วิถีธรรม > แนวทางปฏิบัติธรรม

ว่าด้วย ทางพ้นทุกข์

(1/3) > >>

ฐิตา:



ทางพ้นทุกข์
เรื่องจากพระไตรปิฎก : พระสูตร

กุมารกสูตร ถ้าพวกเธอกลัวต่อความทุกข์ ... พวกเธออย่างได้ทำบาปกรรม
ทั้งในที่ลับและที่แจ้งเลย

ขณะประทับอยู่ที่พระเชตะวันมหาวิหาร พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังเมืองสาวัตถี
ระหว่างทางทอดพระเนตรเห็นเด็กหนุ่มจำนวนหนึ่งจับปลาอยู่
พระพุทธเจ้าตรัสถามพวกเขาว่า “พ่อหนุ่มทั้งหลาย พวกเธอกลัวความทุกข์ ความทุกข์
ไม่เป็นที่ปรารถนาของพระเธอมิใช่หรือ”

เด็กหนุ่มกราบทูลว่า “เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า”
พระพุทธองค์ตรัสสอนพวกเขาว่า
“ถ้าพวกเธอกลัวต่อความทุกข์ ถ้าความทุกข์ไม่เป็นที่รักของพวกเธอ พวกเธออย่างได้ทำบาปกรรม
ทั้งในที่ลับและที่แจ้งเลย ถ้าพวกเธอจะทำหรือกำลังทำ บาปกรรมที่ทำนี้จะตามสนองพวกเธอ
ถึงจะเหาะหนีไปไหนก็ไม่มีทางหลีกพ้นจากความทุกข์เลย”

พระสูตรนี้ชื่อว่า กุมารกสูตร การเบียดเบียนรังแกสัตว์
หรือการทำลายชีวิตสัตว์ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด เป็นบาปทั้งสิ้น
วิธีสอนของพระพุทธองค์ง่าย ๆ และได้ผลดี คือทรงสอนให้เอาเขามาใส่ใจเรา
เมื่อนึกว่าเราเองไม่ชอบให้ใครเบียดเบียนรังแกคนอื่น สัตว์อื่น ก็คงไม่ชอบเช่นกัน
คิดได้ดังนี้แล้วก็จะมีเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์เหมือน ๆ กัน

พหุธิติสูตร์ มีมาก อยากมาก ทุกข์มาก ไม่มี ไม่อยาก ไม่ทุกข์

โค 14 ตัวของพราหมณ์คนหนึ่งหายไป แกตามหาโคเข้าไปในป่า พบพระพุทธเจ้าประทับนั่งสมาธิอยู่ในป่า
เห็นพระพักตร์อิ่มเอิบด้วยความสุข จึงรำพึงว่าสมณะผู้นี้ท่าทางมีความสุขจริงหนอ พระพุทธเจ้าตรัสแก่เขาว่า

“พราหมณ์เอย โค 14 ตัว ของเราไม่มีเลย แต่ของท่านหายไปได้ 60 นี่แล้ว
ด้วยเหตุนี้เราจึงมีความสุข
งาที่มีใบเลวใบหนึ่งหรือสองใบในไร่เราก็ไม่มี เราจึงมีความสุข
หนูก็ไม่มีมาวิ่งกระโดดโลดเต้นในฉางของเรา เราจึงมีความสุข
เครื่องปูลาดที่ใช้มาตั้ง 7 เดือนที่มีสัตว์อาศัยอยู่ของเราก็ไม่มี เราจึงมีความสุข
พราหมณ์เอย ภรรยาผู้มีบุตรหนึ่งคนหรือสองคนของเราก็ไม่มี เราจึงมีความสุข
แมลงวันตัวที่มาไล่ตอมคนนอนหลับก็ไม่ไต่ตอมเราเลย เราจึงมีความสุข
พราหมณ์เอย ในเวลาเช้า เจ้าหนี้ทั้งหลายก็ไม่มาทวงหนี้เราเลย ด้วยเหตุนี้เราจึงมีความสุข”

พระสูตรนี้ชื่อ พหุธิติสูตร แสดงภาพตรงกันข้ามระหว่างพระพุทธเจ้ากับพราหมณ์ พราหมณ์มีโคและโคหาย
ปลูกงา งาก็ไม่ค่อยงาม ข้าวในฉางก็มีหนูเต็ม เครื่องปูลาดก็มีมดมีไรสิงอาศัย มีบุตรภรรยาจะต้องเลี้ยงดู
เวลานอนก็มีแมลงวันมาไต่ตอม จึงเต็มไปด้วยความทุกข์และกังวล

แต่พระพุทธองค์ไม่มีสิ่งเหล่านี้ จึงทรงมีความสุข
“การมีมาก ๆ อยากได้มาก ๆ ก่อให้เกิดทุกข์ ไม่มี ไม่อยากได้จึงจะเป็นความสุขที่แท้”
ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่อย่างนี้ก็อดที่จะแสวงหามาปรนเปรอตามประสาปุถุชนไม่ได้

โลกวิปัตติสูตร ถึงคราวสุขก็เพื่อฟูลอย ถึงคราวทุกข์ก็ถอยจม

ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม 8 ประการย่อมหมุนไปตามโลก และสัตว์โลก
ก็หมุนเวียนตามมันไป โลกธรรม 8 ประการคือ

ได้ลาภ - เสื่อมลาภ  ได้ยศ - เสื่อมยศ
สุข - ทุกข์  สรรเสริญ – นินทา

โลกธรรมทั้ง 8 ประการนี้เกิดขึ้นทั้งแก่ปุถุชนคนผู้มิได้เรียนรู้และแก่อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้
ต่างกันแต่ว่าฝ่ายแรกไม่รู้เห็นตามความเป็นจริงว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เที่ยงเป็นทุกข์
มีความแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดาและลุ่มหลงยินดียินร้าย ปล่อยให้มันเข้ามาย่ำยีจิต
ปล่อยให้จิตขึ้นลงไปตามกระแสของมัน ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ มีความโศกและความพิไรรำพันเป็นต้น
ส่วนอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ พิจารณาเห็นตามเป็นจริงว่า สิ่งเหล่านี้ล้วนไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ มีความแปรเปลี่ยนไปตาเป็นธรรมดา ไม่ลุ่มหลงมัวเมา อยู่อย่างมีสติ
ย่อมปราศจากทุกข์ มีความโศกและความพิไรรำพัน เป็นต้น"

พระสูตรนี้ชื่อ โลกวิปัตติสูตร ทรงสอนให้รู้ธรรมดาของชีวิตว่าทุกคนไม่ว่าปุถุชนหรือพระอริยเจ้า
ย่อมพบพาน "โลกธรรม" 8 ประการด้วยกัน แต่การรับรู้แตกต่างกัน
ปุถุชนคนมีกิเลส ไม่ว่าคฤหัสถ์หรือบรรพชิต ย่อมฟูหรือยุบไปตามกระแสโลกธรรม
ลุ่มหลง ไม่รู้ตามเป็นจริง ผลที่สุดก็ไม่พ้นทุกข์

ส่วนพระอริยเจ้าไม่ฟู ไม่ยุบไปตามกระแสโลกธรรม รับรู้ตามเป็นจริงว่ามันก็แค่นั้น
ไม่ติดสมมติบัญญัติ อยู่เหนือโลกธรรม จึงหาความทุกข์มิได้
อาวุธที่สำคัญที่จะต่อกรกับโลกธรรมได้คือ "สติ"
พระอริยเจ้าท่านมีสติตลอดเวลาจึงรู้เท่ารู้ทัน
ปุถุชนถ้าหากหมั่นปลูกสร้างสติเสมอก็จะสามารถรู้เท่าทันยับยั้งใจ
ได้บางครั้งบางคราว แทนที่จะทุกข์มากก็ทุกข์น้อยลง

ขอบคุณข้อมูลจากธรรมะนอกธรรมมาสน์


ฐิตา:

อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ทำให้มาก แล้วจะสิ้นสงสัย

ความสงสัยไม่มีวันสิ้นไปได้ ด้วยการคิด ด้วยทฤษฎี ด้วยการคาดคะเน
หรือด้วยการถกเถียงกัน หรือจะอยู่เฉยๆไม่ปฏิบัติภาวนาเลย
ความสงสัยก็หายไปไม่ได้อีกเหมือนกัน กิเลสจะหายสิ้นไปได้ก็ด้วยการพัฒนาทางจิต
ซึ่งจะเกิดได้ก็ด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้องเท่านั้น

เมื่อเราปฏิบัติธรรม เราต้องทำใจของเราให้เป็นธรรม ไม่ใช่เอาธรรมะมาตามใจเรา
ถ้าปฏิบัติอย่างนี้ ทุกข์ก็จะเกิดขึ้น แต่ไม่มีใครสักคนหรอกที่จะพ้นทุกข์ไปได้
พอเริ่มปฏิบัติทุกข์ก็อยู่ตรงนั้นแล้ว หน้าที่ของผู้ปฏิบัติจะต้องมีสติ สำรวม และสันโดษ
สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราหยุด คือเลิกนิสัยความเคยชินที่เคยทำมาแต่เก่าก่อน
ทำไมถึงต้องทำอย่างนี้ ถ้าไม่ทำอย่างนี้ ไม่ฝึกฝนอบรมใจตนเองแล้ว
มันก็จะคึกคะนอง วุ่นวายไปตามธรรมชาติของมัน

พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้วเป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฎชัดแก่เราได้...?


วิสาขาสูตร

นางวิสาขา มหาอุบาสิกา เป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก
นางได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วบรรลุเป็นพระโสดาบันตั้งแต่อายุ 7 ขวบ
คราวหนึ่งหลานสาวที่รักยิ่งได้ถึงแก่กรรมลง นางเศร้าโศกเสียใจมาก
ร้องไห้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพระพุทธองค์ตรัสสอนเธอว่า

“วิสาขา ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 100 ผู้นั้นก็ทุกข์ 100 ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 90 ผู้นั้นทุกข์ 90
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 80 ผู้นั้นทุกข์ 80 ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 1 ผู้นั้นก็ทุกข์ 1
ผู้ใดไม่มีสิ่งที่รัก ผู้นั้นก็ไม่มีทุกข์
ไม่มีความโศกไม่มีความคับแค้นใจ”

นางวิสาขาได้หายเศร้าโศก เพราะพระธรรมเทศนานั้น พระพุทธเจ้าได้เปล่งอุทานว่า

“โศก ปริเทวนา และทุกข์มากหลาย ย่อมมีในโลกนี้เพราะอาศัยสิ่งที่รัก
เมื่อไม่มีสิ่งที่รัก โศกเป็นต้นนั้นก็ไม่มี ผู้ไม่มีสิ่งอันเป็นที่รัก ย่อมไม่มีทุกข์ ไม่มีโศก
เพราะฉะนั้นผู้ไม่ต้องการโศกเศร้าก็ไม่ควรรักสิ่งใด”

พระสูตรนี้ชื่อ วิสาขาสูตร สำหรับคนที่มีความรักและมีทุกข์เพราะความรัก

พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้วเป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฎชัดแก่เราได้...?

ฐิตา:


ทางพ้นทุกข์
จากพระธรรมเทศนา : หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

การสำเร็จมรรคสำเร็จผล ไม่ได้สำเร็จที่อื่นที่ไกล สำเร็จที่ดวงใจของเรา
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ท่านวางไว้ถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
ท่านก็ไม่ได้วางไว้ที่อื่น วางที่กาย ที่ใจของเรานี้เอง นี่เรียกว่า เป็นที่ตั้งแห่งธรรมวินัย
ความที่พ้นทุกข์ ก็จะพ้นจากที่ไหนเล่า คือใจเราไม่ทุกข์ แปลว่าพ้นทุกข์
เพราะฉะนั้น ได้ยินแล้ว ให้พากันน้อมเข้าภายใน
ธรรมะคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้า รวมไว้ในจิตดวงเดียว เอกํ จิตฺตํ
ให้จิดเป็นของเดิม จิตฺตํ ความเป็นอยู่ ถ้าเราน้อมเข้าถึงจิตแล้ว
ความสำเร็จอยู่ที่นั้น ถ้าเราไม่รวมแล้ว มันก็ไม่สำเร็จ ทำการทำงาน
ทุกสิ่งทุกอย่าง ก็ต้องรวมถึงจะเสร็จ ถ้าไม่รวมเมื่อไร ก็ไม่สำเร็จ

เอกํ ธมฺมํ มีธรรมดวงเดียว เวลานี้เราทั้งหลาย ขยายออกไปแล้ว
ก็กว้างขวางพิสดารมากมาย ถ้าวิตถารนัย ก็พรรณนาไปถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
รวมเข้ามาแล้ว สังเขปนัยแล้ว มีธรรมอันเดียว เอกฺ ธมฺมํ เป็นธรรมอันเดียว
เอกฺ จิตฺตํ มีจิตดวงเดียว นี่เป็นของเดิม ให้พากันให้พึงรู้ พึงเข้าใจต่อไป
นี่แหละต่อไป พากันให้รวมเข้ามาได้ ถ้าเราไม่รวมนี่ไม่ได้

เมื่อใดจิตเราไม่รวมได้เมื่อใด มันก็ไม่สำเร็จ
นี่แหละ ให้พากันพิจารณาอันนี้ จึงได้เห็นเป็นธรรม เมื่อเอาหนังออกแล้ว
ก็เอาเนื้อออกดู เอาเนื้อออกดูแล้ว ก็เอากระดูกออกดู เอาทั้งหมดออกดู
ไส้น้อย ไส้ใหญ่ ตับ ไต ออกมาดู มันเป็นยังไง มันเป็นคน หรือเป็นยังไง
ทำไมเราต้องไปหลง เออนี่แหละ พิจารณาให้มันเห็นอย่างนี้แหละ
มันจะละสักกายทิฐิแน่ มันจะละวิจิกิจฉา ความสงสัย จะเป็นอย่างโน้นอย่างนี้
มันเลยไม่มี สีลพัตฯ ความลูบคลำ มันก็ไม่ลูบคลำ อ้อจริงอย่างนี้
เมื่อเห็นเป็นเช่นนี้แล้ว จิตมันก็ว่าง

เมื่อรู้จักแล้วก็ตัด นี่มันจะได้เป็นวิปัสสนาเกิดขึ้น
อันนี้เรามีสมาธิแน่นหนาแล้ว ทุกขเวทนาเหล่านั้น มันก็เข้าไม่ถึงจิตของเรา
เพราะเราปล่อยแล้ว เราวางแล้ว เราละแล้ว
ในภพทั้งสามนี้ เป็นทุกข์อยู่เรื่องสมมติทั้งหลาย จิตนั้นก็ละภพทั้งสาม
มันก็เป็นวิมุตติ หลุดพ้นไปหมด นี่ละเป็น วิมุตติ แปลว่า หลุดพ้น
จะเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ จิตนั้นจะได้เข้าสู่ปรินิพพาน ดับทุกข์ในวัฏสงสาร
ไม่ต้องสงสัยแน่ เวียนว่ายตายเกิดในโลกอันนี้ เรื่องมันเป็นอย่างนี้ วัฏสงสาร
ทำไมจึงว่า วัฏคือเครื่องหมุนเวียน สงสารคือ ความสงสัยในรูป
ในสิ่งที่ทั้งหลายทั้งหมด มันเลย ไม่ละวิจิกิจฉาได้ซี

เดี๋ยวนี้เรารู้แล้ว ไม่ต้องวนเวียนอีก เกิดแล้วก็รู้แล้ว ว่ามันทุกข์ ชราก็รู้แล้วมันทุกข์
พยาธิก็รู้แล้ว ว่ามันทุกข์ มรณะก็รู้แล้วมันทุกข์
เมื่อเราทุกข์เหล่านี้ ก็ทุกข์เพราะความเกิด เราก็หยุด ผู้นี้ไม่เกิด
แล้วใครจะเกิดอีกเล่า ผู้นี้ไม่เกิดแล้ว ผู้นี้ก็ไม่แก่ไม่ตาย ผู้นี้ไม่ตายแล้ว
อะไรจะมาเกิด มันไม่เกิด จะเอาอะไรมาตาย ดูซิ ใจความคิดของเรา
เดี๋ยวนี้เราเกิด เกิดแล้วก็ตาย ตายแล้วก็เกิด เกิดแล้วก็ตายอยู่อย่างนี้
 ~ มันก็เป็นทุกข์ไม่แล้วสักที ~



การบวชก็ยาก การยินดียิ่งยาก การครองเรือนไม่ดี เป็นทุกข์
การอยู่ร่วมกับผู้ไม่เสมอกันก็เป็นทุกข์ การท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏก็เป็นทุกข์
ดังนั้นจึงไม่ควรท่องเที่ยวในสังสารวัฏ และไม่ควรหาทุกข์ใส่ตน

ธรรมบท ปกิณณกวรรค

แปดคิว:
 :45: :45: :45: :yoyo106: :yoyo106: :yoyo106:

สายลมที่หวังดี:
อนุโมทนา ขอบคุณนะค่ะพี่แป๋ม :07:

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ตอบ

Go to full version