ผู้เขียน หัวข้อ: จับตาภัยแล้ง' 54 ระวัง​สงครามชิงน้ำ  (อ่าน 2758 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานไตรสรณะสุจิปุลิ
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



สถานการณ์​ภัย​แล้ง​ปี 2554 ที่​กำลัง​มา​เยือน...

นับ​เฉพาะ​ภาค​ตะวันออก มัก​วนเวียน​อยู่​ใน 5 จังหวัด​ ได้แก่ สระแก้ว ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีน​บุรี

ข้อมูล​พื้นที่​ภัย​แล้ง มี​ปัจจัย​วิเคราะห์ 6 ประการ คือ ปริมาณ​ฝน​สะสม, ฝน​ทิ้ง​ช่วง, ระดับ​น้ำ​ใน​ลำ​น้ำ​สาย​หลัก แม้​มี​แนวโน้ม​เพิ่ม​ขึ้น...แต่​ส่วน​ใหญ่​อยู่​ใน​เกณฑ์​น้อย, ปริมาณ​น้ำ​ใน​อ่างเก็บน้ำ​ขนาด​ใหญ่, พื้นที่​ขาดแคลน​น้ำ​อุปโภค​บริโภค และ​พื้นที่​ประสบ​ภัย​แล้ง​ซ้ำซาก

ปัญหา​น้ำ​ท่วม​และ​ภัย​แล้ง เป็น​ปัญหา​ที่​เกิด​ขึ้น​ซ้ำซาก​ใน​ประเทศไทย และ​ปรากฏการณ์​ความ​เปลี่ยนแปลง​ของ​โลก​ที่​นำ​มา​สู่​ภาวะ​โลก​ร้อน ก็​ยิ่ง​ทำให้​ธรรมชาติ​เกิด​วิกฤติ​และ​แปรปรวน​มาก​ยิ่ง​ขึ้น





ประพันธ์

ทั้ง​สอง​ปัญหา​นี้กระทบ​ต่อ​ภาค​การ​เกษตร​และ​อุตสาหกรรม สร้าง​ความ​เสียหาย​ทาง​เศรษฐกิจ​ประเทศไทย​เป็น​มูลค่า​มหาศาล​ต่อ​ปี หาก​ยัง​จำ​กัน​ได้​

ผล​พวง​จาก​ภัย​แล้ง ทำให้​เกิด​สงคราม​ชิง​น้ำ​มา​แล้ว​ระหว่าง​ภาค​อุตสาหกรรม​และ​ภาค​การ​เกษตร ใน​พื้นที่​จังหวัด​ระยอง

ราว​ปี 2548...เกษตรกร​เปิด​ศึก​กับ​โรง​งาน​นิคม​อุตสาหกรรม​มาบตาพุด จน​ต้อง​แก้​ปัญหา​กัน​ต่อ​เนื่อง​แบบ​เฉพาะหน้า ทั้ง​ทำ​ฝนเทียม...เฝ้า​รอ​ฝน​ธรรมชาติ และ​แต่ละ​โรง​งาน​ก็​ต้อง​แก้ไข​กัน​ไป​แบบ​ตัว​ใคร​ตัว​มัน

ตัว​ละคร​สำคัญ​ภาค​อุตสาหกรรม​ใน​ช่วง​เวลา​นั้น หนี​ไม่​พ้น...อี​สท์​ วอ​เ​ตอ​ร์




การ​ก่อ​กำเนิด​ของ​บริษัทจัดการ​และ​พัฒนา​ทรัพยากร​น้ำ​ภาค​ตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรืออี​สท์ วอ​เ​ตอ​ร์ เมื่อ​กว่า 18 ปี​ที่​แล้ว (25 กันยายน 2535) ตาม​มติ​รัฐมนตรี ซึ่ง​มี​การ​ประปา​ส่วนภูมิภาค (กปภ.) เป็น​เจ้าของ​เป็น​ผู้​ถือ​หุ้น​ทั้งหมด 100% ใน​ครั้ง​นั้น
กำเนิด​ขึ้น​มา​เพื่อ​บูรณาการ เป็น​ศูนย์​รวม​ใน​การบริหาร​จัดการ​น้ำ​ดิบ​ให้​พอ​เพียง​ผ่าน​ท่อ​ส่ง​น้ำ​ขนาด​ใหญ่ ให้​แก่​ภาค​อุตสาหกรรม​และ​การ​อุปโภค...บริโภค เพื่อ​สนับสนุน​แผน​พัฒนา​ชายทะเล​ฝั่ง​ตะวันออกให้​เป็น​เขต​อุตสาหกรรม​หลัก​ของ​ประเทศ

แม้​ว่า​วัน​นี้อี​สท์ วอ​เ​ตอ​ร์จะ​กลาย​เป็น​บริษัท​มหาชน เปิด​ให้​ประชาชน​เข้า​มา​หุ้น ​ร่วม​เป็น​เจ้าของ โดย​การ​ประปา​ส่วนภูมิภาค​ยัง​คง​ถือ​หุ้น​ใหญ่​อยู่ 40%... ทุ่ม​งบ​ไป​แล้ว​กว่า 10,000 ล้าน​บาท ใน​การ​ลงทุน​ก่อสร้าง​เครือ​ข่าย​หรือ​ระบบท่อ​ส่ง​น้ำ สถานี​สูบ​น้ำ และ​ศูนย์​ปฏิบัติการ ซึ่ง​เชื่อม​โยง​แหล่ง​น้ำ​ต่างๆเข้า​ด้วย​กัน เพื่อ​ที่​จะ​ส่ง​น้ำ​ดิบ​ไป​ถึง​ผู้​ใช้​น้ำ

โดย​มี​ความ​ยาว​ของ​ท่อ​ส่ง​น้ำ​รวม​กัน​กว่า 340 กิโลเมตร ที่​เป็น​โครงสร้าง​พื้นฐาน​สำคัญ...แต่​ก็​ไม่​แน่​ว่า​สงคราม​ชิง​น้ำ​จะ​เกิด​ขึ้น​มา
ซ้ำ​รอย​อีก​หรือ​เปล่า

ที่​ทำ​ไป​แล้ว...อี​สท์​ วอ​เ​ตอ​ร์​ใช้​การบริหาร​ปัญหา​แบบ​รวม​ศูนย์ ช่วย​รัฐบาล​ประหยัด​เงิน​งบประมาณ​หาก​ต้อง​ก่อสร้าง​ระบบ​ท่อ​ส่ง​น้ำ​เอง รวม​ไป​ถึง​ถ้า​ปล่อย​ให้​แต่ละ​โรง​งาน​อุตสาหกรรม​ขนาด​ใหญ่​ต่าง​คน​ต่าง​ทำ ต่าง​คน​ต่าง​ลงทุน การบริหาร​จัดการ​น้ำ​ก็​คง​ไม่​เป็น​ระบบ เพราะ​ไม่​มี​ศูนย์​รวม​การ​เป็น​เครือ​ข่าย​ของ​ระบบ​ท่อ​ส่ง​น้ำ




นโยบาย​ภาพ​ใหญ่​พุ่ง​เป้า​ไป​ที่​การ​ผลัก​ดัน​ให้​ชายฝั่ง​ทะเล​ภาค​ตะวันออก เป็น​ศูนย์กลาง​เขต​เศรษฐกิจ​และ​อุตสาหกรรม​หลัก​ของ​ชาติ เมื่อ​เทียบ​กับ​ภาค​การ​เกษตร​ย่อม​ต้อง​ได้​รับ​ความ​สำคัญ​เท่าๆกัน ไม่​มี​ใคร​ได้​เปรียบ​กว่า​กัน...

ศูนย์​ประมวล​วิเคราะห์​สถานการณ์​น้ำ กรมชลประทาน รายงาน​สถานการณ์​น้ำ​ใน​อ่างเก็บน้ำ​ขนาด​ใหญ่​ทั้ง​ประเทศ ล่า​สุด (7 เม.ย. 54) ...ผล​การ​จัดสรร​น้ำ​เพื่อ​สนับสนุน​การ​ใช้​น้ำ​ใน​เขต​พื้นที่​ชลประทาน​ของ​ลุ่มน้ำ​เจ้าพระยา มี​การ​นำ​น้ำ​ไป​ใช้​แล้ว 7,614 ล้าน​ลูกบาศก์​เมตร หรือ​คิด​เป็น​ร้อย​ละ 90 ของ​แผนการ​จัดสรร​น้ำ​ใน​ช่วง​ฤดู​แล้ง

ส่วน​ผล​การ​เพาะ​ปลูก​พืช​ฤดู​แล้ง​ใน​เขต​พื้นที่​ชลประทาน​ลุ่มน้ำ​เจ้าพระยา ล่า​สุด (ณ 1 เม.ย. 54) พบ​ว่า มี​การ​เพาะ​ปลูก​พืช​ฤดู​แล้ง​ไป​แล้ว​กว่า 6.45 ล้าน​ไร่ หรือ​คิด​เป็น​ร้อย​ละ 123 ของ​แผน​ทั้งหมด ซึ่ง​กำหนด​ไว้ 5.26 ล้าน​ไร่

แยก​เป็น​พื้นที่​ทำ​นาปรัง 6.38 ล้าน​ไร่ หรือ​คิด​เป็น​ร้อย​ละ 122 ของ​แผน (แผน​กำหนด​ไว้ 5.21 ล้าน​ไร่) และ​พืช​ไร่-พืช​ผัก 0.07 ล้าน​ไร่ หรือ​คิด​เป็น​ร้อย​ละ 140 ของ​แผน (แผน​กำหนด​ไว้ 0.05 ล้าน​ไร่)

จะ​เห็น​ได้​ว่า​ใน​ลุ่มน้ำ​เจ้าพระยายัง​มี​น้ำ​เหลือใช้​ตาม​แผนฯ อีก​เพียง​ร้อย​ละ 10 ...จึง​ขอ​ให้​เกษตรกร​งด​ทำ​นาปรัง​รอบ​ที่ 2 เพื่อ​ป้องกัน​ความ​เสียหาย




สาเหตุ​เนื่อง​มา​จาก...ปริมาณ​น้ำ​ต้นทุน​ใน​เขื่อน​ภูมิ​พล​และ​เขื่อน​สิริกิติ์ ลด​ลง​อย่าง​มาก ไม่​เพียงพอ​ที่​จะ​จัดสรร​ให้​กับ​นาปรัง​รอบ​ที่ 2 ได้​อย่าง​แน่นอน นอกจาก​นี้ ยัง​จะ​ต้อง​สำรอง​น้ำ​ไว้​ให้​ได้​มาก​ที่สุด เพื่อ​ใช้​สำหรับ​การ​ทำ​นาปี​ใน​ช่วง​ต้น​ฤดู​ฝน​ที่​กำลัง​จะ​มา​ถึง​ด้วย
ทั้งนี้ การ​จัดสรร​น้ำ​ใน​ช่วง​ฤดู​แล้ง​จะ​เริ่ม​ตั้งแต่ 1 พ.ย.-30 เม.ย.ของ​ทุก​ปี

จะ​ส่อ​เค้า​วิกฤติ​ภัย​แล้ง​ขึ้น​อีก​หรือ​เปล่า...คง​ไม่​มี​ใคร​รู้ แต่​ที่​รู้​แน่ๆในฟาก​ฝั่ง​ภาค​อุตสาหกรรม...ใน 4 ปี​ข้าง​หน้า (2554-2557) พบ​ว่า ความต้องการ​ใช้​น้ำ​ดิบ​จะ​เพิ่ม​ขึ้น​เฉลี่ย​ปี​ละ 7.65%

หรือ​เพิ่ม​ขึ้น​มา​อยู่​ที่ 329 ล้าน​ลูกบาศก์​เมตร จาก 245 ล้าน​ลูกบาศก์​เมตร​ใน​ปี 53 และ​คาด​ว่า​ใน​อีก 10 ปี​ข้าง​หน้า​ความต้องการ​ใช้​น้ำ​ดิบ​จะ​เพิ่ม​ขึ้น​เป็น 386 ล้าน​ลูกบาศก์​เมตร​ต่อ​ปี

ข้อมูล​นี้​น่า​จะ​ทำให้​เกิด​สงคราม​ชิง​น้ำเกิด​ขึ้น​แน่...ไม่​วัน​ใด​ก็​วัน​หนึ่ง ประพันธ์ อัศว​อารี กรรมการ​ผู้​อำนวยการ​ใหญ่ อี​สท์ วอ​เ​ตอ​ร์ บอก​ว่า ความต้องการ​ใช้​น้ำ​ใน​พื้นที่​ภาค​ตะวันออก ได้​เพิ่ม​ขึ้น​อย่าง​รวดเร็ว ทั้ง​การ​เพิ่ม​ขึ้น​ของ​โรง​งาน​อุตสาหกรรม การ​เติบโต​ของ​ธุรกิจ​ท่องเที่ยว รวม​ทั้ง​การ​ขยาย​ตัว​ของ​ชุมชน ทำให้​ความต้องการ​น้ำ​เพิ่ม​ขึ้น​อย่าง​ทวีคูณ

ขณะ​ที่​แหล่ง​น้ำ​ธรรมชาติ​ยัง​คง​มี​จำนวน​เท่า​เดิม เพราะ​การ​สร้าง​เขื่อน​ขนาดใหญ่​และอ่างเก็บน้ำใหม่เกิด​ขึ้นได้​ยาก​มาก การ​ที่​ต้อง​รอ​คอย​ฝน​ฟ้า​เป็นใจ​ให้​ตก​ต้อง​ตาม​ฤดูกาล จึง​จะ​มี​น้ำ​ใช้​อย่าง​เพียงพอ​นั้น​คงไม่ได้​แล้ว




ประเทศไทยจำเป็น​ต้อง​มี​การบริหาร​จัดการ​ทรัพยากร​น้ำ​อย่าง​เป็น​ระบบ ที่​ผ่าน​มา​แม้​ว่า​จะ​มี​ความ​พยายาม​ผลัก​ดัน​ให้การ​บริหาร​จัดการ​ทรัพยากร​น้ำ​และ​ระบบ​ชลประทาน​ของ​ประเทศ เป็น​โครงการ​สาธารณูปโภค​พื้นฐาน​ที่​สำคัญ​ของ​ชาติ แต่​จนแล้วจนรอดจน​ป่านนี้​ก็​ยัง​ไม่​สามารถ​ผลัก​ดัน​ให้​เกิด​ผล​ใน​ทาง​ปฏิบัติ

“เรา...ยัง​ต้อง​ทุ่ม​ลงทุน​อย่าง​ต่อ​เนื่องตาม​แผน​ธุรกิจ 5 ปี ด้วย​งบ​ลงทุนกว่า​สาม​พัน​ล้าน...วาง​ระบบ​ท่อ ทำ​สระ​สำรอง เพื่อ​ให้​พื้นที่​ชายฝั่ง​ทะเล​ภาค​ตะวันออก มี​น้ำ​ใช้​อย่าง​เพียงพอ​ที่สุด”

สถานการณ์​น้ำ (21 มีนาคม 2554) “น้ำ​เก็บ​กัก​มี​อยู่​ร้อย​ละ 60 ของ​พื้นที่​ระยอง​และ​ชลบุรี...คาด​ว่า​เพียงพอ​ใน​ช่วง​ฤดู​แล้ง​นี้ ช่วง​นี้​เริ่ม​มี​ฝน​ตก​มาก​ขึ้น ทำให้​เริ่ม​มี​น้ำ​ไหล​เข้า​อ่างฯ แต่​ยัง​คง​ต้อง​ติดตาม​สถานการณ์​น้ำ​ต่อ​ไป”

ปริมาณ​น้ำใน​อ่างเก็บน้ำ พื้นที่​ระยอง 3 อ่าง...อ่างเก็บน้ำ​ดอก​กราย, หนองปลา​ไหล, หนอง​ค้อ มี​ปริมาณ​รวม​กัน​ทั้งสิ้น 171.92 ล้าน​ลูกบาศก์​เมตร คิด​เป็น​ร้อย​ละ 62 ยัง​อยู่​ใน​เกณฑ์​เฉลี่ย...ส่วน​พื้นที่​ชลบุรี อ่างเก็บน้ำ​บาง​พระ, หนอง​ค้อ มี​ปริมาณ​น้ำ​รวม 91.48 ล้าน​ลูกบาศก์​เมตร คิด​เป็น​ร้อย​ละ 66 อยู่​ใน​เกณฑ์​ดี

น้ำ...เป็น​ข้อ​ต่อ​ปัญหา​สงคราม​ชิง​น้ำ​ระหว่าง​ภาค​อุตสาหกรรม​กับ​ภาค​การ​เกษตร ประพันธ์ ย้ำ​ว่า หน้าที่​ของ​อี​สท์ วอ​เ​ตอ​ร์ ไม่​ใช่​เป็น​เพียง​ผู้​ขาย​น้ำ​ดิบ แต่...อี​สท์ วอ​เ​ตอ​ร์ คือ​บริษัท​จัดการ​และ​พัฒนา​ทรัพยากร​น้ำ

ธุรกิจ​หลัก​ของ​บริษัท​คือ​ให้​บริการ​สูบ​ส่ง​น้ำ​ทาง​ท่อ​ให้​กับ​ผู้​ใช้​น้ำ ขณะ​เดียวกัน​ก็​ต้อง​มี​ความ​สามารถ​ใน​การบริหาร​แหล่ง​กัก​เก็บ​น้ำ เพื่อ​ป้องกัน​ความ​เสี่ยง​ต่อ​การ​ขาดแคลน

“อาจ​มี​ชาว​บ้าน​บาง​ส่วน​ที่​ไม่​เข้าใจ​ว่า น้ำ​เป็น​ทรัพยากร​ธรรมชาติ​ที่​ทุก​คน​มี​สิทธิ แต่​ทำไม​บริษัท​จึง​สูบ​ขึ้น​มา​ขาย​ได้ ซึ่ง​จริงๆแล้วผู้​จัดสรร​น้ำ​คือ​กรมชลประทาน บริษัท​เป็น​ผู้​ลงทุน​โครงสร้าง​พื้นฐาน เพื่อ​ขนส่ง​น้ำ​มา​ให้​ถึง​มือ​ผู้​ใช้

ขณะ​เดียวกัน​ก็​ต้อง​ทำ​งาน​ใกล้​ชิด​กับ​กรมชลประทาน เพื่อ​ติดตาม​ดู​ระดับ​น้ำ​และ​วาง​แผน​บริหาร​จัดการ​ความ​เสี่ยง เพื่อ​ไม่​ให้​เกิด​ภาวะ​ขาดแคลน​น้ำใน​ช่วง​หน้า​แล้ง”

ภัย​แล้ง​ยังไม่​มา​เยือน​อย่าง​เต็ม​รูป​แบบ ภาพ​ความต้องการ​น้ำ​ใน​วัน​นี้​อาจจะ​ยัง​ไม่​กระจ่าง​ชัด​เท่าใด​นัก การ​มอง​ปัญหา​ล่วงหน้า​มี​ความ​จำเป็น เพื่อ​เตรียม​รับมือ​ไว้​แต่​เนิ่นๆ

สงคราม​ชิง​น้ำ​จะ​เกิด​ขึ้น​หรือ​ไม่?...จะ​เกิด​หนัก​หรือ​เบา ตัวแปร​สำคัญ​อยู่​ที่​แผนการ​บริหาร​จัดการ​น้ำ​ที่​มี​ประสิทธิภาพ และ​ปริมาณ​ฝน​ธรรมชาติ​ที่​นับ​วัน​จะ​แปรปรวน​ขึ้น​ทุกที

สงคราม​ชิง​น้ำ​ภาค​ตะวันออก...ถ้า​เกิด​ขึ้น​วัน​ใด ถือ​เป็น​ความ​ท้าทาย​การ​ลงทุน​นับ​หมื่น​ล้าน​ของ​อี​สท์​ วอ​เ​ตอ​ร์.
 
http://www.thairath.co.th/column
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...