ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : บริโภคนิยมกับปัญญาญาณ-อะไรถึงก่อน?  (อ่าน 1495 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



  คิดว่าผู้เขียนมีสิทธิ์ที่จะคิดจะฝัน แถมยังคิดยังฝันชนิดที่มีเหตุผลเสียด้วย ฉะนั้นจึงคิดว่าตั้งแต่มนุษย์คนแรกได้อุบัติขึ้นมาบนโลกนี้แล้วเมื่อประมาณ 150,000 ปีก่อน มีเผ่าพันธุ์ของโฮโม ซาเปียนส์แล้ว ซึ่งตามหลักฐานทางโบราณวิทยาศาสตร์ (archeology) นั้นทีแรกก็มี 2 สายพันธุ์ คือ มีทั้งโฮโม ซาเปียนส์ นีอันเดอธัลลิสต์ กับโฮโม ซาเปียนส์ ซาเปียนส์ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษยชาติเราและอยู่ร่วมกันโดยสันติ จนกระทั่งโฮโม ซาเปียนส์ นีอันเดอธัลลิสต์สูญพันธุ์ไปโดยไม่ทราบสาเหตุเพียงเมื่อราว  30,000 ปีก่อนเท่านั้นเอง เหลือแต่เราโดดๆ พอดีในคราบมนุษย์โครมาฌอนที่วิวัฒนาการแล้ว และอยากคิดอยากฝันอย่างมีเหตุผลต่อไปด้วยว่าหลักการที่นักควอนตัมฟิสิกส์ 2 คนคิดที่มีคนเชื่อมากขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลานี้ (คือ cosmological anthropic principle) นั้น และความคิดที่ว่ามนุษยชาติมีความสำคัญที่คุณภาพ ไม่ใช่ที่ปริมาณหรือจำนวนของประชากร ซึ่งดูได้จากการที่มีผู้ตายไปด้วยกาฬโรคที่ยุโรปและที่อเมริกากลางในตอนนั้น ราวๆ คริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งตายไปเพียง 1 ใน 3 ของประชากรโลก ซึ่งแม้กระนั้นก็ยังเหลือประชากรโลกถึง 500 ล้านกว่าคน ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าประชากรจะหายไปในทันทีถึง 4 ใน 5 ของประชากรโลกในปัจจุบัน - ประมาณ 6,600 ล้านคน - ก็ยังเหลืออีกถึงร่วม 1,400 ล้านคน หรือเกือบ 3 เท่าของประชากรในตอนนั้น เพราะว่าเผ่าพันธุ์ของมนุษยชาตินั้นสำคัญกับจักรวาลอย่างที่สุด แต่ทว่า “คุณภาพของมนุษย์” ต่างหากที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่ปริมาณหรือจำนวนของประชากร ในสมัยศตวรรษที่ 15 นั้น ในสมัยที่กาฬโรคระบาดนั้น แทบจะไม่มีนักวิชาการหรือปัญญาชนเลยที่ตายด้วยกาฬโรค คล้ายๆ กับว่าโลกต้องการนักวิชาการปัญญาชนเพื่อใช้มากกว่าในเวลานั้น

บทความนี้มีอยู่ 2 คำที่ต้องทำความเข้าใจกัน คำนั้นคือคำว่าบริโภคนิยมกับคำว่าปัญญา คำว่าบริโภคนิยมมาจากคำในภาษาอังกฤษที่แปลตรงตัว (consumerism) ผู้เขียนเชื่อว่าหากเราคิดจะแก้ไขนิสัยทางด้านลบของประชากรโลกที่แย่มากๆ เราจำต้องรู้และแก้ไขสาเหตุของความแย่มากๆ ที่ว่านั้นไปด้วยกัน มิฉะนั้นก็แก้ไขให้ถาวรไม่ได้ ดังนั้นเรื่องที่เราจำต้องแก้ไขไปด้วยกันคือ หลักการวัตถุหรือเนื้อเยื่อนิยม (materialism) ของปัจเจกบุคคลผู้นั้นๆ กับหลักการหรือระบบเศรษฐกิจทุนนิยมการตลาดเสรี  ซึ่งมีองค์การสหประชาชาติ และมีสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุน ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีแต่ก่อกิเลสตัณหาทางจิตโดยรวม และก่อความเห็นแก่ตัวให้แต่ละคนเป็นปัจเจกที่ทำให้ประชาโลกโดยรวม รวมทั้งประเทศคอมมิวนิสต์เองก็ให้การสนับสนุน ระบบที่ผู้เขียนคิดให้ตายก็หาประโยชน์ไม่ได้ ทั้ง 2 สาเหตุ 2  หลักการ โดยเฉพาะประเด็นอันหลัง - อาจจะยิ่งใหญ่สุดๆ ซึ่งใครๆ คิดว่าแก้ยากสุดยาก แต่ผู้เขียนคิดว่าเราจำต้องแก้ มนุษย์นั้นมีศักยภาพที่แทบไม่มีการสิ้นสุด เพียงแต่ส่วนใหญ่มักไม่รู้ และโดยเฉพาะไม่รู้จักวิธีเอามาใช้เหมือนไก่ที่เขี่ยได้แหวนเพชรกระนั้น เพราะคิดว่าเป็นการสร้างสรรค์ที่เป็นเรื่องยากที่เราจะต้องคิดต้องลอง มนุษย์ถึงได้อยู่กับความชั่วร้าย เพราะมันง่ายดีตามที่โพลตินัสบอกไว้เมื่อเกือบ 2,000 ปีก่อน

ส่วนคำอีกคำหนึ่ง คือคำว่าปัญญา ที่พุทธศาสนาถือว่าเป็นเป้าหมายของมนุษย์ทุกคนเลยที่ต้องแสวงหา ภาษาไทยเราใช้เหมือนกัน ทั้งๆ ที่มันแตกต่างระหว่างกันมาก และวิธีได้มาของปัญญาก็ต่างกัน  ภาษาไทยแปลว่าปัญญาทั้งหมดเลย ภาษาอังกฤษแม้จะมี 4-5 คำ แต่ให้ความหมายไม่ชัดเจนสำหรับผู้เขียนและคนทั่วไปที่ไม่จบอักษรศาสตร์ เพราะฉะนั้นคำว่าปัญญาอาจจะหมายถึงคำในภาษาอังกฤษที่ไม่เหมือนกัน เป็นต้นว่า ปัญญาความฉลาด หรือที่ผู้เขียนใช้มั่วๆ ว่าสติปัญญาความฉลาด (intelligence or  intellect) นั้น แตกต่างจากปัญญาระดับสูงหรืออภิปัญญาที่ไม่มีในตำรา หรือที่ผู้เขียนคิดว่าที่พุทธศาสนาใช้ - ถ้าหากไม่มีคำขยายเลยล้วนคิดว่าเป็นภาวนามยปัญญา หรือ wisdom ซึ่งได้มาจากการภาวนา หรือ  intuition เช่น ได้มาจากการทำสมาธิ) - ทั้งนี้ เพราะผู้เขียนเชื่อพระพุทธเจ้าว่าเส้นทางของปัญญา (Line- Ken Wilber) นั้นเป็นเส้นทางแยกจากสติปัญญาความฉลาด (intelligence) ต่างหาก ไม่ใช่ต่อยอดขึ้นมาตรงๆ แต่หากจะเรียกว่าเป็นการต่อยอดก็จะเป็นการต่อยอดที่เป็นคนละเส้นทาง (คนละ line) จินตมยปัญญาและสูตมยปัญญาจึงไม่ใช่เส้นทางซึ่งไม่ใช่เป็นการต่อยอดเพื่อเป็นภาวนามยปัญญา เพราะเป็นคนละเส้นทางกัน ส่วนประโยคสุดท้ายของบทความที่ถามนั้น ถามระหว่างทั้ง 2 โลก เราจะเลือกอย่างไหน หรือปล่อยให้อย่างไหนพังก่อน? หากคุณภาพของมนุษย์สำคัญที่สุด

การเป็นบริโภคนิยม (consumerism) คือการมุ่งหากิเลสทางจิตสำนึกที่ว่านั้นที่ไม่มีทางที่คนผู้นั้นจะรู้ตัว เพราะว่านั่นคือนอร์มของสังคมโลกที่คนไม่เห็นแก่กิเลสตัณหาต่างหากคือคนบ้า ทั้งๆ ที่ระบบและตำราเศรษฐกิจทุนนิยมหนังสือ “ความมั่งคั่งของประชาชาติ” มีอายุได้เพียง 10  กว่าปี นั่นก็เพราะกิเลสและตัณหานั่นแหละ นอกจากนี้ยังไม่มีทางพอในระดับของจิตสำนึกที่ประชาชนมีอยู่ในปัจจุบันนอกจากการปฏิวัติ หรือจะรอให้จิตมีวิวัฒนาการสูงกว่านี้ ส่วนเงินนั้นหากเราคิดว่าโลกนี้ แม้จะมีเงินใช้ตั้งนานมาแล้ว แต่การเป็นบริโภคนิยมโดยเฉพาะคือการมอมเมาตัวเองหรือการมุ่งหวังแสวงหากิเลสตัณหาราคะที่มาถึงมนุษยชาติหลังการมีอัตตาตัวตน ซึ่งผู้เขียนคิดว่า มาถึงและแสดงออก (manifest) พร้อมกับการมาถึงของชีวิตในโลก ก่อนอื่นเราจะต้องรู้ว่าความเป็นตัวตนหรืออัตตา (self) นั้นเป็นคนละอย่างกับอหังการ มมังการ (ego) ที่มาทีหลัง และอหังการก็เกิดมาจากอัตตาตัวตนนั้น ทั้งนี้ ผู้เขียนคิดและเชื่อว่า อัตตา (self) นั้นเป็นส่วนหนึ่งของจิตไร้สำนึกของจักรวาล คือเป็นส่วนที่เรียกว่าจิตโบราณ (archetype) ก็ต้องบอกอีกครั้งว่าผู้เขียนคิดเอาเองว่าเรื่องของจิตทั้งแผงเราอาจจะพอเข้าใจได้ แต่เข้าใจได้ถูกต้องหรือไม่? เป็นคนละเรื่องกัน หากใครไม่เห็นด้วยอย่างไร? ก็เป็นสิทธิ์ของคนผู้นั้น แต่ถ้าจะลองฟังดูก็ไม่เสียหายอะไร โดยหลักการแล้ว หากว่าเราไม่ลงไปเรื่องที่ซับซ้อนนักมันก็ไม่ยาวเกินไปด้วย ข้อสรุปเรื่องจิตมีดังนี้

- จิตที่ผู้เขียนเข้าใจจะมีเพียง 2 ประการเท่านั้น คือ จิตไร้สำนึก (unconsciousness) กับจิตสำนึก  (consciousness) แล้วความยุ่งยากทั้งหลายก็เริ่มขึ้น เพราะว่าความรู้ทางตะวันตกเกิดไปพบจิตสำนึกก่อน แล้วก็ไปเรียกจิตสำนึกนั้นว่าจิตยามที่รู้ตัว (consciousness) แล้วฟรอยด์ถึงได้มาพบจิตไร้สำนึกทีหลัง แต่เป็นคาร์ล จุง และตอนหลังนี้ อาร์โนลด์ มินเดล ที่ตลอดทั้งชีวิตได้พูด เขียน อธิบายเรื่องของจิตทั้งหมด รวมทั้งจิตไร้สำนึก (ที่บางครั้งก็เป็นจิตรู้หรือจิตสำนึกได้เหมือนกัน เช่น เมื่อตายไปแล้วอยู่ในปรภพ หรือที่เรียกว่าความพ้องจองกัน (synchronicity) จนกระทั่งมาถึงวันนี้และเดี๋ยวนี้ ผู้เขียนถึงสามารถเข้าใจเรื่องของจิตทั้งหมด โดยหลักการอย่างถ่องแท้ ส่วนจะผิด-ถูกอย่างไร และถูกใจใครหรือไม่? เป็นคนละประเด็น

- นักพุทธศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์แห่งยุคใหม่กล่าวไว้เหมือนๆ กันว่า จิต (ไร้สำนึก) มีมาตั้งแต่ต้น คือมีมาก่อน “อนันตจักรวาล” ซึ่งมีจำนวนที่ไม่มีที่สิ้นสุด (นะอันโต นะชาติ) จักรวาลวิทยาใหม่ที่มีไม่ถึง 10 ปี บอกเช่นนั้นตรงกับพุทธศาสนา ที่ผู้เขียน (และนักวิชาการอื่นๆ เช่น จุงและมินเดล) เรียกว่าจิตจักรวาล ทั้งๆ ที่พุทธศาสนาและนักวิทยาศาสตร์ใหม่บอกเหมือนกันว่าจิต (ไร้สำนึก) มีมาก่อนอุบัติการณ์ของจักรวาลนี้หรือจักรวาลไหนๆ ที่มีจำนวนไม่สิ้นสุด เพราะมาจากสุญตาทางพุทธศาสนา หรือมาจาก  ultimate space หรือสนามที่พลังงานเป็นสูญทางวิทยาศาสตร์ เพราะว่าเมื่อมีจักรวาลเกิดขึ้น จิตที่มีมาก่อนก็จะเข้ามาอยู่ในทุกที่ว่างของจักรวาลนั้น โดยทันที จึงเรียกจิต (ไร้สำนึก) นี้ว่าจิตจักรวาล

- สติกับสัมปชัญญะนั้นแตกต่างกันมาก ทั้งรูปแบบที่มา และความละเอียด สตินั้นมี 3 ระดับ ที่แต่ละระดับโดยอัตโนมัติจะไล่ลึกลงไปเรื่อยๆ คือมีที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า conscious (or primary  awareness, awareness (or secondary awareness) และ awakening หรือบางครั้งใช้ในภาษาไทยสามัญธรรมดาว่า ได้สติและรู้ตัวแล้ว มีสติสัมปชัญญะแล้ว และตื่นแล้ว ซึ่งจริงๆ แล้วล้วนแล้วแต่เป็นสติทั้งสิ้น แต่ในทางพุทธศาสนาจะแยกสัมปชัญญะไปต่างหาก คือเป็นจิต “รู้ตัวเอง” ซึ่งมีในสติทั้ง 3 ระดับที่ใสและละเอียด ที่สำคัญและต้องจำไว้เสมอคือ สติทั้ง 3 ระดับคือสิ่งที่ควบคุมสมองและสัมพันธ์กับสมอง  และสติยิ่งสูงก็ยิ่งมีความลึก (depth) มากขึ้นเรื่อยๆ และแยกย่อยต่อไปเรื่อยๆ เช่น ระดับสุดท้าย  (awakening) จะลึกที่สุดถึงนิพพาน

- เราต้องรู้ว่าในความรู้ทางตะวันตกที่ได้จากศาสนา (judo-christ-muslem) มีอยู่ 5 อย่างที่ประกอบเป็นการดำรงอยู่ (existence) ของสรรพสิ่งและสรรพปรากฏการณ์ทั้งหลายทั้งปวง รวมทั้งชีวิต คือ สสารวัตถุ (mater) รูปกาย (body) จิต (mind) วิญญาณ (เป็นดวงๆ หรือ soul) พระเจ้าเทวดา  (spirit) ซึ่งทางฮินดูหรือพุทธก็มี 5 เหมือนกัน (5 ปลอก หรือ 5 ขันธ์ คือ สสารเนื้อเยื่อ ความรู้สึกอารมณ์หรือพลังงาน ความจำได้หมายรู้ หรือความคิดจิตใจ วิญญาณและวิญญาณขันธ์ หรือความจริงทางโลก  พระเจ้าและความจริงทางธรรม หรือความจริงที่แท้จริง

บริโภคนิยม (consumerism) คือความสุรุ่ยสุร่าย - ความไม่มีทางพอที่ทำร้ายและทำลายธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอย่างที่สุด โดยมีระบบเศรษฐกิจทุนนิยม - ที่มีความเลวร้ายที่สุดที่แท้จริง (the real root of  all evils) ที่ก่อกิเลสความเห็นแก่ตัว ส่วนปัญญาทั้ง 2 ระดับ (ทั้ง intelligence และทั้ง wisdom) เป็นจิตสำนึกที่บริหารด้วยสมองและที่สมองไปตามสเปกตรัมของจิตสู่สภาวะจิตวิญญาณ (spirituality) ที่ไล่ไปถึงนิพพาน มนุษยชาติจะต้องได้รับกรรมร่วมโดยรวมของเผ่าพันธุ์ภายในเร็วๆ วันนี้ แต่จะเป็นคุณภาพของมนุษย์เท่านั้น ไม่ใช่ปริมาณหรือจำนวนของประชากรที่อาจจะเหลืออยู่.

http://www.thaipost.net/sunday/060311/35306
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...