ผู้เขียน หัวข้อ: การปฏิบัติธรรมสำหรับฆราวาส ฉบับเบาเบา‏  (อ่าน 1794 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ แปดคิว

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 797
  • พลังกัลยาณมิตร 389
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.blogger.com/home

 การปฏิบัติธรรมสำหรับฆราวาส ฉบับเบาเบา      
วิธีพิจารณาความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม สำหรับฆราวาส เวอร์ชั่นเบาเบา
1.เริ่มต้นจากศรัทธาหรือสัทธา ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนามีสี่อย่าง คือ

•กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความชั่วความดีมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และเชื่อว่าผลที่ต้องการ จะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น

•วิปากสัทธา เชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วย่อมมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว

•กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบาก เป็นไปตามกรรมของตน

•ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดีก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้

2.จาคะ การบริจาค การให้ทาน ดังจะเห็นได้จาก อดีตชาติของพระพุทธเจ้าในพระชาติต่างๆ เริ่มจากการให้ทานเป็นอันดับแรก เพราะว่าการให้ทานเป็นหัวใจหรือเป็นหลักของใจ การให้ทานอันการสละวัตถุสิ่งของภายนอกมากน้อยแก่ผู้ที่รับบริจาค คุณความดีจะวิ่งเข้าสู่ใจ ใจจะมีความอบอุ่น และจะพัฒนาไปสู่การสละเวลา ร่างกายมาปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมมากขึ้น และในฐานะที่พวกเรายังไม่สามารถจะเข้าถึงพระนิพพานได้ในชาตินี้ อานิสงส์แห่งทานที่ได้ทำลงไปจะรักษาเราไม่ให้ลำบากอัตขัตขัดสน

แม้แต่พระพุทธเจ้าสมัยเสวยพระชาติเป็นกระต่ายโพธิสัตว์ตั้งใจว่า วันนี้หากใครต้องการอาหารเราจะยอมสละเนื้อหนังของเราให้เป็นอาหาร ก็ยอมสละชีวิตตนเองเป็นอาหารให้ทานแก่คนที่ต้องการอาหารในวันนั้น โดยไม่ได้เลิกชนชั้นวรรณะว่าจะต้องเป็นพระสงฆ์ สมณชีพราหมณ์ กษัตริย์ พ่อค้าประชาชนพวกนั้นพวกนี้เลย

แต่การทำทานไม่ได้มุ่งที่แสดงว่า “ทำทานมากได้บุญมาก ทำทานน้อยได้บุญน้อย แต่ให้ทำทานทำบุญให้บ่อยๆตามกำลังความสามารถ” แต่มุ่งที่พิจารณาดูใจให้รู้จักเสียสละเป็นสำคัญคือความตะหนี่ที่เกิดขึ้นในใจของเรา

ดังเช่น ชายขอทานมีเงินอยู่ 20 บาทแต่ได้เสียสละซื้อข้าวปลาอาหารถวายพระสงฆ์  เงิน 20 บาทนี้อาจจะเป็นค่าอาหารมื้อต่อไปของชายคนนั้นก็ได้ (เมื่อเทียบกับมหาเศรษฐีที่มีเงินเป็นหมื่นๆล้าน ทำบุญ 1 แสนบาท จะได้บุญมากกว่าขอทานก็คงไม่ใช่) แต่ด้วยชายคนนั้นพิจารณาถี่ถ้วนแล้วว่า

“เพราะชาติที่แล้วเราไม่รู้จักทำบุญให้ทาน ชาตินี้จึงมาเป็นคนลำบากยากจนเข็ญใจ เงิน20 บาทนี้จะรักษาเราก็ได้เพียงอาหารมื้อหนึ่งเท่านั้น แต่อย่ากระนั้นเลยเราจะขอสละเงิน 20 บาทนี้ถวายเป็นทานแก่พระคุณเจ้า ด้วยอานิสงส์ผลบุญนี้จะพิทักษ์รักษาเราตลอดไป”

เพียงเท่านี้ใจที่รู้จักเสียสละก็มีที่พึ่งเป็นหลักของใจ ยิ่งทำบ่อยๆใจก็ยิ่งระลึกถึงบุญได้บ่อยๆ สุคติภูมิก็เกิดขึ้นแก่เราบ่อยครั้ง หากพลาดพลั้งเสียชีวิตในขณะหลังทำบุญ จิตที่เพิ่งทำบุญบ่อยครั้งย่อมนึกถึงบุญได้ทันท่วงที แต่ถ้าเราทำบุญนานๆครั้งโอกาสที่จะนึกถึงบุญกุศลย่อมนึกถึงได้ยาก อาจพลาดพลั้งไปสู่ทุคติภูมิได้

ดังนั้น เมื่อมีโอกาสทำบุญทำทานอย่าปล่อยโอกาสให้พลาดไป และต้องรู้จักใช้ปัญญาเลือกนาบุญที่ดีที่มีประโยชน์ ส่วนนาบุญที่ไม่ดีก็อย่าปล่อยให้รกร้าง ต้องรู้จักหัดทันกับกิเลสที่เกิดขึ้นด้วย อย่างเช่น เห็นขอทานมาขอทานที่หน้าบ้าน เราอาจจะวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆนานา จนสร้างกิเลสคือความตระหนี่กลับมาทับหัวใจเหมือนเดิม สมัยก่อนการทำทานกับขอทานไม่ต้องพิจารณาเหมือนกับปัจจุบันที่กังวลสารพัดว่าจะเป็นแก็งขอทานหรือเปล่า??? คนทั่วไปอาจจะมี 2 วิธีคือวางอุเบกขากับให้เงินขอทานไป

แต่สำหรับผมนั้นพิจารณาว่า ในโลกนี้ไม่มีใครอยากเกิดมาขอทานคนอื่นหรอก ทั้งยอมลดศักดิ์ศรีของตัวเองลงมาขอคนอื่นกิน ขอทานคนนั้นจะเป็นแก็งขอทานหรือไม่ก็เป็นกรรมของเขาเอง เราพอใจที่จะสละเงินจำนวนนี้แล้วเราสบายใจ ใจเราเป็นสุขก็พอแล้ว มีเรื่องเล่า ชายคนหนึ่งเห็นขอทานบนสะพานลอยแถวบ้าน

วันนั้นรถส่วนตัวของของเขาเสียจึงต้องนั่งรถตู้กลับบ้านระหว่างข้ามสะพานลอย มีขอทานคนหนึ่งนั่งขอทานอยู่ ตอนนั้นเขาไม่มีเศษสตางค์ เขาเดินผ่านขอทานไป และลงไปซื้อข้าวเหนียวกับไก่ทอดและน้ำดื่ม 1 ขวด เดินกลับไปบนสะพานเอาไปให้ขอทาน ขอทานคนนั้นมองหน้าด้วยสายตางงๆ ชายคนนั้นยิ้มให้และพยักหน้าแสดงว่าจะยกให้ ขอทานคนนั้นรับแล้วกล่าวภาษาอะไรที่เขาจับใจความไม่ได้ เหมือนเป็นคนใบ้แต่พยายามพูดออกมาดังลั่นสะพานลอย แม้ชายคนนั้นเดินจากมาแล้ว ขอทานคนนั้นก็ยังยกข้าวเหนียวไก่ทอดขึ้นเหนือหัวและกล่าวตลอดเวลาจนชายคนนั้นเดินลงสะพานลอยไป

หาเวลาไปทำบุญกับพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบดูบ้าง ตัวผมเองจะไปทำบุญตักบาตรถวายอาหารพระทุกวันอาทิตย์ กลายเป็นกิจวัตรประจำ(หากไม่ติดธุระอะไร) เพราะเราก็ต้องรู้จักหว่านข้าวลงในนาบุญที่ดีเอาไว้ด้วย

3.ต่อมาเริ่มด้วยการรักษาศีล 5 ให้เป็นการประจำ หากไม่มั่นใจเพราะความไม่เคยชินในการรักษาก็ให้เพิ่มการไหว้พระสวดมนต์แรกๆอาจจะเริ่มสวดมนต์เฉพาะตอนเย็น แล้วพัฒนามาสวดตอนเช้าด้วยครับเริ่มจากบทง่ายๆ จนพัฒนาเต็มขั้นของการสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น และทุกครั้งตอนสวดมนต์เช้าเย็นให้กล่าวคำรักษาศีลทุกครั้งเพื่อตอกย้ำตัวเราเองครับ

บางคนอาจจะมองว่าไม่จำเป็นต้องกล่าวคำรักษาศีลทุกครั้ง แต่สำหรับผมคนมีกิเลสหนาก็ต้องเอาวิธีนี้เข้าช่วยครับ เพื่อให้เข้าหัวสมองและฝังใจมากขึ้น แม้แต่สวดมนต์บางคนก็ว่าไม่จำเป็นครับก็แล้วแต่คน ผมไม่ว่ากัน แต่สำหรับผมเมื่อก่อนก็เหมือนกับคนทั่วไปที่สนใจธรรมะแต่ไม่สนใจปฏิบัติธรรม คิดว่าทำแค่นี้พอแล้ว จนเมื่อเวลาชีวิตผมเหลือน้อยลงด้วยปัญหาสุขภาพร่างกายจะตายวันตายพรุ่งก็ไม่รู้ การสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็นกลายเป็นเรื่องที่ธรรมดา

เมื่อก่อนที่ไม่เคยสวดมนต์ตอนเช้า เพราะอ้างว่าไม่มีเวลากลัวไปทำงานไม่ทัน จริงๆ แม้ไม่สวดมนต์ก็ยังไปทำงานสายเลย วิธีแก้ไขคือเราต้องรู้จักเผื่อเวลาหรือแบ่งเวลา คือ นอนให้ไวขึ้น ตื่นเช้ามากขึ้น เวลาก็ได้นอนเท่าเดิม แถมได้สวดมนต์ตอนเช้าก่อนไปทำงานด้วย และไม่ไปทำงานสายอีกต่างหาก

เมื่อศีล 5 เริ่มคุ้นชิน เริ่มไม่รู้สึกลำบากจะเริ่มเห็นพัฒนาการของจิตใจเราเองครับ ยกตัวอย่างเช่น การฆ่าสัตว์จะกลายเป็นเรื่องยาก แม้แต่การเบียดเบียนสัตว์ก็ลำบากเหมือนกัน ใจเราจะมีเมตตามากขึ้น ถ้าขนมเรากินอยู่แล้ววางทิ้งไว้แล้วมดขึ้น ถ้าเราพิจารณาใช้ปัญญาเราอาจจะยอมสละขนมนั้นให้มดไปเลยครับ เหมือนสมัยพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นเจ้าเมืองแห่งหนึ่ง ปรากฏว่ามีเจ้าเมืองข้างๆได้ยินข่าวว่าเจ้าเมืองนี้มีเมตตา ก็จะหาทางรุกรานเพราะคงได้เมืองง่ายแน่ๆ ซึ่งก็เป็นความจริงพระโพธิสัตว์ย่อมสละตำแหน่งเจ้าเมือง แถมเปิดประตูให้ศัตรูเข้ามาถึงในเมือง นี่คือความเมตตาของพระโพธิสัตว์ครับ และถ้าเป็นพวกเราจะทำได้ใหมครับ

พัฒนาการต่อมา “รักษาศีลอุโบสถทุกวันพระ” บางคนรีบบอกเลยว่า ไม่ไหวๆๆ หิวตายแน่ๆ หื่นกามแน่ๆ หน้าตาโทรมแน่ๆ รูปร่างดูโทรมแน่ๆ นอนไม่หลับแน่ๆ เมื่อก่อนผมก็คิดแบบนี้จนสุดท้ายได้ออกบรรพชาอุปสมบทช่วงสั้นๆ ก็ไม่เห็นทรมาณจนทนไม่ได้แบบที่กลัวเลยสักหน่อย เ

มื่อสึกออกมา ผมก็เลยลองฝึกถือศีลอุโบสถ(ศีล8)ทุกวันพระ ก็พอไหวอ่ะ แต่พอนานเข้าๆก็เริ่มจะขี้เกียจพอใกล้วันพระ จิตมันจะขยาดๆ แบบว่าเอาอีกแล้ว แต่พอนานเข้าก็เริ่มคุ้นกันล่ะ พอใจเริ่มท้อๆก็นึกถึงบทสวดที่เคยอ่านเจอในหนังสือสวดมนต์ว่า “ทางนี้ที่เราละเว้นตามศีล 8 ในข้อต่างๆนี้เป็นทางที่พระอรหันต์ท่านทรงเดินมาก่อน ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่งนี้เราจะละเว้นตามพระอรหันต์ท่านพาดำเนินได้ชื่อว่า เดินตามพระอรหันต์”

4.ทำสมาธิภาวนา ผมว่ามีเยอะนะครับครับที่คนสนใจธรรมะ ทำบุญทำทานรักษาศีลแต่มักไม่ค่อยนั่งสมาธิกัน ผมเองก็เป็น เหตุผลง่ายๆเลยคือ ขี้เกียจหรือความเพียรย่อน แต่สิ่งที่ผมได้จากการนั่งสมาธิคือความสงบและเป็นการฝึกขันติความอดทนของตัวเราเอง เมื่อก่อนแรกๆผมนั่งสมาธิได้ไม่เกิน 10 นาทีก็จะปวดขา ปวดน่องมาก เวทนาเกิดจนต้องเลิกนั่ง พยายามทำให้ใจสงบ แต่ยิ่งพยายามเท่าไร ใจยิ่งไม่สงบ

สุดท้ายก็จากการอ่านการฟังจากหนังสือประวัติของพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตและปฏิปทาพระธุดงค์กรรมฐานสายหลวงปู่มั่นที่เขียนโดยหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมโน ก็เริ่มมีกำลังใจในการนั่งสมาธิ เริ่มจากนั่งได้ 15 นาที ขยับทีละนิดทีละหน่อย ตอนนี้นั่งได้ 1 ชั่วโมงสบายๆ เวทนาที่เกิดขึ้นก็ไม่รุนแรง ก็ขยับขยายเวลาให้เพิ่มขึ้นตอนนี้นั่งได้ถึง 2 ชั่วโมงเป็นบางครั้ง 

สิ่งที่คนมีกิเลสหนาอย่างผมได้จากการนั่งสมาธิคือความอดทนและความสงบ การนั่งก็แล้วแต่ว่าอยากจะนั่งภาวนาอย่างเดียวหรือเปิดเทปธรรมะฟังไปด้วย แต่ถ้าเปิดซีดีธรรมะฟังไปด้วย ผมสังเกตว่า ถ้าภาวนาไปด้วยมักไม่ได้ผล ต้องฟังอย่างเดียวแต่ไม่ใช่ฟังเพื่อจำว่าท่านพูดอะไร แต่ฟังแล้วพิจารณาตามไปด้วยขณะฟัง จิตก็จะสงบไปกับธรรมะที่ฟังอยู่จนลืมเวลา ยิ่งเวลาเวทนาเกิดไปตรงกับธรรมะท่านเทศน์เรื่องเวทนา จิตจะสงบและพิจารณาได้เข้าใจและเวทนาเหมือนจะเบาลงไปชั่วขณะ แต่ไม่ถึงขั้นแยกกายกับจิตออกจากกัน

แต่ก็ไม่ทุกครั้งทึ่นั่งสมาธิแล้วจะต้องสงบทุกครั้ง เพราะอย่างที่บอกคนกิเลสหนาอย่างผมก็แค่พยายามตะเกียกตะกายปฏิบัติธรรม แค่พยายามรักษาสิ่งที่ทำอยู่ทุกวันนี้ให้เป็นปกติสุข หากข้อความที่ผมเขียนมานี้จะกระตุ้นให้ใครใคร่อยากลองปฏิบัติธรรม ฉบับฆราวาส เวอร์ชั่นเบาเบาดูบ้างก็ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ หากเห็นว่าไม่มีถูกต้องรบกวนช่วยแจ้งด้วยครับจะได้แก้ไขให้ถูกต้อง เพราะผมก็ไม่ใช่ผู้รู้ผู้วิเศษมาจากไหนก็ลูกชาวบ้านตาดำหาเช้ากินค่ำเหมือนกับคนทั่วๆไปก็มีประมาทพลาดพลั้งไป

หากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดพลาดพลั้งล่วงเกินคุณพระรัตนตรัยหรือกล่าวธรรมผิดไปจากหลักความจริงก็กราบขมาอดโทษให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
แก้ไขเมื่อ 23 ก.พ. 54 19:30:59

http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10272589/Y10272589.html

*8q*

ก่อนเกิดใครเป็นเรา
เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร

สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่
ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า

ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน
มองในสิ่งที่ไม่เห็น
ทำในสื่งที่ไม่มี   

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: การปฏิบัติธรรมสำหรับฆราวาส ฉบับเบาเบา‏
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 15, 2011, 02:06:03 pm »



อนุโมทนาสาธุค่ะ คุณครูแทน

ออฟไลน์ สายลมที่หวังดี

  • ทีมงานกัลยาณมิตร
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 840
  • พลังกัลยาณมิตร 319
    • ดูรายละเอียด
Re: การปฏิบัติธรรมสำหรับฆราวาส ฉบับเบาเบา‏
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 15, 2011, 02:12:19 pm »
อนุโมทนาค่ะ ขอบคุณนะค่ะคุณแทน :07: