ผู้เขียน หัวข้อ: ปัญหาของการไม่เข้าเป็นจำเลยในคดีแพ่ง  (อ่าน 1681 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ปัญหาของการไม่เข้าเป็นจำเลยในคดีแพ่ง/อ้วน อารีวรรณ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   9 กุมภาพันธ์ 2554 09:47 น.

jatung_32@yahoo.com

จาก การที่ดิฉันได้ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการวิทยุทางคลื่นวิทยุแห่งหนึ่ง ซึ่งเปิดสายให้คุณผู้ฟังทางบ้านโทรศัพท์เข้ามาสอบถามปัญหาข้อกฎหมายเป็น ประจำทุกวันเสาร์ต่อเนื่องกันมาหลายเดือนแล้วนั้น ทำให้ดิฉันได้รับทราบว่า ปัญหาข้อกฎหมายที่มักถูกถามบ่อยๆ มีสาเหตุสำคัญมาจากการที่ไม่ยอมเข้าเป็นจำเลยต่อสู้คดี ดังนั้นดิฉันจึงเห็นควรที่จะต้องนำเรื่องราว “ปัญหาของการไม่เข้าเป็นจำเลยในคดีแพ่ง” มานำเสนอในครั้งนี้กันคะ



ดิฉัน รู้ดีว่า การเป็นจำเลยในคดี เป็นสถานการณ์ที่ไม่มีใครอยากเจอกัน เพราะการตกเป็นจำเลยนั้นมันเป็นเรื่องที่แย่มากๆ ยิ่งถ้าต้องกลายเป็นจำเลยแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว ก็จะยิ่งเหนื่อยหนักใจเป็นพิเศษ บางท่านอาจมึนงงสับสนไม่รู้ว่าจะต้องทำตัวหรือเตรียมตัวอย่างไรดี? ก็อยากจะให้กำลังใจว่า การตกเป็นจำเลยในคดีแพ่งยังดีกว่าต้องตกเป็น “จำเลยสังคม” เยอะเลยนะคะ.. ดังนั้นไม่ต้องเครียดไปเลย

หลาย คนอาจสงสัยว่า แล้วเราจะกลายเป็นจำเลยในคดีแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัวได้อย่างไร? เรื่องนี้ ไม่ยากหรอกคะ ในยุคที่นิยมใช้เงินอนาคต นิยมมีเครดิตมีสินเชื่อเยอะๆ มีบัตรแข็งหลายๆ ใบไว้รูดปรื้ด ผ่อนทั้งบ้านผ่อนทั้งรถยนต์ ต้องลงชื่อในสัญญาต่างๆ เป็นทั้งผู้กู้และผู้ค้ำประกัน หรือแม้กระทั่งทำสัญญาเป็นผู้เช่าตึกรามอาคารบ้านเช่าต่างๆ ก็อาจตกเป็นจำเลย โดนฟ้องขับไล่ได้เช่นกัน

ยกตัวอย่างที่พบได้บ่อยที่สุด คือ การเช่าซื้อรถยนต์ เพราะทุกวันนี้มีรถยนต์ออกป้ายแดงมาวิ่งบนท้องถนน ไม่ต่ำกว่า 2,000 คันต่อวัน

แค่คุณลงชื่อเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์แล้วผ่อนไม่ไหว หรือลงนามเป็นผู้ค้ำประกันให้ญาติพี่น้องที่เช่าซื้อรถยนต์ แล้วปรากฏว่าญาติพี่น้องผ่อนชำระไม่ไหว คุณหรือญาติพี่น้องเลยตัดสินใจส่งรถยนต์กลับคืนบริษัทผู้ให้เช่าซื้อไปสักพักใหญ่จนเกือบลืมแล้ว ก็อาจมีหมายศาลส่งถึงคุณให้ไปเป็นจำเลยในคดี แต่คุณกลับไม่ยอมไปศาล เพราะคิดว่า “คืนรถยนต์ไปแล้ว” อะไรจะเกิดขึ้น รู้ไหมคะ?

ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเปิดโอกาสให้คู่ความ คือ “โจทก์และจำเลย” ในคดีสามารถใช้สิทธิของตนได้อย่างเต็มที่ แต่ต้องภายใต้หลักเกณฑ์ว่า เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาล และให้ยื่นคำให้การแล้ว จำเลยมีหน้าที่ยื่นคำให้การต่อสู้คดี หากจำเลยเพิกเฉยไม่ได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายหรือ ตามคำสั่งศาล และจำเลยมิได้ขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การจะถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ทันที โจทก์สามารถยื่นคำขอต่อศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ฝ่ายโจทก์ชนะคดีเพราะ เหตุจำเลยขาดนัด

และหากคำฟ้อง ของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น มีสัญญาเช่าซื้อที่ลงลายมือชื่อของจำเลยเป็นพยานหลักฐานสำคัญ ประกอบกับโจทก์ได้ยื่นคำขอต่อศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ฝ่ายโจทก์ชนะ คดีเพราะเหตุจำเลยขาดนัด ศาลย่อมมีคำพิพากษาให้ฝ่ายโจทก์ชนะคดีเพราะเหตุจำเลยขาดนัดได้

ใน กรณีที่เป็นคดีความที่เกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคล หรือคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว หรือคดีพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคล ศาลอาจสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว และอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นๆ มาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจำเป็น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้เช่นกัน

ดัง นั้นถ้าเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน ในกรณีที่ผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ เช่น ผิดนัดค้างค่างวดรถยนต์ รวมถึงเรียกค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงรถยนต์คืน หรือแม้ว่า ผู้เช่าซื้อรถ ยนต์จะได้ส่งคืนรถยนต์ให้กับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อเอง แต่ผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์ก็สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการเสื่อม สภาพของรถยนต์ที่เช่าซื้อเป็นเหตุให้ขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าราคาเต็มจำนวน ของสัญญาเช่าซื้ออย่างนี้ เป็นต้น

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม ก็ได้บัญญัติว่า “ในการกำหนดจำนวนเงินตามคำขอบังคับของโจทก์ ให้ศาลปฏิบัติดังนี้

(๑) ในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอน ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่เห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยาน

(๒) ในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินอันไม่อาจกำหนดจำนวนได้ โดยแน่นอน ให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว และศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจำเป็น”

และ เมื่อผู้ถูกฟ้องเป็นจำเลยไม่ได้เข้าไปต่อสู้คดี หรือพูดง่ายๆ ไม่ได้เข้าเป็นจำเลยในคดี ซึ่งตามกฎหมายจะถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาไปด้วย ส่งผลให้โจทก์สามารถยื่นคำขอบังคับต่อศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ฝ่าย โจทก์ชนะคดีเพราะเหตุจำเลยขาดนัด โดยที่ศาลสืบพยานหลักฐานฝ่ายโจทก์ไปฝ่ายเดียว

และที่สำคัญคือ โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอน โดยโจทก์ส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยาน โดย ที่คุณไม่อาจต่อสู้ให้มีการลดหย่อนค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงรถยนต์คืน หรือต่อสู้ข้อเท็จจริงในกรณีถูกเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการเสื่อมสภาพของ รถยนต์ที่เช่าซื้อเป็นเหตุให้ขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าราคาเต็มจำนวนได้ หรือแม้กระทั่งการขอผ่อนชำระเงินเป็นงวดๆ ในจำนวนที่คุณสามารถกระทำได้

คุณก็จะเสียโอกาสดังกล่าวทั้งหมดไป.. เมื่อไม่ได้เข้าเป็นจำเลยในคดี!!

อีกกรณีหนึ่งที่ควรระวังเช่นเดียวกัน คือ บางคนเข้าใจว่า การ ฟ้องร้องในคดีบัตรเครดิตมีอายุความสองปีนับแต่มีการชำระค่าบริการในครั้งสุด ท้าย เมื่อถูกฟ้องเป็นจำเลยขึ้นมาก็เลยคิดว่าไม่ต้องเข้าเป็นจำเลยในคดีก็ได้ เพราะคดีนี้ขาดอายุความแล้ว

ก็ต้องบอกว่าเข้าใจถูกเพียงแค่ครึ่งเดียว ในส่วนประเด็นเรื่องของอายุความในคดีบัตรเครดิต แต่ที่เข้าใจผิดอีกครึ่งหนึ่งและส่งผลที่สำคัญมาก คือ การไม่ต้องเข้าเป็นจำเลยในคดี เพราะ คดีแพ่งใช้กระบวนวิธีพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความแพ่งนั้น คู่ความต้องเป็นฝ่ายยื่นข้อต่อสู้เรื่องอายุความเอง ศาลไม่มีหน้าที่หยิบยกข้อต่อสู้เช่นนี้ขึ้นมาพิจารณา ดังนั้นถ้าเราไม่เข้าเป็นจำเลยในคดีบัตรเครดิต เราก็ไม่ได้ใช้ข้อต่อสู้ว่าคดีนี้ขาดอายุความแล้ว การ ปล่อยให้โจทก์ฟ้องฝ่ายเดียว ย่อมส่งผลให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว โจทก์ก็ย่อมไม่ยกเอาเรื่องอายุความมากล่าวถึงให้ตนเองเป็นฝ่ายแพ้คดี และเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี ศาลก็ต้องมีคำบังคับให้จำเลยต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์

“การเข้าเป็นจำเลยในคดีแพ่ง จึงช่วยให้คำบังคับที่หนัก..เบาลงได้นะคะ”

.

Celeb Online - Manager Online -


[url]http://www.manager.co.th/CelebOnline...=9540000017435
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)