ผู้เขียน หัวข้อ: การตำหนิติเตียนผู้อื่น (หนังสือ ขันธะวิมุติสะมังคี)  (อ่าน 3432 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




การตำหนิติเตียนผู้อื่น

ถึง.. เขาจะผิดจริงก็เป็นการก่อกวนจิตใจตนเอง.. ให้ขุ่นมัว
ไปด้วยความเดือดร้อนวุ่นวายใจ
ที่คิด
ตำหนิผู้อื่น...จนอยู่ไม่เป็นสุขนั้น, นักปราชญ์ถือเป็นความผิด
และบาปกรรม...ไม่มีดีเลย
จะเป็นโทษให้ท่านได้สิ่งไม่พึงปรารถนา...มาทรมานอย่างไม่คาดฝัน

การกล่าวโทษผู้อื่นโดยขาดการไตร่ตรอง
เป็นการสั่งสมโทษและบาปใส่ตนให้ได้รับความทุกข์
จึงควรสลดสังเวชต่อความผิดของตน
งดความเห็นที่เป็นบาปภัยแก่ตนเสีย

ความทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว
แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ทำไมพอใจสร้างขึ้นเอง




คติธรรมคำสอนของ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
จากหนังสือ ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คติธรรมคำสอน (หนังสือ ขันธะวิมุติสะมังคี)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2013, 02:20:32 am »




คติธรรมคำสอนของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
คัดจากหนังสือ ขันธะวิมุติสะมังคีธรรม

* ผู้สนใจศึกษาปฏิบัติธรรม คือผู้สนใจหาความรู้ความฉลาดเพื่อคุณงามความดีทั้งหลาย ที่โลกเขาปรารถนากันเพราะคนเราจะอยู่และไปโดยไม่มีเครื่องป้องกันตัวย่อมไม่ปลอดภัย ต่ออันตรายทั้งภายนอกภายใน เครื่องป้องกันตัวคือหลักธรรมมีสติปัญญาเป็นอาวุธสำคัญ จะเป็นเครื่องมั่นคงไม่สะทกสะท้านมีสติปัญญาแฝงอยู่กับตัวทุกอิริยาบท
จะคิด-พูด-ทำอะไรไม่มีการยกเว้น มีสติปัญญาสอดแทรกอยู่ด้วยทั้งภายในและภายนอก มีความเข้มแข็งอดทน มีความเพียรที่จะประกอบคุณงามความดี คนอ่อนแอโง่เง่าเต่าตุ่นวุ่นวายอยู่กับอารมณ์เครื่องผูกพันด้วยความนอนใจ และเกียจคร้านในกิจการที่จะยกตัวให้พ้นภัย

* การตำหนิติเตียนผู้อื่น ถึงเขาจะผิดจริงก็เป็นการก่อกวนจิตใจตนเองให้ขุ่นมัวไปด้วย
ความเดือดร้อนวุ่นวายใจที่คิดตำหนิผู้อื่นจนอยู่ไม่เป็นสุขนั้น นักปราชญ์ถือเป็นความผิดและบาปกรรม ไม่มีดีเลย จะเป็นโทษให้ท่านได้สิ่งไม่พึงปรารถนามาทรมานอย่างไม่คาดฝัน
การกล่าวโทษผู้อื่นโดยขาดการไตร่ตรอง เป็นการสั่งสมโทษและบาปใส่ตนให้ได้รับความทุกข์ จึงควรสลดสังเวชต่อความผิดของตน งดความเห็นที่เป็นบาปภัยแก่ตนเสีย ความทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ทำไมพอใจสร้างขึ้นเอง

* ผู้เห็นคุณค่าของตัว จึงเห็นคุณค่าของผู้อื่น ว่ามีความรู้สึกเช่นเดียวกัน ไม่เบียดเบียนทำลายกัน ผู้มีศีลสัตย์เมื่อทำลายขันธ์ไปในสุคติในโลกสวรรค์ ไม่ตกต่ำเพราะอำนาจศีลคุ้มครองรักษาและสนับสนุน จึงควรอย่างยิ่งที่จะพากันรักษาให้บริบูรณ์ ธรรมก็สั่งสอนแล้วควรจดจำให้ดี ปฏิบัติให้มั่นคง จะเป็นผู้ทรงคุณสมบัติทุกอย่างแน่นอน

* เมื่อเกิดมาอาภัพชาติ แล้วอย่าให้ใจอาภัพอีก
ผู้เกิดมาชาตินี้อาภัพแล้ว อย่าให้ใจอาภัพ คิดแต่ผลิตโทษทำบาปอกุศลเผาผลาญตนให้ได้ทุกข์ เป็นบาปกรรมอีกเลย

* คนชั่ว ทำชั่วได้ง่าย และติดใจไม่ยอมลดละแก้ไขให้ดี
คนดี ทำดีได้ง่าย และติดใจกลายเป็นคนรักธรรมตลอดไป

* เราต้องการของดี คนดี ก็จำต้องฝึก ฝึกจนดี จะพ้นการฝึกไปไม่ได้ งานอะไรก็ต้องฝึกทั้งนั้น ฝึกงาน ฝึกคน ฝึกสัตว์ ฝึกตน ฝึกใจ นอกจากตายแล้วจึงหมดการฝึก คำว่า ดี จะเป็นสมบัติของผู้ฝึกดีแล้วแน่นอน

* ศีล นั้นอยู่ที่ไหนมีตัวตนเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้รักษาแล้วก็รู้ว่า ผู้นั้นเป็นตัวศีล ศีลก็อยู่ที่ตนนี้ เจตนาเป็นตัวศีล เจตนาคือจิตใจ คนเราถ้าจิตใจไม่มีก็ไม่เรียกว่าคน มีแต่กายจะทำอะไรได้ ร่างกายกับจิตต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อจิตไม่เป็นศีล กายก็ประพฤติไปต่างๆ มีโทษต่างๆ ผู้มีศีลแล้วไม่มีโทษ จะเป็นปกติแนบเนียนไม่หวั่นไหว ไม่มีเรื่องหลงหา หลงขอ คนที่หา คนที่ขอต้องเป็นทุกข์ ขอเท่าไหร่ยิ่งไม่มี ยิ่งอดอยากยากเข็ญ
กายกับจิตเราได้มาแล้ว มีอยู่แล้ว ได้มาจากบิดามารดาพร้อมบริบูรณ์ จะทำให้เป็นศีลก็รีบทำ ศีลมีอยู่ที่เราแล้ว รักษาได้ไม่มีกาล ได้ผลไม่มีกาล
ผู้มีศีลย่อมเป็นผู้องอาจกล้าหาญ ผู้มีศีลย่อมมีความสุข ผู้จักมั่งคั่งบริบูรณ์ไม่อด ไม่ยาก ไม่จน ก็เพราะรักษาศีลให้สมบูรณ์ จิตดวงเดียวเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา
ผู้มีศีลแท้เป็นผู้หมดเวรหมดภัย

* คุณธรรม ยังมีผู้เข้าถึงให้เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องเลื่องระบือ มีความฉลาด กว้างขวางในอุบายวิธี ไม่มีคับแค้นจนมุม

* การปฏิบัติธรรม เป็นการทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทรงตรัสสอนเรื่องกาย วาจา จิต มิได้สอนเรื่องอื่น ทรงสอนให้ปฎิบัติฝึกหัดจิตใจ ให้เอาจิตพิจารณากาย เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หัดสติให้มากในการค้นคว้า เรียกว่า ธัมมวิจยะ พิจารณาให้พอทีเดียว เมื่อพิจารณาพอจนเป็นสติสัมโพชฌงค์ จิตจึงจะเป็นสมาธิรวมลงเอง
การประกอบความพากเพียรทำจิตให้ยิ่ง เป็นการปฏิบัติตามคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ความไม่ยั่งยืน เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่และแน่นอน
ความยิ่งใหญ่ คือความไม่ยั่งยืน
ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ คือชีวิตที่อยู่ด้วยทาน ศีล เมตตา และกตัญญู
ชีวิตที่มีความดี อาจมิใช่ความยิ่งใหญ่ แต่ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ ต้องอาศัยคุณธรรมความดีเท่านั้น

* วาสนา นั้นเป็นไปตามอัธยาศัย
คนที่มีวาสนาในทางที่ดีมาแล้ว แต่คบคนพาล วาสนาก็อาจเป็นคนพาลได้ บางคนวาสนายังอ่อน เมื่อคบบัณฑิต วาสนาก็เลื่อนขึ้นเป็นบัณฑิต
ฉะนั้น บุคคลควรพยายามคบแต่บัณฑิต เพื่อเลื่อนภูมิวาสนาของตนให้สูงขึ้น

* ผู้มีปัญญา ไม่ควรให้สิ่งที่ล่วงแล้วตามมา ไม่ควรหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
ผู้มีปัญญา ได้เห็นในธรรมซึ่งเป็นปัจจุบัน ควรเจริญความเห็นนั้นไว้เนืองๆ ควรรีบทำเสีย
ผู้มีปัญญา ซึ่งมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีความเพียรแยกกิเลสให้หมดไป จะไม่เกียจคร้าน ขยันหมั่นเพียรทั้งกลางวันและกลางคืน

* จิต เป็นสมบัติสำคัญมากในตัวเราที่ควรได้รับการเหลียวแล ด้วยวิธีเก็บรักษาให้ดี ควรสนใจรับผิดชอบต่อจิต อันเป็นสมบัติที่มีค่ายิ่งของตน วิธีที่ควรกับจิตโดยเฉพาะก็คือภาวนา ฝึกหัดภาวนาในโอกาสอันควร ตรวจดูจิตว่า มีอะไรบกพร่องและเสียไป จะได้ซ่อมสุขภาพจิต
นั่งพินิจพิจารณาดูสังขารภายใน คือ ความคิดปรุงแต่งของจิตว่า คิดอะไรบ้าง มีสาระประโยชน์ไหม คิดแส่หาเรื่อง หาโทษ ขนทุกข์มาเผาตนอยู่นั้น พอรู้ผิด-ถูกของตัวบ้างไหม
พิจารณาสังขารภายนอกว่า มีความเจริญขึ้นหรือเจริญลง สังขารมีอะไรใหม่หรือมีความเก่าแก่ชราหลุดไป พยายามเตรียมตัวเตรียมใจเสียแต่เวลาที่พอจะทำได้ ตายแล้วจะเสียการให้ท่องในใจอยู่เสมอว่า เรามีความแก่-เจ็บ-ตาย อยู่ประจำตัวทั่วหน้ากัน

* ทาน-ศีล- ภาวนา ธรรมทั้ง 3 นี้ เป็นรากแก้วของความเป็นมนุษย์ และเป็นรากเหง้าของพระศาสนา ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์ ต้องเป็นผู้เคยสั่งสมธรรมเหล่านี้มาอยู่ในนิสัย ของผู้จะมาสวมร่างเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยมนุษย์อย่างแท้จริง

-------------------------------------------------------------------

คนหิว อยู่เป็นปกติสุขไม่ได้
จึงวิ่งหาโน่นหานี่
เจออะไรก็คว้าติดมือมาโดยไม่สำนึกว่าผิดหรือถูก
ครั้นแล้วสิ่งที่คว้ามาก็เผาตัวเองให้ร้อนยิ่งกว่าไฟ

คนที่หลงจึงต้องแสวงหา
ถ้าไม่หลงก็ไม่ต้องหา
จะหาไปให้ลำบากทำไม
อะไรๆ ก็มีอยู่กับตัวเองอย่างสมบูรณ์อยู่แล้ว
จะตื่นเงา ตะครุบเงาไปทำไม
เพราะรู้แล้วว่า เงาไม่ใช่ตัวจริง
ตัวจริง คือ สัจจะทั้งสี่ที่มีอยู่ในกายในใจอย่างสมบูรณ์แล้ว

-------------------------------------------------------------------
อานิสงส์ของศีล 5 เมื่อรักษาได้
1. ทำให้อายุยืน ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน
2. ทรัพย์สมบัติที่อยู่ในความปกครอง มีความปลอดภัย
จากโจรผู้ร้ายมาราวี เบียดเบียนทำลาย
3. ระหว่าง ลูก หลาน สามี ภริยา อยู่ด้วยกันเป็นผาสุก ไม่มีผู้คอยล่วงล้ำ
กล้ำกราย ต่างครองกันอยู่ด้วยความผาสุข
4. พูดอะไรมีผู้เคารพเชื่อถือ คำพูดมีเสน่ห์เป็นที่จับใจไพเราะ
ด้วยสัตย์ ด้วยศีล
5. เป็นผู้มีสติปัญญาดีและเฉลียวฉลาด ไม่หลงหน้าหลงหลัง จับโน่นชนนี่
เหมือนคนบ้าคนบอหาสติไม่ได้ ผู้มีศีล เป็นผู้ปลูกและส่งเสริม
สุขบนหัวใจคนและสัตว์ทั่วโลก ให้มีแต่ความอบอุ่นใจ ไม่เป็นที่ระแวงสงสัย
ผู้ไม่มีศีลเป็นผู้ทำลายหัวใจคนและสัตว์ ให้ได้รับความทุกข์เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า

-------------------------------------------------------------------

เราเกิดมาเป็นมนุษย์
มีความสูงศักดิ์มาก
อย่านำเรื่องของสัตว์มาประพฤติ
มนุษย์เราจะต่ำลงกว่าสัตว์
และจะเลวกว่าสัตว์อีกมากมาย
อย่าพากันทำ
ให้พากันละบาป บำเพ็ญบุญ
ทำแต่คุณความดี
อย่าให้เสียชีวิตเปล่าที่มีวาสนาเกิดมาเป็นมนุษย์

-------------------------------------------------------------------
กรรม จำแนกสัตว์ให้ทราม และประณีตต่างกัน

ผู้สงสัยกรรม หรือไม่เชื่อกรรมว่ามีผล
คือ ลืมตนจนกลายเป็นผู้มืดบอดอย่างช่วยไม่ได้
แม้เขาจะเกิดและได้รับการเลี้ยงดู
จากพ่อ-แม่มาเป็นอย่างดีเหมือนโลกทั้งหลายก็ตาม
เขาก็มองไม่เห็นคุณของพ่อ-แม่
ว่าได้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูตนมาอย่างไรบ้าง
แต่เขาจะมองเห็นเฉพาะร่างกายเขา
ที่เป็นคนหนึ่งกำลังรกโลกอยู่โดยเจ้าตัวไม่รู้เท่านั้น

-------------------------------------------------------------------

คนฉลาดปกครองตนให้มีความสุขและปลอดภัย
ไม่จำเป็นต้องเที่ยวแสวงหาทรัพย์มากมาย
หรือเที่ยวกอบโกยเงินเป็นล้านๆ มาเป็นเครื่องบำรุง
จึงมีความสุข
ผู้มีสมบัติพอประมาณในทางที่ชอบ
มีความสุขมากกว่าผู้ได้มาในทางมิชอบเสียอีก
เพราะนั่นไม่ใช่สมบัติของตนอย่างแท้จริง
ทั้งๆ ที่อยู่ในกรรมสิทธิ์
แต่กฏความจริง คือกรรมสาปแช่งไม่เห็นด้วย
และให้ผลเป็นทุกข์ไม่สิ้นสุด
นักปราชญ์ ท่านจึงกลัวกันหนักหนา
แต่คนโง่อย่างพวกเรา
ผู้ชอบสุกเอาเผากิน และชอบเห็นแก่ตัว
ไม่มีวันอิ่มพอ ไม่ประสบผล คือ ความสุขดังใจหมาย

-------------------------------------------------------------------

อะไรๆ ที่เป็นสมบัติของโลก
มิใช่สมบัติอันแท้จริงของเรา
ตัวจริงไม่มีใครเหลียวแล

สมบัติในโลกเราแสวงหามา
หามาทุจริตก็เป็นไฟเผา
เผาตัวทำให้ฉิบหายได้จริงๆ

-------------------------------------------------------------------
หาคนดีมีศีลธรรมในใจ
หายากยิ่งกว่าเพรชนิลจินดา

ได้คนเป็นคนดีเพียงคนเดียว
ย่อมมีคุณค่ามากกว่าเงินเป็นล้านๆ
เพราะเงินเป็นล้านๆ
ไม่สามารถทำความร่มเย็นให้แก่โลกได้อย่างถึงใจ
เหมือนได้คนดีทำประโยชน์

-------------------------------------------------------------------
ธรรม เป็นเครื่องปกครองสมบัติและปกครองใจ
ถ้าขาดธรรมเพียงอย่างเดียว
ความอยากของใจจะพยายามหาทรัพย์
ได้กองเท่าภูเขาก็ยังหาความสุขไม่เจอ
ไม่มีธรรมในใจเพียงอย่างเดียว
จะอยู่ในโลกใด กองสมบัติใด ก็เป็นเพียงโลก
เศษเดนและกองสมบัติเดนเท่านั้น
ไม่มีประโยชน์อะไรแก่จิตใจแม้แต่นิด
ความทุกข์ทรมาน ความอดทน
ทนทาน ต่อสิ่งกระทบกระทั่งต่างๆ
ไม่มีอะไรจะแข็งแกร่งเท่าใจ
ถ้าได้รับความช่วยเหลือที่ถูกทาง
ใจจะกลายเป็นของประเสริฐ
ให้เจ้าของได้ชมอย่างภูมิใจต่อเรื่องทั้งหลายทันที


G+ ชาตรี กองนอก
Apr 20, 2013


ออฟไลน์ nidnhoi

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 6
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
    • ข้อคิดดีดี
 :13: :13: :13: :13:
อนุโมทนา สาธุ

************************************
สุขภาพดีดีมีขาย http://gel-care.net/
ข้อคิดดีดี http://kuakiddeedee.wordpress.com/
************************************

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: "..กิเลสแท้ธรรมแท้อยู่ที่ใจ"
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2013, 12:11:34 pm »




"..กิเลสแท้ธรรมแท้อยู่ที่ใจ
ส่วนเครื่องส่งเสริมและกดถ่วงกิเลสและธรรมนั้น
มีอยู่ทั่วไปทั้งภายในภายนอก

ฉะนั้น ท่านจึงสอนให้หลบหลีกปลีกตัวจากสิ่งยั่วยวน กวนใจ
อันจะทำให้กิเลสที่มีอยู่ภายในกำเริบลำพอง มี รูป เสียง เป็นต้น
และสอนให้เที่ยวอยู่ในที่วิเวกสงัด
เพื่อกำจัดกิเลสชนิดต่างๆ ด้วยความเพียรได้ง่ายขึ้น
อันเป็นการย่นวัฏฏะภายในใจให้สั้นเข้า.."

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต




“ความผิดพลาดอาจมีได้ด้วยกันทุกคน
ความเห็นโทษความผิดนั่นแล
เป็นความดี
ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้น อาจมีได้ด้วยกันทุกคน
ฉะนั้น จึงควรสำรวมระวังไปในทุกกรณี
เพราะความมีสติ
ระวังตัวทุกโอกาสเป็นทางของนักปราชญ์”

โอวาทธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ
บันทึกโดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโณ
>>> F/B ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 23, 2014, 11:14:14 am โดย ฐิตา »