ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องย่อ มหากาพย์ มหาภารตะ  (อ่าน 24471 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
เรื่องย่อ มหากาพย์ มหาภารตะ
« เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2011, 06:15:46 pm »




เรื่องย่อ มหากาพย์ มหาภารตะ

   อรัมภบท :
     
   มหาภารตะ ซึ่งแต่งขึ้นระหว่างปี 300 ก่อน ค.ศ. และ ค.ศ. 300 ได้รับเกียรติยกย่องให้เป็นมหากาพย์ที่ยาวที่สุดในโลกวรรณคดี ด้วยร้อยกรองถึง 100,000 โศลกๆ ละ 2 บาท (บรรทัด) (ถึงแม้ว่าผลการพิมพ์เชิงวิพากษ์วิจารณ์ล่าสุดแก้ไขใหม่ให้ลดลงเหลือเพียง 88,000 โศลกก็ตาม มหาภารตะก็ยังยาวกว่ามหากาพย์อีเลียดและโอดิสซีย์ของโฮเมอร์รวมกันถึงแปดเท่าและยาวกว่าคัมภีร์ไบเบิล(ฉบับไชยทันยา เจ็ด)ถึงสามเท่าอ้างตามฉบับของนรสีมหานแล้วมีเพียงประมาณ4,000บรรทัดเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับใจความหลักของเรื่องส่วนที่เหลือเป็นตำนานหรือนิทานปรัมปราที่เพิ่มเติมเข้ามาหรืออีกนัยหนึ่งมหาภารตะมีลักษณะคล้ายกับการเดินทางยาวไกลไปตามทางแยกย่อยอ้อมวกวนนั่นเองกล่าวกันว่า“อะไรก็ตามที่มีอยู่ในมหาภารตะยังหาได้ในที่อื่นอีกแต่อะไรก็ตามที่ไม่มีในมหาภารตะจักหาไม่ได้ในที่อื่นใดอีกแล้ว”
   
   ชื่อมหากาพย์นี้ หมายความว่า“(เรื่องราวของ)ภารตะที่ยิ่งใหญ่” ภารตะเป็นบรรพบุรุษแรกเริ่มของทั้งเหล่าปานฑพ และเการพ ที่ต่อสู้กันในมหาสงคราม แต่คำว่า ภารตะโดยทั่วไปยังหมายถึงเผ่าพันธุ์ชาวอินเดียอีกด้วย ดังนั้นมหาภารตะบางครั้งจึงหมายถึง “เรื่องราวที่ยิ่งใหญ่แห่งอินเดีย”
   
   หนังสือแบ่งออกเป็น 18เล่ม(ว่าด้วยสงครามสิบแปดวันท่ามกลางกองทัพ 18กอง)แกนหลักของเรื่องที่เล่าถึงสงครามนั้นอยู่ในหนังสือสิบเล่มแรกชื่อของตัวละครหลักเทียบอักษรโรมันและอักษรไทย(อักษรโรมันที่เป็นตัวใหญ่หมายความว่าให้ลงเสียงหนักที่พยางค์นั้นเมื่ออ่านออกเสียง)แต่เวลาเขียนให้เขียนเหมือนชื่อคนทั่วไป คือเป็นตัวเล็ก นอกจากนอกจากอักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่

   Vyasa[วยาสะ]:ผู้เล่าเรื่องและเป็นบิดาของปาณฑุ และ ธฤษตราษฎร์     
   BHISH-ma: ภีษมะ ลุงเขย(เป็นลุงโดยการแต่งงาน)ของปาณฑุ และ ธฤษตราษฎร์
   Dhri-ta-RASH-tra: ธฤษตราษฎร์ กษัตริย์บอด บิดาของทุรโยธน์และเหล่าเการพ
   GAN-dhari: กัณธารี ภรรยาของ ธฤษตราษฎร์

   KUN-ti:กุนตี ภรรยาของปาณฑุ และแม่ของปาณฑุทั้งห้า และ กรรณะ
   Yu-DHISH-thira: ยุธิษฐิระ ผู้นำของปาณฑพ ทายาทโดยชอบธรรมแห่งราชบัลลังก์
   BHI-ma: ภีมะ ผู้ทรงพลังที่สุดในหมู่ภราดาปาณฑพ
   AR-juna: อรชุน นายขมังธนูและนักรบผู้กล้าแกร่งที่สุด

   NA-kula and Saha-DE-va: นกุล และ สหเทพ พี่น้องปาณฑพฝาแฝด
   DRAU-pa-di: เทราปที ภรรยาของภราดาปาณฑพทั้งห้า
   Du-ry-ODH-ana: ทุรโยธน์ผู้นำของเหล่าเการพ
   Duh-SA-sa-na: ทูสาสนะ น้องชายของ ทุรโยธน์

   KRISH-na:กฤษณะ ผู้สนับสนุนของเหล่าปาณฑพและอวตารแห่งวิษณุ
   DRO-na: โทรณะ ครูของเหล่าปาณฑพและเการพ
   KAR-na: กรรณะ นักรบ บุตรลับของนางกุณตี พันธมิตรฝ่ายเการพ
 
   
   หมายเหตุ: ทั้งหมดอ้างอิงจากฉบับของ C. V. นรสีมหาน
   
   [Narasimhan:CN],กฤษณะธรรมะ[Krishna Dharma:KD]หรือละคร โดยJean-Claude Carriere
   การแบ่งภาคของเรื่องย่อต่อไปนี้ปรับปรุงมาจากฉบับของ David Williams,
   Peter Brook และมหาภารตะ: มุมมองเชิงวิจารณ์ (Critical Perspectives), 1991.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อ มหากาพย์ มหาภารตะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2011, 07:00:07 pm »



   ฤๅษีวยาส...ผู้รจนามหาภารตะยุทธ

   มหาภารตะ
   
   ภาคแรก
   "การพนันสกา"

   ในหนังสือมหาภารตะสองเล่มแรก เราจะเรียนรู้ปูมหลังของภารตะ (เรียกอีกหนึ่งว่า กุรุ หรือ ครู) เรื่อยเรียงไปจนถึงความขัดแย้งระหว่างโอรสทั้งห้าของปาณฑุกับเหล่าเการพซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน เรื่องเล่าโดยนักปราชญ์ผู้หนึ่ง นามว่า วยาสะ ชื่อนี้มีความหมายว่า “ผู้รวบรวม” (ที่จริงแล้วผู้ประพันธ์มหากาพย์มหาภารตะเป็นคนนิรนามเชื่อว่าน่าจะมีผู้ประพันธ์หลายคนกระจายไปทั่วประเทศอินเดีย มารดาของวยาสะคือ สัตยาวตี ซึ่งมีความหมายว่า “ความจริง” ดังนั้นวยาสะจึงเป็น “บุตรแห่งความจริง
   
   ในเรื่องที่เล่าให้ผู้สืบสกุลของเหล่าปาณฑพฟัง วยาสะกล่าวว่า “ถ้าพวกเธอสดับอย่างใคร่ครวญแล้ว สุดท้ายพวกเธอจะกลายเป็นคนอื่นไป” ดูเหมือนว่าในเรื่องไม่กล่าวถึงวยาสะบ่อยนัก บอกแต่เพียงว่าเป็นบิดาแห่งปาณฑุและธฤษตราษฎร์เท่านั้นเอง

- - บรรพบุรุษแห่งปาณฑุและเการพ

สันทนุ กษัตริย์แห่งหัสตินาปุระ ทรงอภิเษกสมรสกับคงคาผู้แสนงดงามและเป็นเทพีแห่งสายน้ำจำแลงมา คงคาจะประทับอยู่กับสันทนุตราบใดที่พระองค์ไม่ทรงตรัสถามถึงการกระทำของพระนาง หลายปีที่ใช้ชีวิตร่วมกันทั้งสองมีโอรสด้วยกันเจ็ดพระองค์ แต่คงคาโยนโอรสแต่ละองค์ลงสู่แม่น้ำ สันทนุเศร้าโศกเสียใจมากแต่จำต้องรักษาสัจจะสัญญาของพระองค์

ในที่สุด เมื่อโอรสองค์ที่แปดประสูติ สันทนุทรงตรัสถามคงคาว่าพระนางเป็นใครและทำไมจึงกระทำเช่นนั้นคงคาเปิดเผยพระองค์และตรัสว่าโอรสของพระนางเคยประทับในสวรรค์แต่ได้รับคำสาปให้กลายเป็นมนุษย์ พระนางจึงไถ่โทษโอรสทุกองค์เสียแต่เนิ่นโดยการโยนลงให้จมน้ำตายทันทีที่ประสูติ แล้วคงคาก็จากสันทนุไปพร้อมกับเทวรัตน์โอรสองค์สุดท้องเนื่องจากสันทนุผิดสัญญา

เทวรัตน์ มีชื่อท้ายซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่า ภีษมะ นามนี้มีความหมายว่า "แห่งการตัดสินใจอย่างแน่วแน่" ได้มาหลังจากสาบานว่าจะไม่แต่งงานหรือมีบุตร บิดาของเทวรัตน์ใคร่แต่งงานใหม่ (กับสัตยาวตี มารดาของวยาสะ) แต่เงื่อนไขการแต่งงานมีอยู่ว่าภรรยาคนที่สองจะเป็นมารดาของกษัตริย์ในวันหนึ่งวันใด เพื่อเสริมพระเกียรติยศให้เป็นไปตามพระประสงค์ของบิดา ภีษมะจึงให้สัจจะสาบานว่าไม่ว่าพระองค์หรือบุตรของพระองค์จะไม่อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์

หลายปีผ่านไปกึ่งภราดาองค์หนึ่งของภีษมะตายในสนามรบและองค์อื่นๆ ต่างก็ถึงวัยอภิเษกสมรส ในนามแห่งกึ่งภราดา ภีษมะฉุดพี่น้องสามสาวและต่อสู้ชนะคดีความกับโจทย์ผู้ฟ้องร้องระหว่างทางกลับบ้าน ภีษมะทราบว่าหญิงหนึ่งในสามพี่น้องนามว่าอำภา คัดเลือกโจทย์เตรียมฟ้องไว้เรียบร้อยแล้ว ภีษมะจึงยินยอมปล่อยนางนั้นไปแต่คู่หมั้นของนางไม่ต้องการนางอีกต่องไป เมื่อเขาทอดทิ้งเช่นนั้นนางจึงกลับมาหาภีษมะและต้องการให้ภีษมะแต่งงานกับนางแต่ภีษมะปฏิเสธ เนื่องจากยึดมั่นกับถ้อยสาบานของตน อำภาจึงสาบานว่าวันหนึ่งนางจะฆ่าภีษมะเสียถึงแม้ว่าทวยเทพได้ประทานพลังให้ภีษมะเลือกวันตายของตนได้ตามถ้อยสาบานก็ตาม

ความสำคัญของอำนาจแห่งคำสาบานปรากฏชัดเจนตลอดทั้งเรื่องของมหากาพย์ มีอยู่ครั้งหนึ่งกล่าวถึงการสาบานกลายเป็นความจริงและต้องปฏิบัติตามให้สำเร็จดังตั้งใจไม่ว่าอะไรจักเกิดขึ้นก็ตาม เมื่อบิดาของภีษมะและกึ่งภราดาทั้งคู่ของตนถึงแก่กรรมก่อนวัยอันสมควรโดยไร้ทายาทสืบสกุล ภีษมะปฏิเสธการแต่งงานกับภรรยาม่าย (มากกว่าหนึ่งคน) ของน้องเลี้ยงของตน (น้องสาว-หลายคน-ของอำภา) ภีษมะจะไม่ฝืนคำสาบานของตนเลยถึงแม้ว่าการดำรงความโสดนั้นไม่ทำให้อะไรแตกต่างไปจากเดิมอีกต่อไปก็ตาม

เจ้าหญิงทุกองค์ในวัยเยาว์มีหน้าที่ให้กำเนิดบุตรและธิดา แต่ใครจะเป็นบิดาของบุตรและธิดานั้นเล่าไม่มีชายอื่นคนใดอีกแล้วในครอบครัวนอกจากภีษมะ แต่ภีษมะก็ทรงปฏิเสธสตรีเสียแล้ว ดังนั้นสัตยาวตีมเหสีองค์ที่สองของกษัตริย์สันทนุจึงตรัสถามโอรสองค์แรก ซึ่งก็คือวยาสะผู้ประพันธ์มหากาพย์ว่าจะยกวยาสะให้แก่เจ้าหญิงสององค์ วยาสะจึงไปหาแต่ทั้งสององค์ไม่ชอบวยาสะเนื่องจากการบำเพ็ญตนอย่างเคร่งครัดต่อคำสาบานว่าจะใช้ชีวิตอย่างอัตคัดขัดสนเยี่ยงคนเข็ญใจ วยาสะจึงสกปรกโสโครกและมีกลิ่นตัวเหม็น

วยาสะอธิบายให้เจ้าหญิงฟังว่าแต่ละองค์จะต้องอดทนเพื่อให้กำเนิดโอรส อย่างไรก็ตามโอรสองค์แรกจะเกิดมาตาบอด เนื่องจากเจ้าหญิงองค์แรกนั้นหลับตาเสียเมื่อเห็นวยาสะ และโอรสองค์ที่สองจะมีพระฉวีซีด เนื่องจากเจ้าหญิงองค์ที่สองนั้นซีดพระองค์เมื่อสัมผัสวรกายกับวยาสะ โอรสบอดทรงพระนามว่าธฤษตราษฎร์ องค์ที่มีพระฉวีซีดทรงพระนามปาณฑุ

วยาสะมีโอรสองค์ที่สามทรงพระนามว่าวิฑูร เกิดแต่สาวพรหมจรรย์ผู้หนึ่ง

เนื่องจากพระเชษฐาพระเนตรบอดและไม่เหมาะสมกับราชบัลลังก์ ปาณฑุจึงได้เสวยราชสมบัติแห่งกรุงหัสตินาปุระวันหนึ่งขณะทรงล่าสัตว์อยู่ในป่า ปาณฑุทรงยิงละมั่งตัวหนึ่งขณะจับคู่ผสมพันธุ์ ละมั่งตัวนั้นแท้ที่จริงเป็นนักบวชพราหมณ์จำแลงมา จึงสาปแช่งปาณฑุว่า ถ้าปาณฑุร่วมรักกับมเหสีองค์หนึ่งองค์ใดในสององค์ (กุณตี และมัทรี) แล้วจักสวรรคตทันที เมื่อทรงตระหนักทราบว่าพระองค์ไม่สามารถมีโอรสและธิดาได้ปาณฑุจึงสละราชบัลลังก์ และปลีกพระองค์ไปประทับอยู่ในภูเขาพร้อมมเหสีทั้งสององค์ กุณตีมเหสีองค์แรกกล่าวแก่ปาณฑุว่า พระนางมีอำนาจมนตราอยู่ จึงสาธยายมนต์ลับอ้อนวอนเทพเจ้าองค์หนึ่งให้ประทานบุตรสักองค์มาให้สมดังปณิธาน

ด้วยอำนาจแห่งมนตรา กุณตีจึงให้กำเนิดโอรสสามองค์ ประกอบด้วย

ยุธิษฐิระ ธรรมเทพบุตร โอรสองค์แรกผู้เปี่ยมด้วยความซื่อสัตย์และเที่ยงธรรม

องค์ที่สองคือ ภีมะ วายุเทพบุตรผู้แข็งแรงที่สุดในหมู่ชนทั้งหลาย

และองค์ที่สาม อรชุน อินทราเทพบุตรนักรบผู้ไม่มีใครต่อกรได้


และมัทรี มเหสีองค์ที่สองของปาณฑุ ก็ได้รับพลังอำนาจนี้ด้วยเช่นกัน พระนางมีโอรสฝาแฝดสององค์ คือ นกุลและสหเทพ ดังนั้นปาณฑุจึงมีโอรสห้าองค์ที่สืบเชื้อสายมาจากทวยเทพโดยตรง จากมเหสีทั้งสององค์ คือ ภราดาปาณฑพ วีระบุรุษแห่งมหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่เรื่องนี้

หลายปีผ่านไปวันหนึ่งปาณฑุพ่ายแพ้ต่อกิเลสตัญหาของพระองค์กับมัทรี แต่เนื่องจากเกรงว่าปาณฑุจักถึงแก่ความตาย มัทรีจึงพยายามผลักไสปาณฑุออกไป แต่การดิ้นรนต่อสู้ของพระนางกลับเร่งเร้าให้อำนาจแห่งดำกฤษณาของปาณฑุทวีขึ้นทันทีที่ทั้งคู่ร่วมรักกันปาณฑุก็สวรรคตตามคำสาปแช่ง และมัทรีด้วยความจงรักภักดีต่อพระสวามีจึงยินยอมตายตามด้วยในเชิงตะกอน

ในขณะนั้น ธฤษตราษฎร์กลายเป็นกษัตริย์แล้วถึงแม้พระเนตรบอดก็ตาม พระองค์ทรงอภิเษกกับกัณธารี ด้วยการจัดแจงขึ้นมา เมื่อทรงทราบถึงความพิการของพระสวามีพระนางจึงตัดสินพระทัยปิดพระเนตรของพระองค์ด้วยการคาดผ้าผูกตาซึ่งพระนางจะไม่ยอมถอดออกอีกเลย เพื่อร่วมเคราะห์กรรมในโลกมืดเยี่ยงเดียวกับพระสวามี แล้วหลังจากทรงครรภ์นานผิดปกติถึงสองปี พระนางให้กำเนิดเนื้อกลมๆ ก้อนหนึ่งออกมา วยาสะบอกให้พระนางแยกก้อนเนื้อนั้นออกเป็นหนึ่งร้อยส่วนและเอาไปใส่ไว้ในโอ่งน้ำมันเนย โดยการนี้พระนางจึงกลายเป็นพระมารดาของโอรสหนึ่งร้อยองค์ ซึ่งก็คือ ภราดาเการพ นั่นเอง

องค์แรกที่ประสูติมาคือ ทุรโยธน์ มีลางร้ายบอกเหตุแห่งความรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อทุรโยธน์ประสูติมาสู่โลก กล่าวคือหมาไนเห่าหอนคำรามพายุบ้าคลั่งเพลิงพิโรธลุกลามไปทั่วเมือง ธฤษตราษฎร์ทรงกังวลพระทัยกับลางร้ายนี้มาก วิฑูรจึงทูลว่าโอรสองค์แรกนำเอาความเกลียดชังและการทำลายล้างมาสู่โลก วันหนึ่งจะทำลายล้างวงศ์ของตนวิฑูรรบเร้ากษัตริย์ให้จำกัดโอรสองค์นี้เสียแต่ธฤษตราษฎร์ทรงเพิกเฉยต่อคำแนะนำของวิฑูร

ธฤษตราษฎร์ทรงเป็นนักปกครองที่อ่อนแอ พระองค์มักยกอ้างถึงความบอดของตนเพื่อปฏิเสธการเผชิญหน้ากับความจริงและความฝืนพระทัยในการเผชิญกับการตัดสินพระทัยอันยากยิ่ง ต่อมาทุรโยธน์จึงจูงจมูกได้อย่างง่ายดาย พระองค์ทรงเอาแต่โทษชาตากรรม ชอบแต่หาข้ออ้างมาแก้ตัวกับความเฉื่อยชาของพระองค์เอง อาทิ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้นเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ใครจักไปหยุดยั้งไว้หาได้ไม่แล้วข้าฯ จักทำอะไรได้

ชาตากรรมคือพลังอำนาจทั้งมวลอย่างไม่ต้องสงสัย แต่คณะมนตรีแห่งธฤษตราษฎร์แนะนำว่า "โอ พระองค์ แน่นอนล่ะว่าผู้ใดซึ่งประสบเหตุการณ์เลวร้าย อันเป็นผลจากการกระทำของตนเองไม่ควรตำหนิกล่าวโทษเทพเจ้า ชาตากรรม หรืออื่นใด เราแต่ละคนต่างก็ได้รับผลจากการกระทำของเราเองทั้งสิ้น"



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อ มหากาพย์ มหาภารตะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2011, 07:35:57 pm »


  - - การแข่งขันระหว่างพี่น้องปาณฑพและเการพดุเดือดขึ้น
   
   ภีษมะตอนนี้ทรงชราภาพแล้วเข้ามารับผิดชอบอบรมเลี้ยงดูภราดาทั้งสองกลุ่ม เจ้าชายทั้งสองฝ่ายนี้ต่างก็เอาแต่แข่งขันต่อสู้กันอยู่ตลอดเวลา พยายามแม้กระทั่งสังหารอีกฝ่าย วันหนึ่งโทรณะ ครูและผู้ชำนาญสรรพาวุธ ปรากฏตัวขึ้นและเสนอตัวเข้ามาสอนเจ้าชายน้อยทั้งปวง โทรณะมีภารกิจลับนั่นคือการแก้แค้นการดูถูกเหยียดหยามที่เพื่อนเก่าคนหนึ่งกระทำไว้แก่ตนขณะยังหนุ่ม
   
   โทรณะใกล้ชิดกับทรุปาทะแต่หลายปีต่อมา เมื่อโทรณะไปเห็นเพื่อนในวัยเด็กของตน ซึ่งกลายเป็นกษัตริย์ไปแล้ว กลับได้รับการถูกถูกหยียดหยามจากทรุปาทะว่า “ผู้เท่าเทียมกันเท่านั้นจึงเป็นเพื่อนกันได้” โทรณะขอให้ภราดาปาณฑพแก้แค้นแทนให้เป็นค่าตอบแทนในการสอน ภราดาปาณฑพเป็นนักรบที่กล้าแกร่งจึงพิชิตราชอาณาจักรแห่งทรุปาทะแล้วยกต่อไปให้โทรณะ แต่โทรณะแบ่งปันอาณาจักรกึ่งหนึ่งคืนแก่เพื่อนเก่าทันที พร้อมกับกล่าวว่า “ตอนนี้เราเท่าเทียมกันแล้ว
   
   เพื่อการแก้แค้น ทรุปาทะมีบุตรโดยการอำนาจมนตราเกิดแต่พระเพลิง โอรสองค์หนึ่งคือธฤษตยุมนะซึ่งชาตากรรมกำหนดจะเป็นผู้สังหารโทรณะ โหรคนหนึ่งทำนายว่าบุตรสาวคนหนึ่งชื่อ เทราปที จะนำความวินาศฉิบหายมาสู่ผู้ปกครองที่ไม่เที่ยงธรรมและบุตรองค์ที่มีนามว่า สิขันติ นั้น คืออำภากลับมาเกิดใหม่
   
   ต่อมาในสงครามโทรณะและภีษมะจะเข้าร่วมกับฝ่ายเการพ ไม่ใช่ไม่ซื่อสัตย์จงรักภักดีแต่เป็นเพราะอริผู้นำความตายมาให้ของทั้งคู่ซึ่งคือ ธฤษตยุมนะและสิขันตินั้นเข้าร่วมกับฝ่ายปาณฑพ
   
   โทรณะสำนึกดีถึงฐานะความเป็นผู้ชำนาญสรรพาวุธที่ยิ่งใหญ่อันหาผู้ใดทัดเทียมไม่ได้ของอรชุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยิงธนูและช่วยเหลืออรชุนด้วยการอบรมสั่งสอนอย่างเข้มงวดเป็นพิเศษ ในการแข่งขันประลองยุทธโทรณะทูลปาณฑพแต่ละองค์ให้ยิงเป้าหมายตานกไม้ที่อยู่บนต้นไม้ โทรณะสลับถามปาณฑพแต่ละองค์ว่า
   
   "โอ ทูลกระหม่อม ตรัสบอกข้าฯ เถิดว่าทรงเห็นอะไร"
   
   แต่ละองค์ตรัสตอบว่า หม่อมฉันเห็นครูของหม่อมฉัน ภราดาของหม่อมฉัน ต้นไม้ แล้วก็นก
   
   โทรณะตรัสต่ออีกว่า "กระนั้นหรือ แล้วพระองค์จะทรงยิงไม่ถูกเป้าเลยพระเจ้าข้า"
   
   แต่อรชุนตรัสว่าเห็นแต่นกเท่านั้นและที่จริงเห็นแต่ตาของนกเท่านั้น ดังนั้นจึงเพ่งความสนใจไปแต่ที่เป้าหมายเท่านั้นแล้วทรงยิงอย่างแม่นยำสมบูรณ์แบบ โทรณะจึงประทานพราห์มาศิระซึ่งเป็นสุดยอดอาวุธเป็นรางวัลแก่อรชุน เพื่อเอาไว้ใช้ต่อสู้กับผู้สืบเชื้อสายมาจากสวรรค์เท่านั้นหรืออีกนัยหนึ่งเป็นอาวุธล้างโลก
   
   โทรณะจัดเวทีแข่งขันเพื่ออวดทักษะของปาณฑพแต่ละองค์ แต่บุรุษแปลกหน้าคนหนึ่งกลับปรากฏกายขึ้นมาท้าทายอรชุนและมีฝีมือเชิงธนูทัดเทียมกับอรชุน บุรุษคนนี้คือ กรรณะ ที่ผู้อ่านทราบมาแล้วว่าเป็นโอรสองค์แรกของกุณตี เกิดแต่สูรยเทพหรือเทพแห่งตะวัน พระนางกุณตีมีความระอาต่อสูรยเทพอย่างยิ่งก่อนอภิเษกสมรสกับปาณฑุ จึงลอยกรรณะไปในตระกร้ากับสายน้ำ (เช่นเดียวกับโมเสส) ดังนั้น กรรณะจึงเป็นเชษฐาองค์โตของภราดาปาณฑุนั่นเอง
   
   อย่างไรก็ตามกรรณะไม่ทราบว่ามารดาที่แท้จริงของตนเป็นใคร คนขับรถม้าเก็บได้แล้วนำไปเลี้ยงจนเติบโต เหล่า ปาณฑุ ทรงดูถูกเย้ยหยันสถานภาพทางสังคมอันต่ำต้อยของกรรณะและจะไม่ทรงต่อสู้กับใครก็ตามที่ไม่มีพระชาติ เป็นขัตติยะมาตั้งแต่เกิด แต่ทุรโยธน์ลูกพี่ลูกน้องของภราดาปาณฑพเล็งเห็นโอกาสสร้างพันธมิตรกับกรรณะ โดยไม่ใส่ใจต่อกฎอันเข้มงวดแห่งวรรณะตรัสว่า "ชาติกำเนิดไม่สำคัญและมนุษย์เป็นเสมือนหนึ่งสายน้ำซึ่งมีต้นกำเนิดไม่เป็นที่รู้จักแก่ชนทั่วไป"
   
   ทุรโยธน์ยกอาณาจักรเล็กๆแห่งหนึ่งให้แก่กรรณะและกรรณะสาบานเป็นมิตรกับเหล่าเการพตลอดไป
   
   วรรณะ (สถานภาพทางสังคม) อันต่ำต้อยของกรรณะติดตามหลอกหลอนกรรณะตลอดทั้งเรื่องในมหากาพย์ ต่อมาในการแข่งขันแย่งชิงเพื่อให้ได้มาซึ่งเจ้าหญิงเทราปที พระนางทรงปฏิเสธกรรณะอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากกรรณะมาจากครอบครัวของคนรับใช้ สำหรับบุคคลผู้ซึ่งปรารถนาให้ตนเป็นที่ยอมรับจากความสำเร็จแล้ว การใช้ชีวิตอยู่ใต้เงาทะมึนมืดเยี่ยงนี้ย่อมทนไม่ได้
   
   ในฐานะสูรยเทพบุตรกรรณะถือกำเนิดมาพร้อมกับเกราะทองคำห่อผิว ต่อมาอินทราใช้เล่ห์เลี่ยมแกล้งกรรณะทำให้เกราะคุ้มครองที่ได้รับประทานมา จากสวรรค์นี้สูญไปเสีย
   
   หลังกำเนิดกรรณะกุณตียังดำรงความเป็นสาวพรหมจารีอยู่
   
   ภราดาปาณฑพหลบหนีอัคคีภัยเอาชีวิตรอดไปได้อย่างฉิวเฉียด ทุรโยธน์วางแผนคลอกภราดาปาณฑพให้ตายในวังที่ก่อสร้างด้วยวัสดุที่เป็นเชื้อ ไฟอย่างดี หลังจากนั้นต่อมาอีกหลายเดือน เหล่าปาณฑพ หลบซ่อนองค์โดยอาศัยอยู่ในป่าคืนหนึ่งในขณะที่ภีมะอยู่เฝ้ายามและพี่น้องอื่นพากันหลับไหล นางรากษสตนหนึ่งนามว่าหิทิมพีปรากฏตนขึ้นมาในร่างของหญิงรูปงามและตกหลุมรักอย่างคลั่งไคล้กับภีมะผู้ซึ่งต่อสู้และสังหารพี่ชายผู้ชั่วร้ายของนางรากษสนั้น  ภีมะและนางจำแลงมีบุตรภูตเป็นชายที่แข็งแรงมากด้วยกันคน(ตน)หนึ่งนามว่า ฆโตคัตฉะ ผู้ซึ่งปฏิญาณตนเอาไว้ว่าจะมาช่วยเหลือบิดาของตนเมื่อถึงคราวจำเป็น



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อ มหากาพย์ มหาภารตะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2011, 08:25:52 pm »



ท้าวยุธิษฐิระประกอบพิธีราชสูยะในกรุงอินทรปรัสถ์

   - - อรชุนชนะได้เจ้าหญิงเทราปที
   
   ภราดาปาณฑพเข้าร่วมพิธีสยัมวารของเจ้าหญิงเทราปที ในพิธีนี้พระนางจะทรงเลือกพระสวามีจากเจ้าชายทั่วแว่นแคว้นที่มีสิทธิเข้าร่วมพระราชพิธีนี้ อรชุนชนะการแข่งขันยิงธนูอย่างง่ายดาย เทราปทีจึงเลือกอรชุนเป็นสวามี เมื่ออรชุนบอกมารดาว่าได้ “รางวัล” มา กุณตีบอกให้อรชุนแบ่งรางวัลนั้นให้พี่น้องด้วย โดยที่ยังไม่ได้เห็นเทราปทีและไม่ทราบว่ารางวัลนั้นคืออะไร คำกล่าวของกุณตีเป็นเสมือนหนึ่งคำสาบานที่ถอนคืนไม่ได้ แม้จะพลาดพลั้งไปแล้วก็ตาม ดังนั้นภราดาทั้งห้าองค์จึงอภิเษกสมรสกับเทราปทีราชบุตรีแห่งทรุปาทะ
   
   การอภิเษกสมรสที่ไม่ปกติสามัญครั้งนี้สมใจกรรณะ เนื่องจากในชาติปางก่อนนั้นเทราปทีได้อธิษฐานไว้กับศิวเทพให้มีสวามีห้าครั้ง และดังนั้นเทราปทีจึงได้รับผลนั้นตามแรงปณิธานของตนในชาติปัจจุบัน ในมหาภารตะศิวะเทพไม่ใช่ผู้ที่ต่อมาเกิดเป็นบูรณะ แต่มีภาระมากกว่านั้นกับการประทานพรแห่งการกำเนิดของมนุษย์ รวมทั้งประทานโอรสหนึ่งร้อยองค์ให้พระนางกัณธารีด้วย
   
   ภราดาทั้งห้าตกลงเคารพความเป็นส่วนตัวของแต่ละองค์เมื่ออยู่กับพระนางนางเทราปที แต่วันหนึ่งอรชุนเข้าไปในกระโจมที่พักเพื่อซ่อมแซมอาวุธของตน และพบยุธิษฐิระอยู่บนเตียงด้วยกันกับเทราปที ถึงแม้ว่ายุธิษฐิระจะยกโทษให้ก็แล้วตาม อรชุนก็ยังยืนยันรักษาคำสาบานเพื่อไถ่บาปนั้น จึงเนรเทศตนเป็นเวลาหนึ่งปี ขณะที่อยู่ห่างไกลออกไปนั้น อรชุนแต่งงานอีกกับสตรีสามคน คนหนึ่งเป็นน้องสาวของกฤษณะ โดยส่วนใหญ่แล้วเพื่อพันธมิตรทางการเมือง
   
   ในขณะที่ความตรึงเครียดระหว่างลูกพี่ลูกน้องเขม็งเกลียวมากขึ้น กฤษณะก็ปรากฏองค์ขึ้นมา กล่าวกันว่าวิษณุเทพผู้พิทักษ์อาจทรงสร้างองค์กฤษณะขึ้นมาแล้วส่งลงมาพิทักษ์โลกให้รอดจากความสับสนยุ่งเหยิง
   
   การปรากฦฏองค์ของกฤษณะเป็นการเริ่มต้นของแก่นเรื่องสำคัญสามประเด็นในมหากาพย์นั่นคือ ธรรมะ (ระเบียบของจักรวาล) ซึ่งตกอยู่ในอันตรายจากความสับสนยุ่งเหยิง ดังนั้นกฤษณะต้องก้าวเข้ามาเพื่อชี้ทางว่านี่ไม่ใช่แต่เพียงการแข่งขันกันในวงศาคณาญาติตระกูลหนึ่งเท่านั้นแต่แป็นความขัดแย้งกับผลลัพท์ที่มีผลต่อทั้งโลก
   
   ในบูรณะสมัยโบราณมหากาพย์ดำเนินเรื่องว่าวิษณุได้ปรากฏองค์อวตารหรือเนรมิตรองค์จำแลงมาบนโลกแล้วเก้าครั้งในอดีต เพื่อจัดโลกให้กลับไปอยู่บนวิถีทางที่ถูกต้อง และจักปรากฏองค์ขึ้นมาอีกครั้ง ณ ตอนสิ้นยุค การเคารพบูชากฤษณะเสมือนหนึ่งเทพเจ้าในมหาภารตะมีกล่าวแทรกถึงต่อไปในเรื่อง เพราะมีความตรึงเครียดที่สำคัญอยู่ในมหากาพย์ ระหว่างการบรรยายภาพของกฤษณะซึ่งเสด็จมาจากสวรรค์และเจ้าชายมนุษย์ที่เป็นมุขมนตรีของภราดาปาณฑพ
   
   ด้วยคำแนะนำของกฤษณะภราดาปาณฑพจึงไปปรากฏองค์ต่อกษัตริย์บอด เพื่อสันติภาพ ธฤษตราษฎร์จึงเสนอแบ่งปันอาณาจักรให้ภราดาปาณฑพกึ่งหนึ่ง แต่เป็นพื้นที่ที่ไม่มีอะไรเลยนอกจากป่าดงพงพีและทะเลทราย ยุธิษฐิระยอมรับข้อเสนอด้วยความหวังว่าจะป้องกันไม่ให้เกิดสงครามขึ้น ระหว่างนั้นอรชุนและกฤษณะตกลงช่วยเหลือพราห์มหิวโซคนหนึ่ง ซึ่งต่อมาเปิดเผยตัวว่าคืออัคนีเทพแห่งไฟ อัคนีต้องการหากินอยู่ใกล้ป่าที่มีฝนของอินทราคุ้มครองอยู่  อัคนีให้จักรเป็นรางวัลแก่กฤษณะและให้กัณทิวาคันศรแห่งวรุณพร้อมลูกศรที่ใช้ไม่รู้จักหมดแก่อรชุน ด้วยรางวัลที่ได้รับมาอรชุนสามารถสร้างม่านลูกศรคลุมไว้ไม่ให้ฝนตกลงมาดับเพลิงของอัคนีได้ แม้แต่อินทรายังเอาชนะอรชุนไม่ได้ เนื่องจากอรชุนมีกฤษณะอยู่ด้วย (สัญญาณบ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่ของวิษณุเทพที่เหนือกว่าอินทรเทพในตอนนี้) มายา (ไม่ใช่เทพีแห่งภาพหลอน แต่เป็นอสูรที่หลบหนีรอดจากเพลิงไปได้) สร้างหอที่ยิ่งใหญ่แห่งอินทรปราสาทขึ้นมาโดยไม่รู้สึกสำนึกในบุญคุณ
   
   ในแว่นแคว้นใหม่ที่ภราดาปาณฑพได้รับแบ่งปันมา ยุธิษฐิระพลิกผืนดินแห้งแล้งกันดารให้เป็นราชอาณาจักรที่มั่งคั่งและประกาศราชาภิเษกพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งปวง ทุรโยธน์อิจฉาและทำอับอายขายหน้าระหว่างเสด็จเยี่ยมพระราชวังอันโอ่อ่างดงามตระการตาของยุธิษฐิระ เนื่องจากสำคัญผิดว่าพื้นกระจกเป็นสระว่ายน้ำ แล้วยังหล่นลงไปในสระน้ำ เนื่องจากสำคัญผิดว่าเป็นพื้นกระจก เทราปทีและภีมะหัวเราะเยาะใส่ทุรโยธน์ เมื่อกลับถึงอาณาจักรของตน ทุรโยธน์มุ่งมั่นหาทางประดิษฐ์คิดทำลายล้างฝ่ายปาณฑพให้จงได้



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อ มหากาพย์ มหาภารตะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2011, 06:34:46 am »



พระกฤษณะเนรมิตผ้ายาวไม่มีปลายจบพันห่อวรกายของพระนางเทราปที

   - - การพนันสกา และความอับอายขายหน้าของเทราปที
   
   ทุรโยธน์ปฏิบัติตามคำแนะนำของสกุณีลุงเจ้าเล่ห์และนักชาญสกาที่ไม่มีใครรู้จัก โดยเชิญยุธิษฐิระมาเล่นการพนันกัน เป็นที่ทราบกันดีว่าการพนันเป็นจุดอ่อนของลูกพี่ลูกน้องของตน ยุธิษฐิระ ตกลงรับคำเชิญ
   
   ทุรโยธน์ไม่ใช่ผู้ต้นคิดแต่มักพึ่งพาอาศัยความคิดเห็นของคนอื่นอยู่เสมอ ลุงของทุรโยธน์เป็นผู้ต้นคิดแผนลอบวางเพลิงคลอกเหล่าปาณฑพและการพนันสกา(ต่อมาระหว่างสงครามทุรโยธน์เสนอแนะให้จับกุมยุธิษฐิระและใช้กลอุบายอื่น ซึ่งโทรณะถึงกับเรียกว่าโง่เง่าไร้หัวคิดสิ้นดี)
   
   ทุรโยธน์มักขู่ว่าจะประกอบอัตวินิบาตกรรม เมื่อไม่ได้อะไรตามแนวทางที่ตนต้องการ (ตลกขบขันแต่หัวเราะไม่ออก)การยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางมากเกินไปย่อมนำไปสู่ความต้องการที่ไม่เป็นจริง และความคาดหวังที่ไม่สมเหตุสมผลจากชีวิต ทุรโยธน์เป็นโอรสของกษัตริย์บอด ที่ใช้ชีวิตอยู่อย่างมืดบอด
   
   ทั้งธฤษตราษฎร์และยุธิษฐิระต่างก็เพิกเฉยต่อคำเตือนของวิฑูรให้หลีกเลี่ยงการพนันเสีย โดยปล่อยให้ผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามชาตากรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และอยู่เหนือสิ่งอื่นใด กฤษณะเตือนภีษมะไม่ให้สอดมือเข้าไปแทรกเรื่องของคนอื่นในการพนันสกา "หากเผ่าพันธุ์ของเธอต้องถูกทำลายล้างไปเพื่อพิทักษ์ธรรมะแล้วไซร้ เธอจักยินยอมหรือไม่
   
   ทุรโยธน์นึกถึงคำดำรัสของบิดาว่าธรรมะของนักรบคือต้องสู้รบอย่างมีเกียรติ ไม่ใช่ทำทุกวิถีทางให้ได้มาซึ่งชัยชำนะ จึงกล่าวว่า “วิถีแห่งนักรบคือยึดมั่นอยู่กับชัยชำนะ ไม่ว่าบนวิถีนั้นมีธรรมะหรืออธรรมะอยู่ก็ตาม”

เนื่องจากความลุ่มหลงมัวเมาอยู่ในการพนัน ยุธิษฐิระจึงวางเดิมพันและสูญสิ้นทุกสิ่งทุกอย่างที่มี เป็นต้นว่า แผ่นดิน ราชอาณาจักร พี่น้องของตน แม้กระทั่งตนเอง และสุดท้ายคือ เทราปที ผู้ซึ่งถูกจิกผมทึ้งดึงลากต่อหน้าสมัชชาแห่งราชครู ถือว่าเป็นเรื่องที่หยาบคายอย่างยิ่งเพราะผมของสตรีแต่งงานแล้วเป็นสิ่งสักการะแด่พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งใครจะมาล่วงเกินหาได้ไม่

เทราปที ท้าทายเหล่าเการพด้วยคำถามว่า "คนที่สูญสิ้นแม้กระทั่งตนเองเยี่ยงยุธิษฐิระจักวางคนอื่นเป็นเดิมพันได้อย่างไร" แต่ไม่มีใครตอบพระนางได้ แม้กระทั่งภีษมะเองก็สับสน “มรรคาแห่งธรรมะช่างหลักแหลมนัก” เมื่อแม้กระทั่งภีษมะผู้ชาญฉลาดตอบคำถามนี้ไม่ได้ เทราปทีจึงตรัสว่า “หม่อมฉันคิดว่าเวลาเลื่อนหลุดออกจากรอยต่อแล้ว ธรรมะอันเป็นนิรันดร์มาแต่โบราณกาลสูญสลายไปแล้วในฝ่ายเการพ” แทนการตอบคำถามแก่เทราปทีให้บังเกิดความชื่นชม ในระหว่างนั้นเหล่าเการพกลับดูถูกเย้ยหยันหยาบหยาม กรรณะผู้ยังมีแผลเป็นอยู่ในใจจากการปฏิเสธในพีธีสยัมวาร เรียกพระนางว่าเป็นโสเภณีที่ให้บริการแก่บุรุษห้าคน ทุรโยธน์หาสิ่งที่น่าพอใจจากเทราปที โดยเปลือยโคนขาของพระนางออก (น่าสะอิดสะเอียนมากในวัฒนธรรมอินเดีย) เนื่องจากความโกรธแค้นที่ภรรยาได้รับการกระทำเยี่ยงนี้ ภีมะสาบานว่าวันหนึ่งจะดื่มโลหิตและหักโคนขาของทุรโยธน์ให้หายแค้นจงได้


เทราปทีถูกเปลื้องอังสะจนเกือบเปลือยเปล่าอยู่แล้ว จึงอ้อนวอนกฤษณะ กฤษณะจึงเข้าช่วยเหลือพระนางและเนรมิตผ้ายาวไม่มีปลายจบพันห่อวรกายของพระนางแทนที่ เทราปทีสาบานว่าสักวันหนึ่งความแค้นของพระนางต้องได้รับการชดใช้จะมีสงครามใหญ่เกิดขึ้น สงครามที่ไร้ความเมตตาการุณย์ จบคำสาบแช่งของพระนาง หมาไนตัวหนึ่งเห่าหอนขึ้นมา ด้วยความหวาดกลัว ทุรโยธน์ขออภัยต่อเทราปทีและยกทุกสิ่งทุกอย่างที่สวามีทั้งห้าของพระนาง สูญเสียไปในการพนันคืนให้หมด แต่เทราปทีไม่ขออะไรเลยสำหรับพระนางเอง ตรัสว่า “ความละโมบเผาผลาญมนุษย์ทุกรูปนาม และเป็นความล่มสลาย (ความชอบธรรม) ของธรรมะ ข้าฯ ขอปฏิเสธความละโมบ

เมื่อเห็นว่าความได้เปรียบของตนสูญไปแล้วทุรโยธน์รบเร้าให้ทอดลูกเต๋าอีกหนึ่งครั้ง ยุธิษฐิระตกลงเล่นการพนันครั้งสุดท้าย แต่ซ้ำรอยคำรบเดิม คือแพ้ เหล่าเการพจึงประกาศโทษของภราดาปาณฑพและเทราปที ว่าให้เนรเทศไปอยู่ป่าเสียสิบสองปีและในปีที่สิบสามให้ไปอยู่ในที่ที่ไม่มีใครรู้จักและปลอมตัวไม่ให้ใครจำได้ ถ้าใครก็ตามจำได้แล้ว ภราดาปาณฑพต้องเนรเทศตัวเองอีกต่อไปสิบสองปี

จบภาคหนึ่ง "การพนันสกา"


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อ มหากาพย์ มหาภารตะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2011, 07:00:18 am »


   

   มหาภารตะ
   
   ภาคสอง
   “การเนรเทศ”

   หนังสือเล่ม 3-5 เล่าถึงการใช้ชีวิตในป่าสิบสองปีก่อนมหาสงคราม ภราดาปาณฑพไม่ได้อยู่ตามลำพังในไพรเถื่อน หากแต่มีเหล่าข้าทาสบริวารและพราห์มที่ซื่อสัตย์จงรักภักดีติดสอยห้อยตามไปเป็นจำนวนมาก ทวยเทพประทานจานอาหารจานหนึ่งที่กินไม่มีวันหมดมาเลี้ยงทุกคน
   
   ตลอดเรื่องของมหากาพย์เน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของพวกพราห์มซึ่งอยู่ในวรรณนักบวช ยุธิษฐิระใคร่เอาราชอาณาจักรของพระองค์คืนมา ดังนั้นจึงจัดเตรียมพราห์มไว้ได้ 10,000 รูป พราห์มเป็นวรรณะที่เราปฏิเสธไม่ได้ไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม (ดูกรณีที่เกิดขึ้นระหว่างกรรณะและอินทราต่อไปข้างหน้า)
   
   - - ความสำคัญของธรรมะ
   
   เทราปทีและภีมะกล่าวตำหนิยุธิษฐิระว่าเฉื่อยชาและไม่ยอมกระทำการใดๆ เลย เนื่องจากเห็นได้อย่างชัดเจนว่าสกุณีทำสกากล (โกงลูกเต๋า) สู้ลุกขึ้นมารบกันเสียเลยจะไม่ดีกว่าหรือ ยุธิษฐิระปฏิเสธอย่างเรียบเฉย ท้าวเธอจะรักษาคำพูด กล่าวคือ ตัดสินใจปฏิบัติตามธรรมะของท้าวเธอ
   
   ธรรมะ (แปลได้ความหมายต่างๆ หลากหลายว่าเป็นหน้าที่ทางสังคมบ้าง ความชอบธรรมบ้าง หรือ ระเบียบจักรวาลบ้าง) คือภาระผูกมัดทางศีลธรรม ซึ่งมนุษย์แต่ละคนควรสำนึกและปฏิบัติตาม หากปฏิบัติตามไม่ได้เสียแล้วก็จักเป็นอันตรายต่อวิถีปฏิบัติและแนวคิดแห่งจักรวาลทั้งหมด
   
   เทราปทีเข้าใจไม่ได้ว่าทำไมพระนางและพรรคพวกต้องมาตกทุกข์ได้ยากอย่างนี้ด้วย ถ้าหากว่าพวกตนเป็นบุคคลที่ชอบธรรมแล้ว แต่ทุกสิ่งทุกอย่างบังเกิดขึ้นโดยพระประสงค์แห่งพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นทำไมคนดีๆ ถึงตกทุกข์ได้ยากด้วย ดูเหมือนสักแต่ว่าคนที่มีอำนาจเท่านั้นจึงรอดพ้นจากอันตรายไม่ใช่คนที่ชอบธรรมเลย
   
   ยุธิษฐิระแก้ให้เทราปทีว่า “ไม่มีใครประกอบความดีงามด้วยความปรารถนาเพื่อให้ได้รับผลตอบแทน บุคคลอย่างพ่อค้าศีลธรรมที่มีบาปติดตัวจักไม่มีวันได้เก็บเกี่ยวผลตอบแทนเลย…จงอย่าสงสัยต่อความดีงามเลย เพราะเธอจักไม่เห็นผลตอบแทนของมัน หากปราศจากความดีงามเสียแล้ว แต่ผลตอบแทนแห่งความดีงามจักปรากฏออกมาเองไม่ช้าก็เร็ว เช่นเดียวกันกับผลตอบแทนแห่งการกระทำผิดบาป ผลตอบแทนแห่งความดีงามที่แท้จริงนั้นเป็นนิรันดร์ และไม่มีใครทำลายล้างลงได้"



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อ มหากาพย์ มหาภารตะ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2011, 08:16:58 am »


   - - การเตรียมสงคราม
   
   จากนั้นอรชุนก็จากไป มุ่งหน้าสู่ภูเขาต่างๆที่สูงที่สุดเพื่อแสวงหาอาวุธสวรรค์ ที่เหล่าปาณฑพต้องใช้ในสงคราม อรชุนพบศิวเทพและได้รับประทานอาวุธที่ทรงอาณุภาพไว้ อรชุนจึงใช้เวลาห้าปีกับอินทราเทพบิดาแห่งอรชุน เพื่อฝึกฝนเรียนรู้การใช้อาวุธต่างๆต่อสู้กับเหล่าปิศาจอสูร
   
   ในขณะนั้น กรรณะ ตัดสินใจว่าตนเองก็ต้องได้รับอาวุธสวรรค์ด้วยเช่นเดียวกัน จึงคอยปรนนิบัติรับใช้พราห์มที่ทรงวิทยายุทธคนหนึ่งชื่อ ปรศุราม เป็นเวลาหลายเดือน ปรศุรามเป็นพราห์มที่เกลียดนักรบ ปรศุรามมอบมนตร์สูตรกำกับอาวุธสุดยอดให้แก่กรรณะที่คอยปรนนิบัติรับใช้ตน  แต่ด้วยพฤฒิกรรมกล้าอย่างเกินเหตุ (ของกรรณะ) เนื่องจากไม่มีเสียงร้องออกมาเลย เมื่อหนอนตัวหนึ่งเจาะไชเข้าไปในโคนขา ปรศุรามจึงทราบว่ากรรณะเป็นนักรบและสาปแช่งกรรณะให้ลืมมนตร์สูตรลับเมื่อถึงคราวที่ต้องใช้อาวุธที่ปรศุรามมอบให้และตอนนั้นจะเป็นคราวฆาตของกรรณะ
   
   ในบูรณะสมัยโบราณ ปรศุรามเป็นอวตารภาคหนึ่งแห่งวิษณุเทพ แต่ไม่มีอะไรบ่งชี้ถึงประเด็นดังกล่าวเลยในมหากาพย์
   
   จากนั้นกรรณะได้พบอินทรา (เทพบิดาแห่งอรชุน) ที่จำแลงองค์ลงมาเป็นพราห์มคนหนึ่ง เนื่องจากได้สาบานว่าจะไม่ปฏิเสธคำร้องขอของพราห์มเอาไว้ก่อนแล้ว กรรณะจึงยินยอมสละเกราะทองคำคุ้มกายที่ได้รับประทานมาจากสวรรค์ตั้งแต่เกิด กรรณะลอกเกราะทองคำนั้นออกจากผิวกายของตน เลือดไหลโซมกายและแลกกับอาวุธอื่นที่ทรงอาณุภาพ ซึ่งจะใช้สังหารสิ่งมีชีวิตใดๆ ก็ได้แต่จะใช้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
   
   ระหว่างการเนรเทศ ภราดาปาณฑพช่วยชีวิตทุรโยธน์ที่เสียทีตกเป็นเชลยในสงครามเอาไว้ ทำให้ทุรโยธน์อับอายขายหน้ามาก ด้วยความทะนงในเกียรติยศและศักดิ์ศรี ทุรโยธน์จึงสาบานว่าสักวันหนึ่งจะชดใช้หนี้นั้นคืนให้แก่อรชุน(ระหว่างสงคราม อรชุน ตรัสแก่ทุรโยธน์ว่าจะยอมต่อลูกศรของภีษมะห้าดอก อันหมายสังหารภราดาปาณฑพและก็ปฏิบัติเช่นนั้นอย่างเคร่งครัดเพื่อรักษาคำสาบาน) ทุรโยธน์หดหู่สิ้นหวังหลังจากภราดาปาณฑพช่วยให้รอดจากการการเป็นเชลยมาได้และแสดงเจตนาว่าใคร่จะประกอบอัตวินิบาตกรรม
   
   พวกทนพ (ครอบครัวอสูร) ต้องการให้ทุรโยธน์เป็นนักรบเพื่อปกป้องฝ่ายตน (ทุรโยธน์มาเกิดตามคำเรียกร้องของปิศาจอสูรเหล่านี้) จึงมาปรากฏตนต่อหน้าทุรโยธน์ พวกปิศาจอสูรให้สัญญาว่าจะช่วยคุมทัพให้ในสงครามที่กำลังจะเกิดขึ้นทำให้ทุรโยธน์มีความหวังลมๆ แล้งๆ อยู่ต่อไป
   
   วันหนึ่งภราดาปาณฑพสี่องค์
ถึงแก่มรณกรรม เนื่องจากดื่มน้ำจากทะเลสาบพิษ อย่างไรก็ตามยุธิษฐิระทรงกู้ชีพอนุชาทั้งสี่องค์กลับคืนมาได้ โดยตอบคำถามนกกระเรียนจำแลงได้ถูกต้องว่า ธรรมะใดที่ยุธิษฐิระยึดถืออยู่



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อ มหากาพย์ มหาภารตะ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2011, 08:51:50 am »


   - - ปีที่สิบสาม
   
   ตามเงื่อนไงการพนันสกา ปีที่สิบสามซึ่งเป็นปีที่ภราดาปาณฑพต้องปลอมตัวมาถึงแล้ว ยุธิษฐิระ (ซึ่งปลอมตัวเป็นพราห์มเข็ญใจ) อนุชาที่เหลือและเทราปที (ผู้ซึ่งผ่านการคัดเลือกเป็นคนรับใช้พเนจร) ทั้งหมดหลบอยู่ในราชสำนักแห่งกษัตริย์วิรัตน์ กิจาคะนายพลคนหนึ่งในราชสำนักแห่งวิรัตน์หลงรักเทราปที โดยสร้างปัญหาต่างๆ นานาเพื่อหาทางครอบครองเทราปทีให้ได้ แม้กระทั่งคุกคามว่าจะเอาชีวิตของพระนางเสีย เทราปีทีจึงอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากภีมะผู้ทรงพลัง ภีมะใส่เสื้อสตรีปลอมตัวเป็นเทราปทีแอบไปพบกับนายพลตามนัดลับและจับนายพลผู้มืดบอดในรักคนนั้นบดขยี้เสียจนกลายเป็นก้อนเนื้อปนเลือดแหลกเหลวสิ้น
   
   ขณะนั้นทุรโยธน์กรีฑาทัพเข้าโจมตีราชอาณาจักรแห่งวิรัตน์ กษัตริย์วิรัตน์มอบการบัญชากองทัพให้แก่โอรส แต่ยังขาดสารถีรถม้าศึก เทราปทีผู้ประสงค์การสงครามกับเหล่าเการพไม่ว่าจะสูญเสียเพียงใดก็ตาม ชี้บอกว่าอรชุนเป็นสารถีที่เก่งที่สุดในโลก ถึงแม้ว่าจะปลอมองค์เป็นบัณเฑาะก์อยู่ก็ตาม อรชุนก็ไม่สามารถปฏิเสธการสู้รบเสียได้ และอรชุนเท่านั้นคือผู้นำชัยชำนะอย่างเด็ดขาด คนเดียวรบกับกองทัพเหลือคณนานับ
   
   สงครามใกล้เข้ามาแล้วทุรโยธน์ปฏิเสธการคืนราชอาณาจักรให้ภราดาปาณฑพลูกพี่ลูกน้องของตน เนื่องจากอ้างว่าฝ่ายปาณฑพออกมาจากที่ซ่อนก่อนเวลากำหนด ทุรโยธน์พยายามขอการสนับสนุนจากกฤษณะเช่นเดียวกับอรชุน กฤษณะให้อรชุนเลือกก่อนว่าจะเอากองทัพทั้งหมดของกฤษณะหรือจะเอากฤษณะไว้เพียงองค์เดียว อรชุนเลือกกฤษณะ ยอมให้ทุรโยธน์ได้กองทัพของกฤษณะไปทั้งหมด เมื่ออรชุนขอให้กฤษณะเป็นสารถีรถม้าศึกให้ กฤษณะตกลง
   
   ในราชสำนักเการพกษัตริย์บอดก็ได้กลิ่นสงครามคุกรุ่นอยู่เช่นกัน จึงตรัสขอให้ภีษมะผู้อาวุโสนักรบผู้ไม่มีใครเทียบ เป็นผู้บัญชาการสูงสุด ความรับผิดชอบของภีษมะที่มีต่อวงศ์ตระกูลเข้าครอบงำความรู้สึกที่มีต่อภราดาปาณฑพ ภีษมะจึงรับภาระหน้าที่อย่างไม่เต็มใจ แต่มีเงื่อนไขประการหนึ่ง กล่าวคือ กรรณะต้องไม่ออกรบถึงแม้ว่าจะไม่พอใจอย่างไรก็ตาม กรรณะยอมรับด้วยความขมขื่นว่าจะออกรบก็ต่อเมื่อภีษมะล้มลงแล้วเท่านั้น
   
   ธฤษตราษฎร์ส่งราชฑูตไปยังยุธิษฐิระ เพื่อขอไม่ให้ยุธิษฐิระออกรบเพราะยุธิษฐิระรักความชอบธรรม เพราะการมีชีวิตอยู่โดยปราศจากซึ่งราชอาณาจักรย่อมดีกว่าเอาชีวิตของคนจำนวนมากมายไปเสี่ยง ยุธิษฐิระตอบกลับไปว่าชนแต่ละชั้นวรรณะต่างก็มีหน้าที่แห่งตนและหน้าที่ของพระองค์คือเป็นนักรบหรือกษัตริย์ ไม่ใช่พราห์มหรือขอทาน อย่างไรก็ตามแม้กระทั่งพระองค์เองก็มีข้อจำกัดอยู่ “สงครามคือปิศาจร้ายในทุกรูปแบบ สำหรับคนตายชัยชำนะหรือความพ่ายแพ้ก็เฉกเช่นกัน"
   
   กฤษณะเสด็จไปฝ่ายเการพในฐานะราชฑูต ในความพยายามครั้งสุดท้ายเพื่อปกป้องสันติภาพและตรัสกับทุรโยธน์ แต่ทุรโยธน์หาฟังไม่กลับบัญชาให้ราชองค์รักษ์เข้าควบคุมองค์กฤษณะไว้ กฤษณะจึงคืนร่างเป็นเทพจากสวรรค์“กฤษณะสรวล และขณะสรวลอยู่นั้นวรกายของกฤษณะพลันมีรัศมีแสงแลบแปลบปลาบคล้ายสายอัศนีบาตพุ่งออกมา วรกายโตขึ้นเรื่อยๆทวยเทพต่างๆ ปรากฏองค์ออกมาจากกฤษณะ พรหมเทพกระเด็นออกมาจากนลาฏ ศิวเทพจากอุระ” กฤษณะ บันดาลให้แม้แต่ธฤษตราษฎร์กษัตริย์บอด ก็ยังเห็นแสงรัศมีวาวโรจน์จากวรกายของพระองค์ ในที่สุดจึงเปิดเผยต่อกรรณะล้ำเลยลึกลงไปว่ากรรณะที่แท้เป็นภราดาของเหล่าบุคคลผู้ซึ่งตนมีเจตนาจะสู้รบด้วย แต่กรรณะรู้สึกว่าแม่ทอดทิ้งในชีวิตห้วงแรกที่เกิดมา ยิ่งไปกว่านั้นกรรณะรู้สึกเหมือนหนึ่งปานโลกถึงจุดสิ้นสุด และจะออกรบเคียงข้างฝ่ายเการพถึงแม้ว่าจะเห็นความพ่ายแพ้และมรณกรรมของตนล่วงหน้าแล้วก็ตาม
   
   ทุรโยธน์จะไม่ฟังคำเตือนใดๆ ทั้งสิ้น เพราะมั่นใจแน่นอนว่าทวยเทพไม่ได้ให้พรแก่ฝ่ายปาณฑพมากมายอย่างนั้น พระเจ้าจะไม่คุ้มครองฝ่ายปาณฑพในสงคราม “ข้าฯ ขอสังเวยชีวิตของข้าฯ ความมั่งคั่งของข้าฯ ราชอาณาจักรของข้าฯ ทุกสิ่งทุกอย่างของข้าฯ แต่ข้าฯ ไม่มีวันอยู่ร่วมอย่างสันติกับพวกปาณฑพได้ ข้าฯ จะไม่ยอมจำนนต่อพวกปาณฑพ ถึงที่สุดแม้กระทั่งว่าตราบใดที่แผ่นดินมีที่ให้ปักเข็มหมุดสักเล่มทุรโยธน์ หาข้ออ้างเข้าข้างตนตามนิสัยดั้งเดิมว่า “ทวยเทพสร้างข้าฯ ขึ้นมาเป็นอะไรก็ตาม ข้าฯ ก็เป็นสิ่งนั้น” ......
   
   
จบภาคสอง "การเนรเทศ"


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อ มหากาพย์ มหาภารตะ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2011, 09:23:43 am »



มหาภารตะ

ภาคสาม
"มหาสงคราม"


หนังสือเล่มที่ 5-10 เล่าถึงสงคราม18วัน ระหว่างฝ่ายปาณฑพกับฝ่ายเการพ
ฝ่ายเการพมีทหารสิบเอ็ดเหล่าทัพ ประจันหน้ากับฝ่ายปาณฑพเจ็ดเหล่าทัพ

มหากาพย์บรรยายถึงกองทัพของทั้งสองฝ่าย โถมประทะเข้าบดขยี้กันว่า
เสมือนหนึ่ง มหาสมุทรสองมหาสมุทรประทะกัน
แต่เพียงชั่วระยะสั้นๆ กลับบรรยายว่าเป็น “ทัศนียภาพอันงดงามยิ่ง

กุณตีบอกวยาสะผู้เล่าเรื่องมหากาพย์ว่า “พระองค์ทรงเห็นความงดงาม
ในความตายของมวลมนุษย์ บทกวีของพระองค์
แต้มแต่งด้วยโลหิต และเสียงร่ำให้ของคนกำลังตายคือ คีตสังคีต ของพระองค์”

ฝูงแร้งรุมทึ้งเนื้อเน่า “ส่งเสียงร้องปรีเปรม” เป็นลางร้ายปรากฏขึ้น
ก่อนยุทธนาการจะเริ่มขึ้น

กรรณะพยากรณ์ว่า ฝ่ายตนจะปราชัย สงครามไม่ใช่อะไรทั้งสิ้น
แต่ “เป็นการสังเวยคมอาวุธที่ยิ่งใหญ่”
โดยมีกฤษณะเป็นเสมือนหนึ่ง นักบวชชั้นสูง รับการบูชายัญ


ทั้งสองฝ่ายตกลงอดทนรอกฏเกณฑ์ที่ชัดเจนของสงคราม กล่าวคือ
ไม่ใช้อาวุธสวรรค์รบกับมนุษย์ ไม่รบเมื่อตะวันตกดิน ไม่โจมตีใครก็ตามที่ถอยหนี
ไร้อาวุธ หงายหลัง หรือล้มลง แต่ในที่สุดกลับละเมิดกฎทุกข้อที่ได้ตั้งไว้


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อ มหากาพย์ มหาภารตะ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2011, 10:48:06 am »




--ภควัทคีตาบทเพลงแห่งพระผู้เป็นเจ้า

ไม่นานนักก่อนการประจัญบานเริ่มขึ้น อรชุนเกิดความลังเลไม่แน่ใจเมื่อเห็นคณาญาติและครูซึ่งตอนนี้กลายเป็นศัตรู ตามคำสาปแช่ง อรชุนสลดใจเกินกว่าจักข่มใจเข้าสู้รบได้ “การเข่นฆ่าญาติตนเองจะดีไปได้อย่างไร ชัยชำนะจักมีค่าอะไร ถ้าเพื่อนและบุคคลที่รักของเราทั้งหมดถูกฆ่า…เราจักพ่ายแพ้ต่อบาปหากว่าเราสังหารโหดฝ่ายรุกราน ภาระที่สมบูรณ์ของเราแน่นอนว่าต้องอภัยให้พวกเขาแม้กระทั่งว่า ถ้าพวกเขามืดบอดต่อธรรมะอันเนื่องมาจากความละโมบในทำนองเดียวกันเราเองไม่ควรลืมธรรมะเสีย”

กฤษณะ สารถีรถม้าศึกของอรชุน จึงยกโอวาทแก่อรชุนขณะหยุดอยู่ในแดนกันชนระหว่างกองทัพทั้งสองฝ่าย เนื้อความตอนนี้คือภควัทคีตาที่ทุกคนรู้จักกันดี เป็นเครื่องนำทางสู่การกระทำที่เด็ดเดี่ยวและเฉียบขาด


ตรงจุดนี้ไม่เหมือนวีรบุรุษในมหากาพย์ทั้งหลาย อรชุนคิดก่อนลงมือกระทำ อรชุนลังเลก่อนลงมือเข่นฆ่า เพราะต้องการถอนตัวออกจากการมีชีวิตอยู่และหน้าที่ความรับผิดชอบ (เป็นความตรึงเครียดระหว่างธรรมะและโมกษะ ความหลุดพ้น) แต่กฤษณะตรัสแก่อรชุนว่า ในฐานะนักรบ การสู้รบคือธรรมะของอรชุน ความขัดแย้งที่แท้จริงทุกวันนี้เกิดจากอัตตาที่มีอยู่ใน “สมรภูมิแห่งจิตวิญญาณ

อย่ากังวลกับความตาย ซึ่งเป็นเพียงก้าวเดียวเล็กๆ สู่วัฏจักรที่ไร้จุดจบและยิ่งใหญ่แห่งชีวิต มนุษย์ทั้งไม่ฆ่าและไม่ถูกฆ่า เพียงแต่จิตวิญญาณละร่างเดิมและเข้าร่างใหม่เท่านั้นเอง เฉกเช่นบุคคลหนึ่งเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย ความตายเป็นเพียงภาพมายา

นักรบจักปฏิบัติหน้าที่ของตนเยี่ยงไรโดยไม่กระทำผิด ร่างกายแปดเปื้อนด้วยโลหิตศัตรู ความลับคือต้องแยกให้ออก กล่าวคือ กระทำหน้าที่ของพระองค์โดยไม่ต้องกังวลกับผลลัพท์ส่วนบุคคล "ชัยชำนะและความพ่ายแพ้ ความปีติยินดีและความปวดร้าว ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นเฉกเช่นเดียวกัน ลงมือเถิด แต่อย่าสะท้อนให้เห็นถึงผลของการลงมือกระทำนั้น จงละความปรารถณาเสีย จงแสวงหาทางแยกแยะ"


เราต้องกระทำสิ่งที่ถูกต้อง โดยไม่ปรารถนาความสำเร็จ หรือกลัวความพ่ายแพ้ “จงลงมือกระทำโดยไม่ปรารถนาผลลัพธ์และโดยไม่เอาตัวเองไปพัวพันกับบ่วงกรรม” กฤษณะตรัสแก่อรชุนว่า การกระทำความดีจักไม่ทำให้ใครขึ้นสวรรค์ไปได้ ถ้าหากว่าความปรารถนาสวรรค์นั้นเป็นแรงจูงใจเพียงประการเดียวให้กระทำความดี ความปรารถนาทำให้มีการเกิดใหม่ หากยังมีความปรารถนาใดคงอยู่เมื่อเราตายไปแล้ว เราก็จักกลับไปสู่ชีวิตในอีกชาติภพหนึ่ง

ยิ่งกว่านั้น ยุธิษฐิระตรัสแก่เทราปทีระหว่างการเนรเทศว่า พระองค์ปฏิบัติธรรมะโดยไม่หวังรางวัล หากแต่เพราะว่าเป็นสิ่งที่คนดีต้องกระทำ หลังยุทธนาการยุธิษฐิระมีช่วงวิกฤตที่คล้ายคลึงกันนี้ เมื่อท้าวเธอปฏิเสธการปกครองบ้านเมืองเสียชั่วคราว ด้วยความรู้สึกสิ้นหวังถึงการเข่นฆ่าอย่างโหดร้ายที่ทรงเป็นต้นเหตุ

“การกระทำเกิดขึ้นจากการบัญชาโดยตรงของเทพสูงสุดหรือตัวแทน เราเรียกว่า อกรรมะ การกระทำเยี่ยงนี้ไม่ก่อให้เกิดการสนองตอบทั้งดีและไม่ดีตามมา เช่นเดียวกับทหารอาจลงมือสังหารเพราะคำสั่งบังคับบัญชาจากเบื้องบนและไม่ต้องรับผิดชอบต่อการอาชญากรรม แต่ถ้าทหารนายนั้นสังหารเพื่อนร่วมรบ เขาจักต้องรับโทษตามกฎหมาย ทำนองเดียวกัน บุคคลที่รู้สึกนึกคิดเช่นเดียวกับกฤษณะ ล้วนกระทำไปตามบัญชาแห่งพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่เพื่อจุดมุ่งหมายของตนเอง”

“บุคคลเยี่ยงนั้นจักมีความปีติยินดีในปรารถนาราคะก็หามิได้ หากแต่พึงพอใจอยู่ในตัวเอง ความทุกข์ใดก็รบกวนเขาไม่ได้ ไม่แม้กระทั่งความสุขทางวัตถุใดๆ ก็ตาม เขาปราศจากซึ่งการแยกแยะความกลัวและความโกรธ และมักดำรงตนอยู่ห่างไกลจากการครองคู่ทั่วไปในโลกีย์วิสัย … จิตใจของเขาแนบแน่นอยู่กับเทพเจ้าสูงสุด ปกติธรรมดาเขาจึงสงบ


หนทางไปสู่เสรีภาพมีอยู่สองสายนั่นคือการหลุดพ้น (โมกษะ) และกระทำหน้าที่ของตนโดยไม่ปรารถนาสิ่งใด เพราะว่าไม่มีใครสามารถสละการกระทำทุกอย่างในชีวิตเสียได้ ดังนั้นการทำงานโดยไม่ยึดติดเป็นอารมณ์จึงดีกว่า  นักปราชญ์บางท่านคิดว่าการประพันธ์ภควัทคีตานี้ เป็นไปเพื่อประชันกับความท้าทายทางศานาจากเชนและพุทธ ซึ่งอุบัติขึ้นในศตวรรษที่หกก่อนคริสศตวรรษ ศาสนาทั้งสองนี้สอนให้หลุดพ้นบาปด้วยการสละโลกีย์ โดยการบำเพ็ญตนอย่างเคร่งครัดในศาสนาเชนและการอุทิศชีวิตเป็นพระในศาสนาพุทธ

กฤษณะยกอรรถกถาว่า ความรู้ที่ท้าวเธอยกมาสอนนั้นมีมาแต่โบราณกาล เคยตรัสไว้หลายล้านปีล่วงมาแล้ว อรชุนตรัสถามว่า “หม่อมฉันจักยอมรับได้อย่างไร เท่าที่เห็นพระองค์ประสูติมาในโลกนี้เมื่อไม่นานมานี้เท่านั้น” กฤษณะ อธิบายว่า การกำเนิดก็เป็นภาพมายาเช่นกัน เนื่องจากมนุษย์เกิดนับครั้งไม่ถ้วน แต่ในกรณีของกฤษณะ ท้าวเธอเสด็จมาทุกยุค “โอ อรชุนเอ๋ยเมื่อใดก็ตามความชอบธรรม (ธรรมะ) หย่อนยาน และความอยุติธรรม (อธรรมะ) บังเกิดขึ้นแล้ว เราจักส่งตัวเองมาเพื่อพิทักษ์คนดีและนำคนทำชั่วไปทำลายเสีย เพื่อสถาปนาธรรมะให้มั่นคง เราจุติลงมาเกิดยุคแล้วยุคเล่า … เกิดมาเพื่อทำลายผู้ทำลายล้าง”

กฤษณะเปิดเผยธรรมชาติอันเป็นสากลเกี่ยวกับสวรรค์ของท้าวเธอให้อรชุนเห็นเป็นนิมิต ภาพอันงดงามแห่งทวยเทพมากมายมหาศาล แผ่ขยายออกไปเอนกอนันต์ บัดนี้เมื่อตัดสินใจกระทำหน้าที่ของตนได้แล้ว อรชุนจึงนำกองทหารเข้าสู่ยุทธนาการ บนเนินเขามองลงมายังสมรภูมิ


ธฤษตราษฎร์สดับคำรัสแห่งกฤษณะ ผ่านการช่วยเหลือของสัญชัยซึ่งได้รับพรประทานความสามารถในการเห็นทุกสรรพสิ่ง และได้ยินทุกสรรพสำเนียงที่บังเกิดขึ้นในสมรภูมิ ถ่ายทอดต่อให้กษัตริย์บอดได้รับทราบ ธฤษตราษฎร์ วรกายสั่นระริกด้วยความหวาดหวั่น เมื่อได้สดับถึงการปรากฏองค์ในร่างมนุษย์ของกฤษณะตื่นตระหนกว่า คงไม่มีอะไรหยุดยั้งฝ่ายปาณฑพได้ ด้วยมีบุคคลผู้มีฤทธิ์เยี่ยงกฤษณะร่วมอยู่ด้วย แต่ธฤษตราษฎร์ยังค่อยคลายใจลงอยู่เมื่อทราบว่า กฤษณะเองก็ไม่สามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างให้สำเร็จได้ดังมโนรถปราถนา เช่น ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งได้ด้วยสันติวิธี

ก่อนยุทธนาการยุธิษฐิระเสด็จเยี่ยมครูทั้งสองของพระองค์ ภีษมะ และ โทรณะ “โอ บุรุษผู้ไม่มีใครพิชิตได้หม่อมฉันขอคารวะ เราจักสู้รบกัน กรุณาประทานราชานุญาตและอวยชัยให้พวกหม่อมฉันด้วยเถิดพระเจ้าข้า” จากอาการแห่งความเคารพเยี่ยงนี้บุรุษทั้งสองอธิษฐานให้ฝ่ายปาณฑพได้ชัยชำนะ ถึงแม้ว่าต้องสู้รบอยู่ในฝ่ายเการพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต