ผู้เขียน หัวข้อ: วันมาฆบูชา  (อ่าน 2130 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ แปดคิว

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 797
  • พลังกัลยาณมิตร 389
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.blogger.com/home
วันมาฆบูชา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2011, 09:54:53 pm »

วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๓ หรือ ประมาณราวเดือนกุมภาพันธ์ แต่หากเป็นปีอธิกมาส (ปีที่มีเดือน ๘ สองหน) วันมาฆบูชาจะเลื่อนไปเป็น วันขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือน ๔ หรือประมาณเดือนมีนาคม
วันมาฆบูชา ย่อมาจากคำว่า "มาฆปุรณมีบูชา" แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๓ ถือเป็น "วันจาตุรงคสันนิบาต" แปลว่า การประชุมอันประกอบด้วยองค์ ๔ ซึ่งเป็นเหตุการณ์อัศจรรย์เกิดขึ้นพร้อมกันในสมัยพุทธกาล คือ
๑. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป ซึ่งจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสถานที่ต่างๆ เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
๒. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูปเหล่านี้ ล้วนเป็นพระอรหันต์ และได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้าโดยตรง ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา
๓. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป ต่างมาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยมิได้มีการนัดหมาย
๔. วันที่มาประชุม ตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันเพ็ญกลางเดือน ๓) เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเทศนาอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาคือ โอวาทปาฏิโมกข์ โอวาทปาฏิโมกข์ คือ ข้อธรรมย่ออันเป็นหลักหรือหัวใจสำคัญของ พระพุทธศาสนา ๓ ประการได้แก่
๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่การงดเว้น การลด ละเลิก ทำบาปทั้งปวง ซึ่งได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทางแห่งความชั่ว มีสิบประการ อันเป็นความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ ความชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ ผิดในกาม ความชั่วทางวาจา ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ ความชั่วทางใจ ได้แก่ การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูก พยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม

๒. การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดีทุกอย่างซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี ๑๐ อย่าง อันเป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจ ทำความดีทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายเบียดเบียน ผู้อื่นมีแต่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้มาเป็นของตนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการไม่ประพฤติ ิผิดในกาม ทำความดีทางวาจา ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อพูดแต่คำจริง พูดคำอ่อนหวานพูดคำให้เกิดความสามัคคีและพูดถูกกาลเทศะ ทำความดีทางใจ ได้แก่ การไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่นมีแต่คิดเสียสละการไม่ผูกอาฆาตพยาบาทมีแต่คิดเมตตาและปราถนาดีและมีความเห็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

๓. การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนิวรณ์ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึง ความสงบ มี ๕ ประการ ได้แก่
๑. ความพอใจในกาม (กามฉันทะ)
๒. ความอาฆาตพยาบาท (พยาบาท)
๓. ความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน (ถีนะมิทธะ)
๔. ความฟุ้งซ่าน รำคาญ (อุทธัจจะกุกกุจจะ)
๕. ความลังเลสงสัย (วิจิกิจฉา) เช่น สงสัยในการทำความดีความชั่วว่ามีผลจริงหรือไม่ วิธีการทำจิตให้ผ่องใส ที่แท้จริงเกิดขึ้นจากการละบาปทั้งปวง ด้วยการถือศีลและบำเพ็ญกุศล ให้ถึงพร้อมด้วยการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา จนได้บรรลุอรหัตผล อันเป็นความผ่องใสที่แท้จริง

อุดมการณ์ ๔
๑. ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกาย วาจา ใจ
๒. ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้าย รบกวน หรือ เบียดเบียนผู้อื่น
๓. ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
๔. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุด ในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จาการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ ๘ วิธีการ ๖
๑. ไม่ว่าร้าย ได้แก่ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือ กล่าวโจมตีใคร
๒. ไม่ทำร้าย ได้แก่ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
๓. สำรวมในปาติโมกข์ ได้แก่ ความเคารพระเบียบวินัย กฎ กติกา กฎหมาย รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของสังคม
๔. รู้จักประมาณ ได้แก่ รู้จักความพอดีในการบริโภคอาหาร หรือการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ
๕. อยู่ในสถานที่ที่สงัด ได้แก่ อยู่ในสถานที่สงบมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
๖. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ ได้แก่ ฝึกหัดชำระจิตให้สงบมีสุขภาพคุณภาพ และประสิทธิภาพที่ดี
 
ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือนอันเป็นบทพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบราชกุศลมาฆบูชาไว้ดังนี้ การมาฆบูชานี้ แต่เดิมก็ไม่ได้เคยทำมา พึ่งเกิดขึ้นเมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตามแบบโบราณบัณฑิตนิยมไว้ว่า วันมาฆปุรณมีพระจันทร์เสวยฤกษ์มาฆะเต็มบริบูรณ์ เป็นวันที่พระอรหันต์พุทธสาวก ๑,๒๕๐ ได้ประชุมกันพร้อมด้วยองค์สี่ประการ เรียกว่าจาตุรงคสันนิบาต พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์ เป็นการประชุมใหญ่และเป็นการอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนา นักปราชญ์จึงได้ถือเอาเหตุนั้นกอบการสักการบูชาพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ๑,๒๕๐ พระองค์นั้น ให้เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสและสังเวช

การพระราชกุศลนั้น เวลาเช้าพระสงฆ์วัดบวรนิเวศน์และวัดราชประดิษฐ์ ๓๐ รูป ฉันในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เวลาค่ำเสด็จออกทรงจุดธูป เทียนเครื่องนมัสการแล้ว พระสงฆ์สวดทำวัตรเย็นเหมือนอย่างที่วัดแล้ว จึงได้สวดมนต์ต่อไปมีสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ด้วย สวดมนต์จบทรงจุดเทียนรายตามราวรอบพระอุโบสถ ๑,๒๕๐ เล่ม มีประโคมด้วยอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงได้มีเทศนาโอวาทปาติโมกข์กัณฑ์ ๑ เป็นเทศนาทั้งภาษามคธและภาษาสยาม เครื่องกัณฑ์จีวรเนื้อดีผืนหนึ่ง เงิน ๓ ตำลึงและขนมต่างๆ เทศน์จบพระสงฆ์ซึ่งสวดมนต์รับสัพพีทั้ง ๓๐ รูป การมาฆบูชานี้เป็นเดือนสามบ้าง เดือนสี่บ้าง ตามวิธีปักษ์คณนาฝ่ายธรรมยุตติกะนิกาย แต่คงอยู่ในเดือนสามโดยมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทุกปีมิได้ขาด แต่ในแผ่นดินปัจจุบันนี้ (หมายถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เสด็จออกบ้างไม่ได้ออกบ้าง เพราะมักจะเป็นเวลาประสบกับที่เสด็จประพาสหัวเมืองบ่อยๆ ถ้าฤดูคราวเสด็จพระราชดำเนินไปประพาสบางประอินหรือพระพุทธบาท พระพุทธฉาย พระปฐมเจดีย์ พระแท่นดงรัง ก็ทรงทำมาฆบูชาในสถานที่นั้นๆ ขึ้นอีกส่วนหนึ่งต่างหากนอกจากในพระบรมมหาราชวังฯ
 
 
ดังนั้น เมื่อบรรจบครบรอบปีหนึ่งๆ เหล่าพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ต่างก็ได้พากันประกอบการกุศลขึ้น เพื่อจะได้เป็นเครื่องบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีการทำบุญและเวียนเทียนที่วัด เมื่อสาธุชนทั้งหลายได้บำเพ็ญกุศลในวันเช่นนี้แล้วก็จัดว่าได้บำเพ็ญกุศลเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา รำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ปรินิพพานไปแล้วคำสั่งสอนของพระองค์จะยังคงอยู่ ตราบที่พุทธศาสนิกชนยังคงรำลึกถึง และปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพุทธองค์ การประกอบพิธีเวียนเทียน ทำบุญตักบาตรในวันมาฆบูชา ก็เป็นการรำลึกถึงพระคุณของพระองค์ผู้เป็นหลักชัยในทางศาสนา เพราะผู้ประพฤติดีย่อมจะได้ผลดี ตามพุทธพจน์ของพระองค์ที่ได้สั่งสอนไว้ ประเพณีอันนี้จึงกระทำกันมามิขาดทุกๆ ปี เมื่อวันนั้นได้เวียนมาบรรจบครบรอบในปีหนึ่งๆ
*8q*

ก่อนเกิดใครเป็นเรา
เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร

สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่
ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า

ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน
มองในสิ่งที่ไม่เห็น
ทำในสื่งที่ไม่มี   

ออฟไลน์ แปดคิว

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 797
  • พลังกัลยาณมิตร 389
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.blogger.com/home
Re: วันมาฆบูชา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2011, 09:56:26 pm »
เพลง : วันมาฆบูชา



คำร้อง และ ทำนอง พิสุทธิ์ เกรียงบูรพา
เรียบเรียงโดย เทอดศักดิ์ จันทร์ปาน

ที่มาของแรงบันดาลใจ เมื่อวันมาฆบูชา ปี 2545, ผมได้หยิบเทปธรรมะ ของ พระพยอม กัลยาโณ มาฟัง จึงเกิดแรงบันดาลใจ ในความหมายที่ พระเดชพระคุณเจ้า ท่านได้เปรียบเปรย ว่า วันนี้ คือ วันแห่งความรัก ที่ยิ่งใหญ่ ของชาวพุทธบริษัท พึงมีแด่ พระบรมศาสดา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

หลักการ และ เหตุผล
1) ได้เคยมองเห็นชาวคริสต์ ที่เขามักใช้บทประพันธ์เพลงเป็นเครื่องมือสื่อสาร ในการเผยแผ่ศาสนาเขาให้เข้าใจได้ง่าย และเข้าถึง เด็กๆ และ เยาวชน
2) เพื่อรณรงค์ ให้ทราบถึง ความหมาย ความสำคัญของ วันมาฆบูชา โดย ใช้กุศโลบาย ของท่านพระพยอม กัลยาโณ ว่า เป็นวันแห่งความรักของชาวพุทธบริษัท
3) เพื่อ แสดงความหมายสังเขปของ หลักการ 3 ข้อ แห่ง โอวาทปาติโมกข์ อันว่าด้วย
1. ละชั่ว, 2. ทำดี, 3. ทำใจให้ผ่องใส ขาวรอบ

+++++++++++++++++++++++++++++

พวกเรามีความรักต่อกัน มีให้ฉัน และ มีให้เธอ
พวกเรารวมดวงใจทุกดวง ให้พระศาสดา

นี่คือวันมาฆบูชา ปรารถนาสิ่งใดให้ดี
ที่เรามาชุมนุมครั้งนี้ เพื่อพระศาสดา

วันมาฆบูชา มอบศรัทธาแด่ประมุขธรรม
ผู้นำ ผู้ตอกย้ำธรรม โอวาทปาติโมกข์

1) สิ่งใดที่ทำไม่ดี จงหลีกหนี หลีกไปให้ไกล
ตัดกรรมที่ทำชั่วใด ต่อใครทั้งปวง

2) สิ่งใดเป็นกุศลธรรม หมั่นตอกย้ำ ต้องทำให้ดี
เส้นทางในชีวิตนี้ และชีวิตหน้า

3) ขัดเกลาจิตใจของเรา ให้ดูเงาดั่งดวงพระจันทร์
จิตเดิมพวกเรานั้นงาม ดั่งประภัสสร

(สร้อย) พระพุทธเจ้าที่พวกเรามอบความภักดี เป็นผู้ชี้หนทางสิ้นทุกข์อ้างว้างทั้งปวง
สรรพสิ่งใดๆในโลกนี้ล้วนแต่มีมารยาหลอกลวง อยากจะก้าวล่วงพ้นความทุกข์ทั้งปวง
จงหยุดดวงใจของท่าน ไม่ยึดมั่นใดๆในโลก

*8q*

ก่อนเกิดใครเป็นเรา
เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร

สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่
ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า

ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน
มองในสิ่งที่ไม่เห็น
ทำในสื่งที่ไม่มี   

ออฟไลน์ แปดคิว

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 797
  • พลังกัลยาณมิตร 389
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.blogger.com/home
Re: วันมาฆบูชา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2011, 09:58:02 pm »


การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันมาฆบูชา

กิจกรรมเกี่ยวกับครอบครัว

๑. ทำความสะอาดบ้าน ประดับธงชาติและธงธรรมจักร และจัดแต่งที่บูชาประจำบ้าน   
๒. ศึกษาเอกสาร หรือสนทนา เกี่ยวกับความสำคัญของวัน มาฆบูชา รวมทั้งหลักธรรม คือ โอวาทปาติโมกข์ และแนวทางปฏิบัติในครอบครัว   
๓.ส่งเสริมให้เกิดการลด ละ เลิก อบายมุข   
๔. นำครอบครัวไปบำเพ็ญกุศล ทำบุญตักบาตร บริจาคทาน   
๕. ปฏิบัติธรรมที่วัด รักษาศีล ไหว้พระ สวดมนต์ ฟังธรรม เวียนเทียน เจริญภาวนา   
๖. กิจกรรมอื่นที่เหมาะสม   

กิจกรรมเกี่ยวกับสถานศึกษา

๑. ทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน ประดับธงชาติและธงธรรมจักร และจัดแต่งโต๊ะหมู่บูชา   
๒. ครูและนักเรียนร่วมกันศึกษาถึงความสำคัญของวันมาฆบูชา รวมทั้งหลักธรรม คือ โอวาทปาติโมกข์และแนวปฏิบัติในสถานศึกษา   
๓.ครูให้นักเรียนจัดทำป้ายนิเทศ หรือจัดนิทรรศการ ประกวดเรียงความ ทำสมุดภาพ ตอบปัญหาธรรม บรรยายธรรม อภิปรายธรรม   
๔. ประกาศเกียรติคุณของนักเรียนที่ประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดี
๕. ครูพานักเรียนไปร่วมกิจกรรมกับชุมชนที่วัด บำเพ็ญกุศล ทำบุญตักบาตร บริจาคทาน รักษาศีล ฟังธรรมสนทนาธรรม เวียนเทียน เจริญภาวนา   
๖. กิจกรรมอื่นที่เหมาะสม

กิจกรรมเกี่ยวกับสถานที่ทำงาน

๑. ทำความสะอาด บริเวณที่ทำงาน ประดับธงชาติและธงธรรมจักร และจัดแต่งโต๊ะหมู่บูชา   
๒. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสำคัญของวันมาฆบูชา และหลักธรรมคือโอวาทปาติโมกข์ แนวทางปฏิบัติในสถานที่ทำงาน
๓. จัดให้มีการบรรยายธรรม และสนทนาธรรม   
๔. ร่วมกับบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ปลูกต้นไม้ บริจาคโลหิต   
๕. หัวหน้าหน่วยงานให้โอกาสผู้ร่วมงานไปบำเพ็ญกุศลตามประเพณีนิยม
๖. กิจกรรมอื่นที่เหมาะสม   

กิจกรรมเกี่ยวกับสังคม

๑. วัด สมาคม มูลนิธิ หน่วยงาน องค์กร สื่อมวลชน ประชาสัมพันธ์เรื่องวันมาฆบูชาโดยใช้สื่อทุกรูปแบบ
๒. จัดพิมพ์เอกสารเกี่ยวกับความสำคัญของวันมาฆบูชารวมทั้งหลักธรรม คือ โอวาทปาติโมกข์ และแนวทางปฏิบัติ เพื่อเผยแพร่ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น และตามสถานที่ชุมชน เช่น สนามบิน สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง โรงธรรม ศูนย์การค้า รวมทั้งบนยานพาหนะต่างๆ
๓. เชิญชวนให้ประชาชนทั่วไป เข้าร่วมกิจกรรม ปฏิบัติธรรม และพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม รักษาศีล ไหว้พระสวดมนต์ เวียนเทียน
๔. รณรงค์ทางสื่อมวลชนต่างๆ ให้ลด ละ เลิกอบายมุขและให้งดจำหน่ายสิ่งเสพติดทุกชนิด
๕. ประกาศเกียรติคุณสถาบัน หรือบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคม   
๖.รณรงค์ให้มีการรักษาสภาพแวดล้อม ปลูกต้นไม้ ทำความสะอาด ที่สาธารณะ
๗. จัดประกวด สวดสรภัญญะ บรรยายธรรม คำขวัญ บทร้อยกรอง บทความเกี่ยวกับวันมาฆบูชา
๘. กิจกรรมอื่นที่เหมาะสม   

ประโยชน์ที่จะได้รับ

๑. พุทธศาสนิกชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของวันมาฆบูชา รวมทั้งหลักธรรม คือ โอวาทปาติโมกข์และแนวทางปฏิบัติ
๒. พุทธศาสนิกชนเกิดเจตคติที่ดีต่อวันมาฆบูชา และเห็นคุณค่าของการดำเนินชีวิตตามหลักธรรม คือ โอวาทปาติโมกข์
๓. พุทธศาสนิกชนเกิดศรัทธา ซาบซึ้ง และตระหนักในความสำคัญของพระพุทธศาสนา
๔. พุทธศาสนิกชนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีรู้จักปฏิบัติตนตามหน้าที่ชาวพุทธได้อย่างถูกต้อง
 http://www.teenee.com/
 http://www.watkoh.com/forum/index.php?topic=1532.0
*8q*

ก่อนเกิดใครเป็นเรา
เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร

สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่
ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า

ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน
มองในสิ่งที่ไม่เห็น
ทำในสื่งที่ไม่มี   

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: วันมาฆบูชา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2011, 06:58:12 am »




 :45: :07: :45: