มหายานการเกิดของนิกายนี้ค่อยเป็นค่อยไปและปรากฎเป็นนิกายชัดเจนในพุทธศตวรรษที่ 5 จากพระสงฆ์พวกมหาสังฆิกะ ซึ่งสืบเนื่องมาจากพวกวัชชีบุตรคราวทำสังคายนาครั้งที่ 2 นิกายนี้เกิดขึ้น โดยมีความมุ่งหมายดังนี้คือ
1.เพื่อความคงอยู่ของพระพุทธศาสนาในอินเดียด้วยสู่กับลัทธิพราหมณ์
2.เพื่อปรับปรุงวิธีเผยแผ่เสียใหม่แข่งกับลัทธิพราหมณ์
3.เพื่อทำตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อประโยชน์ในการเผยแผ่
ความแตกต่างระหว่างเถรวาทกับมหายาน
เถรวาท ถือเรื่องอริยสัจเป็นสำคัญ // มหายาน ถือเรื่องบารมีเป็นสำคัญ
เถรวาท ถือคุณภาพของศาสนิกชนเป็นสำคัญ // มหายาน ถือปริมาณเป็นสำคัญก่อนแล้วจึงค่อยปรับปรุงคุณภาพภายหลัง
ดังนั้น มหายาน จึงต้องลดหย่อนการปฏิบัติพระวินัยบางข้อลงเข้าหาบุคคลและเพิ่มเทวดาและเพิ่มพิธีกรรมสังคีตกรรมเพื่อจูงใจคน ได้อธิบายพุทธมติอย่างกว้างขวางเกินประมาณเพื่อการเผยแผ่ จนทำให้พระพุทธพจน์ซึ่งเป็นสัจจนิยมกลายเป็นปรัชญา และตรรกวิทยาไป
พระพุทธเจ้า
เถรวาท มีพระพุทธเจ้าองค์เดียว คือ พระสมณโคดม หรือพระศากยมุนี // มหายาน มีหลายองค์ องค์เดิมคือ อาทิพุทธะ (กายสีน้ำเงิน) เมื่อท่านบำเพ็ญฌาณก็เกิดมีพระฌานิพุทธะอีกมาก เป็นต้นว่า พระไวโรจนพุทธะ อักโขภัยพุทธะ รัตนสมภพพุทธะ ไภสัชชคุรุ โอฆสิทธิ และอมิตาภา เฉพาะองค์นี้ที่มาในร่างที่เป็นคน (มานุษีพุทธะ) คือพระศากยมุนี
ความมุ่งหมาย
เถรวาท มีความพ้นจากกิเลสชาติ ภพ เป็นอัตตัตถจริยา แล้วบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นเป็นโลกัตถจริยา เป็นความมุ่งหมายสำคัญ // มหายาน มีความเป็นพระโพธิสัตว์ หรือพุทธภูมิเพื่อบำเพ็ญโลกัตถจริยาได้เต็มที่เป็นความมุ่งหมาย และมีพระโพธิสัตว์หลายองค์ เช่น พระอวโลกิเตศวร มัญชุสิ วัชรปาณี กษิติครรภ สมันตภัทร อริยเมตไตรย เป็นต้น (พอเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ลดความสำคัญลง)
บารมี
เถรวาท มี 10 คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา อันให้ถึงความเป็นพระพุทธเจ้า // มหายาน มี 6 คือ ทาน ศีล วิริยะ ขันติ ฌาณ ปัญญา อันให้ถึงความสำเร็จเป็นพระโพธิสัตว์
คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์
1.มหาปัญญา พิจารณาสุญญตา คือเข้าถึงสุญญตาทั้งบุคคลทั้งธรรม จนละความเข้าใจว่า พระนิพพาน เป็นต้นมีอยู่ นี้เป็นภูมิของพระโพธิสัตว์ชั้นสูง
2.มหากรุณา ตั้งโพธิจิต มุ่งพุทธภูมิไม่มุ่งอรหันตภูมิ อันคับแคบเห็นแก่ตัว ช่วยสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้น้อย สู้การเป็นพระโพธิสัตว์ไม่ได้
3.มหาอุบาย สำหรับชักจูงคนให้นับถือด้วยต้องเพิ่มสิ่งต่าง ๆ เข้ามา เช่นพิธีกรรมซึ่งทางเถรวาทไม่มี
อุดมคติของพระโพธิสัตว์
1.เราจะสละกิเลสให้หมด
2.เราจะศึกษาสัจธรรมให้จบ
3.เราจะช่วยสัตว์ให้พ้นทุกข์ให้หมดสิ้น
4.เราจะบรรลุพุทธภูมิอันประเสริฐสุด
ของฝ่ายเถรวาท ช่วยตัวเองให้ได้ก่อน จัดเป็นอัตตัตถจิรยา แล้วจึงช่วยผู้อื่นจัดเป็น โลกัตถจิรยา (เพราะถ้ายังช่วยตัวเองไม่ได้ แล้วจะช่วยผู้อื่นได้อย่างไร)
คัมภีร์
เถรวาท ถือพระไตรปิฎกเถรวาท คือ พระธรรมวินัย ยุติตามปฐมสังคายนา ไม่มีพระธรรมวินัยเพิ่มเติม // มหายาน พระธรรมวินัยเก่าก็มี และมีพระสูตรใหม่เพิ่มเติม เช่น สุขาวดีวูยหสูตร ลังกาวตารสูตร สัทธรรมบุณฑริกสูตร ปรัชญาปารมิตาสูตร เป็นต้น
ลักษณะ
เถรวาท รักษาธรรมวินัยเดิมเอาไว้ // มหายาน ปรับปรุงพระธรรมวินัยให้เข้ากับสภาวะแวะล้อม
นิกาย
เถรวาท มีทักษิณนิกาย หินยาน // มหายาน มีอาจริยวาท อุตตรนิกาย และแบ่งเป็นนิกายอื่น ๆ อีกมากที่สำคัญ ๆ เช่น ตันตระ (เช่นมันตรยานเกี่ยวกับเวทมนตร์), โยคาจาร ถือวิญญาณบริสุทธิ์เป็นความแท้จริง และมัธยามิก (สุญญาวาท) ถือความไร้สมมติ (เช่นบุญ – ความดี – ชั่ว – นิพพาน เป็นต้น) ไม่มี เพราะเป็นสมมติ เป็นความแท้จริง และอมตจิตวาท ถือว่าจิตดวงเดิมเป็นอมตะ เป็นต้น
พระอรหันต์
เถรวาท พระอรหันต์เมื่อปรินิพพานแล้วก็ไม่เกิดอีก // มหายาน พระอรหันต์เมื่อปรินิพพานแล้วย่อมกลับมาเกิดใหม่ สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าอีก
กาย
เถรวาท ยอมรับแต่ธรรมกายและนิรมานกายบางส่วน นอกนั้นไม่ยอมรับมหายาน ถือว่าพระพุทธเจ้ามีกาย 3 คือธรรมกายได้แต่ธรรม, สัมโภคกายหรือกายจำลองหรือกายอวตารของพระพุทธเจ้า แบบนารายณ์อวตาร คือที่พระพุทธเจ้าเป็นพระกัสสปสัมพุทธะบ้าง เป็นพระศากยุมนีบ้าง เป็นพระกกุสันธะบ้างเป็นต้นนั้น ล้วนเป็นสัมโภคกายของพระพุทธเจ้าองค์เดิม (อาทิพุทธะ) ทั้งนั้น และสุดท้ายคือ นิรมานกาย คือกายที่ต้องอยู่ในสภาพของธรรมดา คือต้องแก่ เจ็บและปรินิพพาน ซึ่งเป็นกายที่พระพุทธเจ้าสร้างขึ้นเพื่อสอนคนให้เห็นความจริงของชีวิต แต่สำหรับพระพุทธองค์ที่แท้นั้น ไม่ต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น แบบเดียวกับ ปรมาตมัน ของพราหมณ์
สรุป แม้ว่าทั้ง 2 นิกายจะต่างกันบ้าง แต่จุดหมายปลายทางก็รวมกันที่วิมุติเหมือนกัน เช่นกับแม่น้ำหลายสาย บางสายก็ใส บางสายก็ขุ่น แต่ก็ไหลรวมลงในทะเลอันเดียวกัน...</spa
[คัดลอกจากบทความของ สมเด็จพระญาณวโรดม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย]
...ทีนี้เราก็เริ่มเข้าสู่หัวเรื่อง พุทธศาสนากับจิตอาสา เราท่านก็คงจะพอเข้าใจว่า พุทธศาสนานิกายไหน จักเน้นเรื่องจิตอาสาได้มากที่สุด...