ผู้เขียน หัวข้อ: ฉลอง ครบรอบ "100 ปี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช" ใน หนังฟอร์มยักษ์ อุโมงค์ผาเมือง  (อ่าน 3230 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด







ฉลอง ครบรอบ "100 ปี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช" และ "40 ปี สหมงคลฟิล์ม" เสี่ยเจียง จับมือ หม่อมน้อย อีกครั้ง ทุ่มทุนสร้างหนังฟอร์มยักษ์ อุโมงค์ผาเมือง ประชันนักแสดงชั้นนำล้นจอ!!! (สหมงคลฟิล์ม)

          หลังจากประสบความสำเร็จอย่างสูงกับภาพยนตร์รักพีเรียดสุดละเมียดเรื่อง ชั่วฟ้าดินสลาย เมื่อปีที่ผ่านมา มาในปีนี้ เสี่ยเจียง - สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ จับมือผู้กำกับชั้นครู หม่อมน้อย - ม.ล. พันธุ์เทวนพ เทวกุล อีกครั้ง พร้อมทุ่มทุนสร้างภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์เรื่อง อุโมงค์ผาเมือง เนื่องในโอกาสครบรอบ "100 ปีชาตกาลของ พลตรี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช" และ "40 ปีของบริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด" ซึ่งทั้งสองวาระได้เวียนมาครบในปี 2554 นี้




พลตรี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช



          ภาพยนตร์เรื่อง อุโมงค์ผาเมือง เป็นภาพยนตร์ย้อนยุคไปในอาณาจักรล้านนาไทยเมื่อ 700 ปีที่ผ่านมา เป็นเรื่องราวของคดีฆาตกรรมพิศวงระหว่างขุนศึกนักรบ, โจรป่า และเจ้านางผู้เลอโฉม ซึ่งดัดแปลงมาจากบทละครเวทีเรื่อง "ราโชมอน" อันเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกของ "พลตรี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช" เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองเกียรติคุณอันยิ่งใหญ่ และอัจฉริยภาพของท่านผู้เป็นปูชนียบุคคลผู้สร้างคุณูปการแก่สังคมไทย รัฐบุรุษและเอกศิลปินแห่งชาติที่ได้รับการยกย่องให้เป็น "บุคคลสำคัญของโลก" จาก องค์การยูเนสโก โดยได้ระดมทีมนักแสดงชั้นนำไม่ว่าจะเป็น อนันดา เอเวอริงแฮม, เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์, มาริโอ้ เมาเร่อ, พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง, เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา, ดอม เหตระกูล, ศักราช ฤกษ์ธำรงค์ และ รัดเกล้า อามาระดิษ มาประชันบทบาทสุดเข้มข้นล้นจอ ซึ่งหม่อมน้อยได้เผยถึงโปรเจ็คต์ใหม่ล่าสุดนี้ว่า

          "ภาพยนตร์ ใหม่ที่กำลังทำคือเรื่อง อุโมงค์ผาเมือง ซึ่งผมดัดแปลงมาจากบทละครเวทีสนุกเข้มข้นน่าติดตามของท่านคึกฤทธิ์เพื่อฉลอง ครบรอบ 100 ปีเกิดของท่าน และยังครบรอบ 40 ปีของสหมงคลฟิล์มพอดีด้วย ก็เป็นการร่วมฉลองสองวาระยิ่งใหญ่นี้ไปพร้อม ๆ กันเลย ถือเป็นโอกาสอันดีที่เสี่ยเจียงยินดีทุ่มทุนสร้าง และมอบความไว้วางใจให้ผมกำกับหนังเรื่องใหม่อีกครั้งหลังจากเพิ่งเสร็จสิ้น ชั่วฟ้าดินสลาย ไปเมื่อปีที่แล้วนี้เอง หนังเรื่องนี้ก็ได้นักแสดงชั้นดียอดฝีมือแห่งยุคมาร่วมประชันบทบาทมากมาย

          ทั้งอนันดา, พลอย เฌอมาลย์, มาริโอ้, อ๊อฟ พงษ์พัฒน์, คุณหม่ำ, ดอม เหตระกูล และยังมีอีกหลายคนที่จะมาร่วมสร้างสีสันให้กับหนังเรื่องนี้ ซึ่งรับรองได้ว่านักแสดงทุกคนจะสร้างความแปลกใหม่ และเปลี่ยนแปลงคาแร็คเตอร์อย่างที่ไม่เคยแสดงมาก่อนแน่นอน"
อุโมงค์ผาเมือง อยู่ระหว่างการถ่ายทำอย่างพิถีพิถันที่จังหวัดเชียงใหม่, เชียงราย และลำปาง เพื่อเป็นอีกหนึ่งภาพยนตร์เรื่องยิ่งใหญ่เฉลิมฉลองครบรอบ 40 ปีของค่ายสหมงคลฟิล์ม[/COLOR]

http://www.zonezeed.com/ForumId-10166-ViewForum.aspx
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด




ราโชมอน หนังญี่ปุ่นโบราณผลงานกำกับของ อากิระ คุโรซาว่า ในปี1950 เป็นหนังเรื่องนึงที่ทำให้เราต้องคิดถึงอยู่บ่อยๆ
การได้รับรู้เรื่องราวต่างๆ จากคนหลายฝ่าย บางครั้งเราตะโกนก้องในใจว่า "เอาชั้นออกไปจากวังวนของราโชมอนเดี๋ยวนี้ "
เรื่องเดียวกัน ที่ได้รับการบอกเล่าที่แตกต่างกัน เรื่องราวคนละด้าน คนละมุม จากผู้ร่วมเหตุการณ์หลายคน

ราโชมอน

เรื่องราวการตายของซามูไรคนหนึ่ง กับการให้การของโจรร้าย คนตัดไม้ วิญญานซามูไรในร่างคนทรง และหญิงสาวผู้เป็นภรรยาของซามูไร
4 พยาน ปากเอก

คนตัดไม้เป็นผู้พบศพ

อีก 3 ที่เหลือ ต่างเล่าเรื่องในมุมที่ตัวเองเป็นพระเอก นางเอก
ความดีความชอบใดๆ ล้วนอยู่ที่ตัว

สิ่งเลวหากต้องทำ นั่นก็เพราะจำเป็น

   
                                       
ภรรยาซามูไรขณะให้การต่อผู้พิพากษา

 
                                       
อีกสีหน้านึง ระวังตัว หรือโดนจับผิด

   
                                     
ต่างคนต่างให้การราวกับตัวเองเป็นพระเอก

 
                                       
ซามูไรว่า เค้าฆ่าตัวตายเองต่างหาก

 
                                       
เมื่อคนตัดไม้พบศพ

 
                                       
เมื่อพระธุดงค์ พบซามูไรและภรรยากลางป่า


                                         
สายตาแบบนี้ เชื่อได้มั้ย ?

 
                                         
ผมเป็นโจรใจงาม เชื่อเถอะ

 
                                         
ชั้นจะปกป้องศักดิ์ศรีของลูกผู้หญิง

แล้วใครกันแน่ ที่บอกเล่าเรื่องจริง หรือต่างคนต่างเล่าตามจุดประสงค์ของตนเอง
 
   
                                     
คำให้การมีทั้ง ข่มขืน ไม่ได้ข่มขืน และยินยอม
 

มันก็เหมือนหลายๆเรื่องในเหตุการณ์ปัจจุบัน
ต่างคนต่างเล่าในสิ่งที่ตัวเองอยากจะเล่า
ต่างคนต่างเล่าในสิ่งที่ตัวเองอยากให้คนอื่นเชื่อ
ต่างคนต่างเล่าในสิ่งที่ตัวเองอยากจะเชื่อ
 
จริงคือเท็จ เท็จคือจริง
จริงคือเท็จ เท็จคือจริง
จริงคือเท็จ เท็จคือจริง
 

หากไม่แยกแยะ พิจารณาอย่างรอบคอบ เราก็จะตกอยู่ในวังวนของ ราโชมอน

http://www.oknation.net/blog/pook17/2007/05/23/entry-1

Rashomon Trailer (Akira Kurosawa, 1950)
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


ผมมีโอกาสได้อ่าน “ราโชมอน” ฉบับละครเวทีที่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ท่านได้เรียบเรียงขึ้นเมื่อปี 2508 โดย “ราโชมอน” เป็นนิยายเก่าแก่ของญี่ปุ่นที่ ริวโนสุเกะ อากิตางาวะ นำมาเรียบเรียงขึ้นใหม่เมื่อต้นศตวรรษที่ 20 โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่า ราโชมอนจัดเป็นวรรณกรรมคลาสสิคเรื่องหนึ่งของโลกตะวันออกเลยก็ว่าได้ครับ

สำหรับ “Rashomon” (1950)ในภาคภาพยนตร์นั้นก็ขึ้นชั้นเป็นหนังคลาสสิคเช่นเดียวกัน ด้วยฝีมือการกำกับของจักรพรรดิแห่งโลกภาพยนตร์ญี่ปุ่นอย่าง “อากิระ คูโรซาว่า” (Akira Kurosawa) คูโรซาว่าทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความลุ่มลึกมากขึ้นเพราะแม้เรื่องราวจะเรียบง่ายแต่กลับเต็มไปด้วยมิติด้านมืดของมนุษย์

ราโชมอนของคูโรซวานั้นมี Tagline เป็นภาษาอังกฤษที่กระชับว่า The husband, the wife...or the bandit? ซึ่งถ้าท่านผู้อ่านที่เคยอ่านหนังสือหรือเคยดูภาพยนตร์เรื่องนี้มาแล้วย่อมเข้าใจความหมายคำโปรยของหนังเรื่องนี้ดีครับ

หนังเรื่องนี้มีท้องเรื่องอยู่ที่ญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 12 โดยคูโรซาวาเลือกที่จะเปิดบทหนังด้วยบทสนทนาระหว่างพระกับคนตัดฟืน ซึ่งทั้งคู่กำลังติดฝนอยู่ในวัดร้างแห่งหนึ่ง ใกล้ประตูราโชมอนหรือแปลเป็นไทยได้ว่า “ประตูผี” นั่นเอง

จากนั้นก็มีชาวบ้านคนหนึ่งซึ่งในหนังสือของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ใช้ว่า “คนทำช้อง” เข้ามาร่วมแจมด้วย โดยระหว่างรอฝนหยุดตกนั้นทั้งสามได้พูดถึงเรื่อง การตายของซามูไรคนหนึ่ง และการจับมหาโจรอย่าง “โทโจมารุ”ได้ รวมไปถึงเรื่องของเมียซามูไรผู้ตายนั้น

จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้ใช้ตัวละครไม่มากเลยครับ แต่จุดเด่นกลับอยู่ที่บทสนทนาของตัวละครซึ่งจะว่าไปแล้วมันสะท้อนให้เห็นความคิดของมนุษย์เราได้ดี

ตามธรรมเนียมเดิมครับ, ผมขออนุญาตไม่เล่ารายละเอียดมากไปกว่านี้เนื่องจากเกรงจะเสียอรรถรสในการชมหรือการอ่าน อย่างไรก็ตามผมว่าประเด็นที่น่าสนใจใน “ราโชมอน” นั้นอยู่ที่ความอ่อนแอของมนุษย์เราที่จะพูด “ความจริง” หากความจริงนั้นไม่เป็นประโยชน์กับเรา หากความจริงนั้นอาจทำให้เราต้องเดือดร้อน หรือ หากความจริงนั้นจะกลับมาทำร้ายเราภายหลัง ด้วยเหตุนี้เองที่คูโรซาว่าได้ชำแหละถึงด้านมืดของความเป็นมนุษย์ออกมาให้เห็นผ่านบทสนทนาของตัวละครทั้งหมด

คูโรซาวาใช้เทคนิคที่ชาญฉลาดในการถ่ายทำโดยให้ตัวละครแต่ละคนเล่าเรื่องของตัวเองเหมือนกำลังจะสารภาพอะไรบางอย่างกับคนดูตัดสิน โดยใช้กล้องจับไปที่ใบหน้าของตัวละคร ทำให้รู้สึกได้ว่าเขากำลังพูดอยู่กับเราสองต่อสอง

ผมเชื่อว่าตัวละครทุกคนในเรื่องมีเหตุผลของการเล่าเรื่องลวงซึ่งแตกต่างกันไป หรือ บางทีเรื่องนั้นอาจจะเป็นเรื่องจริงก็ได้ซึ่งคูโรซาวาแกก็ไม่ได้เฉลยหมดว่าความจริงมันคืออะไร

มหาโจรอย่างโทโจมารุก็ย่อมมีเหตุผลในการเล่าเรื่องของตัวเองให้ดูยิ่งใหญ่ เก่งกาจ น่าเกรงขาม ซามูไรผู้ตายก็ยังอุตส่าห์เข้าร่างทรงมาเล่าเรื่องของการตายของตัวเองให้ดูมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี เมียซามูไรก็ต้องพยายามชี้ให้เห็นถึงเหตุผลว่าทำไมตนเองถึงตกอยู่ในสภาพ “หนึ่งหญิงสองชาย” ขณะที่คนนอกอย่างคนตัดฟืนซึ่งคูโรซาว่าต้องการจะให้เป็นคนเฉลยเรื่องนี้นั้นก็ยังเล่าความจริงที่ตนเองเห็นแบบกั๊กๆ ซึ่งจนแล้วจนรอดก็ดูเหมือนพี่แกจะพูดความจริงออกมาไม่หมดโดยเล่าแต่เรื่องที่จะไม่ทำให้ตัวเองเดือดร้อนภายหลัง

จะว่าไปแล้วการไม่พูดความจริงเนี่ยมันมีหลายระดับดีนะครับตั้งแต่ “อำ” “โกหก” “ขี้ตู่” ขี้ตั๊ว” “ขี้ฮก” “โป้ปดมดเท็จ” ไปจนกระทั่ง ตอ...อะไรทั้งหลายนั้นล้วนแล้วแต่เป็นด้านมืดของมนุษย์เราทุกคนเลยก็ว่าได้ซึ่งไม่จำกัดเพศ ชนชั้น หรือ ชาติพันธุ์

เพียงแต่เราจะกล่าวสิ่งเหล่านั้นได้อย่างแนบเนียนหรือถูกที่ถูกเวลาหรือเปล่า ยกตัวอย่างเช่น คำว่า “อำ” กับ “โป้ปดมดเท็จ” นั้น ถูกนำมาใช้คนละบริบทกันเลย อำนั้นให้อารมณ์ขำๆสนุกๆ แต่โป้ปดมดเท็จนั้นแสดงให้เห็นถึงความชั่วช้าสามานย์ทั้งที่มันก็อยู่ในตระกูล “โกหก”เหมือนกัน

ในทฤษฎีเกม (Game theory)ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาคนั้น มีเกมหนึ่งที่ชื่อว่า Prisoner Dilemma หรือเกมที่คิดขึ้นเพื่อป้องกันการฮั้วของคนสองคน ซึ่งเกมนี้ได้กลายเป็นเครื่องมือของตำรวจในการแยกสอบปากคำคนร้ายเพื่อเค้นความจริงออกมาโดยใช้ “ขนาดของการลงโทษและความไม่เชื่อใจกันของคนร้ายเวลาแยกสอบปากคำ”เป็นกลไกในการสอบสวน

คนบางคนโกหกจนลืมไปแล้วว่าตัวเองเคยโกหกอะไรไว้บ้าง คนบางคนพยายามปกปิดเรื่องที่ตัวเองโกหกคนอื่นและพยายามหาเหตุผลมากลบเกลื่อนหักล้างแต่จนแล้วจนรอด “ความจริงก็คือความจริง” ความจริงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นความเท็จได้

พูดถึงเรื่องนี้ ทำให้ผมนึกถึงหนังอีกเรื่องหนึ่งที่กล่าวถึงประเด็นการโกหกได้ดีมากๆ นั่นคือ Infernal Affairs (2002) ของ แอนดรูว์ เลา (Andrew Lau ) และ อลัน มัก (Alan Mak) ครับ หนังกล่าวถึง โจรปลอมตัวมาเป็นตำรวจ และ ตำรวจก็ปลอมตัวไปเป็นโจร ผมชอบหนังเรื่องนี้ครับเนื่องจากเป็นหนังมาเฟียที่ว่ากันว่าดีที่สุดเรื่องหนึ่งไม่แพ้ The God Father เลยทีเดียว

ยิ่งดูหนังเรื่องนี้มากครั้งเท่าไร ผมยิ่งเห็นใจ “อาหมิง”ที่แสดงโดยพี่หลิวเต๋อหัว ซึ่งโกหกทุกคนมาตลอดตั้งแต่ภาคแรกยันภาคสุดท้าย พูดง่ายๆ คือ “โกหกมาทั้งชีวิต” จนท้ายที่สุดแล้วแกก็ไม่สามารถโกหกตัวเองได้อีกต่อไป ดูเหมือนว่ายิ่งโกหกมากขึ้นเท่าไร ยิ่งกลายเป็นนิสัยและสันดานไปในที่สุด และวันหนึ่งเราอาจจะมองเห็นตนเองในสายตาที่แปลกไปเพราะเราจะไม่มีวันรู้ว่าตัวตนที่แท้ของเรานั้นเป็นใครกันแน่

กลับมาที่ “ราโชมอน” ต่อครับ, ทุกวันนี้เหตุการณ์แบบราโชมอนมีอยู่ให้เห็นเต็มไปหมดตั้งแต่บนโรงพัก ในชั้นศาล งานการเมือง แม้กระทั่งวงการบันเทิงก็ยังเล่นราโชมอนกันเลย

อย่างที่ผมเรียนไปตอนต้นแล้วว่าจุดเด่นของหนังเรื่องนี้อยู่ที่บทพูด ด้วยเหตุนี้เองบทพูดหลายตอนนั้นมีความน่าประทับใจมาก แม้จะเป็นบทง่ายๆแต่มันกลับมีความลึกซึ้งอยู่ภายในตัวเองอย่างที่คนทำช้องพูดไว้ว่า “มนุษย์ชอบโกหก ผู้คนเขาไม่พูดความจริงกันหรอก” ซึ่งบทภาษาอังกฤษบอกไว้อย่างนี้ครับว่า “No one tells a lie after he's said he's going to tell one”หรือลองอีกประโยคมั๊ยครับ “It's human to lie. Most of the time we can't even be honest with ourselves.” จะเห็นได้ว่าทัศนะการมองโลกของตาคนทำช้องนั้นดูจะขวางกับความคิดเชิงอุดมคติซึ่งต่างจากตัวละครอย่างพระโดยสิ้นเชิง แต่ก็ดูเหมือนสิ่งที่ตาคนนี้พูดมันก็มีส่วนถูกบ้างไม่ใช่หรือครับ เพราะไม่งั้นแกจะไม่พูดประโยคอย่าง “Maybe goodness is just make-believe.” ท่านผู้อ่านเห็นว่ายังไงครับที่ “บางทีความดีก็เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างกันขึ้นมาเองทั้งนั้น”

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=160014
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...