ความเชื่อเรื่องเทวดาในศาสนาต่าง ๆ
แทบทุกศาสนาในโลกนี้ยอมรับในการมีอยู่ของเทพเทวดา...หรือแม้ไม่เชื่อเรื่องเทวดา อย่างน้อยที่สุด ก็ยังมีการกล่าวถึงใน
เรื่องของชาวฟ้าชาวสวรรค์ ซึ่งนอกจากความเชื่อเรื่อง ทูตสวรรค์ของทางศาสนาคริสต์แล้ว ศาสนาอื่น ๆ ในโลก ไม่ว่าจะเป็น
ศาสนาเก่าแก่โบราณอย่างกรีก โรมัน อียิปต์โบราณ หรือศาสนาที่ยังมีผู้นับถือในปัจจุบัน อย่าง ฮินดู อิสลาม ชินโต พุทธ ก็ล้วน
แต่มีการพูดถึงเทวดาด้วยกันทั้งสิ้น แต่มีมุมมองที่ต่างกันในรายละเอียด
ความเชื่อเรื่องเทวดาของทางพุทธ และ พราหมณ์
ในทางพุทธนั้น ถ้าเราศึกษาถึงที่มาของเทวดาต่างๆ ที่สังคมไทยรู้จักและนับถือกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็จะพบว่า เทวดาต่างๆ
เกือบทั้งหมด นั้นมาจากคัมภีร์หลักของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู และ พุทธศาสนา และถ้าว่าตามคัมภีร์ชั้นปฐมภูมิของทั้ง 2
ศาสนานี้ต่าง ก็กล่าวไว้ในทำนองเดียวกันว่า มีสิ่งที่อยู่เหนือประสาทสัมผัสธรรมดาของมนุษย์บางประเภทเรียกว่า "เทวดา"
ซึ่งมีคุณสมบัติและความสามารถพิเศษเหนือมนุษย์ธรรมดาอยู่เป็นจำนวนมาก ถึงแม้จะมีการยอมรับตรงกันว่าเทวดามีจริง
แต่สถานภาพของเทวดาในพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูกลับแตกต่างกันเป็นอย่างมาก เมื่อเทวดามีสถานภาพที่ต่างกัน ทั้ง 2
ศาสนาจึงได้บัญญัติหรือสอนวิธีที่มนุษย์จะพึงปฏิบัติหรือมีปฏิสัมพันธ์ต่อเทวดาไว้ต่างกันอีกด้วย
ศาสนาฮินดู หรือศาสนาอย่างชินโต ที่เป็นศาสนาพหุเทวนิยม เทวดาคือแก่นหลักของศาสนา เทวดาทุกองค์ได้รับการยกย่อง
ในฐานะเทพเจ้า เป็นอำนาจเหนือธรรมชาติที่มีอิทธิพลเหนือมนุษย์ เทวดาคือที่มาของศีลและธรรมของศาสนา แต่ในอีกฝั่ง
หนึ่ง เช่น ศาสนาพุทธในบางนิกาย เทวดาไม่ใช่แก่นหลักของศาสนา เทวดาไม่ได้อยู่ในฐานะที่ได้รับการยกย่องนับถือจาก
ศาสนิกชนเช่นเดียวกับเทพเจ้าในศาสนาฮินดู เพราะเทวดาไม่มีอิทธิพลให้คุณให้โทษเหนือมนุษย์ แต่เทวดาในทางพุทธ
ศาสนา เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งที่จะช่วยเติมเต็มความสมบูรณ์ในความเชื่อทางศาสนา หรืออย่างน้อยที่สุด ในความเชื่อ
ความเข้าใจของพุทธศาสนิกชนบางหมู่เหล่า เทวดาก็เป็นตัวอย่างที่ดีของ “รางวัล” ที่จะพึงตอบแทนให้แก่ผลกรรมดีที่
ศาสนิกชนได้ปฏิบัติไป
ในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก คำว่าเทวดาเป็นคำใช้เรียกชาวสวรรค์ที่มีกำเนิดเป็นโอปปาติกะ คือมีกำเนิดด้วยการผุดขึ้นทันที
โดยอาศัยอำนาจแห่งกุศลกรรมที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์หรือสัตว์เดรัจฉานเป็นผู้จัดสรร ถ้าหากต้องการจะใช้เรียก
เจาะจงเพศ จะเรียกเทวดาเพศชายว่า เทพบุตร และเรียกเทวดาเพศหญิงว่า เทพธิดา ส่วนในคัมภีร์พระเวทสังหิตา ไม่มีคำ
เรียกเทวดาเพศชายเป็นคำเฉพาะ คงมีแต่คำเรียกเทวดาเพศหญิง โดยใช้คำว่า เทวี ต่อท้ายชื่อ
ประเด็นที่แตกต่างกันระหว่างเทวดาในคัมภีร์ของทางพุทธกับทางพราหมณ์ คือ เทวดาในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกไม่มีบิดา
มารดา แต่มีกรรมดีที่ได้ทำไว้เมื่อครั้งมีชีวิตเป็นผู้ให้กำเนิด ซึ่งการเกิดในลักษณะนี้เรียกว่า "โอปปาติกะ" คือเกิดผุดขึ้น
โตเต็มที่ในทันที แม้เมื่อเกิดเป็นเทวดาแล้วก็ยังอยู่ในภาวะของปุถุชนและยังต้องเวียนว่ายตายเกิดเช่นเดียวกับมนุษย์จน
กว่าจะสิ้นกิเลสอาสวะ เทวดาจึงอยู่ในฐานะต่ำกว่าพระอริยเจ้า ในขณะที่เทวดาในคัมภีร์พระเวทมีมารดาบิดาเป็นผู้ให้กำเนิด
เมื่อเจริญเติบโตถึงวัยหนุ่มสาวแล้วก็คงอยู่ในวัยนี้ตลอดไป ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มีชีวิตเป็นอมตะและมีความยิ่งใหญ่
เหนือมนุษย์ทุกระดับ ส่วนความเชื่อเทวดาในสังคมไทยนอกจากยังคงเชื่อและนับถือผีแบบดั้งเดิมแล้วสังคมไทยก็ได้ยอมรับ
นับถือเทวดาที่มาจากวัฒนธรรมอื่นโดยเฉพาะวัฒนธรรมอินเดียอีกด้วย และคนส่วนใหญ่ที่นับถือเทวดาก็เพราะหวังพึ่งพา
อำนาจจากเทวดาหรือหวังผลประโยชน์จากเทวดาเป็นสำคัญ
ทวดาเหล่านี้ แม้จะมีจิตใจไม่ดีขึ้นมา เช่น คิดอิจฉา หรือผิดลูกเมีย หากยังไม่หมดกรรมที่จะไปจุติใหม่ก็ยังคงสถานะเทวดา
ต่อไป เช่นการลักลอบเป็นชู้ของพระอินทร์ ในตำนานต่างๆ
มารในพุทธศาสนา และพราหมณ์
มารในพุทธศาสนาไม่ได้เหมือนปีศาจในคริสต์ศาสนาตรงที่ ในทางพุทธ มาร เป็นอีกเผ่าหนึ่งไม่ได้เป็นเทวดาที่เปลี่ยนไปแบบ
ทางคริสต์ ตั้งแต่เกิดจนตายเป็นมาร มีลูกหลานสืบพันธุ์ก็เป็นเผ่ามาร มักแสดงภาพออกมาเป็นยักษ์ จึงมีคำกล่าวเรียกคู่กันใน
ภาษาไทยว่า “ยักษ์มาร” แต่อาจมีจิตใจดีงามกว่าเทพเทวดาบางองค์ สามารถบำเพ็ญเพียรเพื่อเกิดใหม่เป็นเผ่าพันธุ์ที่ดีกว่า
ได้ แต่เมื่อเกิดเป็นมารก็ยังคงสถานะเป็นมารอยู่ เช่นในเรื่องรามเกียรติ์ ภิเพกที่เป็นยักษ์กลับใจมาเข้าฝ่ายพระราม
(แต่ก็ยังเป็นยักษ์อยู่ดี) เป็นต้น
เทวดาพุทธศาสนาและทูตสวรรค์ในคริสตศาสนา
ซึ่งหากเทียบกันแล้วจะเห็นว่าทางเทวดาของทางพุทธ จะแตกต่างจากทูตสวรรค์ของคริสต์ และเป็นที่มาของความสับสนของ
งบรรดาการ์ตูนและเกมส์ที่ผู้แต่งหรือผู้เขียนเป็นพุทธหรือชินโต แต่อยากเอาเรื่องทูตสวรรค์คริสต์มาใช้แต่กลับเอามาใช้ใน
บริบทความเชื่อเดิมของตัวเองไม่ใช่ตามความถูกต้องของทูตสวรรค์ของคริสตศาสนา
ในทางพุทธ ในสวรรค์เทวดาบางพวกยังเสพกาม มีนางอัปสรเป็นนางบำเรอเทวดาชาย ในทางฮินดูเทพเทวดาสมรสมีชายา
และมีบุตรธิดา แต่ในคริสตศาสนา ทูตสวรรค์ไม่กระทำสิ่งเหล่านี้
มธ 22:29
พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “ท่านคิดผิดแล้ว เพราะไม่เข้าใจพระคัมภีร์ และไม่รู้จักพระอานุภาพของพระเจ้า
เมื่อมนุษย์จะกลับคืนชีพ จะไม่มีการแต่งงานเป็นสามีภรรยากันอีก แต่เขาจะเป็นเหมือนทูตสวรรค์
หากจะเปรียบว่าเทวดาของพุทธเหมือนชาวสวรรค์แบบไหนของคริสต์ ก็อาจเทียบได้กับ “นักบุญ” มากกว่า “ทูตสวรรค์”
เพราะนักบุญในคริสต์ศาสนา ก็คือศาสนิกชนที่กระทำคุณงามความดเมื่อเสียชีวิตลงก็ได้รับรางวัลเป็นผลตอบแทนจาก
คุณงามความดีที่ได้กระทำมา ได้ไปอยู่ในสวรรค์จึงเรียกว่า “นักบุญ” ดังนั้น นักบุญทางคริสต์คือคนในโลกมาก่อนเหมือน
เทวดาทางพุทธ แตกต่างจากทูตสวรรค์ที่เป็นจิตที่ถูกพระเจ้าสร้างขึ้นเป็นทูตสวรรค์เลยโดยตรงและไม่เป็นมนุษย์มาก่อน
นอกจากนี้เทวดาทางพุทธจะยังสามารถหมดสถานะเทวดา กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ หรือสัตว์ หรืออื่นๆ แต่ทูตสวรรค์จะเป็นจิต
ตลอดไปเพราะถูกสร้างมาเช่นนั้น หากทำผิดจะกลายเป็นปีศาจ ไม่มีการเกิดมามีเนื้อหนัง เป็นคน หรือสัตว์ ในโลก
นอกจากนี้ ทูตสวรรค์ มีหน้าที่รับใช้พระเจ้า ไม่ต้องการกินดื่ม แต่เทวดาในทางพุทธหรือพราหมณ์ เกิดเป็นเทวดาเพื่อเสวยผล
บุญที่ทำความดีมา อาจรับของเซ่นไหว้ ในรูปแบบอาหารต่างๆจากมนุษย์
ทั้งหมดนี้ คือบางส่วนของความแตกต่างที่ไม่เหมือนกัน ของบรรดาทูตสวรรค์และเทวดาในศาสนาอื่น ที่หลายๆคนรวมทั้ง
คริสตชนเองสับสนกันเสมอๆ แม้เราจะไม่สามารถรู้ทุกอย่างของฟ้าสวรรค์ แต่เราก็มีความรู้ในบางอย่างที่ทำให้ทราบและ
แยกแยะความแตกต่างได้
สำหรับคริสตชนเราแล้ว ทูตสวรรค์ทุกองค์รักเราและเป็นเพื่อนเรา และท่านเหล่านั้นปรารถนาให้เราทุกคนได้กลับ
ไปอยู่ในสวรรค์ด้วยกันกับพวกท่านนิรันดร เราจงรู้จักขอความช่วยเหลือจากเพื่อนในสวรรค์ที่เต็มใจช่วยเราใน
กิจการดีตามพระประสงค์ของพระเจ้าทุกประการ
ขอทูตสวรรค์ทั้งหลายช่วยวิงวอนพระเจ้าเพื่อเราด้วยเทอญ
http://www.belongtothetruth.com/Holy/angel02/angel01.htm