ผู้เขียน หัวข้อ: นิทานเซน : ว่าด้วยการหาความสงบในจิตใจ  (อ่าน 1925 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ว่าด้วยการหาความสงบในจิตใจ

เมื่อข้าศึกรุกเข้ามาได้ถึงตัวเมืองพระสงฆ์ในวัดก็หนี เข้าป่าไปหมด
เหลือแต่เจ้าอาวาสองค์เดียว เมื่อแม่ทัพมาถึงวัด
ก็รู้สึกขัดเคืองที่เจ้าอาวาสไม่แสดงอาการหวาดกลัว เขาตวาดว่า

“ท่านไม่รู้หรือว่า กำลังเผชิญหน้ากับผู้ที่สามารถฟันท่านขาดสองท่อน
ได้โดยไม่ต้องกระพริบตา”

เจ้าอาวาสตอบอย่างสงบว่า

“และท่านกำลังเผชิญหน้ากับผู้ที่สามารถถูกฟันขาดสองท่อนได้
โดยไม่ต้องกระพริบตา”

แม่ทัพจ้องดูเจ้าอาวาส ทำความเคารพ และกลับออกไปอย่างสงบ

ความสงบทางจิตวิญญาณ เป็นความสงบที่ปราศจากความกลัวใดๆ
ปราศจากการมีอัตตา การสงบทางจิตวิญญาณ
จะเกิดขึ้นได้ ด้วยการฝึกฝนจิตจนเกิดปัญญาเห็นแจ้งใน ไตรลักษณ์






พระพุทธเจ้าแนะอุบายทำให้จิตสงบ หรือกถาวัตถุ ๑๐ ประการ ดังนี้

   1. มักน้อย  เมื่อมักน้อยแล้วจิตจะนิ่งง่าย  เพราะสิ่งกระทบใจให้เกิดความโลภ  โกรธ  หลงลดน้อยลง
   2. สันโดษ  หากต้องการให้จิตสงบต้องสันโดษ  คือ  รู้จักพอใจในสิ่งที่ตนเป็น  ตนมี  ตนได้รับ  แล้วจิตจะสงบ  มีความสุข  ไม่ว้าวุ่น และไม่ดิ้นรน
   3. ความสงัด  พยายามหาโอกาสอยู่ในที่ที่สงบเงียบ สงัดกายสงัดใจ  เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติ  แล้วจะทำให้จิตสงบได้ง่ายขึ้น
   4. ปลีกตัวออกจากหมู่คณะ  หากต้องการประพฤติปฏิบัติธรรมให้ได้มรรคผลก้าวหน้าจึงต้องพยายามปลีกตัวอยู่ ห่างจากหมู่คณะ  เพื่อจะได้ไม่ต้องพูดคุยและทำในเรื่องที่ไร้สาระ  กระตุ้นให้เกิดกิเลสตัณหาที่จะทำให้ จิตสงบยาก
   5. ความเพียร  หากต้องการให้จิตสงบเพื่อความก้าวหน้าในมรรคผล ต้องเจริญความเพียรให้มาก เพราะความเพียรเป็นตัวการสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จทุกประเภท

   6. ศีล   ศีลเป็นพื้นฐานของความสงบนิ่งของกายและใจและเป็นปกติของจิต
   7. สมาธิ  เพื่อให้จิตสงบนิ่ง และนำสมาธิไปใช้ให้เกิดประโยชน์และเกื้อกูลต่อการประพฤติปฏิบัติ
   8. ปัญญา  เมื่อเกิดสมาธิขึ้นแล้วต้องรู้จักนำปัญญาที่เกิดจากสมาธิมาพิจารณาสิ่งกระทบ จนปัญญาญาณเห็นแจ้งเกิด  เพื่อให้จิตปล่อยวางสิ่งที่เป็นอนัตตา  ไม่มีตัวตน  และสงบนิ่งอย่างแท้จริงด้วยอุเบกขา
   9. ความหลุดพ้น  เมื่อปฏิบัติแล้วต้องโยนิโสมนสิการจนกระทั่งจิตสามารถเห็นแจ้งถึงความไม่ เที่ยง  เป็นทุกข์  และเป็นอนัตตาของสรรพสิ่ง  แล้วความหลุดพ้นจากสิ่งเศร้าหมองคือ กิเลสใหญ่ทั้ง 3  ตัว คือ  โลภ  โกรธ  หลง  จึงจะเกิด  และสามารถนำจิตพ้นไปจากกิเลสที่เหลือได้
  10. ความรู้ความเห็นว่าหลุดพ้น  โดยการพิสูจน์ด้วยการประพฤติปฏิบัติจนเห็นจริงด้วยตัวเอง

        อุบายทั้ง  10  นี้จึงเป็นสิ่งที่เราควรจะนำไปประพฤติปฏิบัติเพื่อสร้างความสงบให้เกิดขึ้น แก่ใจ  ไม่ต้องหาความสงบนอกกายอีกต่อไป

   
   



โดย ดร.อภิวรรณ รัตนิน สายประดิษฐ์
(aphivan@gmail.com)
http://www.pendulumthai.com/nitantham_main.html
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ