ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : พอเพียงพอดีและเรียบง่ายคือความยั่งยืน  (อ่าน 1527 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด





ที่ยกมาตั้งเป็นหัวข้อเรื่องวันนี้เป็นคำถามและคำตอบนั้นคือสิ่งที่ประชาชนของสังคมโลก รวมทั้งสังคมประเทศชาติของเราด้วยที่ทุกวันนี้เพราะความ “ค่อยๆ” เป็นวัตถุนิยมกับ “ค่อยๆ” เป็นทุนนิยมในราว 150-200 ปีมานี้ ทำให้ประชาโลกและประเทศไทย ได้ “ค่อยๆ” เปลี่ยนตัวเองจากส่วนใหญ่ที่มากขึ้นและมากขึ้นอย่างรวดเร็วในสังคมโลก และโดยเฉพาะในสังคมไทยเรา จากความไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ได้มาก่อนมาเป็นความเคยชินใหม่ที่เห็นแก่ “เงิน” เห็นแก่ “ทุน” กันเป็นแถวๆ ทุกๆ คนในส่วนที่ใหญ่มากๆ จะคิดแต่เอาตัวรอด “ตัวใครก็ตัวมัน” ทั้งนั้น โดยเฉพาะในนครหรือเมืองที่ใหญ่ๆ

แต่ผู้เขียนมีความเชื่อมั่น 100 เปอร์เซ็นต์เต็มว่าทั้งหมดที่ทำให้เราเปลี่ยนแปลงนั้น ซึ่งช่างห่างไกลจากความพอเพียงพอดีและยั่งยืน และเป็นช่วงยิ่งห่างไกลมากจากการไม่เกิด ไม่ตาย ไม่ก่อประกอบ ไม่เปลี่ยน ฯลฯ เพราะนั่นเป็นวิวัฒนาการทางกาย - จิตของเราที่จะต้องผ่านขั้นตอนนั้นโดยธรรมชาติ  เหมือนกับฟันกรามที่จะต้องงอกตอนนั้นเพื่อวิวัฒนาการและการเรียนรู้ ซึ่งจะต้องมีในเวลานั้นเท่านั้น นั่นคือธรรมชาติที่เป็นคำถามที่เราบางคน - ไม่มากก็น้อย - เคยถามตัวเองยามที่อยู่คนเดียวและตอบไม่ได้หรือไม่มีคำตอบ ที่ไล่ไปให้สุดแล้วเรามักไม่พอใจที่บางส่วนบางสิ่งบางอย่างจะขาดหายไปหรือไม่สมบูรณ์ทุกทีไป แต่เราบางคนอาจพอจะรู้ว่ามันเป็นคำถามที่มีคำตอบ ที่เรา - คนทั่วไปต้องคิดคำนึงต่อ (ยามที่อยู่คนเดียวเหมือนกัน) ว่าคำตอบของคำถามนั้นคงจะเกี่ยวข้องกับจิตใจของเรา หรือคงจะเกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการ ทางจิตของเรา แต่จริงๆ แล้วเราไม่รู้และไม่สนใจ เพราะเราไม่เคยมีประสบการณ์ มนุษย์เราตั้งแต่มีโฮโม ซาเปียนส์อุบัติขึ้นมาแล้ว ตั้งหลักแหล่งถิ่นฐานบ้านช่องแล้ว มีวิวัฒนาการของจิตมาบ้างแล้ว ยืนระหว่างสัตว์ร้ายกับเทวดาแล้ว จนกระทั่งมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมและมีอารยธรรม “สมัยใหม่”  ขึ้นมาแล้ว เราจะผ่านขั้นตอนของความเคยชินใหม่ “รุ่นใหม่ๆ” ที่คิดว่าถูกต้องแล้ว มาตลอดเวลา ทุกวันนี้เราอยู่กับอารยธรรม “สมัยใหม่” ที่คิดว่าถูกต้องแล้ว ตลอดเวลา “สมัยใหม่” อันเป็นคอหอยลูกกระเดือกกับหลักการวัตถุนิยมและระบบเศรษฐกิจทุนนิยมการตลาดเสรีที่ทำได้ 2 อย่าง คือ กดขี่ธรรมชาติและสนับสนุนและสนองตัณหาราคะให้กับมนุษย์อย่างสุดๆ ดังที่ว่ามาข้างบนนั้นนั่นคือคำตอบที่พระพุทธองค์ได้อุทานไว้ในมิลินทปัญหาหรือในอิทธิวุฒิกะ ซึ่งก็คือความจริงที่แท้จริงที่สูงสุด (Supreme  Reality) หรือที่โมเสสได้ยินชัดเจนจากพุ่มไม้บนภูเขาไซนาย (Sinai) ก่อนจะได้รับคำบัญชาข้อปฏิบัติ-ข้อห้าม (หรือศีล) ทั้ง 10 ข้อ หรือ ten commandments) จากพระเจ้า (ซึ่งเรียกว่า Supreme Being) ซึ่งความจริงที่แท้จริงหรือนิพพานนั้น (สันสกฤตเขียนว่า nirvana) กับพระเจ้าผู้สูงสุดนั้นไม่เหมือนกันทีเดียว ผู้เขียนเชื่อว่านั่นคือสิ่ง (ศักดิ์สิทธิ์) ที่สูงที่สุดของศาสนาทุกศาสนาในโลกที่คลี่ขยายวิวัฒนาการจากวิถีชีวิตของคนโบราณดึกดำบรรพ์ที่ไล่สูงยิ่งๆ ขึ้นไปตามลำดับจนกลายมาเป็นศาสนาที่เน้นจิตกับความเป็นปัจเจกของปวงชนของโลก และวัฒนธรรม-อารยธรรมที่เน้นจิตร่วมโดยรวมของโลกปัจจุบัน

ผู้เขียนได้เขียนเรื่องความพอเพียงพอดีและยั่งยืนมานานพร้อมๆ กับระบุถึงสาเหตุโดยตรงของมัน  ซึ่งผู้เขียนเชื่ออย่างยิ่งว่ามนุษย์ทั่วทั้งโลกจะกำจัดมันทั้งหมดออกไปได้ก็จะต้องขจัดสาเหตุของมันให้สิ้นซาก เพราะมันอยู่มานานตั้งแต่อริสโตเติล และทำให้นักปรัชญาชื่อดังๆ ของยุโรป ซึ่งมีประชาชนเชื่อถือมากๆ เช่น เฮเกล ที่เป็นจิตนิยมแท้ๆ และคาร์ล มาร์กซ์ ที่เป็นตรงกันข้าม (ดูบทความของผู้เขียนที่เขียนเมื่อปลายปีที่แล้ว) พลอยผิดไปด้วยกันเป็นทิวแถว ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงของความพอเพียงพอดีและยั่งยืนมีอยู่ 2 หลักการ นั่นคือ หลักการวัตถุนิยม (materialism) และหลักการ หรือระบบเศรษฐกิจทุนนิยมการตลาดเสรีเอฟทีเอ (capitalism economy) อันเป็นแหล่งกำเนิดของบริโภคนิยม (consumerism) ซึ่งเดี๋ยวนี้เรา - ทุกคนก็รู้อยู่เต็มอกแล้วว่า ไม่ว่าอะไรที่ร้ายๆ ทั้งหมดของสังคมประเทศชาติทั่วทั้งโลกเลยโดยไม่มีการยกเว้น เป็นต้นว่า ความไม่เท่าเทียมกัน ความไม่เป็นธรรมของสังคม การก่อการร้าย การสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหาร ชนชั้น ไปจนกระทั่งถึงความแตกแยกร้าวฉานของคนไทยที่แบ่งแยกกันเป็นสีๆ ล้วนแล้วแต่มีจุดกำเนิดมาจากบริโภคนิยมทั้งนั้น คุณอนันต์และคุณหมอประเวศจะคิดปฏิรูปและแก้ไขให้ตายหากไม่ได้คิดเรื่องปัญหาของบริโภคนิยม ไม่เลิกวัตถุนิยมและระบบเศรษฐกิจที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน - เพราะมันใหญ่เกินไป? - ก็ไม่มีทางแก้ไขได้ เพราะว่าจิตสำนึกจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร? เมื่อมันไม่มีคาตาลิสต์? จะรอให้เป็นไปเองแล้วระบบนิเวศน์จะทำอย่างไร? ฉะนั้นจงปล่อยให้ธรรมชาติแก้ไขดีกว่า รู้แล้วว่ารักชาติ รักประชาชน โดยเฉพาะคนไทย แต่มันอยู่ที่กรรมของมนุษย์โดยรวมและการเกิดใหม่ที่ไม่มีใครแก้ได้หรอก
 
ความยั่งยืนหรือการรู้จักคำว่า “พอแล้ว” และความประหยัดกับเรียบง่ายนั้น เหล่าจื้อ ผู้ประกาศศาสนาเต๋าบอกว่าผู้นั้นเป็นคนรวยทุกคน นั่นคือการดำรงชีวิต (existential) ที่ถูกต้อง ความยากจน -  ยากไร้ของมนุษย์ทั้งโลกมาจากตรงนั้น พูดกันง่ายๆ มันไม่มีหรอกที่ใครเกิดมาจน แต่ทั้งนี้มนุษย์ต้องปฏิบัติตามกฎธรรมชาติ หรือที่พุทธศาสนาเรียกว่าเป็นทางสายกลาง การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเป็นธรรมชาติหรืออิธัปปจจัยตา อย่าลืมว่าความประหยัด รู้จักการจับจ่ายใช้สอยอย่างมีสตินั้น ต่างจากคำว่าขี้เหนียว ซึ่งขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของสังคมประเทศชาติอย่างสิ้นเชิง แต่ตรงกันข้ามนั่นคือวุฒิภาวะทางจิตอันเป็นการวิวัฒนาการของจิตที่เป็นธรรมชาติของวิวัฒนาการของจักรวาลที่เหมาะสม และจะต้องมีสำหรับอารยธรรมของมนุษยชาติในอนาคต (อันใกล้ๆ) ที่ไม่ใช่โลกแตก เพราะยังเหลือประชาชนอีกมากในเร็วๆ วันนี้

อาร์โนลด์ ทอยน์บี้ นักประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันคนหนึ่งในไม่กี่คนที่ได้อุทิศทั้งชีวิตของเขาศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับการมีขึ้นหรือรุ่งเรืองขึ้นของอารยธรรมในดินแดนต่างๆ กับการเสื่อมสลายของสังคมมนุษย์ในอดีตได้ตั้งกฎขึ้นมากฎหนึ่ง เรียกว่ากฎแห่งความประหยัดและเรียบง่ายที่ก้าวหน้าคือรากฐานที่จะป้องกันความแตกหักล่มสลายของสังคม นคร-รัฐ อาณาจักรแห่งนั้น (law of progressive  simplification) ไม่ใช่ทหารหาญหรือยุทโธปกรณ์หรือดินแดนและประชาชนก็หาไม่ รัฐหรือนครนั้นๆ จะต้องนำความมั่งคั่งนั้นมาจรรโลง การศึกษา ศิลปะ วรรณคดี ห้องสมุด และวัฒนธรรม แล้วก็ทำ 2 อย่าง  2 ประการไปด้วยกัน คือ 1.สร้างความเป็นธรรม หรือโอกาสความเท่าเทียมกันให้เกิดขึ้น 2.รณรงค์ให้ทุกๆ คน ย้ำ ทุกๆ คนที่ปรากฏในสายตาสาธารณะจะต้องมีชีวิตอยู่อย่างประหยัดและเรียบง่าย นั่นคือให้พลเมืองมองดูความเจริญเติบโตของจิตใจและปัญญาเหนือกว่าวัตถุมากนัก ซึ่งตรงกับที่พุทธศาสนาบอก มนุษย์และความเจริญมั่นคงนั้นอยู่ที่การปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างไม่หยุดหย่อนหรือท้อถอย เพราะว่าปัญญา (wisdom or intuition แต่ไม่ใช่ intelligence นะครับ) เท่านั้นที่ใหญ่ยิ่งที่สุด

แต่ผู้เขียนคิดว่า อาร์โนลด์ ทอยน์บี้ คงหลงลืมไปว่านั่นเป็นประวัติศาสตร์ของอดีต และเป็นอดีตที่มนุษย์ได้ตั้งถิ่นฐานหลักแหล่งแล้ว หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประมาณ 5,000 ปีมานี้เอง เมื่อมนุษย์ได้มีการคิดและพัฒนาตัวอักษรขึ้น นั่นคือช่วงเวลาที่เรามีประวัติศาสตร์และมีการบันทึกเรื่องราวของผู้คนขึ้นมา ซึ่งเฮโรโดตัสก็ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของประวัติศาสตร์ ทั้งๆ ที่เฮโรโดตัสได้บันทึกเรื่องราวจริงๆ ก็ราวๆ  2,500 ปีเท่านั้น หลังการบันทึกของลัทธิพระเวทนาน หรือแม้อุปานิษัทเล่มแรกๆ อาจเป็นไปได้ที่ประวัติศาสตร์มีนิยามกว้างลึกกว่านั้น หรือในตอนนั้นฝรั่ง โดยเฉพาะพวกกรีกยังไม่ได้รู้จักลัทธิพระเวทกัน เราต้องรู้ว่าตั้งแต่มนุษย์เราได้รู้จักการตั้งถิ่นฐานบ้านช่องมาเมื่อเพียง 12,000 ปีก่อน - ซึ่งเป็นระยะเวลาที่โลกอยู่ในปลายยุคน้ำแข็งที่หนาวจัดมากๆ จนกระทั่งมีผืนดินติดต่อเป็นผืนเดียวระหว่างเอเชียเหนือและทวีปอเมริกาเหนือ-ใต้ และมีผู้คนจากเอเชียอพยพไปอยู่ที่ทวีปอเมริกาทั้งเหนือและใต้ระลอกใหม่และระ ลอกใหญ่ (อินเดียนแดง เผ่าอะเมซอนต่างๆ เผ่าเอสกิโม) - มนุษย์เราแทบจะไม่มีวิวัฒนาการทางจิตไปตามสเปกตรัมเลย เว้นแต่มนุษย์เราส่วนใหญ่มากๆ จะได้มีวิวัฒนาการทางจิตเมื่อประมาณ 600 ปีก่อนเพียงหนเดียว (age of reason - renaissance) เราส่วนใหญ่ในวันนี้จึงเคารพในเหตุผล แต่นั่นคือวิวัฒนาการทางจิตตามสเปกตรัมที่ได้เพียงครึ่งทางเท่านั้น อย่างไรก็ตาม วิวัฒนาการขั้นหรือระดับต่อไปจะเร็วขึ้นๆ

มนุษย์เราที่เป็นบริโภคนิยม (consumerism) ซึ่งเมื่อไล่ต่อไปแล้วก็เกิดขึ้นจริงๆ บนหลักการ 2  อย่าง 2 ประการที่ว่ามาข้างบนนั้นคือ หลักการนิยมวัตถุหนึ่ง กับหลักการหรือระบบเศรษฐกิจทุนนิยมอีกหนึ่ง ว่ากันตามจริง เราจะโทษมนุษย์ไม่ได้หรอก มนุษย์นั้นจริงๆ แล้ว เกิดมาประเสริฐจริงๆ แต่เนื่องจากต้องเรียนรู้ไปด้วย และเรายังต้องวิวัฒนาการทางจิตไปด้วย ข้อเสียของมนุษย์ที่มีถึง 3 ประการ คือ  เราอวดรู้หนึ่ง ไม่ยอมรับว่าไม่รู้หนึ่ง และใครๆ ก็สอนไม่ได้อีกหนึ่ง รวมความแล้วคือ มนุษย์ - ประมาท  มนุษย์เป็นผู้ประเสริฐก็จริง แต่ประมาท เราจึงพลาดบ่อยๆ ปัจฉิมโอวาทของพระพุทธองค์ (ก่อนจะดับขันธ์) ได้แสดงชัดว่าทรงเป็นห่วงเผ่าพันธุ์มนุษยชาติอย่างไร?

ที่จะโทษมนุษย์ไม่ได้ โทษอริสโตเติล หรือเดโมคริตัส หรือโทษใครก็ไม่ได้ทั้งนั้น เพราะว่าเราเชื่อตาของเราที่ “เห็น” หน้าที่ของมนุษย์มีถึง 2 อย่างที่ต่างก็ใหญ่เหลือเกิน การเรียนรู้คือกรรม กรรมที่ก่อทุกข์วนเวียนกันไป สัตว์โลกรวมทั้งมนุษย์ต้องรับกรรมนั้นไม่ว่าบวกหรือลบ ส่วนวิวัฒนาการเป็นหน้าที่ของจักรวาล กายกับจิตที่ต้องทำให้ครบ ไม่ว่าจะเป็นภพภูมิใด วิวัฒนาการนั้นสำหรับมนุษย์โดยหลักการได้เสร็จสิ้นแล้วตั้งแต่มีโฮโม ซาเปียนส์ขึ้นมาในโลก แต่วิวัฒนาการทางจิตนั้นเราเพิ่งมาได้เพียงครึ่งทาง  แต่ต่อไปนี้จะค่อยๆ เร็วขึ้นๆ เพราะว่าธรรมชาติเป็นเช่นนั้นเอง เมื่อเส้นทางของวิวัฒนาการได้เป็นที่  “คุ้นๆ กันดีแล้ว” เราต้องทำทั้ง 2 อย่างให้เสร็จสิ้น แม้ว่าจิตของเราจะแปดเปื้อนด้วยอนุสัยสันดานของจิตของสัตว์ที่นอนแนบเนื่องกับจิตใต้สำนึกของมนุษย์ทุกคนมากบ้างน้อยบ้าง ฉะนั้นเราถึงได้พลาดบ่อยๆ   และที่พลาดนั้นไม่เกี่ยวกับวัตถุ (matter หรือรูปกายเนื้อเยื่อ) ที่ตาของเรามองเห็นเลย.


http://www.thaipost.net/sunday/130211/34288

http://journeythroughlife.files.wordpress.com/2009/03/simplicity.jpg?w=300&h=400
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...