ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : ไอน์สไตน์ยิ่งใหญ่เพราะภาวะจิตวิญญาณด้วย  (อ่าน 1549 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


ผู้เขียนรู้สึกว่านักวิทยาศาสตร์ทั่วๆ ไปส่วนใหญ่มากๆ ส่วนหนึ่ง โดย เฉพาะนักวิทยาศาสตร์ของประเทศกำลังพัฒนาเช่นประเทศไทยเราต่างคิดว่าการเป็นนักวิทยาศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นแม็ตทีเรียลลิสต์หรือไม่นั้นจะต้องเกี่ยวข้องเฉพาะแต่เรื่องข้างนอก-ภายนอกหรือรูปธรรมเท่านั้น ฉะนั้นจึงต่างรู้จักชื่อเสียงของไอน์สไตน์ดี เพราะเข้าใจว่าไอน์สไตน์รู้จักและใช้เป็นเพียงแต่ตรรกะทั้งหมดที่ตนเองรู้ - ซึ่งเป็นเพียงภาวะวิสัย (objective) ทางด้านชีววิทยา “ที่ตั้งอยู่ข้างนอกนั่น” เท่านั้น เรื่องภายในหรือเรื่องของจิตวิญญาณ (spirituality) แทบจะไม่มีหรือไม่สนใจเลย ทำให้เข้าใจว่าไอน์สไตน์คงจะเหมือนกับตนหรือนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป ซึ่งคิดถึงแต่รูปธรรม คิดถึงแต่เรื่องสสารวัตถุ (matter) คือไอน์สไตน์คงรู้แต่เรื่อง “ที่ตั้งอยู่ข้างนอกนั่น” รู้แต่ความจริงของโลกของจักรวาลต่างๆ ได้มากกว่านักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ มีครั้งหนึ่งวารสารทางวิทยาศาสตร์ชื่อดิสคัฟเวอรี่ - ที่ผู้เขียนเป็นสมาชิกรับมานานจนถึงครั้งหนึ่งวารสารวิทยาศาสตร์ฉบับนี้ได้เปลี่ยนบรรณาธิการเป็นนักชีววิทยา ทำให้บทความส่วนมากเป็นบทความทางชีววิทยาไปด้วย ซึ่งทำให้ผู้เขียนรับได้ยากมาก เพราะผู้เขียนมองว่าวารสารทางวิทยาศาสตร์จริงๆ ทั้งๆ ที่แท้จริงแล้ววารสารจะต้องประกอบความพยายามที่จะหาคำตอบเรื่องของธรรมชาติทั้งหมดหรือฟิสิกส์ เรื่องของชีวิตแม้ว่าเป็นวิทยาศาสตร์ก็จริง แต่ก็เป็นเรื่องที่น้อยนิดเมื่อเทียบกับทั้งหมด ผู้เขียนจึงบอกเลิกเป็นสมาชิก เลิกรับวารสารเล่มนั้นไปเลยตั้งแต่วันนั้น - ส่วนเล่มที่เขียนเรื่องของไอน์สไตน์เป็นพิเศษทั้งเล่มเลย (2009) นั้นลูกชายซื้อมาฝากจากอเมริกา

 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในวารสารวิทยาศาสตร์ดิสคัฟเวอรี่ที่ว่าเล่มนั้นไม่มีแม้แต่เรื่องเดียวที่มีคำว่าจิต (consciousness) หรือว่าสภาวะจิตวิญญาณ  (spirituality) เลยเท่าที่ผู้เขียนอ่านผ่านตามา ซึ่งเชื่อได้อย่างจำกัดมาก เพราะว่าตาของผู้เขียนทั้ง 2 ข้างเกือบมองไม่เห็นแล้ว แถมยังเป็นเส้นเลือดในสมองตีบ  ซึ่งส่งผลให้นิ้วของมือขวาใช้การไม่ได้และพูดลำบากมาก ผู้เขียนอีก 2 เดือนก็จะย่างก้าวเข้าอายุ 84 ปีแล้ว คงเขียนได้ไม่นาน ถึงครึ่งปีก็นับว่าเก่งแล้ว อย่างว่า-ผู้เขียนไม่เคยอ่านผ่านตาในวารสารเล่มนั้นทั้ง 14 เรื่องของไอน์สไตน์ ทั้งๆ ที่มีแม้แต่มิชิโอะ กากุ นักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กซิตีเขียนถึง 2  เรื่อง มิชิโอะ กากุ ผู้เขียนเรื่องมิติ (dimensions) ที่บอกว่านิพพานคือมิติที่ 11  เมื่อ 5 ปีก่อน

 ที่ผู้เขียนพูดว่าไอน์สไตน์เป็นคนที่มีความรอบรู้เรื่องจิตและสภาวะจิตวิญญาณ (spirituality) มากกว่าพอสมควรมากนัก จริงๆ แล้วผู้เขียนเชื่อว่าไอน์สไตน์จะต้องคิดเรื่องของจิตและจิตวิญญาณอย่างน้อยก็เท่าๆ กับเรื่องทางกายทางวัตถุ ผู้เขียนคิดเรื่องนี้จากข้อเขียนของเขาที่มีมากยิ่งนัก (ดู-ไอน์สไตน์กับพระพุทธเจ้า) ตามปกติความเชื่อศรัทธานั้นเป็นคำที่อยู่ในศาสนา แม้แต่ศาสนาพุทธเองความศรัทธาก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็น 1 ใน 4 หนทางที่เอื้ออำนวยให้กิจการใดๆ สามารถลุล่วงไปได้ แต่เป็นคำที่วิทยาศาสตร์ไม่ชอบเลย  จริงๆ แล้วไม่มีในปทานุกรมวิทยาศาสตร์ด้วยซ้ำไป ในหนังสือวิวัฒนาการของฟิสิกส์ (หรือวิทยาศาสตร์) ไอน์สไตน์ได้เขียนไว้ชัดถึง “ความศรัทธา” หลายครั้งในการทดลองทางฟิสิกส์ ในสายตาของผู้เขียนและนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่คิดว่าเป็น “แม่” ของความรู้ (knowledge) ที่เรียกว่าวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย  ไอน์สไตน์กล่าวว่าในการทดลองทางฟิสิกส์ (วิทยาศาสตร์) นั้นเราใช้ภาวะวิสัยเป็นประจำในการทั้งคิดสร้างการทดลอง ทั้งการเข้าไปถึงข้อสรุปการทดลองทางวิทยาศาสตร์ทุกครั้ง แต่ทุกครั้งเช่นกันเราก็ต้องมีความเชื่อศรัทธาอันเป็นอัตวิสัย (subjective) เสมอเป็นของคู่กัน ในการทดลองวิทยาศาสตร์ทุกครั้งเราจำเป็นที่จะต้องมีการเคลื่อนไหวเพื่อความ “พร้อม” ของจักรวาล “ภายใน” (inner cosmic harmony) หาไม่แล้วเราก็ไม่มีวิทยาศาสตร์  ไม่มีการค้นพบอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ และความเชื่อความศรัทธานั้นเองที่ชักนำให้ความ “พร้อม” ของจักรวาลภายในนั้นให้เคลื่อนไหว

 ความเชื่อความศรัทธาที่มีอยู่ใน ทุกๆ ศาสนาโดยไม่มีข้อยกเว้น แม้แต่ในศาสนาพุทธที่เป็นจิตวิทยาและเป็นวิทยาศาสตร์ที่สุด ที่ถือว่าเป็น “หัวหอก” สู่ความสำเร็จจนกระทั่งลุล่วงไปได้ด้วยดี ทั้งนี้ มีเหตุผลอยู่ 2 ประการที่ผู้เขียนคิด  และขอให้ท่านผู้อ่านช่วยพิจารณาคือ หนึ่ง จิตไร้สำนึกร่วมของจักรวาลของคาร์ล  จุง (universe unconscious continuum) หรือที่อาร์โนลด์ มินเดล เรียกว่า  กระบวนการจิต (processmind) นั้น จริงๆ แล้วจักรวาลรู้ว่าความจริงที่แท้จริงของจักรวาลคืออะไรกับอย่างไรอยู่แล้วและทุกๆ เวลา และที่สำคัญจิตจักรวาลเป็นตัวรู้หรือเป็นปัญญา (ที่เหนือกว่าสติปัญญาธรรมดาๆ) ที่ให้และควบคุมความจริงที่แท้จริง ทั้งหมดทั้งสิ้น (ปรมัตถ์ หรือ ultimate reality) และสอง จิตจักรวาลรู้แล้วว่ามีผู้ค้นหา ความจริงบางความจริง อยู่ และถึงเวลาที่ความจริงนั้นต้องโผล่ปรากฏออกมาหรืออาจจะพูดว่าจิตจักรวาลมีหน้าที่ปกครองควบคุมความจริงแต่ละความจริงที่ปรากฏแก่มนุษย์ในโลกด้วยก็ได้ ไอน์สไตน์มีความคิดเห็นคล้ายๆ กับพระพุทธเจ้าในกรณีที่พูดถึงพระเจ้า จริงๆ แล้วทั้งสองสนใจอย่างที่สุดในเรื่องของจิตและจิตวิญญาณมาตั้งแต่ไหนแต่ไร สำหรับพระพุทธเจ้านั่นไม่ต้องพูดถึง เพราะเป็นคนที่สนใจในเรื่องความรู้และเรื่องของชีวิตมาตั้งแต่ยังเป็นเจ้าชายสุทโธทนะ สนใจในวัฏจักรของชีวิต การเกิด แก่ เจ็บ ตาย มาตั้งแต่เล็ก และทรงประกาศพุทธศาสนาเพื่อช่วยมนุษย์โลกหลังการตรัสรู้มาตั้งแต่ยังเป็นหนุ่มเมื่อสองพันห้าร้อยปีก่อน และเป็นผู้ที่ไม่ชอบพูดถึงพระเจ้า ในความเห็นของผู้เขียนไอน์สไตน์เองก็ไม่ชอบพูดถึงพระเจ้าผู้สร้างโลกและสร้างทุกสิ่งทุกอย่าง รวมทั้งมนุษย์ (Creator) เป็นคนที่พูดได้ว่าเคร่ง “ศาสนา” อย่างที่สุดตามที่เกอร์ฮาร์ด สตากุห์น (อ้างแล้ว) เป็นคนที่ใช้คำว่าเคร่งใน “ศาสนาของจักรวาล” (cosmic religiousness) แต่ถึงจะเคร่งศาสนาอย่างไรไอน์สไตน์ก็ไม่พูดถึงพระเจ้าหรือพูดถึงน้อยครั้งมาก ทั้งนี้ เพราะไอน์สไตน์เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าที่คิดว่าพระเจ้าที่เป็นสมบัติส่วนตัว (personal God) คงไม่มี พระเจ้าที่มีความคิดเหมือนมนุษย์ (mentality) คงไม่มี พระเจ้าที่ลงโทษและให้รางวัลคนแต่ละคนทั้งที่พระเจ้าเองเป็นผู้สร้างขึ้นมาเองก็คงไม่มี - มีแต่พระเจ้าที่เป็นความจริงที่แท้จริง พระพุทธเจ้าจึงมีความคิดเห็นเช่นอุปานิษัทเล่มแรกๆ และคิดว่าพระเจ้าที่แท้จริง ก็คือพรหมัน (Brahman) ซึ่งก็คือความจริงที่แท้จริงนั่นเอง และผู้เขียนเข้าใจเอาเองว่าคณิตศาสตร์ (mathematics) และทฤษฎีที่พิสูจน์แล้วบางทฤษฎี โดยเฉพาะทฤษฎีความสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์เองและทฤษฎีควอนตัมเม็คคานิกส์ล้วนแล้วแต่ได้รับการปกครองและควบคุมด้วยจิตไร้สำนึกร่วมจักรวาลของคาร์ล จุง หรือสนามกระบวนการจิต (processmind) ของอาร์โนลด์ มินเดล ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น                                                             


ในที่นี้เราพูดถึงอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งจริงๆ แล้วความยิ่งใหญ่ของไอน์สไตน์นั้นจะพูดได้ว่าเราอาจมองว่าเป็นเรื่องของฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ทั้งหมดเป็นสำคัญก็ได้หากว่าเราเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มองนั้น แต่ถ้าหากให้นักศาสนศาสตร์หรือนักจิตวิทยาผ่านพ้นตัวตนมองความคิดของไอน์สไตน์ รับรองว่าเขาจะมองอย่างที่ผู้เขียนเห็น คือไอน์สไตน์เป็นผู้ที่อยู่ในสภาวะผ่านพ้นตัวตน  (transcendence) หรือสภาวะจิตวิญญาณ (spirituality) แน่นอน อัลเบิร์ต  ไอน์สไตน์ นั้นไม่ใช่คนธรรมดา คือไม่แคร์กับความเห็นของม็อบของมวลชนและเสียงด่าว่าของปัญญาชนนักวิชาการโดยเป็นตัวของตัวเองเสมอ ไอน์สไตน์เป็นคนที่สุดพิเศษจริงๆ คือเขาเป็นยิ่งกว่าจีเนียส (genius) เสียอีก ไทม์แม็กกาซีนจัดผิดที่ จัดให้เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์แห่งศตวรรษ เพราะเขาเป็นยิ่งกว่านั้นมากนัก เอาเป็นว่าอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด รู้รอบที่สุดในประวัติศาสตร์ในรอบ 500 ปี หรือรอบ 1,000 ปีก็แล้วแต่ โดยมีแต่นักวิทยาศาสตร์ เป็นต้นว่า โคเปอร์นิคัส หรือไอแซ็ค นิวตัน ที่อาจจะเทียบเคียงได้ ความรอบรู้พหูสูตของไอน์สไตน์เช่นเรื่องศาสนาหรือเรื่องจิตและเรื่องของจิตวิญญาณ (spirituality) อาจยกเป็นตัวอย่างได้ดังนี้

“ข้าพเจ้าเชื่อในเรื่องของญาณทัสสนะและการดลใจจากจินตนาการ  ญาณทัสสนะ (intuition) คือปัญญาที่มาของมันเองและจินตนาการนั้นสำคัญกว่าความรู้มากนัก เพราะความรู้นั้นมีอยู่อย่างจำกัด ในขณะที่จินตนาการกอดโลกไว้ทั้งหมด จินตนาการคือความก้าวหน้า คือหัวหอกแห่งวิวัฒนาการ จริงๆ แล้ว มันคือพื้นฐานของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์”

ความคิดอีกความคิดหนึ่งที่ทำให้ผู้เขียนเข้าใจว่าไอน์สไตน์ชอบเรื่องทางจิตและจิตวิญญาณ ซึ่งมองอย่างไรก็มองไม่เห็นคือ ชอบความรู้ที่เร้นลับหรือความลี้ลับ (mysticism-mysterious) ที่มองไม่เห็น ไอน์สไตน์กล่าวว่า “ที่ชอบที่สุดคือเราสามารถมีประสบการณ์เรื่องที่ลี้ลับอันงดงามอย่างที่สุด นั่นคือจุดกำเนิดของศิลปะและวรรณคดีกับวิทยาศาสตร์ทั้งหมด ใครก็ตามที่มีความรู้สึก  (emotion) เหมือนพบกับคนแปลกหน้า ไม่สามารถหยุดและหันไปมองเรื่องที่ลี้ลับนั้นด้วยความสนใจจนอ้าปากค้าง (rapt in awe) ใครคนนั้นก็เหมือนกับที่ตายไปแล้ว” น่าสนใจที่ปรัชญาการมองชีวิตของไอน์สไตน์นั้นเหมือนกับว่าไม่ได้ผิดจากการดำเนินชีวิตของเขาที่ดูว่าไอน์สไตน์จะมีความสนใจในเรื่องของชีวิตทุกๆ  เรื่องเลย โดยเฉพาะเรื่องของ “ความเป็นผู้มีศาสนา” กับเรื่องทางจิตและจิตวิญญาณ
“ความรู้เรื่องที่มาหรือการดำรงอยู่ของชีวิตที่สวยงามนั้น เราไม่อาจรู้ได้อย่างลึกซึ้ง นั่นคือคำตอบของคำที่ว่า-ทำไมเราถึงต้องเป็นผู้ที่มีความเป็นศาสนา เพราะฉะนั้น ด้วยเหตุและอารมณ์ความรู้สึกนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้ที่เคร่งศาสนาอย่างที่สุด...” และเขากล่าวว่า "มันต้องมี" ผู้ปรึกษาที่ทรงอำนาจ  (counsel and dominion) อยู่เบื้องหลังกฎธรรมชาติ เป็นผู้ที่ทรงปัญญาเหนือปัญญา (the One-the old One)...” ซึ่งไอน์สไตน์บอกว่าไม่ใช่พระเจ้า “ส่วนตัว”  ของใคร (personal God) ผู้ให้รางวัลและลงโทษมนุษย์ และเป็นผู้ที่มีความคิดความอ่านเหมือนมนุษย์ เขากล่าวว่า “ทุกๆ วันข้าพเจ้าจะคิดเป็นร้อยๆ ครั้ง  เตือนตัวเองอยู่เสมอว่าชีวิตทั้งภายในกับภายนอกของข้าพเจ้าขึ้นกับแรงงานของคนผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นหรือตายไปแล้ว และข้าพเจ้าจะต้องทำเช่นนั้น ข้าพเจ้าจึงดำรงชีวิตเรียบง่ายโดยรู้ตัวเองตลอดว่าต้องไม่เอาเปรียบผู้อื่น...” “การเป็นมนุษย์นั้นข้าพเจ้าถือว่าความรื่นเริงบันเทิงใจอยู่กับความจริง ความดี และความงาม นั่นคือ การมีชีวิตของมนุษย์ (ที่มีจิตใจเหมือนข้าพเจ้า) คือการสนุกกับศิลปะและวิทยาศาสตร์ การไขว่คว้าหาความสุข (ชั่วคราว) บนความอยากความต้องการ เช่น การแสวงหาทรัพย์สิน ตำแหน่ง เกียรติ ความฟุ้งเฟ้อสุรุ่ยสุร่ายนั้นน่ารังเกียจอย่างที่สุด”.

http://www.thaipost.net/sunday/100711/41474
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...