อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี > มาลาบูชาครู
พรหมจรรย์ บนเส้นทางธรรม เร้นกายมุ่งทางสงบ หลวงปู่แหวน
ฐิตา:
เจตนาคือตัวกรรม
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จังหวัดเชียงใหม่
คนเราบางคนเกิดมาแล้วชอบทำแต่ความชั่ว ทั้งก็เพราะเดิม เจตนากรรมบุญ เจตนามีบาป สองอย่างนี้ก็แหละตัวเจตนา เจตนาเป็นตัวกรรม กรรมชั่ว กรรมบุญ เจตนารักษาศีล คือการสำรวมระวัง รักษากาย รักษาวาจา รักษาใจ อาศัยความอดทน อดทนด้วยใจ ตีติกขา ความอดทนคือความ อดกลั้นต่อบาปอกุศล มันสำคัญอยู่ที่กาย วาจา ใจ อกุศลเจตนากรรมบาป อดีตอนาคตไม่ข้องเกี่ยวตัดออกหมด อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา เอาในปัจจุบัน รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน วางใจปัจจุบัน
ตั้งเจตนาให้ จริงกาย จริงวาจา จริงใจ กาย วาจา ใจ เขาเป็นปกติอยู่แล้ว ใจก็ไม่ไปที่ไหน คงตั้งอยู่เป็นปกติ ต้องเอาปัญญา ตัดอกุศลเจตนาออกจากใจ ตัดอย่าให้มันหมักอยู่ในใจ ประเดี๋ยวจะเดือดร้อน ตั้งเจตนาให้แน่วแน่ว่า เราจะทำจิตใจของเราให้เบิกบาน ให้บรรลุมรรคผลนิพพาน สัจจะ ความจริงกาย จริงวาจา จริงใจ ขันติปารมี อดกลั้น ด้วยกาย ด้วยวาจา ขันติปรมัตถปารมี อดกลั้นด้วยใจ ตีติกขา ความอดกลั้นเป็นบารมีธรรมอย่างเอก
ตัดอดีตอนาคต มุ่งเฉพาะปัจจุบันธรรม อดีต อนาคตมันมาแต่ดึกดำบรรพ์ ทั้งส่วนดีส่วนร้ายเนื่องมาจากตัณหาทั้งสาม คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ความพอใจหรือไม่พอใจ ก็ตัณหานี้ ละออกจากจิตจากใจเสีย ก็สบาย รูป เสียง กลิ่น รส กามารมณ์ ทั้ง 5 ปล่อยให้เขาผ่านไปผ่านมา มันสำคัญก็ไม่ว่า ดีเขาก็ไม่ว่า มันสำคัญอยู่ที่เจตนา ตัวกรรมบุญ เจตนาตัวกรรมบาปเข้าไปครองจิตใจแล้วทำให้คิดไปปรุงแต่งไป เป็นรักเป็นชัง เป็นโกรธเป็นเกลียด ให้ละวางตัวนี้อย่าเอามาหมักไว้ในใจ ละอยู่ที่ใจ วางอยู่ที่ใจไม่ใช่ที่อื่น เอาใจนี้ละ เอาใจนี้วาง จึงใช้ได้ ไม่ใช่ไปจำ
เอาคำพูดในคัมภีร์มาพูดมาใช้ไม่ได้ มันต้องน้อมเข้ามาหากายหาใจของเรานี้ กำหนดการละ กำหนดการวางลงใจ กาย วาจา ใจ ของเรานี้รวมลงในไตรทวารนี้ ไม่ใช่ที่อื่น อดีต อนาคตที่ใจ นำมาก็ละเสีย หู ตา ก็อยู่เป็นปกติ อินทรีย์ 5 เขาก็ตั้งอยู่ปกติ รูป เสียง กลิ่น รส กามารมณ์ อันนั้น ต่างหาก ปล่อยให้เขาผ่านไปผ่าน อย่าเอามา หมักไว้ในใจ ใจของเราให้ตั้งอยู่โดยปกติเวลาจะทำจิตใจทำใจของเราต้องวางหมด อย่าให้มีสิ่งไม่ดีอยู่ในใจจะเดือนร้อน ต้องนำออกให้หมด ทำใจให้ว่างให้มีความพอ อดีตอนาคตไม่ต้องเกี่ยวข้องทั้งหมด อย่าปล่อยให้ใจไปเกาะเที่ยวข้องแวะส่วนที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นเครื่องบั่นทอนปัจจุบันธรรมให้รู้เฉพาะปัจจุบัน ละปัจจุบันให้รู้มรรค รู้ผล
"ต้องการละ ต้องหมั่นเจริญ " ต้องการ ละ ความพยาบาท หรือ ความคิดปองร้าย ต้องหมั่นเจริญเมตตา หรือ ไมตรีจิต คิดให้ผู้อื่นมีความสุข ต้องการ ละ ความคิดเบียดเบียนผู้อื่น ต้องหมั่น เจริญ กรุณา หรือ เอ็นดู คือช่วยเหลือผู้อื่นพ้นทุกข์ ต้องการ ละ ความอิจฉาริษยา ต้องหมั่น เจริญมุทิตา หรือ พลอยยินดีเมื่อผุ้อื่นได้ดี ต้องการ ละ ความขัดใจ ต้องหมั่น เจริญอุเบกขา หรือ การวางใจเป็นกลาง ต้องการ ละ ความกำหนัดยินดี ต้องหมั่น เจริญอสุภะ หรือ เห็นความไม่งามเบื้องหลังความงาม ต้องการ ละ ความถือตัวถือตน ต้องหมั่น เจริญ กฎการเปลี่ยนแปลง ให้เข้าใจ
นำมาแบ่งปันโดย : http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=2273:2010-05-26-20-33-25&catid=39:2010-03-02-03-51-18
Pics by : Google
ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต * อกาลิโกโฮม
สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
ฐิตา:
อาจาริโยวาทเกี่ยวกับความตาย
โอวาทหลวงปู่แหวน สุจิณโณ
อันว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งมนุษย์ และเทวดา
ได้ถูกไฟ 11... กอง เผาอยู่เสมอ
เป็นเหตุให้ได้รับความทุกข์นานาประการ 11 กอง คือ
1.) ราคะ คือความกำหนัดชอบใจ อยากได้กามคุณ 5 มีรูปเป็นต้น
2.) ไฟโทสะ คือความโกรธ มีความไม่พอใจเป็นลักษณะ
3.) ไฟโมหะ ได้แก่ความลุ่มหลงในรูป รส กลิ่น เสียง โผฎฐัพพ
ลังเล ใจฟุ้งซ่าน ไปตามอารมณ์
4.) ชาติ คือไฟแห่งความเกิดอันเป็นทุกข์
5.) ชรา คือไฟแห่งความแก่อันเป็นทุกข์
6.) มรณะ คือไฟแห่งความตายอันเป็นทุกข์
7.) โสกะ คือไฟแห่งความเศร้าโศก
8.) ปริเทวะ คือไฟบ่นเพ้อร่ำไร รำพัน
9.) ทุกขัง คือไฟแห่งความทุกข์ลำบากกายใจ
10.) โทมนัส คือไฟแห่งความเสียใจ
11.) อุปายโส คือไฟแห่งความคับแค้นใจ
ไฟทั้ง 11 กองนี้แหละเผาลนสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้ต้องพากันงมงาย
เวียนว่ายตายเกิด ได้รับทุกข์ต่างๆ.
คัดลอกโดย : สุนทร กองทรัพย์
"เอาใจนี่ละเป็นใหญ่พิจารณา
ทุกข์มันก็เกิดจากใจนี้ สมุทัยมันก็เกิดจากใจ
มรรคผลนิพพานก็เกิดจากใจนี่ละ กายนี่ละ
เป็นที่ตั้งของมรรคผลนิพพาน" หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
:http://portal.in.th/ms-pcare/pages/5878/
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
ฐิตา:
"การละอารมณ์"
มรณาตัวนี้ตัวเดียว ทั้งโลกเต็มแผ่นดินนี้มีแต่มรณาทั้งนั้น เราก็คนหนึ่ง เราเกิดมาแล้ว มันต้องมีความแก่ ความเจ็บ ความตาย ทุกรูปทุกนาม มันเป็นกงจักรใหญ่ให้มนุษย์และสัตว์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ในโลกอันนี้ ในไตรโลกทั้งสามนี้แหละ ไม่พ้นไปสักที
ตัดอดีตอนาคตเป็นอันเดียวกัน อดีตอนาคตมีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ทำดีก็ดี ทำร้ายก็ดี มุ่งอยู่ที่กามตัณหานี่แหละ ความพอใจก็ตัณหา ความไม่พอใจก็ตัณหา ภวตัณหาก็ดี วิภวตัณหาก็ดี ทั้งสามนี้ เหล่านี้ ละให้สิ้น มันเกิดขึ้นในใจ ก็นำออกจากจิตจากใจของตนเสีย
ศีลห้า อยู่ที่ขาสอง แขนสอง หัวหนึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส กามารมณ์ทั้ง 5 ปล่อยให้ผ่านไปผ่านมา ดีก็ไม่ว่า ไม่ดีก็ไม่ว่า เรื่องราวเต็มโลก เต็มบ้านเต็มเมือง เราก็วางเสีย ละเสีย ละอยู่ที่กายที่ใจตนนี่แหละ อย่าไปละที่อื่น
การหอบอดีตและอนาคตมาหมักสุมไว้ในใจก็เป็นทุกข์ ตัดออกให้หมด หูของเรา ตาของเรา จมูกของเรา ก็เป็นปกติอยู่แล้ว รูป เสียง กลิ่น รส กามารมณ์นนั้นต่างหาก ปล่อยให้เขาผ่านไปผ่านมา อย่าเอาหมักไว้ในใจ ใจของเราก็ไม่ได้ไปไหน มันก็ตั้งอยู่เป็นปกติอยู่แล้ว เราก็ตัดอื่น ๆ ที่ผ่านไปผ่านมาออกเสีย ทำใจของเราให้สงบ มันก็ต้องวางหมด ตา หู จมูก ลิ้น กาย ทั้งอดีตอนาคตอันใดที่ได้ยินมาพอแล้ว ได้เห็นมาพอแล้ว อยู่ทางโลกก็ดี อยู่คนเดียวก็ดี อันใดก็ดี วางอยู่ที่นี่แหละ ละอยู่ที่นี่แหละ ความหลงก็พอแล้ว โลภก็พอแล้ว โกรธก็พอแล้ว ความโศก ความเศร้า กิเลส ตัณหา ความพอใจ ความไม่พอใจ ก็ตัณหาแหละ ละมันเสีย
ฐิตา:
"การสละออกจากใจ"
จาโค ปฏินิสสัคโค สละคืนถอนออกจากใจนี้เสีย
คนเรามันรักสุข เกลียดทุกข์นี่ หนักก็หนักอยู่ตรงนี้แหละ ไม่รับความจริง
เราเกิดมา นินทา สรรเสริญก็ดี อย่าไปรับเอามาหมักไว้ใจ ปล่อยผ่านไปเสีย
ความรัก ความชัง ความโลภ ความหลง เกิดขึ้น เพราะกิเลสมันเสวนากันอยู่
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาทั้งหลาย ก็ไหลมาจากเหตุ ให้ละเสียให้หมด ให้ตั้งอยู่ในศีล ตั้งอยู่ในทาน ตั้งอยู่ในการบำเพ็ญกุศล ละบาปทางกาย ทางวาจา ทางใจ บาปอันใดยังอยู่ละเสียให้หมด กายทุจริต วาจาทุจริต ใจทุจริต นำออกให้หมด แล้วรักษากายสุจริต วาจาสุจริต ใจสุจริตไว้ เมื่อนำทุจริตออกหมดแล้วจะเหลือแต่สุจริตธรรม ตั้งอยู่ในศีล กายก็เป็นศีล วาจาก็เป็นศีล ใจก็เป็นศีล เป็นธรรม เป็นมรรค เป็นผล ตั้งขึ้นในจิตในใจ ละวางทุจริตธรรม สุจริตธรรมตั้งอยู่แล้ว จิตก็เบาสบาย
อดีตที่ล่วงไปแล้ว ยังหอบเอามาหมักไว้ในใจก็เดือดร้อน ต้องเอาศีลนั่นแหละนำออกให้หมด
ธรรมปฏิบัติ เรื่องต้องน้อมเข้ามาสู่ใจ
ให้รักษาพระไตรสรณคมน์ให้แน่นหนา รักษาพระไตรสรคมน์ให้ตลอดชีวิต รักษากาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ อย่าลืมตัว เอาใจนี้แหละเป็นผู้รู้ ให้พิจารณากาย ใจนี้ให้รู้แจ้ง
หมายเหตุ: จากหนังสือ "ธรรมโอวาท 9 หลวงปู่อริยสงฆ์"
นำมาแบ่งปันโดย :
naruphol : http://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?t=19135
Pics by : Google
ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต * อกาลิโกโฮม
สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
ต๊ะติ้งโหน่ง:
:29:
มีจุติ มีมรณา มีกรรม มีอวิชชา มีอีกหลายๆอย่างครับ
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version