ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องของใจ (พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร )  (อ่าน 2879 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




เรื่องของใจ
(พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร)

   ใจเป็นอย่างไรล่ะ. ใจผู้ร้ายนักโทษก็มี. ใจทุกข์ใจยาก, ใจสัตว์เดรัจฉาน, ใจผีนรกก็มี. ใจพระอินทร์พระพรหมก็มี. ใจท้าวพระยามหากษัตริย์, ใจเศรษฐีคหบดี, ใจคนสวยคนงาม, คนมั่งมีศรีสุข, คน ที่ไม่ทุกข์ไม่จนก็มี. ใจนายร้อยนายพันนายพลจอมพลก็มี. ใจมันเป็นได้ทั้งนั้น. จะว่าอย่างไรล่ะ. เลือกดูสิ. พวกเรามานี่อยากได้อะไรล่ะ. ศาสนาเป็นอย่างนี้. พระพุทธเจ้าท่านเทศนาว่าด้วยที่พึ่งของเรา. ตัวเราก็ได้บวชได้ฟัง. การบวชเราได้รับศีล, ท่านก็ได้บอกแล้วว่าอะไรเป็นที่พึ่งของเรา. ไม่ได้บอกอื่น. ท่านไม่ได้บอกว่า “ข้าวของเงินทองสรณังคัจฉามิ”, “พ่อแม่พี่น้องสรณังคัจฉามิ”, “ตึกร้านอาคารสรณังคัจฉามิ”. ไม่มีใครเคยรับอย่างนั้นไม่ใช่เรอะ.

   มีแต่ “พุทธัง สรณัง คัจฉามิ”, “ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ”, “สังฆัง สรณัง คัจฉามิ”, เท่านี้ไม่ใช่เรอะ. ทีนี้ “ทุติยัมปิ” ก็เป็นรอบสอง. “ตติยัมปิ” ก็เป็นรอบสาม. “สรณะ คมะนัง นิฏฐิตัง” ก็ หมด. เท่านี้เป็นที่พึ่งของเรา. นอกนั้นไม่มี. พึ่งนั่นพึ่งนี่ก็ไม่ได้. ข้าวของเงินทองตึกร้านอาคารก็พึ่งไม่ได้. บิดามารดาปู่ย่าตายายก็พึ่งไม่ได้. ข้าวน้ำโภชนาหารก็พึ่งไม่ได้. นับประสาอะไร, ตาหูจมูกแม้ตัวเราเองก็พึ่งไม่ได้. ขาดพระพุทธเจ้าองค์เดียวพึ่งไม่ได้. ขาด “พุทโธ” พระพุทธเจ้าองค์เดียวพึ่งอะไรได้เล่า. ทำไมเล่าพึ่งไม่ได้. ไม่มี “พุทธะ” ก็พึ่งไม่ได้. พุทธะแปลว่า “รู้”. ไม่ มีความรู้พึ่งอะไรได้ล่ะ. เราทำอะไรได้ก็พึ่งได้. เราปฏิบัติไม่ได้ก็พึ่งไม่ได้. อยากได้ก็ไม่ได้. เราไม่ได้ปฏิบัติไว้. ทำไมพึ่งไม่ได้เล่า. พุทธะคือความรู้, ไม่มีความรู้ก็พึ่งไม่ได้. อุปมาเหมือนคนตาย. เคยเห็นคนตายไหม. คนตายทำอะไรได้. พึ่งอะไรไม่ได้เพราะไม่มีพุทธะ. เข้าใจไว้ข้อนี้. ขาดพระพุทธเจ้าองค์เดียว. ตาก็มีอยู่. หูก็มีอยู่. ปากก็มีอยู่. หูก็คือหูกะทะ. ปากก็คือปากตะกร้า, อย่างนี้. ว่ายังไงล่ะ. ทำอะไรเป็น. นี่แหล่ะพุทโธ. จำได้หรือยัง.

   พุทโธ, ธัมโม, สัง โฆเป็นที่พึ่งของเรา. เราท่านทั้งหลายอยากได้บุญได้กุศล. มานี่รู้จักบุญหรือยัง. ได้บุญหรือยัง. เห็นบุญหรือยัง. ไม่รู้เลยรึ. มาไกลแสนไกล. เหนื่อยยากลำบาก. มาแล้วไม่รู้จักบุญจะเอาบุญตรงไหนเล่า. บุญอยู่กับศาลานี้หรือ, อยู่กับป่านี้หรือ. ยังไม่ได้หรือนี่. ต้องโอปะนะยิโกซิ. น้อมเข้าภายในตน. ปัจจัตตัง, รู้เฉพาะตน. บุญเป็นอย่างนี้. ลักษณะของบุญคือใจเราดี, ใจเรามีความสุข, ใจเรามีความสบายเย็นอกเย็นใจ, ไม่ ทุกข์ไม่ร้อนไม่วุ่นไม่วาย. นี่แหล่ะบุญ. มีหรือยัง. ใจเราดีหรือยัง. ดูที่ใจของเรา. ใจไม่ดีจะเฮ็ดได้บุญยังไหง. ใจดีหรือยังล่ะ. ดูซี่. ดูใจของเราเองซี่. เอ้าต่อไปนี้ฟังธรรม. อย่าฟังแต่เสียงนะ, ฟังที่ต้นของมัน. เอ้าฟังธรรม.

   นั่งฟังธรรมเอาบุญเอากุศล, เรามานั่งตรวจดูบุญของเรา. เอ้า...นั่งให้สะบ๊ายสะบายๆ. เอาขาขวาทับขาซ้าย, มือขวาทับมือซ้าย. ตั้งกายให้ตรง. วางท่าสง่าผ่าเผยยิ้มแย้มแจ่มใส. เมื่อกายของเราสบายแล้วระลึกถึงที่พึ่งของเรา. คือคุณพระพุทธ, คุณพระธรรม, คุณพระอริยสงฆ์เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก, ที่กราบที่ไหว้ที่สักการบูชา. ให้ระลึกว่าพระพุทธเจ้าอยู่ในใจ, พระธรรมอยู่ในใจ, พระอริยสงฆ์อยู่ในใจ. เชื่อมั่นอย่างนั้นแล้วนึกคำบริกรรมว่า “พุทโธ”, ธัมโม, สังโฆ. พุทโธ , ธัมโม, สังโฆ. พุทโธ, ธัมโม, สังโฆ.”. สามหนแล้วให้รวมเป็น “พุทโธพุทโธ” อย่างเดียว.

   หลับตา, งับปากเสีย. ระลึกเอาในใจ. “พุทโธ” คือความรู้. ระลึกเข้าไปในใจ. ลิ้นก็ไม่กระดุกกระดิก. ระลึกเอาในใจของเรา. “พุทโธ” คือความรู้อยู่ตรงไหนแล้วตั้งสติไว้ตรงนั้น, ตา ที่เพ่งดูที่ตรงนั้น. หูก็ฟังไปที่ตรงนั้น. ดูเพื่อเหตุใดฟังเพื่อเหตุใด. เราอยากได้ยินเราอยากรู้เราอยากเห็นว่าบุญกุศลมันเป็นยังไง. บาปมันเป็นยังไง. สุขมันเป็นยังไง. ทุกข์มันเป็นยังไง. นี่เราอยากรู้. เรามาทำบุญ. ได้บุญหรือยัง. ให้ดู. จิตของเรานี่แหล่ะคือพุทธะผู้รู้. พากันกำหนด, รู้ว่าผู้รู้อยู่ตรงไหนแล้วตั้งสติตรงนั้น, เพ่งดูไปตรงนั้น. พอจิตสงบดี, มีความสุขความสบาย, เย็น อกเย็นใจไม่ทุกข์ไม่ร้อนไม่วุ่นไม่วายสะบ๊าย. นี่นำความสุขความเจริญมาให้ในปัจจุบันและในเบื้องหน้า. ดูที่จิตของเรา.อย่างนี้แหล่ะ. เรามานี่ก็ต้องการความสุขความเจริญ. ต้องการความสุขความสบาย, เป็นอย่างนี้. เหตุนั้นไม่ใช่อื่นสุขไม่ใช่อื่นสบาย. นอกจากจิตของเราสุขจิตของเราสบาย. ฟังดูซิ. ฟังกันให้พึงรู้ให้พึงเข้าใจซิพวกเราทั้งหลาย. นี่มันเป็นอย่างนี้.

  อกุศลเป็นยังไง. คือจิตมันไม่สงบ, จิต มันไม่ดี. จิตไม่ดีมันก็ทุกข์ยากวุ่นวายเดือดร้อน. นี่แหล่ะนำสัตว์ทั้งหลายตกทุกข์ได้ยากในปัจจุบันและเบื้องหน้า. พากันพิจารณาดูซิ. มีบางคนทำอะไรๆขาดทุนขาดรอนเป็นหนี้เป็นสินกันเพราะเหตุใด. บางคนทำงานทำการก็ไม่ดี, หาอะไรก็ไม่ดี. เพราะอะไร. ดูซิ. มันไม่ดีตรงไหนเล่า. นี่แหล่ะคนทั้งหลายเป็นอย่างนี้. บ้านเมืองก็ไม่ดี. วุ่นวาย. ดูซี่ดินฟ้าอากาศภูเขาเหล่ากอเขาก็ไม่ได้มีอะไร. นั่งดูซี. นั่น. เราทำมาหากินอะไรก็ขาดทุนขาดรอน. หาอะไรก็ทุกข์ยากลำบาก. อะไรทุกข์อะไรยาก. ข้าวของเงินทองหรือ. อะไรทุกข์อะไรยาก. ให้นั่งดูซี. แต่ก่อนเราไม่มีโอกาสจัดทำบุญทำกุศล. เวลานี้เราทำได้เต็มที่เต็มเม็ดเต็มหน่วย. ดูซีมันขัดเขินอะไร. ขาดตกบกพร่องสิ่งใด. ให้หัดตรวจน้ำใจของเราดูซี่. การที่ขาดทุนขาดรอนก็เพราะอันนี้,

   คือจิตของเราไม่ดี. เมื่อจิตของเราไม่ดีก็ทุกข์ยากวุ่นวายเดือดร้อน. เมื่อจิตเป็นอย่างนี้ก็ทำให้ขาดทุนขาดรอน. เมื่อจิตไม่ดี, ทำอะไรก็ไม่ดี, หาอะไรก็ไม่ดี, การงานก็ไม่ดี. ทำมาหากินอะไรก็ไม่ดี, ราชการก็ไม่ดี, ค้าขายก็ไม่ดี, ครอบครัวก็ไม่ดี, ชาวบ้านร้านตลาดประเทศชาติก็ไม่ดี. จิตเราไม่ดีเท่านี้, ดูซิ, ภรรยาสามีก็ทะเลาะกัน, จิตไม่ดี. ว่ายังไงล่ะ. ดูซิ. ดูให้รู้จัก. นี่แหล่ะมันเป็นเพราะเหตุนี้. ให้ดูซี่ เมื่อจิตไม่ดีแล้วล่ะ, ให้รู้จักนึก “พุทโธ พุทโธ” ตัดเสีย. ทีนี้ความสุขความเจริญเป็นอย่างไรเล่า. จิตเราดีมีความสุขความสบาย, เย็นอกเย็นใจ, ไม่ทุกข์ไม่ร้อนไม่วุ่นไม่วาย. นี่, ทำความสุขความเจริญให้, เมื่อจิตเราดีทำอะไรก็ดี, ค้าขายก็ดี, ทำมาหากินก็ดี, เล่าเรียนก็ดี, ทำมาหาอะไรก็ดี, ครอบครัวก็ดี, ชาวบ้านร้านตลาดประเทศชาติก็ดี, เป็นอย่างนี้แหล่ะ, ให้พากันรู้จัก. เมื่อจิตเราดีคิดดีก็เป็นสุข, นั่งเป็นสุข, นอนเป็นสุข, เดินเป็นสุข, ยืนเป็นสุข. จิตสุขจิตสบาย. เมื่อจิตสบายแล้ว, ทำอะไรก็สบาย, หาอะไรก็สบาย, เอาอะไรก็สบาย, ค้าขายก็สบาย, ราชการก็สบาย, ครอบครัวก็สบาย, พ่อแม่พี่น้องก็สบาย, ชาวบ้านร้านตลาดก็สบาย, ประเทศชาติก็สบาย. ดูซี่. ว่ายังไงเล่าพวกเรา.

   เอ้า ต่อไปนี้ต่างคนต่างเพ่งเล็งดูหัวใจของเรา. จะอธิบายมากกว่านี้ก็จะเกินไป. นี่แหล่ะที่เราว่าเป็นกรรมอันโน้นเป็นกรรมอันนี้. บางคนเจ็บตรงนั้นปวดตรงนี้เพราะเหตุใด. เราอยากจะหายไหมล่ะต่อไปนี้. เมื่ออยากจะหายก็ให้พากันมานั่งสมาธิตรงนี้. ทำใจให้สงบ. เมื่อใจสงบแล้ว, ใจเราดีแล้ว, โรคภัยมันก็หายหมด. หายโรคหายภัย, หายเสนียดหายจัญไร, หายโทษหายความตรอม, หายความทุกข์ความจน. หายหมดจนความอดความอยาก, เพราะเราได้ว่า “พุทโธ” คือใจเราเบิกบาน, คือใจเราสว่างไสว. “พุทโธ” ใจผ่องใสสะอาดปราศจากทุกข์ปราศจากโทษปราศจากภัย. ต่อไปต่างคนต่างนั่งกันเข้า, เพ่งเล็งดูหัวใจ. จับสัญญาไว้. ได้ยินเสียงอะไรก็ตาม, รู้ ว่าสิ่งนั้นไม่เป็นอันตรายแล้วก็ไม่ต้องเดือดร้อน. เราก็ทำใจให้สบาย. บางคนมีกรรมอันนั้นกรรมอันนี้. กรรมนั่นมาจากไหน. กรรมไม่ได้มาจากฟ้าอากาศต้นไม้ภูเขาเหล่ากอ. กรรมก็มาจากการกระทำ จากคำพูด จากความคิดนึก เป็นกายกรรมวจีกรรมมโนกรรม. ก็เกิดจากใจเรานี่แหล่ะ.




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 25, 2013, 10:59:23 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องของใจ (พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร )
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 27, 2011, 10:47:21 pm »



เพราะ ฉะนั้น เราต้องตรวจในดวงใจเรานี่ก่อน. ไม่ยังงั้นเราไม่รู้จักแก้. กรรมเก่ามันยังไม่หมด. กรรมใหม่ก็ต่อเรื่อยไป. เมื่อระงับกรรมก็นำให้จิตของเราสงบนิ่งเฉยอยู่, ไม่ส่งไปข้างหน้าไปข้างซ้ายข้างขวาข้างบนข้างล่าง. คงแต่ความรู้, พิจารณาว่ามันดีหรือไม่ดี. มันข้องตรงไหนมันคาตรงไหน, ขาดตกบกพร่องตรงไหนเล่า. เราก็ชำระสะสางต่อไป. นี่เป็นข้อปฏิบัติให้เข้าถึงศีลถึงธรรม, ให้เข้าถึงศาสนา. ศาสนาเป็นเครื่องแก้ทุกข์, ศาสนา มีไว้สำหรับทุกข์. ทีนี้มันทุกข์มาจากไหนเล่า. เราต้องฟังดูวัดดูให้เห็นทุกข์.ใจของเราทุกข์. ทุกข์เพราะเหตุใด. ทุกข์เพราะหลง. ใจเราไม่สงบก็เป็นทุกข์. ใจเราไม่ดีมันก็เป็นทุกข์.

เพราะ เหตุนี้ต้องรู้ไว้ให้ถึงต้นของมัน. อุปมาอุปมัยเหมือนกับชาวสวนเขาทำสวน. เขาต้องบำรุงต้นไม้. ใส่ปุ๋ยต้นไม้. รดน้ำให้ต้นมัน. ถ้าต้นมันดีแล้ว, ปลายไม่ต้องไปบอกไปบังคับมัน, ผลิ ดอกออกผลดี. ต้นมันดีผลมันก็ดกหนา. นี่แหล่ะอุปมาไว้ให้เห็น. ถ้าต้นมันไม่ดีแล้วมันก็ไม่มีดอกไม่มีผล. อย่างนี้ฉันใดใจของเราก็ฉันนั้น. ใจของเราดีแล้วทำอะไรมันก็ดี, หาอะไรมันก็ดี, เอา อะไรมันก็ดี. สงสัยไหมล่ะข้อนี้. ดูว่ามันดีหรือยัง. ถ้าไม่ดีเราก็ไม่ได้บุญ. ให้รู้จักไว้. ต่อไปเราจะได้ไม่พากันงมงาย. พากันประพฤติพากันปฏิบัติ. เมื่อใจเราดีแล้วทำอะไรมันก็ดี, หาอะไรมันก็ดี, การงานเราก็ดี, เหมือน อธิบายให้ฟังแล้ว. ครอบครัวเราก็ดี. พี่น้องเราก็ดี. บ้านเมืองประเทศชาติเราก็ดี. ไม่วุ่นวายเดือดร้อน. พูดอะไรก็เข้าใจกัน. นี่พวกเราทั้งหลายอยากได้ไหมความวุ่นวายเดือดร้อน. อยากได้ไหมสิ่งที่ดี. สิ่งไหนไม่ดีแล้ว, รวมพูดสั้นๆคือใจเราไม่ดี, เมื่อใจเราไม่ดี, ทำอะไรก็ไม่ดี, การงานก็ไม่ดี, เคยอธิบายให้ฟังแล้ว. ครอบครัวก็ไม่ดี. พี่น้องก็ไม่ดี. ชาวบ้านร้านตลาดตลอดจนประเทศชาติก็วุ่นวาย, ก็เพราะหัวใจคนไม่ดีเหล่านี้.

                       

นอกจากนั้น เราจะมาทำบุญทำกุศล, ทำคุณงามความดี, ให้เราได้รับความสุขได้รับความสบาย. เมื่อจิตของเราได้รับความสุขความสบายแล้ว, มันก็ไม่มีเรื่องไม่มีอะไร. บ้านเมืองของเราก็สงบเยือกเย็นดี. นี่แหล่ะให้พากันเรียนรู้ให้ถึงใจเข้าใจ. ถ้าเราดีแล้ว, คนอื่นไม่ดีก็ตาม, คนเราทั้งหลายทั้งหมด, ใครๆแม้สัตว์ตัวแดงแมงตัวน้อยก็ต้องการความดี, ผู้ประพฤติไม่ดี ทำไม่ดีมันอยู่ไม่ได้, ก็เพราะความดีนี่แล้ว. เรื่องมันเป็นยังงั้น. ทีนี้ผู้จะทำลายคนที่ดีแล้ว, มันก็ต้องฉิบหาย, ผู้ทำลายนั่นแหล่ะ. เมื่อประเทศเราต่างคนมีศีลมีธรรมต่างคนต่างมีบุญมีกุศล, ต่างคนต่างมีสุข ใจสุขใจสบายแล้ว , ความชั่วมันก็สลายไปเอง. อุปมาเหมือนกับเราจุดไฟความมืดมันก็หายไปเอง. พวกมิจฉาชีพที่มันนำเอาประเทศอื่นมาทำลายเรา, ธรณีจะสูบชิบ. ดูเอาซี. เราก็ถือพระพุทธเจ้าเป็นสรณะที่พึ่งแล้ว, ไปเอาสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งที่ระลึก, แล้วก็ดีแต่จะปฏิวัติบังคับกันอยู่มันจะได้เรอะ. ผู้ใดเบียดเบียนพระพุทธเจ้าแล้ว, ธรณีสูบจริง. นี่ก็ฉันใด, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลกมีอยู่แล้ว, คือ พระพุทธ คือพระธรรม คือพระสงฆ์ . เหล่านี้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และมีอำนาจ.

ในสามโลกนี้พระพุทธเจ้าเป็นใหญ่กว่าหมด. สัพพะพุทธานุภาเวนะ พระพุทธเจ้ามีอำนาจ. สัพพะธัมมานุภาเวนะ พระธรรมมีอานุภาพ. สัพพะสังฆานุภาเวนะ พระอริยสงฆ์มีอานุภาพ. แน่ะ, พิจารณาดูซี่พวกเราทั้งหลาย. ให้เป็นผู้เข้าใจซี่. พุทโธ เม นาโถ, ธัมโม เม นาโถ. นาโถ นาถะคือที่พึ่งอันใหญ่, ไม่เห็นอันอื่นใดมีอานุภาพยิ่งกว่า. นัตถิ เม สรณัง อัญญัง, ที่ พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี. ในสามโลกไม่มีอะไรอื่นจะพึ่งได้. มีแต่พระพุทธเจ้านี่แหล่ะเป็นที่พึ่งอันประเสริฐ. พุทโธ เม สรณัง วรัง. มีแต่พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์นี่แหล่ะเป็นที่พึ่งอันประเสริฐ. เมื่อท่านทั้งหลายได้พากันสดับในโอวาทานุศาสนีย์พระธรรมคำสั่งสอนของพระ พุทธเจ้าอันได้นำมาชี้แจงแสดงให้เห็นเท่านี้พอเป็นข้อปฏิบัติ, รู้หัวข้อใจความในพระพุทธศาสนาแล้ว, เห็นว่ากายกับใจนี้เป็นที่ตั้งแห่งพระพุทธศาสนา, เป็นที่ตั้งแห่งมรรคและผล. เมื่อท่านได้ยินได้ฟัง, กระทำโยนิโสมนสิการ, พากันกำหนดจดจำไว้, แล้วนำไปประพฤติปฏิบัติ, ฝึกหัดตนของตนให้เป็นไปในธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, ให้ได้ผลที่สุดคืออัปปมาทธรรมได้แก่ความไม่ประมาท เมื่อท่านทั้งหลายมีความไม่ประมาทแล้ว, แต่นี้ต่อไปท่านทั้งหลายก็จะประสบแต่ความสุขความเจริญ. เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้.


จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง.




ขอบพระคุณที่มาจาก : http://konjaiboon.thde.com/-View.php?N=20
นำมาแบ่งปันโดย.. miracle of love
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 25, 2013, 10:39:49 am โดย ฐิตา »