ผู้เขียน หัวข้อ: ปรัชญาภควัทคีตา (๑)  (อ่าน 3109 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ปรัชญาภควัทคีตา (๑)
« เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2011, 01:52:26 pm »




ปรัชญาภควัทคีตา ๑

ภควตฺ = พระผู้เป็นเจ้า       คีตา=บทเพลง
ภควทฺคีตา คือ บทเพลงแห่งพระผู้มีพระภาค

เป็นบทร้อยกรอง 701 โศลก รวม 18 อัธยายะ

อัธยายะ 1-6          ว่าด้วย  มรรควิธีสู่ความหลุดพ้น
อัธยายะ 7-11        ว่าด้วย  การประกฎองค์ของพระเจ้า

อัธยายะ 12-18     ว่าด้วย  ความรักที่พระเจ้ามีต่อมวลมนุษย์ (คำสอนใหม่ ในฮินดู)

ช่วงเวลาที่รจนา ไม่ชัดเจน สันนิษฐานว่าราว 200 B.C. (Garbe)
นักวิชาการเห็นแย้งกัน Dr. Whecler : ราวยุคศาสนาพราหมณ์ (ก่อนพุทธกาล)
และต่อเนื่องมาถึงสมัยฮินดูปฏิรูป (หลังค.ศ.1)
ภควัทคีตาเป็นส่วนหนึ่งของภีษมบรรพ ในมหาภารตะ (ภควัทคีตาแยกเป็นคัมภีร์ต่างหาก)

เนื้อความ พระกฤษณะสอนปรัชญาแก่อรชุน

ภควัทคีตาได้รับอิทธิพลจากอุปนิษัท  “สรรพอุปนิษัททั้งหลายคือฝูงโค
ผู้รีดนมคือ ศรีกฤษณะ ลูกโคคือ อรชุน ซึ่งเป็นผู้เสวยนม และน้ำนมคือคีตา”

อาตมัน /โยคะ3

พรหมัน / ปรมาตรมัน
อวิทยา - สังสาระ / วิทยา - โมกษะ
ภควัทคีตาเป็นคัมภีร์ประเภท “สมฤติ” มนุษย์แต่งขึ้น ต่างจาก “ศรุติ”

นอกจากอุปนัทแล้ว ภควัทคีตายังได้รับอิทธิพลจาก ปรัชญาสางขยะ และโยคะ ประกฤติ และปุรุษะ
อิทธิพลกระแสที่ 3 ภควัทคีตาได้รับจาก “ภาควตะ(Bhagavata)” คัมภีร์ปุราณะที่อยู่ในช่วงก่อนพุทธกาล

จุดเด่นของคำสอนในคีตา – ให้มนุษย์คลายความสับสน คลายความกลัวหรือความไม่มั่นใจ
สถานการณ์ที่เผชิญอยู่ เมื่อถึงภาวะวิกฤต หรือ คับขัน

การประสานความเชื่อระหว่าง สคุณพรหม กับนิรคุณพรหม

ความเชื่อตามคตินิยมพื้นฐาน เช่น ความเชื่อในวิญญาณบรรพบุรุษ การมีผู้สืบทอด
การที่ทายาทอุทิศส่วนกุศลในชีวิตหลังความตายและระบบวรรณะตามคัมภีร์มานวธรรมศาสตร์


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปรัชญาภควัทคีตา (๑)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2011, 02:23:11 pm »




จริยศาสตร์แห่งภควัทคีตา

1.    ละกาม – ปราศจาก อหังการ  มมังการ
“ผู้ใดละกามทั้งปวงเสียได้ ไม่มีความปรารถต่อสิ่งใด ไม่มีมมังการ อหังการ ผู้นั้นย่อมถึงศาสติแน่แท้”
“ผู้ใดไม่มีอหังการ และมีปัญญาไม่ติดอยู่ในสิ่งใดๆ
ผู้นั้นแม้จะฆ่าประชาโลกนี้เสีย ก็ชื่อว่าเขาไม่ได้ฆ่าใคร และไม่มีใครฆ่าเขา”

2.    ทิพยสมบัติ – คุณสมบัติของเทพนิกาย เป็นสิ่งควรบำเพ็ญ / 
อสุรสมบัติ - คุณสมบัติของอสุรนิกาย เป็นสิ่งพึงห่างไกล

“ความไม่กลัว ความบริสุทธิ์แห่งใจ การปรนนิบัติตามหลักรู้ ทาน
ทมะ (การบังคับอินทรีย์ภายนอก) ยัชญะ สาธยาย ตบะ ความซื่อตรง”

“อหิงสา สัตย์ ความไม่โกรธ การบริจาค ศานติ การไม่ส่อเสียด ความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย
การไม่หวั่นไหวแห่งอินทรีย์เมื่อสัมผัสกับอารมณ์ ความอ่อนโยน ความละอาย ความไม่ล่อกแล่ก”

“เตช(กำลังใจ) กษมา(การไม่ถือโทษผู้อื่น) ธฤติ(ความมั่นคง) เศาจะ(ความสะอาด)
อัทโรหะ(ความไม่ริษยา)
ความไม่ยกตนข่มท่าน ภารตุ! เหล่านี้เป็นสมบัติของผู้เกิดมาเพื่อความเป็นเทพ”

“ความดื้อด้านจองหอง(ทัมภะ) ความทะนงตน(ทรรปะ) อติมานะ โกรธ
ปารุษยะ (การพูดหยาบกระด้าง)
และอัชญาน(ความไม่รู้) เหล่านี้แหละ ปราถ! เป็นสมบัติของผู้เกิดมาเพื่อความเป็นอสูร”

3.    การทำงานโดยสลัดความปรารถนาที่เห็นแก่ตัว (นิษกามกรรม)
เหนือความดี – ความชั่วทั้งปวง

“สิ่งที่ท่านกระทำ สิ่งที่ท่านบริโภค สิ่งที่ท่านบูชา สิ่งที่ท่านถวายและสิ่งที่ท่านกระทำตบะ
แน่ะ เกานฺเตย! สิ่งนั้นท่านจงมอบถวายให้แด่อาตมา”

“ท่าน จะพ้นจากพันธกรรมอันให้ผลดี และไม่ดี ด้วยอาการอย่างนี้
ท่านผู้มีจิตประกอบแล้วด้วยสันยาสโยคะ
(การสละผลทุกๆสิ่งแด่อาตมา) หลุดพ้นแล้ว จักเข้าถึงอาตมาได้”

4.    การวางตนเสมอในทวันทวธรรม (Duality)
“ผู้ใดวางตนสม่ำเสมอในศัตรูและมิตร ในการได้รับความนับถือและถูกดูหมิ่น
มีความสม่ำเสมอในหนาว ร้อน สุข ทุกข์ เว้นจากการคลุกคลี”

“คนที่วางตนให้เท่ากันในนินทาและสรรญเสริญ มีความนิ่ง มีความสันโดษทุกอย่าง
ไม่ติดที่อยู่ มีความเห็นหนักแน่น มีความภักดี ย่อมเป็นที่รักแห่งอาตมา”

“ผู้ไม่มีความชิงชัง (ไม่ยินดียินร้าย) ไม่หวังผลใดๆ ท่านพึงทราบเถิดว่า
ผู้นั้นเป็นสันยาสี เป็นผู้สละกรรมทุกเมื่อ มหาพาหุ!
เพราะว่าผู้ที่ไม่มีทวันทวธรรม ย่อมพ้นจากเครื่องผูกพันได้โดยง่าย”

“อรชุน! ผู้ใดเห็นสุข หรือทุกข์ ในทุกๆ สิ่งเสมอด้วยสุข หรือทุกข์ของตนเอง
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นบรมโยคี”

5.    ประกอบโยคะ 3 – ชญานโยค กรฺมโยค และภักฺตโยค
กรรมโยคะ ตั้งอยู่บนฐานของชญานโยคะ สนับสนุนด้วยภักติโยคะ
สาระแห่งกรรมโยคะ คือ ยัญ ทาน และตบะ

“ยัญใด อันผู้ไม่หวังผลบูชาอยู่ตามวิธี โดยตั้งใจว่าเป็นสิ่งที่ควรบูชาเท่านั้น
ยัญนั้นเป็นของผู้ประกอบด้วย สัตวะ”
“ยัญใด อันถูกบูชาเพื่อมุ่งผลหรือเพื่ออวดตัวเอง ภรตเศรษฐีจงทราบเถิดว่า
ยัญนั้นเป็นของผู้ประกอบด้วย รชะ”
“ตบะที่ทำด้วยความโง่เขลา ด้วยการเบียดเบียนตนเองและทำลายผู้อื่น ชื่อว่า
เป็นตบะของผู้ประกอบด้วย ตมะ”


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปรัชญาภควัทคีตา (๑)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2011, 02:36:15 pm »




ญาณวิทยาแห่งภควัทคีตา

ที่มาของความรู้ ได้รับอิทธิพลจากสางขยะ
ความรู้ที่ถูกต้อง – ประมา คือ รู้ตามจริง ไม่คลาดเคลื่อน

การเกิดขึ้น มีขึ้นของสรรพสิ่งในจักรวาล เป็นการคลี่คลายตัวออกมาจาก
ต้นเหตุหรือ ปฐมเหตุของมัน
การแตกดับก็เป็นเพียงการกลับคืนสู่สภาวะเดิม

ผลมีอยู่แล้วในเหตุ (สัตยาการยวาท)
ธรรมชาติแท้ที่คู่กับประกฤติ คือ “ปุรุษะ”
เป็นวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นธาตุรู้ เป็นพื้นฐานความรู้ทั้งปวงของมนุษย์

“ท่านจงรู้ว่า ประกฤติ และปรุษะทั้งสองนี้ หาเบื้องต้นไม่ได้
และจงรู้ว่าวิการ และคุณะเกิดจากประกฤติ” สัจทวินิยม (Realistic Dualism)

ประกฤติประกอบด้วยคุณ 3 อย่าง คือ สัตวะ รชะ ตมะ
“ไม่มีสัตว์ผู้ใดจะหลุดพ้นไปจากคุณ 3 อย่างนี้
อันเกิดจากประกฤติ ทั้งในโลกนี้หรือในโลกสวรรค์ ในหมู่เทวดา”

สัตวะ รชะ ตมะ มีความเปลี่ยนแปลงในสังสาระและจักรวาล
หากอยู่ในภาวะปกติจะดำรงอยู่อย่างสมดุล
จะไม่มีวิวัฒนาการ เรียกว่า เป็นภาวะที่เป็นประกฤติแท้จริง

ธาติที่มาจากประกฤติ 2 ระดับ
: อปรา ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ มนัส พุทธิ และอหังการ
: ปรา ได้แก่ ประธานเหตุแห่งชีวะ  ปราประกฤตินี้ธำรงโลกไว้



http://buddhist.igetweb.com/?mo=3&art=191574


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปรัชญาภควัทคีตา (๑)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2011, 02:53:23 pm »



หนังสือภควัทคีตาฉบับภาษาสันสกฤต คัดลอกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19

ภควัทคีตาเป็นชื่อคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู โดยเฉพาะสำหรับนิกายไวษณพหรือผู้ที่ยกย่องพระวิษณุ (พระนารายณ์) เป็นพระเจ้าสูงสุด ชื่อคัมภีร์ ภควัทคีตา (ภควตฺ + คีตา) แปลว่า "บทเพลง (หรือลำนำ) แห่งพระผู้เป็นเจ้า" นำเรื่องราวส่วนหนึ่งมาจากมหากาพย์มหาภารตะ ประกอบด้วยบทกวี 700 บท

การดำเนินเรื่อง คัมภีร์นี้มิได้มีลักษณะเป็นเอกเทศ คือมิได้แต่งขึ้นมาอย่างโดดเดี่ยวเป็นเล่มเฉพาะ เหมือนดังคัมภีร์พระเวทแต่ละเล่ม แท้ที่จริงเป็นเพียงบทสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคล 2 คน ซึ่งเป็นข้อความที่แทรกเข้ามาในบรรพที่ 6 (ภีษมบรรพ) แห่งมหากาพย์มหาภารตะ

ในบทสนทนาโต้ตอบดังกล่าวนี้ ฝ่ายที่ถามปัญหาคือพระอรชุน เจ้าชายฝ่ายปาณฑพแห่งจันทรวงศ์ ซึ่งเป็นผู้นำกองทัพใหญ่มาทำสงครามแย่งชิงเมืองหัสตินาปุระ จากฝ่ายเการพแห่งจันทรวงศ์เช่นเดียวกัน ซึ่งมีเจ้าชายทุรโยธน์และ กองทัพพันธมิตรมากมายเป็นศัตรูคู่สงครามด้วย ฝ่ายที่ตอบปัญหาทั้งหมดและเป็นผู้อธิบายตลอดทั้งเรื่องก็คือ พระกฤษณะ ซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายราชสกุลจันทรวงศ์ สาขายาทพ

ในขณะที่ตอบปัญหา อันล้ำลึกดังกล่าวนั้น พระกฤษณะกำลังทำหน้าที่เป็นสารถีขับรถศึกให้พระอรชุน บทสนทนาโต้ตอบนี้ถ่ายทอดออกมาโดยสญชัย ผู้เป็นเสวกามาตย์ของพระเจ้าธฤตราษฏร์ พระราชาพระเนตรบอดแห่งเมืองหัสตินาปุระ

โดยมหาฤษีวยาสหรือพระฤษีกฤษณไทวปายนเป็นผู้ให้ตาทิพย์แก่สญชัย เพื่อแลเห็นเหตุการณ์รบพุ่งในมหาสงครามครั้งนั้นอย่างแจ่มแจ้งทั้งๆ ที่นั่งอยู่ในพระราชวัง และคอยกราบทูลพระเจ้าธฤตราษฎร์ ให้ทราบการเคลื่อนไหวทุกขณะในสมรภูมิ

เพราะฉะนั้นข้อความสนทนา ระหว่างบุคคลทั้งสอง ในสนามรบก่อนจะเริ่มมหาสงครามจึงเป็นถ้อยคำที่ สญชัยเรียบเรียงทูลถวายพระเจ้าธฤตราษฎร์ และมาให้ชื่อกันในภายหลังว่า ภควัทคีตา ทั้ง ๆ ที่ชื่อเดิมในมหาภารตะเรียกข้อความตอนนี้ว่า ภควัทคีโตปนิษัท (ภควตฺ + คีตา + อุปนิษทฺ) ด้วยเหตุที่มีข้อความ หลายตอนคัดลอกมาจาก คัมภีร์อุปนิษัท ฉบับต่างๆ อันเป็นหมู่คัมภีร์รุ่นสุดท้ายในสมัยพระเวท ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เวทานตะ (ที่สุดแห่งพระเวท) ตลอดจนความคิดเรื่องอาตมัน ปรมาตมัน พรหมัน อันเป็นแก่นหรือสาระสำคัญที่สุดในคำสอนของอุปนิษัททุกเล่ม ก็มีกล่าวถึงหลายต่อหลายครั้งในภควัทคีตา จะแตกต่างกันเล็กน้อยก็ตรงที่ว่าข้อความในคัมภีร์อุปนิษัทนั้นแต่งเป็นภาษา ร้อยแก้ว แต่ในคัมภีร์ภควัทคีตาแต่งเป็นบทร้อยกรอง

ถ้าจะกล่าวโดยแท้ จริงแล้ว คำสอนในคัมภีร์ภควัทคีตา เกือบครึ่งเล่มเป็นคำสอนในคัมภีร์อุปนิษัท และอีกกว่าครึ่งเล่มเป็นคำสอนแบบของพวกภาควตะ ซึ่งบูชาพระกฤษณะเป็นเทพสูงสุดในนิกายของตน และคำสอนแบบดังกล่าว นี้มีมานานแล้ว ในหมู่พวกภาควตะอันเป็นชนอารยันอินเดียเผ่าหนึ่ง ต่อมาพวกนิกายไวษณพ หรือพวกที่นับถือพระวิษณุเป็นพระเจ้าสูงสุด ได้ผนวกเอาพระกฤษณะเข้าไปเป็นพระวิษณุอวตาร หรือนารายณ์อวตารปางที่ 8

คำสอนของพวกภาควตะซึ่งเน้นในเรื่องความนับถือพระกฤษณะ เป็นเทพสูงสุดก็ถูกกลืนเข้าไปผสมผสาน กับแนวความคิดของพวกไวษณพที่มีส่วนในการแต่งมหากาพย์มหาภารตะอยู่มากมายหลายตอน จึงปรากฏออกมาในรูปภควัทคีตาดังที่ปรากฏ เป็นที่รู้จักกันทุกวันนี้ และการที่จะเรียกหนังสือศักดิ์สิทธิ์เล่มนี้ว่า ภควัทคีโตปนิษัท หรือ ภควัทคีตา หรือ คีตา เฉย ๆ ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึงคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของคนอินเดียนิกาย ไวษณพ ในรูปแบบของบทสนทนาที่มีข้อความเกือบทั้งหมดเป็นคำอธิบายเรื่องวิถีทางไปสู่พระผู้เป็นเจ้าอันสูงสุด ส่วนบทที่เป็นคำถามของพระอรชุนในเรื่องความลึกลับและวิถีทางแห่งพระผู้เป็นเจ้านั้น ก็เป็นเพียงส่วนประกอบที่เล็กน้อยเหลือเกิน


คล้าย ๆ กับเป็นบทเชื่อมต่อระหว่างคำอธิบายอันยืดยาว
แต่ละตอนของพระเจ้าในร่างมนุษย์คือพระกฤษณะเท่านั้นเอง
คัมภีร์ภควัทคีตา
แบ่งออกเป็นตอน ๆ เรียกว่า อัธยายะ รวมทั้งสิ้น 18 อัธยายะด้วยกัน


ที่มา http://www.bloggang.com/viewdiary.ph...oup=62&gblog=3
board.palungjit.com