แสงธรรมนำใจ > หยาดฝนแห่งธรรม

ภัยพิบัติที่แท้จริง โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร

<< < (2/2)

ฐิตา:
หายนะภัย คือตัวเราเองที่มีเกิดนั่นเอง เมื่อมีเกิดขึ้นมาแล้วเป็นทุกข์ การเกิดนำมาซึ่งความฉิบหาย ภารา หะเว ปัญจักขันธา ภาระหาโร จะ ปุคคะโล ภาราทานัง ทุกขัง โลเก ภาระนิกเขปะนัง สุขัง ตรงนี้แหละมีเกิดย่อมต้องมีทุกข์ และเป็นทุกข์ที่สิ้นไปเป็นชาติๆ เลย อยู่ได้ไม่นาน เราอาจจะหนีรอดพ้นจากภัยพิบัติตรงนั้นมาอยู่ตรงนี้ หรือจากตรงนี้ไปตรงโน้นได้ แต่เราหนีไม่พ้นความตาย

นี่คือเรื่องจริงของเราทุกคน ไม่ใช่มาพูดให้ยอมรับ เพราะเป็นเรื่องจริงที่เราเถียงไม่ได้ เราก็เห็นได้ว่าชีวิตของเรานี่อยู่ในความประมาท เราใช้ชีวิตเลอะเทอะ ไม่มีแก่นสารของชีวิต แต่การศึกษาพระอภิธรรมจะพาเราไปถึงแก่นชีวิตเหมือนพาเราไปสู่โลกพิศวง แต่พอจบละครฉากที่เราเป็นนักศึกษาพระอภิธรรม เราก็กลายเป็นชีวิตที่น่าพิศวงเหมือนเดิม คือ เราไม่รู้จักตัวเองเลย

เราจึงเป็นผู้ท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิด อาศัยโลกที่กำลังแก่ขึ้นเรื่อยๆ และในท่ามกลางโลกที่แก่แล้วเราก็ต้องเสื่อมด้วย และถ้าเเราตายลงในชาตินี้ และเราก็เกิดในโลกนี้อีกไม่ว่าจะตรงไหนก็แล้วแต่ เรา ก็หนีไม่พ้นแผ่นดินไหว ไฟระเบิด พายุร้อน ทะเลบ้า

คำที่เป็นสัจธรรม “อมตะสุข” คือ นิพพานเป็นบรมสุขอย่างยิ่ง เพราะนิพพานดับจิต เจตสิก และรูปในแผนผังนี้ทั้งหมด เมื่อไม่เกิดเสียอย่างเดียว โลกจะเป็นอะไรก็ช่าง แต่ทุกวันนี้เราช่างไม่ได้ เพราะเราอาศัยโลกด้วยความกลัวตาย มันจึงมีความคลั่งและบ้าไปกับชีวิต ดิ้นรนไปในสิ่งที่หนีไม่พ้นก็คือ ความตาย เพราะไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนก็ตาย จะไปที่ไหนก็ตาย ฉะนั้น หนทางเดียวที่เราจะสามารถทำให้พ้นความตายได้ ก็คือการเจริญสติปัฏฐานสี่หรือมรรคอันมีองค์ ๘ …มรรคอันมีองค์ ๘ มรรคเป็นทาง สติปัฏฐานเป็นตัวดำเนิน

ก็จะเข้ามาในเรื่องที่เราจะไปเข้าปฏิบัติเพราะว่าเราเรียนอย่างเดียวก็เหมือนเราเรียนบทละคร ที่เป็นละครชีวิต เราจึงต้องย้อนมาดูตัวว่าเรามีจิต เจตสิก รูปที่วุ่นวายเหลือเกิน นี่คือละครชีวิตจริง กินสนุก อร่อย ไม่อร่อย เพลิดเพลินเจริญใจ นี่คือความจริงที่เราและท่านกำลังเป็นกันอยู่ และก็จะเป็นเช่นนี้ตราบนานเท่านาน โดยมิสามารถหลุดพ้นไปจากสังสารวัฏฏ์ได้

ฐิตา:
สังสารวัฏฏ์ก็คือการเวียนว่ายตายเกิด พระพุทธเจ้าท่านมีพระมหากรุณาคุณจึงทรงสั่งสอนเวไนยนิกรทั่วหน้าให้เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร เพื่อจะได้แจ้งแก่ใจว่าชีวิตคืออะไร แจ้งแก่ใจว่าเป็นทุกข์อย่างไร

ชีวิตคืออะไร? ชีวิตคือสิ่งที่อุบัติขึ้นมาด้วยเหตุด้วยปัจจัย และดำรงชีวิตไปช่วงระยะหนึ่งๆ แล้วก็ต้องเจอความตาย ชีวิตประกอบไปด้วยรูปนามขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ และขันธ์ ๕ นี้ตกอยู่ภายใต้กฎแห่งพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เมื่อเราแจ้งแก่ใจว่านี่ไงชีวิตเรา แจ้งแก่ใจว่า จิตตุปบาทนี่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป แล้วด้วยอำนาจของจิตเองนั้นมีการสืบต่ออำนาจจึงมีจิตชนิดต่างๆนั้นเกิดขึ้นตามมาทำหน้าที่คือกิจของจิตแล้วก็ดับไปๆ จิตมิได้อยู่โดยลำพังเดี่ยวๆ แต่ข้างในยังบรรจุไว้ด้วยข้อมูล คือ เจตสิก

เราเรียนเรื่องจิต ... เหมือนเรียนเรื่องบ้านที่มี ๘๙ แปลนหรือ ๑๒๑ แปลน แต่ละแปลนไม่เหมือนกัน

เรา เรียนเรื่องเจตสิก ..เหมือนเรียนเรื่องผู้อาศัยในบ้าน ที่เรียนเรื่องจิตในตอนแรกก็เรียนแต่เค้าโครง มีแต่บ้าน ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ จากนั้นก็เป็นธรรมดาที่ต้องรู้จักผู้อาศัยในบ้าน เราจึงต้องศึกษาว่าหน้าตานิสัยเขาเป็นอย่างไร ซึ่งก็คือเจตสิก ถึง ๕๒ ชนิด

เมื่อเราเรียนโดยความเข้าใจ เราก็จะได้คำว่า “แจ้งแก่ใจ” ขึ้นมา เมื่อเราแจ้งแก่ใจแล้วการศึกษานี้เองก็จะทำให้เราเป็นผู้สลดจิต เพราะการศึกษาเรื่องจิตเจตสิก รูป และวิถีจิต เช่น ที่กว่าจะ “เห็น” ได้ ก็ต้องอาศัยเหตุ อาศัยปัจจัยจำนวนมาก และการเข้าใจวิถีจิตที่มาทำงานนี่ก็ ไม่ใช่ง่ายๆ เลย เราจะเห็นการทำงานที่แสนลำบากยากเย็นของจิต ที่กว่าจะ “เห็น” ครั้งหนึ่งนี่ วิถีเกิดขึ้นนับไม่ถ้วน

ฐิตา:


และวิถีจิตเหล่านั้นไม่ว่าจะมากมายเพียงไหนทุกอย่างดับหมด ฉะนั้น เราจะเห็นสภาพของความสลดจิตโดยเฉพาะผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ก็จะเห็นความ ดับไปๆ ของรูปและนาม เห็นแต่ความดับจะเกิดขึ้นเห็นภัยเห็นโทษในภังคญาณ

พวกเรายังเป็นผู้ไม่เห็นภัยไม่ว่าจะเก่งยังไงแม้แต่ตัวผู้พูดเอง จะสอนเก่งยังไงก็คือสอนเก่ง เพราะเราไม่ได้เห็นความดับไปจริงๆ เราจึงไม่เคย “สลดจิต” เราแค่ “แจ้งแก่ใจ” เพราะความสลดจิตนี้เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นตั้งแต่ภังคญาณนี้ขึ้นไป

เราเรียนเรื่องจิต รู้ว่าจิตเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป เป็นของธรรมดา เป็นธรรมเนียมของจิต และจิตไม่ได้เกิดขึ้นเองตามลำพัง มีคนในบ้านอย่างต่ำๆ ๗ คน คือ ผัสสะ เวทนา สัญญาเจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ มนสิการ หรืออาจเพิ่มสมาชิกเข้าไปอีก ..วิตก วิจาร อธิโมกข์ วิริยะ ปิติ ฉันทะ ฯ และธรรมชาติของจิตก็คือเกิดขึ้นพร้อมเจตสิกแล้วก็ดับไป

เรื่องจิตที่รับอารมณ์เราก็เรียนแล้ว รับอารมณ์ทางปัญจทวาร เช่น รูปารมณ์เกิดขึ้นมา กระทบที่อตีตภวังค์ ทางปัญจทวารก็เกิดขึ้น จักขุวิญญาณทำหน้าที่รับอารมณ์ ส่งต่อการไต่สวนอารมณ์ พิจารณาอารมณ์ แล้วจึงตัดสินอารมณ์ว่าเป็น “ปากกา” แล้วเกิดชอบเกิดชัง และตรงเกิดความชอบหรือชังนี้ อกุศุลหรือกุศลชวนะเกิดขึ้น

เราก็จะเห็นได้ว่าสภาพของจิตนั้นเป็นแบบนี้ แล้วเขาไม่ได้เกิดมาแล้วหายไป เขาเกิดต่อเนื่อง ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติวิปัสสนา จะเข้าไปเห็นความไม่ต่อเนื่องได้ในภังคญาณ และถ้าเราเรียนพระอภิธรรมไปจนจบก็จะมีความเข้าใจมากขึ้นว่า เราไม่ได้เรียนแค่เรื่องวิถีจิต เราไม่ได้แค่เรื่องเหตุที่ทำให้วิถีจิตเกิดเป็นบุญเป็นบาป เราจะเรียนเรื่องปัจจัยทั้งหมดคือ ปัจจยสังคหะวิภาค

   โปรดติดตามตอนต่อไป
   ขออนุโมทนากับน้องฟูและน้องนวลผู้ถอดเทป
   http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=1328

ฐิตา:



:14:
 :07: http://pad.fix.gs/index.php?topic=590.new#new

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version