ผู้เขียน หัวข้อ: เข้าใจธรรม จึงปฏิบัติใจได้  (อ่าน 1600 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
เข้าใจธรรม จึงปฏิบัติใจได้
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2011, 06:22:28 am »
หน้าที่ของมนุษย์ควรปฏิบัติต่อผู้อื่น
คือการมอบน้ำใจให้แก่กันและกัน :19:

คนฉลาดที่สุด คือ ผู้ที่สามารถ
ควบคุมจิตใจตัวเองได้อย่างปกติสุข :19:

มองดูธรรมะ เรียนธรรมะ
ช่วยเราไม่ได้
ถ้าเราไม่ปฏิบัติตามธรรมะ





เข้าใจธรรม จึงปฏิบัติใจได้



มีคุณป้าท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนเธอเคยคิดว่า
คนที่ปฏิบัติธรรมแล้วจะต้องกลายเป็นคนดีทุกกระเบียดนิ้ว
โกรธไม่เป็น ไม่ดื้อรัน ไม่พูดคำหยาบ ใบหน้าสงบเรียบเฉย
มีความสุข พอพระอาจารย์บอกว่า “การปฏิบัติธรรม
ไม่ใช่เพื่อที่จะกลายเป็นต้นไม้หรือก้อนหิน”
ท่านว่าปฏิบัติให้รู้ ให้เข้าใจเพียงแค่ “เกิดอะไรขึ้นกับกาย-ใจ”
ให้คอยตามรู้ไปเฉยๆ รู้แล้ววางลง แค่ว่ามันเกิดขึ้น ตั้งอยู่
แล้วดับไป ไม่ต้องไปแทรกแซง แต่ทั้งหมดนี้ ถ้าเป็นอกุศล
ไม่ควรให้มันล้นออกมาทางวาจา ถ้าโกรธแล้ว รู้ว่าโกรธ
แต่ไม่ให้ไปด่าเขา ไม่ไปตีเขา วางลงให้ได้



คนปฏิบัติธรรมจึงไม่มีฟอร์ม ภายในรู้สึกอย่างไรก็แสดงออกมาอย่างนั้น
ภายนอกไม่ได้ดูผิดแผกไปจากมนุษย์ธรรมดาใดๆ ทั้งสิ้น
เมื่อเธอปฏิบัติธรรมรู้สึกหงุดหงิดง่าย อ่อนไหวง่ายมากๆ
ทำเอาไม่มีกะจิตกะใจ สนใจจะตามรู้กายใจ ไม่กี่วันก่อน
ใจมันเลยไปคว้าเอาเรื่องเก่าๆ ที่ช้ำใจมาคิด พอพิจารณาอีกทีว่า
“ในโลกนี้ที่เขาฉลาดกว่าเราก็มี โง่กว่าเราก็มี รวยกว่าเราก็มี
จนกว่าเราก็มี สวยหล่อกว่าเรา อย่าเย่อหยิ่งทะนงตนหรือ
โศกเศร้าเสียใจไปเลย เพราะมันเป็นสิ่งเห็นง่ายๆ
แต่ทำให้เป็นธรรมดายาก” แต่ทำได้จึงเป็นสุข



คุณป้าบอกว่า ถ้าใจคิดถึงเป็นเรื่องทุกที คิดเรื่องหนึ่งก็โยงไปอีกเรื่องหนึ่ง
ทั้งโกรธ ทั้งน้อยใจเสียใจ แล้วก็บ่นๆ ในใจแล้วเขียนเป็นข้อความ
ให้เพื่อนรักคนหนึ่งที่เธอคิดว่า จะให้เขารับรู้ทางอีเมลล์ แต่ใจฉุกคิดว่า
ตอนนี้เรากำลังอารมณ์ไม่ดี สิ่งที่เขียนออกไปอาจจะอ่านดูไม่ดีเลย
อย่าเพิ่งส่งไป เซฟไว้ก่อน แล้วตอนอารมณ์ดีมาอ่านอีกที
อาจจะไม่อยากส่งแล้วก็ได้ เพื่อนจะได้ไม่ลำบากใจด้วย
ใจเริ่มคิดแปลกๆ เพราะการเขียนระบายเรื่องราว มันก็ประหลาดดี
ที่ทำให้ใจคนเราฉุกคิดได้ แล้วปรับใจได้อย่างประหลาด...!
ระงับอารมณ์เสียได้ การเขียนออกมาเป็นตัวหนังสือมันเปลี่ยนพฤติกรรมได้เหมือนกัน



ตอนเย็น ความรู้สึกรุนแรงอย่างเมื่อตอนเช้าที่เขียนอีเมล์ไปนั้น
มันไม่อยู่แล้ว ลองกลับไปอ่านเมล์ที่เขียนไว้ให้เพื่อนอีกทีแล้วอยากเป็นลม
ความรู้สึกที่ได้จากการอ่านมันแตกต่างจากจุดประสงค์ คนละเรื่องเลย
ประหลาดใจจริงๆ ว่า อารมณ์ตอนนั้น มันเกิดขึ้นได้อย่างไร...?



 เธอรู้สึกเหมือนเขียนอะไรประจานตัวเอง คิดเล็กคิดน้อยสุดๆ
คนอ่านจะรู้สึกยังไงว่า แล้วก็เสียใจ แต่โชคดียังไม่ได้ส่งไป
ทำให้คิดได้ว่า “เวลาอกุศลเกิด” อย่าให้ล้นออกทางกาย ทางวาจา
ตอนนั้นก็แบบว่าสติหลุดลอย ไม่ฟังเสียงแล้ว ขอให้ได้เขียนไป
ระเบิดอารมณ์ไปก่อน ขอให้ได้ตามใจกิเลสที่มันอาละวาดอยู่สักพัก
แล้วก็ได้เรื่องทำให้มองเห็นจิตใจตัวเองมากขึ้น
อย่าลืมวิธีการเขียนออกมาระบายความเครียดดีกว่าเก็บความเครียดไว้
จะทำให้เรารู้อารมณ์ของเราในแต่ละขณะได้



ว. ปัญญาวชิโร
 

ขอบพระคุณที่มาhttp://www.bloggang.com/viewblog.php?id=samuellz&date=07-11-2010&group=9&gblog=4