ออฟฟิศซินโดรม ภัยเงียบสาวทำงาน
หาก คุณเป็นคนหนึ่งที่ไปทำงานก่อนสัมผัสแดดเช้าและกลับบ้านเมื่อตะวันตกดิน ใช้ชีวิตทั้งวันอยู่ในห้องปรับอากาศ ต้องนั่งอยู่ที่โต๊ะทำงาน หน้าคอมพิวเตอร์ หรือนั่งในห้องประชุมเป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ยืดเส้นยืดสาย คุณมีความเสี่ยงสูงต่อโรคออฟฟิศซินโดรม ที่มักมีอาการเหล่านี้
ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดคอ ปวดข้อมือและข้อนิ้วมือ หมอนรองกระดูกเคลื่อน
ปวดตา เคืองตา คันตา ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน ตาแห้ง น้ำตาไหล ตากระตุก
ปวดศีรษะ สมองตื้อ มึนงง
บมจ.ฟรีสแลนด์ ฟู้ดส์ โฟร์โมสต์ จำกัด มีเคล็ดลับสำหรับสาวๆ ออฟฟิศเพื่อป้องกันปัญหาแต่เนิ่นๆ
เริ่ม ที่ 1.นั่งทำงานและใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย นั่งหลังตรง หลังแนบติดเก้าอี้ ลำตัวเป็นมุมฉากกับขาช่วงบน ขาช่วงบนเป็นมุมฉากกับขาช่วงล่าง เท้าทั้งสองวางแนบกับพื้นพอดี
จอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ระดับสายตาพอดี มือ แขนช่วงล่าง และคีย์บอร์ดอยู่บนแนวระนาบเดียวกัน ปล่อยไหล่เป็นธรรมชาติขณะพิมพ์งาน
ระยะ ห่างสายตาและหน้าจอประมาณ 2 ฟุต ปรับความสว่างหน้าจอให้เท่ากับความสว่างจากภายนอก อย่าให้มีแสงจ้าเข้าทางด้านหลังผู้ใช้งาน และอย่าลืมพักสายตาบ่อยๆ
2.ไม่ นั่งไขว่ห้าง กอดอก หลังค่อม 3.ไม่ยืนลงน้ำหนักบนขาข้างเดียว หรือยืนแอ่นพุง หลังค่อม 4.ไม่นอนขดตัวหรือนอนตะแคงนานๆ โดยไม่มีหมอนข้างช่วย 5.ไม่ใส่ส้นสูงเกินนิ้วครึ่ง 6.ไม่สะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว หรือหิ้วของหนักด้วยนิ้วบ่อยๆ 7.ไม่เล่นเกม หรือทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานเกินไป ไม่อยู่กลางแดดจ้า หรือที่มีฝุ่นลมมากเกินไป
8.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที 9.พักและบริหารสายตาด้วยการกะพริบตาถี่ๆ 10 ครั้ง ทุก 30 นาทีที่ใช้คอมพิวเตอร์ ยืดเส้นยืดสายเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ หยุดคิดหยุดเครียดด้วยการตามลมหายใจเพื่อพักสมองเป็นช่วงๆ 10.กินอาหารหลัก 5 หมู่ที่หลากหลายครบถ้วน และบอกลาอาหารขยะ
นอกจากนี้ยังมีเคล็ดลับ พิทักษ์กระดูกมาฝากสาวๆ กันด้วย คือ ดื่มนมที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูงเป็นประจำ หรือ รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลาตัวเล็ก งา ใบยอ ยอดแค
ลด โปรตีนจากสัตว์ อาหารเค็ม-หวาน กาแฟ-เครื่องดื่มกาเฟอีน ออกกำลังกายวันละประมาณ 30 นาที สัมผัสแดดช่วงเช้า (08.30-10.30 น.) วันละประมาณ 20 นาที เพื่อให้ร่างกายได้สังเคราะห์วิตามิน D เพื่อช่วยในการดูดซึมแคลเซียม
เพื่อความแข็งแรงของกระดูกแบบ องค์รวม ควรออกกำลังกายด้วยการเคลื่อนไหวกระดูกสันหลังให้ครบ 4 ทิศทาง คือ ก้ม-แอ่น-เอียง-บิด ด้วยท่าโยคะแบบง่ายๆ วันละอย่างน้อย 30 นาที
คอมพิวเตอร์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ฝุ่น ควัน แสงแดด เครื่องปรับอากาศในสำนัก งาน ล้วนเป็นตัวการทำลาย "ดวงตา" หน้าต่างมองโลกของคุณให้แห้ง พร่ามัว และมืดมิด สัญญาณเตือนภัยของสายตา จะมีอาการตาแดง ตาพร่า ตามัว ตาเมื่อยล้า ปวดตา มีอาการตาแห้ง เคืองตา ทำให้ต้องกะพริบตาบ่อย ปวดศีรษะ อ่านหนังสือไม่ชัดเมื่ออายุมากขึ้น ควรกินอาหาร 5 หมู่อย่างครบถ้วนหลากหลาย พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกาย เพื่อป้องกันโรคสายตา
อาจผ่อน คลายดวงตาด้วยตัวเอง ด้วยการนวดคลึงเบาๆ รอบดวงตาและบริหารดวงตาด้วยการกวาดสายตามองเป็นวงกลม 5-6 รอบ ใช้นิ้วแตะที่หัวตาแล้วคลึงเบาๆ แช่ผ้าขนหนูผืนเล็กในน้ำเย็น บิดพอหมาด วางปิดดวงตาทั้งสองข้างนานประมาณ 20 นาทีหรือจนกว่าผ้าจะหายเย็นแล้วเปลี่ยนผ้าเย็นผืนใหม่
อาหารบำรุง สายตา ได้แก่ อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน A วิตามิน E วิตามินซี ลูทีน ซีแซนทีน ช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลาย ดื่มนมที่มีวิตามินเอและลูทีน ผักใบเขียวและผักผลไม้สีเข้มที่มีลูทีนและซีแซนทีน เช่น ปวยเล้ง บร็อกโคลี่ องุ่นแดง หอมแดง มะเขือม่วง ไข่แดง มีลูทีนและซีแซนทีนที่ร่างกายดูดซึมง่าย ถั่วเปลือกแข็งและเมล็ดธัญพืช มีวิตามิน E
สำหรับอาหารที่ช่วยบำรุงสมองให้ปลอดโปร่งแจ่มใส ยับยั้งอาการสมองเสื่อมก่อนวัยอันควร ได้แก่ นมที่มีวิตามินบี 12 และโอเมก้า 3 ผักและผลไม้ที่มีวิตามิน E และวิตามิน C ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม เช่น มะเขือเทศ แครอต ผักขม กะหล่ำปลี บร็อกโคลี่ ไข่ มีสารอาหารโคลีน มีส่วนช่วยในเรื่องการจำ ปลาทะเลและปลาน้ำจืดที่มีโอเมก้า 3 ช่วยให้สมองเจริญเติบโต เส้นใยจากธัญพืช ทำให้ปริมาณน้ำตาลที่เข้าสู่สมองไม่แปรปรวน สมองไม่เหนื่อยล้า
นอก จากอาหารบำรุงสายตาแล้ว การฝึกสมาธิและโยคะยังช่วยให้สมองรู้ตื่นและเบิกบาน อาจหาเกมฝึกสมองทดลองเล่นเป็นประจำ เช่น เกมลับสมอง อักษรไขว้ ซูโดกุ หรือหากิจกรรมแปลกใหม่ที่ท้าทายให้ทำอยู่เสมอ