แสงธรรมนำใจ > หยาดฝนแห่งธรรม
คำสอนสำหรับผู้บำเพ็ญโยคะ (ท่าน สัตยา ไสบาบา)
ฐิตา:
(51) ใครก็ตามที่พยายามปราบพยศของอัตตา พยายามเอาชนะ ความเห็นแก่ตัว พยายามทำลายความรู้สึกชั่วแล่นฝ่ายต่ำ และพยายามถอดถอน ความเห็นผิดว่าร่างกายอันนี้คือตัวตนของตน เป็นที่แน่นอนว่าเขาผู้นั้นกำลังอยู่บน เส้นทางแห่งธรรม เป้าหมายของพระธรรมคือการหลอมรวมลูกคลื่นเล็กๆ เข้ากับ มหาสมุทร หรือการหลอมตัวตนเล็กๆ เข้ากับพระเจ้า
(52) เปลวไฟแห่งฌานซึ่งทำให้เธอเชื่อมั่นได้ว่าสรรพสิ่งคือพรหมัน จะแผดเผาอัตตาของเธอและความยึดมั่นถือมั่นทางโลกของเธอ ให้เป็นขี้เถ้า เธอจะ รู้สึกดูดดื่มกับน้ำทิพย์แห่งความรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกับพรหมัน นั่นคือ เป้าหมาย ขั้นสุดท้ายของ “ธรรม” และ “กรรม”
(53) เป้าหมายของธรรม คือ การทำให้ชีวิตเลิกยึดมั่นถือมั่นใน ธรรมชาติภายนอกและในภาพลวงตาที่ถูกสร้างขึ้น และทำให้ได้รู้แจ้งในความเป็น จริงที่เกี่ยวกับตัวสัจธรรมเอง
(54) คนสมัยนี้พยายามทำพระเจ้าให้กลายเป็นก้อนหินแล้ว ความพยายามเช่นนี้จะนำไปสู่สัจจธรรมได้อย่างไรเล่า? ภารกิจที่แท้จริงของเธอ คือการมองก้อนหินให้เป็นพระเจ้า ก่อนอื่นเธอต้องทำสมาธินึกถึงรูปของพระเจ้า ให้ ภาพของพระเจ้าประทับอยู่ในจิตวิญญาณของเธอเสียก่อน จากนั้นเธอต้องนึกถึง ภาพของพระเจ้าในก้อนหินแล้วลืมก้อนหินนั้น จนกระทั่งก้อนหินนั้นถูกเปลี่ยนเป็น พระเจ้า
(55) การที่ตัวเธอถูกจองจำพันธนาการอยู่นั้น ก็เพราะเธอเป็นผู้ พันธนาการตัวเองไว้ และเดินออกนอกเส้นทางแห่งธรรมะ ไม่มีใครหรือสิ่งใดดอก ที่พันธนาการตัวเธอ หากเธอมีศรัทธาในพระเจ้าผู้ทรงสถิตอยู่ ณ ทุกหนทุกแห่ง อย่างลึกซึ้งมั่นคงแล้ว เธอก็จะรู้ได้เองว่า พระเจ้าก็คือตัวเธอเอง และตัวเธอไม่เคยถูก พันธนาการ การที่จะปลูกศรัทธาเช่นนี้ให้เติบโตได้ เธอจะต้องยึดความจริงข้อนี้เอาไว้ ให้มั่น ถ้าหากเธอขาดหลักการเหล่านี้แล้ว ชีวิตของเธอจะตกเป็นเป้าของความท้อแท้ และหลอกลวง
(56) เธอจะทำกิจกรรมอะไรนั้นไม่สำคัญ หรือเธอจะเลือกบูชา พระเจ้าในรูปและนามใดก็มิใช่เรื่องสำคัญ เครื่องพันธนาการย่อมเป็นเครื่อง พันธนาการไม่ว่าจะเป็นเหล็กหรือทองคำ ในทำนองเดียวกัน ไม่ว่างานที่เธอทำจะเป็น งานประเภทไหน หากมันตั้งอยู่บนฐานแห่ง “อาตมธรรม” หรือ “สัจจะแห่งอาตมัน” แล้ว งานนั้นย่อมเป็นธรรมะอย่างไม่ต้องสงสัย งานเช่นนั้นย่อมนำสันติสุขมาให้แก่ ตัวเรา
(57) สามัญชนมักเชื่อว่า พวกเขามีความภักดีต่อพระเจ้า แต่พวก เขาไม่ได้ฉุกคิดเลยว่า พระเจ้าได้ยอมรับพวกเขาเป็นสานุศิษย์หรือไม่ ผู้ที่อดทน ค้นหาคำตอบนี้มีไม่มากเลย นี่แหละคือมาตรวัดความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณที่แท้ จริง
(58) จงอย่าเคลิ้มไปตามความคิดเห็นทางตรรกะล้วนๆ ที่แห้งแล้ว หรือทำให้สมองของเธอสับสนไปด้วยคำเยาะเย้ยถากถางและอคติ หรือหลงไปสนใจ ในสิ่งที่คนอื่นเขาทำหรือเชื่อกันแล้วก็พยายามจะไปปฏิรูปหรือแก้ไขพวกเขา เธอต้องมีความเชื่อมั่นในอาตมันซึ่งเป็นสัจธรรมอันแท้จริงเกี่ยวกับตัวเธอเอง เธอ จงทดสอบแนวทางการกระทำต่างๆ โดยดูว่าแนวทางเหล่านั้นมันไปขัดขวาง กระบวนเปิดเผยให้เห็นอาตมันหรือไม่
(59) บุคคลซึ่งมีความยึดติดและเกลียดชังอยู่ในใจนั้น แม้จะอยู่ใน ป่าแบบฤาษีก็ไม่อาจหนีรอดจากเภทภัยได้ แต่บุคคลที่สามารถควบคุมอินทรีย์ของ ตนเองได้ แม้ว่าเขาจะครองชีวิตอยู่ในเพศฆราวาส เขาก็เป็นฤาษีที่แท้จริง
(60) วินัยของตนเองเป็นพื้นฐานสำหรับการดำเนินชีวิตอย่างประสบ ความสำเร็จ ชีวิตที่มีวินัยทำให้มนุษย์สามารถได้รับความสงบสุขสันติที่เป็นนิรันดรได้ ถ้าปราศจากสันติก็ไม่สามารถมีความสุขได้ สันติเป็นธรรมชาติของอาตมัน ซึ่งจะอยู่ ร่วมกับหัวใจที่บริสุทธิ์สะอาดเท่านั้น สันติจะไม่บังเกิดในหัวใจที่เต็มไปด้วยกิเลส และความโลภ สันติเป็นลักษณะพิเศษของเหล่าโยคี ฤาษี และสัตบุรุษทั้งหลาย
ฐิตา:
(61) สิ่งที่ผู้บำเพ็ญโยคะจักต้องปฏิบัตินั้นได้แก่
ประการที่หนึ่ง การปรับปรุงจิตให้เกิด ‘วิเวก’ ซึ่งหมายถึง ความ สามารถในการที่จะวิเคราะห์ระหว่างความถาวรยืนนานกับความไม่แน่นอน และ ความสามารถที่จะตัดสินว่าอะไรทรงคุณค่าอย่างแท้จริง
ประการที่สอง ความเพียรพยายามอย่างแน่วแน่ ในการฝึกฝนจน เชี่ยวชาญ สามารถจำแนกได้ถึงสิ่งที่ทรงคุณค่าและเป็นความจริงแท้
ประการที่สาม มีปณิธานหนักแน่น ในการเพียรพยายามอย่างไม่ท้อ ถอย ไม่ว่าจะมีอุปสรรคขัดขวางหนทางปฏิบัตินั้นด้วยประการใดก็ตาม
การปฏิบัติทั้งสามนี้เรียกว่า “ตบะอย่างแท้จริง” การบำเพ็ญตบะ เท่านั้นที่จะทำให้เกิดสันติและความปิติสุข
(62) ความหนักแน่นและความไม่หวั่นไหวย่อมเป็นคุณสมบัติที่ เป็นประโยชน์และสำคัญยิ่งในการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในใจ และเอาชนะ ความขัดแย้งนี้ เธอต้องมีความสงบสุขุมและเยือกเย็น นอกจากนั้นต้องมีความ กล้าหาญ ความฉลาด ความพากเพียร เพื่อเสริมสร้างจิตใจให้แข็งแกร่งมั่นคง
(63) ใบหน้าที่อิ่มเอิบ ดวงตาทอประกาย อากัปกิริยาที่เข้มแข็งมุ่งมั่น วาจาสุภาพ จิตใจที่กว้างขวาง ใจที่เป็นกุศลมีคุณความดีที่มั่นคง เหล่านี้เป็น คุณสมบัติของผู้ที่มีความก้าวหน้าทางจิต
(64) ลุกขึ้นเถิด เธอผู้กระหายในการฝึกฝนทางจิตเพื่อรู้จักตน เอง! จงทุ่มเทตนเองในการฝึกฝนปฏิบัตินั้น จงเสริมพลังศรัทธาของเธอให้กล้าแข็ง จงหมั่นปลูกฝังศรัทธาไว้ จงทำให้ศานติเป็นสมบัติอันมั่นคงของเธอ จงอิ่มเอิบกับ ชีวิตด้วยความปิติสุข จงชื่นชมยินดีกับจินตภาพของอาตมัน จงลุกขึ้นอย่ามัวรีรอ ลังเล!
(65) มนุษย์จะสามารถรู้จักตนเองอย่างแท้จริงได้ก็ต่อเมื่อใจได้ถูก ควบคุมไว้อย่างสมบูรณ์แล้วเท่านั้น ดังนั้นความยากแค้นลำเค็ญต่างๆ รวมทั้ง ความปวดร้าว ความระแวงสงสัย ความขัดแย้งในใจต่างๆ จะสิ้นสุดลง มนุษย์จัก สามารถเอาชนะความโศก ความหลงผิด และความวิตกกังวลได้จนสิ้น เขาจะสถิต อยู่ในศานติอันเงียบสงัด
(66) จงเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ว่า เธอคือจักรวาลและอาตมันที่เป็น อมตะ สิ่งนี้จะช่วยให้การฝึกฝนทางจิตของเธอเป็นไปได้ง่ายขึ้น ถ้าหากเธอหลง ละเมอว่า ตัวเธอคือร่างกาย คือประสาทสัมผัส คืออัตตาที่เป็นปัจเจกแล้วไซร้ การ ฝึกฝนทางจิตของเธอจะเป็นเหมือนผลไม้ที่มีหนอนบ่อนไส้ ไม่มีวันเจริญเติบโต และสุกได้ และความหวานแห่งผลพวงของความสุขอันเป็นนิรันดรจะไม่มีทางได้รับ เลยแม้จะผ่านไปอีกกี่ชาติก็ตาม
(67) อะไรคือโมกษะหรือความหลุดพ้นที่แท้จริง? โมกษะคือศานติ ที่ได้รับจากการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด โดยการปล่อยวางไม่ยึดมั่นกับสิ่งที่ได้ พบเห็น ได้ยิน ได้ฟัง ได้เรียนรู้ ได้อ่าน ได้กระทำ หรือกำลังกระทำอยู่
(68) อนิจจา...มนุษย์ได้ลืมเลือนภารกิจหน้าที่ที่เขาต้องมาสู่ภพนี้ เขาไม่ยอมตอบคำถามที่ว่า เขามาจากที่ใด เขาหลับตาไม่ยอมรับรู้ว่าเขาอยู่ที่ไหน สติปัญญาความเฉลียวฉลาดของเขาถูกชักจูงไปสู่ความสนุกสนานรื่นเริง รวมทั้งสิ่ง อำนวยความสะดวกสบายทั้งปวง จนเขาสูญเสียพลังอำนาจทั้งปวงของเขาไป ช่างเป็น โศกนาฏกรรมอะไรเช่นนี้
(69) แรกทีเดียว เธอต้องทราบภูมิลำเนาที่แท้จริงของเธอก่อน
เธอเป็นใคร? อาตมัน
เธอมาจากที่แห่งใด? จากอาตมัน
เธอกำลังจะไปไหน? ไปสู่อาตมัน
เธอจะอยู่ที่นี่นานเท่าใด? นานเท่าที่เธอยังผูกพันอยู่กับกามทั้งปวง
เธออยู่ที่ไหน? อยู่ในที่ที่ไม่จริงแท้แน่นอนและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
เธออยู่ในรูปของอะไร? อนัตตา
เธอผูกพันอยู่กับอะไร? กิจอันไม่จีรังยั่งยืน
ดังนั้น เธอควรทำเช่นใดหลังจากนี้? ต้องละวางสิ่งเหล่านั้นและเพียร พยายามปฏิบัติธรรมเพื่อหลอมรวมเข้ากับอาตมัน
Credit by : http://bookstore.blog.mthai.com/page36
นำมาแบ่งปันโดย.. baby@home
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต
สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
ฐิตา:
ท่าน สัตยาไสบาบา เป็น แรงบันดาลใจ ให้ อาจารย์อาจอง ชุมสาย
มาตั้งโรงเรียนทวนกระแสโลก
โรงเรียน สัตยาไส ครับ มีให้ดู ในยูทู๊บด้วย โลกเรียนแห่งโลกยุคใหม่
เด็กจะมีความสุข ครับ
"การเรียนรู้สู่สันติสุข" สัตยาไส
- รุ่งอรุณ
โรงเรียนสัตยาไส ไม่เน้นวิชาการแต่ให้ความสำคัญกับความสุข กระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้เด็กมีความสุข “เมื่อเขาสุขแล้ว จะเก่งขึ้นมาเอง” ผลสัมฤทธิ์การเรียนของสัตยาไส นักเรียนชั้น ม.ปลาย สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ๑๐๐ %
....
มีคำถามว่า ทำไมถึงมาทำงานด้านการศึกษา?
รศ.ประภาภัทร ท่านตอบว่า “เพราะไม่รู้ว่ามันยากไง”
รศ.ประภาภัทร นิยม อดีตอาจารย์จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และต่อมาท่านได้ออกมาทำโรงเรียน ทำงานด้านการศึกษาระดับพื้นฐาน จึงพบว่าการทำงานด้านการให้การศึกษานั้น ยากและท้าทาย กว่าที่คิดไว้
เราหลับกันมานาน เราทำอย่างที่เคยทำ รู้เท่าที่รู้ สอนเท่าที่มีในหนังสือ ตำรา รูปแบบการจัดการศึกษาของเราแบบนี้นี่เอง ทำให้ระบบการศึกษาตอบโจทย์สังคมใหม่ๆไม่ได้ ในขณะเดียวกันก็แปลกแยกออกไปจากวิถีชีวิตทุกขณะ
คนทำงานด้านการศึกษาในความคิดของ รศ.ประภาภัทร ท่านบอกว่า ต้องมี ๓ประเด็นนี้ คือ
๑. ต้องเคลื่อนไหวระดับจิตวิญญาณ
๒. ตื่นพอที่จะมองเห็น เห็นทั้งตัวเองและสังคม
๓. ตระหนักว่า ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลง ไม่หยุดนิ่ง
ทำไมการศึกษาไม่ทำให้เรา “รู้” ตรงนี้สำคัญ เพราะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในสังคม การศึกษาไม่ได้ทำให้เราเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างถ่องแท้เลย ณ ถึงวันนี้เราต้องคิดไปข้างหน้าแล้วว่า เราจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างไร? เราตื่นพอที่จะรู้ว่า สิ่งที่เราสอนอยู่ ว่า “มันไม่ใช่” การศึกษาทางเลือกจะกระตุ้นให้คนได้ตื่น เรียนรู้กับการเปลี่ยนแปลงนั้น
การจัดการศึกษาที่โรงเรียนร่งอรุณพยายามทำใน ๓ อย่าง
๑. เปลี่ยนที่ตัวเราเอง (ครู) สร้างวิธีการเรียนรู้ให้ลึกซึ้ง ทั้งด้านวิธีคิด กระบวนทัศน์ การบ่มเพาะให้เข้าใจ ทัศนคติ มองเห็นความเชื่อมโยง หน้าที่ของนักการศึกษาคือ การบ่มเพาะการเรียนรู้ ประเทศไทยมีทุนด้านศาสนาที่มีพุทธศานาเป็นศาสนาประจำชาติ คุณค่า หรือทุนตรงนี้เป็นทุนที่เอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านจิตวิญญา
๒. ความรู้ที่เกิดจากสถานการณ์จริง ด้วยวิธีคิดที่ว่า เราจะเติบโตอย่างไร? เราจะอยู่กับคนอื่นอย่างไร? รู้เท่าทันอย่างไร? โรงเรียนรุ่งอรุณ จึงพานักเรียนออกไปเรียนรู้ การจัดการหลักสูตรทุก Domain อยู่ในทุกวิชา ที่เราเรียกว่า “บูรณาการ” สอนการดูแลโลก สอนให้ลึกซึ้งถึงวิธีคิด
๓. การสื่อสารที่เป็นสาระ โรงเรียนรุ่งอรุณใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบ การแลกเปลี่ยนความรู้ เรียนรู้จากผู้อื่น เรียนรู้จากการสนทนา เป็นการสื่อสารที่มีสาระ นำความรู้ฝังลึกออกมานำเสนอ สร้างความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลา
ทางออก ทางรอดการศึกษา
ดร.อาจอง ฝากในช่วงท้ายบอกว่า เราต้องช่วยกันตั้งแต่ ระดับอนุบาล – อุดมศึกษา สร้างคนดีตั้งแต่ระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานป้อนเข้าสู่มหาวิทยาลัย หากทำเช่นนี้จะช่วยลดภาระมหาวิทยาลัยมากในการเริ่มต้นสร้างคน
ปัจจัย ๒ อย่างที่สัตยาไสให้ความสำคัญ ก็คือ การมีครูที่ดี ครูที่พูดทุกอย่างออกมาจากใจ (ภาษาใจ) สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ฟัง การฝึกสมาธิให้แก่เด็ก การทำสมาธิยกระดับจิตใจเด็กให้สูง รร.สัตยาไสให้เด็กนั่งสมาธิ ๙ ครั้งต่อวัน
รศ.ประภาภัทร ให้ข้อคิดเห็นในมุมของนโยบาย ท่านบอกว่า ต้องมาจากนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการต้องเปลี่ยนแปลงระดับนโยบาย หากไม่มีคนเล็กคนน้อยก็เหนื่อยกันต่อไป
คุยเรื่องเเนวคิด แล้วลงสู่การปฏิบัติเป็นไปได้หรือ?
ที่โต๊ะอาหารกลางวันของงานสัมมนาในวันนั้น ผมนั่งพูดคุยประเด็นนี้ต่อกับ ผู้อำนวยการโรงเรียน ๔ – ๕ ท่านที่เข้ามาร่วมรับฟัง ทุกท่านเห็นด้วยและเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่ในความเป็นจริงนั้น การขับเคลื่อนการจัดการศึกษาที่เน้นการสร้างมนุษย์ “สุข ดี เก่ง” ปัจจัยไม่ได้อยู่ที่โรงเรียนแต่เพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่ผู้ปกครองด้วย(ทั้งค่านิยม,ความเชื่อ,ทัศนคติของสังคม) นโยบายก็มีส่วนอย่างมาก โรงเรียนของท่านก็ต้องฝ่ากระแสเหล่านี้ไปให้ได้ หากมองภาพใหญ่ในขณะนี้ก็ตีบตันไปหมด...คิดได้ แต่ ทำยากจัง
ผมก็คิดว่า เราก็ยังไม่สิ้นหวังกันหรอก ในเมื่อเราทำในภาพใหญ่ของโรงเรียนทั้งหมดไม่ได้ แต่การปรับเปลี่ยนวิธีคิดของครูเกี่ยวกับการให้ความรู้ เป็นการสร้างความรู้ การบูรณาการสิ่งเหล่านี้เข้าไปในหลักสูตร-รายวิชา ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำได้ ท่ามกลางความไม่พร้อม ไม่เอื้อด้วยประการทั้งปวงของระบบการจัดการศึกษาของเราในขณะนี้
ผมคิดว่าเราทำได้ และในหลายๆโรงเรียนที่ผมได้ร่วมเรียนรู้ด้วยในเวทีต่างๆ ก็เห็นได้ว่า มีครูเพื่อศิษย์คิดนวัตกรรมการเรียนรู้ใหม่ๆเป็นลักษณะ Best Practice ขึ้นมา เพื่อมุ่งไปข้างหน้าสร้างคน “สุข ดี เก่ง” อยู่แล้ว (มีมากมายด้วย)
คิดต่อว่า เราจะให้สิ่งดีๆที่เราเรียกว่านวัตกรรมการเรียนรู้เหล่านี้ สื่อสารต่อสาธารณะได้อย่างไร? เราจะสร้างพื้นที่นี้อย่างไร? เราจะให้กำลังใจครูดีเหล่านี้ได้อย่างไร?
โจทย์นี้สามารถทำได้เลย แต่ผู้มีส่วนรับผิดชอบของประเทศต้องให้ความสำคัญด้วย
http://gotoknow.org/blog/mhsresearch/321726
ฐิตา:
Sai Gayatri อัปโหลดโดย neopurusha เมื่อ 25 ก.ย. 2011
Om Sai Eeshwaraya Veedmahe
Sathya Devaya Dhimahi
Tanna Sarva Prachodayat
shanti shanti shanti ommmmmmmmmmmmm...
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version