติ อินทรีย์ 5 เขาก็ตั้งอยู่ปกติ รูป เสียง กลิ่น รส กามารมณ์ อันนั้น ต่างหาก ปล่อยให้เขาผ่านไป
ผ่าน อย่าเอามา หมักไว้ในใจ ใจของเราให้ตั้งอยู่โดยปกติเวลาจะทำจิตใจทำใจของเราต้องวางหมด อย่าให้มีสิ่งไม่ดีอยู่ในใจจะเดือนร้อน
ต้องนำออกให้หมด ทำใจให้ว่างให้มีความพอ อดีตอนาคตไม่ต้องเกี่ยวข้องทั้งหมด อย่าปล่อยให้ใจไป
เกาะเที่ยวข้องแวะส่วนที่เป็นอดีตและอนาคต เป็น
เครื่องบั่นทอนปัจจุบันธรรมให้รู้เฉพาะปัจจุบัน ละปัจจุบันให้รู้มรรค รู้ผล
"ต้องการละ ต้องหมั่นเจริญ " ต้องการ
ละ ความพยาบาท หรือ ความคิดปองร้าย ต้องหมั่นเจริญเมตตา หรือ ไมตรีจิต คิดให้ผู้อื่นมีความสุข
ต้องการ ละ ความคิดเบียดเบียนผู้อื่น ต้องหมั่น เจริญ กรุณา หรือ เอ็นดู คือช่วยเหลือผู้อื่นพ้นทุกข์
ต้องการ ละ ความอิจฉาริษยา ต้องหมั่น เจริญมุทิตา หรือ พลอยยินดีเมื่อผุ้อื่นได้ดี
ต้องการ ละ ความขัดใจ ต้องหมั่น เจริญอุเบกขา หรือ การวางใจเป็นกลาง
ต้องการ ละ ความกำหนัดยินดี ต้องหมั่น เจริญอสุภะ หรือ เห็นความไม่งามเบื้องหลังความงาม
ต้องการ ละ ความถือตัวถือตน ต้อง
หมั่น เจริญ กฎการเปลี่ยนแปลง ให้เข้าใจ