ทรงเปิดสามโลกภาพพุทธศิลป์ & ศิลปะภาพวาดพุทธประวัติ
พระไมเตรยโพธิสัตว์ ศิลปะทิเบต สวมมงกุฏพระพุทธเจ้าห้าพระองค์
สูงประมาณ15เมตร พระดำริสร้างโดยองค์ดาไลลามะที่14
เมื่อปี2523 เมื่อครั้งเสด็จที่วัด ถิกเซ เมืองลาดัก ประเทศอินเดีย
พระพุทธเจ้าพระองค์ต่อไปที่จะมาตรัสรู้ในภัทรกัลป์นี้ ในพระไตรปิฎก
ปรากกฏที่พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องนี้ไว้สั้นๆ
ใน จักกวัตติสูตร และ พุทธวงศ์ พุทธปกิรณกกัณฑ์ ส่วนในคัมภีร์ชั้นหลัง
มีกล่าวไว้มากแห่ง เช่นในอนาคตวงศ์ แต่งโดยพระกัสสปะเถระชาวอินเดียใต้
ราวพุทธศตวรรษที่18 หรือในอมตรสธาราเป็นต้น
ในงานพุทธศิลปะทิเบต มีทั้งที่แสดงภาพพระองค์ในฐานะของพระพุทธเจ้า
และฐานะพระโพธิสัตว์มีสัญลักษณ์คือ
-
พระสถูปบนพระเศียรหรือบนมงกุฏ
สัญลักษณ์แทนการเคารพแด่พระศากยมุนีพุทธเจ้า
หรือบ้างก็ว่าเป็นสัญลักษณ์ของพระสถูปที่เก็บบริขารไว้ภายใน
และจะทรงได้รับ
เมื่อทรงออกผนวชในชาติที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
-
ธรรมจักร แสดงถึงการประกาศพระธรรม
-
หม้อน้ำ หรือแจกัน ซึ่งบรรจุน้ำอมฤต สัญลักษณ์ของการรักษาไว้
ซึ่งพระธรรมอันบริสุทธิ์


พระนางตาราเกิดจากรังสีธรรมของพระอมิตาภะพุทธะ ศิลปะทิเบต

เซนจู กันนอน(พระอวโลกิเตศวรพันหัตถ์)
ศิลปะญี่ปุ่นสมัยเฮอัน พุทธศตวรรษที่17 (Tokyo National Museum)

พระกวนอิม สมัยซ่ง ราวพุทธศตวรรษที่16-17 ทำด้วยไม้ลงสี
สวยงามเป็นที่สุด ปัจจุบันอยู่ใน Nelson-Atkins Museum,Kansas City
นิรมาณกายนิรมาณกายคือกายที่สามและท้ายสุดแห่งการเนรมิตพระองค์ของพระพุทธเจ้าในระบบตรีกาย กายนี้คือกายแห่งมนุษย์หรือที่เรารู้จักกันดีคือพระศากยมุนีพุทธเจ้า(สักกยมุนึพุทธเจ้า)หรือพระอดีตพุทธเจ้าพระองค์ก่อนก็ตาม* เป็นพระวรกายที่ใช้โปรดสัตว์โลกที่ยังข้องอยู่ด้วยกิเลส
*(
แม้จะมีจำนวนมากจนไม่อาจนับได้ แต่ในพระไตรปิฎกระบุไว้27พระองค์ ซึ่งมีเพียง24พระองค์เท่านั้น ที่พระศากยมุนีพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ในชาติต่างๆได้เคยพบและได้รับพยากรณ์ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต)
พุทธประวัติที่เราทราบกันทั่วไปมักจะเป็นพุทธประวัติจากคัมภีร์ ปฐมสมโพธิ(ฝ่ายเถรวาท) หรือ ลลิตวิตระ,พุทธจริต(ฝ่ายมหายาน)
ซึ่งพุทธประวัติในคัมภีร์เหล่านี้มักแทรกเรื่องปาฏิหารย์เข้าไปมากกว่าที่ปรากฏอยู่จริงในพระไตรปฎก ทั้งนี้เพื่อยังให้เกิดศรัทธาแก่ศาสนิกชน
ทั้งนี้ในส่วนของ
พระไตรปิฎกนั้นพระพุทธองค์ทรงตรัสเล่าถึงพระองค์เองในพระสูตรต่างๆ โดยมีใจความคือพระธรรมที่พระองค์ทรงสอนนั่นเอง
*พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ฉบับเรียบเรียงโดยท่านพุทธทาสภิกขุ
*มหากาพย์พุทธจริต(ฉบับสมบูรณ์,แปลจากต้นฉบับภาษาสันสกฤต)โดย อ.สำเนียง เลื่อมใส จัดพิมพ์โดยศูนย์สันสกฤตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร,กรุงเทพฯ 2547
*คัมภีร์ ลลิตวิสตระ มีฉบับแปลโดย อ.แสง มนวิทูร โดยกรมศิลปากรจัดพิมพ์ เก่ามากแล้วไม่มีจำหน่ายและไม่มีโครงการจะพิมพ์ใหม่(หนังสือดีที่ไม่มีคนซื้อ กรมศิลปฯก็ไม่ค่อยอยากจะลงทุนครับ) ดังนั้นหาอ่านได้ตามห้องสมุดมหาวิทยาลัย หรือโชคดีพอผมเคยพบว่าหลุดมาอยู่แผงแถวท่าช้าง!)
พุทธประวัติที่สำคัญและ
มักปรากฏเป็นหลักคือ ตอนประสูติ,มหาภิเนษกรมณ์(ออกบวช),มารผจญ,ตรัสรู้,ปฐมเทศนาและปรินิพพาน

พุทธประวัติตอนประสูติ ศิลปะอมรวดี ราวพุทธศตวรรษที่7
ขวาบนคือพระพุทธมารดาทรงพระสุบิน ขวาล่างคือพระพุทธองค์ประสูติ
สังเกตว่าไม่มีรูปพระพุทธเจ้า มีเพียง
ดอกบัวเป็นฐานอันแสดงไว้
ด้วยเหตุที่นายช่างศิลป์ในสมัยแรกๆนั้น
ไม่นิยมสร้างรูปพระพุทธเจ้าจริงๆ
ใช้เพียงสัญลักษณ์แทน
ภาพตอนประสูติศิลปะทิเบต

ในศิลปะคันธาระ นายช่างสร้างรูปพระพุทธองค์ขึ้นแล้ว ทั้งนี้ คันธาระเป็นศิลปะกรีก
ที่แผ่มาในอินเดีย
ช่างกรีกนิยมสร้างรูปเคารพมาแต่ก่อน จึงมีคติที่สามารถสร้างรูปพระพุทธเจ้าได้
พระพุทธรูปปางประสูติแบบนี้เป็นที่นิยมในญี่ปุ่น จีน พระอาการที่ทรงชี้ฟ้าและดินนั้น
แสดงตามพระไตรปิฎกที่ทรงตรัสว่า
"ดูก่อนอานนท์! โพธิสัตว์ผู้คลอดแล้วเช่นนี้ เหยียบพื้นดินด้วยฝ่าเท้าอันสม่ำเสมอ
มี พระพักตร์ทางทิศเหนือ ก้าวไป ๗ ก้าว, มีฉัตรสีขาวกั้นอยู่ ณ เบื้องบน,
ย่อมเหลียวดูทิศทั้งหลาย และ กล่าว อาสภิวาจา ว่า"เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก,
เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก,
เราเป็นผู้ประเสริฐสุด แห่งโลก. ชาตินี้ เป็นชาติสุดท้าย. บัดนี้ ภพใหม่ย่อมไม่มี" ดังนี้"

มหาภิเนษกรมณ์ศิลปะหิมาลัยตะวันออก ที่วัดอัลฉิ(AlChi)ในลาดัก
ราวพุทธศตวรรษที่18

ตอนตัดพระเมาลี ศิลปะทิเบต

มารวิชัย ศิลปะคันธาระ มารเป็นหน้าคน หน้าสัตว์ หน้ายักษ์พิสดาร ที่ขี่อูฐมาก็มี
ประติมากรรมสมบัติของ Freer Gallery of Art,
Smithsonian Institution, Washington, D.C.

มารวิชัย ศิลปะจีนจากห้องสมุดถ้ำตุนฮวง ภาพมารล้วนเป็นสัตว์พิสดาร
ศิลปะทิเบตจาก Dharmapala Thanhgka Centre ประเทศเนปาล
สังเกตอาวุธของเหล่ามาร เมื่อมาใกล้พระพุทธเจ้าแล้ว ปลายอาวุธล้วนกลายเป็นดอกไม้
แสดงภาวะที่กิเลสไม่อาจเข้าใกล้พระพุทธองค์ได้อีกต่อไป
มารวิชัย จิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ กรุงเทพฯ
ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 1
แสดงภาวะการมีชัยเหนือเหล่ามาร(กิเลส)ของพระพุทธเจ้าเช่นกัน
แต่จัดให้องค์ประกอบฝ่ายพญามารที่บุกเข้ามาอยู่ทางด้านซ้ายของพระองค์
ส่วนทางขวาของพระองค์ พญามารถือดอกไม้ด้วยแพ้ต่อพระองค์เสียแล้ว
ภาพตอนตรัสรู้ ใช้รูปต้นโพธิ์*แทนความหมายของการตรัสรู้ที่เมืองคยา
หินสลักที่สาญจีสถูป
*ต้นไม้ชนิดใดก็ตามที่พระพุทธเจ้าพระองค์ใดได้ตรัสรู้ ณ ต้นไม้นั้น
ล้วนเรียกว่าต้นโพธิ์ทั้งสิ้นเช่นต้นอัสสัตถะ อันเป็นไม้ตระกูลมะเดื่อชนิดหนึ่งนี้
เมื่อพระศากยมุนีได้ตรัสรู้ใต้ต้น ก็เรียกใหม่ว่าต้นโพธิ์
หรือต้น นิโครธ สุมังคล อันเป็นไม้ตรัสรู้ของพระกัสสปพุทธเจ้า
หรือต้นปิปผลิ อันเป็นไม้ตรัสรู้ของพระทีปังกรพุทธเจ้า ก็ล้วนเรียก
ไม้เหล่านี้ว่า ต้นโพธิ์ทั้งสิ้น

พระพุทธองค์ทรงปรินิพพาน ศิลปะญี่ปุ่น พุทธศตวรรษที่23

ตอนปรินิพพาน ศิลปะทิเบต พุทธศตวรรษที่23
Posted by donjumsaihttp://paxpix.blogspot.com/2007/11/blog-post_8024.html