ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : จิตกับการรับรู้ อารมณ์ ความจำ ความคิดที่เข้าใจ  (อ่าน 1643 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


 บทความนี้ค่อนข้างยากสำหรับผู้เขียนที่ไม่ใช่ทั้งนักจิตวิทยาและนักปรัชญาที่คิดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกัน นักจิตวิทยาที่ทุกวันนี้มาเกี่ยวกับฟิสิกส์ใหม่ที่เป็นวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ที่น่าจะสัมพันธ์กับศาสนามากกว่าวิทยาศาสตร์ที่มีร่วม  500-700 ปีก่อน ของโคเปอร์นิกัส กาลิเลโอ หรือนิวตัน ที่หากคิดให้ลึกๆ แล้ว ผู้เขียนคิดและเชื่อมั่นว่าผิดความจริงทั้งหมดเลย หรือผิดธรรมชาติทั้งหมดเลย น่าสงสารแม็ตทีเรียลลิสต์หรือคนที่คิดว่าอะไรเป็นสสารวัตถุทั้งหมด และน่าสงสารคนไทยแทบจะทั้งชาติเลยว่าอีกสัก 10-20 ปี จากวันนี้จะทำหน้าอย่างไร? เมื่อรู้ว่าสสารวัตถุ (matter) ไม่ได้เป็นพื้นฐานของจักรวาลอีกต่อไป และเพราะ - เป็นผู้เขียนที่คิดเอาเอง - ว่ามันคงจะเกี่ยวกับจิตไร้สำนึกร่วมของจักรวาลโดยรวมทีเข้ามาอยู่ทุกๆ ที่ว่างในสมองของคนแต่ละคนเป็นปัจเจก และถูกบริหารจัดการโดยสมองให้เป็นจิตสำนึกหรือจิตรู้ของคนผู้นั้นๆ และต่อจากนั้นไปจะเป็นเรื่อง 4  ประการที่เกิดขึ้นตามมาเป็นกระบวนการหรือกรรมวิธีที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกันที่รวดเร็วยิงกว่าสายฟ้าแลบ - ตามลำดับ 4 ประการที่จะเกิดตามลำดับคือ การรับรู้ (perception) จิตอารมณ์ (emotion) ความทรงจำ (memory) และความคิด  (thought) ทั้งหมดนอกจากอันแรก หรือการรับรู้ที่เป็นทั้งกายและทั้งจิตเป็น  “กระบวนการ” (process of mind) ที่ต่อเนืองและเกิดมีขึ้นตลอดเวลาในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกๆ คน ที่อาโนลด์ มินเดล นักควอนตัมฟิสิกส์ที่เป็นนักจิตวิทยาด้วย เรียกว่ากระบวนการจิตหรือสนามที่รวมเป็นหนึ่ง (unified field)  เพียงแต่คนธรรมดาๆ ในปัจจุบันโดยทั่วไปมักจะคิดว่ามันเป็นปกติวิสัยของมนุษย์ที่จะไปคิดถึงกระบวนการจิตหรืออะไรที่ผู้เขียนหรือใคร - เล่าให้ฟังแล้ว มันได้ “ประโยชน์” อะไร? สู้คิดถึงเรื่องเงิน เงิน และเงินดีกว่า ถึงว่า - คนเราเกิดมาไม่เท่ากันจริงๆ             
           
เดวิด โบห์ม เป็นนักควอนตัมฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงมากจริงๆ คนหนึ่ง แถมเขายังมักตั้งตัวเองเป็นนักปรัชญาหรือนักจิตวิทยาที่เค็น วิลเบอร์ คงไม่ชอบเอามากๆ เพราะไม่เคยอ้างอิงในหนังสือเล่มไหนๆ ของเขาเลย ทั้งๆ ที่เดวิด โบห์ม  เป็นคนที่คิดและเขียนอธิบายองค์กรซ่อนเร้นตัวเอง (implicate order) ของจักรวาลที่สำคัญมากสำหรับผู้เขียนที่ให้ข้อมูลใหม่ในเรื่องจิต ว่าจิต (ไร้สำนึกหรือจิตจักรวาล หรือองค์กรซ่อนเร้นตัวเองที่ว่า) นั้น สามารถที่จะ “คลี่ขยาย”  (unfold) ความหมาย (meaning) - ซึ่งก็คือจิตรู้อีกแบบหนึ่งกับสสารวัตถุ  (matter) ซึ่งแตกต่างจากพุทธศาสนาเท่าที่ผู้เขียนรู้มา (มหายานและวัชรญาณ)  ซึ่งเท่าที่รู้เพราะตาไม่ดี จึงไม่สามารถอ่านใหม่เพื่อทดสอบซ้ำ จึงเขียนเท่าที่จำได้ ถ้าหากผิด-ถูกอย่างไรจะเอาทั้งตอนต่อไปนี้ออกไปก็ได้ ในจิตรามาส (mind  only school) บอกว่าจิตออกมาตั้งแต่ยังไม่มีจักรวาลใดๆ เลย เรียกว่าเป็นจิตปฐมภูมิ ซึ่งเกิดออกมาจากที่ว่างของอากาศ (ultimate space) ที่แยกออกมาจากพลังงานปฐมภูมิไม่ได้ ทั้ง 2 ออกมาเรียบร้อยแล้วถึงสสารวัตถุ (matter)  ตามออกมาจากที่ว่างอันสมบูรณ์นั้น พอมีชีวิตเกิดขึ้นในโลกจิตก็เปลี่ยนเป็นตัวรู้และเข้ามาอยู่ในสมองเป็นอาลัยวิญญาณ (store-house consciousness) ซึ่งทำงานเป็นกระบวนการ (process) คลี่ขยายและม้วนซ่อนเร้นเอาไว้ แต่ในองค์กรซ่อนเร้นตัวเองของเดวิด โบห์ม นั่น คลี่ขยายเอาความหมาย (meaning) ซึ่งก็คือตัวรู้อีกแบบหนึ่งอย่างที่ว่ามานั้น กับสสารวัตถุ (matter) เพราะองค์กรซ่อนเร้นตัวเองคลี่ขยายสสารวัตถุ (matter) จากที่ว่างอันสมบูรณ์ตั้งแต่แรก พร้อมๆ กับจิตรู้หรือจิตสำนึก (meaning) อันนี้เองที่ทำให้ผู้เขียนจึงเชื่อพุทธศาสนามากกว่าจะเชื่อเดวิด โบห์ม

แต่ว่าเดวิด โบห์ม นั้นเป็นนักฟิสิกส์ที่ยิ่งใหญ่จริงๆ มีนักฟิสิกส์เพียง 2  คนเท่านั้นที่ชมรมนักวิทยาศาสตร์เอาไปเทียบเคียงว่าเกือบจะยิ่งใหญ่เท่าๆ กับไอน์สไตน์ตอนที่เขาตายไปแล้ว หนึ่งในนั้นก็คือเดวิด โบห์ม นั่นเองที่นักฟิสิกส์ตั้งฉายาว่าเป็นตัวแทนของไอน์สไตน์ อีกคนหนึ่งคือสตีเฟน ฮอว์กิ้ง ที่ถูกตั้งฉายาว่าเป็นทายาทของไอน์สไตน์ แต่เดวิด โบห์ม นั้น แม้เขาจะคิดว่าความรู้หรือความคิดเป็นกระบวนการก็จริง แต่ทว่าความรู้นั้นจะคงอยู่ได้และก่อความคิดได้ (โดยไม่พูดถึงจินตนาการเลย) โดยความรู้ก็ถูก “ใช้” เสมือนความคิดทั้งสิ้น (David Bohm : Wholeness and Implicate Order, 1981)

เรามักคุ้นกับความจริงตามที่ตาของเรามองเห็นว่า “มันตั้งอยู่ข้างนอกนั่นไง” ซึ่งเป็นความจริงตามที่ตาเห็น ซึ่งผู้เขียน - ตามที่คนทั่วๆ ไปเรียกกัน -  ใช้คำว่าความจริงทางโลก (objective fact) ที่ปัจจุบันนี้แม้ในทางตะวันออกเอง การมองเห็นด้วย “ตาใน” (subjective fact) หรือผู้สังเกตก็ไม่ค่อยมีใครเอามาคิด  เพราะมันผิดธรรมชาติ ทุกวันนี้ ป่าจริงๆ แม้แต่ต้นไม้ใหญ่อายุเป็นร้อยเป็นพันปีมันมีน้อยลงมากๆ จนทางการเขาประกาศให้รางวัลของภาพการถ่ายรูปต้นไม้ใหญ่กันในประเทศไทย เพราะป่าไม้และต้นไม้หรือทุกสิ่งทุกอย่าง ถูกตีค่าตีราคาเป็นเงิน เพราะฉะนั้นความสัมพันธ์ต่อกันและกัน หรือจะพูดให้ถูกต้องว่า  ปฏิกิริยาระหว่างกัน (interaction) ระหว่างทั้งสอง หรือสิ่งที่จะถูกสังเกตกับผู้สังเกต หรือการรับรู้ (perception) “ที่แท้จริง” เป็นอย่างไร? ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย เพราะมันเป็น “กระบวนการ” ที่ไหลเลื่อนเคลื่อนที่ และเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องถึงระดับต่างๆ ของจิตอันละเอียดสุดละเอียด ผูกพันกับเรื่องถึง 3 เรื่อง คือ  1.การรับรู้อันเป็นความรู้สึกที่ซับซ้อน - ทั้งรูปร่างกายภาพ (physical) และทั้งจิตกับพลังงานปฐมภูมิ ซึ่งแยกออกจากกันไม่ได้ เกี่ยวข้องผูกพันต่อไปกับเรื่องที่  2.เรื่องของอารมณ์ ความจำ และสติปัญญาความฉลาด (intelligence) ซึ่งเป็นเรื่องของจิตรู้หรือความคิดนั่นเอง กับ 3.เรื่องของการรับรู้ยังสัมพันธ์กับเรื่องของความหมาย (meaning) ดังได้บอกข้างบนแล้วว่า แม้ว่าเรื่องนี้จะอธิบายโดยเดวิด โบห์ม ที่บอกว่าผู้เขียนเชื่อพุทธศาสนามากกว่า แต่ที่ยังคงสงสัยเดวิด โบห์ม ก็เพราะเรื่องขององค์กรซ่อนเร้นตัวเอง (implicate order) ที่เดวิด โบห์ม บอกว่า  สสารวัตถุ (matter) คลี่ขยายออกมาจากองค์กรซ่อนตัวเองนั้นทั้งหมด เดวิด  โบห์ม บอกว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน และที่รวดเร็วกว่าสายฟ้าแลบมากนัก

แท้ที่จริงวิทยาศาสตร์แห่งยุคใหม่ ทั้งทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์  และโดยเฉพาะควอนตัมเม็คคานิกส์ให้ความสำคัญอย่างมากกับการสังเกต  เพราะการรับรู้โดยการสังเกตเพียงประเด็นเดียวที่ทำให้ความคิด ความจำ  อารมณ์ และข้อมูลสติปัญญาความฉลาด หรือความคิดก่อประกอบขึ้นมา - โดยอาศัยความจำเป็นส่วนใหญ่และอาศัยอารมณ์เป็นครั้งคราวในคนปกติธรรมดา -  เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปฏิกิริยาระหว่างผู้สังเกตและสิ่งที่ถูกสังเกต (interaction of observer and observed) อย่างที่บอกไว้ว่ายากสำหรับผู้เขียน เพราะไม่เข้าใจอย่างละเอียดนัก แต่ทางควอนตัมเม็คคานิกส์ และทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์อธิบายว่า - ตรงกับทางพุทธศาสนา โดยที่ผู้ทำสมาธิ - เหมือนกับเรายืนอยู่กับพื้นดิน และมองเห็นต้นไม้ 2 ต้นที่ดูว่าอยู่ห่างจากกัน  แต่ถ้าหากเราขุดพื้นดินไปดู (หรือดำดินไปดู) ก็จะพบว่ารากของต้นไม้ทั้ง 2 นั้นมีการพัวพันกันอย่างอีนุงตุงนัง มันเป็นปัญหาของที่ว่าง - เวลา (space-time)  ต่างหากที่การสังเกตของเรา และการไหลเลื่อนเคลื่อนที่ของเวลากระทำต่อเรา  ทำให้การสังเกตของเราเห็นเป็นเช่นนั้น (Arnold Mindel : Quantum Mind,  2000) การอธิบายที่เข้าใจลำบากยากกว่าการไม่อธิบายเลย

ถึงอยากจะพูดซ้ำที่ไอน์สไตน์ได้พูดในทำนองว่าเขาเชื่อในจินตนาการมากที่สุด แต่ไม่เชื่อในความรู้ (Knowledge) เพราะว่าความรู้นั้นจำกัดจำเขี่ยมาก  แต่จินตนาการนั้นได้กอดโลกเอาไว้ ที่เอาคำพูดของไอน์สไตน์ขึ้นมา เพราะผู้เขียนเข้าใจว่า เดวิด โบห์ม เอาการ “ใช้” ความรู้กับความคิดเป็นประหนึ่งเดียวกัน.

http://www.thaipost.net/sunday/240711/42213
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...