พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ชีวกสูตร
เรื่องหมอชีวกโกมารภัจจ์
เนื้อที่ไม่ควรบริโภค และควรบริโภค ๓ อย่าง
[๕๗] พ. ดูกรชีวก ชนใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม
พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ก็ยังเสวยเนื้อสัตว์ที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำ ดังนี้
ชนเหล่านั้นจะชื่อว่ากล่าวตรงกับที่เรากล่าวหามิได้ ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่เป็นจริง ดูกรชีวก
เรากล่าวเนื้อว่า ไม่ควรเป็นของบริโภคด้วย
เหตุ ๓ ประการ คือ
เนื้อที่ตนเห็น เนื้อที่ตนได้ยิน
เนื้อที่ตนรังเกียจ ดูกรชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของ
ไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ นี้แล
ดูกรชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของ
ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ
เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น
เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน เนื้อที่ตนไม่ได้รังเกียจ ดูกรชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของควรบริโภค
ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล.
เป็นพระพุทธดำรัสตรัสตอบปัญหาของหมอชีวกโกมารภัจจ์
คัดลอกจาก
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=13&A=950อ่านอรรถกถาขยายความได้ที่
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=5634777.ทำไมไม่กินเนื้อสัตว์ แล้วเป็นการสร้างกุศลครับhttp://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=34777อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต
ตติยวรรค ปุตตสูตร
อรรถกถาปุตตสูตร
ปาณาติบาตนั้นมีองค์ประกอบ ๕ อย่าง คือ
๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสญฺญิตา รู้อยู่ว่าสัตว์มีชีวิต
๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
๔. อุปกฺกโม ความพยายามที่จะฆ่า
๕. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น.
ปาณาติบาตที่ประกอบไปด้วยองค์ ๕ ไม่พ้นไปจากองค์ ๕ พึงทราบว่าเป็นปาณาติบาต. ในองค์ประกอบ ๕ อย่างนั้น การรู้ว่าสัตว์มีชีวิต และจิตคิดจะฆ่า จัดเป็นบุพภาค (ของปาณาติบาต) ส่วนความพยายามที่จะฆ่า เป็นองค์ประกอบให้วธกเจตนาปรากฏชัด.
ปาณาติบาตนั้นมี ๖ ประโยค คือ
๑. สาหัตถิกประโยค (ฆ่าด้วยมือตนเอง)
๒. อาณัตติกประโยค (ใช้ผู้อื่นฆ่า)
๓. นิสสัคคิยประโยค (การขว้างอาวุธไป ปล่อยอาวุธไป)
๔. ถาวรประโยค (เครื่องมือฆ่าสัตว์ที่ทำไว้ประจำ)
๕. วิชชามยประโยค (อำนาจคุณแลไสยศาสตร์)
๖. อิทธิมยประโยค (การบันดาลด้วยฤทธิ์)
พิจารณาจากอรรถกถาข้างต้น การกินเนื้อสัตว์อาจไม่ครบองค์ประกอบของปาณาติบาต
แต่ถ้าได้เห็น ได้ยิน แล้วเกิดความสงสัยหรือคิดสงสัยรังเกียจขึ้นเองว่าเขาฆ่าสัตว์นั้นตาย เหตุเพราะเจาะจงเพื่อให้ตนกิน ก็ทำให้จิตเศร้าหมอง เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้ ดังพระพุทธวจนะ ว่า “จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคติ ปาฏิกงฺขา”
หรือเมื่อกินเนื้อสัตว์ แล้วชอบใจติดใจในรส พลอยยินดีกับการฆ่า ข้อนี้แม้ศีลยังไม่ขาด แต่ด่างพร้อย ไม่บริสุทธ์
อรรถกถาขยายความชีวกสูตร ท่านวินิจฉัยไว้น่าฟัง ความว่า
“ในส่วนที่สงสัยทั้ง ๓ นั้น มีวินิจฉัยรวบรัด ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลายในพระศาสนานี้เห็นคนทั้งหลายถือตาข่ายและแหเป็นต้น กำลังออกไปจากบ้านหรือกำลังเที่ยวอยู่ในป่า. แต่วันรุ่งขึ้น เมื่อภิกษุเหล่านั้นเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนั้น คนเหล่านั้นก็นำบิณฑบาต (อาหาร) ที่มีเนื้อปลาถวาย ภิกษุเหล่านั้นก็สงสัยโดยการเห็นนั้นว่า เนื้อปลาเขาทำมาเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายหรือหนอ.
นี้ชื่อว่าสงสัยโดยเห็น. รับอาหารที่สงสัยโดยการเห็นนั้น ไม่ควร. อาหารใด ภิกษุไม่ได้สงสัยอย่างนั้น รับอาหารนั้นก็ควร. ก็ถ้าคนเหล่านั้นถามว่า ท่านเจ้าข้า เหตุไรพระคุณเจ้าจึงไม่รับ. ฟังคำตอบของพวกภิกษุแล้ว ก็กล่าวว่า อาหารนี้ พวกเรามิได้ทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายดอก แต่พวกเราทำเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือ เพื่อประโยชน์แก่ข้าราชการเป็นต้นต่างหาก รับอาหารนั้นก็ควร.
ภิกษุทั้งหลายไม่เห็นอย่างนั้นเลย แต่ได้ยินมาว่า เขาว่าคนทั้งหลายถือตาข่ายและแหเป็นต้นออกจากบ้านไป หรือเที่ยวไปในป่า. รุ่งขึ้น เมื่อภิกษุเหล่านั้นเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนั้น คนเหล่านั้นก็นำบิณฑบาตที่มีเนื้อปลามาถวาย ภิกษุเหล่านั้นก็สงสัยโดยการได้ยินนั้นว่า เขาทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายหรือหนอ.
นี้ชื่อว่าสงสัยโดยได้ยินมา. รับอาหารนั้น ไม่ควร. อาหารใดมิได้สงสัยอย่างนั้น รับอาหารนั้นก็ควร. แต่ถ้าคนเหล่านั้นถามว่า ท่านเจ้าข้า เหตุไรพระคุณเจ้าจึงไม่รับ. ฟังคำตอบของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ก็กล่าวว่า ท่านเจ้าขา อาหารนี้ พวกเรามิได้ทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายดอก แต่พวกเราทำเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง หรือเพื่อประโยชน์แก่พวกข้าราชการเป็นต้นต่างหาก รับอาหารนั้นก็ควร.
อนึ่ง ภิกษุไม่เห็น ไม่ได้ยินมา เมื่อภิกษุเหล่านั้นเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนั้นคนทั้งหลายรับบาตรเอาไปตกแต่ง บิณฑบาตที่มีเนื้อปลานำไปถวาย ภิกษุเหล่านั้นก็สงสัยว่า เขาทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายหรือ.
นี้ชื่อว่าสงสัยนอกไปจากทั้งสองอย่างนั้น. รับอาหารแม้นั้นก็ไม่ควร อาหารใดมิได้สงสัยอย่างนั้น รับอาหารนั้นก็ควร. แล้วถ้าคนเหล่านั้นถามว่า ท่านเจ้าข้า เหตุไร พระคุณเจ้าจึงไม่รับ. ฟังคำตอบของพวกภิกษุแล้ว ก็กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า อาหารนี้ พวกเรามิได้ทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายดอก เราทำเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง หรือเพื่อประโยชน์แก่ข้าราชการเป็นต้นต่างหาก หรือว่าพวกเราได้ปวัตตมังสะ (เนื้อที่เขามีอยู่แล้ว) เป็นของกัปปิยะ (ควร) ทั้งนั้น จึงตกแต่งเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย รับอาหารนั้นก็ควร. ในอาหารที่เขาทำเพื่อประโยชน์เป็นเปตกิจ (อุทิศ) สำหรับคนที่ตายไปแล้ว หรือเพื่อประโยชน์แก่การมงคลเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. แท้จริง อาหารใดๆ เขามิได้กระทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายก็มิได้เคลือบแคลง สงสัยในอาหารอันใด รับอาหารนั้นทุกอย่างก็ควร.”
------------------------------------
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ชาวพุทธ รู้จักศีล สมาธิ ภาวนา
สอนเพิ่อให้เราหมั่นปฏิบัติ เมื่อทำบ่อยเข้าก็จะเกิดความเข้าใจ
ผลสุดท้ายก็จะมีปัญญาเกิดขึ้น เพื่อพิจารณาการกระทำของเรา
ในแต่ละอย่างว่า สิ่งใดเป็นกุศล สิ่งใดเป็นอกุศล
คำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนที่นำมาแห่งปัญญา
เพื่อการเป็นอยู่และความเข้าใจในธรรมชาติ
อยู่อย่างกลมกลืนไปกับธรรมชาติ
ไม่เอาชนะธรรมชาติ ด้วยการเบี่ยงเบนธรรมชาติ
พยายามเปลี่ยนแปลงเหตุและผลของธรรมชาติ ตามความต้องการของใจตนเอง
พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้เห็นถึงอริยสัจจ์สี่และเรื่องเหตุปัจจัย
ถ้าเราเอาหลักการเรื่องเหตุปัจจัยมาพิจารณาในเรื่องนี้
เราก็จะรู้ว่า....ความอยากกินเนื้อของเรา เป็นเหตุปัจจัยของการฆ่า
สิ่งที่ทำให้พวกเราเข้าใจผิดอยู่ ก็เพราะขาดความเข้าใจเรื่องเหตุปัจจัย
มองเหตุเป็นผล และมองผลมาเป็นเหตุ
ที่สำคัญที่ว่าด้วยเหตุปัจจัย ไม่ใช่การกระทำแค่สองวาระ
อาจเป็นสามหรือสี่ก็ได้มันวนกันเป็นวง
ที่แน่ๆผมมองเห็น อวิชชาในกระทู้นี้แล้วครับ**********
ผมจะยกตัวอย่างนะครับ ถ้าเราดูกรรมของคนเป็นวงจรดังนี้
ตัวเรา>คนขาย>สัตว์
ถ้าเราดูตามคำสอนของพุทธองค์
เรื่องเหตุปัจจัยแล้ว ตัวเราเป็นเหตุ ทำให้มีผลตามมาคือ
คนขายหรือคนฆ่า และผลสุดท้ายคือสัตว์ตายพิจารณาแล้ว ทุกตัวเป็นเหตุปัจจัยแก่กัน พระพุทธเจ้าสอนว่า ทุกสิ่งเกิดแต่เหตุ
ถ้าจะดับทุกข์ ต้องดับที่เหตุ หรือถ้าเราไปเปรียบกับเรื่องปฏิจจสมุบาท
ตัวเราเปรียบเหมือนตัวอวิชชา เป็นต้นตอแห่งทุกข์ ถ้าจะดับทุกข์ต้องดับ
อวิชชา ความหมายก็คือ หยุดความอยากกินเนื้อสัตว์ครับถ้าเราดับอวิชชาที่ตัวเราวงจรแห่งทุกข์ก็ไม่เกิด
ที่นี้เรามาดูเรื่องซากกับอีแร้ง ถ้าเราดูตามเหตุปัจจัยแล้ว การตายของซากสัตว์
ไม่ได้เกิดหรือเกี่ยวข้องกับอีแร้งเลย มันเป็นกรรมคนละส่วนคนละวงจร
สมมุติการล่าเหยื่อของสิงห์โต มันก็เกิดจากความหิวความต้องการของสิงห์โตเอง
มันล่าหรือฆ่าเหยื่อก็เพื่อตัวมัน สันชาติญาณสัตว์ล่าเพราะหิว กินอิ่มแล้วก็หยุด
ไม่รู้จักใช้ประโยชน์ในส่วนที่เหลือ ดังนั้นของที่กินไม่หมดก็กลายเป็น
สิ่งที่เปล่าประโยชน์มันต้องทิ้งเปล่า ดังนั้น
วงจรแห่งกรรมของสิงห์โตมันสุดแค่ตรงนี้
ส่วนเรื่องอีแร้ง
วงจรกรรมมันแยกไปต่างหาก มันกินซากที่เหลือทื้งจากสัตว์อื่น
มันไม่มีส่วนในการฆ่า เพราะนักล่าฆ่าเพื่อตัวเอง ไม่ได้คิดว่าต้องเผื่อแผ่แก่
อีแร้ง วงจรกรรมมันจึงแค่หิวก็หาซากหาขยะกินครับฉะนั้นคำจำกัดความคำว่า ซากในที่นี้ มันต้องหมายถึง
สิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์แก่เจ้าของ ไม่สามารถซื้อขายกันได้
ความหมายคือ เจ้าของทิ้งแล้ว***********
ก่อนอื่นคุณต้องเข้าใจก่อนครับว่า ความอยากมันเป็นกิเลส แต่มันเป็นได้ทั้งกุศล
และอกุศล การที่จะรู้ได้ว่า ผลของความอยากที่ตามมาจะบาปหรือไม่
ก็ต้องดูที่ผลสุดท้ายและเหตุปัจจัยที่สืบต่อกันมา ดังตัวอย่าง
1.ถ้าคุณอยากกินผัก เพราะในใจคิดว่า ไม่อยากไปเบียดเบียนสัตว์
อันนี้เป็นกิเลสที่เป็นกุศล เป็นบุญ
2.แต่ถ้าคุณอยากกินเนื้อสัตว์ ทั้งๆที่รู้ว่าเป็นการเบียดเบียนสัตว์
อันนี้เป็นกิเลสที่เป็นอกุศล เป็นบาป
ส่วนการกินอย่างไรที่ไม่เป็นกิเลส ก็ต้องเป็นการกินที่ปราศจากความอยาก
ฟังดูเข้าใจยากหน่อย แต่พอจะอธิบายได้ดังนี้
คนเราประกอบด้วยรูปและนาม สิ่งที่เป็นรูปก็คือกาย นามก็คือใจ
ถ้าดูให้ดีกายกับใจ มันแยกกันต่างหาก กิเลสความดีชั่วต่างๆล้วนเกิดที่ใจ
ใจเป็นผู้สั่ง
กายเป็นเพียงที่อาศัยของใจ เป็นเครื่องมือในการทำความดีความชั่ว
กายเป็นธรรมชาติ ประกอบด้วยธาตุสี่ เมื่อกายถูกใช้งานไป ธาตุบางส่วนย่อมพร่องไป
เหตุนี้จึงต้องเติมธาตุที่ขาดหายไปให้สมดุลย์ ที่กล่าวมาเราเรียกว่า ความหิว
ความสำคัญมันอยู่ตรงนี้ครับว่าจะเกิดกิเลสความอยากหรือไม่
ถ้าเราหิว เรากินอะไรก็ได้ที่ไม่มีพิษมีภัยต่อร่างกาย ไม่ต้องสรรหา
หรือปรุงรสต่าง กินเพื่อให้ความหิวหายไปหรือให้เกิดความสมดุลย์ของกาย
กินได้แม้กระทั่งข้าวเปล่า นี้ครับ
กุศลที่ไม่มีกิเลสการกินที่เป็นกิเลสก็ตรงข้ามกันครับ คือต้องเลือกต้องสรรหา
ปรุงรสชาติ กินอย่างโน้นเบื่ออย่างนี้
ส่วนที่ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล
ก็ต้องดูเหตุปัจจัยที่ตามมาครับ
ส่วนคำถามของคุณ ที่ว่าเราจะบาปเพราะความอยากของคนอื่นไหม?
ผมว่า มันไม่น่าจะเกี่ยวกันครับ คุณต้องรู้นะครับ
ว่า กรรมหรือการกระทำ
มันย่อมเป็นของใครของมัน สรุปก็คือไม่ว่าใครย่อมต้องมีความรู้กาย รู้ใจ
ของตนเอง ต้องรักษากายใจด้วยตัวของตัวเองขอยกตัวอย่างว่าด้วยเหตุปัจจัย
สืบเนื่อง ก่อนอื่นเราต้องพิจารณาก่อนว่า อันไหนเป็นเหตุ อันไหนเป็นผล
สมมุติว่าเราอยากกินเนื้อ อันนี้เป็นเหตุ ผลที่ตามมาคือพ่อค้า พ่อค้าก็เป็นเหตุ
ให้เกิดคนรับจ้างฆ่าสัตว์ คนฆ่าสัตว์เป็นเหตุให้สัตว์ตาย
คุณดูครับว่า แค่
ความอยากของตัวเรา มันทำให้เกิดวงจรอกุศลขึ้นมากมาย
การดับก็ต้องดับที่เหตุ แต่เหตุในที่นี้มีหลายเหตุที่เป็นเหตุปัจจัยกัน
การดับวงจรที่ได้ผลและมากที่สุดคือ
ดับที่ต้นตอ ก็คือความอยากของตัวเรา
มันก็เหมือนกับวงปฏิจสมุบาท การจะดับวิบากให้มากที่สุด ก็ต้อง
ดับที่อวิชชาสุดท้ายการรู้กายใจของตนเอง ย่อมทำให้ไม่เกิดเหตุปัจจัยหรือ
วิบากร่วมกับคนอื่น
วงแห่งวิบากหรือกรรมมันคนละวงกัน ฉะนั้นความอยากของคนอื่น
ย่อมไม่ส่งผลต่อเราครับ
........................
.........
ถ้าจะไม่ให้เกิดปัญหา มันต้องกินแบบไม่มีกิเลส
กินต้องกินแบบพระ มีอะไรก็กินแบบนั้นไม่เลือกและปฏิเสธ-------------------...............
------------------
การเห็นธรรมจะต้องเห็นด้วยความเป็นกลาง
ต้องเปิดใจยอมรับทั้งสิ่งที่ชอบและไม่ชอบ
แล้วเราก็จะเห็นธรรมแท้ครับ
................
การปฏิบัติมันมีระดับของมันเองครับ เรื่องทาน เรื่องศีลและภาวณา
มันเป็นการปฏิบัติของปุถุชน
เรื่องทานเรื่องศีล มันยังไม่เข้าข่ายของอริยบุคคล ทำไปก็ได้แค่กุศล
ผลบุญ ยังต้องตายต้องเกิด หรือไปเกิดในนรก สวรรค์ตามความเชื่อของแต่ละคน
ถ้าเราต้องการหลุดพ้นหรือนิพพาน เราก็ต้องปฏิบัติ
ซึ่งการปฏิบัตินี้ ไม่ใช่ว่าเราจะไม่เอาทานศีล
แต่เราเอาหรือทำจนเกินขั้นนั้นมาแล้ว ตอนนี้มันเป็นขั้นของการปล่อยวางทุกสิ่งแม้กระทั้งความดี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=34777&start=30